#THAI


THAI แปลงหนี้เป็นทุน BBL-KTBรับอานิสงส์ เช็กเลย!

THAI แปลงหนี้เป็นทุน BBL-KTBรับอานิสงส์ เช็กเลย!

            หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล. ดาโอ ระบุว่า BBL, KTB แจ้งแบบ 246-2 เข้าถือหุ้น THAI จากการแปลงหนี้เป็นทุน ทำให้แนวโน้ม NPL จะลดลง โดย BBL แจ้งในแบบรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ (แบบ 246-2) ของหุ้น THAI ที่จำนวน 2,407,879,062 หุ้น สัดส่วน 10.3507% ส่วน KTB ถือหุ้น THAI ที่ 1,327,322,126 หุ้น สัดส่วน 5.7280% (ที่มา: SEC)             มีมุมมองเป็นบวกต่อ BBL และ KTB เพราะจะทำให้ NPL จะลดลง คาดเร็วสุดใน 4Q24E โดยอ้างอิงจากหนังสือชี้ชวน THAI (วันที่ 20 ต.ค. 22) พบว่า BBL มีการปล่อยสินเชื่อ (ไม่รวมหุ้นกู้) ให้ THAI ที่ 9.3 พันล้านบาท และ KTB อยู่ที่ 6.9 พันล้านบาท และหลังจากมีการแปลงหนี้เป็นทุนพบว่าBBL ถือหุ้นใน THAI ที่ประมาณ 2.4 พันล้านหุ้น (สัดส่วน 10.35%) จากเดิมที่ 9.4 ล้านหุ้น โดยมีราคาแปลงหนี้เป็นทุนที่ 2.5452 บาท ทำให้เราคาดว่าจะได้มูลค่าที่แปลงหนี้เป็นทุนได้ 6.1 พันล้านบาท ซึ่งจะทำให้ NPL ของ BBL จะลดลงได้ -0.22% จาก 3Q24 ที่อยู่ที่ 3.40% ทั้งนี้หลังการเพิ่มทุนแบบ RO สำเร็จ หากผู้ถือหุ้นเดิมใช้สิทธิ์ครบ 100% จะส่งผลให้ BBL ถือหุ้น THAI ที่ระดับราว 7.30% ซึ่งเป็นไปตามแผนของ BBL ที่จะถือหุ้นไม่เกิน 10%KTB ถือหุ้นใน THAI ที่ประมาณ 1.327 พันล้านหุ้น (สัดส่วน 5.728%) จากเดิมไม่พบจำนวนหุ้นเพราะไม่ได้ติดรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยมีราคาแปลงหนี้เป็นทุนที่ 2.5452 บาท ทำให้เราคาดว่าจะได้มูลค่าที่แปลงหนี้เป็นทุนได้ 3.4 พันล้านบาท ซึ่งจะทำให้ NPL ของ KTB จะลดลงได้ -0.13% จาก 3Q24 ที่อยู่ที่ 3.14% ทั้งนี้หลังการเพิ่มทุนแบบ RO สำเร็จ หากผู้ถือหุ้นเดิมใช้สิทธิ์ครบ 100% จะส่งผลให้ KTB ถือหุ้น THAI ที่ระดับราว 4.02%โดยเราคาดว่าแนวโน้ม NPL จากประเด็นนี้จะลดลงได้เร็วสุดใน 4Q24E             แนะนำ “ซื้อ” BBL และราคาเป้าหมายที่ 186.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.60x (-1.00SD below 10-yr average PBV) เพราะ BBL ยังคงมีความแข็งแกร่งทางด้านการเงินที่รองรับความเสี่ยงได้ดีกว่าคู่แข่ง โดยมี coverage ratio สูงที่สุดในกลุ่มที่ 267% ด้าน Valuation ยังน่าสนใจโดยเทรดที่ PBV เพียง 0.53x หรือที่ระดับ -1.25SD ย้อนหลัง 10 ปี ถูกกว่ากลุ่มที่เทรดที่ PBV ที่ 0.66x             แนะนำ “ซื้อ” KTB และราคาเป้าหมายที่ 24.50 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.74x (-0.50SD below 10-yr average PBV) จากกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในกลุ่มธนาคารที่ +18% YoY ขณะที่กำไรสุทธิ 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY และ KTB เน้นปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำและรองรับกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้ ขณะที่ valuation ปัจจุบันซื้อขายที่ระดับต่ำเพียง PBV ที่ 0.67x (-1.00SD below 10-yr average PBV)

จับตา THAI เพิ่มทุน ผลงานฟื้นเป็นกำไร

จับตา THAI เพิ่มทุน ผลงานฟื้นเป็นกำไร

            หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) สรุปประเด็นสำคัญกรณี THAI เสนอขายหุ้นเพิ่มทุน (6-12 ธ.ค.)             THAI เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นเดิม (Right Offering) ในอัตรา 1 หุ้นเดิม ต่อ 4.5 หุ้นเพิ่มทุน ที่ราคา 4.48 บาท/หุ้นที่ปรึกษาทางการเงินประเมินมูลค่ายุติธรรมของหุ้น THAI ที่ 4.89-6.29 บาท ด้วยวิธี EV/EBITDA ที่ 4-5x อิงจากค่าเฉลี่ยสายการบิน Full service ทั่วโลก และสมมติฐาน EBITDA ปี 2025F ที่ 45,067 ล้านบาท             THAI กลับมามีกำไรปกติ 24,866 ล้านบาท ในปี 2023 และคาดว่ากำไรปกติจะอยู่ที่ 17,282 ล้านบาท ในปี 2024F (9M24 มีกำไรปกติแล้ว 10,996 ล้านบาท) ทั้งนี้ คาดว่ากำไรปี 2024F จะลดลงเพราะค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ สูงขึ้น และในปี 2025F คาดว่า THAI จะมีกำไรปกติเติบโตต่อเนื่องที่ 20,803 ล้านบาท (+20% YoY) ณ สิ้น 3Q24 THAI มีหนี้ที่มีดอกเบี้ย 1.7 แสนล้านบาท และมีส่วนทุนติดลบ -2.8 หมื่นล้านบาท และการแปลงหนี้เป็นทุนในเดือน พ.ย.24 (ราคาแปลงเป็นทุนที่ 2.5452 บาท/หุ้น) ซึ่งเจ้าหนี้ใช้สิทธิ์ 90% ทำให้ลดหนี้ลงได้ 5.3 หมื่นล้านบาท และมีหุ้นเพิ่มจากการแปลงหนี้เป็นทุนครั้งนี้จำนวน 20,989 ล้านหุ้น (เทียบกับหุ้นสามัญเดิม THAI ที่ 2,183 ล้านหุ้น) หากการขายหุ้นเพิ่มทุน (RO) ครั้งนี้ขายได้ 100% จะทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้น THAI ฟื้นกลับมาเป็นบวก 69,486 ล้านบาท และ THAI จะมีเงินสดในมือกว่า 103,786 ล้านบาท (จากเงินสดเพิ่มทุน 44,005 ล้านบาท และเงินสด ณ สิ้น 3Q24 ที่ 59,782 ล้านบาท)             หลังเสร็จสิ้นการเพิ่มทุนครั้งนี้ THAI จะทำเรื่องขอออกจากแผนฟื้นฟูและให้หุ้น THAI กลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์อีกครั้งประมาณกลางปี 2025F ความเห็นและคำแนะนำ             มองหุ้น THAI น่าสนใจจากผลการดำเนินงานฟื้นตัวเป็นกำไร และฐานะทางการเงินแข็งแรงขึ้น พร้อมสำหรับการลงทุนในอนาคต ราคาหุ้นเพิ่มทุนต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรมที่ประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงิน หรือมี Upside ราว 9-40% อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหุ้น THAI มีความเสี่ยงที่ต้องติดตาม ดังนี้             มองผลการดีขึ้นของ THAI เกิดจาก 3 ส่วน คือ (1) การฟื้นฟูกิจการทำให้ THAI ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (2) อุตสาหกรรมการบินในปี 2023-2024 มีปัจจัยบวกจาก Supply จำกัด ขณะที่ Demand ฟื้นตัวจากสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย และ (3) THAI (อาจ) ได้ประโยชน์จากต้นทุนและค่าใช้จ่ายพิเศษจากคู่ค้าและเจ้าหนี้ในช่วงฟื้นฟูกิจการ ดังนั้น จึงมีความไม่แน่นอนว่าหากสิ้นสุดปัจจัยบวกข้อ (2) และ (3) ผลประกอบการของ THAI จะยังแข็งแกร่งหรือไม่             การที่ THAI ล้มเหลวในการดำเนินงานและต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการในอดีตส่วนหนึ่งเกิดจากการเข้ามามีบทบาทใน THAI มากเกินไปของรัฐบาล ทำให้การดำเนินงานไม่มีประสิทธิภาพ และล่าสุด (เดือน พ.ย.24) มีสัญญาณว่ารัฐบาลเตรียมกลับมามีบทบาทใน THAI มากขึ้นอีกครั้ง ด้วยการส่งตัวแทนจากรัฐบาล 2 คน เข้ามาเป็นผู้บริหารแผนเพิ่มทุน ทำให้มีตัวแทนจากรัฐบาลเพิ่มเป็น 3 คน ในผู้บริหารแผนทั้งหมด 5 คน และหลังการปรับโครงสร้างทุนครั้งนี้เราคาดว่ารัฐบาลและหน่วยงานรัฐจะมีสัดส่วนการถือหุ้น THAI ไม่น้อยกว่า 40% โดยเจ้าหนี้บางส่วนไม่เห็นด้วยกับการเข้ามามีบทบาทมากขึ้นของรัฐบาล และอยู่ระหว่างยื่นฟ้องศาลเพื่อล้มเลิกมติดังกล่าว             มีความเสี่ยงกรณีมีแรงขายทำกำไรจาก (1) ผู้ถือหุ้นเดิม (2.2 พันล้านหุ้น) ที่ถือหุ้น THAI ก่อนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งมีราคา ปิด (17 พ.ค. 21) ที่ 3.32 บาท และ (2) เจ้าหนี้ที่แปลงหนี้เป็นทุนที่ 2.5452 บาท/หุ้น (2.1 หมื่นล้านหุ้น) อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มนี้มี Lock-up Period 1 ปี นับแต่หุ้นกลับเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ และ 25% ของหุ้นกลุ่มนี้สามารถขายได้เมื่อครบกำหนด 6 เดือน             ผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนจะขาดสภาพคล่องราว 6 เดือน เนื่องจากคาดว่าหุ้น THAI จะกลับเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ราวกลางปี 2025F

การบินไทยไตรมาส 3/67 พลิกมีกำไร12,483ล้าน หลังปรับโครงสร้างหนี้-ขยายเส้นทางบินใหม่

การบินไทยไตรมาส 3/67 พลิกมีกำไร12,483ล้าน หลังปรับโครงสร้างหนี้-ขยายเส้นทางบินใหม่

           การบินไทยและบริษัทย่อยไตรมาส 3/2567 โชว์กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 12,483 ล้านบาท จากปีก่อน เป็นผลจากการขยายเส้นทางบินใหม่ และมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับจีน รวมถึงการปรับโครงสร้างหนี้และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สะท้อนการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว            บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ("บริษัทฯ") ขอนำส่งงบการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อยสำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2567 ซึ่งผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชีแล้วพร้อมคำอธิบายผลการดำเนินงานและการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินสำหรับไตรมาสที่ 3ปี 2567 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2567 ตามรายละเอียดในสิ่งที่ส่งมาด้วยโดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้            ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 บริษัทฯ มีเครื่องบินที่ใช้ทำการบินทั้งสิ้น 77 ลำ โดยในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 บริษัทฯ มีอัตราการใช้ประโยชน์ของเครื่องบินเฉลี่ย 13.1 ชั่วโมง มีจำนวนผู้โดยสารที่ทำการขนส่งรวมทั้งสิ้น 3.94 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.5 มีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK)เพิ่มขึ้นร้อยละ 262 และปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (PPK เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนในขณะที่อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) ปรับตัวลดลงจาก 77.3% ในงวดเดียวกันของปีก่อนเป็น 76.1% และมีรายได้จากผู้โดยสารเฉลี่ยต่อหน่วย (รวมค่าธรรมเนียมชดเชยค่าน้ำมันและค่าเบี้ยประกันภัย)อยู่ที่ 2.83 บาท ต่ำกว่าปีก่อนร้อยละ 3.4 และสำหรับด้านการขนส่งสินค้ามีปริมาณการผลิตด้านพัสดุภัณฑ์ (ADTK เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 และปริมาณการขนส่งพัสดุภัณฑ์ (RFTH) เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน            ในขณะที่อัตราส่วนการขนส่งพัสดุภัณฑ์ (Freight Load Factor) เฉลี่ยเท่ากับ 52.5%ใกล้เคียงกับงวดเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้รวม (ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) ทั้งสิ้น 45,828 ล้านบาท สูงกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 8,820 ล้านบาท (23.8%) โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้จากกิจการขนส่งที่เพิ่มขึ้น 7,450 ล้านบาท (21.7%6) โดยรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น 6,182 ล้านบาท (20.0%) เนื่องจากการเพิ่มจำนวนเที่ยวบิน และเส้นทางบินที่ให้บริการ เพื่อรองรับปริมาณความต้องการเดินทางของ ผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น โดยในไตรมาสนี้ บริษัทฯ กลับมาให้บริการในเส้นทางบินสู่มิลาน สาธารณรัฐอิตาลี และออสโล ราชอาณาจักรนอร์เวย์ นอกจากนี้ ได้เพิ่มความถี่ไปยังเมืองปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับจีนจากมาตรการยกเว้นวีซ่าของทั้ง 2 ประเทศ และมีรายได้จาก            ค่าระวางขนส่งและไปรษณียภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น 1,268 ล้านบาท (36.6%) นอกจากนี้บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้จาก กิจการอื่นเพิ่มขึ้น 589 ล้านบาท (28.1%) และมีรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น 781 ล้านบาท (146.5%) ในขณะที่ค่าใช้จ่ายรวม (ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 9,347 ล้านบาท (31.9%6) ตามปริมาณการผลิตและ/หรือปริมาณการขนส่งจำนวนเที่ยวบิน จุดบิน และผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น ค่าใช้จ่ายซ่อมแชมและซ่อมบำรุงอากาศยานซึ่งเพิ่มขึ้นจากประมาณการค่าซ่อมที่สูงขึ้นตามจำนวนเครื่องบินที่ใช้ในการปฏิบัติการเพิ่มขึ้น ค่าบริการการบิน เนื่องจากอัตราค่าบริการภาคพื้นที่สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขายและโฆษณาซึ่งเพิ่มขึ้นตามประมาณการจองบัตรโดยสารที่เพิ่มสูงขึ้นและค่าใช้จ่ายอื่นที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงินไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 7,192 ล้านบาท ต่ำกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 527 ล้านบาท (6.8%) และสำหรับต้นทุนทางการเงิน (ซึ่งเป็นการรับรู้ต้นทุนทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 :TFRS 9) จำนวน 4,829 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 1,107 ล้านบาท (29.7%)            บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวสุทธิเป็นรายได้รวม 10,119 ล้านบุร สาเหตุหลักมาจากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ ปรับปรุงค่าธรรมเนียมสำหรับ บัตรโดยสารที่หมดอายุ และส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ถึงแม้จะมีเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างโครงการร่วมใจจากองค์กร ผลขาดทุนจากการด้อยค่าซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน TFRS 9 และปรับปรุงสินค้าคงเหลือในกลุ่มที่ไม่มีฝูงบิน ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 12,483 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 10,937 ล้านบาท โดยเป็นกำไรส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 12,480 ล้านบาท คิดเป็นกำไร ต่อหุ้น 5.72 บาท สูงกว่าปีก่อน 5.02 บาทต่อหุ้น (717.1%) โดยมี EBITDA หลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามเงื่อนไขสัญญาเช่าเครื่องบิน รวมค่าเช่าเครื่องบินที่คำนวณจากการใช้เครื่องบินที่เกิดขึ้นจริง (Power by the Hour)จำนวน 6,655 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าปีก่อน 1,705 ล้านบาท (20.4%)            ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีสินทรัพย์รวมจำนวน 263,743 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 จำนวน 24,752 ล้านบาท (10.4%) หนี้สินรวมมีจำนวน 291,684 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 จำนวน 9,551 ล้านบาท (3.4%) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ติดลบจำนวน 27,941 ล้านบาท ติดลบลดลงจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 จำนวน 15,201 ล้านบาท

การบินไทยหวนคืนตลาดหุ้น BBL-KTB รับอานิสงส์

การบินไทยหวนคืนตลาดหุ้น BBL-KTB รับอานิสงส์

          หุ้นวิชั่น- จับตาการบินไทยจะออกจากการฟื้นฟูกิจการปีหน้า เป็นบวกต่อคุณภาพสินทรัพย์ BBL-KTB           ฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CGSI ระบุในบทวิเคราะห์ ว่า บริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) หรือ THAI มีแผนปรับโครงสร้างทุนในไตรมาส 4/67 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟูกิจการตามคำสั่งของศาลล้มละลายกลาง แผนปรับโครงสร้างเงินทุน ประกอบด้วย 1.การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนไม่เกิน 9,800 ล้านหุ้น ราคา 2.5452 บาท/หุ้น เพื่อรองรับการแปลงหนี้เป็นทุนของเจ้าหนี้ 2.การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่บุคคลวงจำกัด (private placement) เพื่อรองรับการใช้สิทธิซื้อหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิม, พนักงานและนักลงทุน           จากนั้น THAI จะลดพาร์เพื่อล้างขาดทุนสะสม ซึ่งผู้บริหารของ THAI คาดว่าส่วนของผู้ถือหุ้นจะกลับมาเป็นบวกเดือนก.พ.68 หลังจากนั้น THAI จะนำส่งงบการเงินให้ SET และ SEC เพื่อเตรียมออกจากแผนฟื้นฟูกิจการในเดือนเม.ย. 68 และ THAI คาดว่าศาลล้มละลายกลางจะเห็นชอบให้ออกจากแผนฟื้นฟูกิจการเดือนพ.ค. 68ดังนั้น ผู้บริหารจึงคาดว่าหุ้น THAI น่าจะกลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯก่อนสิ้นเดือนมิ.ย. 68           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI ระบุว่า สำหรับธนาคาร 7 แห่งที่ทำการศึกษาพบว่า BBL และ KTB เป็นธนาคารที่มีการปล่อยเงินกู้ให้กับ THAI มูลค่า 1.19 หมื่นล้านบาทและ 5.8 พันล้านบาท ตามลำดับ ส่วนเจ้าหนี้รายอื่นไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่ศึกษาหรือไม่ได้จดทะเบียนใน SET ทั้งนี้ตามข้อมูล ณ สิ้นไตรมาส 2/67 BBL ถือหุ้น THAI 0.4% แต่สัดส่วนจะเพิ่มเป็น 5.8% หลังแปลงหนี้เป็นทุน           ขณะที่เชื่อว่าทั้ง BBL และ KTB น่าจะจัดชั้นหนี้ของ THAI เป็น NPL ตั้งแต่บริษัทยื่นขอฟื้นฟูกิจการในปี 63 ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากกรอบเวลาที่ THAI จะออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ ธนาคารทั้งสองแห่งจึงน่าจะจัดชั้นหนี้ของ THAI เป็นสินเชื่อปกติหรือ stage 1 ได้ภายในไตรมาส 4/68 ซึ่งหนึ่งในเงื่อนไขเพื่อออกจากแผนฟื้นฟู กิจการคือ THAI จะต้องชำระคืนหนี้อย่างสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 5 ปี           กรณีที่หนี้ของ THAI ถูกจัดชั้นเป็นสินเชื่อปกติ คาดว่า BBL จะมีอัตราส่วน NPL ลดลงจาก 3.64% ณ สิ้นไตรมาส 2/67 เป็น 3.18% และอัตราการตั้งสำรองต่อหนี้ NPL จะเพิ่มจาก 283% เป็น 321% ขณะเดียวกันคาดว่า KTB จะมีอัตราส่วน NPL ลดลงจาก 3.85% เป็น 3.59% และอัตราการตั้งสำรองต่อหนี้ NPL จะเพิ่มขึ้นจาก 181% เป็น 192% ทั้งนี้คาดว่าธนาคารจะไม่กลับรายการเงินสำรองหรือผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) แต่จะนำไปรวมกับเงินสำรองส่วนเพิ่ม (management overlay) หรือเงินสำรองทั่วไป           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI ยังแนะนำให้คงน้ำหนักการลงทุน (Neutral) ในกลุ่มธนาคารไทย เพราะมองว่ากลุ่มนี้ยังขาดปัจจัยหนุนที่แข็งแกร่งและประมาณการว่าธนาคารที่ศึกษาจะมี ROE เพียง 8.7-8.8% ในปี 67-69 (เทียบกับ ROE 11.2- 12.9% ของธนาคารในอาเซียนที่ทำการศึกษา) ขณะที่มองว่าธนาคารที่เน้นสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่น่าจะ เป็นตัวเลือกที่ดีกว่าธนาคารที่เน้นสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค           อย่างไรก็ตาม กลุ่มธนาคารจะมี upside risk หากการบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้น, ยอดส่งออกเติบโตสูงขึ้นและรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วน downside risk จะมาจากคุณภาพสินทรัพย์ที่ลดลงและการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าช้า

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

[PR News] การบินไทย ประกาศกลยุทธ์สู่เส้นทางการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

[PR News] การบินไทย ประกาศกลยุทธ์สู่เส้นทางการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

          กรุงเทพฯ – วันที่ 3 ตุลาคม 2567 –บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประกาศเส้นทางสู่การเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนภายใต้แนวคิด“Fly for The New Pride” สู่ขอบฟ้าใหม่แห่งความภูมิใจ เพื่อมุ่งสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจภายใต้การบริหารจัดการของทีมผู้บริหารมืออาชีพที่มากด้วยประสบการณ์ หลังจากได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและผลลัพธ์ในการฟื้นฟูกิจการอย่างแข็งขันมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการปรับโครงสร้างองค์กรสู่ก้าวใหม่ในฐานะบริษัทเอกชน การปรับฝูงบินและเส้นทางการบิน การปรับปรุงการให้บริการและประสิทธิภาพการดำเนินงาน ตลอดจนการปรับโครงสร้างค่าตอบแทน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงาน เตรียมทะยานสู่ความสำเร็จในอุตสาหกรรมการบินครั้งใหม่ที่ต่างจากเดิม และร่วมส่งเสริมความแข็งแกร่งให้ตลาดทุนไทยด้วยการกลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในช่วงไตรมาส 2 ปี 2568           นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลากว่า 3 ปีที่ผ่านมา การบินไทยได้ดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการอย่างเคร่งครัด จนได้รับผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่คาดหวังเป็นอย่างดี แผนฟื้นฟูกิจการนี้เปรียบเสมือนการพลิกโฉมองค์กรครั้งสำคัญ ทั้งในด้านการปรับโครงสร้างองค์กรที่พ้นจากสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ สู่ก้าวใหม่ในฐานะบริษัทเอกชนที่ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คล่องตัว และมีความโปร่งใส โดยผลงานที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนไม่ว่าจะเป็น การปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อลดค่าใช้จ่าย การปรับกลยุทธ์ฝูงบินและเส้นทางการบินเพื่อเพิ่มรายได้และสร้างกำไรในทุกเส้นทางบิน การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินงาน การปรับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการคัดเลือกและประเมินบุคลากรที่โปร่งใส รวมถึงการปรับโครงสร้างทางการเงินอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียม และเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของการบินไทย”           การปรับโครงสร้างองค์กรของการบินไทยมีการดำเนินการที่สำคัญประกอบด้วย การปรับลดขนาดองค์กร โดยลดจำนวนพนักงานลง เหลือประมาณ 14,000 คนในปี 2565 การปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจกลุ่มธุรกิจจากไทยสมายล์ เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ เช่น แอปพลิเคชัน Thai Airways Mobile App เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้โดยสารและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานภายใน และระบบ HR Core Value มาใช้ในการคัดเลือกพนักงาน การปรับโครงสร้างทางการเงิน ได้เจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้โดยไม่ตัดหนี้ (Hair Cut) แต่ปรับปรุงเงื่อนไขการชำระหนี้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ บริหารจัดการทรัพย์สิน และต้นทุนในการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน           “การบินไทยขอขอบคุณทุกภาคส่วน ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ที่ร่วมแรงร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวเพื่อก้าวข้ามความท้าทายต่าง ๆ มาด้วยกัน และในวันนี้ นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของกระบวนการออกจากกระบวนการฟื้นฟูกิจการ หลังจากบรรลุเป้าหมายของแผนการดำเนินงานตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 3.37 แสนล้านบาท เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565 การเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจจนทำให้ EBITDA หลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามสัญญาเช่าเครื่องบิน ตั้งแต่กรกฎาคม 2566 ถึงมิถุนายน 2567 เท่ากับ 29,292 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดไว้ที่ไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาทในรอบ 12 เดือนย้อนหลัง และการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ โดยไม่เกิดเหตุผิดนัด อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 ยังคงติดลบ 40,427 ล้านบาท การบินไทยจึงเร่งดำเนินงานตามแผนปรับโครงสร้างทุนเพื่อให้ส่วนของผู้ถือหุ้นของการบินไทยกลายเป็นบวก ผ่านการแปลงหนี้เป็นทุน 2 ส่วน คือแปลงหนี้เดิมของเจ้าหนี้เป็นทุนภาคบังคับ และให้สิทธิแก่เจ้าหนี้เพื่อแปลงหนี้เป็นทุนเพิ่มเติมโดยความสมัครใจ รวมถึงจะมีการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลตามที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนด ได้แก่ ผู้ถือหุ้นเดิมของการบินไทยก่อนการปรับโครงสร้างทุน พนักงานการบินไทย และบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ตามลำดับ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของทุนให้กับการบินไทย และเตรียมความพร้อมสำหรับการนำหุ้นการบินไทยกลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกครั้ง โดยภายหลังการปรับโครงสร้างทุนภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการในครั้งนี้ คาดว่ากระทรวงการคลังจะยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แต่สัดส่วนการถือหุ้นจะลดลง เพื่อเปิดโอกาสให้กับนักลงทุนรายอื่น ๆ ซึ่งกระบวนการปรับโครงสร้างทุนตามที่แผนนี้จะเสร็จสิ้นภายในปี 2567 ก่อนที่จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ และคาดว่าการบินไทยจะสามารถยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อยกเลิกการฟื้นฟูกิจการและนำหุ้นของการบินไทยกลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในไตรมาส 2 ปี 2568” นายปิยสวัสดิ์กล่าวเสริม           นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในช่วงที่ผ่านมา ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่สำคัญ อาทิ ASK หรือ Available Seat Kilometers ซึ่งเป็นตัวชี้วัดปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร, Aircraft utilization หรืออัตราการใช้ประโยชน์ของเครื่องบิน, และ Cabin factor หรืออัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร ที่ล้วนแล้วแต่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความแข็งแกร่งของการบินไทยในการกลับมาให้บริการอย่างเต็มรูปแบบอีกครั้ง”           ความสำเร็จจากการปรับปรุงการดำเนินงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ การปรับเส้นทางบินและความถี่ของเที่ยวบินให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด การพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้โดยสาร รวมถึงการยกระดับคุณภาพการบริการในทุก ๆ จุดสัมผัส ทั้งหมดนี้ส่งผลให้การบินไทยมีจำนวนผู้โดยสาร ปริมาณการขนส่ง และรายได้เพิ่มขึ้น โดยในปี 2566 มีผู้โดยสารรวมประมาณ 13.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 9 ล้านคนในปี 2565 และมีรายได้รวมสูงถึง 165,491.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 105,212.3 ล้านบาทในปี 2565           “วันนี้ การบินไทยพร้อมที่ก้าวสู่ขอบฟ้าใหม่แห่งความภูมิใจ “Fly for The New Pride” เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่จะนำพาการบินไทยให้ทะยานโลดแล่นบนท้องฟ้าได้ไกลกว่าเดิม มุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการปฏิวัติธุรกิจอย่างมืออาชีพ การสร้างเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่ง และการยกระดับมาตรฐานการบริการในทุกด้าน เรามุ่งมั่นที่จะเชื่อมโยงความเป็นไทยสู่สากล พร้อมสร้างประสบการณ์ใหม่ที่น่าประทับใจให้กับผู้โดยสาร และเรียกความไว้วางใจจากคนไทยในฐานะสายการบินแห่งชาติให้กลับคืนมาอีกครั้ง ด้วยความภาคภูมิใจที่เราจะสร้างขึ้นด้วยกัน” นายชายเสริม กลยุทธ์สำคัญสู่เส้นทางการเติบโตครั้งใหม่ของการบินไทย ประกอบด้วย การเสริมสร้างเครือข่ายเส้นทางบินที่ครอบคลุม: โดยมุ่งเน้นการเชื่อมต่อเที่ยวบินที่ราบรื่น และตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารทั่วโลก การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้โดยสาร: โดยเน้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการเดินทาง และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์ การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุน: เพื่อสร้างความยั่งยืนและเพิ่มความสามารถในการทำกำไร การเสริมสร้างขีดความสามารถในการเพิ่มช่องทางรายได้ใหม่: เพื่อกระจายแหล่งที่มาของรายได้ และลดการพึ่งพารายได้จากธุรกิจการบินเพียงอย่างเดียว การมุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม: เพื่อสร้างคุณค่าอันยั่งยืนให้กับธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม           “ด้วยกลยุทธ์เหล่านี้ การบินไทยจะดำเนินงานได้อย่างคล่องตัว รับมือกับความท้าทาย และปรับตัวให้ทันความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว และสามารถพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เพื่อรองรับโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด เพื่อการเติบโตที่แข็งแกร่งและยั่งยืนในอนาคต” นายชายเสริม           นางเฉิดโฉม เทอดสถีรศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เสริมว่า “ผลประกอบการของบริษัทฯ ในปีที่ผ่านมา นับเป็นปีแห่งความสำเร็จ โดยเราสามารถสร้างผลกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 28,123.3 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการกิจการ และความสามารถในการทำกำไรของบริษัทฯ นอกจากนี้ ในครึ่งปีแรกของปี 2567 บริษัทฯ ยังคงมีผลกำไรต่อเนื่อง “แม้ไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 เป็นช่วงโลว์ซีซั่นของธุรกิจสายการบิน บริษัทฯ และบริษัทย่อยยังคงมีรายได้สำหรับงวด 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.2567 เพิ่มขึ้น 12,630.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหลักมาจากการกลับมาให้บริการเที่ยวบินประจำรวมถึงเปิดเส้นทางการบินใหม่เพิ่มขึ้นภายหลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) คลี่คลายและการยกเลิกมาตรการการจำกัดการเดินทางของหลาย ๆ ประเทศ ทำให้มีผู้โดยสารรวมในช่วงครึ่งปีแรก ของปี 2567 จำนวน 7.68 ล้านคน และมีอัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 78.1%”           แผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบการขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 กำหนดให้ในการปรับโครงสร้างทุนตามแผนฯ บริษัทฯ ต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนเพื่อรองรับการแปลงหนี้เดิมของเจ้าหนี้ตามแผนฯ เป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุน (Mandatory Conversion) จำนวนไม่เกิน 14,862,369,633 หุ้น ในราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น โดยเจ้าหนี้กลุ่มที่ 4 หรือกระทรวงการคลัง จะได้รับการชำระหนี้เงินต้นคงค้างเต็มจำนวนในสัดส่วนร้อยละ 100 ในขณะที่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 เจ้าหนี้กลุ่มที่ 6 และเจ้าหนี้กลุ่มที่ 18 – 31 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับการชำระหนี้เงินต้นคงค้างในอัตราร้อยละ 24.50 ของมูลหนี้เงินต้นคงค้างทั้งหมด นอกจากนี้ เจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 เจ้าหนี้กลุ่มที่ 6 และเจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นกู้ยังสามารถใช้สิทธิแปลงหนี้เงินต้นคงค้างเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนได้เพิ่มเติมโดยความสมัครใจ (Voluntary Conversion) จำนวนไม่เกิน 4,911,236,813 หุ้น ได้ในสัดส่วนที่ต้องการแต่จะต้องไม่เกินภาระหนี้ตามแผนฯ ของตน อีกทั้ง เจ้าหนี้กลุ่มที่ 4 เจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 เจ้าหนี้กลุ่มที่ 6 และเจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นกู้ตามแผนฯ ยังได้รับสิทธิแปลงดอกเบี้ยใหม่ตั้งพักเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนโดยความสมัครใจ จำนวนไม่เกิน 1,903,608,176 หุ้น โดยกำหนดให้ใช้สิทธิในการแปลงหนี้ดอกเบี้ยใหม่ตั้งพักเป็นหุ้นสามัญเต็มจำนวนของมูลหนี้เท่านั้น ไม่สามารถเลือกใช้สิทธิบางส่วนได้ ในราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น และเพื่อความสำเร็จของการปรับโครงสร้างทุนภายใต้แผนฯ รวมทั้งเป็นการรักษาเสถียรภาพด้านราคาหุ้นของการบินไทยภายหลังกลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้บริหารแผนได้กำหนดมาตรการ Lock-up ห้ามเจ้าหนี้ที่ได้รับหุ้นสามัญเพิ่มทุนจากการแปลงหนี้เป็นทุนขายหุ้นดังกล่าวจนกว่าจะครบระยะเวลา 1 ปีนับจากวันที่หุ้นของการบินไทยกลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยหลังจากวันที่ครบกำหนดระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่หุ้นของการบินไทยกลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงจะให้เจ้าหนี้ที่ได้รับหุ้นจากการแปลงหนี้เป็นทุนแต่ละรายสามารถขายหุ้นในส่วนดังกล่าวของตนได้จำนวนไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นที่ตนถูกห้ามขาย           และสำหรับกระบวนการถัดไปในเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน ประกอบด้วย การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 9,822,473,626 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 59.01 ของจำนวนหุ้นที่เสนอขายทั้งหมด รวมทั้งหุ้นที่เหลือจากกระบวนการ Voluntary Conversion (หากมี) ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของการบินไทยก่อนการปรับโครงสร้างทุน (โดยไม่จัดสรรและเสนอขายให้ผู้ถือหุ้นที่จะทำให้การบินไทยมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ)  พนักงานของการบินไทย และบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ตามลำดับ โดยจะเสนอขายในราคาที่ผู้บริหารแผนเห็นสมควรแต่จะต้องไม่ต่ำกว่า 2.5452 บาทต่อหุ้น โดยได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน (Filing) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลาดหลักทรัพย์ฯ) เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 และคาดว่าจะมีการออกรายงานประเมินมูลค่ายุติธรรมโดยที่ปรึกษาทางการเงินอิสระในช่วงกลางเดือนตุลาคม 2567 ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการใช้สิทธิของเจ้าหนี้ในการแปลงหนี้เป็นทุนในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2567 และเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในช่วงเดือนธันวาคม 2567 ต่อไป

[PR News] การบินไทยยื่นไฟลิ่งปรับโครงสร้างทุน คาดยกเลิกฟื้นฟูฯ ในไตรมาส 2/2568

[PR News] การบินไทยยื่นไฟลิ่งปรับโครงสร้างทุน คาดยกเลิกฟื้นฟูฯ ในไตรมาส 2/2568

          บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประกาศยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และ ร่างหนังสือชี้ชวน (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 เดินหน้าเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการ โดยมีเป้าหมายให้ส่วนของผู้ถือหุ้นให้กลายเป็นบวกด้วย (ก) การแปลงหนี้เดิมของเจ้าหนี้ตามแผนฯ เป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุน (Mandatory Conversion) จำนวน ไม่เกิน 14,862,369,633 หุ้น (ข) การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 4,911,236,813 หุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงหนี้เดิมตามแผนฯ เป็นทุนเพิ่มเติมโดยความสมัครใจของเจ้าหนี้ตามแผนฯ (Voluntary Conversion) และ (ค) การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 1,903,608,176 หุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงดอกเบี้ยใหม่ตั้งพักเป็นทุนโดยความสมัครใจของเจ้าหนี้ตามแผนฯ รวมถึงการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 9,822,473,626 หุ้น (รวมทั้งหุ้นที่เหลือจากกระบวนการ Voluntary Conversion (หากมี)) ให้แก่บุคคลตามที่แผนฯ กำหนด ได้แก่ ผู้ถือหุ้นเดิมก่อนการปรับโครงสร้างทุนตามแผนฯ (โดยไม่จัดสรรและเสนอขายให้ผู้ถือหุ้นที่จะทำให้การบินไทยมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ) พนักงานของการบินไทย และบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ตามลำดับ โดยกระบวนการปรับโครงสร้างทุนตามแผนฯ ทั้งหมดมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ต่อจากนั้น ภายหลังบริษัทฯ ส่งงบการเงินปี 2567 ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง ต้นปี 2568 แล้ว คาดว่าบริษัทฯ จะสามารถยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อขอยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ได้ภายในไตรมาส 2 ของปี 2568           นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การบินไทยได้ดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการอย่างเคร่งครัด รวมถึงปรับ การบริหารจัดการองค์กรให้แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ มุ่งให้เกิดผลสำเร็จตามแผนฟื้นฟูกิจการไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 3.37 แสนล้านบาทเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างทุนตามแผนฯ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565 การมี EBITDA หลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามสัญญาเช่าเครื่องบิน ในรอบ 12 เดือนย้อนหลัง ตั้งแต่กรกฎาคม 2566 ถึงมิถุนายน 2567 เท่ากับ 29,292 ล้านบาท และไม่ผิดนัดชำระหนี้ อย่างไรก็ตามส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 ยังคงติดลบ 40,427 ล้านบาท ขั้นต่อไปจึงเป็นการเร่งดำเนินงานตามแผนปรับโครงสร้างทุน ซึ่งประกอบด้วย การแปลงหนี้เป็นทุนและการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ผู้ลงทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งต้องแล้วเสร็จ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ซึ่งจะเป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยปรับให้โครงสร้างทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นของการบินไทยกลายเป็นบวก และสามารถยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ และนำหุ้นของการบินไทยกลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในไตรมาส 2 ของปี 2568 อย่างไรก็ดี การบินไทยยังต้องผูกพันตามแผนฟื้นฟูกิจการต่อไป โดยจะต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้จนครบถ้วนตามแผนฯ” [caption id="attachment_6216" align="aligncenter" width="766"] Screenshot[/caption]           ด้านนางเฉิดโฉม เทอดสถีรศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายการเงินและการบัญชี บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า “แผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบการขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 กำหนดให้ในการปรับโครงสร้างทุนตามแผนฯ บริษัทฯ ต้องเพิ่มทุนจดทะเบียน เพื่อรองรับ 1) การแปลงหนี้เดิมของเจ้าหนี้ตามแผนฯ เป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุน (Mandatory Conversion) จำนวนไม่เกิน 14,862,369,633 หุ้น ในราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น โดยเจ้าหนี้กลุ่มที่ 4 หรือกระทรวงการคลัง จะได้รับการชำระหนี้เงินต้นคงค้างเต็มจำนวนในสัดส่วนร้อยละ 100 คิดเป็นมูลค่า 12,827,461,287 บาท โดยการแปลงหนี้เป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 5,039,896,007 หุ้น ในขณะที่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 เจ้าหนี้กลุ่มที่ 6 และเจ้าหนี้กลุ่มที่ 18 – 31 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นกู้ จะได้รับการชำระหนี้เงินต้นคงค้างในอัตราร้อยละ 24.50 ของมูลหนี้เงินต้นคงค้างทั้งหมด โดยการแปลงหนี้เป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 9,822,473,626 หุ้น 2) การใช้สิทธิแปลงหนี้เป็นทุนเพิ่มเติม (Voluntary Conversion) ซึ่งเจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 เจ้าหนี้กลุ่มที่ 6 และเจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นกู้ตามแผนฯ สามารถใช้สิทธิแปลงหนี้เงินต้นคงค้างเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนได้เพิ่มเติมโดยความสมัครใจ จำนวนไม่เกิน 4,911,236,813 หุ้น ในราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น และ 3) การใช้สิทธิแปลงดอกเบี้ยใหม่ตั้งพักเป็นทุน ซึ่งเจ้าหนี้กลุ่มที่ 4 เจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 เจ้าหนี้กลุ่มที่ 6 และเจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นกู้ตามแผนฯ สามารถใช้สิทธิแปลงหนี้ดอกเบี้ยใหม่ตั้งพักเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนได้โดย ความสมัครใจ ในจำนวนไม่เกิน 1,903,608,176 หุ้น ในราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น โดยกำหนดให้ใช้สิทธิในการแปลงหนี้ดอกเบี้ยใหม่ตั้งพักเป็นหุ้นสามัญเต็มจำนวนของยอดดอกเบี้ยใหม่ตั้งพักเท่านั้น ไม่สามารถเลือกใช้สิทธิบางส่วนได้           ในส่วนของการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน การบินไทยจะเสนอขายโดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 9,822,473,626 หุ้น ให้แก่บุคคลตามที่แผนฯ กำหนด โดยแบ่งลำดับการจัดสรรเป็น 3 ลำดับ ดังนี้ 1) ผู้ถือหุ้นเดิมของการบินไทยก่อนการปรับโครงสร้างทุน โดยไม่จัดสรรและเสนอขายให้ผู้ถือหุ้นที่จะทำให้การบินไทยมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ 2) พนักงานของการบินไทย และ 3) บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ซึ่งจะจัดสรรให้แก่บุคคลในวงจำกัดในกรณีที่มีหุ้นเหลือจากการเสนอขายให้ แก่ผู้ถือหุ้นเดิมและพนักงาน โดยจะเสนอขายในราคาที่ผู้บริหารแผนเห็นสมควร แต่จะต้องไม่ต่ำกว่า 2.5452 บาทต่อหุ้น”           “และเพื่อความสำเร็จของการปรับโครงสร้างทุนภายใต้แผนฯ รวมทั้งเป็นการรักษาเสถียรภาพด้านราคาหุ้นของการบินไทยภายหลังจากวันที่กลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้บริหารแผนได้กำหนดมาตรการ Lock-up ห้ามเจ้าหนี้ที่ได้รับหุ้นสามัญเพิ่มทุนจากการแปลงหนี้เป็นทุนที่ราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น ขายหุ้นดังกล่าวจนกว่าจะครบระยะเวลา 1 ปีนับจากวันที่หุ้นของการบินไทยกลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยหลังจากวันที่ครบกำหนดระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่หุ้นของการบินไทยกลับเข้าซื้อขาย ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงจะให้เจ้าหนี้ที่ได้รับหุ้นจากการแปลงหนี้เป็นทุนแต่ละรายสามารถขายหุ้นในส่วนดังกล่าวของตนได้จำนวนไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นที่ถูกห้ามขาย ซึ่งอ้างอิงเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ” นางเฉิดโฉม กล่าวเสริม