#TMAN


แบรนด์ TMAN แข็งแกร่ง Valuation ต่ำ โบรกแนะ

แบรนด์ TMAN แข็งแกร่ง Valuation ต่ำ โบรกแนะ "ซื้อ" พิกัด 26 บ.

         หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด (มหาชน) หรือ TMAN ประเด็นน่าสนใจจากการประชุมนักวิเคราะห์ (12 ธ.ค. 67) ► แนวโน้มผลประกอบการ 4Q67 เติบโต QoQ และ YoY จาก Organic Growth สินค้าแบรนด์หลัก (Propoliz, ไอยรา) และยาสามัญใหม่ (Attor, Maniptin) ติดตลาด โดยยอดสั่งซื้อยังคงต่อเนื่องและเพิ่มมากขึ้นจากการขยายฐานกลุ่มลูกค้ารพ. ► ล่าสุด Propoliz Plus ได้รับเลขใบอนุญาตยาสำเร็จรูปจากทางอ.ย. (เดิมเป็นสมุนไพร) ทำให้การสั่งเบิกจ่ายผ่านประกันในรพ.เอกชนจะทำได้สะดวกขึ้น ส่งผลบวกต่อรายได้จากแบรนด์ Propoliz คาดจะเริ่มเห็นการเติบโตในช่วง 1H68 ► บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้ปี 2568 เติบโต 10-15% YoY โดยมีแรงหนุนสำคัญจาก 1) กลุ่มลูกค้าโรงพยาบาล ตั้งเป้าเติบโต 20% YoY จากแผนการออกยาสามัญใหม่ อีกทั้งปัจจุบันบริษัทฯ มีทีมขายใหม่ที่ใช้กลยุทธ์การขายเชิงรุกในการนำยาสามัญใหม่เข้าไปเจาะตลาดโรงพยาบาลใหม่เพิ่มขึ้น 2) กลุ่มลูกค้าต่างประเทศ ตั้งเป้าเติบโต 20% YoY จากการสร้าง Brand Awareness แบรนด์เรือธง Propoliz ในกลุ่มนักท่องเที่ยวและการเข้าไปเจาะตลาดต่างประเทศโดยใช้ Local Distributor ช่วย และ 3) กลุ่มลูกค้าคลินิกความงาม เพิ่มความครบวงจรของสินค้าจำเป็นและเป็น One stop service สำหรับคลินิก เช่น ยาชา ไหมร้อยหน้า ฟิลเลอร์ มุมมองของฝ่ายวิจัย  ► คาดเห็นผลประกอบการเติบโต QoQ และ YoY ต่อเนื่องใน 4Q67 และผลประกอบการสะสมช่วง 9M67 อยู่ที่ 338 ลบ. (+15% YoY) คิดเป็น 75% ของประมาณการปี 2567 ของเราที่ 452 ลบ.แล้ว ► แนวโน้มการเติบโตของสินค้าแบรนด์หลักของ TMAN ทำได้แข็งแกร่ง กลุ่มยาสามัญใหม่ (First Generic Drug) และยาโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCD) ได้แรงหนุนจากคำสั่งซื้อต่อเนื่องของลูกค้าโรงพยาบาล และความสามารถในการรักษาระดับอัตรากำไรสุทธิ (NPM) ที่ราว 19-20% ส่งผลให้เราคาดกำไรปกติปี 2568 ที่ 536 ลบ. (+19% YoY) ► เราประเมินราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2568 ที่ 26.00 บาท และคงคำแนะนำ “ซื้อ” จาก 1) Valuation ต่ำน้อยกว่าค่าเฉลี่ยคู่แข่งในประเทศ โดยปัจจุบันหุ้นซื้อขายบน PER68 เพียง 11.9 เท่า 2) ผลประกอบการของบริษัทฯ มีความผันผวนในระดับต่ำ เนื่องจากสินค้าหลักของบริษัทฯ (ยารักษาโรค และสมุนไพร) เป็นสินค้าจำเป็น อีกทั้งมีปัจจัยหนุนจากทั้งโครงสร้างประชากรสูงวัยและการเข้าถึงสิทธิการรักษาที่เพิ่มขึ้น และ 3) Catalyst หนุนราคาหุ้นระยะสั้น จาก Propoliz Plus ที่ได้รับเลขใบอนุญาตยาสำเร็จรูปจากทางอ.ย. และหนุนการเติบโตรายได้จากแบรนด์ Propoliz ในอนาคต

TMAN ผนึกเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เปิดโรงภาพยนตร์ Propoliz Plus Extherb

TMAN ผนึกเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เปิดโรงภาพยนตร์ Propoliz Plus Extherb

         หุ้นวิชั่น - นายประพล ฐานะโชติพันธ์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนายธนัท พลอยดนัย ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและผลิตภัณฑ์ บมจ.ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล หรือ TMAN หนึ่งในผู้นำธุรกิจผลิต และจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพชั้นนำของประเทศไทย ผสานความร่วมมือกับนายนรุตม์ เจียรสนอง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) ส่งมอบประสบการณ์ใหม่การรับชมภาพยนตร์ที่ไม่ซ้ำใครให้กับทุกไลฟ์สไตล์ในฐานะ Naming Sponsor เปิดตัวโรงภาพยนตร์ “Propoliz SOUNDSCAPE CINEMA” ที่ พารากอน ซีนีเพล็กซ์ จำนวน 310 ที่นั่ง พร้อมเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุด “อย่าปล่อยให้ชีวิตสะดุด เจ็บคอเมื่อไรใช้ Propoliz Plus Extherb” เพื่อสร้างการรับรู้ของแบรนด์ เนื่องจากโรงภาพยนตร์นับว่าเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพให้เข้าถึงลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ได้กว้างขวาง รวมทั้งขยายฐานลูกค้าผู้ที่ใส่ใจสุขภาพและผู้ที่ชื่นชอบการชมภาพยนตร์และความบันเทิง ภายในงานได้จัดกิจกรรมมูฟวี่มาร์เก็ตติ้ง สร้างสีสันและบรรยากาศที่สนุกสาน พร้อมทั้งเปิดช่องทางจำหน่ายรูปแบบใหม่ นำผลิตภัณฑ์แบรนด์ Propoliz ทั้ง Propoliz lozenge plus และ Propoliz lozenge Vit C จำหน่ายที่ Concession หรือจุดจำหน่ายป๊อปคอร์น เครื่องดื่ม และขนมขบเคี้ยว เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป ที่ โรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป 177 สาขาทั่วประเทศ

TMAN 9 เดือน รายได้ 1,645.92 ลบ. คาดทั้งปีโตกว่ามูลค่าตลาด

TMAN 9 เดือน รายได้ 1,645.92 ลบ. คาดทั้งปีโตกว่ามูลค่าตลาด

          “บมจ.ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล” หรือ TMAN ตอกย้ำ NO. 1 ในอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของประเทศไทย โชว์ผลการดำเนินงาน 3/2567 รายได้รวม 535.80 ล้านบาท เติบโต 14.10% กำไรสุทธิ 104.20 ล้านบาท เติบโต 15.8% หนุนผลงาน 9 เดือน ทำรายได้รวม 1,645.92 ล้านบาท เติบโต 15.15% กวาดกำไรสุทธิที่มาจากธุรกิจหลักที่ไม่รวมการกลับรายการขาดทุนจากการด้อยค่าด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 338.45 ล้านบาท เติบโต 14.6% ปลื้มรายได้จากการขายโพรโพลิซ ยาแก้ไอยราโตโดดเด่น กลยุทธ์ออกแพกเกจจิ้งขนาดใหม่ตอบโจทย์ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ และขยายฐานลูกค้าโรงพยาบาลมากขึ้น ประกาศมุ่งสร้างโมเมนตัมเติบโตแข็งแกร่งไตรมาส 4 มั่นใจรายได้ทั้งปีเติบโตในอัตราที่สูงกว่ามูลค่าตลาดรวมการจำหน่ายยาในประเทศไทยที่ขยายตัว 6-7% ต่อปี           นายประพล ฐานะโชติพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้นำธุรกิจผลิต และจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในประเทศไทย เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567 (กรกฎาคม-กันยายน 2567) บริษัทฯ ประสบความสำเร็จอย่างสูง มีรายได้รวม 535.80 ล้านบาท เติบโต 14.10% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน และทำกำไรสุทธิ 104.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีปัจจัยจากรายได้จากการขายกลุ่มผลิตภัณฑ์แบรนด์โพรโพลิซ (Propoliz) และยาแก้ไอยรา เติบโตโดดเด่นสอดรับกับช่วงไฮซีซัน ประกอบกับการออกสินค้าขนาดใหม่ และเพิ่มความสะดวกใช้งานง่ายทำให้ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มร้านค้าปลีกมากขึ้น อีกทั้งรายได้จากยาสามัญสร้างโมเมนตัมเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเปิดตัว Attor ยาลดคอเลสเตอรอล, Maniptin ยารักษาเบาหวาน และยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น ส่งผลให้บริษัทฯ ขยายฐานกลุ่มลูกค้าโรงพยาบาลได้มากขึ้น           ทั้งนี้ความสำเร็จดังกล่าวตอกย้ำ TMAN ในฐานะหนึ่งในผู้นำอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของประเทศไทย ที่มีผลการดำเนินงานเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยผลักดันให้ผลการดำเนินงาน 9 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม-กันยายน) มีรายได้รวม 1,645.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม 1,429.36 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 342.60 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิที่มาจากธุรกิจหลักที่ไม่รวมการกลับรายการขาดทุนจากการด้อยค่าด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเป็นจำนวน 338.45 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิที่มาจากธุรกิจหลักไม่รวมการกลับรายการขาดทุนจากการด้อยค่าด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเป็นจำนวน 295.4 ล้านบาท โดยรายได้จากการขายการผลิตและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์ของกลุ่มบริษัทฯ 1,580.20 ล้านบาท เติบโต 13.51% การรับจ้างผลิตเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์ของบุคคลภายนอก 25.30 ล้านบาท เติบโต 208.50% และการจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์ของบุคคลภายนอก 32.90 ล้านบาท เติบโต 53.0% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน           ขณะที่รายได้จากต่างประเทศอยู่ที่ 132.53 ล้านบาท เติบโต 11.56% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมาจากยอดสั่งซื้อกลุ่มลูกค้าต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีนและฮ่องกงเติบโตต่อเนื่อง โดยกลุ่มบริษัทฯ เดินหน้าสร้างเติบโตมุ่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของกลุ่มบริษัทฯ ผ่านผู้จัดจำหน่ายและกลุ่มลูกค้าองค์กรอื่น ใน 22 ประเทศทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง เช่น ฮ่องกงและมาเลเซีย และขยายการเติบโตไปยังประเทศที่มีศักยภาพ รวมถึงเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อสนับสนุนแผนการขยายการดำเนินงานไปในต่างประเทศ โดยการเพิ่มจำนวนบุคลากรฝ่ายการขายและการตลาดต่างประเทศ เพื่อเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และก้าวสู่การเป็นผู้นำเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในระดับภูมิภาค (Regional Player)           นายประพล กล่าวว่า กลุ่มบริษัทฯ วางแผนสร้างโมเมนตัมการเติบโตอย่างแข็งแกร่งช่วงไตรมาส 4 โดยเตรียมนำผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์ยาใหม่ขยายตลาดสู่กลุ่มลูกค้าร้านขายยา โรงพยาบาล และโดยเฉพาะคลินิกเสริมความงาม หลังจากได้เปิดตัวแบรนด์ “Rejunae” นวัตกรรมฟิลเลอร์และไหมร้อยหน้าจากเกาหลี เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา และด้วยสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงจากฤดูฝนสู่ฤดูหนาว คาดว่าจะมีผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศไทยเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี จะส่งผลดีต่อแนวโน้มดีมานด์การใช้ผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์ยาที่เพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 4 อาทิ กลุ่มโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลและช่วยบรรเทาอาการทางช่องปากและลำคอ กลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ฯลฯ จึงคาดการณ์รายได้ทั้งปีของกลุ่มบริษัทฯ จะมีอัตราเติบโตมากกว่ามูลค่าตลาดรวมการจำหน่ายยาในประเทศไทย ปี 2566 -2568 ที่คาดการณ์อัตราเติบโตเฉลี่ย 6-7% ต่อปี [PR News]

TMAN บุกตลาดเสริมความงาม 6 หมื่นลบ. ชูแบรนด์น้องใหม่ Rejunae นวัตกรรมจากเกาหลี

TMAN บุกตลาดเสริมความงาม 6 หมื่นลบ. ชูแบรนด์น้องใหม่ Rejunae นวัตกรรมจากเกาหลี

          “บมจ.ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล” หรือ TMAN รุกใหญ่ขยายฐานธุรกิจสู่ตลาดเสริมความงามหลัง IPO เปิดตัวแบรนด์น้องใหม่ ‘Rejunae’ นวัตกรรมฟิลเลอร์และไหมร้อยหน้าจากเกาหลี เปลี่ยนรูปหน้าสวยอย่างธรรมชาติ มีคุณภาพและปลอดภัยสูง มุ่งขยายฐานลูกค้าคลินิกเสริมความงาม ตอบโจทย์เทรนด์ความงามบูม ดันมูลค่าตลาดรวมในไทยแตะ 60,000 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 80% ต่อปี คาดการณ์รายได้จากกลุ่มคลินิกเสริมความงามโตก้าวกระโดด หนุนรายได้รวมของบริษัทฯ มีอัตราเติบโตสูงกว่ามูลค่าตลาดรวมการจำหน่ายยาในประเทศไทยที่เติบโต 6-7% ต่อปี           นายประพล ฐานะโชติพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้นำธุรกิจผลิต และจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ประกาศแผนธุรกิจในเชิงรุกหลังจากนำหุ้น TMAN เข้าจดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย ล่าสุดได้เดินหน้าบุกตลาดเสริมความงามในประเทศไทย ร่วมกับ “Mesosolution” พันธมิตรผู้ดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมความงามชั้นนำในเกาหลีใต้ ประเทศที่มีนวัตกรรมเสริมความงามเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดย บริษัท ที.แมน ฟาร์มาฯ จะเป็นผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่มีศักยภาพเติบโตเข้ามาจัดจำหน่ายในประเทศไทย เพื่อรับกับโอกาสการเติบโตของตลาดเสริมความงาม ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วทั่วโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียที่มีอัตราการเติบโตสูง 14% ต่อปี           สำหรับตลาดรวมเสริมความงามในประเทศไทยคาดว่ามีมูลค่าประมาณ 60,000 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 80% ต่อปี เนื่องจากคนรุ่นใหม่ใส่ใจดูแลผิวและความงาม ประกอบกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ต่างชาติ ด้วยค่าบริการในไทยที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายเมื่อเทียบกับค่าบริการเฉลี่ยของโลก ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านหัตถการและศัลยกรรมความงามอันดับต้นๆ ของเอเชียแปซิฟิก  โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ฟิลเลอร์มีศักยภาพเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากในปี 2565 มีมูลค่าตลาด 5,000-8,000 ล้านบาท เพราะเทคโนโลยีที่ช่วยปรับรูปหน้าให้สวยงามเป็นธรรมชาติ ลดร่องลึกและทำให้หน้าดูเรียบเนียนขึ้น จึงเป็นที่นิยมของกลุ่มคนหนุ่มสาวยุคใหม่           ความร่วมมือกันครั้งนี้ สอดรับกับกลยุทธ์ของบริษัทฯ ที่จะสร้างโอกาสการเติบโตใหม่ๆ โดยเฉพาะการขยายช่องทางจัดจำหน่ายผ่านคลินิกเสริมความงาม โดยบริษัทฯ จะเป็นผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ฟิลเลอร์ ไหมร้อยหน้าจากเกาหลี และจัดจำหน่ายภายใต้แบรนด์ ‘Rejunae’ ซึ่งจะเป็นแบรนด์ใหม่ในพอร์ตโฟลิโอของบริษัทฯ ที่ช่วยขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดความสวยงาม (Aesthetic) ยิ่งขึ้นและตอกย้ำถึงความแข็งแกร่งด้านตลาดเสริมความงามให้กับบริษัทฯ จากเดิม TMAN เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่าย LD CREAM หรือผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของยาชาสูตร10% สำหรับการทำศัลยกรรมและเวชปฎิบัติเพื่อความงาม เพียงรายเดียวในประเทศไทย โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 บริษัทฯ มีพอร์ตโฟลิโอนำเข้าหรือจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้ แบรนด์ของบุคคลภายนอก 16 แบรนด์ และเป็นเจ้าของแบรนด์ 226 แบรนด์ มีผลิตภัณฑ์กว่า 842 รายการ (SKUs) TMAN จึงเป็นศูนย์รวมการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ภายในคราวเดียว (One-stop) ที่มีศักยภาพตอบสนองความต้องการของทุกคนได้อย่างครอบคลุม           Mesosolution มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในตลาดเสริมความงามชั้นนำในประเทศเกาหลีใต้ มีเทคโนโลยีความงามที่ก้าวล้ำผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ โดยฟิลเลอร์และร้อยไหมหน้า Rejunae มีนวัตกรรมโดดเด่นด้วยเทคโนโลยีเฉพาะในการผลิตช่วยให้การปรับรูปหน้าสวยงามเป็นธรรมชาติทำได้ง่ายขึ้น และผลลัพธ์ที่ได้ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้นด้วย  มั่นใจว่าด้วยเทคโนโลยีด้านความงามของเกาหลีใต้ถือว่าเป็นผู้นำการวิจัย และพัฒนา เทคนิค สินค้ารวมถึงผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก รวมถึงได้รับการอนุมัติจาก EDQM ภูมิภาคยุโรป โดยมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ดังนั้นความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยตอบโจทย์ของคลินิกเสริมความงามไทย           “ด้วยประสบการณ์อันยาวนานในวงการเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เรามุ่งมั่นที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงและได้มาตรฐานสากล เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม โดยการรุกขยายแบรนด์ Rejunae ผลิตภัณฑ์ฟิลเลอร์และร้อยไหมหน้า จะเป็นก้าวที่สำคัญที่เปิดตลาดผลิตภัณฑ์เสริมความงามด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ และสนับสนุนคลินิกเสริมความงามทุกแห่งด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและโซลูชันที่ครบวงจร  มั่นใจว่า แบรนด์ Rejunae จะช่วยให้บริษัทฯ ขยายฐานลูกค้ากลุ่มคลินิกเสริมความงามเพิ่มขึ้น จากไตรมาสที่ 2/2567 (เมษายน-มิถุนายน) มีสัดส่วนรายได้อยู่ 5.7% คาดการณ์รายได้ในช่องทางคลินิกจะเติบโตก้าวกระโดด และผลักดันรายได้รวมของบริษัทฯ เติบโตมากกว่ามูลค่าตลาดรวมการจำหน่ายยาในประเทศที่มีอัตราเติบโต 6-7% ได้ตามเป้าหมาย” นายประพล กล่าว [PR News]

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

TMAN รุกตลาดยามูลค่า 2 แสนล้านบาท ขยายฐานลูค้าเพิ่ม

TMAN รุกตลาดยามูลค่า 2 แสนล้านบาท ขยายฐานลูค้าเพิ่ม

          TMAN หนึ่งในผู้นำธุรกิจผลิต และจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในประเทศไทยมากว่า 50 ปี  เข้าจดทะเบียนและซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)  มันใจผลประกอบการโตมากกว่า อุตสาหกรรม ที่โต 6-7% ส่วนมูลค่าตลาดยาอยู่ที่ 2 แสนล้านบาท  พร้อมวางงบลงทุน 777.5 ล้านบาท ขยายฐานลูกค้าโรงพยาบาลและต่างประเทศ  เปิดโอกาสM&A           หุ้นวิชั่น - นายประพล ฐานะโชติพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ” หรือ “TMAN”) เปิดเผยว่า  ได้นำหุ้นเข้าซื้อขายวันแรกวันที่ 22  ตุลาคม 2567 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค หมวดของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ โดยใช้ชื่อย่อ ‘TMAN’ ในการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งมั่นใจว่าด้วยศักยภาพของกลุ่มบริษัทฯ ที่วางรากฐานอย่างแข็งแกร่ง ทั้งการคิดค้น วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ ทั้งเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ  ตลอดจนการยกระดับมาตรฐานการผลิตเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในระดับสากลด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ จนถึงการวางกลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยสนับสนุนให้ TMAN เป็นหุ้นที่มีคุณภาพ และได้รับความสนใจจากนักลงทุน โดยบริษัทฯ มีเป้าหมายก้าวสู่ผู้นำนวัตกรรมสุขภาพ ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนให้ดียิ่งขึ้น           บริษัทคาดการณ์ว่าผลการดำเนินงานของบริษัทจะเติบโตมากกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ซึ่งอยู่ที่อัตราการเติบโตประมาณ 6-7% (ไม่นับรวมกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) โดยจากผลประกอบการในอดีต บริษัทสามารถรักษาการเติบโตอย่างต่อเนื่องได้ โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บริษัทคาดว่าจะมีการเติบโตมากที่สุดในรอบปี เนื่องจากเป็นช่วงที่มักจะมีการขายเพิ่มสูงขึ้น ในส่วนของตลาดอาหารเสริม ก็มีการเติบโตที่ดีเช่นกัน โดยอุตสาหกรรมยาทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีมูลค่ารวมกันกว่า 2 แสนล้านบาท และยังคงมีอัตราการเติบโตทุกปี ซึ่งแสดงถึงแนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมยาและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง           ทั้งนี้ หลังจากเข้าตลาดหลักทรัพย์ ฯ กลุ่มบริษัทฯ วางงบลงทุนระยะสั้น-กลาง ไม่เกิน 777.5 ล้านบาท แบ่งเป็น 1) โครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักร 8 โครงการ มูลค่าลงทุนไม่เกิน 298.5 ล้านบาท  ได้แก่  1.1) โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร 1.2) โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตกลุ่มยาแผนปัจจุบัน 1.3) โครงการขยายส่วนงานวิจัยและพัฒนา  1.4) โครงการขยายกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 1.5) โครงการพัฒนาระบบงานขายบนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 1.6) โครงการซื้อเครื่องมือควบคุมคุณภาพการผลิตกลุ่มยาแผนปัจจุบัน 1.7) โครงการซื้อเครื่องมือควบคุมคุณภาพการผลิตกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และ 1.8) โครงการก่อสร้างคลังสินค้าและอาคารสำนักงาน ซึ่งบริษัทฯ เริ่มดำเนินการแล้วหลายโครงการ และ 2) บริษัทฯ มีโครงการลงทุนในอนาคตอีก 5 โครงการตามแผนการขยายธุรกิจ มูลค่าลงทุนไม่เกิน 479.0 ล้านบาท ประกอบด้วย 2.1) โครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ 2.2) โครงการขยายกำลังการผลิตกลุ่มยาแผนปัจจุบันครั้งที่ 1  2.3) โครงการลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา (Solar Rooftop)  2.4) โครงการปรับปรุงพื้นที่การผลิตยาแผนปัจจุบัน และ 2.5) โครงการขยายกำลังการผลิตกลุ่มยาแผนปัจจุบันครั้งที่ 2           นายประพล กล่าวว่า หลังจากเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว กลุ่มบริษัทฯ วางกลยุทธ์สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างและได้รับการยอมรับ ตลอดจนการพัฒนายารักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เเละกลุ่มยารักษาโรคทางเดินหายใจ เพื่อขยายฐานลูกค้ากลุ่มโรงพยาบาล ซึ่งเป็นห่วงโซ่ขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมยา โดยปัจจุบันกลุ่มบริษัทฯ มีแบรนด์ทั้งสิ้นกว่า 226 แบรนด์ นอกจากนี้จะวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสุขภาพที่หลากหลายและมีคุณภาพ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าอย่างครบถ้วน รวมทั้งการเพิ่มสัดส่วนธุรกิจรับจ้างผลิต (OEM/ODM) และธุรกิจรับจัดจำหน่าย และมุ่งเพิ่มการเติบโตของรายได้จากการขยายการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศกว่า 22 ประเทศทั่วโลก เพื่อก้าวสู่ Global Brand ในอนาคต  และยังเปิดโอกาสในการ M&A เพื่อต่อยอดธุรกิจ           นายทินพันธุ์ หวั่งหลี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย  กล่าวว่า TMAN เป็นกลุ่มบริษัทฯ ที่ดำเนินธุรกิจผลิต และจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพชั้นนำของประเทศไทย  ที่เป็นหนึ่งในผู้นำการคิดค้น วิจัยและพัฒนาเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเหมาะสมกับภาวะการณ์ เทรนด์การดูแลสุขภาพในเชิงป้องกันและการรักษา โดยเดินหน้ายกระดับศูนย์วิจัยและพัฒนารวมทั้งโรงงานผลิตที่มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังรุกขยายธุรกิจทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ด้วยการวางกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจอย่างแข็งแกร่ง จะผลักดันให้ TMAN สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน           ด้านนักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำ มองหุ้น TMAN มีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ด้วยสินค้าเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่หลากหลายกว่า 842 รายการ (SKUs) โดยที่มีผลิตภัณฑ์เป็นที่นิยมในตลาดจำนวนมาก  และเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่ง อีกทั้งวางกลยุทธ์ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ 10-12 รายการต่อปี ภายใต้การวิจัยและพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้ตรงจุดและรวดเร็ว การวางกลยุทธ์มุ่งขยายกลุ่มลูกค้าโรงพยาบาลและการรุกขยายตลาดต่างประเทศ จะส่งผลให้ยอดขายทั้งในประเทศและต่างประเทศเติบโตต่อเนื่อง ประกอบกับการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการกระจายสินค้าให้แก่ลูกค้าโดยตรง           โดยนักวิเคราะห์ได้ประเมินมูลค่าพื้นฐานอยู่ที่ 24.0-29.5 บาทต่อหุ้น โดยคาดการณ์แนวโน้มผลประกอบการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยดังนี้   1) การขยายไลน์ผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์เดิม 2) การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้แบรนด์ของ TMAN 3) ขยายฐานลูกค้ากลุ่มลูกค้าโรงพยาบาล 4) ขยายช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง 5) ผลักดันการขายในต่างประเทศเพื่อมุ่งสู่การเป็น Global Brand นอกจากนี้กลุ่มบริษัทยังดำเนินธุรกิจรับจัดจำหน่ายภายใต้แบรนด์ของบุคคลภายนอกส่งผลให้มีข้อมูลตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคในเชิงลึกซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของบริษัท ตลอดจนพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ใส่ใจสุขภาพ ซึ่งเป็นเมกะเทรนด์ของโลก

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้อนรับ TMAN เริ่มซื้อขาย 22 ต.ค. นี้

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้อนรับ TMAN เริ่มซื้อขาย 22 ต.ค. นี้

          บมจ. ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล หนึ่งในผู้นำธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ พร้อมซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 22 ต.ค. นี้ ด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 6,520.06 ล้านบาท โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ ว่า “TMAN”           นางสาวรุ่งทิพย์ เจริญวิสุทธิวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการ กลุ่มงานผู้ออกหลักทรัพย์ 2 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยินดีต้อนรับ บมจ. ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล เข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคและบริโภค หมวดของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “TMAN” ในวันที่ 22 ตุลาคม 2567           TMAN ประกอบธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์ของบริษัทกว่า 200 แบรนด์ รวมทั้งรับจ้างผลิตและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์ของบุคคลภายนอก ผลิตภัณฑ์ของ TMAN แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ยาแผนปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอื่นๆ โดยมีแบรนด์ Propoliz ไอยรา Myda IBUMAN Polar และ Vita-C เป็นแบรนด์หลักที่ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค           TMAN มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วหลัง IPO 300.00 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.75 บาท เสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก จำนวนรวม 102 ล้านหุ้น ประกอบด้วยหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 71.43 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมของ TKW Capital Limited จำนวน 30.57 ล้านหุ้น โดยเสนอขายต่อบุคคลตามดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้มีอุปการคุณของบริษัท พนักงานของบริษัทและบริษัทย่อย และบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับบริษัท ในระหว่างวันที่ 10 - 11 และ 15 ตุลาคม 2567 ในราคาหุ้นละ 16.30 บาท คิดเป็นมูลค่าระดมทุนจากหุ้นใหม่ 1,164.31 ล้านบาท และมีมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 6,520.05 ล้านบาท โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้นสามัญ           นายประพล ฐานะโชติพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล เปิดเผยว่า TMAN มุ่งมั่นที่จะสร้างนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ด้วยองค์ความรู้และประสบการณ์ที่สะสมมากว่า 50 ปี ผสานกับการวิจัยและพัฒนา ทำให้ TMAN สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งการรักษาและการป้องกันโรค รวมถึงสร้างความแข็งแกร่งให้แก่แบรนด์ โดย TMAN มีแผนที่จะนำเงินระดมทุนส่วนใหญ่ไปขยายและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อรองรับแผนการเติบโตทางธุรกิจในอนาคต           TMAN มีผู้ถือหุ้นใหญ่หลัง IPO คือ กลุ่มครอบครัวฐานะโชติพันธ์ ถือหุ้นรวม 74.5% โดยบริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและหลังหักสำรองต่างๆ ทุกประเภทที่กฎหมายและข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เพื่อประโยชน์ของกิจการและผู้ถือหุ้นเป็นหลัก [PR News]

[Gossip] TMAN ปลื้มเปิดจองซื้อหุ้น IPO วันแรกคึกคัก

[Gossip] TMAN ปลื้มเปิดจองซื้อหุ้น IPO วันแรกคึกคัก

           TMAN เป็นหุ้น IPO น้องใหม่ที่ต้องจับตามอง ถือเป็นหุ้นที่ตอบสนองกับเทรนด์การดูแลสุขภาพของทุกคน ตอบรับกับอุตสาหกรรมยามีศักยภาพเติบโตอย่างต่อเนื่อง หลังเปิดจองซื้อวันแรกในราคาเสนอขาย IPO หุ้นละ 16.30 บาท แว่วว่ามีนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่สาย VI สนใจจองซื้อคึกคัก ตอกย้ำถึงความเชื่อมั่นและโอกาสเติบโตของบริษัทอย่างชัดเจน ล่าสุด ‘ประพล ฐานะโชติพันธ์’ CEO บริษัท ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด (มหาชน) หรือ TMAN เป็นปลื้มและมั่นใจผลประกอบการ พร้อมนำบริษัทก้าวสู่ผู้เล่นในระดับภูมิภาคเพื่อเติบโตอย่างยั่งยืน นักลงทุนที่สนใจหุ้นบริษัทพัฒนานวัตกรรมเพื่อสุขภาพที่เป็นเจ้าของแบรนด์กว่า 226 แบรนด์ อาทิ ยาพ่นลำคอโพรโพลิซ ยาน้ำแก้ไอไอยรา ฯลฯ เตรียมติดตามได้ในตลาดหลักทรัพย์ภายในเดือนตุลาคมนี้

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

[PR News] TMAN เคาะ IPO 16.30 บาท จองซื้อ 10-11 และ 15 ต.ค.67

[PR News] TMAN เคาะ IPO 16.30 บาท จองซื้อ 10-11 และ 15 ต.ค.67

          ‘บมจ.ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล’ หรือ TMAN หนึ่งในผู้นำธุรกิจผลิต และ/จัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพชั้นนำของประเทศไทยมากว่า 50 ปี   ประกาศราคาเสนอขาย IPO หุ้นละ 16.30 บาท เปิดจองซื้อวันที่ 10-11 และ 15 ต.ค. 67  คาดนำหุ้นเข้าซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในเดือนตุลาคมนี้ โชว์ผลดำเนินงานงวด 6 เดือน ม.ค.-มิ.ย. 2567 รายได้จากการขาย 1,105.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านผู้บริหารมุ่งลงทุนขยายกิจการ เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพและ/หรือขยายกำลังการผลิต ทั้งกลุ่มยาแผนปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การขยายส่วนงานวิจัยและพัฒนา รวมถึงการขยายธุรกิจในอุตสาหกรรมยาและนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับธุรกิจ และวางเป้าหมายก้าวสู่ผู้นำนวัตกรรมสุขภาพ ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนให้ดียิ่งขึ้น           นายทินพันธุ์ หวั่งหลี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย เปิดเผยว่า TMAN ได้กำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ที่ 16.30 บาทต่อหุ้น เตรียมเปิดให้นักลงทุนจองซื้อวันที่ 10-11 และ 15 ตุลาคมนี้ และคาดว่าจะเข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ภายใต้ชื่อย่อหลักทรัพย์ “TMAN” ภายในเดือนตุลาคมนี้ โดย TMAN จะเสนอขายหุ้นสามัญจำนวนไม่เกิน 102 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.75 บาท คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 25.5 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการออกและเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ แบ่งเป็น 1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 71,430,000 หุ้น และ 2) หุ้นสามัญโดยผู้ถือหุ้นเดิมจำนวนไม่เกิน 30,570,000 หุ้น โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เงินดังนี้ 1. ใช้เป็นเงินทุนในการขยายกำลังการผลิต และ/หรือปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต หรือการขยายธุรกิจของกลุ่มบริษัทในอุตสาหกรรมยาและนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ และ 2. ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ และเพื่อชำระคืนเงินกู้ยืม           เพื่อแสดงออกถึงความมุ่งมั่นและตั้งใจของผู้ถือหุ้นและผู้ก่อตั้งบริษัทฯ กลุ่มครอบครัวฐานะโชติพันธ์มีแผนตกลงและยินยอมโดยความสมัครใจที่จะไม่ขาย หรือโอนด้วยวิธีการใดๆ โดยคิดเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 78.0 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 19.5 ของทุนชำระแล้วภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญ เป็นระยะเวลา 180 วัน นับจากวันที่หุ้นสามัญของบริษัทฯ เริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ (Voluntary Share Lockup)  ซึ่งเมื่อรวมกับหุ้นสามัญที่ถูกห้ามขายตามที่กำหนดในข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ (Regulatory Lockup) โดยคิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 220.0 ล้านหุ้น หรือเท่ากับร้อยละ 55.0 ของทุนชำระแล้วภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญ จะถือเป็นการ Lockup ทั้งหมด จำนวนรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 298.0 ล้านหุ้น ร้อยละ 74.5 ของทุนชำระแล้วภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญ           “การกำหนดราคาหุ้นสามัญที่จะเสนอขายในครั้งนี้ ได้มีการพิจารณาจากการสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ (Book Building) ของนักลงทุนสถาบันและนิติบุคคลที่สามารถเข้าร่วมการสำรวจความต้องการซื้อ (Book Building) ในแต่ละระดับราคา โดยการกำหนดราคาสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และผลการดำเนินงานที่มั่นคงของกลุ่มบริษัท”  นายทินพันธุ์ กล่าว           นายประพล ฐานะโชติพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่มบริษัท วางเป้าหมายก้าวสู่ผู้นำนวัตกรรมสุขภาพ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนให้ดียิ่งขึ้น ผ่านการวางกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ได้แก่ 1) มุ่งเน้นสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างและได้รับการยอมรับ 2) ขยายฐานลูกค้ากลุ่มลูกค้าโรงพยาบาล ห่วงโซ่ขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมยา 3) พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและมีคุณภาพเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบถ้วน 4) เพิ่มสัดส่วนธุรกิจรับจ้างผลิต (OEM/ODM) 5) เพิ่มสัดส่วนธุรกิจรับจัดจำหน่าย  6) เพิ่มการเติบโตของรายได้จากการขยายการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศ 7) สรรหาบุคลากรสำคัญที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อรองรับการดำเนินงานในอนาคต 8) ขยายกำลังการผลิตและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต           ล่าสุด บริษัท ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด (มหาชน) ได้แต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย พร้อมแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์อีก 5 ราย เป็นผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น IPO ของ TMAN ประกอบด้วย บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)  บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด           “การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเปิดโอกาสให้ TMAN เพิ่มขีดความสามารถวิจัยและพัฒนาเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของกลุ่มบริษัทให้รวดเร็วและควบคุมต้นทุนได้ดียิ่งขึ้น และช่วยเพิ่มกำลังการผลิต ตลอดจนยกระดับมาตรฐานการผลิตเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น ผ่านการลงทุนเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีทันสมัย ซึ่งจะเปิดโอกาสให้กลุ่มบริษัทขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันเพื่อเติบโตอย่างยั่งยืน” นายประพล กล่าว           นายตรัส อบสุวรรณ  ประธานเจ้าหน้าที่สายงานปฏิบัติการ  TMAN กล่าวว่า  ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 กลุ่มบริษัทเป็นเจ้าของแบรนด์เวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพรวม 226 แบรนด์ และรับจัดจำหน่ายภายใต้แบรนด์ของบุคคลภายนอก 16 แบรนด์ รวมทั้งสิ้นกว่า 842 ผลิตภัณฑ์ (SKUs) ส่งผลให้งวด 6 เดือนแรกของปี 2567 มีรายได้จากการขาย 1,105.2 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากผลิตภัณฑ์กลุ่มโรคทางเดินหายใจ การขยายตัวของตลาดต่างประเทศและความต้องการใช้ในประเทศ รวมถึงการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ อาทิ เม็ดอมบรรเทาอาการเจ็บคอแบรนด์ Propoliz และยาอมแก้เจ็บคอแบรนด์ Basina รวมทั้งรายได้จากกลุ่มยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) จากความต้องการกลุ่มลูกค้าร้านขายยาเพิ่มขึ้น และรายได้จากผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น ยาลดไขมันในเลือดแบรนด์ ATTOR ตอกย้ำถึงความแข็งแกร่งในการคิคค้น วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่           นายธนัท พลอยดนัย ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและผลิตภัณฑ์ TMAN กล่าวว่า การจำหน่ายยาในประเทศไทยยังมีศักยภาพเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2566 – 2568  คาดว่ามูลค่าจำหน่ายยาจะเติบโตเฉลี่ยที่ ร้อยละ 5.0 – ร้อยละ 6.0 ต่อปี อ้างอิงจาก Krungsri Research โดยมีปัจจัยจากทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ  ผู้ป่วยต่างชาติกลับมาใช้บริการในไทยมากขึ้น ตลอดจนการเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประชาชน ทำให้ความต้องการบริโภคยาเพิ่มขึ้น โดยคาดว่ามูลค่าการจำหน่ายยาผ่านโรงพยาบาลจะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.3 ต่อปี ส่วนมูลค่าการจำหน่ายผ่านร้านขายยา (OTC) จะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5.0 ต่อปี นอกจากนี้ จากข้อมูลการคาดการณ์จาก Euromonitor อุตสากรรมสุขภาพยังได้รับปัจจัยบวกจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใส่ใจดูแลสุขภาพ มลภาวะที่เพิ่มขึ้น และการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ของประเทศไทย โดยคาดว่าจะสนับสนุนตลาดวิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Vitamins and Dietary Supplements) เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 8.4 ต่อปี ในช่วงปี 2564 – 2568 จึงเป็นโอกาสเติบโตของกลุ่มบริษัท           สำหรับแผนการลงทุนรองรับการเติบโตในอนาคต คาดว่าจะใช้งบลงทุนไม่เกิน 777.5 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักร 8 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวมโดยประมาณไม่เกิน 298.5 ล้านบาท ประกอบด้วย 1) โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตกลุ่มยาแผนปัจจุบัน โดยลงทุนติดตั้งเครื่องจักร รวมถึงระบบที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตยาแผนปัจจุบันประเภท เม็ด น้ำ และครีม 2) โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยลงทุนซื้อเครื่องจักรสำหรับการบรรจุผลิตภัณฑ์สมุนไพรลงบรรจุภัณฑ์  3) โครงการขยายส่วนงานวิจัยและพัฒนา 4) โครงการก่อสร้างคลังสินค้าและอาคารสำนักงานของบริษัท เฮเว่น เฮิร์บ จำกัด 5) โครงการขยายกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยการลงทุนซื้อเครื่องจักรดังกล่าวจะช่วยให้กลุ่มบริษัทสามารถผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทรูปแบบของแข็ง (Solid Dosage Form) 6) โครงการพัฒนาระบบงานขายบนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  7) โครงการซื้อเครื่องมือควบคุมคุณภาพการผลิตกลุ่มยาแผนปัจจุบัน และ 8) โครงการซื้อเครื่องมือควบคุมคุณภาพการผลิตกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและปรับปรุงพื้นที่เพื่อติดตั้งเครื่องจักรสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแบบน้ำ           ขณะเดียวกัน โครงการลงทุนในอนาคตจำนวน 5 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวมโดยประมาณไม่เกิน 479.0 ล้านบาท ได้แก่ 1) โครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ 2) โครงการขยายกำลังการผลิตกลุ่มยาแผนปัจจุบันครั้งที่ 1 โดยลงทุนปรับปรุงอาคารของโรงงานผลิต รวมถึงติดตั้งเครื่องจักร และระบบต่างๆ สำหรับการทดลองผลิตผลิตภัณฑ์ตัวอย่างและผลิตภัณฑ์รูปแบบของแข็ง (Solid Dosage Form) 3) โครงการลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา (Solar Rooftop) 4) โครงการปรับปรุงพื้นที่การผลิตยาแผนปัจจุบัน โดยจะลงทุนปรับปรุงพื้นที่เก็บยา ปรับปรุงอาคารสำหรับการจัดเก็บวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ และปรับปรุงพื้นที่ตามสายการผลิต และ 5) โครงการขยายกำลังการผลิตกลุ่มยาแผนปัจจุบันครั้งที่ 2 โดยโครงการดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)