#KBANK


สินเชื่อ ต.ค.เพิ่ม 0.2% หุ้นแบงก์ไหนเด่น เช็กเลย!

สินเชื่อ ต.ค.เพิ่ม 0.2% หุ้นแบงก์ไหนเด่น เช็กเลย!

        หุ้นวิชั่น- บทวิเคราะห์ บล.ดาโอระบุว่า ภาพรวมสินเชื่อเดือน ต.ค. 24 ทั้ง 7 ธนาคารที่เรา cover อยู่ที่ 10.7 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น +0.2% MoM ส่วนใหญ่มาจากสินเชื่อรายใหญ่ ขณะที่สินเชื่อภาครัฐทรงตัว ส่วนสินเชื่อรายย่อยที่มาจากสินเชื่อเช่าซื้อยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยธนาคารที่มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ BBL เพิ่มขึ้น +1.6% MoM จากสินเชื่อรายใหญ่และต่างประเทศ รองลงมาเป็น KBANK, TISCO เพิ่มขึ้น +0.3% MoM จากสินเชื่อรายใหญ่เป็นหลัก ส่วนสินเชื่อรายย่อยและ SME ยังคงหดตัวลง ขณะที่ธนาคารที่มีสินเชื่อลดลงมากที่สุด MoM คือ KKP -0.7% MoM ลดลงจากสินเชื่อเช่าซื้อทั้งในส่วนของรถใหม่และรถมือสอง รองลงมาเป็น TTB ลดลง -0.5% MoM จากสินเชื่อรายใหญ่และรายย่อย แต่สินเชื่อ High yield ยังเพิ่มขึ้น ส่วนภาพรวมของเงินฝากเดือน ต.ค. 24 อยู่ที่ 12.5 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น +1.8% MoM โดยธนาคารที่เงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ KTB เพิ่มขึ้นถึง +5.7% MoM จากเงินฝาก CASA ของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ รองลงมาเป็น SCB, KKP เพิ่มขึ้น +3.5%, +3.4% จากเงินฝาก CASA เป็นหลัก ส่วนเงินฝากที่ลดลงมากที่สุดคือ KBANK ลดลง -3.7% MoM จากเงินฝากประจำที่ลดลง (ที่มา: ข้อมูลบริษัท) บล.ดาโอ มองเป็นบวกต่อกลุ่มธนาคาร มีมุมมองเป็นบวกต่อสินเชื่อในเดือน ต.ค. 24 ที่กลับมาฟื้นตัวในรอบ 6 เดือนได้ที่ +0.2% MoM จากเดือน ก.ย. 24 ที่ลดลง -0.5% MoM โดยการเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากสินเชื่อรายใหญ่เป็นหลัก ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อยังลดลงตามทิศทางของยอดขายรถยนต์ที่มีการปรับตัวลดลง และจากกำลังซื้อชะลอตัว รวมถึงหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ทำให้กลุ่มธนาคารมีการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ขณะที่เราคาดว่าสินเชื่อรายใหญ่และภาครัฐจะมี Momentum ที่เพิ่มขึ้นได้ในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. 24 ตามโครงการใหญ่ๆของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เรายังคงประมาณการการเติบโตของสินเชื่อรวมทั้งปี 2024E ของกลุ่มไว้ที่ +1% YoY (10M24 อยู่ที่ -1.6% YTD) ด้าน NPL เราคาดว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เราเชื่อว่าจะทยอยเพิ่มขึ้นไม่น่ากังวลมากนัก เพราะแต่ละธนาคารมีการตั้งสำรองฯจำนวนมากมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และมีการทยอยขายหนี้เสียออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยคาด NPL ในปี 2024E จะอยู่ที่ 3.29% จาก 2.92% ในปี 2023          ยังคงน้ำหนักเป็น “มากกว่าตลาด” เลือก KTB, KBANK เป็น Top pick ขณะที่ BBL จะได้รับผลบวกจากสินเชื่อที่เติบโตได้สูงสุดในเดือน ต.ค. 24 เราให้น้ำหนักการลงทุนของกลุ่มธนาคารเป็น “มากกว่าตลาด” เพราะแนวโน้มการเติบโตของกำไรปี 2024E-2025E จะยังเติบโตได้ต่อเนื่องอีก 5-6% YoY ขณะที่ valuation ยังถูก โดยเทรดที่ระดับเพียง 0.65x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) ขณะที่เรายังคงเลือก KBANK, KTB เป็น Top pick ขณะที่ BBL จะได้รับผลบวกจากสินเชื่อที่เติบโตได้ในเดือน ต.ค. 24 - KTB ราคาเป้าหมายที่ 24.50 บาท อิง PBV 2025E ที่ 0.85x (-0.75SD below 10-yr average PBV) เพราะกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในกลุ่มธนาคารที่ +18% YoY ขณะที่เราคาดว่าแนวโน้มกำไรสุทธิ 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY แต่จะลดลง QoQ จาก OPEX ที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล และ KTB เน้นปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำและรองรับกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้ - KBANK ราคาเป้าหมายที่ 176.00 บาท บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.70x (-1.00SD below 10-yr average PBV) เพราะคุณภาพของสินทรัพย์ที่ดีขึ้น และเราคาดหวัง JV AMC กับ BAM จะช่วยลด NPL ได้ในระยะยาว และคาดกำไร 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY จากสำรองฯที่ลดลง โดยปัจจุบันซื้อขายเพียง 0.64x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) ถูกกว่า SCB ที่ 0.81x PBV

วิพากษ์อนาคต KBANK ซ่อนมูลค่าปันผลยิลด์ 5%

วิพากษ์อนาคต KBANK ซ่อนมูลค่าปันผลยิลด์ 5%

          หุ้นวิชั่น- ฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CGSI ระบุในบทวิเคราะห์ ว่า ในไตรมาส 3/67 KBANK ทำกำไรสุทธิได้ 1.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.1% yoy แต่ลดลง 5.4% qoq สอดคล้องประมาณการของ Bloomberg consensus แต่ต่ำกว่าที่ฝ่ายวิเคราะห์ฯคาดไว้ 10%           ดังนั้น กำไรสุทธิ 9 เดือนแรกของปี 67 จึงอยู่ที่ 3.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.4% yoy คิดเป็น 78.8% ของประมาณการทั้งปี           KBANK มีกำไรก่อนตั้งสำรองในไตรมาส 3/67 ลดลง 0.4% yoy และ 4.8% qoq ขณะที่อัตราการเติบโตของสินเชื่ออยู่ที่ 0% yoy, และลดลง 2.2% qoq และลดลง 2.1% จากสิ้นปี 66 ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้เกณฑ์การอนุมัติ สินเชื่อที่ระมัดระวัง บวกกับเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า นอกจากนี้ KBANK ยังมี NPL เพิ่มขึ้นเป็น 3.82% จาก 3.27% ในไตรมาส 2/67 และมีอัตราการตั้งสำรองต่อหนี้ NPL ลดลงเล็กน้อยเป็น 139% จาก 141% ในไตรมาส 2/67           ในไตรมาส 3/67 ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย(NIM) ของ KBANK ลดลงมาที่ 3.68% จาก 3.73% ในไตรมาส 2/67 เนื่องจากผลตอบแทนจากสินทรัพย์ลดลง ทำให้รายได้ดอกเบี้ยลดลง 2.6% yoy และ 1.2% qoq ส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยยังเติบโต 28% yoy แต่ลดลง 10.2% qoq เพราะรายได้สุทธิจากการรับประกันภัยลดลง อย่างไรก็ตาม รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเติบโตสูง 8.1% yoy และ 4.4% qoq จากการเพิ่มขึ้นของค่าธรรมเนียมรับจากบริการการค้าระหว่างประเทศและค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ขณะที่มีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้เพิ่มเป็น 44.2% จาก 43.4% ในไตรมาส 2/67 แต่ยอดค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานทรงตัว qoq           ทั้งนี้ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์ KBANK ยังคงเป้าหมายทางการเงินในปี 67 แต่มองว่าสินเชื่อน่าจะไม่สามารถเติบโตได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ 3- 5% ในปีนี้ เพราะยอดสินเชื่อ 9 เดือนขยายตัวต่ำกว่าคาด ขณะที่ยังตั้งเป้ารายได้ค่าธรรมเนียมเติบโตระหว่าง 5-9% ในปีนี้ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่จะมาจากค่าธรรมเนียมรับจากการจัดการกองทุน, การให้บริการสินเชื่อและธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ (Trade finance) ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมในไตรมาส 4/67 จะเติบโตจากธุรกิจการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth management) ขณะเดียวกันเป้าหมายอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ(CET-1)ระยะยาวของ KBANK ที่ 13-15% สะท้อนเสถียรภาพทางการเงิน, ผลตอบแทนที่ให้กับผู้ถือหุ้นและการลงทุนเพื่อการเติบโตแล้ว ทั้งนี้ CET-1อยู่ที่ 17.6% ในไตรมาส 3/67 นอกจากนี้ KBANK ยังคาดว่าอัตราการจ่ายเงินปันผลจะค่อยๆเพิ่มขึ้น           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI ยังแนะนำ “ซื้อ” KBANK ราคาเป้าหมาย 188 บาทในปี 68 เท่ากับ P/BV 0.74 เท่า มองว่า ปี 67-69 EPS จะเติบโตดีในอัตรา 6.3-14.1%, อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลน่าสนใจที่ 5.0% ต่อปีในปี 67-69 และสามารถบริหารจัดการ NPL ได้ดีขึ้น           อย่างไรก็ตามมี downside risk หาก NPL กลุ่มสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคและสินเชื่อ SME สูงขึ้น รวมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนปัจจัยบวกคือการที่ Bloomberg consensus ปรับเพิ่มประมาณการกำไรและอัตราการสำรองหนี้สูญกลับมาอยู่ในระดับปกติจากการใช้กลยุทธ์เคลียร์งบดุล

บล.กรุงศรี ให้น้ำหนักลงทุนแบงก์ KTB-KBANK ดาวเด่น

บล.กรุงศรี ให้น้ำหนักลงทุนแบงก์ KTB-KBANK ดาวเด่น

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) กลุ่มธนาคารรายงานกำไรสุทธิไตรมาส 3/2567 ที่ 5.47 หมื่นลบ. เพิ่มขึ้น +9% y-y และ +2% q-q เพราะการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย (Non-NII) และการลดลงของค่าใช้จ่ายสำรอง (ECL) ไตรมาสนี้ BBL, SCB และ KKP รายงานกำไรสุทธิดีกว่าคาด ขณะที่ธนาคารที่เหลือรายงานกำไรสุทธิใกล้เคียงฝ่ายวิเคราะห์คาด โดยธนาคารที่รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 3/2567 เติบโต y-y และ q-q คือ BBL,SCB และ KKP สำหรับธนาคารที่รายงานกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น y-y ลดลง q-q คือ KBANK ,KTB และ TTB ส่วนธนาคารรายงานกำไรสุทธิลดลง y-y และ q-q คือ TISCO           ภาพรวมกลุ่มปี 2568 คาดธนาคารได้รับผลกระทบเชิงลบ จากทิศทางดอกเบี้ยขาลง อย่างไรก็ตามคาดจะเห็นผลบวกในเรื่องคุณภาพสินทรัพย์ นอกจากนั้นธนาคารยังคงปันผลเด่น ดังนั้นคงน้ำหนักการลงทุนเป็น NEUTRAL และคง KBANK และ KTB เป็น Top Pick

โบรกเคาะเป้า KBANK 180 บ. กำไรโตเด่น

โบรกเคาะเป้า KBANK 180 บ. กำไรโตเด่น

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) มีมุมมอง Neutral ต่อการประชุมนักวิเคราะห์ของ KBANK เพราะข้อมูลส่วนใหญ่ไม่ได้ต่างจากที่คาดก่อนหน้า ภาพรวมคงชอบ KBANK และคงเป็น Top Pick กลุ่มธนาคารคู่กับ KTB (BUY, TP 24 บ.) เพราะเห็นพัฒนาการการบริหารคุณภาพสินทรัพย์ของ KBANK ในทางบวก ดังนั้นคาดมีโอกาสเห็นค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) กลับสู่ระดับปกติในปี 2568 ที่ 140-160 bps. และกำไรสุทธิ 2568-2569 คาดเติบโตเด่น +17% และ +10% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน           ฝ่ายวิเคราะห์ปรับประมาณการกำไรสุทธิ 2567-2569 ใหม่เป็น 4.95/5.45 และ 5.83 หมื่นลบ. เดิม 4.94/ 5.48และ 5.81 หมื่นลบ. ตามลำดับ มุมมองที่เปลี่ยนไป สินเชื่อรวมต่ำกว่าคาด จากกลยุทธ์การเติบโตสินเชื่ออย่างระมัดระวัง ทิศทางดอกเบี้ยนโยบายขาลง ใช้สมมุติฐานดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 2.0% ซึ่งคาดจะมีการปรับลงอีกครั้งในช่วง ไตรมาส 1/2568 และรายได้ค่าธรรมเนียม-บริการดีกว่าคาด จากธุรกิจ wealth management           ฝ่ายวิเคราะห์แนะนำ BUY และคง TP25F ที่ 180 บาท เพราะเห็นพัฒนาการการบริหารคุณภาพสินทรัพย์ของ KBANK ในทางบวก ดังนั้นคาดว่ามีโอกาสเห็นค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) กลับสู่ระดับปกติในปี 2568 ที่ 140-160 bps. กำไรสุทธิ 2567-2568 คาดเติบโตเด่น +17% และ +10% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

KBANK วิเคราะห์มีแววโตแค่ไหน? จับตา NPL มีสัญญาณลด

KBANK วิเคราะห์มีแววโตแค่ไหน? จับตา NPL มีสัญญาณลด

          หุ้นวิชั่น - บล. ดาโอ ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” KBANK และราคาเป้าหมายที่ 176.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.70x (-1.00SD below 10-yr average PBV)           โดยมีมุมมองเป็นกลางทั้งจากการประชุมนักวิเคราะห์เพราะแนวโน้มยังเป็นไปตามคาด และการประกาศกำไรสุทธิ 3Q24 ที่เป็นไปตามที่ตลาดและเราคาด มาอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท (+6% YoY, -5% QoQ) เพราะมีกำไรจาก FVTPL เข้ามาช่วยถึง 3.7 พันล้านบาท (เราคาด 2.7 พันล้านบาท) แต่มี Net Insurance Premium ลดลงมากกว่าคาดมาอยู่ที่ -2.3 พันล้านบาท (คาด -1.1 พันล้านบาท) ขณะที่ NPL เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3.20% จากไตรมาสก่อนที่ 3.18% ขณะที่มี write-off เพิ่มขึ้นอีก 3.2 พันล้านบาท และขาย NPL อีก 4.9 พันล้านบาท ส่วนเรื่อง JV AMC กับ BAM ตอนนี้รอ License อนุมัติจาก ธปท. ซึ่งคาดว่าจะได้ใน 4Q24E และจะช่วยให้ NPL มีโอกาสลดลงได้ในอนาคต กำไรสุทธิ 9M24 คิดเป็น 79% จากประมาณการทั้งปี           โดยยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น +13% YoY จากสำรองฯที่ลดลงเป็นหลัก ขณะที่เราคาดกำไร 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY จากสำรองฯที่ลดลง แต่จะลดลง QoQ เพราะ OPEX ที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล ราคาหุ้นลดลง -7% เมื่อเทียบกับ SET ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา จาก Fund flow จากนักลงทุนต่างชาติที่เริ่มไหลออก ประกอบกับ กนง. เซอร์ไพร์ลดอัตราดอกเบี้ย           อย่างไรก็ดี KBANK ยังมี valuation ที่น่าสนใจ โดยปัจจุบันซื้อขายเพียง 0.65x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) ถูกกว่ากลุ่มที่ 0.70x PBV และถูกกว่า SCB ที่ 0.80x PBV และเราคาดหวัง JV AMC กับ BAM จะช่วยลด NPL ได้ในระยะยาว

KBANK กำไร 9 เดือนแรกพุ่ง 15.41% แตะ 38,104 ล้านบาท

KBANK กำไร 9 เดือนแรกพุ่ง 15.41% แตะ 38,104 ล้านบาท

          ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK  เผยกำไร 9 เดือนแรกปี 2567 พุ่ง 15.41% จากการเติบโตของรายได้สุทธิและการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมตั้งสำรองอย่างระมัดระวังเพื่อรองรับความเสี่ยง NPL อยู่ที่ 3.20% แม้เศรษฐกิจจะฟื้นตัวไม่ทั่วถึง ธนาคารยังคงมุ่งมั่นขยายธุรกิจและดูแลคุณภาพสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง           ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK รายงานต่อหลักทรัพย์ ว่าไตรมาส 3 ปี 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 11,965 ล้านบาท ลดลงจำนวน 688 ล้านบาท หรือ 5.43% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน หลัก ๆ เกิดจากการลดลงของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ส่วนใหญ่จากธุรกิจประกัน อย่างไรก็ตาม รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งจากค่าธรรมเนียมรับของบริการการค้าระหว่างประเทศ และค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์ ประกอบกับรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่ยังคงฟื้นตัวอย่างไม่ทั่วถึง และธนาคารมีการยกระดับกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการปล่อยสินเชื่อใหม่อย่างมีคุณภาพ โดยอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin: NIM) อยู่ที่ 3.61% ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นผลจากสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิที่เพิ่มจากการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทุนแห่งหนึ่ง ซึ่งส่งผลต่อธนาคารเพียงในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม หากไม่รวมรายการดังกล่าว อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin: NIM) จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ มีจำนวน 21,501 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนจากการที่ธนาคารยังคงบริหารจัดการค่าใช้จ่ายและการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของการตั้งสำรอง ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss: ECL) มีจำนวน 11,652 ล้านบาท อยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นไปตามหลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สำรองฯ อยู่ในระดับที่เหมาะสม สะท้อนสถานการณ์ปัจจุบัน และรองรับความไม่แน่นอนของปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่อาจส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจ           สำหรับงวด 9 เดือน ปี 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้จำนวน 85,159 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 3,861 ล้านบาท หรือ 4.75% เป็นผลจากรายได้จากการดำเนินงานสุทธิเติบโตจำนวน 7,501 ล้านบาท หรือ 5.29% สูงกว่าค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ซึ่งเพิ่มขึ้นจำนวน 3,640 ล้านบาท หรือ 6.02% ตามการขยายตัวของปริมาณธุรกิจ แม้ว่าการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss: ECL) จะลดลงเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน แต่ธนาคารและบริษัทย่อยยังคงตั้งสำรองฯ ตามหลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง รองรับความไม่แน่นอนของปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจ จึงได้ตั้งสำรองฯ สำหรับไตรมาส 3 ปี 2567 จำนวน 11,652 ล้านบาท ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน ส่งผลให้กำไรสุทธิมีจำนวน 38,104 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 5,087 ล้านบาท หรือ 15.41% จากงวดเดียวกันของปีก่อน           รายได้จากการดำเนินงานสุทธิมีจำนวน 149,260 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 7,501 ล้านบาท หรือ 5.29% โดยมีรายการหลักจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่มีจำนวน 113,031 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 3,436 ล้านบาท หรือ 3.14% ตามภาวะตลาด โดยในช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้ออกมาตรการต่าง ๆ รวมทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อเพื่อให้ความช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบาง และลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในหลายพื้นที่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ลูกค้าสามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin: NIM) อยู่ที่ 3.66%           รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิมีจำนวน 24,809 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,178 ล้านบาท หรือ 4.98% เติบโตหลัก ๆ จากค่าธรรมเนียมรับจากการบริหารความมั่งคั่งผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ครอบคลุมทั้งของธนาคารและบริษัทย่อย รวมทั้งพันธมิตร และค่าธรรมเนียมรับจากการให้บริการด้านเครดิต นอกจากนี้ มีการเพิ่มขึ้นของกำไรจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน และรายได้จากการลงทุน รวมทั้งรายได้จากการปริวรรตเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ทำให้รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 36,229 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นจำนวน 4,065 ล้านบาท หรือ 12.64%           ในขณะที่ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ มีจำนวน 64,101 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 3,640 ล้านบาท หรือ 6.02% จากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการขยายช่องทางการให้บริการลูกค้า และค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่สอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มตามการขยายตัวของปริมาณธุรกิจ โดยธนาคารและบริษัทย่อยยังคงมุ่งเน้นการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้เกิดความคุ้มค่า และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 42.95% ใกล้เคียงกับงวดเดียวกันของปีก่อน           ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 4,367,025 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2566 จำนวน 83,469 ล้านบาท หรือ 1.95% หลัก ๆ จากรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินด้านสินทรัพย์มีจำนวน 663,457 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 94,449 ล้านบาท หรือ 16.60% จากการบริหารสภาพคล่องของธนาคาร อย่างไรก็ตาม เงินให้สินเชื่อสุทธิมีจำนวน 2,321,531 ล้านบาท ลดลงจำนวน 49,961 ล้านบาท หรือ 2.11% จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวอย่างไม่ทั่วถึง ประกอบกับการยกระดับกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการปล่อยสินเชื่อใหม่อย่างมีคุณภาพ สะท้อนการบริหารความสมดุลของความเสี่ยงและผลตอบแทนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของธนาคารในการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ให้มีประสิทธิผลสูงสุดอย่างระมัดระวังรอบคอบ สำหรับเงินให้สินเชื่อธุรกิจที่ไม่มีหลักประกันบางส่วนที่หยุดดำเนินการ ธนาคารจึงมีแผนการขายในอนาคตและได้โอนย้ายไปเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน รวมทั้งมีแผนให้บริษัทย่อยของธนาคารจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์จำกัด (มหาชน) (BAM) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามที่ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว           สำหรับเงินรับฝากมีจำนวน 2,770,120 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 70,558 ล้านบาท หรือ 2.61% ส่งผลให้อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากอยู่ที่ 87.85% ทั้งนี้ หากไม่รวมปริมาณเงินรับฝากที่เพิ่มในระยะสั้น อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน สำหรับเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) อยู่ที่ระดับ 3.20% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม ธนาคารยังคงติดตามคุณภาพสินเชื่ออย่างใกล้ชิดจากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น และพิจารณาดำเนินการตั้งสำรองฯ อย่างเพียงพอตามหลักความระมัดระวัง ทำให้อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) อยู่ที่ 150.72% สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งหมดต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 ยังคงมีความแข็งแกร่งอยู่ที่ 20.58%           กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยในไตรมาส 3 ปี 2567 ยังมีภาพการฟื้นตัวไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะการผลิตภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง และการใช้จ่ายของภาคเอกชน ทั้งในส่วนของการลงทุนและการบริโภคของครัวเรือนที่มีแรงกดดันจากด้านต้นทุน ภาระหนี้สิน รวมถึงกระแสรายได้ที่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2567 แม้เศรษฐกิจไทยน่าจะสามารถประคองแนวโน้มการขยายตัวได้ แต่ต้องติดตามผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมและความผันผวนของค่าเงินบาท ตลอดจนแนวโน้มการชะลอตัวของประเทศเศรษฐกิจหลักของโลก ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์และสัญญาณการฟื้นตัวช้าของการใช้จ่ายภายในประเทศ ซึ่งยังคงเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ท่ามกลางความท้าทายของปัจจัยต่าง ๆ ธนาคารกสิกรไทยยังคงมุ่งเน้นการเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ 3+1 เพื่อส่งมอบคุณค่าที่ยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายภายใต้บริบทของเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน

ชำแหละกำไรหุ้นแบงก์ ชี้ KTB-KBANK ซ่อนค่า

ชำแหละกำไรหุ้นแบงก์ ชี้ KTB-KBANK ซ่อนค่า

          หุ้นวิชั่น - บล.ดาโอ ระบุว่า ยังคงน้ำหนักการลงทุน “มากกว่าตลาด” โดยคาดกำไรสุทธิรวม 3Q24E ของกลุ่มธนาคารจะอยู่ที่ 5.2 หมื่นล้านบาท (+3% YoY, -3% QoQ) โดยเพิ่มขึ้น YoY เกิดจาก TTB ที่ได้ผลประโยชน์ทางภาษีราว 1.1 พันล้านบาท จากปีก่อนที่ไม่มี ประกอบกับ KTB มีรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิเพิ่มขึ้นได้จากการ Cross-selling ในกลุ่ม และ KBANK มีสำรองฯที่ลดลงจากปีก่อนที่ตั้งเผื่อมาเยอะ           ส่วนกำไรที่ลดลง QoQ เพราะกำไรจากเงินลงทุนในส่วนของเงินปันผลรับลดลงตามฤดูกาล โดยธนาคารที่มีกำไรสุทธิ 3Q24E เติบโตได้ดีทั้ง YoY/QoQ คือ SCB +5% YoY, +1% QoQ เพราะมีสำรองฯที่ลดลง YoY และมีการขาย Robinhood ได้เงินทันที 400 ล้านบาท           ส่วนธนาคารที่เติบโตได้ดี YoY คือ TTB +13% YoY, KBANK +7% และ KTB +6% ขณะที่กำไรสุทธิ 3Q24E ที่ลดลง YoY, QoQ คือ TISCO -10% YoY, -3% QoQ เพราะสำรองฯเพิ่มขึ้นตามการปล่อยสินเชื่อผลตอบแทนสูงที่เพิ่มขึ้น รองลงมาเป็น BBL -3% YoY และ -7% QoQ เพราะมีกำไรจากเงินลงทุนลดลง           ด้านสินเชื่อรวม 3Q24E ลดลง -2% YoY และ -1% QoQ เพราะสินเชื่อรายใหญ่และภาครัฐมีการชำระคืน ส่วน NPL รวมทยอยเร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ 3.19% จาก 2Q24 ที่ 3.13% แต่ยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้           ยังคงประมาณการกำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารปี 2024E/2025E อยู่ที่ 2.05 แสนล้านบาท/2.17 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น +5% YoY/+6% YoY จากสำรองฯที่ลดลงเป็นหลัก โดยคาดว่าจะมีการปรับตัวลดลง -10% YoY จากปี 2023 ที่เพิ่มขึ้น +17% YoY เพราะมีการตั้งเผื่อมาเยอะแล้ว ขณะที่คาด กนง. จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 50bps ในช่วงปลายปี 2024E-1H25E กลุ่มธนาคารปรับตัวเพิ่มขึ้น +6%/+13% ใน 3 และ 6 เดือนที่ผ่านมา เพราะ Fund flow ที่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง           อย่างไรก็ตาม valuation ยังน่าสนใจ เทรดที่ระดับเพียง 0.70x 2024E PBV (-1.00SD below 10-yr average PBV) Top picks เลือก KBANK และ KTB KBANK (ซื้อ/เป้า 176.00 บาท) จากคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น และ valuation ถูก โดยซื้อขายเพียง 0.65x PBV ถูกกว่ากลุ่มที่ 0.70x PBV และถูกกว่า SCB ที่ 0.80x PBV KTB (ซื้อ/เป้า 23.00 บาท) เพราะกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มสูงสุดในกลุ่มที่ +15% YoY จากสำรองฯที่ลดลง และจะเน้นการปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

ปตท.-KBANK-ออร์บิกซ์ เทค ออกหุ้นกู้ Q-Bond ครั้งแรกในไทย ชูนวัตกรรมบล็อกเชน

ปตท.-KBANK-ออร์บิกซ์ เทค ออกหุ้นกู้ Q-Bond ครั้งแรกในไทย ชูนวัตกรรมบล็อกเชน

          ปตท. ผนึก กสิกรไทย - ออร์บิกซ์ เทค ออกหุ้นกู้ Q-Bond ครั้งแรกในไทย ชูนวัตกรรมบริหารจัดการหุ้นกู้ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน           วันนี้ (24 กันยายน 2567) – นางสาวพรรณนลิน มหาวงศ์ธิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (กลาง) พร้อมด้วย ดร.กรินทร์ บุญเลิศวณิชย์ รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย (ซ้าย) และ นายญาณวิทย์ รักษ์ศรี กรรรมการผู้จัดการ บริษัท ออร์บิกซ์ เทคโนโลยี แอนด์ อินโนเวชั่น จำกัด (ออร์บิกซ์ เทค) (ขวา) ประกาศความสำเร็จจากการที่ ปตท. ออกและเสนอขายหุ้นกู้ Q-Bond รุ่นอายุ 1 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.38% มูลค่าการเสนอขายรวม 500 ล้านบาท โดยมีธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่าย นายทะเบียน และผู้ลงทุน และมีออร์บิกซ์ เทค เป็นผู้พัฒนาและดูแลระบบแอปพลิเคชัน ภายใต้โครงการ Q-Bond (Bond data on Quarix chain) โดยเป็นการนำ Quarix Blockchain มาใช้ประกอบการทำธุรกรรมตราสารหนี้เป็นครั้งแรกของประเทศไทย ทั้งการจัดเก็บข้อมูล การคำนวณมูลค่าการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นของตราสารหนี้ที่ผู้ลงทุนจะได้รับในวันครบกำหนดไถ่ถอน ผ่านระบบงาน Q-Bond ตลอดจนมีการนำเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Q-money) ใน Quarix Blockchain มาใช้ชำระมูลค่าตราสารหนี้ จ่ายคืนดอกเบี้ยและเงินต้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและขั้นตอนในการทำธุรกรรม รวมถึงทำให้การจัดเก็บข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว และโปร่งใส นับเป็นความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินภายใต้กรอบ Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่สะท้อนภาพการเป็นผู้นำในตลาดทุนของ ปตท. และเป็นก้าวสำคัญที่ภาคธุรกิจและภาคการเงินจับมือเป็นฟันเฟืองหลักในการพัฒนาตลาดทุนไทยให้เดินหน้าสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างทัดเทียมระดับสากลต่อไป

ดัชนีหุ้นไทยปีหน้า 1,630 จุด KBANK-CPN-SIRI น่าสน

ดัชนีหุ้นไทยปีหน้า 1,630 จุด KBANK-CPN-SIRI น่าสน

          หุ้นวิชั่น -CGSI ปรับเพิ่มเป้า SET Index ปีนี้เป็น 1,480 จุด พร้อมคาดปีหน้าอยู่ที่ 1,630 จุด           ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงานว่า บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CGSI ปรับเพิ่มเป้าหมาย SET Index ปีนี้เป็น 1,480 จุด จากเดิม 1,420 จุด มองหุ้นไทยจะมีแรงหนุนจากแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในไทยและสหรัฐฯ เร็วกว่าคาด และเงินบาทน่าจะแข็งค่าขึ้นอีก ขณะที่คาด SET Index ปี 68 จะอยู่ที่ 1,630 จุด           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 50bp เมื่อวันที่ 18 ก.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่ Bloomberg consensus คาดว่า Fed จะปรับลดดอกเบี้ยอีก 25-50bp และ 25-50bp ในการประชุมสองครั้งถัดไป คาดว่าจะมีเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นไทยมากขึ้น ขณะเดียวกันมองว่าการที่เศรษฐกิจไทยอ่อนตัวและเงินบาทแข็งค่า น่าจะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25bp เป็น 2.25% ในการประชุมวันที่ 16 ต.ค.67 นี้           เชื่อว่าการที่เงินลงทุนจากต่างประเทศมีแนวโน้มไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยมากขึ้น จะเป็นผลดีกับหุ้น big cap เช่น หุ้นในกลุ่มธนาคารและกลุ่มอุปโภคบริโภค จึงเพิ่มหุ้น KBANK และ CPN เข้ามาอยู่ในรายชื่อหุ้น Top pick นอกจากนี้มองว่า sentiment ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์น่าจะดีขึ้น จึงได้เพิ่มหุ้น SIRI เข้ามาในรายชื่อหุ้น Top pick ด้วยเช่นกัน           อย่างไรก็ตาม คาดว่าเงินบาทไทยน่าจะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในกลุ่มส่งออก, กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI เชื่อว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/67 อาจชะลอตัวกว่าที่คาดการณ์ เพราะโครงการดิจิทัลวอลเล็ตเฟส 2 ของรัฐบาล วงเงินประมาณ 3 แสนล้านบาท น่าจะต้องเลื่อนไปเป็นปีหน้า อย่างไรก็ตามแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในไทยและสหรัฐฯเร็วกว่าคาด และการที่เงินบาทน่าจะแข็งค่าขึ้นอีก ในปี 67-68 จึงปรับเพิ่มเป้าดัชนี SET สิ้นปี 67 นี้เป็น 1,480 จุด เท่ากับ P/E 16 เท่าในปี 68 หรือ -0.75SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปี จากเดิม 1,420 จุด เท่ากับ P/E 15 เท่าในปี 68 , - 1SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปี           ขณะที่สิ้นปี 68 นั้น มองเป้าหมายดัชนี SET อยู่ที่ 1,630 จุด เท่ากับ P/E 16 เท่าในปี 69 หรืออยู่ที่ -0.75SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปีเช่นกัน สำหรับรายชื่อหุ้น Top pick ประกอบด้วย AMATA, BBL, BCH, CBG, CPALL, CPN, CRC, KBANK, KLINIQ, PTTEP และ SIRI