#SCC


เปิดโผหุ้นเด่น น่าสะสม 1 ปี ขึ้นไป มองปีหน้ากำไรเติบโตต่อ

เปิดโผหุ้นเด่น น่าสะสม 1 ปี ขึ้นไป มองปีหน้ากำไรเติบโตต่อ

          หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.เอเชียพลัส สำรวจหุ้น พบว่า หลังโควิดถึงปัจจุบัน การลงทุนในตลาดหุ้นไทยยากขึ้น ถูกกดดันจากเศรษฐกิจและกำไรบริษัทจดทะเบียนเติบโตช้า และต่ำคาด, การเมืองไม่นิ่ง, FUND FLOW ชะลอไหลเข้า กดดันให้ ในปี 2022, 2023, 2024YTD มีสัดส่วนจำนวนหุ้นทั้งหมดในดัชนี SET และ MAI ที่ให้ผลตอบแทนรายปีเป็นบวกน้อยกว่าครึ่ง หรือเพียง 31%, 14%, 26% ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า ตลาดมีจำนวนหุ้นบวกรายปีต่ำ ทำให้การลงทุนต้อง พิถีพิถัน และเน้น SELECTIVE BUY มากขึ้น ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ ทำการศึกษา และค้นหาหุ้นที่คาดว่าจะเอาชนะตลาด และน่าสะสม สะสมระยะ 1 ปีขึ้นไป ด้วยเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้ เลือกหุ้นที่มี SAFETY MARGIN สูง โดยปกติตลาดหุ้นและหุ้นมักจะไม่ลบ ติดต่อกัน 2 ปี ทำให้หุ้นที่ย่อตัวลงมาในปีนี้ ช่วยลด DOWNSIDE RISK ลงไป ระดับหนึ่งแล้ว เลือกหุ้นที่กำไรปีหน้ามีโอกาสเติบโตเด่น โดยสังเกตได้จากหุ้นที่ขึ้นแรง อันดับต้นๆใน SET100 ในแต่ละปี มักเป็นหุ้นที่กำไรปีนั้นเติบโตเด่นมาก ดังนั้น ฝ่ายวิจัยฯ จึงทำการค้นหา กลุ่มหุ้นที่ราคาย่อตัวลงมาเยอะ แต่กำไรมี โอกาสเติบโตเด่นในปี 2568 อาทิ PETRO, CONS, MEDIA, TOURISM, CONMAT, ENERG, PKG, FIN และเลือกหุ้นเด่นน่าลงทุนจากในกลุ่มนี้ ได้ผลลัพธ์ หุ้นเด่นน่าเข้าสะสมหวังผลในระยะ 1 ปีขึ้นไป คือ SCC, SCGP, MINT, GPSC, CK เป็นต้น นอกจากนี้  ฝ่ายวิจัยฯ ยังค้นหาจุดน่าเข้าสะสมที่เหมาะสมที่สุดรายบริษัท จากการหา OPTIMIZATION  ในกรอบการซื้อขาย ผ่านตัวชี้วัดทางเทคนิค อย่าง RSI โดยการ ทดสอบย้อนหลังในระยะเวลา 4 ปี ที่ผ่านมา ผลลัพธ์จะได้ช่วงซื้อ (RSI กรอบล่าง) และช่วงขาย (RSI กรอบบน) ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีสุดสำหรับหุ้นตัวนั้นๆ

SCC จับตา Q4 มีแววฟื้นตัว รายได้เข้ามีปันผลค้ำ

SCC จับตา Q4 มีแววฟื้นตัว รายได้เข้ามีปันผลค้ำ

          หุ้นวิชั่น - บล. ดาโอ ระบุว่า แนะนำ “ถือ” SCC ที่ราคาเป้าหมายปี 2025E ที่ 230.00 บาท อิงวิธี SOTP บริษัทรายงานกำไรสุทธิ 3Q24 ที่อ่อนแอที่ 721 ล้านบาท (-71% YoY, -81% QoQ) หากไม่รวมรายการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน กำไรปกติจะอยู่ที่ 721 ล้านบาท (-76% YoY, -81% QoQ) ใกล้เคียงกับที่ consensus ประเมินที่ 760 ล้านบาท โดยกำไรลดลง YoY จากธุรกิจปิโตรเคมีที่ขาดทุนจากการที่ส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ (olefins spread) ต่ำกว่าระดับคุ้มทุนของบริษัทและธุรกิจแพ็กเกจจิ้ง (SCGP) มีต้นทุนวัตถุดิบกระดาษรีไซเคิล (RCP) สูงขึ้น           ขณะที่ ลดลง QoQ จากกำไรของธุรกิจที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (CBM) ที่อ่อนตัวและรายได้เงินปันผลที่ลดลง           สำหรับภาพรวม 4Q24E เชื่อว่าโครงการ LSP Petrochemical Complex (LSP) จะสามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ตามแผนล่าสุดของบริษัท (ต.ค.2024)           อย่างไรก็ดี ในช่วงแรกคาดว่า SCC จะพยายามควบคุมอัตราการใช้กำลังการผลิต (utilization rate) ของ LSP และจะทำการผลิตเท่าที่จำเป็นเท่านั้นเนื่องจาก olefins spread ที่ต่ำกว่าปกติ           โดยมองด้วยว่ากำไรของบริษัทจะฟื้นตัวได้ชัดเจนมากขึ้นในปี 2025E คงประมาณการกำไรสุทธิปี 2024E/2025E ที่ 8.5/13.3 พันล้านบาท เทียบกับ 2.59 หมื่นล้านบาทในปี 2023 โดยมีสมมติฐานที่สำคัญ คือ 1) ปริมาณยอดขายปิโตรเคมีรวม (PE, PP, PVC) จะอยู่ในช่วง 2.28-2.86 ล้านตัน (mt) เทียบกับ 2.34 mt ในปี 2023 โดยมีแรงหนุนจากการ COD ของโครงการ LSP 2) HDPE spread จะอยู่ในช่วง USD335/t-USD360/t เทียบกับ USD395/t ในปี 2023 3) รายได้ธุรกิจ CBM ที่อยู่ในช่วง 1.70-1.92 แสนล้านบาท เทียบกับ 1.82 แสนล้านบาทในปี 2023 และ 4) รายได้จากSCGP ที่อยู่ในช่วง 1.30-1.33 แสนล้านบาท เทียบกับ 1.26 แสนล้านบาทในปี 2023           ราคาหุ้นปรับตัวลง 18% และ underperform SET -24% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาสะท้อนแนวโน้ม olefins spread ที่อ่อนตัวลง ราคาปัจจุบันสะท้อน 2025E PBV ที่ 0.62x (ประมาณ -2.75SD ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย PBV 5 ปีย้อนหลัง) กำไรสุทธิ 9M24 คิดเป็น 80% ของประมาณการกำไรทั้งปี           ทั้งนี้ เชื่อว่ากำไรของบริษัทจะฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปใน 4Q24E โดยมีแรงหนุนจากรายได้เงินปันผลตามปัจจัยฤดูกาล แต่ยังไม่มีปัจจัยหนุนราคาหุ้นในระยะสั้น

SCC ไตรมาส 3/67กำไรทรุด81% ค่าเงินบาทแข็ง กำไรบริษัทร่วมลดลง

SCC ไตรมาส 3/67กำไรทรุด81% ค่าเงินบาทแข็ง กำไรบริษัทร่วมลดลง

          ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 เอสซีจี มีกำไรสำหรับงวดเท่ากับ 721 ล้านบาท ซึ่งรวมรายการเงินสดที่ได้จากสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยแล้ว โดยกำไรสำหรับงวดลดลง 81% จากไตรมาสก่อน เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า การปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลง และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมลดลง           บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน)  หรือ SCC ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 เอสซีจี มีกำไรสำหรับงวดเท่ากับ 721 ล้านบาท ซึ่งรวมรายการเงินสดที่ได้จากสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยหรือ Interest Rate Swap (IRS) มูลค่า 2,183 ล้านบาทจากเอสซีจี เคมิคอลส์ โดยที่กำไรสำหรับงวดลดลง 81% จากไตรมาสก่อน เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่า การปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลง และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมลดลง ประกอบกับไตรมาสก่อนเป็นช่วงที่มีรายได้เงินปันผลรับจากการลงทุนในธุรกิจอื่น ทั้งนี้ หากไม่รวม IRS ขาดทุนสำหรับงวดจะเท่ากับ 1,462 ล้านบาท สำหรับรายได้จากการขายอยู่ที่ 128,199 ล้านบาท ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน เนื่องจากเอสซีจี เคมิคอลส์มีปริมาณขายเพิ่มขึ้นชดเชยกับยอดขายที่ลดลงของเอสซีจีพี ในขณะที่ EBITDA เท่ากับ 9,879 ล้านบาท ลดลง 39% จากไตรมาสก่อน           เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เอสซีจีมีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้น 2% จากยอดขายของเอสซีจี เคมิคอลส์และเอสซีจีพี ในขณะที่ EBITDA ลดลง 11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กำไรสำหรับงวดลดลง 70% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกำไรที่ไม่รวมรายการพิเศษ (Profit excluding extra items) ลดลง 76% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่า การปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลง และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมลดลง           ผลการดำเนินงานในช่วง 9 เดือนของปี 2567 เอสซีจีมีรายได้จากการขายอยู่ในระดับเดียวกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 380,660 ล้านบาท เป็นผลมาจากปริมาณขายของเอสซีจี เคมิคอลส์ และเอสซีจีพีที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ยอดขายกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับซีเมนต์และการก่อสร้างลดลง ส่วน EBITDA ลดลง 10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ 38,768 ล้านบาท กำไรสำหรับงวดและกำไรที่ไม่รวมรายการพิเศษ (Profit excluding extra items) เท่ากับ 6,854 ล้านบาท ลดลง 75% และ 46% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องโรงงานปิโตรเคมี Long Son ที่ประเทศเวียดนาม (ค่าใช้จ่ายนี้รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการเดินเครื่องที่เป็นเงินสดและค่าเสื่อมราคาที่ไม่เป็นเงินสด) ประกอบกับส่วนต่างราคาสินค้าเคมีภัณฑ์และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมที่ลดลง           ในช่วง 9 เดือนของปี 2567 เอสซีจีมีส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมเท่ากับ 5,342 ล้านบาท ลดลง 22% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมในธุรกิจเคมิคอลส์คิดเป็น 23% ของทั้งหมด หรือเท่ากับ 1,223 ล้านบาท ลดลง 59% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมในธุรกิจอื่นเท่ากับ 4,119 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน           เอสซีจีมีเงินปันผลรับในช่วง 9 เดือนของปี 2567 เท่ากับ 6,392 ล้านบาท ลดลง 21% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเอสซีจีมีเงินปันผลรับจากบริษัทร่วม (เอสซีจีถือหุ้น 20-50%) เท่ากับ 4,141 ล้านบาท และจากบริษัทอื่น (เอสซีจีถือหุ้นต่ำกว่า 20%) เท่ากับ 2,251 ล้านบาท           เอสซีจีมีเงินสดและเงินสดภายใต้การบริหาร ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปี 2567 เท่ากับ 47,880 ล้านบาท ขณะที่ ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2567 อยู่ที่ 78,907 ล้านบาท โดยลดลงเนื่องมาจากการลงทุนของเอสซีจีพี และการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล           เอสซีจีมีเงินทุนหมุนเวียนสุทธิ 104,903 ล้านบาท ลดลง 3% จากไตรมาสก่อน โดยมีอัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือต่อต้นทุนขายเท่ากับ 69 วัน เทียบกับ 72 วันในไตรมาสก่อน (ไตรมาสที่ 2 ปี 2567)