#THCOM


[ภาพข่าว] THCOM คว้า ‘หุ้นยั่งยืน’  SET ESG Ratings ระดับ AAA

[ภาพข่าว] THCOM คว้า ‘หุ้นยั่งยืน’ SET ESG Ratings ระดับ AAA

          หุ้นวิชั่น - กรุงเทพ, 19 ธันวาคม 2567 – บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ THCOM ผู้นำธุรกิจดาวเทียมและเทคโนโลยีอวกาศ ได้รับการประเมินจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้รับเลือกเป็นหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ในระดับ AAA  ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยได้รับคะแนนการประเมินสูงสุดในกลุ่มเทคโนโลยี นับเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ภายใต้กรอบ ESG (Environmental, Social and Governance) ตลอดจนการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน และแสดงให้เห็นถึงศักยภาพการเติบโตขององค์กร โดยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีอวกาศหรือ Space Tech มาคิดค้นพัฒนาโซลูชันและบริการ ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในหลายมิติต่อไป นอกจากความสำเร็จดังกล่าวแล้ว ในปีนี้ไทยคมยังได้รับรางวัลด้านความยั่งยืน คือ Highly Commended Sustainability Awards จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และยังได้รับคะแนนบริษัทจดทะเบียนที่มีการกำกับดูแลกิจการในระดับ 5 ดาว หรือ “ดีเลิศ” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 12 (ปี 2556-2567) จากผลสำรวจรายงานการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียน ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) อีกด้วย

THCOM แจ้ง ไอพีสตาร์อินเดีย ให้บริการแล้ว

THCOM แจ้ง ไอพีสตาร์อินเดีย ให้บริการแล้ว

          หุ้นวิชั่น - กรุงเทพฯ, 6 ธันวาคม 2567 - บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจดาวเทียมแห่งเอเชียและ  ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีอวกาศ ประกาศความสำเร็จล่าสุดว่า บริษัท ไอพีสตาร์ (อินเดีย) ไพรเวท จำกัด (IPSTAR (India) Private Limited: IPI) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของไทยคม ได้รับการอนุญาตเข้าให้บริการดาวเทียมไทยคมในประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2567 จาก Indian National Space Promotion and Authorization Center หรือ IN-SPACe ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงอวกาศของรัฐบาลอินเดีย ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุน อนุญาต และกำกับดูแลกิจการด้านเทคโนโลยีอวกาศในประเทศอินเดีย           ทั้งนี้ IN-SPACe ได้อนุญาตให้ไอพีสตาร์อินเดียสามารถให้บริการดาวเทียมในประเทศอินเดีย จากดาวเทียมไทยคม 4 ประจำอยู่วงโคจร 119.5 องศาตะวันออก และดาวเทียมไทยคม 8 ประจำอยู่วงโคจร 78.5 องศาตะวันออก รวมถึงดาวเทียมไทยคม 9 ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงใหม่ของไทยคมที่มีเทคโนโลยี Software Defined High Throughput Satellite ที่จะส่งขึ้นสู่วงโคจรในปี 2568 ได้รับใบอนุญาตด้วยเช่นกัน สำหรับการให้บริการดาวเทียมไทยคมในอินเดีย ได้มุ่งเน้นการให้บริการโซลูชันด้านบรอดแบนด์เป็นหลัก เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้ครอบคลุม ทั้งในพื้นที่ชนบท และพื้นที่ห่างไกลที่ไร้สัญญาณ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการสื่อสารให้แก่ประชาชน พร้อมทั้งยังตอบสนองความต้องการในด้านบรอดแบนด์ที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศอินเดียอีกด้วย และในโอกาสที่ ไอพีสตาร์อินเดีย ได้รับใบอนุญาตในครั้งนี้ นับว่าสอดคล้องกับนโยบายอวกาศของอินเดีย (Indian Space Policy) ที่ภาครัฐสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมขับเคลื่อนในการพัฒนากิจการอวกาศในประเทศอินเดีย           นายปฐมภพ สุวรรณศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยคม กล่าวว่า “ไทยคม ขอขอบคุณ IN-SPACe ที่ได้อนุญาตให้ ไอพีสตาร์อินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของเรา ให้สามารถบริการได้อย่างเต็มรูปแบบผ่านโครงข่ายดาวเทียมไทยคมในตลาดอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยคม ความสำเร็จในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญที่เราจะได้นำโซลูชันและบริการดาวเทียมสื่อสารรุ่นใหม่ไปสู่ตลาดอินเดีย ไทยคมได้เริ่มให้บริการผ่านดาวเทียมในประเทศอินเดียมาตั้งแต่ปี 2540 การได้รับอนุญาตในครั้งนี้ จึงเป็นการตอกย้ำความเชื่อมั่นและความเชี่ยวชาญของไทยคมในอุตสาหกรรมดาวเทียมที่มีมาอย่างยาวนาน โดยเราจะมุ่งมั่นให้บริการบรอดแบนด์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านการสื่อสารผ่านดาวเทียมให้กับประเทศอินเดีย [PR News]

ภารกิจสำเร็จ!ไทยคม9A ช่วยรักษาสิทธิวงโคจรไทย

ภารกิจสำเร็จ!ไทยคม9A ช่วยรักษาสิทธิวงโคจรไทย

          หุ้นวิชั่น - บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้นําธุรกิจดาวเทียมแห่งเอเชียและ ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีอวกาศ แจ้งว่า บริษัทฯ ได้นําดาวเทียมไทยคม 9A มาประจำวงโคจร 50.5 องศา ตะวันออกได้สำเร็จแล้วในวันนี้ (วัน ที่ 22 พฤศจิกายน 2567) นับเป็นหนึ่งในภารกิจที่เร่งด่วนและท้าทายของ ไทยคมในการช่วยประเทศไทยรักษาสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรในตำแหน่ง 50.5 องศาตะวันออก ก่อนที่จะสิ้นสุดลง ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 นี้           ทั้งนี้ บริษัท ทีซี สเปซ คอนเน็ค จำกัด หรือ TCSC บริษัทในเครือไทยคมได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วง โคจรดาวเทียมในตำแหน่งวงโคจร 50.5 องศาตะวันออก เป็นระยะเวลา 20 ปี จากคณะกรรมการกิจการกระจาย เสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยมีเงื่อนไขสำคัญให้ช่วยรักษาสิทธิในการเข้า ใช้วงโคจรของประเทศไทย           แต่ด้วยระยะเวลาที่จำกัดจึงไม่สามารถสร้างดาวเทียมใหม่ ซึงโดยทั่วไปต้องใช้เวลามากกว่า 3 ปี ไทยคมจึงนำ ความเชียวชาญในอุตสาหกรรมพร้อมทั้งร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกจัดหาดาวเทียมสื่อสารของบริษัทพันธมิตร มายังตำแหน่งวงโคจร 50.5 องศาตะวันออกเพื่อทำการรักษาสิทธิให้กับประเทศไทย และหลังจากที่ประสบความสำเร็จในการนําดาวเทียมดวงนี้มาอยู่ในวงโคจรแล้วไทยคมพร้อมให้บริการแก่ลูกค้าในช่วงในไตรมาสที่ 1 ของปี 2568 ภายใต้ชื่อ ‘ดาวเทียมไทยคม 9A’           ทั้งนี้ตำแหน่งวงโคจร 50.5 องศาตะวันออก อยู่เหนือน่านฟ้าด้านตะวันตกมีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมตั้งแต่ภูมิภาคยุโรปไปจนถึงเอเชีย รวมถึงประเทศไทย ไทยคมจึงเริ่มให้บริการในประเทศไทยและประเทศเป้าหมายอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย จากนั้นจะหาโอกาสในการขยายตลาดไปยังตะวันตกของประเทศไทยมากขึ้น เช่น ในพื้นที่ยุโรป แอฟริกาและตะวันออกกลาง           นายปฐมภพ สุวรรณศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ไทยคมประสบความสำเร็จในการรักษาสิทธิในการเข้าใช้วงโคจร 50.5 องศาตะวันออกให้กับประเทศไทยก่อนที่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 นี้ ด้วยการจัดหาดาวเทียมสื่อสารของบริษัทพันธมิตรมาประจำที่วงโคจรดังกล่าว ซึ่งความสำเร็จในครั้ง นี้จะมาช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้กับประเทศไทย และเปิดโอกาสให้ไทยคมได้ ขยายธุรกิจสู่ตลาดใหม่ๆ พร้อมรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศให้กับประเทศไทยได้ต่อไปในอนาคต

[Vision Exclusive] THCOM ผู้ครองวงโคจรครอง 1ใน3 ของโลก

[Vision Exclusive] THCOM ผู้ครองวงโคจรครอง 1ใน3 ของโลก

          THCOM ครองวงโคจรครอง1ใน3ของโลก มุ่งขยายฐานลูกค้า เจรจาลูกค้าอินเดีย ต่อยอด เดินหน้าสร้างไทยคม 9 และ 10 ธุรกิจ Space Tech   ล่าสุดลงนามกับประเทศลาว นำ ธุรกิจ ‘CarbonWatch’ ช่วยวัดคาร์บอนเครดิตในลาว สร้างโอกาสทั้งในประเทศและต่างประเทศ           นายปฐมภพ สุวรรณศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ THCOM เปิดเผยว่า  ผู้ให้บริการดาวเทียมไทย เปิดเผยว่า ธุรกิจดาวเทียมยังคงมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง บริษัทมุ่งขยายฐานลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ โดยอยู่ระหว่างเจรจากับลูกค้าจากอินเดีย ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการขออนุญาตใช้ดาวเทียมต่างชาติ (Landing Right) เพื่อให้บริการผ่านดาวเทียมไทยคม 8 โดยขณะนี้กระบวนการดังกล่าวใกล้ได้ข้อสรุปแล้ว           นอกจากนี้ ไทยคมยังเดินหน้าหารือกับลูกค้าสำหรับดาวเทียมไทยคม 9 และ 10 ที่อยู่ระหว่างการพัฒนา พร้อมทั้งเตรียมย้ายฐานลูกค้าเดิมที่ใช้บริการดาวเทียมไทยคม 4 ซึ่งจะหมดอายุสัมปทานในช่วงกลางปี 2026 มาสู่การใช้งานดาวเทียมไทยคม 8 เพื่อให้การให้บริการเป็นไปอย่างต่อเนื่องและไม่สะดุดไทยคมยังคงมุ่งมั่นสร้างความเชื่อมั่นในธุรกิจ พร้อมยกระดับศักยภาพการให้บริการ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล           ธุรกิจดาวเทียมของไทยคมยังคงโดดเด่นในระดับโลก ด้วยการครองตำแหน่งวงโคจรตั้งแต่ 50.5 ถึง 119.5 องศาตะวันออก ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสามตำแหน่งวงโคจรที่สำคัญที่สุดของโลก สะท้อนถึงศักยภาพและความแข็งแกร่งของบริษัทในการขยายโครงข่ายและรองรับความต้องการของลูกค้าจำนวนมาก ด้วยตำแหน่งที่ได้เปรียบนี้ ไทยคมพร้อมเดินหน้าสร้างโอกาสทางธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการที่ครอบคลุมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล           ธุรกิจ Space Tech  จะเป็นธุรกิจที่เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ที่อย่างการเดินหน้าธุรกิจ ‘CarbonWatch’ซึ่งเป็นเครื่องมือแรกในประเทศไทยและอาเซียนที่ได้รับการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก สำหรับการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในภาคป่าไม้ โดยใช้เทคโนโลยีสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์  ปัจจุบันมีการเจรากับลูกค้าหลายรายทั้งหน่วยงานรัฐ และเอกชน อย่างล่าสุดมีลงนาม  MO กับ ประเทศลาว เพื่อให้สามารถเข้าไปให้บริการในการตรวจสอบคาร์บอนเครดิตได้ โดยประเทศลาวมองว่าคาร์บอนเครดิตเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ fดังนั้นการพัฒนา ‘CarbonWatch’ ถือเป็นก้าวสำคัญในการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาสนับสนุนเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในภูมิภาค           อีกทั้ง คาดการณ์ผลประกอบการไตรมาส 4/2567 จะปรับตัวดีขึ้น โดยมองว่าผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนในไตรมาส 3/2567 ซึ่งรับรู้ขาดทุนจากการแข็งค่าของเงินบาทจะหมดไป ทั้งนี้ บริษัทประเมินว่าในไตรมาส 4/2567 มีโอกาสเห็นตัวเลขทางบัญชีมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ปัจจุบันเงินบาทเริ่มอ่อนค่าลงมาอยู่ในระดับประมาณ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับปลายไตรมาส 3/2567 ที่ระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ           ส่วนรายงานผลประกอบการประจำไตรมาส 3/2567 บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) (บริษัท หรือ ไทยคม) มีรายได้จากการขายและการให้บริการในไต รมาส 3/2567 จำนวน 614 ล้านบาท ปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับรายได้จำนวน 638 ล้านบาทในไตรมาส 2/2567 (QoQ) และจำนวน 623 ล้านบาทในไตรมาส 3/2566 (YoY) โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้จากการให้บริการดาวเทียมและเกี่ยวเนื่องที่ลดลงเล็กน้อยจากลูกค้าในประเทศที่อยู่ในช่วงรอยต่อของสัญญาโครงการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (Universal Service Obligation: USO) ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. สืบเนื่องมาจากการสิ้นสุดของ USO ระยะที่ 2 เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ USO ระยะที่ 3 ทั้งนี้ ในไตรมาสนี้ บริษัทฯ สามารถบรรลุข้อตกลงในสัญญาระยะยาว ซึ่งช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของบริษัทฯ ในตลาดอินเดียที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว           สำหรับธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์ในต่างประเทศ ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนจากเงินลงทุนในการร่วมค้าปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงรับรู้ผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเนื่องจากสกุลเงินกีบเทียบกับสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แม้ว่าจะแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดยรวมในไตรมาส 3/2567 ยังคงอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ดี บริษัท ลาว เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ มหาชน (LTC) มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกำไรสุทธิในไตรมาส 3/2567 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากนโยบายการปรับโครงสร้างราคาค่าบริการโทรคมนาคมของกระทรวงคมนาคมและการสื่อสาร           บริษัทมีผลขาดทุนส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ในไตรมาส 3/2567 จำนวน 562 ล้านบาท เนื่องจากปัจจัยชั่วคราวจากอัตราแลกเปลี่ยน จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 26 ปี สถานการณ์การแข็งค่าของค่าเงินบาทดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการส่งออก รวมถึงบริษัท ซึ่งมีสัดส่วนรายได้หลักมาจากต่างประเทศ บริษัทตระหนักถึงความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน  และได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อลดผลกระทบ  เช่น การบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน  การกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ  และการแสวงหาโอกาสในธุรกิจใหม่ๆ  ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัทในระยะยาว ทั้งนี้ บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงาน¹ จำนวน 29 ล้านบาท ปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ 53% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2566 (YoY)           ในไตรมาส 3/2567 หากพิจารณาเฉพาะธุรกิจด้านดาวเทียม บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานที่ไม่รวมส่วนแบ่งกำไรขาดทุนจากธุรกิจโทรคมนาคมจำนวน 68 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่ากำไรจากการดำเนินงานปกติ 39 ล้านบาท สะท้อนถึงความสามารถในการทำกำไรที่แข็งแกร่งของธุรกิจหลัก           ไทยคมประกาศการลงนามสัญญาให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียมไทยคมในประเทศอินเดีย โดยมี บริษัท ไอพีสตาร์ (อินเดีย) ไพรเวท จำกัด (IPSTAR (India) Private Limited: IPI) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เป็นผู้ลงนามสัญญาในครั้งนี้ร่วมกับ ฮิวจ์ คอมมิวนิเคชั่นส์ อินเดีย (Hughes Communications India Private Limited: HCI) ผู้ให้บริการดาวเทียมบรอดแบนด์ชั้นนำในประเทศอินเดีย ภายใต้สัญญาดังกล่าว IPSTAR India จะเป็นผู้ให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียมแก่ Hughes Communications India ผ่านเครือข่ายดาวเทียมของไทยคม ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ และรองรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศอินเดียได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น การบริการด้านบรอดแบนด์ การสื่อสารผ่านดาวเทียมทางทะเล (Maritime) การเชื่อมต่อเครือข่ายโทรศัพท์มือถือผ่านดาวเทียม (Mobile Backhaul) และบริการด้าน IoT Solutions ผ่านดาวเทียม เป็นต้น โดยข้อตกลงดังกล่าว บริษัทจะเริ่มให้บริการช่องสัญญาณจากดาวเทียมไทยคม 8 จากนั้นจะขยายไปสู่ดาวเทียมดวงใหม่ ที่จะให้บริการเร็วๆ นี้ เพื่อรองรับการให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยประสบการณ์ที่บริษัทได้เริ่มให้บริการผ่านดาวเทียมในประเทศอินเดียมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ประกอบกับศักยภาพและความรู้ในด้านบริการแพลตฟอร์ม Managed Service ของฮิวจ์ มาพัฒนาเข้าด้วยกัน บริษัทจะสามารถตอบสนองความต้องการใช้งานด้านบรอดแบนด์ในประเทศอินเดียจำนวนมากได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ           ไทยคมประกาศร่วมมือกับ INVIDI Technologies (INVIDI) บริษัทชั้นนําระดับโลกด้านการให้บริการโฆษณาในรูปแบบเจาะกลุ่มเป้าหมาย หรือ Addressable Advertising จากสหรัฐอเมริกา และ บริษัท พีเอสไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (PSI หรือ พีเอสไอ) ผู้นำธุรกิจจานรับสัญญาณและกล่องทีวีดาวเทียมรายใหญ่ที่สุดในไทย ร่วมกันเปิดตัวโซลูชันโฆษณาแบบเจาะกลุ่มเป้าหมาย หรือ Addressable Advertising ในประเทศไทย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยให้นักโฆษณานำเสนอการโฆษณาไปถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นรายบุคคล หรือไปตามครัวเรือนได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ โดยนำเทคโนโลยี Addressable Advertising ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่ง INVIDI เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก มาช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมบรอดคาสต์ในไทย เพิ่มเม็ดเงินโฆษณา และสร้างคอนเทนต์ใหม่ๆ ให้แก่ผู้ชม โดยข้อมูลของ Media Partners Asia ระบุว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า การโฆษณาแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมายในประเทศไทยจะมีการเติบโตต่อปีสูงถึง 19% ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอินเดียจะมีการเติบโตต่อปีสูงถึง 24%           บริษัท สเปซเทค อินโนเวชั่น จำกัด หรือ STI บริษัทในเครือไทยคม ได้เข้าทำสัญญากับ SpaceX บริษัทเทคโนโลยีอวกาศจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเชี่ยวชาญในการสร้าง ออกแบบ รวมทั้งส่งจรวดที่ทันสมัยที่สุดในโลก เป็นผู้ให้บริการส่งดาวเทียมไทยคม 10 (THAICOM-10) ซึ่งเป็นดาวเทียมเทคโนโลยี Software-defined High Throughput Satellite (SD-HTS) ดวงใหม่ของไทยคมขึ้นสู่วงโคจร โดยดาวเทียมไทยคม 10 เป็นดาวเทียมรุ่นใหม่แบบ SD-HTS มีขนาดความจุ 120 Gbps (Gigabits per Second) ออกแบบและสร้างโดย Airbus Defense and Space SAS (France) สามารถปรับพื้นที่ให้บริการ ปริมาณช่องสัญญาณ และย่านความถี่ ในขณะที่โคจรอยู่บนอวกาศได้ ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานที่หลากหลาย ทั้งยังสามารถขยายบริการการสื่อสารให้ครอบคลุมทั้งภูมิภาค เพื่อยกระดับการให้บริการแก่ลูกค้าและพันธมิตรทั่วเอเชียแปซิฟิก โดยบริษัท SpaceX จะส่งดาวเทียมไทยคม 10 ขึ้นสู่วงโคจร ที่ตำแหน่ง 119.5 องศาตะวันออก ด้วยจรวด Falcon 9 ซึ่งเป็นจรวดที่สามารถนำกลับมาใช้งานได้ (Reusable Rocket) ลำแรกของโลก ณ รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา รายงานโดย : ณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการข่าว สำนักข่าว Hoonvision

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

[ภาพข่าว] THCOM รับรางวัล Highly Commended Sustainability Awards

[ภาพข่าว] THCOM รับรางวัล Highly Commended Sustainability Awards

         กรุงเทพ, 1 พฤศจิกายน 2567 – บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจดาวเทียมและเทคโนโลยีอวกาศ  โดย นายปฐมภพ สุวรรณศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมคณะผู้บริหาร เข้ารับรางวัล SET Awards 2024 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยได้รับรางวัล Highly Commended Sustainability Awards ในกลุ่มรางวัล Sustainability Excellence ซึ่งไทยคมได้รับรางวัลในกลุ่มความยั่งยืนนี้ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 2 หลังจากได้รับ Commended Sustainability Awards ในปี 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนถึงความเป็นองค์กรที่มุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีด้าน Space Tech มาขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

THCOM ได้รับอนุญาตใช้สิทธิวงโคจรดาวเทียม

THCOM ได้รับอนุญาตใช้สิทธิวงโคจรดาวเทียม

          บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ขอเรียนให้ทราบว่า เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2567 บริษัท ทีซี สเปซ คอนเน็ค จำกัด (“TCSC”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยร้อยละ 100 ได้แจ้งความประสงค์ขอรับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม ณ ตำแหน่งวงโคจร 50.5 องศาตะวันออก 51 องศาตะวันออก และ 142 องศาตะวันออก ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (“กสทช.”) เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้สิทธิการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม ณ ตำแหน่งวงโคจร 50.5 องศาตะวันออก 51 องศาตะวันออก และ 142 องศาตะวันออก ลงวันที่ 23 กันยายน 2567 ซึ่งสำนักงาน กสทช. ในการประชุมนัดพิเศษ ครั้งที่ 5/2567 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2567 ได้มีมติเห็นชอบให้ TCSC เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม ณ ตำแหน่งวงโคจร 50.5 องศาตะวันออก จำนวน 2 ข่ายงานดาวเทียม ดังต่อไปนี้           โดยมีระยะเวลาการอนุญาต 20 ปี นับจากวันที่ได้รับอนุญาต และผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องดำเนินการตามเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม ณ ตำแหน่งวงโคจร 50.5 องศาตะวันออก ตามที่ กสทช. กำหนด ทั้งนี้ การได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม ณ ตำแหน่งวงโคจร 50.5 องศาตะวันออก ไม่เข้าข่ายรายการที่จะต้องรายงานสารสนเทศตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 20/2551 เรื่องหลักเกณฑ์ในการทำรายการที่มีนัยสำคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2551 และประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ พ.ศ. 2547 แต่อย่างไรก็ตาม หากในอนาคต TCSC มีการดำเนินการใด ๆ เข้าข่ายรายการที่จะต้องรายงานสารสนเทศตามประกาศดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯ จะดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่อไป

THCOM ชิงวงจรดาวเทียม รู้ผล17ต.ค.นี้ ชูต่อยอดธุรกิจ

THCOM ชิงวงจรดาวเทียม รู้ผล17ต.ค.นี้ ชูต่อยอดธุรกิจ

          THCOM เผยบริษัทย่อย ยื่นข้อเสนอต่อกสทช.ลุยวงโคจรดาวเทียมในตำแหน่ง 50.5, 51 และ 142 องศาตะวันออก หวังต่อยอดธุรกิจ           คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านโทรคมนาคม ได้เปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอขอรับอนุญาตจัดสรรวงโคจรดาวเทียมในตำแหน่ง 50.5, 51 และ 142 องศาตะวันออก เมื่อวันที่วันที่ 7 ตุลาคม 2567           โดยกระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติและข้อเสนอของผู้ยื่นคำขอรับอนุญาตจะดำเนินการระหว่างวันที่ 8-10 ตุลาคม 2567 โดยคณะกรรมการจะประเมินและเจรจาข้อเสนอของผู้ยื่นคำขอในวันที่ 11 ตุลาคม 2567 ก่อนนำเสนอผลการตรวจสอบคุณสมบัติและการตัดสินผู้ได้รับอนุญาตให้ กสทช. พิจารณาในวันที่ 16 ตุลาคม 2567 คาดว่าจะสามารถประกาศรายชื่อผู้ได้รับใบอนุญาตได้ในวันที่ 17 ตุลาคม 2567 และประกาศรายชื่อผู้ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการในวันที่ 24 หรือ 25 ตุลาคม 2567           นายปฐมภพ สุวรรณศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ THCOM เปิดเผยว่า ไทยคมได้มอบหมายให้บริษัทย่อยยื่นข้อเสนอต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการขอจัดสรรวงโคจรดาวเทียมในตำแหน่ง 50.5, 51 และ 142 องศาตะวันออก โดยคาดว่าภายในสัปดาห์นี้ กสทช. จะเรียกผู้ยื่นข้อเสนอไปเจรจา           สาเหตุที่บริษัทตัดสินใจยื่นข้อเสนอในครั้งนี้ นายปฐมภพ ระบุว่าการยื่นข้อเสนอของไทยคมมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ประเทศไทยรักษาสิทธิ์ในการใช้วงโคจรดังกล่าว เนื่องจากไทยคมเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจดาวเทียม และมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนประเทศในด้านนี้           อย่างไรก็ตาม การจัดสรรวงโคจรดังกล่าวขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ กสทช. หากไทยคมได้รับการจัดสรรในตำแหน่งที่เสนอ จะเป็นโอกาสสำคัญในการขยายธุรกิจในอนาคต โดยบริษัทพร้อมที่จะให้บริการทันทีโดยไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างดาวเทียมใหม่           บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) คาดว่าอาจเห็นพัฒนาการเชิงบวก 2 ประการในช่วงสิ้นปี 2567 ได้แก่ 1) ความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประมูลวงโคจรของ กสทช. ไปสู่สัญญา O&M ซึ่งอาจหนุนรายได้ของ THCOM และ 2) ความคืบหน้าในการขอใบอนุญาตดำเนินการในอินเดีย ซึ่งอาจเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือใหม่ๆ และเพิ่มรายได้ ประเมินรายได้ที่ 2,463 ล้านบาท ส่วนกำไรปีนี้ที่ 460 ล้านบาท ราคาเป้าหมายที่ 16.20 บาท

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

[PR News] THCOM เลือก SpaceX ยิง “ดาวเทียมไทยคม 10”

[PR News] THCOM เลือก SpaceX ยิง “ดาวเทียมไทยคม 10”

          ไทยคมมั่นใจเลือก SpaceX ส่ง “ดาวเทียมไทยคม 10” ขึ้นสู่อวกาศ ไทยคมใช้จรวด Falcon 9 ของ SpaceX ส่งไทยคม 10 (THAICOM-10) ดาวเทียม Software Defined High Throughput (SD-HTS) รุ่นใหม่ขึ้นสู่วงโคจร           กรุงเทพฯ, 4 ตุลาคม 2567 - บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจดาวเทียมแห่งเอเชียและผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีอวกาศ แจ้งว่า บริษัท สเปซเทค อินโนเวชั่น จำกัด หรือ STI บริษัทในเครือไทยคม ได้เข้าทำสัญญากับ SpaceX บริษัทเทคโนโลยีอวกาศจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเชี่ยวชาญในการสร้าง ออกแบบ รวมทั้งส่งจรวดและอวกาศยานที่ทันสมัยที่สุดในโลก เป็นผู้ให้บริการส่งดาวเทียมไทยคม 10 (THAICOM-10) ซึ่งเป็นดาวเทียมเทคโนโลยี Software-defined High Throughput Satellite (SD-HTS) ดวงใหม่ของไทยคมขึ้นสู่วงโคจร           ดาวเทียมไทยคม 10 เป็นดาวเทียมรุ่นใหม่แบบ SD-HTS มีขนาดความจุ 120 Gbps (Gigabits per Second) ออกแบบและสร้างโดย Airbus Defence and Space SAS (France) สามารถปรับพื้นที่ให้บริการ ปริมาณช่องสัญญาณ และย่านความถี่ ในขณะที่โคจรอยู่บนอวกาศได้ ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานที่หลากหลาย ทั้งยังสามารถขยายบริการการสื่อสารให้ครอบคลุมทั้งภูมิภาค เพื่อยกระดับการให้บริการแก่ลูกค้าและพันธมิตรทั่วเอเชียแปซิฟิก บริษัท SpaceX จะส่งดาวเทียมไทยคม 10 ขึ้นสู่วงโคจร ที่ตำแหน่ง 119.5 องศาตะวันออก ด้วยจรวด Falcon 9 ซึ่งเป็นจรวดที่สามารถนำกลับมาใช้งานได้ (Reusable Rocket) ลำแรกของโลก ณ รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา           นายปฐมภพ สุวรรณศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยคม กล่าวว่า “ไทยคมเป็นพันธมิตรกับ SpaceX มาอย่างยาวนาน เริ่มจากการส่งดาวเทียมไทยคม 6 ขึ้นสู่อวกาศในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งนับเป็นหนึ่งในดาวเทียมดวงแรกๆ ที่ถูกส่งด้วยจรวด Falcon 9 จากความสำเร็จดังกล่าว เราจึงใช้บริการของ SpaceX ส่งดาวเทียมไทยคมดวงต่อๆ มาด้วยเช่นกัน จากเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและความน่าเชื่อถือของจรวด Falcon 9 เรามั่นใจว่าความร่วมมือกับ SpaceX ในครั้งนี้ จะสร้างความเชื่อมั่นในการส่งดาวเทียมไทยคม 10 ขึ้นสู่วงโคจรได้อย่างคุ้มค่าและสำเร็จตามแผนที่วางไว้”

GULF ฉลุยควบ INTUCH จับตาหนุนธุรกิจโตแกร่ง

GULF ฉลุยควบ INTUCH จับตาหนุนธุรกิจโตแกร่ง

          หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี รายงานว่า เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา GULF ได้จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น (EGM) เพื่อพิจารณาการควบรวมกิจการกับ INTUCH โดยผลการลงคะแนนเสียงแสดงให้เห็นว่ามีผู้ถือหุ้นร้อยละ 99.9931 หรือประมาณ 10,497 ล้านเสียงที่สนับสนุนการควบรวม ขณะที่มีเพียง 0.0068% หรือ 715,100 เสียงที่ไม่เห็นด้วย เรามีมุมมองบวกจากค่าใช้จ่ายในการซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นที่คัดค้านไม่เป็นสาระสำคัญและไม่ส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของบริษัท           Our view: การซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นที่คัดค้านไม่เป็นสาระสำคัญ เพื่อให้เป็นไปตามพรบ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 GULF จะต้องเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นที่คัดค้านในราคาตลาดในวันที่ทำการสุดท้ายก่อนการประชุม ซึ่งในกรณีนี้คือราคาปิดในวันที่ 2 ตุลาคม 2567 หรือ 56.50 บาท ทำให้ค่าใช้จ่ายในการซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นที่คัดค้านอยู่ที่เพียง 40.4 ล้านบาท หรือ 0.0085% ของสินทรัพย์รวมของ GULF ณ สิ้นมิ.ย. 2567 เท่านั้น เราจึงมีมุมมองบวกต่อ GULF ที่จะทำให้การควบรวมกิจการกับ INTUCH ไปสู่ขั้นตอนต่อไปได้           สำหรับขั้นตอนต่อไป GULF และ INTUCH จะดำเนินการส่งหนังสือแจ้งเจ้าหนี้ของ GULF และ INTUCH ภายใน 14 วัน หลังวัน EGM และให้ส่งคำคัดค้านภายในสองเดือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติ และเมื่อเงื่อนไขบังคับก่อนการทำธุรกรรมการทำ VTO ใน ADVANC และ THCOM สำเร็จครบถ้วน (หรือได้รับการผ่อนผัน) โดยเงื่อนไขที่สำคัญคือการขอ consent จากเจ้าหนี้ของทั้งสองบริษัท รวมถึงการขอ consent จาก third party ของบริษัทในกลุ่ม และการจัดหาเงินทุนสำหรับ VTO จึงจะเริ่มทำ VTO ของ ADVANC และ THCOM ในช่วง 4Q24-1Q25 นอกจากนี้ ช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นช่วงที่ผู้รับซื้อหุ้นของ GULF และ INTUCH จากผู้ถือหุ้นที่คัดค้าน (หรืออาจจะดำเนินการก่อนช่วง VTO) โดยราคารับซื้อหุ้น GULF จะอยู่ที่ 56.50 บาท และ INTUCH อยู่ที่ 91 บาท (ราคารับซื้อเดิมของ GULF คือ 45 บาท และ INTUCH คือ 76 บาท ทั้งนี้จากราคา หุ้นที่เกินกว่าที่กำหนดจะเป็นดุลพินิจของผู้รับซื้อหุ้นว่าจะรับซื้อหรือไม่ หากไม่รับซื้อ ทั้ง GULF และ INTUCH ต้องหาผู้มารับซื้อใหม่)           Consensus ราคาเป้าหมายเฉลี่ยอยู่ที่ 57.3 บาท แนะนำซื้อ GULF เทรดอยู่ที่ premium เทียบกับคู่แข่ง โดยจากข้อมูล consensus คือเทรดอยู่ที่ 2024F PBV ที่ 5 เท่า PER ที่ 36 เท่า และมี ROE สูงอยู่ที่ 12% เรามองการประเมินมูลค่าเหมาะสมได้รับการสนับสนุนจากกลยุทธ์ของบริษัทที่จะมีการเติบโตทั้งในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค และในธุรกิจโทรคมนาคมผ่าน INTUCH, ADVANC และ THCOM หลังการควบรวมกิจการ

[PR News] ไทยคม ร่วมมือ INVIDI Technologies และ PSI เปิดตัวโซลูชันโฆษณา Addressable Advertising

[PR News] ไทยคม ร่วมมือ INVIDI Technologies และ PSI เปิดตัวโซลูชันโฆษณา Addressable Advertising

          กรุงเทพ, 2 ตุลาคม 2567 - บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจดาวเทียมแห่งเอเชีย และผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีอวกาศ จับมือกับ INVIDI Technologies บริษัทชั้นนําระดับโลกด้านการให้บริการโฆษณาในรูปแบบเจาะกลุ่มเป้าหมาย หรือ Addressable Advertising จากสหรัฐอเมริกา และ บริษัท พีเอสไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (PSI หรือ พีเอสไอ) ผู้นำธุรกิจจานรับสัญญาณและกล่องทีวีดาวเทียมรายใหญ่ที่สุดในไทย ร่วมกันเปิดตัวโซลูชันโฆษณาแบบเจาะกลุ่มเป้าหมาย หรือAddressable Advertising ในประเทศไทย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยให้นักโฆษณานำเสนอการโฆษณาไปถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นรายบุคคล หรือไปตามครัวเรือนได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ โดยนำเทคโนโลยี Addressable Advertising ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่ง INVIDI เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก มาช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมบรอดคาสต์ในไทย เพิ่มเม็ดเงินโฆษณา และสร้างคอนเทนต์ใหม่ๆ ให้ตรงใจผู้ชม           จากข้อมูลของ Media Partners Asia ระบุว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า การโฆษณาแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมายในประเทศไทยจะมีการเติบโตต่อปีสูงถึง 19% ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอินเดียจะมีการเติบโตต่อปีสูงถึง 24% ดังนั้น Addressable TV จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจโฆษณาในไทย สนับสนุนให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์สูงสุดร่วมกัน ทั้งการเพิ่มสัดส่วนรายได้ให้กับผู้ผลิตและผู้ให้บริการโฆษณา เป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าของแบรนด์นำเสนอคอนเทนต์ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันผู้ชมยังสามารถรับชมโฆษณาที่ตรงใจกับความต้องการของตนเองได้ด้วย           นายเอกชัย ภัคดุรงค์ หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านกลยุทธ์องค์กร บมจ.ไทยคม กล่าวว่า ไทยคมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบรอดคาสต์ของประเทศ มีความมุ่งมั่นนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับลูกค้า การร่วมงานกับ INVIDI และ PSI ในการพัฒนาโซลูชัน Addressable Advertising ในครั้งนี้ ถือเป็นการระดมความร่วมมือในระดับอุตสาหกรรมและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างประโยชน์แก่ทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมบรอดคาสต์ไทย           ด้าน นายภานุวัฒน์ ผงสุวรรณกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร PSI กล่าวว่า ปัจจุบัน PSI ครองส่วนแบ่งการตลาดกล่องรับสัญญาณทีวีดาวเทียมมากที่สุดในประเทศไทย เรารู้สึกยินดีที่ได้เป็นพันธมิตรร่วมกับ ไทยคมและ INVIDI เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ขึ้นมา เราเชื่อมั่นว่า การโฆษณาในรูปแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายจะช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมบรอดคาสต์ในประเทศไทยให้มีการเติบโตมากขึ้นในอนาคต           นิค ฉั่ว (Nick Chuah) กรรมการผู้จัดการประจำเอเชีย-แปซิฟิกของ INVIDI กล่าวด้วยว่า การโฆษณาบนจอทีวีในทุกวันนี้มีศักยภาพที่สูงมาก เนื่องจากเราเห็นความสำเร็จของรายได้ที่สูงขึ้นจากการโฆษณาในรูปแบบนี้ในสหรัฐอเมริกา เราจึงได้ร่วมมือกับไทยคมและ PSI ในฐานะที่เป็นผู้นำอุตสาหกรรมนี้ ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีการโฆษณา Addressable Advertising เพื่อใช้ในประเทศไทย           ไทยคม INVIDI และPSI ตั้งเป้าที่จะให้บริการ Addressable Advertising ผ่านระบบทีวีดาวเทียมในช่วงครึ่งหลังของปี 2568  และขยายบริการในระบบทีวีภาคพื้นดินต่อไปในปี 2569

abs

Hoonvision