#KTB


โบรกมอง KTB บวก ลงทุนภาครัฐ หนุนพอร์ตสินเชื่อโต

โบรกมอง KTB บวก ลงทุนภาครัฐ หนุนพอร์ตสินเชื่อโต

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.กสิกรไทย มีมุมมองเชิงบวกต่อ KTB จากโอกาสเพิ่มอัตราการจ่ายเงินปันผลในปี 2568 พร้อมความสามารถควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีโดยมีลูกหนี้ 30% อยู่ภายใต้ MOU ที่สามารถหักเงินเดือนชำระหนี้ได้โดยตรง และมี Coverage Ratio ที่สูงราว 180% เป็นการป้องกันความเสี่ยง            คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการลงทุนภาครัฐที่เพิ่มขึ้นในปี 2568 ซึ่งจะช่วยให้พอร์ตสินเชื่อเติบโตตามเป้าด้วยความเสี่ยงที่ต่ำกว่าผลิตภัณฑ์อื่น มูลค่าหุ้นยังถูกที่อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (PBV) ที่ 0.6 เท่า มีอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) 9-10% และอัตราเงินปันผลตอบแทน 6%            KTB ราคาพื้นฐาน 23.00 บาท

KSS คาด SET “ช่วงปลายความผันผวน” ต้าน 1415 จุด ชู KTB, SCB, BTS

KSS คาด SET “ช่วงปลายความผันผวน” ต้าน 1415 จุด ชู KTB, SCB, BTS

           หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) คาด SET วันนี้ “ช่วงปลายความผันผวน” ต้าน 1411/1415 จุด รับ 1380/1363 จุด ดัชนีS&P500 ดิ่ง -2.95% ตอบ รับผลประชุม Fed ที่แม้ปรับลดดอกเบี้ย -25 bps ตามคาด แต่ประเด็นที่ตลาดให้น ้าหนัก คือ Dot Plot ปี2025F ที่คาดปรับลดดอกเบี้ยเหลือ 2 ครั้ง (vs ตลาดคาด 2-3 ครั้ง, เดิม 4 ครั้ง) โดยรวมผลกระทบนโยบาย Trump 2.0 ขณะที่ปรับเพิ่ม GDP ปี2025F สู่ 2.1% (เดิม 2.0%) vs prev. 2.5% หลังประชุม US Bond Yield 10 ปี+12 bps มาที่ 4.51% Dollar Index แข็งค่าสู่ 107.9 จุด ประเมินระยะสั้นท าให้เกิดภาพปรับสถานะ สินทรัพย์เสี่ยงโลกอีกรอบ แต่ประเมินความผันผวนจะอยู่ในช่วงปลาย โดยไทยกดดันจากเงินบาทอ่อนค่าสู่ 34.5 +/- บาท อย่างไรก็ตาม ภาพ หลักปี2025F ที่ Fed ยังมองวงจรดอกเบี้ยเป็นขาลง เศรษฐกิจสหรัฐ Soft Landing vs BOT ที่ยังคงคาดการณ์ GDP ปี2025F เร่งขึ้น โดย มีภายในหนุน เราประเมินความผันผวนระยะสั้นเป็นโอกาสทยอยตั้งรับ หุ้นเด่น คือ กลุ่ม Domestic ที่เกาะไปกับกระแส Yield เร่งขึ้น+เศรษฐกิจ ภายในเด่น อาทิธนาคาร ประกัน ผสาน หุ้น Defensive อาทิสื่อสาร ค้าปลีก (สินค้าจ าเป็น) ร.พ. กลุ่มที่ได้จิตวิทยาบวกเงินบาทอ่อนค่าหนุน วันนี้แนะน ำ KTB, SCB, BTS

KSS คาด SET “Rebound” ต้าน 1433 จุด ชู BJC, CRC, KTB

KSS คาด SET “Rebound” ต้าน 1433 จุด ชู BJC, CRC, KTB

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) คาด SET วันนี้ “Rebound” ต้าน 1429/1433 จุด รับ 1415/1411 จุด ตลาดหุ้นสหรัฐแกว่งขึ้น ดัชนีS&P500 +0.38% หุ้นเทคฯนำตลาด Broadcom ยังมีโมเมนตัม ขณะที่ปัจจัยมหภาค Flash PMI สหรัฐฯ ธ.ค. 24 ภาคบริการขยายตัว ดีกว่าคาด เร่งขึ้นสู่ 58.5 จุด ชดเชยฝั่งภาคผลิตที่ต่ำกว่าคาด หนุนเศรษฐกิจสหรัฐฯเป็นภาพ Goldilocks to Soft Landing แต่ตลาดน่าจะเริ่มรอสัญญาณช่วงถัดไปโดยเฉพาะมุมมองดอกเบี้ยและเศรษฐกิจจากการประชุม Fed (ไทยทราบผลเช้า 19 ธ.ค.) บ่งชี้จาก US Bond Yield 10 ปีที่ยังแกว่ง 4.4%           ขณะที่เอเชียการฟื้นตัวจีนยังค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ความน่าสนใจระยะสั้นที่จะดึงดูดเม็ดเงินลงทุนยังไม่มาก ด้านไทยหลังตลาดปรับตัวลดลง 6 วันติด ส่งผลให้ Current Equity Risk Premium (ERP) แตะ 3.8% > ค่าเฉลี่ย 3.1% ส่วน Forward ERP ขึ้นไป 4.4% > Avg + 1 S.D. (4.05%) น่าจะเริ่มเป็นจุดกลับมาสร้างความน่าสนใจตลาดหุ้นไทย ผสาน ภายในลุ้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม           ประเมิน SET วันนี้ Rebound หุ้นนำ คือ กลุ่ม Domestic ธนาคาร ค้าปลีก กลุ่มที่เป็นเป้า Domestic Long Term Funds อาทิ สื่อสาร วันนี้แนะนำ BJC, CRC, KTB

THAI แปลงหนี้เป็นทุน BBL-KTBรับอานิสงส์ เช็กเลย!

THAI แปลงหนี้เป็นทุน BBL-KTBรับอานิสงส์ เช็กเลย!

            หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล. ดาโอ ระบุว่า BBL, KTB แจ้งแบบ 246-2 เข้าถือหุ้น THAI จากการแปลงหนี้เป็นทุน ทำให้แนวโน้ม NPL จะลดลง โดย BBL แจ้งในแบบรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ (แบบ 246-2) ของหุ้น THAI ที่จำนวน 2,407,879,062 หุ้น สัดส่วน 10.3507% ส่วน KTB ถือหุ้น THAI ที่ 1,327,322,126 หุ้น สัดส่วน 5.7280% (ที่มา: SEC)             มีมุมมองเป็นบวกต่อ BBL และ KTB เพราะจะทำให้ NPL จะลดลง คาดเร็วสุดใน 4Q24E โดยอ้างอิงจากหนังสือชี้ชวน THAI (วันที่ 20 ต.ค. 22) พบว่า BBL มีการปล่อยสินเชื่อ (ไม่รวมหุ้นกู้) ให้ THAI ที่ 9.3 พันล้านบาท และ KTB อยู่ที่ 6.9 พันล้านบาท และหลังจากมีการแปลงหนี้เป็นทุนพบว่าBBL ถือหุ้นใน THAI ที่ประมาณ 2.4 พันล้านหุ้น (สัดส่วน 10.35%) จากเดิมที่ 9.4 ล้านหุ้น โดยมีราคาแปลงหนี้เป็นทุนที่ 2.5452 บาท ทำให้เราคาดว่าจะได้มูลค่าที่แปลงหนี้เป็นทุนได้ 6.1 พันล้านบาท ซึ่งจะทำให้ NPL ของ BBL จะลดลงได้ -0.22% จาก 3Q24 ที่อยู่ที่ 3.40% ทั้งนี้หลังการเพิ่มทุนแบบ RO สำเร็จ หากผู้ถือหุ้นเดิมใช้สิทธิ์ครบ 100% จะส่งผลให้ BBL ถือหุ้น THAI ที่ระดับราว 7.30% ซึ่งเป็นไปตามแผนของ BBL ที่จะถือหุ้นไม่เกิน 10%KTB ถือหุ้นใน THAI ที่ประมาณ 1.327 พันล้านหุ้น (สัดส่วน 5.728%) จากเดิมไม่พบจำนวนหุ้นเพราะไม่ได้ติดรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยมีราคาแปลงหนี้เป็นทุนที่ 2.5452 บาท ทำให้เราคาดว่าจะได้มูลค่าที่แปลงหนี้เป็นทุนได้ 3.4 พันล้านบาท ซึ่งจะทำให้ NPL ของ KTB จะลดลงได้ -0.13% จาก 3Q24 ที่อยู่ที่ 3.14% ทั้งนี้หลังการเพิ่มทุนแบบ RO สำเร็จ หากผู้ถือหุ้นเดิมใช้สิทธิ์ครบ 100% จะส่งผลให้ KTB ถือหุ้น THAI ที่ระดับราว 4.02%โดยเราคาดว่าแนวโน้ม NPL จากประเด็นนี้จะลดลงได้เร็วสุดใน 4Q24E             แนะนำ “ซื้อ” BBL และราคาเป้าหมายที่ 186.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.60x (-1.00SD below 10-yr average PBV) เพราะ BBL ยังคงมีความแข็งแกร่งทางด้านการเงินที่รองรับความเสี่ยงได้ดีกว่าคู่แข่ง โดยมี coverage ratio สูงที่สุดในกลุ่มที่ 267% ด้าน Valuation ยังน่าสนใจโดยเทรดที่ PBV เพียง 0.53x หรือที่ระดับ -1.25SD ย้อนหลัง 10 ปี ถูกกว่ากลุ่มที่เทรดที่ PBV ที่ 0.66x             แนะนำ “ซื้อ” KTB และราคาเป้าหมายที่ 24.50 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.74x (-0.50SD below 10-yr average PBV) จากกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในกลุ่มธนาคารที่ +18% YoY ขณะที่กำไรสุทธิ 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY และ KTB เน้นปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำและรองรับกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้ ขณะที่ valuation ปัจจุบันซื้อขายที่ระดับต่ำเพียง PBV ที่ 0.67x (-1.00SD below 10-yr average PBV)

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

บล.กรุงศรี ให้น้ำหนักลงทุนแบงก์ KTB-KBANK ดาวเด่น

บล.กรุงศรี ให้น้ำหนักลงทุนแบงก์ KTB-KBANK ดาวเด่น

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) กลุ่มธนาคารรายงานกำไรสุทธิไตรมาส 3/2567 ที่ 5.47 หมื่นลบ. เพิ่มขึ้น +9% y-y และ +2% q-q เพราะการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย (Non-NII) และการลดลงของค่าใช้จ่ายสำรอง (ECL) ไตรมาสนี้ BBL, SCB และ KKP รายงานกำไรสุทธิดีกว่าคาด ขณะที่ธนาคารที่เหลือรายงานกำไรสุทธิใกล้เคียงฝ่ายวิเคราะห์คาด โดยธนาคารที่รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 3/2567 เติบโต y-y และ q-q คือ BBL,SCB และ KKP สำหรับธนาคารที่รายงานกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น y-y ลดลง q-q คือ KBANK ,KTB และ TTB ส่วนธนาคารรายงานกำไรสุทธิลดลง y-y และ q-q คือ TISCO           ภาพรวมกลุ่มปี 2568 คาดธนาคารได้รับผลกระทบเชิงลบ จากทิศทางดอกเบี้ยขาลง อย่างไรก็ตามคาดจะเห็นผลบวกในเรื่องคุณภาพสินทรัพย์ นอกจากนั้นธนาคารยังคงปันผลเด่น ดังนั้นคงน้ำหนักการลงทุนเป็น NEUTRAL และคง KBANK และ KTB เป็น Top Pick

บล.กรุงศรี เคาะกำไร KTB โตแรง ชูเป้า 24 บาท

บล.กรุงศรี เคาะกำไร KTB โตแรง ชูเป้า 24 บาท

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) มีมุมมอง Neutral ต่อกำไรสุทธิในไตรมาส 3/2567 ที่ 1.11 หมื่นลบ. ของ KTB ใกล้กับการวิเคราะห์และตลาดคาด โดยกำไรเพิ่ม +8% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุน (FVTPL)           ขณะที่กำไรลดลง -1% จากไตรมาสก่อนหน้า จากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่าย IT และค่าใช้จ่ายสำรอง (ECL) สำหรับสินเชื่อลดลง -2.5% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน เพิ่มขึ้น +0.1 % จากไตรมาสก่อนหน้า คิดเป็น -0.5% YTD การเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า จากสินเชื่อภาครัฐ ด้านคุณภาพสินทรัพย์ควบคุมได้ดี NPL Ratio อยู่ที่ 3.14% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/2567 ที่ 3.12%           ฝ่ายวิเคราะห์ชอบ KTB และคงเป็น Top Pick ของกลุ่มธนาคารคู่กับ KBANK (BUY, TP 180 บ.) เพราะ i) กำไรสุทธิปี 2567-2568 คาดเติบโตเด่น +19% และ +10% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน คาดได้ผลบวกจากงบประมาณภาครัฐใน ครึ่งปีหลัง 2567 ถึง ครึ่งปีแรก 2568 ให้เป้า KTB 24 บาท

KTB กำไร Q3 ตามคาค เล็งไตรมาส 4 โตต่อ

KTB กำไร Q3 ตามคาค เล็งไตรมาส 4 โตต่อ

          หุ้นวิชั่น -บล. ดาโอ คงคำแนะนำ “ซื้อ” KTB และราคาเป้าหมายที่ 23.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.68x (-0.75SD below 10-yr average PBV) โดย KTB ประกาศกำไรสุทธิ 3Q24 อยู่ที่ 1.1 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น +8% YoY แต่ลดลง -1% QoQ เป็นไปตามที่ตลาดและเราคาด โดยมีรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิมากกว่าคาด จาก Wealth management ขณะที่มี OPEX มากกว่าคาดจากค่าใช้จ่าย IT ที่เพิ่มขึ้น ด้าน NPL เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3.14% จากไตรมาสก่อนที่ 3.12% ขณะที่มูลค่า NPL ลดลง -0.4% QoQ โดยมีการ write-off อีกราว 6 พันล้านบาท จากไตรมาสก่อนที่ 7.5 พันล้านบาท กำไรสุทธิ 9M24 คิดเป็น 79% จากประมาณการทั้งปี ทำให้เรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในกลุ่มธนาคารที่ +15% YoY จากสำรองฯที่ลดลงกลับมาที่ระดับปกติ ขณะที่เราคาดว่ากำไรสุทธิ 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY แต่จะลดลง QoQ           ทั้งนี้ประมาณกำไรมี upside เพิ่มจากสำรองฯที่จะลดลงได้มากกว่าคาด หาก KTB มีการปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้นไปอีก เพราะสินเชื่อภาครัฐไม่ต้องมีการตั้งสำรองฯ           โดยขอรอการประชุมนักวิเคราะห์อีกที ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น +12% เมื่อเทียบกับ SET ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา เพราะได้ Fund flow จากวายุภักดิ์ และ KTB เน้นปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำและรองรับกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้ นอกจากนี้ยังมี Coverage ratio ที่ยังอยู่ในระดับสูงถึง 184% ขณะที่ valuation ปัจจุบันซื้อขายที่ระดับต่ำเพียง PBV ที่ 0.73x (-0.50SD below 10-yr average PBV) ขณะที่ราคาหุ้นยังไม่สะท้อนกำไรรายไตรมาสที่ยืนเหนือระดับ 1.1 หมื่นล้านบาท อย่างต่อเนื่องมา 3 ไตรมาสติดกัน           โดยยังคงเลือก KTB เป็น Top pick ของกลุ่ม

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

KTB กำไร Q3 ชน 1.1หมื่นล้านบาท ส่วน 9 เดือนโต 9.4%

KTB กำไร Q3 ชน 1.1หมื่นล้านบาท ส่วน 9 เดือนโต 9.4%

          KTB รายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2567 มีกำไรสุทธิ 11,107 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน ขณะที่ช่วง 9 เดือนแรกของปี กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 9.4% อยู่ที่ 33,381 ล้านบาท เน้นบริหาร Portfolio อย่างสมดุล พร้อมขับเคลื่อนนวัตกรรมการเงินและร่วมยื่นขอใบอนุญาต Virtual Bank เพื่อเตรียมความพร้อมรับอนาคตเศรษฐกิจดิจิทัล ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เผยภาพรวมผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3/2567           เศรษฐกิจไทยปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่ยังอยู่ในระดับต่ำ และเป็นการขยายตัวที่ไม่ทั่วถึงในรูปแบบ K-shaped Economy โดยมีการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวเป็นเครื่องยนต์หลัก และได้รับปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ ทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ การลดภาระค่าใช้จ่าย และการเพิ่มรายได้ให้กับภาคครัวเรือน อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตและภาคการส่งออกกำลังเผชิญกับความท้าทายจากการพัฒนาผลิตภาพแรงงานเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน เศรษฐกิจโลกที่มีทิศทางชะลอตัวท่ามกลางปัญหาความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ ความผันผวนของค่าเงินบาท โดยเฉพาะธุรกิจ SME ที่ส่วนใหญ่ยังคงเปราะบางและขาดความยืดหยุ่นในการปรับตัวจึงทำให้ฟื้นตัวได้ช้า ส่วนภาคครัวเรือนยังได้รับแรงกดดันจากภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูง มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังได้รับผลกระทบจากสภาวะภูมิอากาศแปรปรวนที่ส่งผลให้เกิดปัญหาอุทกภัยในบางพื้นที่           ผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3/2567 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 2/2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารเท่ากับ 11,107 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา ธนาคารเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ ดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวังและรอบคอบ ให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินทรัพย์ รักษา Coverage ratio ในระดับสูงที่ร้อยละ 184.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 181.3 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ทั้งนี้สินเชื่ออยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมา จากการบริหารจัดการ Portfolio รักษาสมดุลด้านความเสี่ยงและผลตอบแทน แม้มีกำรชำระคืนของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ในขณะที่รายได้จากการดำเนินงานขยายตัวเล็กน้อย ร้อยละ 2.8 บริหารจัดการค่าใช้จ่ายในองค์รวมอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ Cost to Income ratio เท่ากับร้อยละ 42.4 ธนาคารตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระดับที่เหมาะสมใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมา รองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ รวมถึงความท้าทายจากความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างไม่ทั่วถึง ทั้งนี้ มีสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ที่ 98,301 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.1 จากสิ้นปี 2566 มี NPLs Ratio เท่ากับร้อยละ 3.14           เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2566 กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 มุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนพร้อมบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์อย่างยืดหยุ่นและระมัดระวัง บริหารจัดการ Portfolio เพื่อรักษาสมดุลและมีคุณภาพ ส่งผลให้รายได้รวมจากการดำเนินงานขยายตัวร้อยละ 4.3 ธนาคารบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในองค์รวมอย่างมีประสิทธิภาพ โดย Cost to Income ratio เท่ากับร้อยละ 42.4 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ธนาคารตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระดับที่เหมาะสม ภาพรวมผลประกอบการสำหรับช่วงเก้าเดือนของปี 2567           ผลประกอบการในช่วง 9 เดือนของปี 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารเท่ากับ 33,381 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 มุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน บริหารจัดการ Portfolio อย่างสมดุลและมีคุณภาพ ประกอบกับการขยายตัวของรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิและรายได้จากการดำเนินงานอื่น ๆ ซึ่งรวมทั้งจากหนี้สูญรับคืน ส่งผลให้รายได้จากการดำเนินงานขยายตัวร้อยละ 9.9 ธนาคารได้มุ่งเน้นการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในองค์รวมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี Cost to Income ratio เท่ากับร้อยละ 42.5 ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นผลจากการบริหารจัดการทรัพย์สินรอการขายอย่างระมัดระวัง โดยธนาคารตั้งค่าเผื่อด้อยค่าทรัพย์สิน           รอการขายตามศักยภาพของทรัพย์สินอย่างเหมาะสม อีกทั้งธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับการขยายการลงทุนเกี่ยวกับเทคโนโลยีและดิจิทัลเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ครอบคลุมลูกค้าในทุกภาคส่วน และเพื่อเตรียมความพร้อมรับการเติบโตของอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในอนาคต ทั้งนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระดับที่เหมาะสม ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ           ณ 30 กันยายน 2567 ธนาคาร (งบเฉพาะธนาคาร) มีเงินกองทุนชั้นที่ 1 ร้อยละ 18.95 ของสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยง และมีเงินกองทุนทั้งสิ้นร้อยละ 20.97 ของสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยง ซึ่งอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รวมถึงมีสภาพคล่องในระดับที่เพียงพอโดยรักษาระดับของ Liquidity Coverage ratio (LCR) อย่างต่อเนื่อง สูงกว่าเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด           ธนาคารกรุงไทย ขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ลูกค้าในทุกมิติ สนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสร้างคุณค่า ตอบโจทย์ลูกค้า สู่ความยั่งยืน” ล่าสุด ธนาคารได้สร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับประเทศอีกครั้ง โดยบริษัท กรุงไทย เวนเจอร์ส จำกัด (Krungthai Ventures) บริษัทเงินร่วมลงทุนภายใต้ธนาคารกรุงไทย ได้ร่วมลงทุนในบริษัท เสิร์ชเอ็นจินอ็อปทิไมเซชั่น จำกัด ผู้ก่อตั้งโกเธอร์ (Gother) แพลตฟอร์มบริการท่องเที่ยวออนไลน์ของไทย เชื่อมต่อ Ecosystem ที่แข็งแกร่งของธนาคาร ทั้งแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT และแอปฯ เป๋าตัง พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการสตาร์ทอัพของไทย และ SMEs ให้เติบโตแข็งแกร่ง อีกทั้ง ธนาคารยังได้ร่วมกับพันธมิตรในการยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเงิน สนับสนุนการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างมีคุณภาพของคนไทยและธุรกิจไทย ลดความเหลื่อมล้ำ สนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน           ทั้งนี้ ธนาคารให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางให้สามารถปรับตัวและฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืน โดยธนาคารตระหนักถึงสถานการณ์น้ำท่วมเฉียบพลันในหลายพื้นที่ของประเทศ ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง ธนาคารได้เร่งบรรเทาความเดือดร้อนในการดำรงชีพและออกมาตรการทางการเงินเพื่อลดภาระทางการเงินให้กับผู้ประสบภัย ครอบคลุมการลดดอกเบี้ยและลดค่างวดชำระหนี้ พร้อมเสริมสภาพคล่องในการดำรงชีพ ตลอดจนการซ่อมแซมทรัพย์สินและที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหาย           ธนาคารมุ่งมั่นขับเคลื่อนการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่กระทบต่อการดำรงชีพของลูกค้าประชาชน และเป็นอุปสรรคสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย จึงเดินหน้าขยายความร่วมมือเพิ่มเติม ภายใต้ “โครงการรวมหนี้ข้าราชการยั่งยืน” โดยมีความร่วมมือกับกระทรวงการคลัง กระทรวงศึกษาธิการ สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ กำลังพล สหกรณ์ข้าราชการ สหกรณ์จำกัด และสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น และอยู่ระหว่างขยายความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อช่วยเหลือข้าราชการกลุ่มเปราะบาง ลดภาระทางการเงิน เพิ่มสภาพคล่องในการดำรงชีพ พร้อมส่งเสริมความรู้ สร้างวินัยทางการเงิน ตามแนวทางการแก้หนี้ยั่งยืน และแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ของธนาคารแห่งประเทศไทย

คัดหุ้นปันผลสูง KTB BBL ADVANC HMPRO

คัดหุ้นปันผลสูง KTB BBL ADVANC HMPRO

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัดระบุถึง หุ้นที่จ่ายปันผลสูงและคาดได้อานิสงส์จากการเป็นเป้าหมายสะสมของกองทุนวายุภักษ์และกองทุนที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีช่วงปลายปี แนะนำหุ้นที่ผลประกอบการมีแนวโน้มเติบโตได้ในปี 2025 เลือก KTB BBL ADVANC HMPRO

ชำแหละกำไรหุ้นแบงก์ ชี้ KTB-KBANK ซ่อนค่า

ชำแหละกำไรหุ้นแบงก์ ชี้ KTB-KBANK ซ่อนค่า

          หุ้นวิชั่น - บล.ดาโอ ระบุว่า ยังคงน้ำหนักการลงทุน “มากกว่าตลาด” โดยคาดกำไรสุทธิรวม 3Q24E ของกลุ่มธนาคารจะอยู่ที่ 5.2 หมื่นล้านบาท (+3% YoY, -3% QoQ) โดยเพิ่มขึ้น YoY เกิดจาก TTB ที่ได้ผลประโยชน์ทางภาษีราว 1.1 พันล้านบาท จากปีก่อนที่ไม่มี ประกอบกับ KTB มีรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิเพิ่มขึ้นได้จากการ Cross-selling ในกลุ่ม และ KBANK มีสำรองฯที่ลดลงจากปีก่อนที่ตั้งเผื่อมาเยอะ           ส่วนกำไรที่ลดลง QoQ เพราะกำไรจากเงินลงทุนในส่วนของเงินปันผลรับลดลงตามฤดูกาล โดยธนาคารที่มีกำไรสุทธิ 3Q24E เติบโตได้ดีทั้ง YoY/QoQ คือ SCB +5% YoY, +1% QoQ เพราะมีสำรองฯที่ลดลง YoY และมีการขาย Robinhood ได้เงินทันที 400 ล้านบาท           ส่วนธนาคารที่เติบโตได้ดี YoY คือ TTB +13% YoY, KBANK +7% และ KTB +6% ขณะที่กำไรสุทธิ 3Q24E ที่ลดลง YoY, QoQ คือ TISCO -10% YoY, -3% QoQ เพราะสำรองฯเพิ่มขึ้นตามการปล่อยสินเชื่อผลตอบแทนสูงที่เพิ่มขึ้น รองลงมาเป็น BBL -3% YoY และ -7% QoQ เพราะมีกำไรจากเงินลงทุนลดลง           ด้านสินเชื่อรวม 3Q24E ลดลง -2% YoY และ -1% QoQ เพราะสินเชื่อรายใหญ่และภาครัฐมีการชำระคืน ส่วน NPL รวมทยอยเร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ 3.19% จาก 2Q24 ที่ 3.13% แต่ยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้           ยังคงประมาณการกำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารปี 2024E/2025E อยู่ที่ 2.05 แสนล้านบาท/2.17 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น +5% YoY/+6% YoY จากสำรองฯที่ลดลงเป็นหลัก โดยคาดว่าจะมีการปรับตัวลดลง -10% YoY จากปี 2023 ที่เพิ่มขึ้น +17% YoY เพราะมีการตั้งเผื่อมาเยอะแล้ว ขณะที่คาด กนง. จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 50bps ในช่วงปลายปี 2024E-1H25E กลุ่มธนาคารปรับตัวเพิ่มขึ้น +6%/+13% ใน 3 และ 6 เดือนที่ผ่านมา เพราะ Fund flow ที่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง           อย่างไรก็ตาม valuation ยังน่าสนใจ เทรดที่ระดับเพียง 0.70x 2024E PBV (-1.00SD below 10-yr average PBV) Top picks เลือก KBANK และ KTB KBANK (ซื้อ/เป้า 176.00 บาท) จากคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น และ valuation ถูก โดยซื้อขายเพียง 0.65x PBV ถูกกว่ากลุ่มที่ 0.70x PBV และถูกกว่า SCB ที่ 0.80x PBV KTB (ซื้อ/เป้า 23.00 บาท) เพราะกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มสูงสุดในกลุ่มที่ +15% YoY จากสำรองฯที่ลดลง และจะเน้นการปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ

abs

Hoonvision