#MALEE


นักลงทุนคอแห้ง! หุ้นเครื่องดื่มไตรมาส 3 เสิร์ฟกำไรแบบจัดเต็ม

นักลงทุนคอแห้ง! หุ้นเครื่องดื่มไตรมาส 3 เสิร์ฟกำไรแบบจัดเต็ม

อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม สำหรับไตรมาส 3/2567 บริษัท มาลีกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)หรือMALEE รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567  บริษัท และบริษัทย่อยมีผลกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นใหญ่ในไตรมาส 3/2567 เท่ากับ 61 ล้านบาท เทียบกับไตรมาส 3/2566 ที่มีผลกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นใหญ่ 9 ล้านบาท ผลการดำเนินงานเติบโต 551% YoY เป็นผลมาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น 6% YoY จากกลยุทธ์ที่เน้นการเติบโตของสินค้าภายใต้แบรนด์ Malee ที่เป็น Focus SKU มีการยกเลิกขายสินค้าบางรายการ มีการปรับเพิ่มราคาสินค้าบางกลุ่มสินค้า และในกลุ่มลูกค้า CMG (Contract Manufacturing) ที่เป็นผลิตภัณฑ์ตามสัญญาและรับจ้างผลิต ตลอดจนความมีประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนขายที่ดีขึ้น บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน)หรือSSC  รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567    กำไรสุทธิของบริษัท เท่ากับ 404 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 156 ล้านบาท หรือคิดเป็น 63.1% จากผลกำไรสุทธิ 248 ล้านบาท ในงวดเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากการเติบโตของยอดขายและการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทมีผลกำไรต่อหุ้นเป็นจำนวน 1.52 บาท เพิ่มขึ้น 0.59 บาทต่อหุ้น เมื่อเทียบกับผลกำไรต่อหุ้น 0.93 บาทในงวดเดียวกันของปีก่อน บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)หรือCBG รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567 กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทฯ เท่ากับ 741 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +40% YoY สะท้อนยอดขายที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนที่ปรับตัวลดลง การควบคุมค่าใช้จ่าย มีรายได้จากการขายรวมเท่ากับ 5,098 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +8% YoY โดยในจำนวนนี้เป็นรายได้จากการดำเนินการผลิตภายใต้เครื่องหมายการค้าของตนเองจำนวน 3,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +8% YoY จากยอดขายเครื่องดื่มบำรุงกำลังคาราบาวแดงในประเทศที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง จากส่วนแบ่งทางการตลาดที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากการที่บริษัทฯ ยังคงดำเนินกลยุทธ์หลักคงราคาขายปลีกที่ 10 บาท รวมถึงการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การกระจายสินค้าให้มีเครือข่ายที่กว้างขวางและครอบคลุมมากขึ้นผ่านคู่ค้ารายย่อยระดับอำเภอและระดับตำบล เพื่อขยายช่องทางการจัดจำหน่าย บริษัท ที.เอ.ซี. คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน)หรือ TACC รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567  บริษัท มีกำไรสุทธิในไตรมาส 3 และสำหรับงวด 9 เดือน ปี 2567 จำนวน 66.31 และ 205.68 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้น 6.42 และ 36.95 ล้านบาท (คิดเป็น 10.73% และ 21.90%) จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 59.89 และ 168.73 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 13.89% และ 14.16% ของรายได้ของไตรมาส 3 ปี 2567 และ 2566 (ลดลง 0.27%) และคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 14.45% และ 13.55% ของรายได้สำหรับงวด 9 เดือน ปี 2567 และ 2566 (เพิ่มขึ้น 0.90%)  กลุ่มบริษัทฯ คาดว่ารายได้ทั้งปี 2567 จะเติบโตร้อยละ 10 จากปีก่อน จากกลยุทธ์การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าหลัก เพิ่มฐานลูกค้าใหม่ นำเสนอสินค้าใหม่จับเทรนด์ผู้บริโภครักสุขภาพ บริษัท ไทย โคโคนัท จำกัด (มหาชน)หรือCOCOCO รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567  สำหรับไตรมาสที่ 3 ปี 2567 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิเท่ากับ 172.31 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.57 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 12.81% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่ลดลง 54.84 ล้านบาท หรือคิดเป็นการลดลง 24.14% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากปัจจัยภายนอกจากสถานการณ์ความผันผวนของตลาดการเงินโลกจากความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศและแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอนยังคงมีผลกระทบต่อตลาดเงินและค่าเงินบาทในระยะสั้น ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศมีความผันผวน ส่งผลให้การรับรู้กำไรสุทธิลดลง สำหรับงวด 9 เดือนปี 2567 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิเท่ากับ 603.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 252.45 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 72% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากการเติบโตของยอดขายต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาด บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)หรือ ICHI รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567  กำไรสุทธิของบริษัทฯ ในไตรมา 13/2567 และ โตรมาร 3/2566 เท่ากับ 357.3 ล้านบาท และ 328.0 ล้านบาทหรือ คิดเป็นอัตราทำไรสุทธิของรายได้จากการขาย เท่ากับ 16.7% และ 15.8% ตามลำดับ กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 20.3 ล้านบาท หรือเท่ากับ 6.9% สำหรับทำไรสุทธิงวด 9 เดือนแรกของปี 2567 เท่ากับ 1.099.9 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 16.7% กำไร สุทธิเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่เท่ากับ 805.3 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 13.6%ของรายได้จากการขาย กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 294.6 ล้านบาทหรือเท่ากับ 36.6% บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน)หรือSAPPE รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567 รายงานผลประกอบการ กำไรสุทธิส่วนของบริษัทใหญ่ในไตรมาส 3/2567 เท่ากับ 300.3 ล้านบาท หรือคิดเป็น 19.2% ต่อรายได้จากการขาย ลดลง 5.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนหน้าที่ 319.1 ล้านบาทบริษัทฯ มีรายได้จากการขายในไตรมาสนี้เท่ากับ 1,566.2 ล้านบาท ลดลง 6.0% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมาจากการลดลงของรายได้จากการขายตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ภายในปี 2567 บริษัทฯ ยังคงมีแผนการออกสินค้าใหม่ทั้งหมดมากกว่า 20 รายการ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะส่งผลให้รายได้จากการขายเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน)หรือSSC  รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567    กำไรสุทธิของบริษัท เท่ากับ 404 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 156 ล้านบาท หรือคิดเป็น 63.1% จากผลกำไรสุทธิ 248 ล้านบาท ในงวดเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากการเติบโตของยอดขายและการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทมีผลกำไรต่อหุ้นเป็นจำนวน 1.52 บาท เพิ่มขึ้น 0.59 บาทต่อหุ้น เมื่อเทียบกับผลกำไรต่อหุ้น 0.93 บาทในงวดเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุผลที่อธิบายข้างต้น บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน)หรือHTC รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567   บริษัทฯ มีกำไรสุทธิแสดงไว้ในงบการเงินรวมเป็นจำนวนเท่ากับ 129.2 ล้านบาท ลดลง 3.6% YoY และลดลง 18.7% QoQ จากปริมาณการขายที่ลดลงจากสภาวะอากาศเย็นและน้ำท่วม และต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิเท่ากับ 6.9% ลดลง 0.3 จุดเปอร์เซ็นต์ YoY และ QoQ บริษัทฯ คาดการณ์ว่าสภาวะตลาดเครื่องดื่มพร้อมดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในภาคใต้จะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 4/2567 จากสภาวะการท่องเที่ยวปลายปีที่ปรับตัวดีขึ้น และสภาวะอากาศที่เข้าสู่ฤดูหนาว อีกทั้งจะเริ่มได้รับผลบวกจากการปรับราคาในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาเต็มทั้งไตรมาส 4/2567 บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP มีการรายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567  บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) รายงานผลขาดทุนสุทธิสำหรับไตรมาส 3 ปี 2567 ที่ 361 ล้านบาท ลดลง 156.3% จากปีก่อน (YoY) และลดลง 159.8% จากไตรมาสก่อน (QoQ) เนื่องจากมีการบันทึกผลขาดทุนสุทธิจากการจำหน่ายเงินลงทุนในธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายขวดแก้วในประเทศเมียนมาตามแผนยุทธศาสตร์การลงทุนตามที่ได้ส่งข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567 และการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน รวมเป็นจำนวน 1,033 ล้านบาท ซึ่งหากไม่รวมรายการพิเศษดังกล่าว บริษัทฯ มีกำไรจากการดำเนินงานปกติที่ 672 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.5% YoY และลดลง 27.2% Qo

MALEE กำไรไตรมาส 3/67แตะ 61ล้านบาทโต 551%

MALEE กำไรไตรมาส 3/67แตะ 61ล้านบาทโต 551%

          หุ้นวิชั่น - บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีผลกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นใหญ่ในไตรมาส 3/2567 เท่ากับ 61 ล้านบาท เทียบกับไตรมาส 3/2566 หรือเติบโต 551% จาก 9 ล้านบาท ที่มีผลกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นใหญ่ 9 ล้านบาท ผลการดำเนินงานเติบโต 551% YoY เป็นผลมาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น 6% YoY จากกลยุทธ์ที่เน้นการเติบโตของสินค้า ภายใต้แบรนด์ Malee ที่เป็น Focus SKU มีการยกเลิกการขายสินค้าบางรายการ มีการปรับเพิ่มราคาสินค้าในบางกลุ่มสินค้า และในกลุ่มลูกค้า CMG (Contract Manufacturing) ที่เป็นผลิตภัณฑ์ตามสัญญาและรับจ้างผลิต ตลอดจนความมีประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนขายที่ดีขึ้น   ในไตรมาส 3/2567 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมียอดขายรวม 2,076 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% YoY เทียบกับปีก่อนหน้า การเติบโตของยอดขายมาจากช่องทางการขายต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น 32% YoY และภาพรวมยอดขายเพิ่มขึ้น ทั้งจากธุรกิจภายใต้ตราสินค้าของบริษัทฯ (Branded Business: Brand) และธุรกิจพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามสัญญาและรับจ้างผลิต (Contract Manufacturing Business: CMG) ที่เพิ่มขึ้น 4% YoY และ 7% YoY ตามลำดับ ในครึ่งปีหลัง บริษัทฯ วางแผนสื่อสารการตลาดสินค้าใหม่ ได้แก่ Malee Coco และน้ำแอปเปิ้ลไปยังผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับสินค้าใหม่ของมาลีมากขึ้น บริษัทฯ ยังคงมุ่งหน้าสร้างผลกำไรให้เติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการเร่งการเติบโตของยอดขายสินค้าภายใต้แบรนด์ Malee & Chokchai Farm ให้มากขึ้นเมื่อเทียบกับการเติบโตของยอดขายสินค้ารับจ้างผลิต โดยบริษัทไม่ได้จำกัดการเติบโตของยอดขายธุรกิจรับจ้างผลิต และด้วยความมุ่งมั่นของเรา บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าเราจะสามารถทำตามเป้าหมายการเติบโตเป็นเลขสองหลักได้สำหรับปี 2567 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เพื่อพยายามลดต้นทุนการผลิตและการบริหาร โดยใช้กำลังการผลิตที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับกลยุทธ์ที่นำมาใช้เป็นไปตามทิศทางที่เคยให้ไว้ ประกอบด้วย           ด้านสินค้าภายใต้แบรนด์ Malee & Chokchai Farm: มุ่งเน้นเพิ่มปริมาณการขายสินค้าในตลาดเป้าหมาย โดยใช้กลยุทธ์การตลาดและการขายใน 4 เสาหลักทางการค้า ได้แก่ 1. Mental Availability: เป็นเครื่องดื่มที่มอบสุขภาพดีและความสุขให้ผู้บริโภคในแต่ละวัน 2. Physical Availability: กระจายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทุกช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้สะดวก 3. Relevant Portfolio: ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ฮีโร่ พร้อมโปรเจกต์นวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่ 4. Improved Customer Preference: ร่วมวางแผนกับคู่ค้าเพื่อขับเคลื่อนมูลค่าตลาดในกลุ่มน้ำผลไม้และผลิตภัณฑ์นม           ด้านการรับจ้างผลิต: รักษาและสร้างการเติบโตของลูกค้า 10 อันดับแรก ขณะเดียวกันก็รักษาอัตรากำไรขั้นต้น การบริหารจัดการปรับปรุงประสิทธิภาพ: เพิ่มความมีประสิทธิผลขององค์กร และพิจารณาปรับเพิ่มราคาสินค้าหากมีความจำเป็น การขับเคลื่อนการประหยัดต้นทุนตลอดทั้งปี: โดยปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการผลิตสินค้าเดิมให้มีคุณภาพเท่าเดิมในต้นทุนที่ลดลง รวมถึงริเริ่มโครงการใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น การติดตั้ง Solar Rooftop เฟสแรกของมาลีสามพรานที่ดำเนินการเสร็จเมื่อต้นปี 2567 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานด้านความยั่งยืน เพื่อลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมีแผนขยายงานสู่เฟสสองในปีหน้า การลดจำนวนวันคงคลังของวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป           การออกผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่: เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค/ลูกค้า เช่น ในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 บริษัทฯ ได้เปิดตัวนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ "Malee Coco Liposos" ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยบริษัทได้สื่อสารกับผู้บริโภคผ่านกิจกรรมการตลาดและการโฆษณาในครึ่งหลังของปี 2567 ซึ่งจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับยอดขายของแบรนด์มาลีตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2567 เป็นต้นไป

วิเคราะห์ทางเลือก การลงทุนในผู้นำตลาดน้ำผลไม้ไทย [HoonVision X FynnCorp]

วิเคราะห์ทางเลือก การลงทุนในผู้นำตลาดน้ำผลไม้ไทย [HoonVision X FynnCorp]

          ตลาดน้ำผลไม้ในประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ 5-7% ต่อปีตามข้อมูลจาก Euromonitor โดยผู้บริโภคให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้น้ำผลไม้ 100% และเครื่องดื่มเสริมวิตามินได้รับความนิยมสูง นอกจากนี้ กระแสความยั่งยืนยังผลักดันให้ผู้บริโภคเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่การเติบโตของช่องทาง e-commerce ผ่านแพลตฟอร์มอย่าง Lazada และ Shopee หลังยุค COVID-19 ยิ่งเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ได้มากขึ้น           TIPCO และ MALEE ต่างมีจุดแข็งเฉพาะตัวในการตอบรับเทรนด์เหล่านี้ โดย TIPCO โดดเด่นด้วยผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ 100% และเครื่องดื่มเสริมสุขภาพที่ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ ขณะที่ MALEE มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์พรีเมียมอย่างน้ำผลไม้ปราศจากน้ำตาลและเครื่องดื่มผสมสมุนไพร ซึ่งตามข้อมูลจาก Statista ชี้ให้เห็นว่าตลาดผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพและเครื่องดื่มสมุนไพรมีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ และแนวโน้มนี้คาดว่าจะยังคงเติบโตในระยะยาว           การเติบโตของอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับเทรนด์สุขภาพและความยั่งยืน ประกอบกับการปรับตัวเชิงกลยุทธ์ของทั้งสองบริษัท ส่งผลให้หุ้นในกลุ่มนี้น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่มองหาโอกาสการลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพการเติบโตในระยะยาว ในตลาดน้ำผลไม้ 100% ของประเทศไทย TIPCO ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดที่ 29% ตอกย้ำความเป็นผู้นำในกลุ่มน้ำผลไม้ธรรมชาติ ขณะที่ MALEE มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 21% ซึ่งสะท้อนถึงการเจาะกลุ่มผู้บริโภคที่มองหาผลิตภัณฑ์พรีเมียม แม้ทั้งสองบริษัทจะครองตลาดในระดับที่สำคัญ แต่กลยุทธ์และภาพลักษณ์ของแบรนด์ในตลาดมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน TIPCO เน้นการครองตลาดในวงกว้าง ขณะที่ MALEE เน้นเจาะกลุ่มที่ใส่ใจสุขภาพและความเป็นพรีเมียม TIPCO: การปรับโครงสร้างครั้งสำคัญสู่ธุรกิจเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ จุดเริ่มต้นและการเปลี่ยนแปลง: TIPCO ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2519 ในชื่อบริษัท ไทยแอนแนส จำกัด (Thai Pineapple Co., Ltd) และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี พ.ศ. 2532 ภายใต้ชื่อ TIPCO Foods จากจุดเริ่มต้นในธุรกิจผลไม้กระป๋อง TIPCO ได้พัฒนาตัวเองจนก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพของไทย ด้วยความเชี่ยวชาญในการคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค ธุรกิจหลักและการสร้างรายได้: ปัจจุบัน TIPCO มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจใน ผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้พร้อมดื่มและน้ำแร่ธรรมชาติ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่สร้างการเติบโตให้กับบริษัท โดยในปี 2566 มีสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศประมาณ 32% ครอบคลุมตลาดในเอเชีย ยุโรป และตะวันออกกลาง ผ่านช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลายทั้งค้าปลีก ค้าส่ง และออนไลน์ ผลิตภัณฑ์หลักและแบรนด์: ภายใต้แบรนด์ "TIPCO" มีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นด้วยคุณภาพและนวัตกรรม โดยเฉพาะน้ำผลไม้ 100% ที่เป็นผู้นำตลาด น้ำผลไม้ NFC (Not From Concentrate) ที่รักษาคุณค่าทางโภชนาการได้อย่างครบถ้วน และเครื่องดื่มเสริมวิตามินที่ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ นอกจากนี้ น้ำแร่ธรรมชาติแบรนด์ "Aura" ยังได้รับการยอมรับด้านรสชาติในระดับนานาชาติ จุดเด่นสำคัญ คือการยึดมั่นในการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติและไม่มีสารเติมแต่ง ผลิตภัณฑ์และบริการอื่นๆ: TIPCO มุ่งขยายไลน์ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องดื่มฟังก์ชันนอล เช่น เครื่องดื่มเสริมภูมิคุ้มกันและเครื่องดื่มเพิ่มพลังงาน พร้อมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามฤดูกาลและสูตรพิเศษเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของตลาดสุขภาพที่กำลังเติบโต การแบ่งรายได้และค่าใช้จ่าย: ในปี 2566 ธุรกิจเครื่องดื่มสร้างรายได้หลักคิดเป็น 70% ของรายได้ทั้งหมด ขณะที่ผลิตภัณฑ์จากพืชผลและสมุนไพรคิดเป็น 29% และรายได้อื่นๆ อีก 1% บริษัทมุ่งเน้นการควบคุมต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการขยายช่องทางการตลาดดิจิทัลเพื่อตอบรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง กลยุทธ์การเติบโตของ TIPCO Foods Public Company Limited การปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งสำคัญ: TIPCO ประกาศยุติการดำเนินงานธุรกิจสับปะรดกระป๋องในเดือนกันยายน 2567 ซึ่งคิดเป็น 22% ของรายได้รวม เนื่องจากผลประกอบการขาดทุนต่อเนื่องและความผันผวนของวัตถุดิบ การตัดสินใจครั้งนี้สะท้อนการปรับกลยุทธ์เพื่อมุ่งเน้นธุรกิจที่มีศักยภาพการเติบโตสูงกว่า มุ่งเน้นธุรกิจหลักและการร่วมทุน: ภายหลังการปรับโครงสร้าง TIPCO มุ่งเน้นการเติบโตในธุรกิจน้ำผลไม้และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ซึ่งสร้างรายได้หลักถึง 70% พร้อมทั้งรักษาความแข็งแกร่งจากการร่วมทุน (JV) ที่สร้างผลตอบแทนมั่นคง กลยุทธ์นี้ช่วยให้บริษัทสามารถทุ่มเททรัพยากรและความเชี่ยวชาญในธุรกิจที่มีศักยภาพการเติบโตสูง การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์เทรนด์สุขภาพ: ด้วยประสบการณ์ด้านเครื่องดื่มมากว่า 40 ปี TIPCO มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น Tipco Nature Up เครื่องดื่มเสริมคอลลาเจนและวิตามิน และ Tipco Chewy น้ำผลไม้ผสมเนื้อผลไม้สำหรับคนรุ่นใหม่ โดยรักษาจุดแข็งด้านคุณภาพและความเป็นธรรมชาติของแบรนด์ TIPCO และ Aura ในระดับราคาที่เข้าถึงได้ การขยายช่องทางการจัดจำหน่ายและตลาดต่างประเทศ: TIPCO เน้นการเติบโตในตลาดส่งออกที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะญี่ปุ่นและตะวันออกกลาง ควบคู่กับการรุกตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม e-commerce อย่าง Lazada และ Shopee เพื่อเข้าถึงผู้บริโภครุ่นใหม่ ความเสี่ยงหลักของ TIPCO การบริหารต้นทุนและอัตราแลกเปลี่ยน: แม้การยุติธุรกิจสับปะรดกระป๋องจะช่วยลดความเสี่ยงด้านวัตถุดิบ แต่ TIPCO ยังต้องบริหารต้นทุนวัตถุดิบคุณภาพสูงสำหรับธุรกิจเครื่องดื่ม รวมถึงผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนต่อรายได้จากการส่งออก การแข่งขันในตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ: TIPCO เผชิญการแข่งขันที่เข้มข้นจากทั้งแบรนด์ท้องถิ่นและต่างประเทศ เช่น C-vitt และ Minute Maid ทำให้ต้องเพิ่มการลงทุนด้านการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง มาตรฐานและกฎระเบียบการส่งออก: การขยายธุรกิจในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ทำให้ต้องปรับตัวตามมาตรฐานที่เข้มงวด ซึ่งอาจส่งผลต่อต้นทุนและประสิทธิภาพการดำเนินงาน MALEE: การสร้างการเติบโตผ่านธุรกิจรับจ้างผลิตและผลิตภัณฑ์พรีเมียม การก่อตั้งและธุรกิจหลัก: MALEE ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2521 เริ่มต้นจากการผลิตผลไม้กระป๋องและอาหารกระป๋อง ต่อมาได้ขยายธุรกิจเข้าสู่กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์พรีเมียม ปัจจุบัน MALEE มีสองธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจแบรนด์ MALEE และ ธุรกิจรับจ้างผลิต (Contract Manufacturing) ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถกระจายรายได้และลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาธุรกิจประเภทเดียว ผลิตภัณฑ์หลักและแบรนด์: ภายใต้แบรนด์ "MALEE" บริษัทมีผลิตภัณฑ์หลักที่โดดเด่นด้วยนวัตกรรมและคุณภาพ ได้แก่ น้ำผลไม้ 100% ที่ใช้วัตถุดิบคุณภาพสูง, น้ำมะพร้าว Malee Coco ที่รักษาความสดใหม่ตามธรรมชาติ, น้ำผลไม้ Cold Pressure Processing Malee Fruit Fresh ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตทันสมัย และ น้ำผักผลไม้ Malee Homestyle ที่อุดมด้วยกากใยสูง ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ตอบโจทย์ผู้บริโภคกลุ่มพรีเมียมที่ใส่ใจสุขภาพและยินดีจ่ายเพิ่มเพื่อคุณภาพที่เหนือกว่า ธุรกิจรับจ้างผลิต: MALEE ใช้ความเชี่ยวชาญด้านการผลิตเครื่องดื่มคุณภาพสูงในการให้บริการรับจ้างผลิต (Contract Manufacturing) แก่แบรนด์ชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและฟังก์ชันนอล เช่น เครื่องดื่มเสริมวิตามินและเครื่องดื่มต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ยังร่วมมือกับพันธมิตรท้องถิ่นในการผลิตนมสดแบรนด์ฟาร์มโชคชัยและนมข้าวโพด ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้กำลังการผลิต การแบ่งรายได้: ในช่วงปี 2564-2566 ธุรกิจรับจ้างผลิตเติบโตอย่างโดดเด่น โดยในปี 2566 มีสัดส่วนรายได้สูงถึง 61% ของรายได้รวม ขณะที่ธุรกิจแบรนด์มีสัดส่วน 39% การเติบโตของธุรกิจรับจ้างผลิตช่วยสร้างรายได้ที่มั่นคงและสม่ำเสมอให้กับ MALEE โครงสร้างค่าใช้จ่าย: MALEE บริหารต้นทุนหลักสามด้าน ได้แก่ วัตถุดิบคุณภาพสูง การผลิต และการตลาด โดยมุ่งเน้นการจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่กับการรักษาคุณภาพ การลงทุนด้านการตลาดมุ่งเน้นการสร้างแบรนด์ในตลาดพรีเมียมและการขยายช่องทางจัดจำหน่ายเพื่อรองรับการเติบโตในระยะยาว กลยุทธ์การเติบโตของ MALEE การขยายธุรกิจรับจ้างผลิตเพื่อสร้าง New S-Curve: MALEE วางกลยุทธ์เชิงรุกในธุรกิจรับจ้างผลิต (Contract Manufacturing) ซึ่งปัจจุบันสร้างรายได้ถึง 61% ของรายได้รวม โดยใช้จุดแข็งด้านเทคโนโลยีการผลิตและมาตรฐานคุณภาพระดับสากลในการดึงดูดพันธมิตรแบรนด์ชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ กลยุทธ์นี้ไม่เพียงช่วยสร้างรายได้ที่มั่นคง แต่ยังช่วยกระจายความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้กำลังการผลิต การเสริมแกร่งผลิตภัณฑ์พรีเมียมเพื่อสุขภาพ: MALEE ต่อยอดความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมเครื่องดื่มในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เช่น น้ำผลไม้สกัดเย็น (Cold Pressed) เครื่องดื่มเสริมวิตามิน และผลิตภัณฑ์ลดน้ำตาล เพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพและมีกำลังซื้อสูง โดยมุ่งสร้างความแตกต่างผ่านคุณภาพวัตถุดิบและเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย การรุกตลาดต่างประเทศและช่องทางดิจิทัล: MALEE เร่งขยายฐานธุรกิจในตลาดเอเชียที่มีศักยภาพสูง โดยเฉพาะเวียดนามและฟิลิปปินส์ ผ่านการร่วมมือกับพันธมิตรท้องถิ่น พร้อมกับเพิ่มการลงทุนในช่องทาง e-commerce และการตลาดดิจิทัล เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่และรองรับพฤติกรรมการซื้อที่เปลี่ยนแปลงไป การผสมผสานกลยุทธ์ทั้งออฟไลน์และออนไลน์นี้ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับการเติบโตในระยะยาว ความเสี่ยงหลักของ MALEE การบริหารต้นทุนวัตถุดิบและคุณภาพการผลิต: MALEE เผชิญความท้าทายในการบริหารต้นทุนวัตถุดิบคุณภาพสูง โดยเฉพาะผลไม้สดและน้ำมะพร้าวที่ราคาผันผวนตามฤดูกาลและตลาดโลก จากรายงานประจำปี 2566 พบว่าความผันผวนนี้กดดันอัตรากำไรอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากบริษัทต้องรักษามาตรฐานคุณภาพระดับพรีเมียมเพื่อตอบโจทย์ทั้งลูกค้าแบรนด์ตนเองและลูกค้ารับจ้างผลิต การกระจายความเสี่ยงในตลาดต่างประเทศ: แม้การขยายธุรกิจในตลาดเอเชีย โดยเฉพาะเวียดนามและฟิลิปปินส์ จะสร้างโอกาสการเติบโต แต่ก็มาพร้อมความท้าทายหลายด้าน ทั้งกฎระเบียบท้องถิ่น ความผันผวนของค่าเงิน และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในภูมิภาค การพึ่งพารายได้จากตลาดเหล่านี้อาจส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเงินหากเกิดความผันผวนในตลาดนั้นๆ การปรับตัวตามพลวัตตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค: ตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมีการแข่งขันสูงและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วตามเทรนด์ผู้บริโภค โดยเฉพาะความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์สุขภาพมากขึ้น เช่น เครื่องดื่มไร้น้ำตาลและผลิตภัณฑ์ฟังก์ชันนอล MALEE จึงต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องในการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการปรับกลยุทธ์การตลาดให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันทั้งในธุรกิจแบรนด์และธุรกิจรับจ้างผลิต แม้อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่ TIPCO และ MALEE เลือกเส้นทางธุรกิจที่แตกต่างกัน           แม้จะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำผลไม้ไทย แต่ TIPCO และ MALEE กลับเลือกเส้นทางการเติบโตที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน MALEE มุ่งแสวงหาโอกาสใหม่ผ่านธุรกิจรับจ้างผลิต (Contract Manufacturing) จนสามารถสร้างรายได้สูงถึง 61% ของรายได้รวม สะท้อนความสำเร็จในการสร้าง New S-Curve ให้กับบริษัท ในขณะที่ TIPCO เลือกเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจหลัก พร้อมกับกระจายความเสี่ยงผ่านการร่วมทุน (Joint Venture) กับพันธมิตรในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงและช่วยรักษาระดับกำไรในระยะยาว กลยุทธ์ที่แตกต่างนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวและการมองหาโอกาสเติบโตที่เหมาะสมกับจุดแข็งของแต่ละบริษัท MALEE กับการเติบโตจากธุรกิจรับจ้างผลิต ขณะที่ TIPCO รักษาเสถียรภาพรายได้จากธุรกิจหลัก TIPCO รักษาระดับรายได้ให้คงที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับผลิตภัณฑ์หลักและรักษาส่วนแบ่งในตลาดในประเทศ แม้จะไม่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่กลยุทธ์นี้ช่วยให้บริษัทมีเสถียรภาพทางรายได้และได้รับผลตอบแทนที่มั่นคงจากการร่วมทุน ในทางตรงกันข้าม MALEE แสดงให้เห็นการเติบโตของรายได้อย่างโดดเด่นตั้งแต่ปี 2564 ด้วยการรุกธุรกิจรับจ้างผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์พรีเมียมเพื่อสุขภาพ การเติบโตนี้สะท้อนความสำเร็จในการปรับตัวรับกระแสสุขภาพและการใช้ประโยชน์จากกำลังการผลิตที่มีอยู่ ส่งผลให้รายได้จากธุรกิจรับจ้างผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจนกลายเป็นรายได้หลักของบริษัท (Source: MALEE and TIPCO 56-1 Document, Year 2021, 2022, 2023) TIPCO ได้แรงหนุนจากธุรกิจร่วมทุน ขณะที่ MALEE มุ่งขยายกำลังการผลิต MALEE สร้างการเติบโตของรายได้และกำไรขั้นต้นอย่างต่อเนื่อง ผ่านการขยายธุรกิจรับจ้างผลิตที่มีอัตรากำไรที่แน่นอน ประกอบกับการเน้นผลิตภัณฑ์พรีเมียมเพื่อสุขภาพที่มีอัตรากำไรสูง กลยุทธ์นี้ช่วยให้บริษัทสามารถสร้างการเติบโตของรายได้และรักษาระดับความสามารถในการทำกำไรได้อย่างมั่นคง ในขณะที่ TIPCO แม้จะมีรายได้ที่ทรงตัว แต่กลับมีกำไรสุทธิที่น่าสนใจจากการร่วมทุน (JV) ถึงแม้ผลประกอบการหลักจะแสดงผลขาดทุนจากการดำเนินงาน แต่รายได้จากการร่วมทุนกลับช่วยพลิกสถานการณ์ ส่งผลให้บริษัทยังคงรักษาผลกำไรสุทธิเชิงบวกได้อย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึงความสำเร็จของกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยงผ่านการร่วมทุน MALEE โดดเด่นด้วยอัตราหมุนเวียนสูง TIPCO มุ่งรักษาสมดุล MALEE โดดเด่นด้วยอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 4.78 เท่าในปี 2564 เป็น 8.44 เท่าในปี 2566 สะท้อนถึงความสำเร็จในการบริหารสินค้าคงคลังที่สอดคล้องกับการเติบโตของธุรกิจรับจ้างผลิต ซึ่งต้องการการจัดการวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่รวดเร็วและแม่นยำ ในทางกลับกัน TIPCO รักษาอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังที่ระดับ 3.18-3.56 เท่า สะท้อนถึงกลยุทธ์การบริหารสต็อกที่มุ่งเน้นความสมดุลระหว่างการรักษาระดับสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในประเทศ และการควบคุมต้นทุนการจัดเก็บ แนวทางนี้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจที่เน้นความมั่นคงและการรักษาส่วนแบ่งตลาดในประเทศเป็นหลัก หุ้น TIPCO หรือ MALEE : ตัวไหนน่าลงทุนกว่า           ในการเปรียบเทียบศักยภาพการลงทุนระหว่าง TIPCO และ MALEE พบว่าแต่ละบริษัทมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เหมาะสมกับนักลงทุนที่มีเป้าหมายและความต้องการที่ไม่เหมือนกัน           สำหรับ นักลงทุนที่มองหาการเติบโตระยะยาว MALEE นำเสนอโอกาสที่น่าสนใจด้วยกลยุทธ์ที่ชัดเจน บริษัทแสดงให้เห็นการเติบโตของรายได้อย่างต่อเนื่องผ่านการขยายธุรกิจรับจ้างผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์พรีเมียมเพื่อสุขภาพ ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการยังสะท้อนผ่านอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 4.78 เท่าในปี 2564 เป็น 8.44 เท่าในปี 2566 แม้ว่าปัจจุบัน MALEE จะยังไม่มีการจ่ายเงินปันผล แต่การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องอาจนำมาซึ่งผลตอบแทนที่สูงขึ้นในอนาคต จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่พร้อมถือระยะยาวเพื่อรอการเติบโตของมูลค่ากิจการ อัตราส่วน P/E ของ MALEE แสดงให้เห็นถึงเสถียรภาพในการเติบโตระยะยาว โดยรักษาระดับ P/E ที่สม่ำเสมอและน่าสนใจเมื่อเทียบกับ TIPCO ปัจจัยสนับสนุนมาจากความสำเร็จในการดำเนินกลยุทธ์สองด้านหลัก คือ การขยายธุรกิจรับจ้างผลิตที่สร้างรายได้มั่นคง และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ตอบโจทย์เทรนด์ตลาด ส่งผลให้ MALEE เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่มองหาการเติบโตอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ           ในทางกลับกัน นักลงทุนที่เน้นรายได้ประจำ อาจพิจารณา TIPCO เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ด้วยนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่สม่ำเสมอและอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่สูงถึง 7.6% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมอย่างมีนัยสำคัญ แม้อัตราส่วน P/E จะมีความผันผวนอันเนื่องมาจากผลกระทบของธุรกิจร่วมทุน (JV) ต่อกำไรจากการดำเนินงาน แต่กลยุทธ์การร่วมทุนนี้กลับช่วยรักษาระดับกำไรสุทธิให้เป็นบวกและสร้างกระแสเงินสดที่มั่นคง ส่งผลให้ TIPCO สามารถรักษาระดับการจ่ายเงินปันผลได้อย่างต่อเนื่อง จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการรายได้ประจำมากกว่าการเติบโตของราคาหุ้น TIPCO นำเสนออัตราเงินปันผลที่สูงกว่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมอาหารที่ 7.6% ซึ่งสูงกว่ากลุ่มตลาดส่วนใหญ่ ทำให้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่มองหารายได้ที่มั่นคงจากเงินปันผล การมุ่งเน้นไปที่การสร้างกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอช่วยให้ TIPCO สามารถรักษาอัตราการจ่ายปันผลสูงได้ในขณะที่ยังตอบสนองความต้องการของนักลงทุนด้านรายได้           สรุปแล้ว การเลือกลงทุนระหว่าง TIPCO และ MALEE ขึ้นอยู่กับเป้าหมายการลงทุนที่แตกต่างกัน โดย MALEE นำเสนอโอกาสการเติบโตผ่านกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่นในการขยายธุรกิจรับจ้างผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ สะท้อนผ่านการเติบโตของรายได้อย่างต่อเนื่องและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่สูงขึ้น จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการโอกาสการเติบโตระยะยาว ในขณะที่ TIPCO โดดเด่นด้วยความมั่นคงและการจ่ายเงินปันผลที่สม่ำเสมอที่ 7.6% ด้วยกลยุทธ์การร่วมทุนที่ช่วยสร้างกระแสเงินสดที่มั่นคง จึงเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการรายได้ประจำและความมั่นคงในระยะยาว รายละเอียดเพิ่มเติม https://bit.ly/IAS_juice_081124

MALEE กลับมาทวงบัลลังก์น้ำผลไม้ ราคาพื้นฐาน 17.7 บาท

MALEE กลับมาทวงบัลลังก์น้ำผลไม้ ราคาพื้นฐาน 17.7 บาท

          หุ้นวิชั่น - บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ออกบทวิเคราะห์ ระบุถึง บริษัท มาลีกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MALEE ว่า ประเมินมูลค่าพื้นฐานของ MALEE ในปี 2568 ที่ 17.7บาท/หุ้นด้วย วิธีPE 24เท่า ใกล้เคียงกลุ่มและเทียบเท่า PEG1.2 เท่า ของการเติบโตเฉลี่ย 3ปี ข้างหน้า 21% ต่อปี มี discount จากกลุ่มที่ PEG เฉลี่ย 1.5 เท่าและเติบโต 15% ต่อปี.           โดย MALEE มีความน่าสนใจจาก 1)เป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มสินค้าสุขภาพสูงที่กำลัง Turnaorund หลังควบรวมกับ ABICO ช่วยลดต้นทุนและลดความผันผวนของธุรกิจ 2) อุตสาหกรรมน้ำผลไม้กลับมาเติบโต และ MALEE มี Marketshare ขึ้นเป็นอันดับ 1 3) MALEE มีแบรนด์น้ำมะพร้าว ที่เป็นสินค้าเด่นไทย จะมีโอกาสสูง 4) Upside ใหม่ๆ ได้แก่ การสินค้าน มะพร้าวใหม่ และออเดอร์ OEM ใหญ่ 2 รายเริ่ม Q2/25 โดยรวม Upside ดังกล่าวในประมาณการแล้ว           MALEE เป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มที่มีสินค้าสุขภาพสูงถึง 94% ของรายได้รวมสูงสุดในกลุ่มฯ (นม42%. น้้ำผลไม้ 25%, น้ำมะพร้าว 21%, ผลไม้กระป๋อง 6%) ที่มีทั้งสินค้าแบรนด์บริษัท (38%) และ OEM (62%) และรายได้ไทย/ต่างประเทศ60%/40% โดยธุรกิจจะ Turnaorund กลับสู่รอบที่ดีหลังปรับโครงสร้างองค์กรควบรวมกับ ABICO (ผลิตภัณฑ์หลักคือนม) เสร็จใน Q4/65 ทำให้ภาพธุรกิจลดความผันผวนหลังได้ Product champion เพิ่มกลุ่มนมจากเดิมมีน้ำผลไม้ + น้ำมะพร้าว และรายได้สม่ำเสมอกว่าและ Net Margin ใกล้เคียงกันขณะที่่ธุรกิจมีการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ทั้งปรับเปลี่ยนผู้บริหารเด่นการตลาด, ปรับลดบุคลากร+การท างานภายใน,จัดซื้อร่วมและลดสินค้าSlow moving ไปราว 20% ของทั้งหมดมาเน้นกลุ่มขายดีโดยการโตจากนี้จะเน้นทั้งแบรนด์และ OEM ทั้งไทยและต่างประเทศ น้ำมะพร้าว (21% ของรายได้) เป็น New S Curve มีจุดเด่นเป็นสินค้ามีชื่อของไทยและ MALEE มีแบรนด์น้ำมะพร้าวเป็นของตนเอง (Market share อันดับ2ที่36%) จะมีศักยภาพสูงในต่างประเทศซึ่งสินค้าล่าสุด (Malee coco Liposos) ขาย 7-11 มีผลตอบรับดี รวมถึงน้ำมะพร้าวเป็นโอกาสต่อตลาดต่างประเทศที่เติบโตเร็ว +116% และ +60% ใน 2566 และ 8 เดือน 2567 ตามลำดับ ทั้งรูปแบบแบรนด์และ OEM ที่่บริษัทจะเจาะตลาดมากขึ้นโดยเน้นในประเทศที่บริษัททำการตลาดอยู่ก่อนแล้ว(จีน,เกาหลี, สหรัฐ,อินโด) ทั้งนี้ MALEE เป็นผู้มียอดส่งออกน้ำมะพร้าวในจีน/เกาหลี/สหรัฐ อันดับ 3/1/2 จากไทย

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน