#RATCH


RATCH ลงนาม Dispatch Agreement  โรงไฟฟ้า Townsville ในออสเตรเลีย

RATCH ลงนาม Dispatch Agreement โรงไฟฟ้า Townsville ในออสเตรเลีย

          หุ้นวิชั่น - นายนิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ("บริษัทฯ") หรือ RATCH รายงานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า เนื่องจากสัญญาซื้อขายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม Townsville ("TPS") ขนาดกำลังการผลิต 234 เมกะวัตต์ ระหว่างบริษัท ราช-ออสเตรเลีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ("RAC") ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทางอ้อมที่บริษัทฯ ถือหุ้นทั้งหมด และ Queensland Pacific Metals หรือปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น QPM Energy Limited ("QPM") ระยะเวลา 2 ปี จะสิ้นสุดลงในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568           บริษัทฯ จึงได้พิจารณาแนวทางเพื่อใช้ประโยชน์และบริหารจัดการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดย RAC ได้เจรจากับ QPM จนบรรลุข้อตกลงร่วมกัน และเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 RAC และ QPM ได้ลงนามในสัญญา "Dispatch Agreement" ระยะเวลา 10 ปี เพื่อบริหารจัดการให้โรงไฟฟ้า TPS สามารถเดินเครื่องและสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องภายหลังสัญญาซื้อขายไฟฟ้าสิ้นสุดลง

RATCH ผลงานติดเครื่องวิ่งต่อ 36.00 บาท

RATCH ผลงานติดเครื่องวิ่งต่อ 36.00 บาท

หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด คาด RATCH กำไรมีโอกาสเติบโต YoY ต่อเนื่องไปอีก 2 ไตรมาส **สรุปสาระสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์** วานนี้ (28 พ.ย.) เราเข้าร่วมประชุมนักวิเคราะห์และมีมุมมองเป็นกลาง โดยมีสาระสำคัญดังนี้: 1) สำหรับโครงการโรงไฟฟ้า RG ที่มีกำหนดหมดอายุสัญญาในช่วงปี 2568-2570 บริษัทฯ อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ รวมถึงธุรกิจอื่นในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อรักษาความสามารถในการทำกำไรของบริษัทฯ ในระยะยาว (โดยอาจเป็นการพัฒนาโรงไฟฟ้า IPP ใหม่ตามแผน PDP ฉบับใหม่หรือโครงการพลังงานหมุนเวียน รวมถึงการหาพันธมิตรเข้ามาลงทุนในธุรกิจที่เป็น S-Curve เช่น Data Center และการขายไฟฟ้าให้) 2) ปัจจุบันบริษัทฯ อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการเข้าลงทุนในธุรกิจพลังงานอื่นเพิ่มเติม เช่น LNG, ไฮโดรเจนสีเขียว และแอมโมเนียสีเขียว เป็นต้น 3) บริษัทฯ ยังมีแผนในการลงทุนในธุรกิจพลังงานและธุรกิจอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้การปรับขึ้นเงินปันผลรายปีจะยังไม่เกิดขึ้นในระยะสั้น **ปรับกำไรปี 2567-68 ขึ้นหลังส่วนแบ่งกำไรจาก Paiton สูงกว่าคาด** ปรับประมาณการปี 2567-68 ขึ้น 20% และ 15% เป็น 6,849 ล้านบาท (+54% YoY) และ 7,806 ล้านบาท (+14% YoY) ตามลำดับ จากการปรับสมมติฐานส่วนแบ่งกำไรจากโรงไฟฟ้า Paiton หน่วยที่ 3, 7 และ 8 (ขนาดรวม 742 MWe) ขึ้นเพื่อสะท้อน EAF ของโรงไฟฟ้าดังกล่าวที่สูงกว่าที่เราประเมินไว้ก่อนหน้า (ปรับขึ้นเป็น 70% จากเดิมที่ 65%, ในช่วง พ.ค. - ก.ย. โรงไฟฟ้า Paiton มี EAF เฉลี่ยอยู่ที่ราว 80%) ทั้งนี้เรา คาดเงินปันผลปี 2567-68 ที่ระดับ 1.60 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend Yield 5.2% **คาดกำไรปกติเติบโต YoY ได้ต่อเนื่องไปอีก 2 ไตรมาส** เบื้องต้นคาดกำไรปกติ 4Q67 ที่ระดับ 1,400-1,600 ล้านบาท ลดลง QoQ หลังถูกกดดันจากปัจจัยฤดูกาลของโรงไฟฟ้า IPP และการปิดซ่อมบำรุงบางส่วนของโรงไฟฟ้าหงสาและโรงไฟฟ้า Paiton (ปิดซ่อมในช่วงปลาย 4Q67 - ต้น 1Q68) แต่คาดเติบโตเด่น YoY ได้ต่อเนื่องจากฐานที่ต่ำในปีก่อนหลังได้แรงหนุนจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากโรงไฟฟ้า Paiton ที่เข้าลงทุนใน 2Q67 และต้นทุนทางการเงินที่คาดลดลงจากการ Refinanced เงินกู้บางส่วนด้วยเงินสดที่ได้รับจากการออก Green Bond (ราว 4.0 พันล้านบาท, อัตราดอกเบี้ย 2.8-3.0%) หากมองไปช่วง 1Q68 คาดกำไรปกติมีโอกาสกลับมาเติบโตได้ทั้ง QoQ และ YoY จากจำนวนวันปิดซ่อมบำรุงของโรงไฟฟ้าหงสาที่ลดลงและค่าใช้จ่าย SG&A ที่ลดลงตามฤดูกาล รวมถึงการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากโรงไฟฟ้า Paiton แบบเต็มไตรมาส **ปรับไปใช้ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2568 ที่ 36.00 บาท/หุ้น... คงคำแนะนำ “ซื้อ”** ผลจากการปรับประมาณการขึ้นและการปรับไปใช้ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2568 ส่งผลให้ได้ราคาเหมาะสมใหม่ที่ 36.00 บาท/หุ้น มี Upside 16.1% โดยเรามองว่าหุ้นมีโอกาสเคลื่อนไหวได้ดีกว่าตลาดในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้าจาก 1) ผลประกอบการที่คาดเติบโต YoY ได้ต่อเนื่อง และ 2) คาดหุ้นมีโอกาสถูก Re-rating หลังเข้าสู่รอบของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดและกนง. (การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลให้ Bond Yield ปรับตัวลง และทำให้นักลงทุนหันมาให้ความสนใจกับหุ้นที่มี Dividend Yield สูงมากขึ้น) จึงคงคำแนะนำ “ซื้อ”

บล.กรุงศรี ชี้ RATCH อาจเผชิญความท้าทาย แต่ valuation น่าสนใจ

บล.กรุงศรี ชี้ RATCH อาจเผชิญความท้าทาย แต่ valuation น่าสนใจ

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.กรุงศรี ชี้ผลประกอบการ 3Q24 ของ RATCH ต่ำกว่าที่ IAA คาดไว้ประมาณ 30% สาเหตุหลักมาจาก 1) รายได้จากการลงทุนลดลง และ 2) ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 452 ล้านบาท บทวิเคราะห์มีมุมมองต่อหุ้น RATCH เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนในการต่อสัญญาโรงไฟฟ้าราชบุรี (RG) หลังหมดอายุในปี 2025F และ 2027F รวมถึงความคืบหน้าในการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนที่อาจจะช้ากว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่ม และ RoE ที่ต่ำอยู่ที่ประมาณ 5% อย่างไรก็ตาม รายได้จากโครงการโรงไฟฟ้า Paiton และโรงไฟฟ้าหินกอง (HKT) คาดว่าจะช่วยชดเชยผลกระทบจากการหมดอายุสัญญา RG และมูลค่าหุ้นในปัจจุบันยังน่าสนใจ RATCH มีกำไร 3Q24 เพิ่มขึ้น yoy แต่ลดลง qoq อยู่ที่ 1.6 พันล้านบาท - RATCH มีกำไรหลัก (core profit) อยู่ที่ 2.1 พันล้านบาทใน 3Q24 เติบโต 105% yoy แต่ลดลง 7% qoq สำหรับการเพิ่มขึ้น YoY มาจากส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนใน Paiton, หินกอง (HKT) และหงสา (HPC) ส่วนการลดลง qoq มาจากส่วนแบ่งกำไรที่ลดลงจากปริมาณการผลิตไฟฟ้าที่ลดลง และผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนที่โรงไฟฟ้าหงสา (HPC) และโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อย (PNPC) - รายได้ลดลง 6% yoy เนื่องจากรายได้จากโรงไฟฟ้าราชบุรี (RG) ลดลง แต่เพิ่มขึ้น 9% qoq โดยได้รับแรงหนุนจาก Ratch-Australia Corp. Pty. Ltd. (RAC) โดยเฉพาะโรงไฟฟ้า Townsville และ The Collector พลังงานลม อย่างไรก็ดี อัตรากำไรขั้นต้นลดลงทั้ง yoy และ qoq เนื่องจาก gross margin ที่ลดลงของกลุ่ม SPPs และปริมาณการผลิตไฟฟ้าที่ลดลงของ IPPs บริษัทฯ ยังบันทึกขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 452 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรสุทธิอยู่ที่ 1.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 40% yoy แต่ลดลง 28% qoq - สำหรับ 4Q24F เราคาดกำไรจะหนุนจาก Calabanga โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และ REN Korat โรงไฟฟ้า cogen (เต็มไตรมาส) แต่ตามปกติค่าใช้จ่าย SG&A จะสูงขึ้น สำหรับ 2025F ผลประกอบการจะได้เสริมจาก HKP Unit 2 (COD ใน 1Q25F), NNEG Phase 3 (SPP 30MW, 40% stake), และ Song Giang 1 (Hydro 12MW ในเวียดนาม, 46.2% stake) รวมถึงโครงการพลังงานหมุนเวียนอื่น เช่น การผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิงชีวมวล และโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น สายสีชมพูส่วนต่อขยาย, ทางหลวงพิเศษบางปะอิน-โคราช (M6) และบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) Consensus TP อยู่ที่ 35.86 บาท; 5 Buy, 1 Hold และ 1 Sell - แม้ว่าโครงการ Paiton และ HPC จะสามารถชดเชยการหมดอายุสัญญา RG ในปี 2025F (2 units, 1.4GW) และปี 2027F (3 units, 2.175 GW) แต่เรารอการประกาศการประมูล 1.4GW เพื่อทดแทนกำลังการผลิตตามแผน PDP 2024 บริษัทตั้งเป้าหมาย RoE ที่ 7-8% ภายในปี 2030F ซึ่งดูท้าทายเนื่องจากปัจจุบันอยู่ที่ 5% อย่างไรก็ตาม มูลค่าปัจจุบันของหุ้นยังดูสมเหตุสมผล โดยซื้อขายที่ระดับ PBV เพียง 0.6-0.7 เท่า และ P/E 9-10 เท่าสำหรับปี 2024-25F และอัตราผลตอบแทนเงินปันผลน่าสนใจที่ 5-6% ตามประมาณการจากนักวิเคราะห์

ราช กรุ๊ป ประกาศกำไร 9 เดือนแรก 5,485 ลบ. EBITDA เติบโต 12,830 ลบ.

ราช กรุ๊ป ประกาศกำไร 9 เดือนแรก 5,485 ลบ. EBITDA เติบโต 12,830 ลบ.

           นนทบุรี- บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) รายงานผลการดำเนินงานรอบ 9 เดือนแรก (มกราคม-กันยายน) ของปี 2567 รับรู้กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) จำนวน 12,830 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,701 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2566 และกำไรสุทธิ จำนวน 5,485 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 730 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15 สำหรับรายได้ของงวด 9 เดือนที่ผ่านมา บริษัทฯ รับรู้เป็นจำนวน 33,616 ล้านบาท โดยรายได้จากส่วนแบ่งกำไรจากกิจการที่ร่วมทุน สินทรัพย์โรงไฟฟ้าในออสเตรเลียภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ราช ออสเตรเลีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด และโรงไฟฟ้าพลังน้ำในอินโดนีเซีย ได้ช่วยเสริมหนุนให้ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ           นายนิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH กล่าวว่า บริษัทฯ มุ่งหมายที่จะสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการกำหนดเป้าหมายให้ EBITDA เติบโตปีละไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท โดยวางกลยุทธ์เน้นการบริหารประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้วให้มีความสามารถดำรงความพร้อมจ่ายให้ดีที่สุด และบริหารโครงการที่มีแผนเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปีนี้ให้สำเร็จตามเป้าหมายเพื่อสร้างรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงจัดหาเงินทุนสำหรับขยายการลงทุนของบริษัทฯ ซึ่งผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา สะท้อนได้ถึงความมุ่งมั่นดังกล่าวเป็นอย่างดี โดยบริษัทฯ รับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนในกิจการร่วมลงทุน รวม 5,312 ล้านบาท เติบโตขึ้นร้อยละ 64 ซึ่งรวมถึงโรงไฟฟ้าไพตัน โรงไฟฟ้าหินกอง โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์กาลาบังก้าที่รับรู้รายได้ในปีนี้ ขณะที่รายได้ของโรงไฟฟ้าในพอร์ตการลงทุนของบริษัท ราช ออสเตรเลีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ก็เติบโตเป็นที่น่าพอใจ เป็นจำนวน 5,409 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 57 ซึ่งเป็นผลสำคัญจากรายได้ของโรงไฟฟ้าพลังงานลมลินคอล์น แก็ป 1&2 และโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ สแนปเปอร์ พอยท์ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังประสบความสำเร็จในการจัดหาเงินทุนผ่านหุ้นกู้สีเขียว จำนวน 4,000 ล้านบาท ด้วย           “บริษัทฯ ยังคงยึดธุรกิจผลิตไฟฟ้าในการขับเคลื่อนการเติบโต โดยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ธุรกิจผลิตไฟฟ้าสร้างรายได้แก่บริษัทฯ จำนวน 31,949 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 95 ของรายได้รวม สำหรับรายได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน มีจำนวน 4,567 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14 ของรายได้รวม ส่วนรายได้จากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงหลัก จำนวน 27,382 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 82 ของรายได้รวม นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสามารถเดินหน้า 4 โครงการ กำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น รวม 1,183 เมกะวัตต์ ที่อยู่ในแผนงานปีนี้ได้สำเร็จ และลงทุนในโครงการต่างๆ ไปแล้วเป็นเงินจำนวน 24,619 ล้านบาท อีกทั้งยังได้จับมือกับพันธมิตรเพื่อร่วมกันสร้างโอกาสทางธุรกิจที่สนับสนุนเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ โดยเฉพาะเชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำรูปแบบต่างๆ ที่มีศักยภาพในอนาคตด้วย” นายนิทัศน์ กล่าว           สำหรับ ฐานะการเงินปัจจุบัน (ณ วันที่ 30 กันยายน 2567) บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 212,817 ล้านบาท หนี้สินรวม จำนวน 110,833 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้น จำนวน 101,984 ล้านบาท สำหรับสถานะทางการเงินบริษัทฯ ยังมีความมั่นคงและแข็งแกร่ง สะท้อนได้จากอัตราหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ระดับ 1.09 เท่า และอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นอยู่ที่ร้อยละ 5.49 [PR News]

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

RATCH จ่ายไฟฟ้า โรงไฟฟ้าโคราช 31.2 MW

RATCH จ่ายไฟฟ้า โรงไฟฟ้าโคราช 31.2 MW

          หุ้นวิชั่น - นางวดีรัตน์ เจริญคุปต์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่การเงิน รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH ได้ลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้า อาร์ อี เอ็น โคราช เอนเนอยี่ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าประเภท Independent Power Supply ระบบโคเจนเนอเรชั่น ขนาดกำลังการผลิต ติดตั้งรวม 31.2 เมกะวัตต์ ในจังหวัดนครราชสีมา ผ่านบริษัท อาร์ อี เอ็น โคราช เอนเนอร์ยี่ จำกัด บริษัทร่วมทุนที่บริษัทถือหุ้นร่วมกับบริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน) และบริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในสัดส่วน ร้อยละ 40 , 35 และ 25 ตามลำดับนั้น           บริษัท ขอรายงานให้ทราบว่า โรงไฟฟ้าอาร์ อี เอ็น โคราช เอนเนอร์ยี่ ได้เดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้ว

live-sticky
LIVE