ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#LEO


LEO ตั้ง “บ.ลีโอ จี๋ทู่ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี” รุก EV Bike ผ่าน App

LEO ตั้ง “บ.ลีโอ จี๋ทู่ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี” รุก EV Bike ผ่าน App

          บมจ.ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ (LEO) ไฟแรง! ส่งบริษัทย่อย ลีโอ ซอร์สซิ่ง ซัพพลายเซน (LSSC) ผนึกกำลัง Yunnan Xiaomaolv Information Technology เปิดบริษัทใหม่ “ลีโอ จี๋ทู่ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี” ลุยให้บริการให้เช่า-จำหน่าย Power Bank โทรศัพท์มือถือ / รถจักรยานไฟฟ้า ผ่าน Application รวมถึงบริการเทคโนโลยีสื่อสารและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ คาดจะเริ่มดำเนินงานได้ภายในไตรมาส 2/68 ฟาก “เกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์” มั่นใจสามารถต่อยอดธุรกิจ Non Freight ที่จะช่วยส่งเสริมให้ทำรายได้สูงขึ้นตามแผนงานที่วางไว้           นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (LEO)  เปิดเผยว่าบริษัทฯ ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านการลงทุน (Investment Cooperation Agreement) ระหว่าง บริษัท ลีโอ ชอร์สซิ่ง แอนด์ ซัพพลายเชน จำกัด (LSSC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ LEO กับ Yunnan Xiaomaolv Information Technology Co., Ltd. จัดตั้งบริษัทร่วมทุน ภายใต้ชื่อ บริษัท ลีโอ จี๋ทู่ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท โดย LSSC ลงทุน 2,550,000 บาท คิดเป็นสัดส่วน 51% ส่วน Yunnan Xiaomaolv Information Technology Co., Ltd. ลงทุน 2,450,000 บาท คิดเป็นสัดส่วน 49% เพื่อประกอบธุรกิจให้เช่า และจำหน่าย Power Bank โทรศัพท์มือถือ / รถจักรยานไฟฟ้า ให้บริการโซลูชั่นแก่ลูกค้าผ่าน Application คาดว่าจะ           สามารถจะเริ่มดำเนินงานได้ภายในไตรมาส 2/ 2568 โดยการลงนามในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายเหอ เจี่ยน ประธานกรรมการ และ นายพัน ไป๋หลิ่ง กรรมการผู้จัดการ Yunnan Xiaomaolv Information Technology Co., Ltd. ร่วมลงนาม           สำหรับความร่วมมือทางธุรกิจ ระหว่าง LEO และ Yunnan Xiaomaolv ในครั้งนี้ ถือเป็นอีกก้าวที่สำคัญของทั้งสองฝ่ายที่จะเพิ่มความแข็งแกร่งทางด้านการให้บริการในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบัน Yunnan Xiaomaolv เป็นบริษัทชั้นนำในประเทศจีน ดำเนินธุรกิจให้เช่าจักรยานไฟฟ้า (EV Bike) ผ่านแอปพลิเคชั่น   มีจักรยานไฟฟ้าให้บริการเช่า รวมทั้งสิ้น 80,000 คันในเมืองทางตอนใต้ของประเทศจีน 28 แห่ง เช่น มณฑลเจ้อเจียง หูหนาน กวางโจว ฝูเจี้ยน ยูนนาน กวางสี อีกทั้งบริษัทฯ ยังมีทีมพัฒนาเทคนิคระดับแนวหน้า  ด้วยจุดแข็งที่มีความสามารถด้านการพัฒนาระบบนวัตกรรมนี้ ทางบริษัทฯ สามารถนำมาขยายการให้บริการให้เช่า Power Bank  ต่อในประเทศไทย คาดว่าจะตอบโจทย์ให้ลูกค้าชาวไทย และนักท่องเที่ยวต่างชาติ หมดกังวลเรื่องแบตเตอรี่มือถือหมดอีกต่อไป           “LEO มั่นใจว่าความร่วมมือระหว่าง LSSC กับ Yunnan Xiaomaolv  ในธุรกิจให้เช่าแบตเตอรี่สำรองหรือ Power Bank สำหรับโทรศัพท์มือถือในครั้งนี้ จะเป็นการเปิดตลาดธุรกิจใหม่ที่เป็น Sharing Economy  โดยเฉพาะลูกค้าเป้าหมายหลักของบริษัทฯ ที่เป็นกลุ่ม Millennials และ Generation Z ซึ่งมีการใช้งานสมาร์ทโฟนสูง และสนใจใช้ผลิตภัณฑ์ Sharing Economy  เนื่องจากพวกเขามีการใช้งานสมาร์ทโฟนมาก และยินดีที่จะจ่ายค่าบริการเช่า power bank รวมทั้งลูกค้าหลักอีกกลุ่ม จะเป็นนักท่องเที่ยวจีน ญี่ปุ่น และฮ่องกง ที่คุ้นเคยกับ Sharing Economy ของ Power Bank เป็นอย่างดี” นายเกตติวิทย์ กล่าว           สำหรับแนวโน้มตลาด และโมเดลความสำเร็จของธุรกิจให้เช่า Power Bank ตามผลวิจัยจาก xResearch ตลาดเช่า power bank ทั่วโลก คาดว่าจะมีมูลค่า 9,378.5 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปีพ.ศ. 2073 โดยอุตสาหกรรม Power Bank Rental (PBR) นี้ ประกอบด้วยบริษัทที่ให้บริการเช่าหรือให้ยืม power bank ในระยะเวลาต่างๆ เช่น รายชั่วโมง, รายวัน หรือแบบเช่าเพื่อเป็นเจ้าของ   จำนวนบริษัท PBR  เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงความสนใจของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2560 และคาดว่าจะขยายตัวมากกว่า 600 ล้านคน ในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยได้รับแรงสนับสนุนหลักจากกลุ่ม Millennials ที่เป็นกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี ปี พ.ศ. 2523 – 2539 และ Generation Z  ที่เป็นประชากรที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2540 – 2552  ซึ่งมีความสนใจในการใช้ผลิตภัณฑ์ Sharing Economy แทนการเป็นเจ้าของ ธุรกิจนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในตลาด Sharing Economy  ประกอบกับการนำเทคโนโลยี           สมาร์ทโฟนใหม่ๆ เช่น 5G และการใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ความต้องการใช้บริการเช่า power bank เพิ่มขึ้นด้วย           สำหรับในประเทศไทย จำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาส 3 ปี 2567  จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ  พบว่า ประชาชนอายุ 6 ปี ขึ้นไปทั่วประเทศ มีประมาณ 66.0 ล้านคน เป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 59.2 ล้านคน (89.7%) และเป็นผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 62.9 ล้านคน (95.2%) มีระยะเวลาการท่องโซเชียลสูงเป็นอันดับต้นๆ  ทางบริษัทฯ เชื่อว่าคนไทยหลายคนอาจพบปัญหาเกี่ยวกับแบตเตอรีไม่เพียงพอและไม่ต้องการพกพาอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติม           ทั้งนี้ บริษัท ลีโอ จี๋ทู่ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด จะเริ่มธุรกิจจากให้บริการเช่ายืม power bank โดยจัดทำเป็นตู้เช่า คิดค่าบริการรายชั่วโมง เมื่อใช้เสร็จสามารถนำมาคืนที่จุดบริการไหนก็ได้ ตอบโจทย์ผู้ใช้ที่ไม่สะดวกพกพาพาวเวอร์แบงค์ตลอดเวลา หรือไม่ต้องใช้เวลานานๆ ตามจุดบริการปลั๊กไฟสาธารณะที่ค่อนข้างหายาก ให้สามารถเช่าและชาร์จแบตโทรศัพท์ได้ทันที และสามารถพกพาไปกับการเดินทางได้ตลอดเวลา หมดกังวลแบตโทรศัพท์มือถือหมดระหว่างวัน  โดยจะเปิดให้บริการด้วยสถานีเช่า power bank จำนวน 3,000 แห่งในกรุงเทพฯ ภายในไตรมาส 2 ของปี 2568 และมีแผนที่จะขยายไปถึง 10,000 แห่งภายในปลายปี 2568 โดยมีเป้าหมายที่จะขยายถึง 25,000 สถานีในปี 2569  และจะสามารถสร้างรายได้กว่าปีละ 100 ล้านบาท ภายในปี 2569           “ข้อได้เปรียบที่เรามี คือแอปพลิเคชันที่ใช้งานง่าย ( User Friendly) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ของเราสามารถเช่า power bank ในสถานที่หนึ่งและคืนในอีกสถานที่หนึ่งได้ทั่วประเทศไทย ทำให้การเดินทางสะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องพกพา power bank ส่วนตัว  รวมถึงบริการให้เช่ารถจักรยานไฟฟ้าหรือ EV Bike  ซึ่งเป็นแผนงานที่ทางบริษัทฯ จะให้บริการในอนาคต    ในประเทศไทยมีโอกาสที่จะเติบโตสูง โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่มีปัญหาจราจรและมลพิษสูง การที่ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับการเดินทางที่สะดวก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจ” นายเกตติวิทย์ กล่าว [PR News]

LEO ขนส่งโค้งแรกสดใส เปิดกรุรับทรัพย์เต็มสูบ

LEO ขนส่งโค้งแรกสดใส เปิดกรุรับทรัพย์เต็มสูบ

           หุ้นวิชั่น - LEO ส่งซิกขนส่งโค้งแรกสดใส จับตาช่วงพีคไตรมาส 2-3 ด้านบอสใหญ่ "เกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์" ฉายภาพอุตสาหกรรมปี 68 เป็นบวก ใส่เกียร์ดันรายได้โตต่อ พร้อมรักษา Gross Profit Margin ในระดับ 20% เปิดกรุรับทรัพย์ผลการลงทุนเต็มปี ผู้ถือหุ้นเฮ! บอร์ดใจดีอนุมัติจ่ายเงินปันผลปี 67 อัตรา 0.14 บาท เล็ง XD  13 มี.ค.68 พร้อมโอน 14 พ.ค.นี้            นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LEO เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจขนส่งในเดือนมกราคมที่ผ่านมาเป็นไปตามแผนของบริษัท โดยปกติแล้ว ไตรมาสแรกของปีมักไม่ใช่ช่วงพีคของการนำเข้าและส่งออก ซึ่งจะเร่งตัวขึ้นในไตรมาสที่ 2-3 อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดว่าผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2568 จะเป็นไปตามเป้าหมาย และมีโอกาสเติบโตเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน            สำหรับภาพรวมทั้งปี 2568 บริษัทมีมุมมองเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมขนส่ง และยังคงตั้งเป้ารายได้เติบโตต่อเนื่อง พร้อมรักษาอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ในระดับ 20% ขณะที่อัตรการกำไรสุทธิ (Net Profir Margin) ให้อยู่ที่ระดับ 8% จากปี 2567 อยู่ที่ระดับใกล้เคียง 2% เพื่อสร้างผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ถือหุ้น            ขณะเดียวกัน เชื่อว่าสถานการณ์ในปี 2568 จะดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2567 เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่าย One-time หรือการตั้งสำรองหนี้สูญเพิ่มเติม หลังจากที่บริษัทได้ดำเนินการตั้งสำรองสำหรับลูกค้าที่มีปัญหา และยกเลิกการดำเนินธุรกิจในเมียนมาไปแล้ว ส่งผลให้มีการรับรู้การตั้งสำรองดังกล่าวไปแล้วในไตรมาส 4 ของปีที่ผ่านมา            สำหรับการขนส่งทางราง คาดว่าจะเห็นตัวเลขการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจนมากขึ้น โดยในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตอยู่ในระดับที่ดี อย่างไรก็ตาม ในปี 2568 บริษัทไม่มีแผนลงทุนขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้ใช้เงินจากการระดมทุนจากการเสนอขายหุ้น IPO ไปกับการขยายธุรกิจ Self-Storage และ Wine Storage สาขาที่ 3 บนถนนพระราม 4 โดยในปีนี้ บริษัทจะมุ่งเน้นการสร้างรายได้จากการลงทุนที่ผ่านมาให้เกิดความคุ้มค่า            สำหรับการลงทุนผ่านการควบรวมกิจการ (M&A) บริษัทมีแนวทางชัดเจนว่าจะลงทุนในธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นจากศูนย์เหมือนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ บริษัทไม่ได้ปิดกั้นโอกาสในการทำ M&A และยอมรับว่า ที่ผ่านมาได้มีการเจรจาดีลหลายครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากธุรกิจที่มีการเจรจาได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก ทำให้ผลประกอบการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย            ดังนั้น ในปี 2568 บริษัทจึงยังไม่มีแผนลงทุนขนาดใหญ่ และไม่มีแผนเพิ่มทุน เนื่องจากยังมีเงินสดเพียงพอสำหรับการดำเนินงาน หากมีความจำเป็นต้องลงทุนในธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่สูง นอกจากนี้ บริษัทยังมีเงินสนับสนุนจากสถาบันการเงินที่สามารถนำมาใช้ได้หากมีความจำเป็น            สำหรับภาพรวมผลการดำเนินงวดปี 2567 (สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2567) บริษัทฯ มีรายได้รวม จำนวน1,632.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 259.6 ล้านบาท คิดเป็น19% เมื่อเทียบกับปีก่อน และมีกำไรสุทธิของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ (งบการเงินรวม) อยู่ที่ จำนวน 47.6  ล้านบาท ในขณะที่กำไรสุทธิของบริษัทใหญ่อยู่ที่ 83.4 ล้านบาท            พร้อมกันนี้ ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ได้มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลของปี 2567 ให้กับผู้ถือหุ้นเป็นเงินสดในอัตรา 0.14 บาท/หุ้น เป็นจำนวนเงินรวม 44.1 ล้านบาท จากกำไรสุทธิของบริษัทใหญ่ที่ 83.4  ล้านบาท และกำหนดขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 13 มีนาคม 2568 และกำหนดจ่ายเงินปันผลวันที่ 14 พฤษภาคม 2568 รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

LEO บอร์ดใจดีเคาะปันผลปี 67 อัตรา 0.14 บ./หุ้น ลุยยุทธศาสตร์ “LEO Go Green”

LEO บอร์ดใจดีเคาะปันผลปี 67 อัตรา 0.14 บ./หุ้น ลุยยุทธศาสตร์ “LEO Go Green”

            บมจ.ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ (LEO) มีเฮ! บอร์ดใจดีอนุมัติจ่ายเงินปันผลปี 2567 อัตราหุ้นละ 0.14 บาท ขึ้น XD วันที่ 13 มี.ค.68 กำหนดจ่ายวันที่ 14 พ.ค.68 ล่าสุดเปิดงบปี 67 โชว์รายได้แตะ 1,632.5 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 19%  กำไรสุทธิของบริษัทใหญ่ที่ 83.4 ล้านบาท ฟากซีอีโอ "เกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์" ระบุแผนปี 68 ลุยยุทธศาสตร์ “LEO Go Green” สร้างการเติบโตของอัตรากำไรขั้นต้น ดันผลงานเติบโต 20-25%             นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LEO เปิดเผยว่า ภาพรวมผลการดำเนินงวดปี 2567 (สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2567) บริษัทฯ มีรายได้รวม จำนวน1,632.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 259.6 ล้านบาท คิดเป็น19% เมื่อเทียบกับปีก่อน และมีกำไรสุทธิของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ (งบการเงินรวม) อยู่ที่ จำนวน 47.6  ล้านบาท ในขณะที่กำไรสุทธิของบริษัทใหญ่อยู่ที่ 83.4 ล้านบาท             “ผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา บริษัทได้รักษาความสามารถในการทำผลงานให้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ทั้งนี้บริษัทได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำทั่วโลกของปี 2567  จึงทำให้ผลประกอบการของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่ LEO ไปร่วมลงทุนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และหลายบริษัทยังอยู่ในสภาวะการขาดทุน จึงทำให้ผลประกอบการของบริษัทฯที่แสดงในงบการเงินรวมต้องรับรู้ผลการขาดทุนจากบริษัทย่อยและบริษัทร่วม และทำให้กำไรสุทธิในส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ลดลง” นายเกตติวิทย์ กล่าว             ขณะที่ผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 4/2567 บริษัทฯ มีรายได้รวม 398.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2566 และมีกำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่อยู่ที่ 13.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% จากไตรมาส 3/2567 และถือเป็นไตรมาสที่มีกำไรสูงสุดของปี 2567  บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นไนไตรมาส 4/2567 จำนวน 121.0 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับไตรมาส 3/2567 และไตรมาส 4/2566  เมื่อเปรียบเทียบปี 12M/2567 กับปี 12M/2566 กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น 14.3 ล้านบาท คิดเป็น3% และ มีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่30% ในไตรมาส 4/2567 เมื่อเปรียบเทียบกับ 24% ในไตรมาส 3/2567             อนึ่งในปี 2567 บริษัทฯ มีการรับรู้รายได้จากหน่วยธุรกิจใหม่ๆ เช่น  การขนส่งสินค้าทางรางภายในประเทศภายใต้บริษัท Sritrang LEO Multimodal Logistics ซึ่งมีรายได้ในปี 2567 ประมาณ 140 ล้านบาท และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2568 ได้มากกว่า 70% การขนส่งทางรางไปยังประเทศจีน-ลาว ของบริษัท LaneXang Express มีการเติบโตของรายได้ถึงประมาณ 5 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2566 และการส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีนของบริษัท LEO Sourcing & Supply Chain ที่มีการเติบโตของรายได้มากกว่าปี 2566 ถึงเกือบ140% โดยเฉพาะการส่งออกทุเรียนที่มีการส่งออกมากขึ้นในช่วงปลายปี 2567 นอกจากนั้นธุรกิจใหม่อื่นๆ ได้แก่ โครงการ Self-Storage และ Wine Storage สาขาที่ 3 ที่ถนนพระราม 4 ที่บริษัทฯ ได้เริ่มรับรู้รายได้ และ การให้บริการการจัดการโลจิสติกส์และกระจายสินค้า ของบริษัท Advantis LEO ที่มีการเพิ่มขึ้นของรายได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเพิ่มของรายได้จากกลุ่มธุรกิจใหม่นี้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทในการเพิ่มรายได้จากธุรกิจ Non-Freight และ Non-Logistics และบริษัทฯ เชื่อมั่นว่าธุรกิจใหม่ๆเหล่านี้จะสร้างการเติบโตของกำไรขั้นต้นและผลประกอบการของบริษัทให้เติบโตอย่างต่อเนื่องให้เติบโตอย่างต่อเนื่องใน 1-2 ปีข้างหน้า             บริษัทฯ ยังมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการบริหารจัดการบริษัทให้เป็นไปตามแผน ชูกลยุทธ์ “LEO Go Green” ยกระดับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจรอย่างความยั่งยืน พร้อมต่อยอดธุรกิจ Non-freight และ Non-Logistics สร้างรายได้เพิ่มจากการบริการจัดการด้าน Warehouse / Distribution Center ดันผลงานปี 2568 ให้มีการเติบโต 20-25% และมีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจ Non-Freight และ Non-Logistics เพิ่มขึ้นมาเป็นอย่างน้อย 30-35% ของภาพรายได้รวม และทำให้อัตราการทำกำไรขั้นต้นของบริษัทสูงขึ้น             พร้อมกันนี้ ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ได้มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลของปี 2567 ให้กับผู้ถือหุ้นเป็นเงินสดในอัตรา 0.14 บาท/หุ้น เป็นจำนวนเงินรวม 44.1 ล้านบาท จากกำไรสุทธิของบริษัทใหญ่ที่ 83.4  ล้านบาท และกำหนดขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 13 มีนาคม 2568 และกำหนดจ่ายเงินปันผลวันที่ 14 พฤษภาคม 2568 [PR News]

LEO ตั้งบ.ร่วมทุน

LEO ตั้งบ.ร่วมทุน "ลีโอ จี๋ทู อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี" ขายสินค้าผ่านแอพฯ

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ประธานเจ้าหนี้ที่บริหาร บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LEO แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า ที่ประชุมคณะผู้บริหาร (Executive Committee) ครั้งที่ 2/2568 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 มีมติอนุมัติให้บริษัท ลีโอ ซอร์สซิ่ง แอนด์ ซัพพลายเชน จำกัด (LSSC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท เข้าร่วมลงทุนกับ Yunnan Xiaomaolv Information Technology Co., Ltd. โดยตั้งบริษัทจัดร่วมทุนภายใต้ชื่อ บริษัท ลีโอ จี๋ทู อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจนำเข้า ให้เช่า และจำหน่าย Power Bank / จักรยานไฟฟ้า ผ่าน Application บริการโฆษณาผ่านอุปกรณ์มือถือ หรือ Application บริการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ตลาด บริการเทคโนโลยีสื่อสาร และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท           โดยบริษัท ลีโอ ซอร์สซิ่ง แอนด์ ซัพพลายเชน จำกัด ลงทุน 2,550,000 บาท คิดเป็น 51% และ Yunnan Xiaomaolv Information Technology Co., Ltd. ลงทุน 2,450,000 บาท คิดเป็น 49% คาดว่าจะดำเนินการจัดตั้งแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2568

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

[Vision Exclusive] บิ๊ก

[Vision Exclusive] บิ๊ก "LEO" เก็บหุ้นเข้าพอร์ต-ขนส่งคึกคัก

          หุ้นวิชั่น - LEO ขนส่งคึกคัก วอลุ่มโลจิสติกส์ส่งออกแน่น ด้านผู้บริหาร "เกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์" โชว์พอร์ต ซื้อหุ้นรวม 1 แสนหุ้น คิดเป็นเงิน  292,000 บาท           นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LEO เปิดเผยกับทีมข่าวหุ้นวิชั่นว่า แนวโน้มธุรกิจโลจิสติกส์ยังคงมีทิศทางที่ดี แม้หลายประเทศจะมีความกังวลเกี่ยวกับการขึ้นรับตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้ออเดอร์การขนส่งลดลง แต่จากการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง พบว่าแม้ทรัมป์จะขึ้นรับตำแหน่งและประกาศการขึ้นภาษี 25% กับแคนาดาและแม็กซิโก แต่ปริมาณการขนส่งจากผู้ประกอบการในช่วงที่ผ่านมา กลับมีอวลุ่มการขนส่งที่เพิ่มขึ้น           อย่างไรก็ตามเชื่อว่า การย้ายฐานการผลิตอาจปรับตำแหน่งจากแคนาดา แม็กซิโก และจีน มาที่ไทย อินโดนีเซีย และอินเดีย ซึ่งจะเป็นโอกาสในการเติบโตของธุรกิจโลจิสติกส์ในภูมิภาคเอเชีย           ดังนั้นฐานลูกค้าส่งออกของบริษัทไปยังสหรัฐฯ ยังคงมีปริมาณการขนส่งที่แข็งแกร่ง ไม่ลดลงจากเดิม จึงมั่นใจว่าธุรกิจโลจิสติกส์ของ LEO จะสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันและเติบโตต่อเนื่อง อีกทั้งหากสถานการณ์สงครามในต่างประเทศยุติลงอย่างสมบูรณ์ จะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคและเสริมสร้างบรรยากาศเศรษฐกิจให้ดีขึ้น           นายเกตติวิทย์ กล่าวต่อว่า สำหรับการเข้าซื้อหุ้น LEO ในช่วงที่ผ่านมา เป็นการซื้อจากผู้ถือหุ้นเดิม           ขณะที่การเข้าซื้อหุ้นของ LEO ตามการรายงานของ กลต. วันที่ 30 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา พบว่า นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ เข้าซื้อหุ้นรวม 100,000 หุ้น ที่ราคา 2.78 บาท และ 3.06 บาท โดยเข้าซื้อในวันที่ 26 ธันวาคม 2567 , 30 ธันวาคม 2567 , 1 มกราคม 2568 และวันที่ 27 มกราคม 2568 คิดเป็นมูลค่ารวม 290,000 บาท รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

LEO ผู้บริหารผนึกกำลัง เก็บหุ้นเข้าพอร์ต 8.46 ล้านหุ้น คิดเป็น 2.65%

LEO ผู้บริหารผนึกกำลัง เก็บหุ้นเข้าพอร์ต 8.46 ล้านหุ้น คิดเป็น 2.65%

          หุ้นวิชั่น - ผู้บริหาร LEO นำโดย ”เกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วยคณะกรรมการบริษัทฯ ผนึกกำลังซื้อหุ้นเข้าพอร์ตรวมกว่า 8.46 ล้านหุ้นหรือคิดเป็น 2.65% จากผู้ถือหุ้นใหญ่รายหนึ่งของบริษัท ตอกย้ำความเชื่อมั่นในศักยภาพธุรกิจ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และผู้ถือหุ้น สะท้อนถึงความตั้งใจจริงในการบริหารงาน เดินหน้าผลักดันการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน           บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (LEO) รายงานว่า จากรายงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2568 ระบุว่า บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (LEO) ขอแจ้งการซื้อขายหุ้นของ LEO ตามที่ได้ปรากฏในรายการซื้อขายหุ้น LEO ผ่านระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์บนกระดานรายใหญ่ (Big Lot Board) จำนวนรวม 8,469,700 หุ้น หรือคิดเป็น 2.65% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ LEO โดยรายการดังกล่าวเกิดจากการขายหุ้นโดยนายวิเศษ สิทธิสุนทรวงศ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ LEO (ที่ไม่ได้เป็นคณะกรรมการ)           ทั้งนี้ LEO ได้รับแจ้งจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ LEO ว่า การขายหุ้นใน LEO ครั้งนี้ เป็นการเสนอขายให้กับกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมที่เป็นผู้เริ่มก่อตั้งบริษัท​และปัจจุบันเป็นคณะกรรมการและผู้บริหารของบริษัท​  และกลุ่มคณะกรรมการของบริษัทท่านอื่นๆ​ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมที่เป็นผู้เริ่มก่อตั้งบริษัท​และเป็นคณะกรรมการและผู้บริหารของบริษัท 1.1 นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ จำนวน 1,269,700 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 0.40 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด 1.2​ นางสาวศรีไพร เอกวิจิตร์ จำนวน 1,000, 000​ หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 0.31 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และนายเมธา เอกวิจิตร์  (พี่ชาย​ของ​ นางสาวศรีไพร เอกวิจิตร์)  จำนวน 1,0000,0000 หุ้นหรือคิดเป็นร้อยละ 0.31 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด 2.กลุ่มคณะกรรมการของบริษัท 2.1 นายเสนีย์ แดงวัง จำนวน 1,000,000 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 0.31 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด 2.2 นายธีระชัย เชมนะสิริ จำนวน 2,200,000 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 0.69 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด 2.3. นายอภิชาต ลี้อิสสระนุกูล จำนวน 2,000,000 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 0.62 ของทันที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด           โดยรายการดังกล่าวเป็นการตกลงระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อตามราคาปิดของหุ้นในวันที่ 23 มกราคม 2568 และมีส่วนลดเล็กน้อยสำหรับการซื้อบนกระดานรายใหญ่ (Big Lot Board) โดยมีวัตถุประสงค์ในการช่วยแก้ไขปัญหาและทำให้หุ้นไม่ได้ถูกบังคับขายในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่เหมาะสม และยังเป็นความประสงค์ของผู้ถือหุ้นเดิมที่เป็นผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทซึ่งต้องการรักษาสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมไว้ อีกทั้งยังการเป็นการรักษาเสถียรถาพของราคาหุ้น  เนื่องจากคณะกรรมการของบริษัทต้องการถือหุ้นและลงทุนในบริษัทในระยะยาว ซึ่งจะดีกว่าการที่หุ้นจะถูกบังคับขายในตลาดและอาจตกไปอยู่กับนักลงทุนที่ไม่ได้ต้องการลงทุนบริษัทในระยะยาว           อย่างไรก็ตาม การขายหุ้นของ LEO ในครั้งนี้ ไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างการจัดการและนโยบายการดำเนินธุรกิจของ LEO แต่อย่างใด  อีกทั้ง บริษัทฯ มีจุดแข็งจากความสามารถในการปรับตัวตามแนวโน้มตลาดและความต้องการของผู้บริโภค และให้ความสำคัญกับกิจกรรมและบริการโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน เพื่อตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ด้านสิ่งแวดล้อมของ LEO ภายใต้คอนเซ็ปต์ “LEO Go Green” สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ LEO ในฐานะผู้นำด้านการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์อย่างแท้จริง           “ในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นใหญ่ของ LEO ผมยืนยันว่ายังมีความเชื่อมั่นในศักยภาพและความมั่นคงของบริษัทฯ และที่ผ่านมาการดำเนินธุรกิจของ LEO ได้รับการยอมรับในฐานะผู้ให้บริการขนส่งโลจิสติกส์ครบวงจรชั้นนำของเมืองไทย มีการเติบโตที่แข็งแกร่ง การขยายธุรกิจร่วมกับพันธมิตรชั้นนำช่วยเสริมสร้างรากฐานที่มั่นคง และแสดงถึงความพร้อมของบริษัทฯ ในการสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่นักลงทุนในระยะยาว” นายเกตติวิทย์ กล่าวทิ้งท้าย [PR News]

บิ๊กบอส LEO ลั่น!กอดหุ้นแน่น มั่นใจพื้นฐานแกร่ง-อนาคตสดใส

บิ๊กบอส LEO ลั่น!กอดหุ้นแน่น มั่นใจพื้นฐานแกร่ง-อนาคตสดใส

          บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (LEO) ประกาศความเชื่อมั่นให้ผู้ถือหุ้น นักลงทุน ลั่นพื้นฐานธุรกิจยังมีศักยภาพในการเติบโตได้อีกมากจากธุรกิจใหม่อย่าง LEO Sourcing and Supply Chain, LaneXang Express และ Sritrang LEO Multimodal Logistics ฟาก “เกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์” ลั่น ปัจจุบันยังกอดหุ้น LEO อย่างเหนียวแน่น พร้อมเดินหน้าต่อยอดธุรกิจ Non-freight และ Non-Logistics สร้างรายได้เพิ่มจากการบริการจัดการด้าน Warehouse / Distribution Center ดันผลงานปี 68 เติบโต 20-25%ตามเป้า           นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (LEO) เปิดเผยว่ากรณีการขายหุ้น ในวันที่ 17 มกราคม 2568 มีปริมาณการซื้อขายหุ้น LEO ในลักษณะที่ไม่ปกติ และราคาลดลงมามาก เนื่องจากมีผู้ถือหุ้นใหญ่ที่เป็นผู้ถือหุ้นรุ่นก่อตั้งของบริษัทฯ (ที่ไม่ได้เป็นคณะกรรมการ) นำหุ้นไปวางค้ำประกันเงินกู้ และถูกบังคับขายหุ้น (Forced Sell)           ทั้งนี้ประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องส่วนบุคคลและไม่ได้เกี่ยวของกับบริษัทฯหรือคณะกรรมการของบริษัทฯเนื่องจากเป็นการตัดสินใจส่วนบุคคลโดยผู้ที่นำหุ้นไปค้ำประกันดังกล่าวไม่ได้เป็นคณะกรรมการของบริษัทฯ  อีกทั้งคณะกรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ ยังมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการบริหารจัดการบริษัทให้เป็นไปตามแผน ชูกลยุทธ์ “LEO Go Green” ยกระดับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจรอย่างความยั่งยืน พร้อมต่อยอดธุรกิจ Non-freight และ Non-Logistics สร้างรายได้เพิ่มจากการบริการจัดการด้าน Warehouse / Distribution Center ดันผลงานปี 2568 ให้มีการเติบโต 20-25% และมีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจ Non-Freight และ Non-Logistics เพิ่มขึ้นมาเป็นอย่างน้อย 30-35% ของภาพรายได้รวม และทำให้อัตราการทำกำไรขั้นต้นของบริษัทสูงขึ้น           “ในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นใหญ่ของ LEO ผมยืนยันว่ายังมีความเชื่อมั่นในศักยภาพและความมั่นคงของบริษัท และที่ผ่านมาก็มีแต่ทยอยเก็บซื้อหุ้นเพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงเดือนพฤศจิกายน และธันวาคมปี 2567 ที่ผ่านมา  ผมและภรรยาก็ยังมีการซื้อหุ้นของ LEO รวมกันเป็นจำนวน 600,000  หุ้น” นายเกตติวิทย์ กล่าว  สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2568 ทาง LEO เดินตามแผนยุทธศาสตร์ “LEO Go Green”  ซึ่งคาดว่าจะทำให้บริษัทฯ สามารถสร้างการเติบโตกำไรขั้นต้นและผลประกอบการให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 20-25% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการรับรู้รายได้จากหน่วยธุรกิจใหม่ๆ (New Business Units) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการ Self-Storage และ Wine Storage สาขา ถนนพระราม 4 รวมถึงโครงการอื่นๆ ที่ได้มีการจัดตั้งในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ การขนส่งทางรางไปยังประเทศจีน-ลาว ของบริษัท LaneXang Express การขนส่งสินค้าทางรางภายในประเทศของบริษัท  Sritrang LEO Multimodal Logistics การให้บริการศูนย์โลจิสติกส์และกระจายสินค้าของบริษัท Advantis LEO และการส่งออกสินค้าทุเรียนไปยังประเทศจีนจากบริษัท LEO Sourcing & Supply Chain ซึ่งบริษัทดังกล่าวเหล่านี้จะทำให้เกิดรายได้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทฯ ในการเพิ่มรายได้จากธุรกิจ Non-Freight และ Non-Logistics ให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีสัดส่วนของรายได้มาเป็น 30-35% จากยอดรวมของบริษัทฯ ใน 1-2 ปีข้างหน้า รวมถึงโครงการ JV และ M&A อีกหลายโครงการที่อยู่ในแผนธุรกิจในปี2568           “LEO เชื่อมั่นว่า ปี 2568 รายได้และกำไรขั้นต้นของบริษัทจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาจากการขนส่งสินค้าทางรถไฟระหว่างประเทศไทยกับจีน รวมทั้งธุรกิจของ Non - Logistics Business จะมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดแน่นอน” นายเกตติวิทย์ กล่าว           ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LEO กล่าวเพิ่มเติมว่า หนึ่งในแผนการสำคัญของ LEO ในปี 2568 คือการพัฒนาระบบขนส่งรถไฟจีน-ไทย ด้วยตู้ Reefer Containers ให้เป็นระบบแบบขนส่ง Round trip มีสินค้าขาไปและขากลับ ระหว่างประเทศจีน-ไทย โดย LEO จะเป็นผู้จัดหาสินค้าส่งออกจากประเทศไทยมายังจีน และทางฝ่ายจีนก็จะช่วยหาสินค้าส่งออกจากประเทศจีนกลับมายังประเทศไทย โดย LEO มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการ End-to-End Global Logistics Service Provider และเครือข่ายของ LaneXang Express ในประเทศจีนและไทยจะสามารถช่วยยกระดับการให้บริการเข้าสู่มาตรฐานสากล ผลักดันให้การขนส่งสินค้าทางรถไฟระหว่างจีน-ไทย ให้ประสบความสำเร็จ และสามารถลดต้นทุนค่าขนส่งให้กับผู้ส่งออกและนำเข้าทั้งในประเทศไทยและจีน           นอกจากนี้ บริษัทฯ มุ่งมั่นให้ความสำคัญกับกิจกรรมและบริการโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน เพื่อตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ด้านสิ่งแวดล้อมของ LEO จึงได้ประกาศแผนกลยุทธ์ที่พร้อมส่งมอบบริการโลจิสติกส์ภายใต้คอนเซ็ปต์ “LEO Go Green” สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในฐานะผู้นำด้านการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์อย่างแท้จริง” นายเกตติวิทย์ กล่าวในที่สุด [PR News]

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

กรีนโลจิสติกส์มาแรง! LEO-SONIC ตามเทรนด์

กรีนโลจิสติกส์มาแรง! LEO-SONIC ตามเทรนด์

          หุ้นวิชั่น - SCB EIC ส่องแนวโน้มธุรกิจโลจิสติกส์ปี 68 มูลค่า 9 แสนล้าน โต 3.4%  ชี้แนวโน้มราคาน้ำมันลด กดต้นทุนร่วง ส่งซิกเทรนด์ Green-LogTech Logistics มาแรง ด้านบอสใหญ่ LEO เดินหน้าขยายธุรกิจตามแนวทาง ESG ยกระดับขนส่งสู่ตลาดโลก           ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) ระบุถึง แนวโน้มธุรกิจโลจิสติกส์ปี 2024-2025 การเติบโตอย่างต่อเนื่องท่ามกลางความผันผวนธุรกิจโลจิสติกส์ยังคงมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ท่ามกลางความผันผวนที่เพิ่มสูงขึ้นจากแรงกดดันด้านเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มาพร้อมกับการกีดกันทางการค้าที่รุนแรงขึ้น           ในปี 2567 รายได้ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์คาดว่าจะขยายตัว 5.1% (YOY) ตามการฟื้นตัวของการค้าระหว่างประเทศ และอัตราค่าระวางเรือคอนเทนเนอร์โลกที่ปรับเพิ่มขึ้นจากวิกฤตทะเลแดง           ส่วนในปี 2568 รายได้ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์คาดว่าจะเติบโตชะลอตัวอยู่ที่ 3.4% (YOY) คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 9 แสนล้านบาท เนื่องจากความต้องการขนส่งที่ขยายตัวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รวมถึงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และการบริโภคภายในประเทศที่เติบโตช้าลง แนวโน้มค่าขนส่งปี 2568           อัตราค่าขนส่งเฉลี่ยในปี 2568 มีแนวโน้มใกล้เคียงกับปี 2567 แต่จะมีความผันผวนมากขึ้น โดยค่าขนส่งทางถนนในประเทศและค่าขนส่งทางอากาศโลกมีแนวโน้มทรงตัว ขณะที่ค่าขนส่งทางเรือคาดว่าจะลดลง ส่วนราคาน้ำมันดิบโลกเฉลี่ยมีแนวโน้มปรับลดลง ซึ่งส่งผลดีต่อการลดต้นทุน แต่ในอีกด้านหนึ่ง อาจทำให้ผู้ให้บริการมีความจำเป็นต้องลดค่าขนส่งเพื่อการแข่งขัน เทรนด์ธุรกิจโลจิสติกส์ที่เติบโต           Green Logistics : การให้บริการโลจิสติกส์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นเรื่องสำคัญในระดับโลก ผู้ให้บริการในไทยเริ่มให้บริการ Green Logistics เพิ่มขึ้น           LogTech (Logistics Technology) : การนำเทคโนโลยีมาใช้ยกระดับการบริหารจัดการโลจิสติกส์ให้สะดวกรวดเร็วขึ้น พร้อมลดต้นทุน แนวโน้มการแข่งขันในธุรกิจโลจิสติกส์           การแข่งขันในธุรกิจโลจิสติกส์ยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นใน 3 ด้านหลัก           การขยายบริการที่ทับซ้อนกันมากขึ้น ทั้งในประเภทขนส่งและลักษณะสินค้า ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันด้านราคา           การแข่งขันด้านคุณภาพในการขนส่ง ท่ามกลางการกีดกันทางการค้าที่เพิ่มสูงขึ้น           การแข่งขันในธุรกิจจัดส่งพัสดุที่รุนแรงต่อเนื่อง ทั้งด้านราคาและคุณภาพบริการ ปัจจัยสำคัญที่กระทบธุรกิจโลจิสติกส์ในปี 2568           เศรษฐกิจโลกที่เติบโตชะลอตัว และเผชิญความเสี่ยงหลายด้าน เช่น ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การกีดกันทางการค้า เศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ           การเปลี่ยนผ่านสู่การขนส่งคาร์บอนเป็นศูนย์ ซึ่งธุรกิจโลจิสติกส์ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบบริการและยานพาหนะเพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม           การใช้เทคโนโลยี AI ในการขนส่ง เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลเส้นทาง สภาพอากาศ และจราจร รวมถึงการประสานงานระหว่างผู้ขนส่งกับผู้ว่าจ้าง ธุรกิจโลจิสติกส์ความสำคัญและการแบ่งประเภท           ธุรกิจโลจิสติกส์คือธุรกิจที่ให้บริการจัดการเคลื่อนย้ายสินค้า ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ครอบคลุมบริการที่หลากหลาย เช่น การขนส่งสินค้า การบริหารคลังสินค้าและจัดการสินค้าคงคลัง การบริการด้านพิธีการศุลกากร การจัดเก็บสินค้าและลานตู้สินค้า และการบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ประเภทของผู้ประกอบการโลจิสติกส์แบ่งได้ตามบริการที่ให้ ได้แก่           ผู้ให้บริการขนส่งสินค้า (Freight Transport)           ผู้ให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้า (Freight Forwarder)           ตัวแทนขายระวางสินค้า (Cargo Sale Agent)           ผู้ให้บริการคลังสินค้าและกระจายสินค้า (Warehousing & Distribution)           ผู้ให้บริการเทคโนโลยีโลจิสติกส์ (Logistics Technology)           ผู้ให้บริการ 3PL (Third-Party Logistics) ซึ่งให้บริการโลจิสติกส์หลายประเภทภายใต้ผู้ประกอบการรายเดียว           นอกจากนี้ ธุรกิจโลจิสติกส์ยังแบ่งย่อยตามกลุ่มประเภทการขนส่ง ได้แก่ การขนส่งทางถนน การขนส่งทางน้ำ การขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางราง และแบ่งตามลักษณะสินค้า เช่น สินค้าทั่วไป สินค้าวัตถุอันตราย สินค้าควบคุมอุณหภูมิ พัสดุสินค้า ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในตลาดหลักทรัพย์ไทย สามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก           กลุ่มผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางถนนเป็นหลัก เช่น ETL, KIAT, MENA, SJWD ซึ่งเป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้า           กลุ่มผู้ให้บริการจัดส่งพัสดุ (Parcel Delivery) ซึ่งทำหน้าที่จัดส่งพัสดุไปยังผู้บริโภค เช่น KEX และ TPL           กลุ่มผู้ให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าเป็นหลัก (Freight Forwarder) ซึ่งทำหน้าที่จัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ผ่านการนำเข้าและส่งออก รวมถึงจัดการด้านเอกสาร พิธีการศุลกากร และประสานงานระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ขนส่ง เช่น สายเดินเรือ สายการบิน และผู้ให้บริการรถบรรทุก ตัวอย่างผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ ได้แก่ ANI, B, III, LEO, MPJ, NCL, SINO, SONIC และ WICE           ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของรายได้ธุรกิจโลจิสติกส์ การเติบโตของรายได้ในธุรกิจโลจิสติกส์ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1. ความต้องการขนส่งการค้าระหว่างประเทศของไทย รวมถึงการค้าชายแดนและการผ่านแดน ซึ่งได้รับผลจากการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย เนื่องจากธุรกิจโลจิสติกส์ส่วนใหญ่ให้บริการกับธุรกิจนำเข้า-ส่งออกในสัดส่วนสูง           การบริโภคภาคเอกชน เช่น การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคภายในประเทศ           มูลค่าตลาด E-commerce ซึ่งมาจากการดำเนินงานจัดส่งพัสดุไปยังผู้บริโภค 2. อัตราค่าขนส่งซึ่งเป็นผลจากสมดุลระหว่างความต้องการขนส่งและความสามารถในการขนส่ง (Transport Capacity) โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปริมาณยานพาหนะขนส่ง ผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ภาวะเศรษฐกิจ โรคระบาด นโยบายรัฐ และนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจทั้งสนับสนุนและสร้างอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้า ต้นทุนค่าขนส่งสินค้า โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ซึ่งต้นทุนบางส่วนจะส่งผ่านไปยังผู้ใช้บริการ           ด้าน นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LEO เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า LEO ยังคงเดินหน้าขยายธุรกิจตามแผนที่วางไว้ โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานที่ให้ความสำคัญกับแนวทาง ESG (Environmental, Social, and Governance) และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์โลกในปัจจุบันและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน           บริษัทยืนยันความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างคุณค่าให้กับสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่เติบโตควบคู่ไปกับการดูแลโลกในระยะยาว           ขณะที่ ดร.สันติสุข โฆษิอาภานันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซนิค อินเตอร์เฟรท จำกัด (มหาชน) หรือ SONIC กล่าวกับทีมข่าวหุ้นวิชั่นว่า SONIC กำลังศึกษาและพัฒนาโมเดลกรีนโลจิสติกส์ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีแผนเปลี่ยนจากการใช้รถบรรทุกน้ำมันเป็นรถบรรทุกไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาราคาค่ารถบรรทุกไฟฟ้าและการประเมินความต้องการของลูกค้า เพื่อให้สามารถรองรับการให้บริการได้อย่างเต็มที่ คาดว่าจะต้องมีรถบรรทุกไฟฟ้าให้บริการลูกค้าราว 3-5 คันในช่วงแรก และกำลังศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของค่าบริการที่เหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทาง ESG และเสริมสร้างความยั่งยืนในธุรกิจ. รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

[Vision Exclusive] LEO ผนึกพาร์ตเนอร์ ลุย Non-Logistic

[Vision Exclusive] LEO ผนึกพาร์ตเนอร์ ลุย Non-Logistic

          หุ้นวิชั่น - LEO มั่นใจโลจิสติกส์ปี 68 สดใส รับอานิสงส์เศรษฐกิจโลกฟื้น บอสใหญ่ "เกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์" เล็ง จับมือพาร์ทเนอร์ใหม่ ขยาย Non-Logistic ใส่เกียร์ลุยเพิ่มสัดส่วนแตะ 35% ดันกำไรขั้นต้น (มาร์จิ้น) โต 20%  พร้อมยกระดับกรีนโลจิสติกส์ ESG ตอบโจทย์โลกและลูกค้า           นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LEO เปิดเผยว่า ทิศทางธุรกิจโลจิสติกส์ในปี 2568 มีแนวโน้มสดใสกว่าปี 2567 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวอย่างชัดเจน โดยเฉพาะหลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งและเตรียมขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการเร่งสั่งซื้อสินค้าและใช้บริการโลจิสติกส์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ           นอกจากนี้ ฐานลูกค้าส่งออกของบริษัทไปยังสหรัฐฯ ยังคงมีปริมาณการขนส่งที่แข็งแกร่ง ไม่ลดลงจากเดิม จึงมั่นใจว่าธุรกิจโลจิสติกส์ของ LEO จะสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันและเติบโตต่อเนื่อง อีกทั้งหากสถานการณ์สงครามในต่างประเทศยุติลงอย่างสมบูรณ์ จะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคและเสริมสร้างบรรยากาศเศรษฐกิจให้ดีขึ้น           สำหรับแผนธุรกิจในปี 2568 LEO คาดว่าจะมีการร่วมมือกับพันธมิตรใหม่อีก 2-3 โครงการ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาแผนงานและรูปแบบความร่วมมือ นอกจากนี้ บริษัทให้ความสนใจในการขยายธุรกิจ Non-Logistic โดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่ง LEO มีศักยภาพในการบริหารจัดการด้านนี้ให้กับพันธมิตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ           การลงทุนร่วมกับพันธมิตรด้านโลจิสติกส์ โดยเฉพาะการให้บริการขนส่งสินค้าทุเรียนจากไทยไปยังคุนหมิง ประเทศจีน ผ่านเส้นทางรถไฟความเร็วสูงไทย-ลาว-จีน ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท LaneXang Express ทั้งนี้ บริษัทมองว่าเส้นทางดังกล่าวเป็นหนึ่งในโอกาสสำคัญที่ช่วยผลักดันการเติบโตของธุรกิจ สำหรับปี 2568 บริษัทวางแผนขยายเส้นทางให้บริการเพิ่มเติม โดยจะเปิดเส้นทางใหม่จากไทย ผ่านนครพนมและมุกดาหาร สู่ประเทศเวียดนาม ซึ่งคาดว่าจะกลายเป็นเมเจอร์มาร์เก็ตสำหรับการขนส่งสินค้าทุเรียน รวมถึงสินค้าเกษตรอื่นๆ ที่มีศักยภาพในการส่งออก           นายเกตติวิทย์ กล่าวต่อว่า ตั้งเป้าสัดส่วนรายได้จากธุรกิจ Non-Logistic เพิ่มขึ้นเป็น 30-35% ของรายได้รวม พร้อมคาดอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) จะเติบโต 15-20% จากการขยายฐานธุรกิจ Non-Logistic ที่มีมาร์จิ้นสูงกว่าธุรกิจหลัก ด้านรายได้รวมของบริษัท แม้ไม่ได้เน้นการเติบโตในเชิงตัวเลขมากนัก เนื่องจากมีความผันผวนตามอัตราค่าระวางเรือ แต่โดยปกติรายได้ของ LEO จะเติบโตเฉลี่ย 10-15% ต่อปี อย่างไรก็ตาม ในปี 2568 บริษัทคาดว่ารายได้รวมจะเติบโตโดดเด่นที่ 20-25% โดยได้รับแรงหนุนจากการรับรู้รายได้เต็มปีจากการขนส่งทางราง และการเก็บเกี่ยวผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดำเนินการในช่วงก่อนหน้า           LEO ยังคงเดินหน้าขยายธุรกิจตามแผนที่วางไว้ โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานที่ให้ความสำคัญกับแนวทาง ESG (Environmental, Social, and Governance) และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์โลกในปัจจุบันและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน           บริษัทยืนยันความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างคุณค่าให้กับสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่เติบโตควบคู่ไปกับการดูแลโลกในระยะยาว รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

ผู้บริหาร LEO ลุยเก็บหุ้นเข้าพอร์ต

ผู้บริหาร LEO ลุยเก็บหุ้นเข้าพอร์ต

หุ้นวิชั่น - แม้ปีนี้ตลาดหุ้นไทยผันผวน... แต่สำหรับบมจ.ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ (LEO) หุ้นผู้ให้บริการขนส่ง โลจิสติกส์ครบวงจรชั้นนำของเมืองไทย ขอบอก!ไร้กังวล เพราะผู้บริหารคนเก่ง “เกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์” ทยอยเก็บหุ้นเข้าพอร์ต ตอกย้ำความเชื่อมั่นธุรกิจ  พร้อมเพิ่งออกข่าวว่า ปีนี้จะได้เห็นผลงานกลุ่มธุรกิจใหม่อย่าง LEO Sourcing and Supply Chain,  LaneXang Express และSritrang LEO Multimodal Logistics มั่นใจรายได้โตแรงงงง!...ควบคู่กับการเดินหน้าต่อยอดธุรกิจ Non-freight และ Non-Logistics ช่วยสร้างรายได้เพิ่มจากการขายทุเรียนไปยังประเทศจีน รวมทั้งจากการขนส่งทางรถไฟทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศไทย-จีน  ตลอดจนธุรกิจ Self Storage ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง  ... สัญญาณดีขนาดนี้ผลงานสดใสแน่นอนคร้าา!!

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

LEO ส่งซิกผลงาน Q4/67 สดใส

LEO ส่งซิกผลงาน Q4/67 สดใส

          หุ้นวิชั่น - บมจ. ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ ( LEO) ประเมินผลงานไตรมาส 4/67 เติบโตต่อเนื่อง จากการรับรู้รายได้จากกลุ่มธุรกิจใหม่อย่าง LEO Sourcing and Supply Chain,  LaneXang Express และSritrang LEO Multimodal Logistics รวมถึงกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ฟาก   ซีอีโอ “เกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์” ระบุเดินหน้าต่อยอดธุรกิจ Non-freight และ Non-Logistics ช่วยสร้างรายได้เพิ่มจากการขายทุเรียนไปยังประเทศจีน การขนส่งทางรถไฟทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศไปไทย-จีน  รวมถึงธุรกิจ Self Storage ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง           นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (LEO) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ประเมินแนวโน้มการดำเนินธุรกิจในไตรมาส 4/2567 มีทิศทางที่สดใส ทำให้มั่นใจผลประกอบการของบริษัทในไตรมาส 4/67 คาดว่าจะเป็นผลประกอบการที่ดีที่สุดจากทุกๆไตรมาสในปี 2567 โดยเฉพาะธุรกิจ Non-freight และ Non-Logistics จะมาช่วยสร้างรายได้ให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีสัดส่วนของรายได้มาเป็น 30-35% จากยอดรวมของบริษัทฯ ใน 1-2 ปีข้างหน้า           “บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างผลงานได้เติบโตอย่างโดดเด่นที่สุดในไตรมาส 4/67 โดยจะมีการเติบโตของรายได้และกำไรขั้นต้นจากการรับรู้รายได้ของหน่วยธุรกิจใหม่ๆ เช่น รายได้จากการส่งออกทุเรียนไปยังประเทศจีนของบริษัท LEO Sourcing and Supply Chain รายได้จากกาขนส่งสินค้าทางรถไฟจากบริษัท LaneXang Express และ Sritrang LEO Multimodal Logistics รวมถึงรายได้จาก LEO Self-Storage โดยรายได้ของธุรกิจ Self-Storage มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในไตรมาส 3/2567 มีการเติบโตถึง 98% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 3/2566 และเมื่อเปรียบเทียบ 9 เดือนปี 2567 กับ 9 เดือนปี 2566 เพิ่มขึ้น 68%  ซึ่งธุรกิจใหม่ๆเหล่านี้จะทำให้เกิดรายได้ใหม่ๆของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทฯ ในการเพิ่มรายได้จากธุรกิจ Non-Freight และ Non-Logistics ให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีสัดส่วนของรายได้มาเป็น 30-35% จากยอดรวมของบริษัทฯ ใน 1-2 ปีข้างหน้า” นายเกตติวิทย์ กล่าว           นอกจากนี้บริษัทยังได้รับผลดีจากการอัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินบาทและดอลล่าห์สหรัฐที่ปรับตัวขึ้นมาอยู่เหนือระดับ 33-34 บาทอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากภายในสิ้นเดือนธันวาคมอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ระดับ 34 บาท บริษัทก็จะสามารถปรับรายการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนในไตรมาส 3/67 ให้พลิกกลับมาเป็นกำไรในไตรมาส4/2567           อีกทั้งบริษัทยังมีประเด็นบวกที่สนับสนุนคือ ความคืบหน้าของความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ของบริษัทลีโอ ซอร์สซิ่ง ซัพพลายเซน จำกัด (บริษัทย่อย) กับกรมพาณิชย์ประจำนครคนหมิง ที่ได้ลงนามไปเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2567 เพื่อพัฒนาส่งเสริมธุรกิจและการลงทุนกับผู้ประกอบการที่อยู่ในนครคนหมิง ซึ่งมีบริษัททยอยเข้ามาพูดคุยกับทางบริษัทๆเพื่อหาโอกาสในการพัฒนาธุรกิจร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเร็วๆ นี้ ทางบริษัทฯ ได้มีการเซ็นสัญญาขายทุเรียนสด จำนวน 500 ตู้ 40 Reefer คอนเทนเนอร์ให้กับลูกค้ารายหนึ่งจากนครคุนหมิง โดยเป็นลูกค้าที่ได้รับการแนะนำจากกรมพาณิชย์ของนครคุนหมิง ทำให้บริษัทได้ลูกค้าที่มีความน่าเชื่อถือและมีเครดิตที่ดีมาเป็นลูกค้าของทางบริษัท           โดยบริษัทได้เริ่มส่งออกสินค้าทุเรียนจากไทยไปคุนหมิงผ่านรถไฟความเร็วสูงไทย-ลาว - จีน (ที่ให้บริการโดยบริษัท LaneXang Express)  โดยสินค้าส่งออกชุดแรกได้มีการส่งออกถึงนครคุนหมิงเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภคชาวจีน และมีการสั่งทุเรียนต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน โดยบริษัทคาดว่าจะสามารถส่งมอบทุเรียนได้ครบจำนวน 500 ตู้ภายในฤดูกาลส่งออกทุเรียนของปี 2568 (เดือนเมษายน-สิงหาคม ของทุกๆปี) และจะมีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงไตรมาส 2-3/68           ทั้งนี้จากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในไตรมาส 4/67 และภาพรวมธุรกิจทั้งปียังขยายตัวอยู่ในทิศทางที่ดี ทำให้บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นได้   โดยที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้มีการจ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่องตามนโยบาย  ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 40.00 ของกำไรสุทธิจากงบเฉพาะกิจการภายหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และเงินสำรองต่างๆ ทั้งหมดแล้วทุกประเภทตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทฯ และบริษัทย่อย  ทางบริษัทฯ คาดว่าจะทำให้อัตราผลตอบแทนเงินปันผลของปี 2567 ของบริษัทอยู่ในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกับอัตราการจ่ายเงินปันผลในปี 2566 อย่างแน่นอน​ [PR News]

[ภาพข่าว] “LEO COLDBOTIC” เปิดประสบการณ์ใหม่ ที่สุดแห่งนวัตกรรมการจัดเก็บไวน์

[ภาพข่าว] “LEO COLDBOTIC” เปิดประสบการณ์ใหม่ ที่สุดแห่งนวัตกรรมการจัดเก็บไวน์

          นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (LEO) พร้อมด้วย อ.ไพรัช อินทะพุฒ ผู้ก่อตั้งและนายกสมาคมซอมเมอร์ลิเย่แห่งประเทศไทย ในฐานะตัวแทนผู้เชี่ยวชาญด้านไวน์ระดับประเทศ , คุณกัปตันแหลม – นภสูร ชยันตรดิลก เจ้าของร้าน Bangkok Wine Bar ตัวแทนผู้ประกอบการผู้นำเข้าไวน์ และ อ.วงศ์สถิตย์ แก้วนาค ตัวแทนผู้เชี่ยวชาญด้านไวน์ระดับประเทศ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านไวน์ ในงาน "THE WINE JOURNEY OF TOMORROW เส้นทางไวน์สู่ความเป็นเลิศ เปิดประสบการณ์ใหม่แห่งการจัดเก็บไวน์" เพื่อให้ความรู้ในมิติต่างๆ เช่น การเก็บไวน์ให้มีคุณภาพที่เหมาะสม การลงทุนในไวน์ และมูลค่าของการจัดเก็บไวน์ในระยะยาว พร้อมการรักษาคุณภาพไวน์ในระดับพรีเมี่ยม โดยแนะนำและชูจุดเด่นของ  LEO COLDBOTIC & LEO WINE STORAGE ในการใช้เทคโนโลยีมาควบคุมอุณหภูมิและควบคุมความชื้นที่เหมาะสมได้อย่างแม่นยำ ให้กับลูกค้าที่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการและไวน์เลิฟเวอร์ โดยเฉพาะกลุ่มผู้นำเข้าไวน์ ผู้บริหารธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และผู้ลงทุนรายใหญ่ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการจัดเก็บไวน์อย่างถูกต้อง ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้น ณ Mellow Garden Restaurant & Bakery เมื่อเร็ว ๆ นี้           สำหรับงานในครั้งนี้ เป็นการรวมตัวกันครั้งสำคัญของบุคคลในวงการไวน์ ทั้งผู้นำเข้าไวน์,กลุ่มธุรกิจลูกค้าโรงแรม,ร้านอาหาร HoReCa (Hotels Restaurants & Catering) และ นักสะสมไวนในกลุ่ม Fine Wine เพื่อสร้างความมั่นใจให้กลุ่มเป้าหมายหรือผู้มีความสนใจด้านไวน์ ได้รับรู้ถึงความตั้งใจในการเปลี่ยนโฉมมาตรฐานให้อุตสาหกรรมไวน์และพัฒนา​ Wine​ Community ให้เติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการเก็บรักษาไวน์ที่ดีที่สุดในประเทศของ LEO COLDBOTIC  ​และ​ LEO WINE STORAGE​ อย่างแท้จริง

[ภาพข่าว] LEO จัดงานเดินวิ่งการกุศล “LEO RUN FOR CHILD 2024”

[ภาพข่าว] LEO จัดงานเดินวิ่งการกุศล “LEO RUN FOR CHILD 2024”

          หุ้นวิชั่น - บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (LEO) จัดการแข่งขันเดินวิ่งการกุศล  “LEO RUN FOR CHILD 2024” เพื่อระดมทุนสนับสนุนโครงการโรงเรียนนี้เพื่อน้องปี 6 ช่วยเหลือศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง “บ้านทีมู” อ.แม่ระมาด จ.ตาก เพื่อนำไปซ่อมแซมอาคารเรียน และจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอนให้เพียงพอ โดยมีนายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร พนักงาน LEO และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 200 คน ณ สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์) อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เมื่อเร็วๆ นี้

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

[Vision Exclusive] LEOปลุกกระแสส่งออก เล็งพันธมิตรจีนต่อยอด

[Vision Exclusive] LEOปลุกกระแสส่งออก เล็งพันธมิตรจีนต่อยอด

หุ้นวิชั่น - นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LEO เปิดเผยกับ ทีมข่าวหุ้นวิชั่น ว่า คาดการณ์ว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนจะส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศดีขึ้น รวมถึงการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการส่งออกและธุรกิจโลจิสติกส์ให้เติบโตมากขึ้น เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ขณะที่สัดส่วนการส่งออกสินค้าไปยังจีนของ LEO ยังคงเป็นตลาดหลักของบริษัท โดยมีสัดส่วนถึง 30% ส่วนสหรัฐอเมริกามีสัดส่วนอยู่ที่ 15-20%             คาดว่าเมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง จะส่งผลให้การสต็อกสินค้าสู่สหรัฐอเมริกามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากคาดว่าอาจมีการปรับขึ้นภาษีการนำเข้าสินค้า ขณะที่การยุติสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซียจะช่วยเสริมสร้างบรรยากาศเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ตัวเลข PMI Index และตัวเลขการจับจ่ายใช้สอยมีแนวโน้มที่จะดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา ซึ่งจะช่วยบรรเทาความกังวลในระดับโลกและส่งผลให้ความรู้สึกในตลาดเริ่มคลายความวิตกกังวลลง             สำหรับทิศทางปีหน้า หรือปี 2568 ธุรกิจหลักการขนส่งสินค้า หรือ Logistic คาดจะสร้างอัตราการทำกำไร (มาร์จิ้น) ได้ที่ระดับ 15-20% ส่วนแนวโน้มรายได้ขึ้นอยู่กับซัพพลาย ดีมานด์ และ LEO มีแผนจะขยายฐานลูกค้าใหม่ตลอดเวลา จากการส่งออก นำเข้าสินค้า รวมถึงการที่พันธมิตรสนใจเข้ามาร่วมต่อยอดธุรกิจ เพื่อลดต้นทุนการขนส่งสินค้า             ในปี 2568 คาดว่าผลการลงทุนร่วมกับ บริษัท ศรีตรังโลจิสติกส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางรถไฟครอบคลุมทั้งภายในประเทศไทยและผ่านแดนไปยังประเทศมาเลเซีย จะเริ่มเห็นผลชัดเจน โดยบริษัทมีประสบการณ์ในการขนส่งสินค้าทางรถไฟทั่วประเทศมานานกว่า 7 ปี ล่าสุดได้จัดตั้งบริษัทใหม่ชื่อ "บริษัท ศรีตรัง ลีโอ มัลติโมเดิล ลอจิสติกส์ จำกัด" มีทุนจดทะเบียนจำนวน 50 ล้านบาท โดย LEOถือหุ้น 50% และ บริษัท ศรีตรังโลจิสติกส์ จำกัด ถือหุ้น 50% การรับรู้รายได้ผ่านบริษัทร่วมทุนนี้คาดว่าจะช่วยผลักดันมาร์จิ้นให้กับบริษัทได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกผลไม้และการจับมือกับพันธมิตรในจีน เพื่อนำเข้าสินค้าและส่งออกสินค้าจากไทยไปยังจีน คาดว่าจะมีความชัดเจนในปี 2568 เช่นกัน ธุรกิจนี้คาดว่าจะสร้างรายได้หลายร้อยล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 30% ของรายได้จากธุรกิจที่ไม่ใช่โลจิสติกส์             นายเกตติวิทย์ กล่าวต่อว่า บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรจากจีนเพิ่มเติม เพื่อนำสินค้าจากจีนเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากจีน ซึ่งมีความก้าวหน้ามาก อาทิ รถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) และการพัฒนาอีคอมเมิร์ซ คาดว่าจะเห็นการจับมือกับพันธมิตรจีนเพิ่มเติมเพื่อต่อยอดธุรกิจในปี 2568 ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งและขยายตลาดให้กับบริษัทในอนาคต             สำหรับ 9 เดือนแรกปี 2567 บริษัทมีรายได้แล้วที่ 1,234.15 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 34.22 ล้านบาท บริษัท เชื่อมั่นว่า ตั้งแต่ไตรมาส 4/2567 เป็นต้นไป จะเห็นการเติบโตของรายได้และกำไรขั้นต้นจากการรับรู้รายได้จากหน่วยธุรกิจใหม่ๆ เช่น โครงการ Self-Storage สาขาที่ 3 และ Wine Storage ที่ถนนพระราม 4 โดยรายได้จากธุรกิจ Self-Storage มีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในไตรมาส 3/2567 ซึ่งเติบโตถึง 98% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2566 และเมื่อเปรียบเทียบ 9M/2567 กับ 9M/2566 พบว่าเพิ่มขึ้น 68%  รวมถึงโครงการอื่นๆ ที่ได้มีการจัดตั้งในช่วงที่ผ่านมา เช่น การขนส่งทางรางไปยังประเทศจีน-ลาว ของบริษัท LaneXang Express, การขนส่งสินค้าทางรางภายในประเทศของบริษัท Sritrang Leo Multimodal Logistics, การให้บริการโลจิสติกส์และกระจายสินค้า ของบริษัท Advantis Leo และการส่งออกสินค้าจากประเทศไทยไปยังประเทศจีนจากบริษัท Leo Sourcing & Supply Chain ซึ่งบริษัทฯ คาดว่าโครงการดังกล่าวจะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ไตรมาส 4/2567 เป็นต้นไป และเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทในการเพิ่มรายได้จากธุรกิจ Non-Freight และ Non-Logistics ให้เติบโตอย่างต่อเนื่องใน 1-2 ปีข้างหน้า   รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย เผชิญความท้าทายรอบด้าน

ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย เผชิญความท้าทายรอบด้าน

https://youtu.be/FJz9pGp5J1M

LEO ทุ่มงบ 160 ลบ. เปิดตัว “LEO COLDBOTIC”

LEO ทุ่มงบ 160 ลบ. เปิดตัว “LEO COLDBOTIC”

          บมจ. ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ ( LEO) ทุ่มงบ 160 ล้านบาท เปิดตัว “LEO COLDBOTIC” ศูนย์จัดเก็บและกระจายสินค้า (Logistics Center) ควบคุมอุณหภูมิอัจฉริยะสำหรับเก็บไวน์แห่งแรกของประเทศไทยและเป็นคลังสินค้าฑัณฑ์บน (Bonded Warehouse) ที่ได้รับ BOI ประเภทกิจการศูนย์กระจายสินค้าด้วยระบบที่ทันสมัย รวมทุกจุดเด่นการให้บริการด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาตรฐาน พร้อมจุดขายใหม่ Wine Tasting Area ที่ออกแบบมาเพื่อเจาะกลุ่มไวน์เลิฟเวอร์โดยเฉพาะ บิ๊กบอส “เกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์” มั่นใจต่อยอดธุรกิจ Non-freight และ Non-Logistics ช่วยสร้างรายได้เพิ่มจากการบริการจัดการด้าน Warehouse / Distribution Center ดันผลงานปี 67 มาตามนัด           นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (LEO) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เปิดตัว “LEO COLDBOTIC” คลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิที่ใช้ระบบ Automation & Robot  ระบบอัจฉริยะใช้ Robot ทำงานแทนมนุษย์ แห่งแรกของประเทศไทยที่ใช้เก็บสินค้าประเภทไวน์  ตั้งอยู่ในบริเวณท่าเทียบเรือ สหไทยฯ ถนนปู่เจ้าสมิงพราย ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ภายใต้งบลงทุน 160 ล้านบาท และยังเป็นพื้นที่ที่ได้รับการอนุมัติจากทางกรมศุลกากรให้เป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse) ซึ่งลูกค้าที่มาใช้บริการสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ในเรื่องภาษีนำเข้าของการใช้คลังสินค้าทัณฑ์บนทุกประการ และยังเป็น Bonded Cold Chain Logistics Center ที่ตั้งอยู่ใกล้ศูนย์กลางธุรกิจและการค้าของกรุงเทพมหานครมากที่สุด           “LEO COLDBOTIC เป็นการให้บริการคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า (Warehouse / Logistics Center) แบบครบวงจร  ที่มีระบบควบคุมอุณหภูมิฉริยะควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์และใช้หุ่นยนต์ทำงานแทนมนุษย์ด้วยระบบ   4-ways shuttle Automatic รายแรกของประเทศไทยในการจัดเก็บสินค้าประเภท Wine & Spirit   สามารถจัดเก็บสินค้าประเภทไวน์ ในระหว่างช่วงอุณหภูมิตั้งแต่ 15-18 องศาเซลเซียส ได้มากกว่า 1.2 ล้านขวด  นอกจากนี้ยังสามารถนำเสนอบริการโลจิสติกส์ได้อย่างครบวงจรในลักษณะ End-to-End Global Logistics  เหมาะสำหรับลูกค้าในกลุ่มผู้นำเข้าไวน์ ธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต โรงแรม และร้านอาหาร เป็นอย่างยิ่ง อีกทั้ง ยังได้รับสิทธิ์ BOI ประเภทกิจการศูนย์กระจายสินค้าด้วยระบบที่ทันสมัย (Distribution Center: DC)”           ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LEO กล่าวอีกว่า สำหรับไฮไลท์ของ LEO COLDBOTIC อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ห้อง Wine tasting  สำหรับลูกค้าที่มาเก็บไวน์ที่คลังของเรา   เราได้จัดพื้นที่นำเสนอไวน์ให้กับลูกค้า  สามารถนั่งชิมไวน์ในบรรยากาศหรูหรา  รวมถึงมีห้องประชุมสำหรับพูดคุยเรื่องธุรกิจเพิ่มเติมด้วย           ขณะที่การดำเนินงานในไตรมาส 3/2567 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีรายได้รวม จำนวน 513.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 141.1 ล้านบาท หรือ 38% จากไตรมาส 2/2567 และเมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2566 เพิ่มขึ้น 187.6 ล้านบาท หรือ 58%    เมื่อเปรียบเทียบ 9 เดือนปี 2567 กับ 9 เดือนปี 2566 เพิ่มขึ้น 225.1 ล้านบาท คิดเป็น 22%           “บริษัทฯ เชื่อมั่นว่านับตั้งแต่ไตรมาส 4/2567 บริษัทฯจะมีการเติบโตของรายได้และกำไรขั้นต้นจากการรับรู้รายได้ของหน่วยธุรกิจใหม่ๆ เช่น  โครงการ Self-Storage และ Wine Storage สาขา ถนนพระราม 4  โดยรายได้ของธุรกิจ Self-Storage มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในไตรมาส 3/2567 โดยมีการเติบโตถึง 98% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 3/2566 และเมื่อเปรียบเทียบ 9 เดือนปี 2567  กับ 9 เดือนปี 2566  เพิ่มขึ้น 68% รวมถึงโครงการอื่นๆที่ได้มีการจัดตั้งในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่  การขนส่งทางรางไปยังประเทศจีน-ลาว ของบริษัท LaneXang Express การขนส่งสินค้าทางรางภายในประเทศของบริษัท  Sritrang Leo Multimodal Logistics การให้บริการศูนย์โลจิสติกส์และกระจายสินค้า ของบริษัท Advantis Leo  และการส่งออกสินค้าทุเรียนไปยังประเทศจีนจากบริษัท LEO Sourcing & Supply Chain ซึ่งบริษัทดังกล่าวเหล่านี้จะทำให้เกิดรายได้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทฯ ในการเพิ่มรายได้จากธุรกิจ Non-Freight และ Non-Logistics ให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีสัดส่วนของรายได้มาเป็น 30-35% จากยอดรวมของบริษัทฯ ใน 1-2 ปีข้างหน้า” [PR News]

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

[PR News] LEO เชิญชวนร่วมกิจกรรมวิ่งการกุศล “LEO Run For Child 2024

[PR News] LEO เชิญชวนร่วมกิจกรรมวิ่งการกุศล “LEO Run For Child 2024"

          LEO จัดกิจกรรมวิ่งการกุศล “LEO Run For Child 2024” นำรายได้จากการวิ่ง มาสนับสนุนโครงการ “โรงเรียนนี้เพื่อน้องโครงการที่ 6” เพื่อช่วยบูรณะซ่อมแซมอาคารเรียนและปรับปรุงอุปกรณ์การเรียนการสอนให้กับศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา บ้านทีมู ต.ขะเนจื้อ อ.แม่ระมาด จ.ตาก ในวันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน 2567           สำหรับกิจกรรมครั้งนี้กำหนดจัดการแข่งขันในวันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน 2567 ณ สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์)โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทฟันรัน (Fun Run) ระยะทาง 5 กิโลเมตร ค่าสมัคร 500 บาท ประเภทมินิมาราธอน  (Mini Marathon Plus)  ระยะทาง 10 กิโลเมตร  ค่าสมัคร 600 บาท และประเภท VIP ร่วมวิ่งระยะทางใดก็ได้ ค่าสมัคร 1,300 บาท ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะได้รับ 1. เสื้อที่ระลึกตามระยะทาง  2. หมายเลขแข่งขัน (BIB)  3. เหรียญรางวัลเมื่อเข้าเส้นชัย  4. Gift Set เฉพาะ VIP 5. อาหารและเครื่องดื่มหลังเส้นชัย           ผู้สนใจเข้าร่วมแข่งขันในรายการ "LEO Run For Child 2024" สามารถกรอกข้อมูลได้ที่ https://runlah.com/events/leo2024  ตั้งแต่วันนี้-31 ตุลาคม นี้

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011