ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#น้ำมัน


สถานการณ์ตลาดน้ำมัน  แนวโน้มสัปดาห์ 24 - 28 มี.ค. 68

สถานการณ์ตลาดน้ำมัน แนวโน้มสัปดาห์ 24 - 28 มี.ค. 68

สถานการณ์ตลาดน้ำมัน สัปดาห์วันที่ 17 - 21 มี.ค. 68 และแนวโน้มสัปดาห์วันที่ 24 - 28 มี.ค. 68  ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากสงครามในตะวันออกกลางคุกรุ่นขณะที่จีนเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ Reuters รายงานกองทัพอากาศอิสราเอลทิ้งระเบิดทางตอนใต้ของฉนวนกาซาอย่างหนัก ในวันที่ 18-20 มี.ค. 68 ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 710 ราย ทั้งนี้หนึ่งในผู้นำกลุ่มฮามาส นาย Salah al-Bardaweel เสียชีวิต โดยยอดผู้เสียชีวิตชาวปาเลสไตน์รวมตั้งแต่เริ่มสงครามในระยะ 18 เดือน สูงกว่า 50,000 ราย วันที่ 17 มี.ค. 68  สถานีโทรทัศน์ Al-Masirah ของ Houthi รายงานสหรัฐฯ ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศ บริเวณเมืองท่า Hodeidah ชายฝั่งทะเลแดงและเขตปกครอง Al-Jawf ทางเหนือของเมืองหลวง Sanaa  ของเยเมนนับเป็นการขยายปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ในตะวันออกกลาง นับตั้งแต่นาย Trump รับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 68 วันที่ 16 มี.ค. 68 จีนประกาศแผนปฏิบัติการพิเศษเพื่อกระตุ้นการบริโภค (Special Action Plan to Boost Consumption) เช่น การเพิ่มรายได้ แก้ไขปัญหาราคาอสังหาริมทรัพย์ การรักษาเสถียรภาพของตลาดหุ้น และการให้เงินอุดหนุนค่าเลี้ยงดูบุตร  โดยสำนักงานกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนและสำนักงานกลางคณะรัฐมนตรีใช้แผนดังกล่าวเพื่อกระตุ้นการบริโภคอย่างจริงจังภายในประเทศ ซึ่งรัฐบาลจะเริ่มดำเนินการโดยเร็วที่สุด ที่มา  บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

สถานการณ์ตลาดน้ำมัน แนวโน้มสัปดาห์ 10 - 14 มี.ค. 68

สถานการณ์ตลาดน้ำมัน แนวโน้มสัปดาห์ 10 - 14 มี.ค. 68

สถานการณ์ตลาดน้ำมันประจำสัปดาห์วันที่ 3 - 7 มี.ค. 68 และแนวโน้มสัปดาห์วันที่ 10 - 14 มี.ค. 68 ราคาน้ำมันดิบลดลงจากผู้ผลิตน้ำมันเดินหน้าเพิ่มปริมาณการผลิตตามแผน ขณะที่ตลาดกังวลเศรษฐกิจโลกอาจได้รับผลกระทบจากนโยบายภาษีที่ไม่แน่นอนของสหรัฐฯ ผู้ผลิตน้ำมัน OPEC+ 8 ประเทศ จะผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเดือนละ 138,000 บาร์เรล ตั้งแต่เดือน เม.ย. 68 – ก.ย. 69 สหรัฐฯ เลื่อนเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากเม็กซิโกและแคนาดาที่อยู่ในรายการข้อตกลงทางการค้า United States Mexico Canada Agreement (USMCA) ในอัตรา 25% จากกำหนดเดิมวันที่ 4 มี.ค. 68 เป็นวันที่ 2 เม.ย. 68 ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์อาจส่งผลต่อราคาน้ำมันดิบ อาทิ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นาย Donald Trump กำลังพิจารณากำหนดมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหญ่ ต่อระบบธนาคาร และบริษัทน้ำมันของรัสเซีย รวมทั้งจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากรัสเซีย เพื่อกดดันให้รัสเซียที่ยังโจมตียูเครนอย่างหนัก หันมาเจรจาหยุดยิงกับยูเครน ที่มา บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

สถานการณ์ตลาดน้ำมันแนวโน้ม 24 - 28 ก.พ. 68

สถานการณ์ตลาดน้ำมันแนวโน้ม 24 - 28 ก.พ. 68

          หุ้นวิชั่น - สถานการณ์ตลาดน้ำมัน สัปดาห์วันที่ 17 - 21 ก.พ. 68 และแนวโน้มสัปดาห์วันที่ 24 - 28 ก.พ. 68 ราคาน้ำมันดิบผันผวนจากแหล่งผลิตใน Kurdistan จะกลับมาดำเนินการอีกครั้ง ขณะที่ประธานาธิบดี Trump ประกาศจะเติมคลังสำรองน้ำมัน Reuters รายงานประธานาธิบดีสหรัฐฯ นาย Donald Trump กดดันอิรักให้อนุญาตสูบถ่ายน้ำมันดิบจากเขตปกครองตนเอง Kurdistan ในอิรักไปยังท่าส่งออกที่ตุรกีผ่านท่อ Kirkuk-Ceyhan (ปริมาณสูบถ่าย 700,000 บาร์เรลต่อวัน) หลังหยุดดำเนินการกว่า 2 ปี จากปัญหาค่าผ่านท่อ มิฉะนั้นอาจถูกคว่ำบาตร ล่าสุดกระทรวงน้ำมันของอิรักบรรลุข้อตกลงกับรัฐบาล Kurdistan ประธานาธิบดี Trump จะประกาศขึ้นภาษีนำเข้า (Tariff) สินค้าของกลุ่มประเทศ BRICS สูงถึง 150% หากกลุ่ม BRICS พยายามลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (De-dollarization) หลังจากที่เคยเตือนเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 68 นักวิจัยจาก Wuhan Institute of Virology ในจีนค้นพบไวรัส HKU5-CoV-2 ในค้างคาว ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับไวรัส SARS-CoV-2 ที่เคยทำให้เกิดการระบาดของ COVID-19 อนึ่ง การระบาดของ COVID-19 ทำให้อุปสงค์น้ำมันทั่วโลกลดลงประมาณ 20 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน เม.ย. 63 ประธานาธิบดี Trump ประกาศจะเติมคลังสำรองปิโตรเลียมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve หรือ SPR) ของสหรัฐฯ ให้เต็มโดยเร็วที่สุด เนื่องจากปัจจุบันอยู่ในระดับที่ต่ำเกินไป ทั้งนี้ EIA รายงานปริมาณ SPR สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 ก.พ. 68 อยู่ที่ 395 ล้านบาร์เรล หรือคิดเป็นสัดส่วน 55% ของความจุ

สถานการณ์ตลาดน้ำมัน แนวโน้ม 10-14 ก.พ. 68

สถานการณ์ตลาดน้ำมัน แนวโน้ม 10-14 ก.พ. 68

สถานการณ์ตลาดน้ำมันรายสัปดาห์: วันที่ 3-7 ก.พ. 68 และแนวโน้มวันที่ 10-14 ก.พ. 68 ตลาดกังวลผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับ จีน วันที่ 9 ก.พ. 68 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นาย Donald Trump กล่าวรัฐบาลสหรัฐฯ จะตั้งกำแพงภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมจากทุกประเทศอยู่ที่ 25% มีผลภายในวันที่ 12 ก.พ. 68 โดยก่อนหน้านี้ วันที่ 7 ก.พ. 68 Bloomberg รายงานนาย Trump ประกาศถึงแผนภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ โดยจะกำหนดอัตราภาษีจากคู่ค้าเท่ากับอัตราภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ วันที่ 3 ก.พ. 68 OPEC+ คงมติการเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ (ที่เคยอาสาลดการผลิตโดยสมัครใจโดย 8 ประเทศสมาชิก ปริมาณ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน) ในเดือน เม.ย. 68 – ก.ย. 69 โดยจะทยอยเพิ่มขึ้น เดือนละ 138,000 บาร์เรลต่อวัน กระทรวงแรงงานของสหรัฐฯ รายงานยอดจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) ในเดือน ม.ค. 68 เพิ่มขึ้น 143,000 ราย จากเดือนก่อนหน้า ต่ำกว่าคาดการณ์ (Reuters Poll คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 170,000 ราย จากเดือนก่อนหน้า) อย่างไรก็ตามอัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) ลดลง 1% จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 4.0% ส่งผลให้ตลาดคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Reserve: Fed) อาจไม่จำเป็นต้องเร่งลดอัตราดอกเบี้ย (ในปัจจุบันที่ 4.25-4.50%) ที่มา บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

แนวโน้มสถานการณ์ตลาดน้ำมัน 3 - 7 ก.พ. 68

แนวโน้มสถานการณ์ตลาดน้ำมัน 3 - 7 ก.พ. 68

ราคาน้ำมันดิบลดลงหลังประธานาธิบดี Trump เปิดฉากสงครามการค้า วันที่ 1 ก.พ. 68 ประธานาธิบดี Trump ประกาศเก็บภาษีนำเข้าสินค้าทุกชนิดจากเม็กซิโกและแคนาดา 25% ยกเว้นสินค้าประเภทพลังงานจากแคนาดาเก็บภาษี 10% มีผลวันที่ 4 ก.พ. 68 ในปี 2567 สหรัฐฯ นำเข้าน้ำมันดิบจากแคนาดาอยู่ที่ 3.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน และเม็กซิโกอยู่ที่ 457,000 บาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีแคนาดา นาย Justin Trudeau ตอบโต้ประกาศเก็บภาษีสินค้าจากสหรัฐฯ อาทิ มูลค่ารวม 1.06 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ อาทิ ไวน์ เสื้อผ้า อุปกรณ์กีฬา มาอยู่ที่ 25% เช่นเดียวกัน วันที่ 29-30 ม.ค. 68 ที่ประชุมนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 25-4.50% โดยประธาน Fed นาย Jerome Powell กล่าวว่าจะไม่รีบปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง จนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงตามเป้าหมายที่ 2% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าและภาวะการจ้างงานแข็งแกร่ง Reuters รายงานประธานาธิบดีสหรัฐฯ นาย Donald Trump ประกาศยืนยันเดินหน้าเติมคลังสำรองปิโตรเลียมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve: SPR) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 394 ล้านบาร์เรล ให้เต็มความจุที่ 714 ล้านบาร์เรล ที่มา บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

OPEC+ คงนโยบายผลิตน้ำมันดิบ หนุนราคาน้ำมันขาลง

OPEC+ คงนโยบายผลิตน้ำมันดิบ หนุนราคาน้ำมันขาลง

         หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ระบุว่า OPEC+ Meeting คณะกรรมการร่วมการตรวจสอบระดับรัฐมนตรี (JMMC) ของกลุ่ม OPEC+ มีมติคงนโยบายการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มตามเดิม คือ สมาชิก OPEC ลดระดับการผลิตที่ 2 ล้านบาร์เรล/วัน และ OPEC+ 8 ชาติสมาชิก ลดการผลิตโดยสมัครใจ 1.65 ล้านบาร์เรลต่อวันไปจนถึงปี 2026 และลดการผลิตโดยสมัครใจอีก 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวันจนถึงเดือนเมษายนปีนี้ ข่าวนี้อาจเป็นบวกต่อราคาน้ำมันดิบ เนื่องจากอุปทานน้ำมันในตลาดจะตึงตัว แต่มติดังกล่าวสวนทางกับข้อเรียกร้องของ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ต้องการให้ OPEC+ เพิ่มการผลิตเพื่อกดราคาพลังงาน ดังนั้นจึงมีโอกาสสูงที่ ทรัมป์จะให้ข่าวและข่มขู่ OPEC+ มากขึ้นในอนาคต ซึ่งอาจสร้างความผันผวนให้กับราคาน้ำมันดิบในระยะถัดไป          ราคาน้ำมันดิบในแนวโน้มขาลง น้ำมันดิบ Brent +0.38%d-d ปิดที่ USD 75.96/barrel          น้ำมันดิบ West Texas +0.87%d-d ปิดที่ USD 73.16/barrel

แนวโน้มสถานการณ์ตลาดน้ำมัน 27 - 31 ม.ค. 68

แนวโน้มสถานการณ์ตลาดน้ำมัน 27 - 31 ม.ค. 68

สถานการณ์ตลาดน้ำมันประจำสัปดาห์วันที่ 20 - 24 ม.ค. 68 และแนวโน้มสัปดาห์วันที่ 27 - 31 ม.ค. 68 ตลาดน้ำมันกังวลปริมาณการผลิตอาจล้นตลาด หลังประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศสนับสนุนการผลิตน้ำมันดิบในประเทศ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นาย Donald Trump ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงานระดับชาติในวันแรกที่เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 68 และลงนามในคำสั่งบริหารของประธานาธิบดี (Executive Order) ที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงาน กระตุ้นการขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ ทั้งนี้ ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ สัปดาห์ล่าสุดวันที่ 10 ม.ค. 68 อยู่ที่ 48 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดเป็นประวัติการณ์ นาย Trump ใช้คำสั่งบริหารของประธานาธิบดี (Executive Order) แก้ไขคำสั่งของนาย Joe Biden ประธานาธิบดีคนเก่า ในการเปิดพื้นที่ National Petroleum Reserve-Alaska ในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าอาร์กติก (Arctic National Wildlife Refuge) ในรัฐ Alaska เพื่อขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้ สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งสหรัฐฯ คาด National Petroleum Reserve-Alaska มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบอยู่ที่ 895 ล้านบาร์เรล Platts รายงานรัสเซียส่งออกน้ำมันดิบทางทะเลในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ม.ค. 68 เพิ่มขึ้น 730,000 บาร์เรลต่อวัน จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ 8 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์ โดยปริมาณส่งออก 1.35 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไม่ระบุปลายทางผู้รับ ซึ่ง Platts คาดว่าส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสู่จีนและอินเดีย แม้สหรัฐฯ เพิ่งคว่ำบาตรเรือบรรทุกน้ำมันรัสเซียคิดเป็นประมาณ 22% ของปริมาณการส่งออกน้ำมันทางทะเลของรัสเซียในปี 2567 Joint Organizations Data Initiative (JODI) รายงานซาอุดีอาระเบียส่งออกน้ำมันดิบในเดือน พ.ย. 67 เพิ่มขึ้น 4.7% จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 6.21 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากโรงกลั่นในประเทศนำน้ำมันดิบเข้ากลั่นลดลง 383,000 บาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 2.35 ล้านบาร์เรลต่อวัน ที่มา บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

USคว่ำบาตรพลังงานรัสเซีย น้ำมันดีด-โฟกัสPTTEP

USคว่ำบาตรพลังงานรัสเซีย น้ำมันดีด-โฟกัสPTTEP

             หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล. ดาโอระบุว่า US คว่ำบาตรรัสเซียครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามรัสเซีย-ยูเครนเริ่มขึ้น รัฐบาลสหรัฐอเมริกา (US) ประกาศคว่ำบาตร (sanction) รัสเซียเพิ่มเติมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยการ sanction ครั้งนี้เป็นครั้งที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งครอบคลุมถึง ผู้ผลิตน้ำมัน เรือบรรทุกน้ำมัน บริษัทคนกลาง ผู้ค้าน้ำมันและท่าเรือของรัสเซีย โดยมีเป้าหมายที่จะที่จะโจมตีทุกขั้นตอนของห่วงโซ่การผลิตและการกระจายน้ำมันของรัสเซีย โดย US จะ sanction ไม่เพียงแต่ Gazprom Neft และ Surgutneftegaz สองบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ แต่รวมถึง Ingosstrakh และ Alfastrakhovanie บริษัทผู้ให้บริการประกันภัยเรือซึ่งครอบคลุมเรือส่วนใหญ่ที่ส่งน้ำมันรัสเซียไปยังอินเดีย นอกจากนี้ US ยังจะ sanction เรือบรรทุกน้ำมัน 183 ลำ (ซึ่งหลายลำอยู่ในกองเรือเงา (shadow fleet) ของเรือบรรทุกน้ำมันเก่าที่ดำเนินการโดยบริษัทที่ไม่ใช่ของตะวันตก) การยกเลิก sanction ใหม่จะยุ่งยาก มีรายงานว่าการยกเลิก sanction รอบใหม่นี้จะขึ้นอยู่กับว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์ (ซึ่งกำลังจะเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 ม.ค.2025) ว่าจะยกเลิกการ sanction ที่บังคับใช้ในยุคไบเดนเมื่อใดและด้วยเงื่อนไขใด แต่การจะทำเช่นนั้นได้ทรัมป์จะต้องแจ้งให้สภาคองเกรสทราบ และกำหนดให้รัฐสภาสามารถลงมติไม่เห็นด้วยได้ ทั้งนี้ สมาชิกสภาคองเกรสของพรรครีพับลิกันหลายคนเรียกร้องให้ไบเดนบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรในวันศุกร์ที่ผ่านมา (ที่มา: Reuters, Bloomberg)            มีมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้มราคาน้ำมันดิบ โดยเรามองว่าการ sanction รัสเซียรอบนี้นับเป็นครั้งที่ใหญ่ที่สุดซึ่งอาจจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกน้ำมันของรัสเซีย โดยมีการประเมินว่า Gazprom Neft และ Surgutneftegaz มีการส่งออกน้ำมันรวมกันประมาณ 0.8-1.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน (mbd) ในปี 2024 และอาจจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังภาพรวมตลาดน้ำมันโลกที่ก่อนหน้านี้มีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะอุปทานล้นตลาด (oversupply) ในปี 2025E จากภาพรวมอุปสงค์การใช้น้ำมันที่ฟื้นตัวช้ากว่าอุปทานใหม่ที่เข้ามา (โดยเฉพาะจากกลุ่ม non-OPEC+) ทั้งนี้ วันศุกร์ที่ผ่านมาราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ปรับตัวสูงขึ้น 3.7% เป็น USD79.8/bbl สูงที่สุดในรอบ 3 เดือน           ยังคงน้ำหนักการลงทุน “เท่ากับตลาด” สำหรับกลุ่มพลังงาน และคาดส่งผลบวกต่อหุ้นน้ำมันต้นน้ำและหุ้นโรงกลั่นที่ ชอบหุ้น SPRC (ซื้อ/เป้า 8.50 บาท), PTTEP (ซื้อ/เป้า 160.00 บาท) และ BCP (ซื้อ/เป้า 40.00 บาท) เชื่อว่า PTTEP จะรายงานกำไรที่ฟื้นตัว QoQ ใน 4Q24E ตามแนวโน้มปริมาณขายเฉลี่ยที่แตะระดับสถิติใหม่ ในขณะที่ เราคาดว่าผลประกอบการของกลุ่มโรงกลั่นน่าจะผ่านจุดต่ำสุดของปีไปแล้วใน 3Q24 และจะกลับมารายงานกำไรสุทธิได้ใน 4Q24E หนุนโดย 1) การฟื้นตัวของส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปและราคาน้ำมันดิบ (crack spread) และ 2) ผลขาดทุนสต๊อกน้ำมัน (stock loss) ที่เป็นไปได้ที่ลดลงตามแนวโน้มราคาน้ำมันดิบที่มีความผันผวนน้อยลง QoQ ใน 4Q24E

กลุ่ม ปตท. และ โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ส.อ.ท.     พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทย ด้วยพลังงานสะอาด

กลุ่ม ปตท. และ โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ส.อ.ท. พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทย ด้วยพลังงานสะอาด

          หุ้นวิชั่น –  วันนี้ (21 พฤศจิกายน 2567) ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า งานสัมมนา The Annual Petroleum Outlook Forum จัดขึ้นโดยความร่วมมือของกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกลุ่ม ปตท. ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 13 เพื่อนำเสนอบทวิเคราะห์และแนวโน้มทิศทางราคาน้ำมัน สถานการณ์พลังงาน และความท้าทายที่กระทบต่ออุตสาหกรรมพลังงานทั่วโลก โดยทีมนักวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมัน หรือ “PRISM Experts” นับเป็นความร่วมมือที่ช่วยให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล แลกเปลี่ยนมุมมองความคิด จากผู้เชี่ยวชาญในสาขาพลังงานทั้งจากภาครัฐ และเอกชน โดยสถานการณ์พลังงานของโลกในปัจจุบัน ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ตลอดจนกฎระเบียบ นโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐ ส่งผลให้ทั่วโลกและประเทศไทยต้องหันมาให้ความสำคัญ และตระหนักในเรื่องของพลังงานสะอาดอย่างจริงจัง รวมทั้งกลุ่มธุรกิจพลังงานและธุรกิจอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องต่างต้องมีการปรับตัว และร่วมกันขับเคลื่อนพลังงานของประเทศไทยภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วนให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น งานในปีนี้จึงจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Regenerative Thailand with Cleanergy: คิดนำ ล้ำหน้า ขับเคลื่อนอนาคตไทย ด้วยพลังงานสะอาด” สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกลุ่ม ปตท. ที่มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ควบคู่กับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ให้ประเทศไทยแข็งแรงและเติบโตในระดับโลกได้อย่างยั่งยืน           นางรุ่งนภา จันทร์ชูเกียรติ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม กล่าวว่า กลุ่มโรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยได้มีการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน มีการเตรียมพร้อมในการจัดหาน้ำมันดิบ รองรับสถานการณ์ความผันผวน และความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ เพื่อให้มีปริมาณการผลิตเพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ นอกจากนี้ กลุ่มโรงกลั่นได้เร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคพลังงานสะอาด โดยพัฒนาเชื้อเพลิงทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลมาตรฐานยูโร 5 ที่มีค่ากำมะถันต่ำ น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานที่ยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel : SAF) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย            ภายในงาน ทีมนักวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมัน กลุ่ม ปตท. (PRISM Experts) ได้กล่าวถึงความต้องการใช้น้ำมันในปี 2568 ว่ายังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ คือ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกา และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน แต่ยังมีความเสี่ยงในเรื่องของสงครามการค้าจากนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาท่านใหม่ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกได้ ในส่วนของอุปทานน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน เนื่องจากการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่ม Non-OPEC+ ที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล และกายอานา และกลุ่ม OPEC+ มีแผนจะทยอยเพิ่มกำลังการผลิต ขณะเดียวกันท่ามกลางความไม่แน่นอนของความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ ความต้องการใช้น้ำมันของสหรัฐอเมริกาหลังการเลือกตั้ง รวมไปถึงมาตรการการคว่ำบาตรของสหรัฐอเมริกาต่ออิหร่านที่เข้มข้นขึ้น ทำให้คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบใน ปี 2568 ยังคงมีความผันผวนและเคลื่อนไหวในกรอบ 70 - 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล           นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บรรยายพิเศษในหัวข้อ “สถานการณ์โลกเรื่องพลังงาน หลังเลือกตั้ง USA” และเวทีเสวนา “Future Energy in Thailand” โดยมี นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายนินนาท           ไชยธีรภิญโญ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และนายกสมาคมไฮโดรเจนประเทศไทย ดร.กิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) นายนภสิทธิ์ ชัยวรรณคุปต์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานเทคโนโลยี คาร์บอนโซลูชั่นและการเติบโตอย่างยั่งยืน บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และ รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ผู้นำในแวดวงอุตสาหกรรมพลังงานทุกรูปแบบ ที่ผนึกกำลังร่วมกันแบ่งปันองค์ความรู้และมุมมองในการขับเคลื่อนนโยบายด้านพลังงานสะอาดของประเทศไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน

สถานการณ์ตลาดน้ำมัน สัปดาห์ 28 ต.ค. - 1 พ.ย. 67  แนวโน้มสัปดาห์ 4 - 8 พ.ย. 67

สถานการณ์ตลาดน้ำมัน สัปดาห์ 28 ต.ค. - 1 พ.ย. 67 แนวโน้มสัปดาห์ 4 - 8 พ.ย. 67

          สถานการณ์ตลาดน้ำมันประจำสัปดาห์วันที่ 28 ต.ค. – 1 พ.ย. 67 และแนวโน้มสัปดาห์วันที่ 4 - 8 พ.ย. 67 OPEC+ เลื่อนแผนเพิ่มการผลิตหนุนราคาน้ำมัน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจในสหรัฐฯ และจีนอ่อนแอ กดดันอุปสงค์น้ำมันดิบ วันที่ 3 พ.ย. 67 กลุ่ม OPEC+ มีมติเลื่อนแผนปรับเพิ่มการผลิตน้ำมันดิบปริมาณ 180,000 บาร์เรลต่อวัน จากกำหนดเดิมในเดือน ธ.ค. 67 ออกไปอีก 1 เดือน เนื่องจากอุปสงค์น้ำมันโลกมีแนวโน้มชะลอตัว สำนักข่าว Press TV ของอิหร่านรายงานผู้นำสูงสุดของอิหร่าน Ayatollah Ali Khamenei กล่าวสุนทรพจน์แก่นักศึกษาเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 67 ที่กรุงเตหะรานให้คำมั่นจะตอบโต้อิสราเอลและสหรัฐฯ อย่างรุนแรงหลังถูกโจมตีฐานที่มั่นทางทหารในอิหร่านเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 67 โดยจะดำเนินการในเวลาที่เหมาะสม S&P Global/Caixin รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตของจีน (Manufacturing Purchasing Managers ’ Index: PMI) ในเดือน ต.ค. 67 เพิ่มขึ้น 1.0 จุด MoM อยู่ที่ 50.3 จุด ทั้งนี้ ดัชนีสูงกว่า 50 จุด บ่งชี้ภาวะขยายตัว โดยขยายตัวครั้งแรกในรอบ 6 เดือน กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานยอดจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) ในเดือน ก.ย. 67 เพิ่มขึ้น 12,000 ราย จากเดือนก่อนหน้า (Reuters Poll คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 113,000 ราย จากเดือนก่อนหน้า) ต่ำสุดตั้งแต่ ธ.ค. 2563 จากผลกระทบของเฮอริเคน (เฮอริเคน Helene และ Milton) และการประท้วงของพนักงานบริษัท Boeing ในสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน ขณะที่อัตราว่างงาน (Unemployment Rate) คงที่จากเดือนก่อนอยู่ที่ 1% EIA รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในเดือน ส.ค. 67 เพิ่มขึ้น 5% จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 13.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน และคาดว่าในปี 2567 อยู่ที่ 13.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน และในปี 2568 อยู่ที่ 13.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456