#SCB EIC


SCB EIC มองเศรษฐกิจมีความท้าทาย กนง. ปีหน้ามีโอกาสลดดอกเบี้ย

SCB EIC มองเศรษฐกิจมีความท้าทาย กนง. ปีหน้ามีโอกาสลดดอกเบี้ย

           หุ้นวิชั่น - กนง. มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.25% ตามที่ SCB EIC มองไว้ โดย กนง. เห็นว่าแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อยังเป็นไปตามที่ประเมินไว้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ขยายตัวใกล้เคียงระดับศักยภาพ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มกลับเข้าสู่ขอบล่างของกรอบเป้าหมาย การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงเป็นการรักษา Policy space เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่สูงขึ้น โดยเฉพาะจากนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก            สำหรับมุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กนง. คงประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยไว้ที่ 2.7%YOY และ 2.9%YOY ในปี 2024 และ 2025 ตามลำดับ แต่มองว่าความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะเพิ่มขึ้นจากปัจจัยภายนอก ทั้งการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นและความไม่แน่นอนของแนวนโยบายประเทศเศรษฐกิจหลัก ขณะที่ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ โดยประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ 0.4% และ 1.1% ในปี 2024 และ 2025 ตามลำดับ ลดลงเล็กน้อยจากประมาณการเดิม ณ เดือนตุลาคมที่ 0.5% และ 1.2%            SCB EIC มองว่าการสื่อสารของ กนง. ครั้งนี้ Hawkish ขึ้นพอสมควรเทียบกับการประชุมครั้งก่อน โดย กนง. ไม่ได้สื่อสารถึงความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวม และประเมินว่าปัญหาของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันไม่ได้มาจากปัจจัยเชิงวัฏจักร แต่มาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่กระทบบางภาคส่วนของเศรษฐกิจ เช่น SMEs และภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่มที่เผชิญการแข่งขันรุนแรงขึ้น อาทิ กลุ่มยานยนต์            นอกจากนี้ กนง. ไม่ได้แสดงความกังวลมากนักต่อภาวะสินเชื่อที่ชะลอลงในช่วงที่ผ่านมา โดยประเมินว่าสาเหตุหลักของการชะลอตัวมาจาก (1) การชำระคืนสินเชื่อจากธุรกิจที่ฟื้นตัวได้ดี เช่น ธุรกิจในภาคการท่องเที่ยว ภาคบริการ และภาคการค้า (ธุรกิจขนาดใหญ่) และ (2) ความต้องการสินเชื่อธุรกิจชะลอลงจากกลุ่มธุรกิจที่ฟื้นตัวช้าหรือฟื้นตัวไม่เต็มที่ เช่น SMEs ในภาคการค้า ธุรกิจอสังหาฯ ธุรกิจก่อสร้าง และธุรกิจยานยนต์ อีกทั้ง กนง. ยังประเมินว่าเศรษฐกิจในภาพรวมมีแนวโน้ม จะขยายตัวได้ แม้สินเชื่อธุรกิจชะลอลง ทั้งนี้ SCB EIC ตั้งข้อสังเกตว่า ในการประชุมครั้งนี้ กนง. ไม่ได้สื่อสารถึงกระบวนการ Debt deleveraging และความเปราะบางในภาคครัวเรือนมากนัก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ ธปท. ได้สื่อสารแนวทางแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนในการแถลงข่าวโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ไปแล้วในช่วงก่อนหน้า IMPLICATIONS            SCB EIC มองความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าจะเป็นปัจจัยหลักในการพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยในช่วงต้นปีหน้า โดยสถานการณ์ในปัจจุบันอาจยังไม่ได้มีปัจจัยกดดันชัดเจนที่ทำให้ กนง. จำเป็นต้องเร่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากนัก แต่ในระยะข้างหน้า เศรษฐกิจไทยจะเผชิญความท้าทายที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก ทั้งจากความเปราะบางภายในประเทศเอง และความท้าทายจากปัจจัยภายนอก กล่าวคือ ความเปราะบางจากภายในประเทศ สถานการณ์สินเชื่อชะลอลงเกิดขึ้นในทุกภาคส่วนทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือน โดยในไตรมาส 3/2024 ยอดคงค้างสินเชื่อธนาคารพาณิชย์หดตัวทุกหมวด (รูปที่ 1) แม้ กนง. จะประเมินว่าสินเชื่อที่ชะลอลงนี้ยังไม่ได้ฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ แต่หากมองในทางกลับกัน ภาวะสินเชื่อชะลอลงเช่นนี้ กำลังสะท้อน “อาการ” ความเปราะบางของเศรษฐกิจไทย โดยในด้านสินเชื่อครัวเรือนที่หดตัวลง ส่วนหนึ่งมาจากมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อใหม่ที่เข้มงวด (รูปที่ 2) จากความเปราะบางภาคครัวเรือนและรายได้ที่ยังฟื้นตัวช้า ซึ่งจะกดดันการบริโภคภาคเอกชนในระยะข้างหน้า ในด้านสินเชื่อธุรกิจ อาจต้องติดตามว่าความต้องการสินเชื่อที่ลดลงสะท้อนความต้องการลงทุนใหม่ของภาคธุรกิจที่ลดลงเพียงใด โดย SCB EIC มองว่าอาการความเปราะบางของอุปสงค์ในประเทศที่เริ่มเห็นนี้จะทวีความรุนแรงขึ้น จนทำให้น้ำหนักในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อประคับประคองอุปสงค์ในประเทศของ กนง. เริ่มมีมากขึ้น ความท้าทายจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะนโยบายการค้าของว่าที่ประธานาธิบดี Donald Trump จะทำให้การแข่งขันในภาคการผลิตทั่วโลกรุนแรงขึ้น ยิ่งซ้ำเติมภาคการผลิตของไทยที่มีปัญหาความสามารถในการแข่งขันอยู่แล้ว และอาจกดดันให้รายได้ครัวเรือนฟื้นตัวช้าไปอีก            การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงอาจช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไทยได้บ้างภายใต้ความท้าทายที่เพิ่มขึ้น โดยในช่วงต้นปี 2025 เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีพัฒนาการสำคัญ 2 ประการ คือ 1) การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมของธนาคารกลางสหรัฐฯ และ 2) นโยบายเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ที่ชัดเจนขึ้นหลังจาก Donald Trump สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ (รูปที่ 3) ซึ่งจะทำให้ กนง. ประเมินความเสี่ยงด้านลบต่อเศรษฐกิจไทยได้ดีขึ้น พัฒนาการเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งถัดไป            SCB EIC จึงประเมินว่าจะเห็น กนง. ปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้งในปีหน้าไปอยู่ที่ 2% ในช่วงต้นปีหน้า เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจไทยที่จะต้องเผชิญกับความเปราะบางจากภายในและความท้าทายจากภายนอกมากขึ้น รูปที่ 1 : สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์หดตัวลงทุกหมวด รูปที่ 2 : มาตรฐานการให้สินเชื่อครัวเรือนปรับเข้มงวดขึ้นต่อเนื่อง รูปที่ 3 : นโยบายเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ จะชัดเจนขึ้นในช่วงต้นปีหน้า บทวิเคราะห์โดย นนท์ พฤกษ์ศิริ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส https://www.scbeic.com/th/detail/product/policy-rate-181224

"ภูเก็ต" ยืนหนึ่งเรื่องท่องเที่ยว พร้อมจริงจังเรื่องยั่งยืน

          หุ้นวิชั่น - ภูเก็ต เป็นเมืองท่องเที่ยวที่กำลังเติบโตดีจากรายได้ผู้เยี่ยมเยือนที่ขยายตัวสูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 และดีกว่าภาพรวมทั้งประเทศ โดยเป็นผลจากกำลังการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับเพิ่มขึ้นมากแม้จำนวนนักท่องเที่ยวยังอยู่ในช่วงฟื้นตัว อีกทั้ง เศรษฐกิจภูเก็ตยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีต่อเนื่องในปี 2568 จึงทำให้ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า  การท่องเที่ยวภูเก็ตมีทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในยุคหลังโควิด-19 ทั้งเทรนด์การท่องเที่ยวและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดย ภูเก็ตกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาต่อเนื่องตลอดทั้งปี ตามกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางสัญชาติมากขึ้นกว่าเดิม จากที่เคยรับนักท่องเที่ยวจีนและยุโรปเป็นหลักและส่วนใหญ่จะเดินทางเข้ามาในช่วง High season ตั้งแต่พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ของทุกปี โดยนักท่องเที่ยวกลุ่มศักยภาพที่เข้ามาใหม่อย่างอินเดีย คาซัคสถาน ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) และอิสราเอลเป็นนักท่องเที่ยวที่นิยมเดินทางเข้ามาในช่วงกรกฎาคม-ตุลาคม ซึ่งมาเสริมรายได้ให้ภาคท่องเที่ยวภูเก็ตในช่วง Low season ได้มากขึ้น ความหลากหลายของพฤติกรรมการท่องเที่ยวตามเทรนด์การท่องเที่ยวของแต่ละสัญชาติ โดยนักท่องเที่ยวเริ่มเข้าพักในย่านเมืองเก่ามากขึ้นจากเดิมที่เน้นพักผ่อนอยู่ริมหาดตลอดทั้งทริป และแต่ละพื้นที่จะมีฐานนักท่องเที่ยวกลุ่มหลักที่แตกต่างกัน อย่างเช่น นักท่องเที่ยวอินเดียกว่า 64% จะเข้าพักในพื้นที่ป่าตองด้วยไลฟ์สไตล์ที่ชอบความบันเทิงและ Nightlife ขณะที่นักท่องเที่ยวรัสเซียและคาซัคสถานที่ส่วนใหญ่เดินทางเข้ามาพำนักในไทยเป็นระยะเวลานาน มักเลือกพักในพื้นที่กะรนที่เงียบและสงบกว่า เป็นต้น นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาภูเก็ตเป็นกลุ่มกำลังซื้อสูงมากขึ้น จากภาพรวมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากนักท่องเที่ยวจีนกลุ่ม FIT ที่มีสัดส่วนมากขึ้นแทนกลุ่มกรุ๊ปทัวร์ใหญ่ราคาประหยัด รวมถึงการเข้ามาของกลุ่มนักท่องเที่ยวศักยภาพใหม่ที่ใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวสูงอย่างนักท่องเที่ยวรัสเซีย อิสราเอล คาซัคสถาน และตะวันออกกลาง จึงทำให้ภูเก็ตกลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวกลุ่มไลฟ์สไตล์หรูตามกำลังซื้อของนักท่องเที่ยวที่เข้ามา  ในระยะข้างหน้า ภูเก็ตกำลังมุ่งพัฒนาใน 2 ด้านหลัก คือ โครงสร้างพื้นฐานและความยั่งยืน โดยในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ภูเก็ตมีแผนในการพัฒนาสนามบินทั้งการขยายสนามบินเดิม และการสร้างสนามบินใหม่เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้ง ยังมีแผนพัฒนาระบบคมนาคมภายในจังหวัดให้มีความสะดวกและแก้ไขปัญหาการจราจร พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว สำหรับในด้านความยั่งยืน ภูเก็ตเป็นหนึ่งในจังหวัดนำร่องที่อยู่ในโครงการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยธุรกิจท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญเนื่องจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตพึ่งพาภาคท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่ปัจจุบันโรงแรมและที่พักในภูเก็ตที่ได้รับสัญลักษณ์ความยั่งยืนมีเพียง 4% ของโรงแรมในภูเก็ตทั้งหมด อย่างไรก็ดี ภูเก็ตยังต้องเผชิญกับความท้าทายในการพัฒนาอีกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง การจัดการกับปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้น การเร่งก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ทันกับการเติบโต การขาดแคลนแรงงานทักษะด้านบริการ การเพิ่มมาตรการที่เข้มงวดเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนที่เกิดกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงการได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีของจังหวัดที่ค่อนข้างจำกัด ซึ่งสร้างความท้าทายต่อการวางแผนพัฒนา นอกจากนี้ การเติบโตของภาคท่องเที่ยวภูเก็ตนำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจและการลงทุนภาคเอกชน โดยธุรกิจด้านการท่องเที่ยวมีแนวโน้มเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นจากการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ที่เล็งเห็นโอกาสในการเติบโตเข้ามาลงทุนในพื้นที่ภูเก็ตมากขึ้น ดังนั้น การนำเสนอสินค้าและบริการที่โดดเด่น และสามารถตอบโจทย์ความหลากหลายที่เข้ามาจะสร้างความได้เปรียบในการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มากขึ้นได้ ซึ่งรวมถึงการยกระดับสินค้าหรือบริการให้นักท่องเที่ยวรับรู้ถึงความคุ้มค่าของบริการและการใช้จ่ายแม้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาจะเป็นกลุ่มกำลังซื้อสูงก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้น การขยายตัวของเศรษฐกิจภูเก็ตยังสร้างโอกาสการเติบโตให้กับหลายธุรกิจในภูเก็ตและพื้นที่ใกล้เคียงไม่ว่าจะเป็นธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง โรงเรียนนานาชาติ โรงพยาบาลเอกชน และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ให้เติบโตไปพร้อมกับภาคการท่องเที่ยวอีกด้วย ทั้งนี้การพัฒนาการท่องเที่ยวภูเก็ตอย่างยั่งยืนนั้นต้องอาศัยบทบาทภาครัฐเป็นกำลังสำคัญ โดย 1. การยกระดับภาคการท่องเที่ยวสู่โซนท่องเที่ยวอันดามัน ให้ครอบคลุมพื้นที่ในหลายจังหวัดอันดามันทั้งพังงาและกระบี่ จะช่วยลดความแออัดของภูเก็ต ลดผลกระทบที่เกิดกับสิ่งแวดล้อมและสังคม พร้อมทั้งกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียงให้มากขึ้น 2. การวางทิศทางด้านการท่องเที่ยวที่ชัดเจน ที่จะช่วยให้ภาพรวมการพัฒนาทั้งจังหวัดเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกัน และยังสามารถสร้างจุดแข็งให้กับจังหวัดในการเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมายได้ตรงจุดมากขึ้นอีกด้วย และ 3. การเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งด้านคมนาคมและสาธารณูปโภคให้ครบวงจรและเชื่อมต่อพื้นที่ใกล้เคียงอย่างเป็นระบบ จะช่วยรองรับการเติบโตของภาคท่องเที่ยวและการพัฒนาด้านความยั่งยืนของภูเก็ตได้เป็นอย่างดี อ่านต่อรายงานฉบับเต็มได้ที่... https://www.scbeic.com/th/detail/product/phuket-041224 ผู้เขียนบทวิเคราะห์ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) ดร.กมลมาลย์ แจ้งล้อม นักวิเคราะห์อาวุโส ปุญญภพ ตันติปิฎก นักวิเคราะห์อาวุโส กีรติญา ครองแก้ว นักวิเคราะห์

ค้าปลีกผ่าทางตันโต รอนโยบายภาครัฐชี้ชะตา

ค้าปลีกผ่าทางตันโต รอนโยบายภาครัฐชี้ชะตา

          หุ้นวิชั่น - แม้ว่าการบริโภคภาคเอกชนในปี 2568 จะมีแนวโน้มชะลอตัวลง แต่คาดว่ายอดขายของธุรกิจค้าส่งค้าปลีกจะยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยได้รับอานิสงส์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ อย่างไรก็ดี ยังต้องจับตาปัญหาหนี้ครัวเรือนและราคาสินค้าที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงซึ่งจะกดดันกำลังซื้อของผู้บริโภคให้ฟื้นตัวได้ช้าลง รวมทั้งการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากช่องทางออนไลน์ที่มี Key players ใหม่ ๆ เข้ามาในตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะ Platform จากจีน ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกในปี 2568 มีแนวโน้มเติบโตราว 5.1%YOY จากที่คาดว่าจะเติบโต 4.8%YOY ในปี 2567 ทั้งนี้แม้ว่าการบริโภคภาคเอกชนจะเติบโตชะลอลง แต่คาดว่าโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เริ่มดำเนินการในปี 2567 ต่อเนื่องถึงปี 2568 (เฟส 2 และ3) จะมีส่วนช่วยเพิ่มกำลังซื้อของผู้บริโภคในระยะสั้น อย่างไรก็ดี ในภาวะที่เศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว ผู้บริโภคอาจจะยังระมัดระวังในการใช้จ่ายโดยเลือกใช้จ่ายในสินค้าที่จำเป็นก่อน และอาจชะลอการใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยหนุนจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นกลับมาสู่ระดับช่วงก่อนโควิด (Pre-covid) และหากภาครัฐปรับขึ้นค่าแรงคาดว่าจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของการบริโภคในระยะข้างหน้า การเติบโตของ E-commerce ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มแข่งขันรุนแรง แม้จะมีการชะลอตัวลงหลังจากช่วงโรคระบาดผ่านไป อย่างไรก็ดี พฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากมีความสะดวกสบาย โดยเฉพาะกลุ่ม Marketplace retailers ซึ่งมีสินค้าให้เลือกหลากหลาย ทำให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบราคาและบริการของแต่ละร้านค้าได้อย่างง่ายดาย ขณะเดียวกัน เทรนด์ Social Commerce ก็มีสัดส่วนยอดขายต่อ E-commerce เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สะท้อนถึงอิทธิพลของ Social media ที่ผู้บริโภคมีการใช้งานอยู่เป็นประจำ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับประเด็น ESG โดยมุ่งเน้นไปที่ด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีการตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากหลากหลายช่องทาง ตัวอย่างเช่น ลดใช้ถุงพลาสติก เปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดขยะ ส่งเสริม Circular economy และใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น การติดตั้ง Solar rooftop นอกจากนี้ ยังเน้นสนับสนุนผู้ประกอบการ SME และเพิ่มสัดส่วนสินค้าเพื่อสุขภาพ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG เป็นต้น           กลุ่มที่เติบโตได้ดีต่อเนื่อง ยังคงเป็นหมวดร้านค้าสินค้าจำเป็น เช่น CVS, Supermarket และ Hypermarket ซึ่งมียอดขายที่เติบโต รวมถึงมีการขยายสาขาเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น อีกทั้ง ยังได้รับอานิสงส์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่กลุ่มที่ตอบโจทย์เทรนด์ต่าง ๆ ก็ยังเติบโตต่อเนื่องเช่นกัน อาทิ ธุรกิจ Health & Beauty โดยได้รับแรงหนุนจากกระแสรักษาสุขภาพเชิงป้องกัน และกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวที่นิยมซื้อสินค้าประเภทนี้ สำหรับกลุ่มที่เติบโตแต่ยังมีข้อจำกัด ได้แก่ กลุ่ม Department store เนื่องจากต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง และกำลังซื้อที่เปราะบาง ร้านค้าเฉพาะทางที่มีความหลากหลาย รวมถึงช่องทางออนไลน์ที่มีผู้เล่นรายใหม่ ๆ ขณะที่กลุ่มที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป ได้แก่ สินค้าแฟชั่น เนื่องจากเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย และสินค้า Home & Garden จากการซบเซาของตลาดที่อยู่อาศัย กลุ่ม Modern grocery : ยอดขายของทุกกลุ่ม (CVS, Supermarket, Hypermarket) กลับไปอยู่สูงกว่าช่วง Pre-COVID แล้ว โดยแม้ว่าการฟื้นตัวของกำลังซื้อของผู้บริโภคยังเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ความต้องการในหมวดสินค้าจำเป็นยังมีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่อง อีกทั้ง หากภาครัฐมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จะเป็นปัจจัยบวกที่ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคทยอยปรับตัวดีขึ้น กลุ่ม Department store : ในสถานการณ์กำลังซื้อที่ยังฟื้นตัวอย่างจำกัด อาจส่งผลต่อแนวโน้มการใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าไม่จำเป็น อย่างไรก็ดี กลุ่ม Department store ยังได้แรงหนุนของภาคท่องเที่ยว โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับมาสู่ระดับก่อนการระบาดของโควิด ในปี 2568 ซึ่งการกลับมาของนักท่องเที่ยวดังกล่าวจะช่วยเพิ่มการใช้จ่ายภายในห้างสรรพสินค้าและส่งผลให้ยอดขายเติบโตดีขึ้น อีกทั้ง ยังได้ปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ กลุ่ม Health & Beauty : ยอดขายเติบโตสอดคล้องกับการที่ผู้บริโภคหันไปให้ความสนใจสินค้าทั้งในกลุ่มสุขภาพและความงามมากขึ้น ท่ามกลางตัวเลือกในตลาดที่หลากหลาย โดยผู้บริโภคจะเลือกสินค้าที่มีคุณภาพและมีความน่าเชื่อถือ ถึงแม้จะมีราคาที่สูงกว่า ขณะเดียวกัน เทรนด์การรักษาสุขภาพและการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยยังทำให้มีความต้องการสินค้าเพื่อสุขภาพมากขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะกลุ่มเวชศาสตร์ป้องกัน อย่างไรก็ดี ช่องทางออนไลน์อย่าง Marketplace และ Social media ทำให้มีจำนวนผู้ประกอบการรายย่อยในตลาดมากขึ้น และยังทำให้การแข่งขันในหมวดสินค้าสุขภาพและความงามรุนแรงขึ้นตามไปด้วย กลุ่ม Home & Garden : ยอดขายมีแนวโน้มเติบโตในอัตราที่ชะลอลง สาเหตุหลักมาจากความต้องการซื้อหรือลงทุนในที่อยู่อาศัยหดตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ดี สินค้าหมวดนี้ยังได้รับปัจจัยหนุนจากความต้องการ Renovate ที่อยู่อาศัยจากทั้งกลุ่มที่อยู่อาศัยบ้านเก่าและกลุ่มที่นิยมซื้อบ้านมือสองเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ในช่วงปี 2567 ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีความต้องการสินค้าที่เกี่ยวกับการซ่อมแซม/ปรับปรุง/ตกแต่งบ้าน มากขึ้นตามไปด้วย ขณะที่การเติบโตของหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามภาวะตลาดที่อยู่อาศัยที่จะฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ทั้งในด้าน Product mixed ให้ตอบโจทย์กลุ่ม Renovate รวมถึงการขยายสาขาที่ต้อง Selective มากขึ้น กลุ่ม Apparel & Footwear : ยอดขายเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยสินค้าในกลุ่ม Fast fashion ยังเติบโตได้ต่อเนื่อง ในขณะที่กลุ่ม Traditional fashion ยอดขายยังไม่กลับมาเท่าช่วงก่อนโควิด ส่วนกลุ่ม Sportswear และ Luxury fashion ยอดขายกลับมาใกล้เคียงช่วงก่อนโควิดแล้วตั้งแต่ปี 2566 อย่างไรก็ดี ในภาวะที่ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ผู้บริโภคยังคงระมัดระวังในการใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งอาจกดดันให้ยอดขายสินค้าแฟชั่นเติบโตได้ไม่มากนัก           ผู้ประกอบการค้าปลีกในไทยมีการตั้งเป้าหมายและแผนการดำเนินงานด้าน ESG โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ ขณะที่ผู้บริโภคเองก็มีความตระหนักรู้ถึงปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้น อย่างไรก็ดี อุปสรรคสำคัญในการสนับสนุนสินค้าที่มีความยั่งยืน (Sustainable products) คือ ปัจจัยด้านราคาที่สูงกว่าสินค้าทั่วไปและตัวเลือกที่น้อย ดังนั้น ผู้ประกอบการควรเพิ่มความหลากหลายของสินค้าและราคา เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้หลากหลายกลุ่มมากขึ้น สำหรับในด้านการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนนั้น พบว่าร้านค้าขนาดใหญ่สามารถปรับตัวได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าร้านค้าขนาดเล็ก เนื่องจากมีเงินทุนมากกว่า ขณะที่ร้านค้าขนาดเล็กอาจเริ่มจากการให้ความรู้และเริ่มวางจำหน่ายสินค้าที่มีความยั่งยืนให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย บทวิเคราะห์โดย  ชญานิศ สมสุข นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC)

จับตา! รถยนต์ไฟฟ้า ปี68 ยอดขายทะลุ 2แสนคัน

จับตา! รถยนต์ไฟฟ้า ปี68 ยอดขายทะลุ 2แสนคัน

          อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะผ่านจุดต่ำสุดไปได้ภายในช่วงครึ่งหลังของปี 2568 จากนั้นจะทยอยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป           อุตสาหกรรมยานยนต์ยังคงเผชิญความท้าทายจากอุปสงค์ในประเทศที่เปราะบาง ส่งผลให้ตลาดรถยนต์และจักรยานยนต์มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้า ขณะที่กลุ่มยานยนต์เชิงพาณิชย์คาดว่าจะทยอยกลับมาคึกคัก โดยได้รับอานิสงส์จากการค้าชายแดนและผ่านแดน รวมถึงภาคการท่องเที่ยวที่ทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง ยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2568 คาดว่าจะทรงตัวในระดับต่ำที่ 5.5 แสนคัน ขณะที่ในระยะปานกลาง มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้าและยังไม่สามารถกลับสู่ช่วง Pre-Covid ได้ในภายในปี 2571 เนื่องจากเผชิญกับผลพวงต่อเนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งประกอบด้วย 1) สถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ 2) กำลังซื้อในภาพรวมค่อนข้างเปราะบาง 3) พฤติกรรมการใช้รถของคนไทยยาวนานขึ้น และ 4) การแข่งขันด้านราคาที่ทวีความรุนแรง ส่งผลให้ผู้บริโภคบางส่วนชะลอการตัดสินใจซื้อรถออกไป นอกจากนี้ เรายังคงต้องติดตาม Vicious cycle ในตลาดยานยนต์ไทย อันเกิดจากการที่สถาบันการเงินมีแนวโน้มตรึงความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ เนื่องจากมีความกังวลต่อทิศทางราคารถยนต์มือ 2 ที่คาดว่าจะปรับลดลงอีก เพราะปัญหาอุปทานส่วนเกินจากกลุ่มรถยึด ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวจะกดดันยอดขายรถยนต์ใหม่ให้ซบเซาต่อเนื่อง และทำให้เหล่าตัวแทนจำหน่ายต้องหันมาเน้นแข่งขันกันด้วยราคา ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมมูลค่าของหลักประกันหมวดยานยนต์ให้เสื่อมค่าลงอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมยานยนต์เชิงพาณิชย์ปี 2568 มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวได้ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศและภาคส่งออกฟื้นตัวดีขึ้น โดยตลาดรถบรรทุกได้รับแรงหนุนจากกิจกรรมขนส่งตามแนวชายแดนและการค้าผ่านแดนเติบโตได้ต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดรถโดยสารได้รับอานิสงส์จากภาคท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคัก และมีส่วนช่วยให้ปัญหา Overcapacity ในกลุ่มรถบัสนำเที่ยวบรรเทาลง ทั้งนี้ในระยะปานกลาง จำเป็นต้องจับตาทิศทางการนำเข้ายานยนต์เชิงพาณิชย์ที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะจากกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน ซึ่งแม้จะตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อม แต่ก็นำมาซึ่งความเสี่ยงต่อผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนในประเทศให้สูญเสียความสามารถทางการแข่งขัน ตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศปี 2568 มีแนวโน้มซบเซาต่อเนื่อง ขณะที่ในระยะปานกลางจะทยอยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากอุปสงค์ยังคงเผชิญแรงกดดันจากกำลังซื้อกลุ่มฐานรากที่เปราะบาง ทั้งจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง รายได้ภาคเกษตรผันผวน รวมถึงความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ดี ต้องติดตามความคืบหน้าของมาตรการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มกำลังซื้อและหนุนให้ความต้องการซื้อรถจักรยานยนต์จากกลุ่มแรงงานนอกภาคเกษตรฟื้นตัวได้เข้มแข็งมากขึ้น ทั้งนี้สำหรับภาคการส่งออกรถจักรยานยนต์ในปี 2568 คาดว่าจะสามารถกลับมาขยายตัวได้ เพราะอุปสงค์จากคู่ค้าสำคัญทยอยปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งในญี่ปุ่น ยุโรป และจีน ตลาดรถยนต์นั่งไฟฟ้า (Hybrid และ BEV) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปี 2568 ยอดขายรถกลุ่มนี้จะอยู่ที่ราว 2.1 แสนคัน หรือคิดเป็น 30% ของยอดขายรถยนต์ในประเทศทั้งหมด โดยตลาดรถไฮบริดนับเป็นแรงส่งสำคัญเพราะผู้บริโภคมีการเปิดรับรถกลุ่มนี้มากขึ้น ทั้งในรถระดับกลาง (ราคา 5 แสน – 1 ล้านบาท) รวมถึงตลาดรถหรู ขณะที่ยอดขายรถ BEV มีแนวโน้มขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และคาดว่าส่วนแบ่งตลาดในระยะปานกลางจะทรงตัวอยู่ที่ 10% ของยอดขายรถยนต์ในประเทศ ทั้งนี้ปัจจัยฉุดรั้งการเปิดรับรถ BEV จากฝั่งผู้บริโภคเกิดจากความกังวลใน 4 ประเด็นสำคัญ คือ 1) ความไม่เพียงพอของสถานีชาร์จสาธารณะ 2) ปัญหาอุปทานอะไหล่ยนต์ในประเทศและตัวเลือกอู่ซ่อมบำรุงรายย่อยยังมีค่อนข้างจำกัด 3) ผลพวงจากสงครามราคารถ BEV ที่ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทยอยปรับลดลง และ 4) ต้นทุนการถือครองบางส่วนยังอยู่ในระดับสูง อาทิ เบี้ยประกันและอัตราการเสื่อมมูลค่า ทั้งนี้ หากพิจารณาพัฒนาการห่วงโซ่อุปทาน EV ในประเทศไทยจะพบว่า กำลังการผลิตรถยนต์ BEV ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยภายในปี 2568 - 2571 จะขยายตัวสู่ระดับ 6 แสนคัน/ปี ไม่เพียงเท่านี้ การลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ ก็เติบโตสอดรับกับการผลิตรถยนต์เช่นกัน โดยเฉพาะการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า สถานีอัดประจุ/สลับแบตเตอรี่ และธุรกิจผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ EV ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ประกอบการชาวไทย           อ่านต่อบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม https://www.scbeic.com/th/detail/product/automotive-071124 ผู้เขียนบทวิเคราะห์ :  ฐิตา เภกานนท์ นักวิเคราะห์อาวุโสศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC)

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

ยานยนต์ไทยเผชิญแรงกดดัน รถ EV ครองตลาด คาดตลาดฟื้นครึ่งหลัง 68

ยานยนต์ไทยเผชิญแรงกดดัน รถ EV ครองตลาด คาดตลาดฟื้นครึ่งหลัง 68

           SCB EIC ชี้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยต้องเผชิญความท้าทายรอบด้านจากกำลังซื้อในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์ทรงตัวต่ำ คาดฟื้นตัวครึ่งหลังปี 2568 ส่วนรถยนต์เชิงพาณิชย์ได้รับแรงหนุนจากการค้าชายแดนและการท่องเที่ยว ขณะที่รถจักรยานยนต์ยังซบเซาต่อเนื่อง ด้านรถยนต์ไฟฟ้า (Hybrid และ BEV) เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ คาดครองตลาดราว 30% ในปี 2568 ท่ามกลางความท้าทายจากปัจจัยเชิงโครงสร้างในตลาด EV ที่ยังต้องจับตาต่อเนื่อง SCB EIC รายงานอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยกำลังเผชิญความท้าทายที่ถาโถมจากรอบด้าน             อุตสาหกรรมยานยนต์กำลังเผชิญแรงกดดันจากความต้องการในประเทศที่ยังไม่มั่นคง ทำให้ตลาดรถยนต์และจักรยานยนต์มีแนวโน้มฟื้นตัวช้า ส่วนกลุ่มยานยนต์เชิงพาณิชย์ คาดว่าจะกลับมาคึกคักขึ้นได้ เพราะอานิสงส์จากการค้าชายแดนและข้ามพรมแดน รวมถึงภาคการท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคักอย่างต่อเนื่อง ยอดขายรถยนต์ในประเทศคาดว่าจะทยอยฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2568 เป็นต้นไป             ยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2568 คาดว่าจะทรงตัวในระดับต่ำที่ 5.5 แสนคัน ขณะที่ในระยะปานกลาง มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้าและยังไม่สามารถกลับสู่ช่วง Pre-Covid ได้ในภายในปี 2571 เนื่องจากเผชิญกับผลพวงจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งประกอบด้วย 1. สถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ 2. กำลังซื้อในภาพรวมค่อนข้างเปราะบาง 3. พฤติกรรมการใช้รถของคนไทยยาวนานขึ้น 4. การแข่งขันด้านราคาที่ทวีความรุนแรง ส่งผลให้ผู้บริโภคบางส่วนชะลอการตัดสินใจซื้อรถออกไป            นอกจากนี้ เรายังคงต้องติดตาม Vicious cycle ในตลาดยานยนต์ไทย อันเกิดจากการที่สถาบันการเงินมีแนวโน้มตรึงความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ เนื่องจากมีความกังวลต่อทิศทางราคารถยนต์มือ 2 ที่คาดว่าจะปรับลดลงอีก เพราะปัญหาอุปทานส่วนเกินจากกลุ่มรถยึด ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวจะกดดันยอดขายรถยนต์ใหม่ให้ซบเซาต่อเนื่อง และทำให้เหล่าตัวแทนจำหน่ายต้องหันมาเน้นแข่งขันกันด้วยราคา ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมมูลค่าของหลักประกันหมวดยานยนต์ให้มีอัตราการเสื่อมค่าที่เร่งขึ้น ผันผวน และประเมินได้ยาก อุตสาหกรรมยานยนต์เชิงพาณิชย์มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวได้ เพราะกิจกรรมขนส่งทางบกกำลังทยอยกลับมาคึกคัก            อุตสาหกรรมยานยนต์เชิงพาณิชย์ปี 2568 มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวได้ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศและภาคส่งออกฟื้นตัวดีขึ้น โดยตลาดรถบรรทุกได้รับแรงหนุนจากกิจกรรมขนส่งตามแนวชายแดนและการค้าผ่านแดนเติบโตได้ต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดรถโดยสารได้รับอานิสงส์จากภาคท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคัก และมีส่วนช่วยให้ปัญหา Overcapacity ในกลุ่มรถบัสนำเที่ยวบรรเทาลง ทั้งนี้ในระยะปานกลาง จำเป็นต้องจับตาทิศทางการนำเข้ายานยนต์เชิงพาณิชย์ที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะจากกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน ซึ่งแม้จะตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อม แต่ก็นำมาซึ่งความเสี่ยงต่อผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนภายในประเทศให้สูญเสียความสามารถทางการแข่งขัน   ยอดขายรถจักรยานยนต์ยังคงมีแนวโน้มซบเซา เพราะกำลังซื้อในกลุ่มฐานรากค่อนข้างเปราะบาง ตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศปี 2568 มีแนวโน้มซบเซาต่อเนื่อง ขณะที่ในระยะปานกลางจะทยอยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากอุปสงค์ยังคงเผชิญแรงกดดันจากกำลังซื้อกลุ่มฐานรากที่เปราะบาง ทั้งจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง รายได้ภาคเกษตรผันผวน รวมถึงความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ดี ต้องติดตามความคืบหน้าของมาตรการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มกำลังซื้อและหนุนให้ความต้องการซื้อรถจักรยานยนต์จากกลุ่มแรงงานนอกภาคเกษตรฟื้นตัวได้เข้มแข็งมากขึ้น ทั้งนี้สำหรับภาคการส่งออกรถจักรยานยนต์ในปี 2568 คาดว่าจะสามารถกลับมาขยายตัวได้ เพราะอุปสงค์จากคู่ค้าสำคัญทยอยปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งในญี่ปุ่น ยุโรป และจีน ยอดขายรถ Hybrid และ BEV มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง และคาดว่าจะครองส่วนแบ่งตลาดราว 30% ในปี 2568 ตลาดรถยนต์นั่งไฟฟ้า (Hybrid และ BEV) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปี 2568 ยอดขายรถกลุ่มนี้จะอยู่ที่ราว 2.1 แสนคัน หรือคิดเป็น 30% ของยอดขายรถยนต์ในประเทศทั้งหมด โดยตลาดรถไฮบริดนับเป็นแรงส่งสำคัญเพราะผู้บริโภคมีการเปิดรับรถกลุ่มนี้มากขึ้น ทั้งในรถระดับกลาง (ราคา 5 แสน – 1 ล้านบาท) รวมถึงตลาดรถหรู ขณะที่ยอดขายรถ BEV มีแนวโน้มขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และคาดว่าส่วนแบ่งตลาดในระยะปานกลางจะทรงตัวอยู่ที่ 10% ของยอดขายรถยนต์ในประเทศ ทั้งนี้หากพิจารณาปัจจัยฉุดรั้งการเปิดรับรถ BEV จากฝั่งผู้บริโภค พบว่าเกิดขึ้นจากความกังวลใน 4 ประเด็นสำคัญ คือ 1. ความไม่เพียงพอของสถานีชาร์จสาธารณะ 2. ปัญหาอุปทานอะไหล่ยนต์ในประเทศและตัวเลือกอู่ซ่อมบำรุงรายย่อยยังมีค่อนข้างจำกัด 3. ผลพวงจากสงครามราคารถ BEV ที่ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทยอยปรับลดลง 4. ต้นทุนการถือครองบางส่วนยังอยู่ในระดับสูง อาทิ เบี้ยประกันและอัตราการเสื่อมมูลค่า สำหรับพัฒนาการห่วงโซ่อุปทาน EV ในประเทศไทยพบว่า กำลังการผลิตรถยนต์ BEV ภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยภายในปี 2568 - 2571 จะขยายตัวสู่ระดับ 6 แสนคัน/ปี นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก็เติบโตควบคู่ไปกับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน โดยเฉพาะการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า สถานีอัดประจุ/สลับแบตเตอรี่ และธุรกิจผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ EV ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากภาคธุรกิจสัญชาติไทย

ส่องวิชั่นตลาดที่อยู่อาศัย สู้วิกฤติกำลังซื้อถดถอย

ส่องวิชั่นตลาดที่อยู่อาศัย สู้วิกฤติกำลังซื้อถดถอย

           หุ้นวิชั่น - ตลาดที่อยู่อาศัยยังต้องเผชิญความท้าทายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากการฟื้นตัวช้าของกำลังซื้อ ซึ่งกดดันให้ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2024-2025 มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง            ปัจจัยกดดันทางเศรษฐกิจทั้งค่าครองชีพ ค่าใช้จ่าย และหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ย และความเข้มงวดในการให้สินเชื่อ ยังคงกดดันการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง-ล่าง ที่ส่วนใหญ่ตัดสินใจยังไม่ซื้อที่อยู่อาศัย หรือชะลอการซื้อออกไป โดยคาดว่า หน่วยโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2024 จะหดตัวราว -10%YOY และหดตัวต่อเนื่องราว -1% ถึง -3%YOY ในปี 2025 ส่วนมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2024 มีแนวโน้มหดตัวราว -9%YOY แต่อาจเริ่มทรงตัวได้ หรือหดตัวเล็กน้อยราว +0% ถึง -2%YOY ในปี 2025 ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ในต่างจังหวัด มีแนวโน้มหดตัวในอัตราที่สูงกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑลเล็กน้อย เนื่องจากมีสัดส่วนกำลังซื้อกลุ่มรายได้ปานกลาง-ล่างที่สูงกว่า            การเปิดโครงการใหม่ในปี 2024-2025 ยังมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องจากการที่ผู้ประกอบการระมัดระวังในการเปิดโครงการ จากหน่วยเหลือขายสะสมที่เพิ่มขึ้น อีกทั้ง ต้นทุนก่อสร้างยังอยู่ในระดับสูง            จำนวนหน่วยที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลคาดว่าจะหดตัวราว -28%YOY ในปี 2024 และหดตัวต่อเนื่องอีกราว -2% ถึง -4%YOY ในปี 2025 โดยเป็นการเปิดโครงการระดับราคาปานกลาง-บนเป็นหลัก เพื่อเน้นเจาะกลุ่มกำลังซื้อที่มีศักยภาพ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรักษาอัตรากำไรได้ ท่ามกลางภาวะต้นทุนการก่อสร้างที่ยังอยู่ในระดับสูง ทั้งวัสดุก่อสร้าง แรงงาน และราคาที่ดิน ส่วนการเปิดโครงการระดับราคาปานกลาง-ล่าง ยังเป็นไปอย่างระมัดระวัง เน้นเฉพาะทำเลที่มีศักยภาพ และระบายสินค้าคงเหลือมากขึ้นแทน            ภาวะตลาดที่ซบเซาและการแข่งขันในตลาดที่อยู่อาศัยที่ยังมีแนวโน้มเป็นไปอย่างเข้มข้น ผู้ประกอบการจึงต้องปรับกลยุทธ์ในหลายด้าน กลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ ได้แก่ 1) พัฒนาโครงการใหม่อย่างระมัดระวัง 2) ตอบโจทย์ความต้องการผู้ซื้อแต่ละกลุ่มอย่างตรงจุด 3) ขยายตลาดผู้ซื้อชาวต่างชาติ 4) บริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรักษาอัตรากำไร นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบ ESG มากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Industry overview            ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย ประกอบด้วยผู้ประกอบการรายใหญ่ ไปจนถึงรายกลางและเล็กที่มีรูปแบบการประกอบธุรกิจ และจุดแข็งในการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน ทั้งประเภทที่อยู่อาศัย ระดับราคา และความเชี่ยวชาญในแต่ละทำเล ทั้งนี้นับตั้งแต่การประกาศใช้มาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทยในปี 2019 ไปจนถึงการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างรุนแรงในปี 2020 ส่งผลให้กำลังซื้อในตลาดที่อยู่อาศัยหดตัวค่อนข้างมาก และฟื้นตัวได้ช้า อีกทั้งผู้ประกอบการยังต้องเผชิญกับการปรับตัวสูงขึ้นของต้นทุนวัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะเหล็ก และปูนซีเมนต์ที่ราคาพุ่งสูงขึ้นในปี 2021-2022 ส่งผลกระทบต่อรายได้ อัตรากำไร รวมถึงสภาพคล่องของธุรกิจ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการรายใหญ่ยังคงมีความได้เปรียบ ทั้งด้านความแข็งแกร่งของแบรนด์ และเงินลงทุน รวมถึงยังสามารถใช้กลยุทธ์ด้านราคาดึงดูดกำลังซื้อ เพื่อระบายสต็อก และรักษาสภาพคล่อง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ TOP 8 ที่ธุรกิจสามารถฟื้นตัวได้เร็ว รวมถึงมีเงินลงทุนเพียงพอในการกลับมาเดินหน้าพัฒนาโครงการในหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการพัฒนาโครงการระดับบน เพื่อเจาะกลุ่มกำลังซื้อที่มีคุณภาพ ทำให้รายได้กลับมาฟื้นตัวได้เร็วและครองส่วนแบ่งการตลาดมากกว่าครึ่งตลอดช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ผู้ประกอบการรายกลางและเล็กจำนวนมากยังประสบปัญหาสภาพคล่อง และไม่สามารถแข่งขันได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีกลุ่มที่สามารถประคองธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่เจาะตลาดอยู่ในพื้นที่ปริมณฑล หรือหัวเมืองสำคัญ ที่มีจุดแข็งในด้านแบรนด์ และฐานลูกค้าในพื้นที่ หมายเหตุ : *บริษัทที่มีรายได้จากการดำเนินธุรกิจอื่นในสัดส่วนที่มากกว่ารายได้จากธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย ที่มา : การวิเคราะห์โดย SCB EIC จากข้อมูลของตลาดหลัักทรััพย์์แห่่งประเทศไทย            ในช่วงที่ผ่านมา ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และปัจจัยค่าครองชีพ ภาระค่าใช้จ่าย และหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง กดดันการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง-ล่าง ส่วนกำลังซื้อกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง-บน แม้จะได้รับผลกระทบน้อยกว่า แต่ยังเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับอุปสงค์โดยรวมทั้งตลาด จึงยังไม่สามารถพยุงตลาดที่อยู่อาศัยในภาพรวมได้มากนัก และส่งผลให้หน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศยังไม่สามารถกลับไปอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิด COVID-19 ได้ ขณะที่มูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศขยายตัวเล็กน้อยจากระดับ 9.3 แสนล้านบาทในปี 2019 มาอยู่ที่ระดับ 1 ล้านล้านบาทในปี 2023 สะท้อนถึงการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยที่มีราคาเฉลี่ยต่อหน่วยที่สูงขึ้น จากปัจจัยสำคัญ ได้แก่ 1) กำลังซื้อกลุ่มผู้มีรายได้สูง ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจน้อยกว่ายังมีอยู่สม่ำเสมอ 2) ราคาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตามการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการพัฒนาโครงการ โดยเฉพาะราคาที่ดินที่เร่งตัวขึ้นมาก            ในด้านอุปทานยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าอุปสงค์ค่อนข้างมาก สะท้อนจากการเปิดโครงการใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2022-2023 ที่ระดับ 1.0-1.1 แสนหน่วยต่อปี  ขณะที่หน่วยขายได้ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2022-2023 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับเพียง 9 หมื่นหน่วยต่อปี ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการซื้อ Pre-sale โครงการคอนโดมิเนียมที่จะเกิดการโอนกรรมสิทธิ์จริงในช่วง 1-3 ปีถัดมา นอกจากนั้น ต้นทุนการพัฒนาโครงการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งราคาวัสดุก่อสร้าง ค่าแรงงาน และราคาที่ดินในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการหันไปพัฒนาโครงการระดับราคาปานกลาง-บนมากขึ้น เพื่อเจาะกลุ่มกำลังซื้อที่มีศักยภาพ และสามารถบริหารจัดการอัตรากำไรได้มากกว่าโครงการระดับราคาปานกลาง-ล่าง ซึ่งผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง-ล่าง ที่มีอัตราการยกเลิกการซื้อ และโอกาสถูกปฏิเสธสินเชื่อที่สูง            ส่วนในด้านนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาฯ จากรัฐบาลในปี 2025 คาดว่ามีโอกาสสูงที่จะมีการต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนฯ และจดจำนองที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 7 ล้านบาทต่อไป รวมถึงมาตรการอื่นที่เคยมีการประกาศใช้ในช่วงที่ผ่านมาช่วยสนับสนุน เช่น สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับที่อยู่อาศัยราคาต่ำ มาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ซื้อที่อยู่อาศัย หรือมาตรการลดหย่อนการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น ส่วนมาตรการผ่อนคลาย LTV คาดว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยกว่า ขณะที่มาตรการที่ต้องมีการแก้กฎหมายหรือมีความละเอียดอ่อนสูง เช่น การอนุญาตให้ชาวต่างชาติถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดเกิน 49% หรืออนุญาตให้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแนวราบ รวมถึงการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเช่าที่ดินระยะยาว 99 ปี คาดว่ายังมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยากในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า แต่ยังคงต้องติดตามในระยะต่อไป Industry outlook and trend            ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2024 มีแนวโน้มหดตัว จากปัจจัยกดดันด้านการฟื้นตัวของกำลังซื้อ และในปี 2025 ยังคงหดตัวต่อเนื่องในอัตราที่ลดลง โดยคอนโดมิเนียมยังคงได้รับความสนใจมากกว่าที่อยู่อาศัยประเภทอื่น            SCB EIC คาดว่า ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2024 และ 2025 มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงต่างจังหวัด จากปัจจัยกดดัน ได้แก่ 1) แรงกดดันด้านการฟื้นตัวของกำลังซื้อ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ระดับปานกลาง-ล่าง ที่ส่วนใหญ่ตัดสินใจยังไม่ซื้อที่อยู่อาศัย หรือชะลอการซื้อออกไป แม้กลุ่มผู้มีรายได้ระดับปานกลาง-บนจะมีแนวโน้มฟื้นตัวได้มากขึ้น แต่ยังไม่เพียงพอที่จะพยุงตลาดที่อยู่อาศัยในภาพรวม 2) ความเข้มงวดในการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูง ยังเป็นปัจจัยกดดันความสามารถในการซื้อของผู้บริโภค และ 3) ต้นทุนการก่อสร้างที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวสูงขึ้นตาม จากราคาที่ดิน โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงจังหวัดท่องเที่ยว อย่างภูเก็ต ซึ่งในปี 2025 มีโอกาสที่จะประกาศใช้ผังเมืองใหม่ ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงหลายจังหวัด ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาที่ดินปรับเพิ่มขึ้นอีกและส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการพัฒนาโครงการ โดยเฉพาะโครงการแนวราบที่ต้องใช้พื้นที่ที่ดินขนาดใหญ่ รวมถึงยังเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาโครงการระดับราคาปานกลาง-ล่าง ขณะที่ราคาวัสดุก่อสร้างสำคัญ อย่างเหล็ก และปูนซีเมนต์ แม้จะมีแนวโน้มปรับตัวลดลง แต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าในอดีต            อย่างไรก็ดี ตลาดที่อยู่อาศัยยังมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ได้แก่ 1) กำลังซื้อจากต่างชาติที่ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2022 แม้ในช่วงปี 2024-2025 อาจปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากฐานที่สูงต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา แต่ยังมีส่วนสำคัญในการช่วยพยุงตลาดที่อยู่อาศัยไม่ให้หดตัวลงไปมาก โดยเฉพาะด้านมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นตลาดที่อยู่อาศัยระดับราคาปานกลาง-บน ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงจังหวัดท่องเที่ยวอย่าง ภูเก็ต ชลบุรี และเชียงใหม่ โดยกำลังซื้อจากชาวจีนยังคงมีสัดส่วนมากที่สุดราว 50% ของมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ชาวต่างชาติทั้งหมด ขณะที่กำลังซื้อจากชาติอื่นยังมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของตลาด เช่น ไต้หวัน เมียนมา รัสเซีย สหรัฐอเมริกา 2) จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีส่วนช่วยกระตุ้นตลาดกำลังซื้อเพื่อการลงทุน โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ  รวมถึงจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญ อย่างภูเก็ต ชลบุรี และเชียงใหม่ และ 3) การก่อสร้างและเปิดใช้รถไฟฟ้าสายใหม่ รวมถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงต่างจังหวัด เป็นการเปิดโอกาสให้สามารถพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ในหลากหลายทำเลได้มากขึ้น            อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยกดดันที่ยังมีน้ำหนักมากกว่าปัจจัยสนับสนุน SCB EIC คาดว่า หน่วยโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2024 จะหดตัวราว -10%YOY และหดตัวต่อเนื่องในอัตราที่ลดลงราว -1% ถึง -3%YOY ในปี 2025 ส่วนมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2024 มีแนวโน้มหดตัวราว -9%YOY แต่อาจเริ่มทรงตัวได้ หรือหดตัวเล็กน้อยราว +0% ถึง -2%YOY ในปี 2025 ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ในต่างจังหวัด มีแนวโน้มหดตัวในอัตราที่สูงกว่ากรุงเทพฯ หน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลปี 2025 ยังมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องราว -1%YOY ถึง -3%YOY            และปริมณฑลเล็กน้อย เนื่องจากมีสัดส่วนกำลังซื้อกลุ่มรายได้ปานกลาง-ล่าง ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สูงกว่า นอกจากนี้ คาดว่าในปี 2024-2025 จะยังคงมีสัดส่วนการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยมือสองอยู่ในระดับสูง เนื่องจากปัจจัยด้านความคุ้มค่า และราคาที่ถูกกว่ามือหนึ่งซึ่งจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ โดยเฉพาะกลุ่มรายได้ปานกลาง-ล่างที่กำลังซื้อยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เท่าที่ควร            SCB EIC มองว่าในปัจจุบันและแนวโน้มในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า ตลาดคอนโดมิเนียมจะยังคงได้รับความนิยมค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับที่อยู่อาศัยประเภทอื่น เนื่องจากพฤติกรรมผู้ซื้อมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับทำเล ทั้งความสะดวกต่อการเดินทาง และใกล้สิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงตลาดคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่มากกว่า 80% อยู่ในระดับราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท ซึ่งเป็นระดับราคาที่กำลังซื้อกลุ่มผู้มีรายได้ระดับปานกลาง-ล่างสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าที่อยู่อาศัยแนวราบ และมีราคาต่ำกว่าที่อยู่อาศัยแนวราบที่มีขนาดใกล้เคียงกันในทำเลเดียวกัน ทั้งนี้ SCB EIC คาดว่าหน่วยโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2024 จะเป็นที่อยู่อาศัยประเภทเดียวที่สามารถทรงตัวได้ หรือหดตัวเพียงเล็กน้อย ส่วนในปี 2025 มีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อยอยู่ที่ราว +2% ถึง +4%YOY จากแรงหนุนของการโอนกรรมสิทธิ์ในตลาดมือสองที่ยังสูง การทยอยโอนกรรมสิทธิ์โครงการที่กลับมาสร้างหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เริ่มคลี่คลายในปี 2022-2023 และการทยอยโอนกรรมสิทธิ์จากการจัดโปรโมชัน เพื่อระบายสต็อกของผู้ประกอบการ คาดว่า หน่วยโอนกรรมสิทธิ์ทาวน์เฮาส์ปี 2025 ยังมีอัตราการหดตัวสูงกว่าที่อยู่อาศัยประเภทอื่นอยู่ที่ราว -5%YOY ถึง -7%YOY            สำหรับที่อยู่อาศัยแนวราบ SCB EIC มองว่า ตลาดบ้านเดี่ยวบ้านแฝดในช่วงปี 2024-2025 ยังมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง โดยเป็นการหดตัวในตลาดมือหนึ่งมากกว่ามือสอง เนื่องจากกำลังซื้อกลุ่มผู้มีรายได้ระดับปานกลาง-ล่างยังต้องใช้เวลาฟื้นตัว ประกอบกับราคาบ้านเดี่ยวบ้านแฝดมือหนึ่งเร่งตัวมากขึ้นตามราคาที่ดิน โดยคาดว่าหน่วยโอนกรรมสิทธิ์บ้านเดี่ยวบ้านแฝดในกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะหดตัวราว -14%YOY ในปี 2024 และหดตัวอีกราว -3% ถึง -5%YOY ในปี 2025 ขณะที่ทาวน์เฮาส์จะเป็นตลาดที่มีแนวโน้มหดตัวสูงกว่าที่อยู่อาศัยประเภทอื่น เนื่องจากกำลังซื้อกลุ่มผู้มีรายได้ระดับปานกลาง-ล่าง ยังเปราะบาง ประกอบกับความนิยมลดลง โดยเฉพาะทาวน์เฮาส์ระดับราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท ที่เผชิญการแข่งขันจากคอนโดมิเนียมในระดับราคาเดียวกัน ซึ่งสามารถตอบโจทย์ด้านทำเลได้ดีกว่า โดยคาดว่าหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ทาวน์เฮาส์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2024 จะหดตัวราว -30%YOY ในปี 2024 และหดตัวต่อเนื่องอีกราว -5% ถึง -7%YOY ในปี 2025 ที่มา : การวิเคราะห์โดย SCB EIC จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) กำลังซื้อที่ยังมีแนวโน้มซบเซา และหน่วยเหลือขายสะสมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้การเปิดโครงการใหม่ในปี 2024-2025 ยังมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง หน่วยที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลปี 2025 ยังมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องราว -2%YOY ถึง -4%YOY            ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังมีแนวโน้มเปิดโครงการระดับราคาปานกลาง-บนเป็นหลัก เพื่อเน้นเจาะกลุ่มกำลังซื้อที่มีศักยภาพ และหลีกเลี่ยงปัญหาการถูกปฏิเสธสินเชื่อ หรือการยกเลิกการซื้อ นอกจากนี้ การเปิดโครงการระดับราคาปานกลาง-บนยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรักษาอัตรากำไรได้ ท่ามกลางภาวะต้นทุนการก่อสร้างที่ยังอยู่ในระดับสูง ทั้งวัสดุก่อสร้าง แรงงาน และราคาที่ดิน ส่วนการเปิดโครงการระดับราคาปานกลาง-ล่าง ยังเป็นไปอย่างระมัดระวัง เน้นเฉพาะทำเลที่มีศักยภาพ และหันไประบายสินค้าคงเหลือมากขึ้นแทน ทั้งนี้ SCB EIC คาดว่าจำนวนหน่วยที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะหดตัวราว -28%YOY ในปี 2024 และหดตัวต่อเนื่องในอัตราที่ลดลงอีกราว -2% ถึง -4%YOY ในปี 2025            แม้อุปทานใหม่ในปี 2024-2025 จะมีแนวโน้มหดตัว แต่อุปสงค์ที่หดตัวในอัตราที่สูงกว่า ส่งผลให้หน่วยที่อยู่อาศัยเหลือขายสะสมในระยะต่อไปยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากกลุ่มที่อยู่อาศัยแนวราบระดับราคาปานกลางขึ้นไป ที่ยังต้องใช้ระยะเวลาดูดซับจากอุปสงค์ที่มีอยู่จำกัด ส่วนในกลุ่มที่อยู่อาศัยระดับราคาปานกลาง-ล่าง ที่แม้จะมีการเปิดโครงการใหม่อย่างระมัดระวัง แต่ยังต้องติดตามสถานการณ์การถูกปฏิเสธสินเชื่อ หรือยกเลิกการซื้อ โดยเฉพาะในตลาดคอนโดมิเนียม ที่จะเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หน่วยที่อยู่อาศัยเหลือขายสะสมเร่งตัว โดย SCB EIC คาดว่าหน่วยที่อยู่อาศัยเหลือขายสะสมในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2024-2025 จะขยายตัวราวปีละ +2% ถึง +4%YOY ที่มา : การวิเคราะห์โดย SCB EIC จากข้อมูลของ AREA Competitive landscape            ในระยะต่อไป การแข่งขันในตลาดที่อยู่อาศัยยังมีแนวโน้มเป็นไปอย่างเข้มข้น ผู้ประกอบการจึงต้องปรับกลยุทธ์ ทั้งพัฒนาโครงการใหม่อย่างระมัดระวัง ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ซื้ออย่างตรงจุด  ขยายตลาดผู้ซื้อชาวต่างชาติ รวมถึงบริหารจัดการต้นทุนการพัฒนาโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ            ในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า ตลาดที่อยู่อาศัยยังต้องพึ่งพากำลังซื้อกลุ่มผู้มีรายได้ระดับปานกลาง-บนเป็นหลัก ทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่กลุ่ม TOP 8 ยังมีความได้เปรียบในการแข่งขันสูง จากปัจจัยด้านเงินลงทุนและสภาพคล่องที่สูง ทำให้สามารถพัฒนาโครงการระดับราคาสูงเจาะกลุ่มผู้มีรายได้ระดับปานกลาง-บนได้มากกว่า นอกจากนี้ ยังสามารถพัฒนาโครงการได้หลากหลายรูปแบบและหลายระดับราคา ทำให้มีโอกาสเข้าถึงความต้องการซื้อในตลาดที่ยังมีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างทั่วถึงมากกว่าผู้ประกอบการรายกลางและเล็ก ที่ส่วนใหญ่ยังต้องเน้นการพัฒนาโครงการระดับราคาปานกลาง-ล่าง ซึ่งยังต้องเผชิญแรงกดดันจากกำลังซื้อที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เท่าที่ควร SCB EIC มองว่า กลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการควรเน้นให้ความสำคัญ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในระยะข้างหน้า คือ พัฒนาโครงการใหม่อย่างระมัดระวัง : หลีกเลี่ยงทำเลที่มีการแข่งขันรุนแรง หรือมีหน่วยเหลือขายสะสมสูง รวมถึงควรกระจาย Portfolio ให้มีตัวเลือกที่อยู่อาศัยในหลากหลายระดับราคา เพื่อตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้หลากหลายกลุ่ม เพิ่มโอกาสในการขายที่อยู่อาศัย รวมถึงยังเป็นการกระจายความเสี่ยงจากตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรง ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อแต่ละกลุ่มอย่างตรงจุด : โดยเน้นพัฒนาสินค้าและบริการ รวมถึงลด Pain point ของผู้ซื้อ ผ่านการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ซื้อ รวมถึงความสามารถในการจ่ายเงินเพิ่ม สำหรับรูปแบบ ฟังก์ชัน หรือบริการเสริมต่าง ๆ ที่แตกต่างจากโครงการทั่วไป โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ระดับรายได้ ช่วงอายุ วิถีชีวิต เพื่อนำมาสู่การพัฒนาที่อยู่อาศัย การกำหนดราคา รวมถึงการทำการตลาดได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ขยายตลาดผู้ซื้อชาวต่างชาติ : กำลังซื้อชาวต่างชาติที่คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ชั้นใน และชั้นกลาง รวมถึงภูเก็ต ชลบุรี และเชียงใหม่ จะเป็นอีกทางเลือกในการสร้างรายได้ในช่วงที่กำลังซื้อในประเทศยังซบเซา บริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาอัตรากำไร : การนำเทคโนโลยีที่ช่วยลดขั้นตอนการก่อสร้าง ลดการใช้แรงงาน รวมถึงการรักษาความสัมพันธ์ และสร้างความร่วมมือกับผู้รับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจที่เกี่ยวข้องใน Supply chain จะช่วยให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น            นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบ ESG โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่หันมาให้ความสำคัญกับที่อยู่อาศัยที่ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น            ผู้ประกอบการจึงเริ่มให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การกำหนดขั้นตอนและวิธีการก่อสร้าง ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ การใช้วัสดุก่อสร้าง และเครื่องมือเครื่องจักรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันยังจำกัดอยู่ในกลุ่มคอนโดมิเนียม เนื่องจากมีมาตรฐานระดับสากล และระดับประเทศรองรับ เช่น Leadership in Energy & Environmental Design (LEED), WELL Building Standard, อาคารเขียวตามมาตรฐาน Thai's Rating of Energy and Environmental Sustainability (TREES) แต่ในระยะต่อไป คาดว่าจะมีมาตรฐานรับรองที่อยู่อาศัยสำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัยแนวราบที่คาดว่าจะมีข้อกำหนดที่เข้มงวดขึ้น เช่น การใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรหรือช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การกำหนดสัดส่วนต้นไม้ยืนต้นต่อพื้นที่เปิดโล่งในโครงการ (โดยห้ามย้ายต้นไม้มาจากที่อื่น) ไปจนถึงการกำหนดให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทน รวมถึงการใช้แสงและลมจากธรรมชาติ ภายในที่อยู่อาศัย นอกเหนือจากการนำเสนอฟังก์ชันการอยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ด้าน ESG โดยทั่วไป ที่โครงการต่าง ๆ ได้มีการนำมาใช้บ้างแล้ว อย่างเช่นการติดตั้ง Solar roof, EV charger และระบบ Smart home โดยท้ายที่สุดแล้ว การดำเนินธุรกิจตามกรอบแนวคิด ESG จะทำให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการ ช่วยประหยัดต้นทุน ควบคู่กับการลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย ภาคผนวก ภาพรวมผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หมายเหตุ : * บริษัทที่มีรายได้จากการดำเนินธุรกิจอื่นในสัดส่วนที่มากกว่ารายได้จากธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย ในที่นี้จะคำนวณเฉพาะรายได้จากธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย ** รายได้และกำไรของผู้ประกอบการกลุ่ม TOP 8 มีอัตราการหดตัวที่สูงกว่ากลุ่มผู้ประกอบการรายที่เหลือ เนื่องจากฐานที่สูงกว่าในช่วงก่อนหน้า โดยหากพิจารณา Net Profit Margin และ ROE ประกอบ จะเห็นว่าผลประกอบการของผู้ประกอบการกลุ่ม TOP 8 ยังอยู่ในระดับสูงกว่ากลุ่มผู้ประกอบการรายที่เหลือค่อนข้างมาก ที่มา : การวิเคราะห์โดย SCB EIC จากข้อมูลของตลาดหลัักทรััพย์์แห่่งประเทศไทย   ที่มา เชษฐวัฒก์ ทรงประเสริฐ นักวิเคราะห์อาวุโส ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC)

SCB EIC ท่องเที่ยวส่งออกหนุนเศรษฐกิจไตรมาส 4 แจกเงินหมื่นช่วยประคองแต่ผลกระตุ้นมีจำกัด

SCB EIC ท่องเที่ยวส่งออกหนุนเศรษฐกิจไตรมาส 4 แจกเงินหมื่นช่วยประคองแต่ผลกระตุ้นมีจำกัด

           SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจโลกปี 2568 จะขยายตัวเร่งขึ้นจากการลดลงของอัตราเงินเฟ้อและดอกเบี้ยนโยบาย แต่ยังต้องจับตาความเสี่ยงจากสงครามอิสราเอล-ฮามาส และการเลือกตั้งในสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจไทยได้แรงหนุนจากการท่องเที่ยวและส่งออกในไตรมาส 4 แม้ภาคการผลิตฟื้นตัวช้า ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 10,000 บาทมีผลบวกจำกัด เงินเฟ้อจะทยอยเข้าสู่กรอบในไตรมาส 4 ปีนี้ และอัตราดอกเบี้ยไทยมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องในปีหน้า            เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเติบโตแบบ Soft landing ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ภาคการผลิตหดตัวชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว ขณะที่ภาคบริการยังขยายตัวได้ดีแม้จะชะลอลงบ้าง อย่างไรก็ดี SCB EIC ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2568 จะขยายตัวเร่งขึ้นได้ โดยมีอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ทยอยลดลงเป็นปัจจัยสนับสนุน แต่ต้องจับตาความเสี่ยงจาก 1) สงครามอิสราเอล-ฮามาส โดยเฉพาะบทบาทอิหร่านและสงครามขยายวงเข้าไปในเลบานอน 2) การเลือกตั้งในสหรัฐฯ ที่จะมีผลกระทบโดยตรงต่อนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะมาตรการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศที่จะกระทบเศรษฐกิจและการค้าโลกตามมา รวมถึง 3) การเลือกตั้งในญี่ปุ่นที่อาจนำไปสู่การยกระดับกำลังทหารของญี่ปุ่นและความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาค            นโยบายการเงินโลกตึงตัวลดลง SCB EIC ประเมินว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะลดดอกเบี้ยอีก 50 BPS หลังลด 50 BPS ในไตรมาส 3 ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะลดดอกเบี้ยอีก 25 BPS หลังปรับลดแล้ว 75 BPS ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีแนวโน้มลดดอกเบี้ยอีก 25 BPS ในเดือน พ.ย. หลังปรับลดไป 25 BPS ในไตรมาส 3 และอาจมีโอกาสลดเพิ่มอีก 25 BPS ในเดือน ธ.ค. ขณะที่ธนาคารกลางจีน (PBOC) มีแนวโน้มผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อเนื่องหลังลดดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 30 BPS ตั้งแต่ต้นปี            เศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีจะได้แรงหนุนจากการท่องเที่ยวและส่งออก นักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4 จากกลุ่มตลาดประเทศระยะไกล รวมถึงการท่องเที่ยวในประเทศจะได้ปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐที่จะออกมาเพิ่มเติม โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและเมืองน่าเที่ยว การส่งออกไทยจะขยายตัวดีขึ้น โดยมีแรงหนุนสำคัญจากวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น อย่างไรก็ดี ภาคการผลิตอุตสาหกรรมไทยยังฟื้นตัวได้ช้าและมีสัญญาณการฟื้นตัวไม่ชัดเจน ขณะที่สินค้าคงคลังยังอยู่ในระดับสูง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมปรับลดลงจากสถานการณ์น้ำท่วมและค่าเงินบาทแข็ง สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่เกษตรเริ่มคลี่คลายลงบ้าง โดยพื้นที่เกษตรที่ได้รับผลกระทบยังไม่สูงมากหากเทียบกับภัยน้ำท่วมในอดีต SCB EIC ประเมินว่า มูลค่าความเสียหายในภาคเกษตรอยู่ที่ราว 4,700 ล้านบาท (0.03% ของ GDP) โดยคาดว่าพื้นที่ปลูกข้าวจะเสียหาย 0.83 ล้านไร่            สำหรับโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจแจกเงิน 10,000 บาทจะเป็นปัจจัยบวกเพิ่มเติมในปีนี้ SCB EIC ประเมินโครงการนี้มีผลบวกต่อเศรษฐกิจค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเม็ดเงินทั้งหมดอาจไม่ได้ใช้จ่ายลงเศรษฐกิจ สะท้อนจากผลสำรวจ SCB EIC consumer survey ที่พบว่า ผู้ได้รับสิทธิบางส่วนจะนำเงินไปออมหรือชำระหนี้ รวมถึงใช้จ่ายเงินนี้แทนรายจ่ายปกติที่ต้องจ่ายอยู่แล้ว สำหรับการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะแผ่วลงต่อเนื่อง สอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับลดลง 7 เดือนติดต่อกันและอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน            SCB EIC มองเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้ากรอบในช่วงต้นไตรมาส 4 และจะทรงตัวใกล้เคียงขอบล่างในช่วงปีหน้า อย่างไรก็ดี มาตรการกีดกันการค้าในโลกที่จะออกมาเพิ่มขึ้นและสภาพอากาศแปรปรวนรุนแรงขึ้นจะเริ่มเป็นปัจจัยส่งผลมาที่เงินเฟ้อในระยะปานกลางมากขึ้น            อัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยเริ่มปรับลดลง 0.25% ในเดือน ต.ค. เพื่อช่วยบรรเทาภาระหนี้และไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ในภาวะสินเชื่อชะลอตัว และดอกเบี้ยที่ลดลงยังอยู่ในระดับที่เป็นกลางต่อเศรษฐกิจ SCB EIC มองว่า กนง. จะปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้งภายในไตรมาส 1/2568 เพื่อผ่อนคลายภาวะการเงินเพิ่มเติม เนื่องจากประเมินว่าภาพรวมเศรษฐกิจและภาวะสินเชื่อชะลอตัวจะยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง สถานการณ์มีแนวโน้มน่ากังวลมากขึ้นในระยะข้างหน้า ขณะที่ภาวะการเงินโลกจะผ่อนคลายลงอีกเอื้อต่อการลดดอกเบี้ยของไทย            เงินบาทจะยังผันผวนสูง ในระยะ 1 เดือนข้างหน้าค่าเงินบาทเฉลี่ยจะอยู่ในกรอบ 33.10-33.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยต้องจับตาจังหวะการปรับลดดอกเบี้ยของ Fed และสถานการณ์สงครามในตะวันออกกลาง ซึ่งอาจทำให้เงินบาทมี Correction อ่อนค่าได้ในระยะสั้น ก่อนจะทยอยกลับสู่เทรนด์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในกรอบ 32.50-33.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต