#STEC


ครม.ไฟเขียวมอเตอร์เวย์ M5 มูลค่า7.99 หมื่นล. CK-STEC-UNIQ-ITD ลุ้นงานใหญ่

ครม.ไฟเขียวมอเตอร์เวย์ M5 มูลค่า7.99 หมื่นล. CK-STEC-UNIQ-ITD ลุ้นงานใหญ่

          หุ้นวิชั่น - Contractor - ครม.อนุมัติลงทุนโครงการมอเตอร์เวย์ M5 สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน ระยะทาง 22 กม. เป็นการร่วมลงทุนรัฐและเอกชนแบบ PPP Gross Cost โดยภาครัฐเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่เอกชนลงทุนก่อสร้าง ระยะเวลาโครงการ 34 ปี เป็นออกแบบและก่อสร้าง 4 ปี และบำรุงรักษา (O&M) 30 ปี คาดการณ์ค่าใช้จ่าย 7.99 หมื่นลบ. โดยเริ่มดำเนินการปี 2025 และเปิดบริการ 2029 เราคาดเป็นการประมูลแยกเป็นสัญญาของงานโยธา และงาน O&M โดยเริ่มจากส่วนของงานโยธาราว 3.1 หมื่นลบ. และมีโอกาสเปิดประมูลผู้รับเหมาใน 1H25 โดยผู้เข้าประมูลหลักคาดเป็น Main Contractor อย่าง CK, STEC, UNIQ, ITD ขณะที่ SEAFCO, PYLON จะได้อานิสงส์ในโอกาส Sub-contract งานเสาเข็ม ที่มา : #Finansia #FSSIA

ตลท. เตือนซื้อขาย STEC หลังแลกหุ้น STECON เสร็จแล้ว ซึ่งจะถูกเพิกถอนต่อไป

ตลท. เตือนซื้อขาย STEC หลังแลกหุ้น STECON เสร็จแล้ว ซึ่งจะถูกเพิกถอนต่อไป

          หุ้นวิชั่น - ตลท. ขอให้ผู้ลงทุนใช้ความระมัดระวังในการซื้อขายหลักทรัพย์ STEC เนื่องจากอยู่ระหว่างการนำหลักทรัพย์ของ บมจ. สเตคอน กรุ๊ป (STECON) เข้าจดทะเบียนแทนหลักทรัพย์ STEC ซึ่งจะถูกเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนต่อไป ตามที่บริษัท สเตคอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (STECON) ได้มีการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (STEC) เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้น โดยการแลกเปลี่ยน 1 หุ้นสามัญของ STEC ต่อ 1 หุ้นสามัญของ STECON ระหว่างวันที่ 19 สิงหาคม 2567 - 21 ตุลาคม 2567 เสร็จสิ้นแล้ว ซึ่ง STECON อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนแทนหลักทรัพย์ STEC นั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ผู้ลงทุนใช้ความระมัดระวังในการซื้อขายหลักทรัพย์ STEC ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เนื่องจาก STEC จะเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่มีตลาดรองในการซื้อขายหลักทรัพย์ ภายหลังการนำหลักทรัพย์ STECON เข้าจดทะเบียนแทนหลักทรัพย์ STEC ซึ่งจะถูกเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนต่อไป

[PR NEWS] STEC แจ้งเตือนผถห.! แลกหุ้น STECON

[PR NEWS] STEC แจ้งเตือนผถห.! แลกหุ้น STECON

          โค้งสุดท้ายสำหรับผู้ถือหุ้น STEC ย้ำเตือน ตอบรับคำเสนอซื้อเพื่อแลกหุ้น STEC เป็น STECON ในอัตรา 1 หุ้น STEC ต่อ 1 หุ้น STECON ปิดรับเอกสารวันสุดท้าย 21 ตุลาคมนี้ เพื่อเดินหน้านำบริษัทโฮลดิ้งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ชี้! หากขั้นตอนทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว หุ้น STEC จะไม่มีราคาตลาดอ้างอิง ส่งผลให้ผู้ถือหุ้น STEC เดิมไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลจาก หุ้น STECON           นายภาคภูมิ ศรีชำนิ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (“STEC”) เปิดเผยว่า ตามแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ เพื่อมุ่งสู่การเป็น Holding Company ภายใต้ชื่อ บริษัท สเตคอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (“บริษัทโฮลดิ้ง” หรือ “STECON”) เพื่อประกอบธุรกิจในลักษณะบริษัทลงทุนที่ไม่ได้ทำธุรกิจของตนเอง (Non-operating Holding Company) แต่เข้าถือหุ้นในบริษัทอื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการมีอำนาจควบคุมกิจการในบริษัทอื่น พร้อมรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต โดยบริษัทมีแผนลงทุนในธุรกิจที่สร้าง Recurring Income และธุรกิจใหม่ที่มีการเติบโตสูง (New S-Curve)           โดยบริษัท ขอเชิญชวนให้ผู้ถือหุ้นของ STEC นำหุ้นของตนที่จะถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามแผนการปรับโครงสร้าง ไปแลกเป็นหุ้นของ STECON ที่จะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แทนที่หุ้นของ STEC  เพื่อมุ่งสู่การเป็นบริษัทโฮลดิ้ง และสร้างประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้น รองรับโอกาสการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่มีอัตราการเติบโตสูง           โดย STECON จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ STEC จากผู้ถือหุ้นของ STEC โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับหุ้นสามัญของบริษัทโฮลดิ้งในอัตรา 1 หุ้นสามัญของ STEC ต่อ 1 หุ้นสามัญของ STECON ซึ่งได้กำหนดระยะเวลาการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของ STEC ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2567 จนถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2567 ระหว่างเวลา 9.00 น. ถึง 16.00 น. ของทุกวันทำการ รวม 45 วันทำการ และระยะเวลาดังกล่าวเป็นระยะเวลารับซื้อสุดท้ายที่ไม่ขยายเวลารับซื้ออีก           STEC จึงขอย้ำเตือนผู้ถือหุ้นของ STEC ที่ถือหุ้นในรูปแบบใบหุ้น (Scrip) ขอให้ทำการยื่นแบบตอบรับการทำคำเสนอซื้อพร้อมเอกสารประกอบให้กับตัวแทนในการรับซื้อหลักทรัพย์ คือ บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ภายในวันที่ 17 ตุลาคม 2567 ก่อนเวลา 16.00 น. เนื่องจากมีขั้นตอนตอนการชำระราคาและส่งมอบหุ้นภายใน 2 วันทำการ ถัดจากวันซื้อขาย หรือ T+2 และผู้ถือหุ้นของ STEC ที่ถือหุ้นในรูปแบบไร้ใบหุ้น (Scripless) ขอให้ทำการยื่นแบบตอบรับการทำคำเสนอซื้อพร้อมเอกสารประกอบให้กับตัวแทนในการรับซื้อหลักทรัพย์ คือ บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ภายในวันที่ 21 ตุลาคม 2567 ก่อนเวลา 16.00 น. โดยภายหลังจากการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ STEC แล้วเสร็จและเมื่อได้รับอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้รับหุ้นสามัญของ STECON เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน หุ้นของ STECON จะเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวันเดียวกับวันที่หุ้นของ STEC ถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยผู้ถือหุ้นของ STEC ที่ไม่ตอบรับคำเสนอซื้อจะได้รับผลกระทบดังนี้ ไม่สามารถทำการซื้อ ขายหุ้น STEC ผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้อีกต่อไป ขาดสภาพคล่องในการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งผลตอบแทนจากการลงทุนใน STEC จะถูกจำกัดลง เนื่องจากโอกาสที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับผลตอบแทนกำไรจากการขายหุ้น (Capital Gain) ที่เกิดขึ้นจากส่วนต่างของราคาซื้อขายหลักทรัพย์อาจลดลง เพราะ STEC จะไม่มีราคาอ้างอิงในการซื้อขาย ผู้ถือหุ้นของ STEC ที่ไม่ตอบรับคำเสนอซื้อจะดำรงสถานะเป็นผู้ถือหุ้นของ STEC ต่อไป แต่ไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลจาก STECON และในกรณีที่ STECON เริ่มดำเนินธุรกิจใหม่ ผู้ถือหุ้นของ STEC ที่ไม่ตอบรับคำเสนอซื้อจะไม่มีโอกาสได้รับเงินปันผลจากผลการดำเนินงานของธุรกิจใหม่ ผู้ถือหุ้นของ STEC ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ในการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกำไรจากการขายหุ้น (Capital Gain Tax) อีกต่อไป และการโอนขายหุ้น STEC สำหรับผู้โอน ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลจะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ในการทำธุรกรรมโอนขายหุ้น หาก STECON สามารถซื้อหุ้นของ STEC ได้มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 75 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของ STEC จะส่งผลให้ STECON สามารถควบคุมและมีอำนาจในการตัดสินใจดำเนินการด้านต่างๆ ได้เกือบทั้งหมด และผู้ถือหุ้นรายอื่นของ STEC จะไม่มีคะแนนเสียงเพียงพอในการคัดค้านถ่วงดุลเรื่องที่ STECON เสนอให้พิจารณา           ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นของ STEC ในรูปแบบใบหุ้น (Scrip) สามารถส่งแบบรับคำเสนอซื้อ พร้อมเอกสารประกอบได้ที่ตัวแทนในการรับซื้อหลักทรัพย์ ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือติดต่อบริษัทหลักทรัพย์ที่ผู้ถือหุ้นมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์อยู่           ส่วนผู้ถือหุ้น ซึ่งถือหุ้นของ STEC ในรูปแบบไร้ใบหุ้น (Scripless) สามารถส่งแบบตอบรับคำเสนอซื้อ พร้อมเอกสารประกอบได้ที่บริษัทหลักทรัพย์ที่ผู้ถือหุ้นมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์อยู่ โดยบริษัทหลักหลักทรัพย์นั้นจะบริการรวบรวมและนำส่งแบบตอบรับคำเสนอซื้อดังกล่าว ให้กับบริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ต่อไป หรือตอบรับคำเสนอซื้อออนไลน์ผ่านระบบ E-Tender Offer ของ บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)           หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อ DAOL ได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ฝ่ายปฏิบัติการหลักทรัพย์ฯ เลขที่ 87/2 อาคารซีอาร์ซีทาวเวอร์ ชั้นที่ 18 ออลซีซันส์เพลส ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 เบอร์โทรศัพท์: 02-351-1800 หรือติดต่อส่วนทะเบียนหุ้น 02-351-1801 ต่อ 5887 5898 5886 5888  

STEC แจ้งบ.ย่อยเข้าซื้อหุ้น 51% ใน มาร์ส วอเตอร์ ซัพพลาย มูลค่า 317 ล้าน

STEC แจ้งบ.ย่อยเข้าซื้อหุ้น 51% ใน มาร์ส วอเตอร์ ซัพพลาย มูลค่า 317 ล้าน

          หุ้นวิชั่น - ด้วย บริษัท สเตคอน เพาเวอร์ จำกัด ("STECP") ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ("บริษัทฯ หรือ STEC") ถือหุ้นอยู่ในสัดส่วน 99.99% ได้มีการเข้าซื้อหุ้นบริษัท มาร์ส วอเตอร์ ซัพพลาย จำกัด ในสัดส่วน 51% ซึ่งการเข้าถือหุ้นดังกล่าว เข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติของบริษัทจดทะเบียนในการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ พ.ศ. 2547 บริษัทฯ ขอแจ้งสารสนเทศของรายการดังกล่าว ดังต่อไปนี้ วันเดือนปีที่เกิดรายการ บริษัทฯ เข้าซื้อหุ้นในบริษัท มาร์ส วอเตอร์ ซัพพลาย จำกัด เพื่อถือครองหุ้นบริษัท มาร์ส วอเตอร์ ซัพพลาย จำกัด เป็นจำนวน 765,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 51% ของหุ้นทั้งหมด ในวันที่ 2 ตุลาคม 2567 คู่สัญญาที่เกี่ยวข้องและความสัมพันธ์กับบริษัทจดทะเบียน • ผู้ซื้อหุ้น: บริษัท สเตคอน เพาเวอร์ จำกัด • ผู้ขายหุ้น: 1. บริษัท ซี123 คอนสตรัคชั่น จำกัด 2. บริษัท เพช อินทีเรีย เซอร์วิสเซส จำกัด 3. บริษัท มารีนไทย โฮลดิ้ง จำกัด ความสัมพันธ์กับบริษัทจดทะเบียน บริษัท สเตคอน เพาเวอร์ จำกัด เป็นบริษัทย่อยของ STEC โดยมี STEC ถือหุ้น 99.99% ส่วนผู้ขายทั้งสามรายมิได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับบริษัทฯ หรือกับ STECP แต่อย่างใด จำนวนหุ้นที่จะซื้อ: 765,000 หุ้น สัดส่วนของจำนวนหุ้นที่จะซื้อ: ร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัท มาร์ส วอเตอร์ ซัพพลาย จำกัด มูลค่าเงินลงทุน: 317,063,957.35 บาท บริษัท มาร์ส วอเตอร์ ซัพพลาย จำกัด เป็นบริษัทที่มีการทำสัญญาซื้อขายน้ำสะอาดเพื่อการอุตสาหกรรมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) โดยมีรายละเอียดดังนี้: นิคมอุตสาหกรรมบางปู: จัดหาแหล่งน้ำเพื่อส่งขายในปริมาณขั้นต่ำ 22,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ระยะสัญญา 25 ปี โดยนิคมอุตสาหกรรมบางปูมีการใช้น้ำประปาเฉลี่ย 28,000-30,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง: จัดหาแหล่งน้ำเพื่อส่งขายในปริมาณขั้นต่ำ 14,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ระยะสัญญา 25 ปี โดยนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังมีการใช้น้ำประปาเฉลี่ย 22,000-25,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน บริษัท มาร์ส วอเตอร์ ซัพพลาย จำกัด กำลังดำเนินการโครงการในนิคมอุตสาหกรรมทั้งสองแห่ง และอยู่ระหว่างการก่อสร้างสถานีสูบน้ำแรงต่ำ สถานีผลิตน้ำสะอาด และงานวางท่อส่งน้ำ นอกจากนี้ยังมีสัญญาซื้อขายน้ำกับนิคมอุตสาหกรรมนครหลวง โดยมีปริมาณขั้นต่ำประมาณ 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการคัดเลือกผู้รับเหมาเพื่อก่อสร้างโครงการ ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ การลงทุนในบริษัท มาร์ส วอเตอร์ ซัพพลาย จำกัด (MARS) มีประโยชน์หลายประการดังต่อไปนี้:  เป็นการสร้างรายได้ที่มีความต่อเนื่อง (Recurring Income) และไม่ผันผวนให้กับกลุ่มบริษัทฯ การลงทุนในธุรกิจสาธารณูปโภคเป็นฐานหลักในการเพิ่มรายได้ที่มีความต่อเนื่อง (Recurring Income) ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการเพิ่มสัดส่วนของรายได้ที่มีความต่อเนื่องของบริษัทฯ อีกทั้ง ธุรกิจสาธารณูปโภคเป็นธุรกิจที่มีรายได้ไม่ผันผวน เนื่องจากอายุของสัญญาที่มีระยะยาวและมีปริมาณการซื้อขายน้ำขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในสัญญา อีกทั้งมีผู้รับซื้อน้ำที่ชัดเจน ดังนั้น รายได้จากการลงทุนในธุรกิจสาธารณูปโภคจึงเป็นรายได้ที่มั่นคงและเสถียร ซึ่งทำให้บริษัทฯ สามารถประมาณการกระแสเงินสดในอนาคตได้อย่างชัดเจน เพื่อขยายธุรกิจด้านการผลิตน้ำประปาเพื่อจำหน่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนในโครงการอื่น ๆ ในอนาคต เนื่องจากบริษัท มาร์ส วอเตอร์ ซัพพลาย จำกัด มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการผลิตน้ำประปา และในหลายพื้นที่และชุมชนต่าง ๆ ในประเทศไทยยังคงต้องการน้ำที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้ STECP สามารถขยายการให้บริการผลิตน้ำประปาเพื่อจำหน่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนในพื้นที่ที่ยังขาดแคลน และ/หรือในชุมชนที่ยังประสบปัญหาในการเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาด เป็นโครงการนำร่องในการสะสม Portfolio สำหรับ STECP เพื่อการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ในธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค หนึ่งในแผนงานของบริษัทฯ คือการนำ Portfolio ธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภคเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้นการลงทุนใน MARS จะช่วยเป็นโครงการนำร่องในการสะสม Portfolio ของ STECP ในฐานะบริษัทลูกของบริษัทฯ ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค สำหรับการเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ("IPO") เพื่อต่อยอดการลงทุนในอนาคต เป็นการลงทุนในธุรกิจที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงน้ำประปา ปัจจุบันสถานีผลิตน้ำมีกำลังการผลิตน้ำจากการประปานครหลวงไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากการขยายตัวของภาคธุรกิจ ทำให้ประชาชนมีน้ำไม่เพียงพอใช้ การลงทุนนี้จะตอบสนองความต้องการการใช้น้ำของชุมชนและลดอัตราการสูญเสียน้ำที่ส่งมาจากการประปานครหลวง นอกจากนี้ ยังมองเห็นความสามารถในการพัฒนาโครงการเพื่อจำหน่ายให้กับนิคมอุตสาหกรรมและประชาชนทั่วไป เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำในทุกภาคส่วน รวมถึงสร้างหลักประกันในการจัดหาน้ำที่ยั่งยืนต่อไป

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

[Vision Exclusive] STEC ปรับแผนรับค่าแรงสูง พร้อมก้าวสู่ STECON Group มุ่งสร้างอนาคตยั่งยืน

[Vision Exclusive] STEC ปรับแผนรับค่าแรงสูง พร้อมก้าวสู่ STECON Group มุ่งสร้างอนาคตยั่งยืน

          STEC เผยแนวทางรับมือค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท เน้นเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน พร้อมปรับโครงสร้างเป็น STECON Group เพื่อมุ่งสู่การเป็น Holding Company ต่อยอดธุรกิจรับเหมาก่อสร้างด้วยการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่มีการเติบโตสูง เสริมสร้างความยั่งยืนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอนาคต           นายภาคภูมิ ศรีชำนิ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ “Ticker: STEC” เปิดเผยถึง ความคิดเห็นของผู้ประกอบการเอกชนเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อวัน โดยเชื่อว่ารัฐบาลมีความตั้งใจที่จะดูแลผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในสภาวะค่าครองชีพปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการหวังว่ารัฐบาลจะมีมาตรการสนับสนุนที่เหมาะสมเพื่อช่วยบรรเทาภาระที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากหากภาระดังกล่าวหนักเกินไป อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และนำไปสู่การปิดกิจการ ซึ่งอาจย้อนกลับมาสร้างปัญหาการว่างงานให้กับแรงงาน           ในส่วนของการรับมือ กลุ่มซิโนทัยเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อให้ผลผลิตที่ออกมาสามารถครอบคลุมต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทักษะแรงงาน การนำเครื่องมือและเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงาน หรือการจ่ายค่าจ้างตามผลผลิตที่ทำได้ ปัจจุบันบริษัทมีแรงงานที่จ้างโดยตรงประมาณ 10,000 คน ซึ่งการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนบ้าง โดยค่าแรงงานในโครงสร้างต้นทุนของบริษัทคิดเป็นประมาณ 10-15% ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ดำเนินการ หากคำนวณโดยใช้สมมุติฐานการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อวัน จะทำให้ต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้นโดยตรงประมาณ 2-3%           ดังนั้น การแก้ไขปัญหานี้เป็นความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการและภาครัฐ เพื่อให้ผลประกอบการของธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน           ในส่วนของภาพรวมธุรกิจงานรับเหมาก่อสร้างในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 ยังคงเผชิญกับภาวะการประมูลงานจากภาครัฐและเอกชนที่ออกมาน้อยมาก ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและความล่าช้าในการอนุมัติงบประมาณ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากปี 2566 ที่มีการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกระบวนการอนุมัติงบประมาณได้ผ่านพ้นไปแล้ว และรัฐบาลชุดใหม่ยังคงมีผู้นำในพรรคเดิม จึงคาดว่าการเร่งรัดแผนการลงทุนของภาครัฐจะมีความต่อเนื่องมากขึ้น ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนก็คาดว่าจะมีความมั่นใจในการลงทุนมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นภาพรวมของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในช่วงครึ่งปีหลัง           สำหรับแผนการปรับโครงสร้างของ STEC อยู่ในช่วง การนำหุ้น STEC มาแลกเป็น STECON group ซึ่งจะเปิดให้แลกจนถึง 21 ตุลาคม 2567  เป็นไปตามการการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ เพื่อมุ่งสู่การเป็น Holding Company ภายใต้ชื่อ บริษัท สเตคอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (“บริษัทโฮลดิ้ง” หรือ “Ticker: STECON”) เพื่อประกอบธุรกิจในลักษณะบริษัทลงทุนที่ไม่ได้ทำธุรกิจของตนเอง (Non-operating Holding Company) แต่เข้าถือหุ้นในบริษัทอื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการมีอำนาจควบคุมกิจการในบริษัทอื่น เพื่อรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต โดยบริษัทมีแผนลงทุนในธุรกิจที่สร้าง Recurring Income และธุรกิจใหม่ที่มีการเติบโตสูง (New S-Curve) วางเป้าหมายในช่วง 5 – 10 ปี ข้างหน้า ดันรายได้ในธุรกิจใหม่เติบโตอย่างโดดเด่น หวังกระจายความเสี่ยง สร้างรายได้ประจำ เสริมแกร่งธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเพื่อกระจายความเสี่ยง และเพิ่มความสามารถในการสร้างรายได้ไปยังธุรกิจอื่นที่นอกเหนือจากธุรกิจวิศวกรรมและก่อสร้างเดิม           ที่ผ่านมา STEC มีประสบการณ์ด้านธุรกิจรับเหมาก่อสร้างมาอย่างยาวนาน สามารถรักษา Backlog ใกล้เคียงระดับ 1 แสนล้านบาทได้อย่างต่อเนื่อง มีผลประกอบการที่เป็นกำไรมาโดยตลอด รวมทั้งมีสภาพคล่องที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้บริษัทสามารถสร้างผลตอบแทนในรูปแบบเงินปันผลในแก่นักลงทุนมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับการปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งนี้ เพื่อสร้างรายได้ประจำที่ยั่งยืนให้กับธุรกิจ สร้างโอกาสในการเข้าถึงธุรกิจที่มีการเติบโตสูงและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รายงานโดย : ณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการข่าว สำนักข่าว Hoonvision