หุ้นวิชั่น - PTT รายงานกำไรสุทธิปี 2567 ที่ 90,072 ล้านบาท ท่ามกลางความท้าทายจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม EBITDA ยังทรงตัวที่ 396,234 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านธุรกิจพลังงานและความยั่งยืน
นางสาวภัทรลดา สง่าแสง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT รายงานผลประกอบการ ในไตรมาส 4 ปี 2567 ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและ ค่าตัดจำหน่าย ต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ (EBITDA) จำนวน 93,291 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,321 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.0จากไตรมาส 4 ปี 2566 ที่จำนวน 87,970 ล้านบาท โดยหลักจากกลุ่มธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีกมีผลการดำเนินงาน ดีขึ้นตามกำไรขั้นต้นเฉลี่ยต่อลิตรของน้ำมันเบนซินและปริมาณขายภาพรวมที่ปรับเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นมีผลการดำเนินงานดีขึ้น โดยธุรกิจการกลั่นมีผลการดำเนินงานดีขึ้นจากกำไรสต๊อกน้ำมันสุทธิกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับของ สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น ซึ่ง ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรใน 4Q2567 ประมาณ 1,000 ล้านบาท ขณะที่ใน 4Q2566 มีขาดทุนประมาณ 12,000 ล้านบาท แม้ว่ากำไรขั้นต้นจากการกลั่น (Market GRM) และปริมาณขายปรับลดลง ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีมีผลการดำเนินงานลดลงเล็กน้อยตามส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบที่ปรับตัวลดลง แม้ว่าปริมาณขายปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีผลการดำเนินงานลดลงจากราคาขายเฉลี่ยที่ลดลงและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีผลการดำเนินงานลดลงโดยหลักจากธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ จากต้นทุนขายที่เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากมีการเริ่มใช้นโยบาย Single Pool ในการคำนวณราคาก๊าซฯ ในปีนี้ แม้ว่าปริมาณขายและราคาขายเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับผลการดำเนินงานของบริษัทย่อยในกลุ่มธุรกิจก๊าซฯ ปรับลดลง โดยหลักจาก บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด (PTTLNG) เนื่องจาก มีการลดสัดส่วนการถือหุ้นในโครงการ LNG Receiving Terminal แห่งที่ 2 (LMPT2) เป็นร้อยละ 50.0 เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2567
ขณะที่ธุรกิจระบบท่อส่งก๊าซฯ มีกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นตามปริมาณการจองใช้ท่อส่งก๊าซฯ ที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งธุรกิจก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) และธุรกิจจัดหาและค้าส่งก๊าซฯ มีผลการดำเนินงานดีขึ้นจากต้นทุนค่าเนื้อก๊าซฯ ที่ปรับลดลงตามราคา Pool Gas กำไรสุทธิของ ปตท. และบริษัทย่อยใน ไตรมาส4/67 มีจำนวน 9,311 ล้านบาท ลดลง 23,454 ล้านบาท หรือร้อยละ 71.6 จากกำไรสุทธิ จำนวน 32,765 ล้านบาท ใน 402566 จากขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนและตราสารอนุพันธ์เพิ่มขึ้น แม้ว่า EBITDA เพิ่มขึ้นตามกล่าวข้างต้น ประกอบกับใน 402567 มีการรับรู้รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำ (Non-recurring Items) สุทธิภาษีตามสัดส่วนของ ปตท. เป็นขาดทุนประมาณ 5,100 ล้านบาท โดยหลักจากค่าใช้จ่ายตอบแทนส่วนแบ่งกำไรสำหรับบริหารการลงทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มของ ปตท. โกลบอล แมนเนจเม้นท์ จำกัด (PTTGM) ประมาณ 2,200 ล้านบาท และประมาณการหนี้สินจาก ค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตของกลุ่มบริษัท Vencorex และ บริษัท พีทีที่ อาซาฮี เคมิคอล จำกัด (PTTAC) ของบริษัท พี่ที่ที่โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) ประมาณ 2,200 ล้านบาท ขณะที่ใน 402566 มีการรับรู้รายการ Non-recurring Items สุทธิภาษีตามสัดส่วนของ ปตท. เป็นกำไรประมาณ 100 ล้านบาท โดยหลักจากการขายสัดส่วนการลงทุนในโครงการเอซี/อาร์แอล 7 (Cash-Maple) ของบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปีโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (PTTEP)
ใน 4Q 2567 ปตท. และบริษัทย่อยมี EBITDA จำนวน 93,291 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24,399 ล้านบาท หรือร้อยละ 35.4จากในไตรมาส 3 ปี 2567 ที่จำนวน 68,892 ล้านบาท โดยหลักจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น โดยธุรกิจการกลั่นมีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น จากกำไรสต๊อกน้ำมันสุทธิกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับของสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น ซึ่งใน 4Q2567 ปตท.
และบริษัทย่อยมีกำไรประมาณ 1,000 ล้านบาท ขณะที่ใน 3Q2567 มีผลขาดทุนประมาณ 20,000 ล้านบาท นอกจากนี้ Market GRM เพิ่มขึ้น จากส่วนต่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปส่วนใหญ่กับน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้น แม้ว่าปริมาณขายลดลง ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีปรับตัวลดลงจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบปรับลดลง นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีกปรับเพิ่มขึ้นจากกำไร ขั้นต้นเฉลี่ยต่อลิตรของน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซินปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจใหม่และความยั่งยืนปรับลดลง โดยหลักจากกำไรขั้นต้นของ PTTGM ลดลงจากธุรกิจยา ตามยอดการสั่งซื้อยา Lenalidomide ที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน กำไรสุทธิของ ปตท. และบริษัทย่อยใน 4Q2567 มีจำนวน 9,311 ล้านบาท ลดลง 7,013 ล้านบาท หรือร้อยละ 43.0 จากกำไรสุทธิจำนวน 16,324 ล้านบาทใน 302567 โดยหลักจากขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้น แม้ว่า EBITDA เพิ่มขึ้นตามกล่าวข้างต้น ประกอบกับใน 4Q2567 มีการรับรู้รายการ Non-recurring Items สุทธิภาษีตามสัดส่วนของ ปตท.
เป็นขาดทุนประมาณ 5,100 ล้านบาท โดยหลักจากค่าใช้จ่ายตอบแทนส่วนแบ่งกำไรสำหรับบริหารการลงทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มของ PTTGM ประมาณ 2,200 ล้านบาท และประมาณการหนี้สินจากค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตของกลุ่มบริษัท Vencorex และ PTTAC ของ GC ประมาณ 2,200 ล้านบาท ขณะที่ใน 302567 มีการรับรู้รายการ Non-recurring Items สุทธิภาษีตามสัดส่วนของปตท. เป็นขาดทุนประมาณ 9,500 ล้านบาท โดยหลักจากการด้อยค่าสินทรัพย์ของกลุ่มบริษัท Vencorex และ PTTAC ของ GC
ในปี 2567 ปตท. และบริษัทย่อยมี EBITDA จำนวน 396,234 ล้านบาท ลดลง 30,661 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.2จากปี 2566 ที่จำนวน 426,895 ล้านบาท โดยหลักจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น โดยธุรกิจการกลั่นมีผลการดำเนินงานลดลง จาก Market GRM ที่ลดลง ประกอบกับมีผลขาดทุนสต๊อกน้ำมันสุทธิกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับของสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น ซึ่งในปี 2567 ปตท. และบริษัทย่อยมีผลขาดทุนประมาณ 13,000 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2566 เป็นขาดทุนประมาณ 2,000 ล้านบาทอย่างไรก็ตาม ธุรกิจปีโรเคมีมีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นตามส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบ และปริมาณขายที่ปรับตัวสูงขึ้นกลุ่มธุรกิจก๊าซฯ มีผลการดำเนินงานลดลงจากธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ จากต้นทุนขายที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเริ่มใช้นโยบาย Single Pool แม้ว่าราคาขายเฉลี่ยและปริมาณขายปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ธุรกิจจัดหาและค้าส่งก๊าซฯ รวมถึงธุรกิจ NGV มีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากต้นทุนค่าเนื้อก๊าซฯ ปรับลดลงตามราคา Pool Gas รวมทั้งธุรกิจระบบท่อส่งก๊าซฯ มีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเช่นกันจากปริมาณการจองใช้ท่อส่งก๊าซฯ ที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของลูกค้า กลุ่มธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีกมีผลการดำเนินงานลดลงจากกำไร ขั้นต้นเฉลี่ยต่อลิตรและปริมาณขายเฉลี่ยที่ลดลงโดยหลักจากน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซิน
อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นตามรายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้นตามที่กล่าวข้างต้น แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเนื่องจากค่าใช้จ่ายจากกิจกรรมซ่อมบำรุงเพิ่มขึ้น ในปี 2567 ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 90,072 ล้านบาทลดลง 21,952 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.6 จากปี 2566 ที่จำนวน 112,024 ล้านบาท โดยหลักจาก EBITDA ที่ลดลงตามกล่าว ข้างต้น ประกอบกับค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ลดลง อีกทั้งในปี 2567 มีการรับรู้รายการ Non-recurring Items สุทธิภาษีตามสัดส่วนของ ปตท. เป็นขาดทุนประมาณ 4,500 ล้านบาท โดยหลักจากการด้อยค่าและประมาณการค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตของกลุ่มบริษัท Vencorex และ PTTAC ของ GC ประมาณ 10,500 ล้านบาทขณะที่ในปี 2566 มีการรับรู้รายการ Non-recuring Items สุทธิภาษีตามสัดส่วนของ ปตท. เป็นกำไรประมาณ 300 ล้านบาทโดยหลักจากการขายสัดส่วนการลงทุนในโครงการ Cash-Maple ของ PTTEP