#MPJ


MPJ มั่นใจผลประกอบการโตตามเป้า ปริมาณโลจิสติกส์สูงต่อเนื่อง

MPJ มั่นใจผลประกอบการโตตามเป้า ปริมาณโลจิสติกส์สูงต่อเนื่อง

          หุ้นวิชั่น - ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยที่ผันผวน รอวันฟื้นตัว ผู้บริหาร MPJ ยืนยันยังมั่นใจว่าผลประกอบการปี 67 จะออกมาได้ดีตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ หลังตุนกำไรช่วง 9 เดือนแรกสูงถึง 69.15 ล้านบาท และแนวโน้มไตรมาส 4 ที่คาดว่าออกมาดีตามคาด                      นายจีระศักดิ์ มานะตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ MPJ เปิดเผยว่า “ในช่วงหลังนี้ สภาวะหุ้นไทยค่อนข้างผันผวน และ อยู่ในสภาวะถดถอย มีผลให้กระทบต่อราคาหุ้นหลายร้อยบริษัทฯ ในส่วนของ MPJ ผมมั่นใจว่าผลประกอบการน่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคง เนื่องจากมีปริมาณงานโลจิสติกส์ในไตรมาส 4 ที่น่าพอใจ ทั้งในธุรกิจลานตู้คอนเทนเนอร์ที่เป็นธุรกิจหลัก และธุรกิจ Freight Forwarding ซึ่งเป็นช่วง High Season ในขณะที่รายได้จากธุรกิจคลังสินค้า สามารถรับรู้รายได้ได้เต็มไตรมาส ในขณะที่ช่วง 9 เดือนปี 2567 MPJ มีรายได้รวม 745 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12 % จาก 665 ล้านบาท ในงวดเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 69.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.70% จาก 58.25 ล้านบาทในช่วง 9 เดือนแรกปีก่อน โดยบริษัทฯคาดว่าจะประกาศผลประกอบการของปี 2567 ในช่วงปลายเดือนหน้า และน่าจะมีการนำเรื่องการจ่ายปันผลตามนโยบายบริษัทฯคือไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิ หลังหักเงินสำรองตามกฎหมายให้คณะกรรมการพิจารณาอีกด้วย”           “ล่าสุด MPJ ได้เตรียมลงทุนขยายพื้นที่ให้บริการลานตู้คอนเทนเนอร์ที่ แหลมฉบังเพิ่มอีก 19-1-48 ไร่ (30,992 ตร.ม.) เพื่อรองรับปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ที่มีความหนาแน่น จากการใช้พื้นที่เดิมเต็มพื้นที่การ ให้บริการ และรองรับการเพิ่มจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ ที่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยบริษัทจะใช้ งบประมาณการลงทุนประมาณ 164 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 6 เดือน โดยจะเริ่มเปิดดำเนินงานส่วนต่อขยายได้ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ คาดว่าจะเพิ่มรายได้ธุรกิจให้บริการลานตู้คอนเทนเนอร์ ในอัตราร้อยละ 52 เมื่อใช้ประโยชน์เต็มพื้นที่ ขณะเดียวกัน MPJ ยังมีแผนที่จะเปิดลานตู้ฯ เพิ่มในเขตกรุงเทพฯ เพื่อขยายธุรกิจลานตู้ให้ครบวงจร โดยขณะนี้อยู่ระหว่างจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสม สำหรับการลงทุนของบริษัท”     นายจีระศักดิ์กล่าวสรุป  MPJ มีทุนจดทะเบียนชำระเต็ม 100 ล้านบาท ให้บริการโลจิสติกส์ ครบวงจร แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ 1) ธุรกิจให้บริการขนส่งทางบกต่อเนื่องกับทางเรือ ด้วยรถบรรทุกหัวลาก 237 คันและหางพ่วง 268 คัน ซึ่งเป็น ฟลีทใหญ่แห่งหนึ่งในเขตโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เน้นเส้นทางระหว่างท่าเรือแหลมฉบัง และ ICD ลาดกระบัง (สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง) 2) ธุรกิจบริหารจัดการลานตู้คอนเทนเนอร์และซ่อมแซมตู้คอนเทนเนอร์ของผู้ให้บริการสายเรือ มีลานตู้คอน เทนเนอร์ 2 แห่งตั้งอยู่ใกล้กับท่าเรือแหลมฉบัง ภายใต้บริษัท เอ็ม พี เจ ดีสทริบิวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด (MPJDC) และบริษัท โอเอ็ม ดีโพ จำกัด (OM) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับ OOCL Logistics (Hong Kong) Limited ผู้ให้บริการสายเรือ OOCL และ COSCO เพื่อการบริหารการจัดเก็บและดูแลตู้คอนเทนเนอร์ของกลุ่ม OOCL เป็นหลัก 3) ธุรกิจบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Freight Forwarder) จัดหาระวางเรือและเครื่องบิน 4) ธุรกิจคลังสินค้า บริการให้เช่าคลังสินค้า ขนาด 4,900 ตารางเมตร ในพื้นที่แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี และ ขนาด 12,463 ตารางเมตร ในพื้นที่ จังหวัดระยอง โดยได้ทำการส่งมอบเมื่อไตรมาส 2 ปี 2567 [PR News]

MPJ แย้มข่าวดี! รุกขยายลานตู้ คาดเพิ่มรายได้ 52%

MPJ แย้มข่าวดี! รุกขยายลานตู้ คาดเพิ่มรายได้ 52%

            หุ้นวิชั่น - นายจีระศักดิ์ มานะตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ MPJ เปิดเผยว่า แนวโน้มปริมาณการส่งออกและนำเข้าของไทยยังเติบโตต่อเนื่อง โดยใน ไตรมาส 4 ที่ผ่านมา มีปริมาณการขนส่งสินค้าที่สูงตามเป้าหมายของบริษัทฯ ทั้งในส่วนธุรกิจ Freight Forwarding และ ธุรกิจลานตู้คอนเทนเนอร์ที่เป็นธุรกิจหลัก และ คาดว่าปริมาณการค้าระหว่างประเทศ จะเติบโตต่อเนื่อง ตามที่นักเศรษฐศาสตร์ของภาครัฐและเอกชนได้คาดการณ์ไว้             บริษัท เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ MPJ เตรียมขยายธุรกิจขยายลานตู้ คอนเทนเนอร์ผ่านบริษัทลูก คือ MPJDC ที่จะขยายพื้นที่ลานตู้คอนเทนแนอร์ที่ย่านแหลมฉบัง บนพื้นที่ 19-1-48 ไร่ (30,992 ตร.ม.) เป็นพื้นที่ส่วนขยาย เพื่อรองรับปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ที่มีความหนาแน่น จากการใช้พื้นที่ เดิมเต็มพื้นที่การให้บริการ และรองรับการเพิ่มจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ ที่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในอนาคต โดย บริษัทจะใช้งบประมาณการลงทุนประมาณ 164 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 6 เดือน โดยจะเริ่ม เปิดดำเนินงานส่วนต่อขยายได้ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ คาดว่าจะเพิ่มรายได้ธุรกิจให้บริการลานตู้ คอนเทนเนอร์ ในอัตราร้อยละ 52 เมื่อใช้ประโยชน์เต็มพื้นที่ ขณะเดียวกัน MPJ ยังมีแผนที่จะเปิดลานตู้ฯ เพิ่มในเขตกรุงเทพฯ เพื่อขยายธุรกิจลานตู้ให้ครบวงจร โดยขณะนี้อยู่ระหว่างจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสม สำหรับการลงทุนของบริษัท สำหรับ งวด 9 เดือนปี 2567 MPJ มีรายได้รวม 745 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12 % จาก 665 ล้านบาท ในงวดเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 69.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.70% จาก 58.25 ล้านบาท [PR-News]

[Vision Exclusive] MPJ คลังสินค้าโตกระฉูด760% ลานตู้คอนเทรนเนอร์คึกคัก

[Vision Exclusive] MPJ คลังสินค้าโตกระฉูด760% ลานตู้คอนเทรนเนอร์คึกคัก

            หุ้นวิชั่น -  นายจีระศักดิ์ มานะตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ MPJ เปิดเผยกับทีมข่าวหุ้นวิชั่น ผลประกอบการ 9 เดือนแรกปี 2567 ออกมาค่อนข้างน่าพอใจ โดยมีรายได้รวม 745 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12 % จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน และ มีกำไรสุทธิ 69.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.70% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน เนื่องจากธุรกิจโลจิสติกส์ของบริษัทมีการเติบโตที่ดีตามเป้าหมาย             หากดูจากงบไตรมาส 3/2567 พบว่า MPJ มีรายได้รวม 288 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  22% และมีกำไรสุทธิ 30.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% ไตรมาส 3/2567 บริษัทมีสัดส่วนรายได้ 43% มาจากธุรกิจขนส่งทางบกตู้คอนเทนเนอร์,  28% มาจากธุรกิจลานตู้คอนเทนเนอร์, 26% มาจากธุรกิจเฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์  และ 3% มาจากธุรกิจคลังสินค้าให้เช่า             ทั้งนี้ 2 ธุรกิจหลักยังมีรายได้ที่มั่นคง แม้ธุรกิจขนส่งทางบกตู้คอนเทนเนอร์จะลดลง 7% โดยธุรกิจลานตู้คอนเทนเนอร์เติบโต 7% ขณะเดียวกัน ด้านรายได้จากธุรกิจเฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์เติบโตสูงถึง 172% เนื่องจากบริษัทได้ขยายแผนกการ ตลาด พร้อมทั้งขยายเส้นทางการให้บริการ อีกทั้งยังได้ประโยชน์จากปัจจัยฤดูกาล             นอกจากนี้ ธุรกิจคลังสินค้าให้เช่าเติบโตสูงถึง 760% จากฐานเดิมที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากการเริ่มรับรู้รายได้ค่าเช่าคลังสินค้าขนาดใหญ่ที่จังหวัดระยองเป็นไตรมาสแรก             แผนการดำเนินธุรกิจในช่วงที่เหลือของปี 2567 จะดำเนินตามแผนที่ได้วางไว้ก่อนหน้านี้ หลังจากได้รับเงินจากการขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน (IPO) โดยจะเน้นการเพิ่มและจัดหาซื้อรถหัวลาก หางพ่วงทดแทน การปรับปรุงลานตู้ และขยายธุรกิจคลังสินค้าให้เช่า             ธุรกิจคลังสินค้าให้เช่าของ MPJ มีอัตราการเติบโตที่สูง และปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับลูกค้าเพื่อขยายพื้นที่คลังสินค้าเพิ่มเติม โดยบริษัทมีคลังสินค้าปัจจุบันจำนวน 2 แห่ง และใช้พื้นที่เต็ม 100% ดังนั้น บริษัทจึงอยู่ระหว่างพิจารณาขยายคลังสินค้าอีกประมาณ 18,000 ตารางเมตร เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต             ธุรกิจลานตู้คอนเทรนเนอร์ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาขยายพื้นที่ เนื่องจากธุรกิจดังกล่าวมีสัดส่วนการทำรายได้ให้กับบริษัทถึง 30% และมีอัตราการทำกำไร (มาร์จิ้น) ที่สูง หากบริษัทเริ่มพัฒนาโครงการทั้งคลังสินค้าและลานตู้คอนเทรนเนอร์ คาดว่าจะช่วยหนุนการเติบโตของ MPJ ในปี 2568 เบื้องต้นคาดว่า ธุรกิจลานตู้คอนเทรนเนอร์จะช่วยสนับสนุนการเติบโตได้ประมาณ 10-15% ส่วนธุรกิจคลังสินค้าที่มีฐานการเติบโตเริ่มต้นยังค่อนข้างต่ำ เชื่อว่าจะสามารถเติบโตเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต             ดีมานด์หรือความต้องการใช้ลานตู้คอนเทรนเนอร์ในปัจจุบันค่อนข้างคึกคัก โดยกลุ่ม MPJ มีประสบการณ์ในการให้บริการมายาวนานกว่า 10 ปี ซึ่งทำให้สามารถรองรับการขยายตัวของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ             นายจีระศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แผนการดำเนินงานของบริษัทในปี 2568 จะเป็นไปตามเป้าหมาย โดยจะมีการขยายลานตู้คอนเทรนเนอร์และเพิ่มพื้นที่บริการคลังสินค้าหากทุกอย่างเป็นไปตามแผน คาดว่าจะสนับสนุนให้ MPJ เติบโตได้ประมาณ 20% แม้ว่าอาจจะเห็นตัวเลขการเติบโตไม่มากนักในปี 2568 เนื่องจากการพัฒนาลานตู้คอนเทรนเนอร์และคลังสินค้ายังต้องใช้เวลาในการก่อสร้าง             อย่างไรก็ตาม บริษัทเชื่อว่าจะสามารถให้บริการและรับรู้รายได้เต็มที่ในปี 2569 ซึ่งคาดว่าจะช่วยผลักดันการเติบโตได้ถึง 40% จากทั้งสองโปรเจกต์ที่กำลังก่อสร้าง รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

“MPJ” ของจริง ฟันกำไร 9 เดือน 69 ล. ธุรกิจคลังสินค้าพุ่ง 760%

“MPJ” ของจริง ฟันกำไร 9 เดือน 69 ล. ธุรกิจคลังสินค้าพุ่ง 760%

          บริษัท เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ MPJ เผยรายได้และกำไรงวด 9 เดือนและไตรมาส 3 เติบโตแข็งแกร่งยกแผง โดยธุรกิจขายระวางเรือเป็นพระเอก รายได้เพิ่มถึง 172% จากการขยายฐานลูกค้า ส่วนกำไรสุทธิเติบโตตามแผน 19% ยืนยันผู้ถือหุ้นเดิมกอดหุ้นแน่นทั้ง 100% มั่นใจพื้นฐานแกร่ง เติบโตต่อเนื่อง           นายจีระศักดิ์ มานะตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ MPJ ผู้นำโลจิสติกส์แบบครบวงจรและเป็นผู้นำด้านบริหารลานตู้คอนเทนเนอร์ กล่าวว่า “ ในงวด 9 เดือนปีนี้ MPJ มีรายได้รวม 745  ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12 % จากรายได้รวม 665 ล้านบาทในงวด 9 เดือนปีก่อน และ มีกำไรสุทธิ 69.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.70% จากกำไรสุทธิ 58.25 ล้านบาท ในงวด 9 เดือนปีก่อน เนื่องจากธุรกิจโลจิสติกส์ของบริษัทฯ มีการเติบโตที่ดีตามเป้าหมาย           ในไตรมาส 3 ปีนี้ MPJ มีรายได้รวม 288 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  22% จากรายได้รวม 237  ล้านบาทในไตรมาส 3 ปีก่อน และเพิ่มขึ้น 23 % จากรายได้รวม 234  ล้านบาทในไตรมาส 2 ปีนี้  และมีกำไรสุทธิ 30.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% จากไตรมาส 3 ปีก่อน และ เพิ่มขึ้น 22% จากไตรมาส 2 ปีนี้  โดยใน            ไตรมาส 3 นี้ บริษัทฯ มีสัดส่วนรายได้ 43% มาจากธุรกิจขนส่งทางบกตู้คอนเทนเนอร์,  28% มาจากธุรกิจลานตู้คอนเทนเนอร์, 26% มาจากธุรกิจเฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์  และ 3% มาจากธุรกิจคลังสินค้าให้เช่า ทั้งนี้ 2 ธุรกิจหลักยังมีรายได้ที่มั่นคง แม้ธุรกิจขนส่งทางบกตู้คอนเทนเนอร์จะลดลง 7% โดยธุรกิจลานตู้คอนเทนเนอร์เติบโต 7% ขณะเดียวกัน ด้านรายได้จากธุรกิจเฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์เติบโตสูงถึง 172% เนื่องจากบริษัทได้ขยายแผนกการ ตลาด พร้อมทั้งขยายเส้นทางการให้บริการ อีกทั้งยังได้ประโยชน์จากปัจจัยฤดูกาล นอกจากนี้ ธุรกิจคลังสินค้าให้เช่าเติบโตสูงถึง 760% จากฐานเดิมที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากการเริ่มรับรู้รายได้ค่าเช่าคลังสินค้าขนาดใหญ่ที่จังหวัดระยองเป็นไตรมาสแรก           “บริษัทฯ ยืนยันว่ากลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่และกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมที่มีหุ้นที่ไม่ติดไซเลนท์  ยังถือหุ้น MPJ เต็มจำนวนเท่ากับช่วงก่อนหุ้นเข้าซื้อขาย โดยไม่มีการขายหุ้นออกไปแต่อย่างใด เนื่องจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมมีความมั่นใจในพื้นฐานธุรกิจที่แข็งแกร่ง และ ศักยภาพในการขยายฐานรายได้และกำไรสุทธิของบริษัท โดยบริษัทฯมีแผนจะขยายธุรกิจด้วยการเปิดลานตู้คอนเทนเนอร์แห่งที่ 3 ที่กรุงเทพมหานครในปีหน้า และ ลงทุนสร้างคลัง สินค้าให้เช่าแห่งใหม่ที่ย่านศรีราชาและจังหวัดระยอง เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน           และเมื่อต้นตุลาคมที่ผ่านมา บริษัท เอ็ม พี เจ ดีสทริบิวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ MPJDC บริษัทในเครือ ของ MPJ ได้ร่วมลงนามต่อสัญญากิจการร่วมค้าระหว่าง บริษัท โอโอซีแอล โลจิสติคส์ (ฮ่องกง) จำกัด และ บริษัท โอโอซีแอล โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ OOCL โดยมีบริษัท โอเอ็ม ดีโพ จำกัด หรือ OM เป็นบริษัทร่วมทุน ประกอบธุรกิจให้บริการลานตู้คอนเทนเนอร์ (Container) รวมทั้งรับซ่อมแซม และทำความ สะอาดตู้คอนเทนเนอร์เพื่อให้พร้อมนำไปใช้งานสำหรับสายการเดินเรือ OOCL โดยมี MPJDC เป็นผู้บริหาร จัดการการดำเนินงานทั้งหมด ซึ่งการขยายสัญญา JV นี้จะช่วยทำให้ปริมาณธุรกิจมีความมั่นคงสูงและมีโอกาสที่จะขยายตัวอย่างมั่นคง” นายจิระศักดิ์กล่าว           MPJ  เป็นบริษัทผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ครบวงจร และมีประสบการณ์กว่า 16 ปี และมีธุรกิจหลักคือ การให้บริการ ลานตู้คอนเทนเนอร์ และ การขนส่งตู้คอนเทนเนอร์จากท่าเรือ แหลมฉบัง เชื่อมโยง การขนส่ง ทางบก และการให้บริการโลจิสติกส์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ (Freight Forwarder) อีกทั้งยังมีธุรกิจใหม่ คือ คลังสินค้าให้เช่าในย่าน EEC ที่สร้าง รายได้ที่มั่นคงและผลตอบแทนที่ดี [PR News]

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

“MPJ” ชูศักยภาพผู้นำหุ้นลานตู้ ธุรกิจเงินสด  มั่นใจพื้นฐานแกร่ง

“MPJ” ชูศักยภาพผู้นำหุ้นลานตู้ ธุรกิจเงินสด มั่นใจพื้นฐานแกร่ง

           บริษัท เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ MPJ  ชูศักยภาพให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจร เป็นผู้นำธุรกิจลานตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งเป็นธุรกิจเงินสดมีอัตรากำไรสูงและธุรกิจขนส่งตู้จากท่าเรือสู่กรุงเทพฯ พร้อมย้ำพันธมิตรเครือข่ายสายเรือระดับนานาชาติต่อสัญญา JV สร้างการเติบโตระยะยยาว            นายจีระศักดิ์ มานะตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ MPJ ผู้นำโลจิสติกส์แบบครบวงจรและเป็นผู้นำด้านบริหารลานตู้คอนเทนเนอร์ เปิดเผยว่า “MPJ ได้นำหุ้นเข้าซื้อขายวันแรก (6 พฤศจิกายน 2567) ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ภายใต้กลุ่มบริการ ใช้ชื่อย่อ ‘MPJ’ ในการซื้อขายหลักทรัพย์  ด้วยศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ เป็นบริษัทผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ที่ครบวงจร และมีประสบการณ์กว่า 16 ปี และมีธุรกิจหลักคือการให้บริการ ลานตู้คอนเทนเนอร์ และการขนส่ง ตู้คอนเทนเนอร์ จากท่าเรือแหลมฉบังเชื่อมโยงการขนส่งทางบก และให้บริการโลจิสติกส์ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ อีกทั้งยังมีธุรกิจใหม่คือ คลังสินค้าให้เช่าในย่าน EEC ที่สร้างรายได้ที่มั่นคงและผลตอบแทนที่ดี เติบโตไปกับการส่งออกและนำเข้า ตอบโจทย์ความต้องการ จนเป็นที่ยอมรับของลูกค้าสายเรือชั้นนำระดับโลก คาดว่าจะช่วยสนับสนุนให้ MPJ เป็นหุ้น IPO น้องใหม่ที่นักลงทุนให้ความสนใจ”            ล่าสุด การลงนามต่อสัญญากิจการร่วมค้าระหว่างของบริษัท เอ็ม พี เจ ดีสทริบิวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ MPJDC บริษัทในเครือของ MPJ กับบริษัท โอโอซีแอล โลจิสติคส์ (ฮ่องกง) จำกัด และบริษัท โอโอซีแอล โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ OOCL โดยมีบริษัท โอเอ็ม ดีโพ จำกัด หรือ OM เป็นบริษัทร่วมทุน ประกอบธุรกิจ ให้บริการลานตู้คอนเทนเนอร์ (Container) รวมทั้งรับซ่อมแซมและทำความสะอาดตู้ คอนเทนเนอร์ เพื่อให้พร้อมนำไปใช้งานสำหรับสายการเดินเรือ OOCL และ COSCO มี MPJDC เป็นผู้บริหาร จัดการการดำเนินงานทั้งหมด ยังเป็นการตอกย้ำถึงความมั่นใจในคุณภาพของบริการ และความร่วมมือ ระยะยาวที่ทั้งสอง บริษัทมีร่วมกัน             ทั้งนี้ การร่วมทุนกับสายเรือระดับโลก OOCL ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ดีของ MPJ มาอย่างยาวนาน ทำให้ บริษัทฯมีปริมาณงานที่มั่นคงและต่อเนื่อง สอดคล้องกับการเติบโตและขยายตัวของธุรกิจการนำเข้า-ส่งออก สร้างความมั่นคงต่อไปในอนาคต            นายไพรัต ภูฆัง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายบัญชีและการเงิน (CFO) บริษัท เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ MPJ กล่าวว่าบริษัทฯ มีแผนจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน (IPO) เพื่อจะนำเงินที่ได้ไปดำเนินการ ซื้อรถหัวลากหางพ่วงทดแทน ขยายธุรกิจลานตู้ ปรับปรุงลานตู้ และลงทุน อุปกรณ์ในลานตู้ รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และธุรกิจลานตู้ เป็นเงินทุนหมุนเวียน รองรับการ ลงทุนต่างๆในอนาคต พัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร (ERP) และชำระเงินกู้ยืมสถาบัน การเงิน”            นายกิตติพันธ์ ภูษณวรรณ กรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด ในฐานะผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญ กล่าวว่า “MPJ เป็นหุ้นโลจิสติกส์น้องใหม่ ที่มีแนวโน้มการ เติบโตที่ดี โดยนักวิเคราะห์หลายแห่งไดให้ราคาเหมาะสมระหว่าง 8-9.50 บาท สอดคล้องกับ ผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2564 จนถึง 6 เดือน ของปี 2567 ที่รายได้และกำไรไปในทิศทางบวก ซึ่งสะท้อนถึง พื้นฐานที่แข็งแกร่งของบริษัทฯ ได้เป็นอย่างดี”            สำหรับ MPJ เป็นหุ้นโลจิสติกส์น้องใหม่ ที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี โดยราคาเหมาะสมที่นักวิเคราะห์ หลายแห่งให้ไว้อยู่ระหว่าง     8-9.50 บาท สอดคล้องกับผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2564 จนถึง 6 เดือน ของปี 2567 ที่รายได้และกำไรไปในทิศทางบวก ซึ่งสะท้อนถึงพื้นฐานที่แข็งแกร่งของบริษัทฯ ได้เป็นอย่างดี            ด้านนายเอกจักร บัวหภักดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แคปปิตอล วันพาร์ทเนอร์ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า “MPJ เป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ครบวงจร และมีประสบการณ์กว่า 16 ปีให้บริการขนส่งทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ ครอบคลุมการให้บริการขนส่งทั้งทางบก ทางทะเล และ ทางอากาศและมีจุดเด่นหลายด้าน โดยเฉพาะ ด้านการให้บริการลานตู้คอนเทนเนอร์ นอกจากนี้ การร่วมทุน กับสายเรือระดับโลก OOCL ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ดีของ MPJ มาอย่างยาวนาน ทำให้บริษัทฯ มีปริมาณ งานที่ มั่นคงและต่อเนื่อง สอดคล้องกับการเติบโตและขยายตัวของธุรกิจการนำเข้า-ส่งออก ซึ่งการเข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ mai จะช่วยให้บริษัทฯ มีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอสำหรับการขยายธุรกิจ เพื่อสร้างการ เติบโตอย่างมั่นคงต่อไปในอนาคต            ในปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้จากการให้บริการรวม 910.24 ล้านบาท และ มีกำไรสุทธิ 80.45 ล้านบาท และในงวด 6 เดือนของปี 2567 กลุ่มบริษัทมีรายได้จากการให้บริการเท่ากับ 456 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 38.38 ล้านบาท ปัจจุบัน MPJ ให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจรทั้งในประเทศ และต่างประเทศ สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ 1) บริการด้านการบริหารลานตู้คอนเทนเนอร์ 2) บริการขนส่งทางบกต่อเนื่องกับท่าเรือ 3) บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Freight Forwarder) และ 4) บริการให้เช่าคลังสินค้า [PR News]

ตลาดฯ mai ต้อนรับ บมจ. เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ (MPJ) เริ่มซื้อขาย 6 พ.ย. นี้

ตลาดฯ mai ต้อนรับ บมจ. เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ (MPJ) เริ่มซื้อขาย 6 พ.ย. นี้

         บมจ. เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ (MPJ) ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจร พร้อมเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ 6 พ.ย. นี้ ด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 1,200 ล้านบาท โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “MPJ”           นายประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ mai ยินดีต้อนรับ บมจ. เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ เข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายใน mai ภายใต้กลุ่มบริการ โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “MPJ” ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567          MPJ และบริษัทย่อย เป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจร ทั้งการขนส่งในประเทศและระหว่างประเทศ ให้แก่ลูกค้า 2 กลุ่มหลักได้แก่ ผู้ประกอบการนำเข้าส่งออก และผู้ให้บริการสายเรือ โดยแบ่งประเภทการให้บริการได้เป็น 4 ประเภทประกอบด้วย 1) บริการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางบกต่อเนื่องกับท่าเรือ เส้นทางระหว่างท่าเรือแหลมฉบังและสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง ด้วยรถหัวลากจำนวนทั้งหมด 221 คัน และหางพ่วงจำนวน 257 คัน  2) บริการบริหารลานจัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์ บริหารการรับหรือปล่อยตู้ รวมทั้งซ่อมแซมและทำความสะอาดตู้คอนเทนเนอร์ โดยมีลานตั้งอยู่บริเวณใกล้ท่าเรือแหลมฉบัง 3) บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยการจองระวางเรือและระวางเครื่องบิน และ 4) บริการให้เช่าคลังสินค้า ที่สร้างตามวัตถุประสงค์การใช้งานของลูกค้า ปัจจุบัน มี 2 แห่งในพื้นที่แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี และพื้นที่อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง สำหรับครึ่งแรกปี 2567 บริษัทมีรายได้จำแนกตามประเภท 4 บริการดังกล่าวในสัดส่วนร้อยละ 51 : 32 : 15 : 2 ตามลำดับ          MPJ มีทุนชำระแล้วหลังเสนอขาย 100 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญเดิม 147 ล้านหุ้นและหุ้นสามัญเพิ่มทุน 53 ล้านหุ้น โดยเป็นการเสนอขายต่อบุคคลตามดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์จำนวน 49.426 ล้านหุ้น เสนอขายต่อผู้มีอุปการคุณของบริษัท 2.87 ล้านหุ้น และเสนอขายต่อกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน 0.704 ล้านหุ้น เมื่อวันที่ 28-30 ตุลาคม 2567 ในราคาหุ้นละ 6 บาท คิดเป็นมูลค่าการเสนอขาย IPO 318 ล้านบาท มูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 1,200 ล้านบาท ทั้งนี้ การกำหนดราคาเสนอขายหุ้น IPO พิจารณาอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (Price to Earnings Ratio: P/E Ratio) เท่ากับ 13.65 เท่า ซึ่งคำนวณจากกำไรสุทธิ 12 เดือนย้อนหลัง (ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2566 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567) หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วภายหลังการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ (fully diluted) จะได้กำไรสุทธิต่อหุ้นเท่ากับ 0.44 บาท โดยมีบริษัท แคปปิตอล วัน พาร์ทเนอร์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และมีบริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่าย นายจีระศักดิ์ มานะตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ เปิดเผยว่า ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่ที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งถือเป็นทำเลยุทธศาสตร์ห่างจากท่าเรือแหลมฉบังประมาณ 11 กิโลเมตร บริษัทได้เติบโตตามกิจกรรมการนำเข้าและส่งออกผ่านท่าเรือแหลมฉบังอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลากว่า 16 ปี และได้รับความไว้วางใจจาก OOCL Logistics (Hong Kong) Limited ผู้ให้บริการสายเรือระดับโลก ในการบริหารจัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์ของกลุ่ม OOCL เป็นหลัก สำหรับเงินที่ได้จากการระดมทุน จะนำไปใช้ชำระเงินกู้ยืมสถาบันการเงินที่นำมาขยายธุรกิจคลังสินค้า จัดหาซื้อรถหัวลาก หางพ่วงทดแทน ปรับปรุงและจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ในลานตู้ ตลอดจนพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร (ERP)   และเป็นเงินทุนหมุนเวียน MPJ มีผู้ถือหุ้นใหญ่หลัง IPO ได้แก่ กลุ่มนายจีระศักดิ์ มานะตระกูล ถือหุ้นร้อยละ 55.50 กลุ่มครอบครัวลิปตพัลลภ ถือหุ้นร้อยละ 11.50  และกลุ่มครอบครัววิริยะพานิชภักดี ถือหุ้นร้อยละ 6.50 บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิจากงบการเงินเฉพาะกิจการ ภายหลังจากหักภาษีและเงินทุนสำรองตามกฎหมาย           ผู้ลงทุนและผู้สนใจ สามารถดูรายละเอียด จากหนังสือชี้ชวนของบริษัทที่เว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ www.sec.or.th และข้อมูลทั่วไปของบริษัทที่ www.mpjlogistics.com และ www.set.or.th [PR News]

[Gossip] MPJ กระแสตอบรับแรง! นักลงทุนจองซื้อเกลี้ยง น พร้อมเทรด 6 พ.ย. นี้!

[Gossip] MPJ กระแสตอบรับแรง! นักลงทุนจองซื้อเกลี้ยง น พร้อมเทรด 6 พ.ย. นี้!

          บริษัท เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ MPJ ผู้นำโลจิสติกส์แบบครบวงจรและเป็นผู้นำด้านบริหารลานตู้คอนเทนเนอร์ ประกาศปิดจองซื้อหุ้นไอพีโอ จำนวน 53 ล้านหุ้น ในราคา 6 บาท หมดอย่างรวดเร็วท่ามกลางกระแสตอบรับจากนักลงทุนอย่างท่วมท้น           นายจีระศักดิ์ มานะตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MPJ กล่าวว่า “บริษัทฯขอขอบคุณนักลงทุนทุกท่านเป็นอย่างสูง ที่ให้ความสนใจจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน MPJ  บริษัทฯ พร้อมต่อยอดธุรกิจเพื่อสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคง โดยเงินที่ได้จากการระดมทุนจะนำไปดำเนินการขยายธุรกิจ ลานตู้คอนเทนเนอร์ ปรับปรุงลานตู้ ลงทุนอุปกรณ์ในลานตู้ ซื้อรถหัวลากหางพ่วงทดแทน รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และธุรกิจลานตู้ เป็นเงินทุนหมุนเวียนรองรับการลงทุนต่างๆ ในอนาคต พัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร (ERP) และชำระเงินกู้ยืมสถาบันการเงิน เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของรากฐานให้กับบริษัทฯ ต่อไปในอนาคต”           ด้าน นายกิตติพันธ์ ภูษณวรรณ กรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด ในฐานะผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญ เปิดเผยว่า “การเสนอขายหุ้น IPO ของ MPJ จำนวน 53 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (par) หุ้นละ 0.50 บาท ในราคาเสนอขายหุ้นละ 6.00 บาท ระหว่างวันที่ 28-30 ต.ค.67 ที่ผ่านมาได้รับการตอบรับจากนักลงทุนรายย่อยเป็นอย่างดี ทั้งกลุ่มนักลงทุนเน้นคุณค่า และ นักลงทุนทั่วไป โดยบริษัทฯขายหุ้นไอพีโอ MPJ หมดอย่างรวดเร็วเนื่องจากนักลงทุนให้ความเชื่อมั่นจากพื้นฐานของบริษัทฯ ที่มีประสบการณ์กว่า 16 ปี มีผลประกอบการที่โดดเด่นมาตลอดหลายปี รวมถึงมีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งและมั่นคง และราคาไอพีโอที่ 6 บาท เป็นราคาที่เหมาะสม คิดเป็นอัตรา PE เพียง 13.65 เท่า และมีส่วนลดให้กับนักลงทุนพอสมควร จึงเชื่อมั่นว่า MPJ จะเป็นอีกหนึ่งหุ้นโลจิสติกส์น้ำดี ที่จะได้รับการตอบรับอย่างดีในการเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ mai  ในวันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2567 และมีโอกาสที่จะเติบโตอย่างมั่นคง”

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

2 หุ้น IPO ตบเท้าเข้าเทรด mai ต้นพ.ย.นี้

2 หุ้น IPO ตบเท้าเข้าเทรด mai ต้นพ.ย.นี้

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน 2 บริษัทใหม่ เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ต้นเดือนพฤศจิกายนนี้           ประกอบไปด้วย บริษัท อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ IROYAL ราคาเสนอขาย IPO 6.50 บาท/หุ้น ระยะเวลาเสนอขาย IPO 24 - 28 ต.ค. 2567 และเตรียมเข้าซื้อขายหลักทรัพย์วันแรก คือ วันที่ 5 พ.ย. 67           สำหรับรายละเอียด มูลค่าการระดมทุน 377.00 ล้านบาท ราคาพาร์ 0.50 บาท มูลค่าตามราคาตลาด 1,495.00 ล้านบาท P/E ณ วัน IPO 15.83 เท่า จำนวนหุ้นที่เสนอขาย 58,000,000 หุ้น คิดเป็น 25.22% ของหุ้นทั้งหมดหลัง IPO โดยมีที่ปรึกษาทางการเงิน คือ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด และผู้จัดการการจัดจำหน่ายคือ บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)           ลักษณะธุรกิจ ของ IROYAL เป็นผู้ให้บริการด้านวิศวกรรมเพื่อจัดหาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งกลุ่มบริษัทมีความเชี่ยวชาญในการจัดหาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในระบบการผลิตของโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม จากผู้ผลิตชั้นนำระดับสากล โดยครอบคลุมถึงงานบริการติดตั้งและซ่อมบำรุง ด้วยการออกแบบ ให้คำปรึกษา และนำเสนอโซลูชั่น เพื่อตอบสนองตามความต้องการของลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ           รวมถึงการบริหารสินค้าคงคลังในส่วนที่กลุ่มบริษัทจัดหาและจำหน่าย ให้บริการด้านวิศวกรรมเพื่อจัดหาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งกลุ่มบริษัทมีความเชี่ยวชาญในการจัดหาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในระบบการผลิตของโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม จากผู้ผลิตชั้นนำระดับสากล โดยครอบคลุมถึงงานบริการติดตั้งและซ่อมบำรุง ด้วยการออกแบบ ให้คำปรึกษา และนำเสนอโซลูชั่น เพื่อตอบสนองตามความต้องการของลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการบริหารสินค้าคงคลังในส่วนที่กลุ่มบริษัทจัดหาและจำหน่าย           สำหรับ ผลการดำเนินงานช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2564 – 2566) บริษัทมีรายได้รวม 196.78 ล้านบาท 116.98 ล้านบาท และ 280.38 ล้านบาท ตามลำดับ โดย ณ ปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายคิดเป็นสัดส่วน 54.51% ของรายได้จากการดำเนินงาน รายได้จากการขายพร้อมติดตั้ง 45.49% ของรายได้จากการดำเนินงาน ทั้งนี้ ด้วยจุดเด่นของ IROYAL คือการมี Recurring income ในอัตราเฉลี่ยสูงถึง 50-60% ของรายได้จากการดำเนินงาน ซึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นของกลุ่มลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจ โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าหลักอย่างโรงไฟฟ้าที่ต้องมีกำหนดแผนซ่อมบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ และต้องอาศัยเทคโนโลยีเฉพาะ ทำให้ยากที่จะเปลี่ยนผู้ให้บริการ (High-switching costs) และคู่แข่งใหม่ๆ ก็เข้ามาแข่งขันยากเช่นกัน (High barrier to entry)           ขณะที่กำไรสุทธิในงวด 3 ปี ทำได้ 35.36 ล้านบาท 27.94 ล้านบาท และ 72.22 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 17.97% 23.88% และ 25.76% ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นเนื่องจากการบริหารต้นทุนในการจัดจำหน่าย และค่าใช้จ่ายในการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ           บริษัท เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ MPJ ราคาเสนอขาย IPO 6.50 บาท/หุ้น ระยะเวลาเสนอขาย IPO 28 - 30 ต.ค. 2567 และเตรียมเข้าซื้อขายหลักทรัพย์วันแรก คือ วันที่ 6 พ.ย. 67           สำหรับรายละเอียด มูลค่าการระดมทุน มูลค่าการระดมทุน 318.00 ล้านบาท ราคาพาร์ 0.50 บาท มูลค่าตามราคาตลาด 1,200.00 ล้านบาท P/E ณ วัน IPO 13.65 เท่า จำนวนหุ้นที่เสนอขาย 53,000,000ที่ปรึกษาทางการเงิน คือ บริษัท แคปปิตอล วัน พาร์ทเนอร์ จำกัด และ ผู้จัดการการจัดจำหน่าย คือบริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด           ลักษณะธุรกิจของ MPJ เป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจร ทั้งการขนส่งทางบกต่อเนื่องกับท่าเรือ การบริหารลานตู้คอนเทนเนอร์ การจัดการขนส่งระหว่างประเทศ (Freight Forwarder) และบริการคลังสินค้า ให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจร ทั้งการขนส่งทางบกต่อเนื่องกับท่าเรือ การบริหารลานตู้คอนเทนเนอร์ การจัดการขนส่งระหว่างประเทศ (Freight Forwarder) และบริการคลังสินค้า           สำหรับ ผลการดำเนินงานช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2564 – 2566) บริษัทมีรายได้รวม 1,014.74 ล้านบาท 1,300.27 ล้านบาท และ 910.24 ล้านบาท ตามลำดับ  สำหรับงวด 6 เดือนแรกปี 2566 และ 2567 กลุ่มบริษัทมีรายได้จากการให้บริการเท่ากับ 427.51 ล้านบาท และ 456.22 ล้านบาท ตามลำดับ           ขณะที่กำไรสุทธิในงวด 3 ปีบริษัทมีกำไรสุทธิสำหรับปี 2564 - 2566 เท่ากับ 76.74 ล้านบาท 101.34 ล้านบาท และ 80.45 ล้านบาท ตามลำดับ หรือคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิร้อยละ 7.41 ร้อยละ 7.65 และร้อยละ 8.63 ของรายได้รวมทั้งหมด ตามลำดับ สำหรับงวด 6 เดือนแรกปี 2566 และ 2567 กลุ่มบริษัทมีกำไรสุทธิเท่ากับ 31.05 ล้านบาท และ 38.38 ล้านบาท ตามลำดับ รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

นักวิเคราะห์เคาะเป้า MPJ ผู้นำโลจิสติกส์ คาดกำไรแกร่ง

นักวิเคราะห์เคาะเป้า MPJ ผู้นำโลจิสติกส์ คาดกำไรแกร่ง

           5 โบรคเกอร์ชั้นนำ นำโดย บล.โกลเบล็ก บล.หยวนต้า บล.ฟินันเซีย ไซรัส บล.กรุงศรี และบล.ดาโอ  ออกบทวิเคราะห์ หุ้นไอพีโอ MPJ หรือ บมจ.เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ โดยระบุว่า MPJ มีจุดเด่นคือ เป็น ผู้นำด้านโลจิสติกส์ครบวงจร ที่มีธุรกิจหลักคือ ธุรกิจบริหารลานตู้คอนเทนเนอร์ที่พร้อมเติบโตสูง จากการเตรียมเปิดลานตู้แห่งใหม่ที่ลาดกระบัง ขณะที่ธุรกิจคลังสินค้า และตัวแทนขายระวางเรือ น่าจะขยายตัวสูงเช่นกัน คาดเปิดจองซื้อภายในปลายเดือนตุลาคมนี้            บมจ.เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ หรือ MPJ ให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจรทั้งในประเทศ และต่างประเทศ สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท 1) บริการด้านการบริหารลานตู้คอนเทนเนอร์ 2) บริการขนส่งทางบกต่อเนื่องกับท่าเรือ 3) บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Freight Forwarder) และ4) บริการให้เช่าคลังสินค้า โดยวัตถุประสงค์ของการเข้าจดทะเบียนในตลาดเอ็มเอไอเพื่อขยายกิจการ ปรับปรุงลานกองตู้คอนเทนเนอร์ จัดหารถหัวลากและหางพ่วง ชำระคืนเงินกู้ยืม พัฒนาระบบ ERP และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ            ทั้งนี้ MPJ มีแผนจะเข้าระดมทุนเพื่อเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป (IPO) จำนวน 53 ล้านหุ้น ในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ประมาณไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ เพื่อรองรับการขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้บริษัทฯ มีนโยบายที่จะจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิจากงบการเงินเฉพาะกิจการ            โดย นักวิเคราะห์คาดว่า MPJ  จะมีผลประกอบการจะเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง โดยได้แรงหนุนจาก 1) การขยายธุรกิจลานกองตู้คอนเทนเนอร์แห่งที่ 3 ในกรุงเทพฯ ย่านลาดกระบังซึ่งเป็นศูนย์กลางการขนส่งตู้ตอนเทนเนอร์ทั่วประเทศ 2) รับรู้รายได้คลังสินค้าในจังหวัดระยองเต็มปี และ 3) การเติบโตของธุรกิจตัวแทนขายค่าระวางเรือ โดยการเพิ่มพนักงานขายระวางเรือในเส้นทางใหม่ อาทิ ยุโรปและสหรัฐฯ ขยายตลาดจากเดิมที่เน้นเส้นทางในเอเชีย            บล.โกลเบล็ก คาดรายได้และกำไรปี 67 เติบโต 8%YoY และเติบโต 9%YoY สู่ 980 ลบ. และ 88 ลบ. ตามลำดับ ปี 2568 คาดรายได้และกำไร จะเติบโต 25%YoY และ 29%YoY ตามลำดับ สู่รายได้รวม 1,226 ล้านบาท และ กำไรสุทธิ 113 ล้านบาท โดยได้แรงหนุนจาก 1) การขยายธุรกิจลานกองตู้คอนเทนเนอร์สู่กรุงเทพฯ 2)รับรู้รายได้คลังสินค้าในจังหวัดระยองเต็มปี และ 3) การเพิ่มพนักงานขายระวางเรือในเส้นทางใหม่ อาทิ ยุโรปและสหรัฐฯ ทำให้ประเมินราคาเหมาะสมปี 2568 อยู่ที่ 9.00 บาทต่อหุ้น            บล.หยวนต้า คาดกำไรปกติปี 2567-2569 ที่ 89 ล้านบาท (+7% YoY) 124 ล้านบาท (+39% YoY) และ 151 ล้านบาท (+21% YoY) ตามลำดับ หนุนจากแนวโน้มกิจกรรมขนส่งที่เติบโตและการขยายธุรกิจคลังสินค้าและลานตู้ทำให้ประเมินราคาเหมาะสมปี 2568 อยู่ที่ 8.70 บาท/หุ้น            บล.ดาโอ ประเมินกำไร 2567-2569 จะโตเฉลี่ย 18% CAGR ประเมินกำไรปี 2567 ที่ 91 ล้านบาท +10% YoY จากธุรกิจ Freight Forwarder ที่ฟื้นตัวจากฐานต่ำ รวมถึงธุรกิจคลังสินค้าที่ได้ผลบวกจากคลังสินค้าใหม่ ส่วนปี 2568 ประเมินกำไร 121 ล้านบาท +32% YoY จากทุกธุรกิจที่ดีขึ้น ทำให้ประเมินราคาเหมาะสมปี 2568 อยู่ที่ 8.50 บาทต่อหุ้น            บล.ฟินันเซีย ไซรัส คาดกำไรสุทธิปี 2567-2569 เติบโตเฉลี่ย 27% YoY CAGR  โดยคาดกำไรสุทธิปี 2567 ที่ 88 ล้านบาท +9% YoY และปี 2568-2569 คาดผลการดำเนินงานจะเติบโตก้าวกระโดดอยู่ที่ 122 ล้านบาท (+39% YoY) และ 162 ล้านบาท (+33% YoY) ตามลำดับ โดยมีปัจจัยหนุนมาจากธุรกิจคลังสินค้าที่เพิ่มขึ้นอีก 2 แห่ง และธุรกิจ Freight Forwarder ได้ขยายทีมขายและให้บริการเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเส้นทางยุโรปและสหรัฐอเมริกา รวมถึงภาวะดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงจากการนำเงิน IPO ไปชำระหนี้บางส่วน ทำให้ประเมินราคาเหมาะสมปี 2568 อยู่ที่ 8.00 บาทต่อหุ้น            บล.กรุงศรี คาดกำไรสุทธิ 2567-2569 ที่ 76 ล้านบาท / 89 ล้านบาท / 95 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโต +11% CAGR เพราะคาดในปี 2567-2569 จะมียอดขายราว 935 ล้านบาท / 1,040 ล้านบาท / 1,098 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +8% CAGR จากรายได้จากการขนส่งทางบกหลังมีการปรับราคาขึ้นตามราคาน้ำมัน (Cost plus) ในปี 2568 ตามหลังราคาดีเซล, รายได้จากธุรกิจ Freight forwarder เติบโตขึ้นจากการขยายทีมและเพิ่มสายเดินเรือ Route ไกล (ยุโรป-อเมริกา), คลังสินค้าใหม่ 2 แห่งขนาด 12,463 และ 18,000 ตรม. ที่เริ่ม Operate ในไตรมาส 2 ปี 2567 และไตรมาส 3 ปี 2569 ตามลำดับ และอัตรากำไรขั้นต้นรวมจะขยับขึ้นมาเล็กน้อยจาก 21% ในปี 2566 สู่ระดับ 22% ในปี 2567-2569 นอกจากนี้ MPJ มี Upside Risk จากลานตู้คอนเทนเนอร์ใหม่ซึ่งยังไม่รวมในประมาณการ คาดเริ่ม Operate ภายปี 2568 คิดเป็น Upside 1.50 บาทต่อหุ้น ทำให้ประเมินราคาเหมาะสมปี 2568 อยู่ที่ 8.00 -9.50 บาทต่อหุ้น