ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#IRPC


IRPC เสนอขายหุ้นกู้-หุ้นกู้ดิจิทัล 5 ชุด วันที่ 20-21-24 มี.ค.นี้

IRPC เสนอขายหุ้นกู้-หุ้นกู้ดิจิทัล 5 ชุด วันที่ 20-21-24 มี.ค.นี้

              หุ้นวิชั่น - บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) ดำเนินธุรกิจปิิโตรเลีียมและปิิโตรเคมีีแบบครบวงจร พร้อมด้วยธุรกิจสนับสนุนอื่น ๆ  ได้แก่ ธุรกิจไฟฟ้าและสาธารณูปโภค ธุรกิจท่าเรือ ถังเก็บผลิตภัณฑ์ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ พร้อมเสนอขายหุ้นกู้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป อัตราดอกเบี้ยคงที่ระหว่าง 3.80% - 4.35% ต่อปี  ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ที่ระดับ “A-“ แนวโน้ม “คงที่” หรือ “Stable” จากทริสเรทติ้ง เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 สะท้อนถึงมุมมองของทริสเรทติ้งที่มีต่อ IRPC ในฐานะ  บริษัทย่อยที่มีความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ IRPC โดยเสนอขายระหว่างวันที่ 20 - 21 และ 24 มีนาคมนี้ ผ่าน 10 สถาบันการเงินชั้นนำ               นายพิจินต์ อภิวันทนาพร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บัญชีและการเงิน บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC เปิดเผยว่า IRPC พร้อมเสนอขายหุ้นกู้และหุ้นกู้ดิจิทัล ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้รวม 5 ชุด แก่ประชาชนเป็นการทั่วไป ประกอบด้วย หุ้นกู้ชุดที่ 2 อายุ 4 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.80% ต่อปี หุ้นกู้ชุดที่ 3 อายุ 6 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.10% ต่อปี หุ้นกู้ชุดที่ 4 อายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.25% ต่อปี หุ้นกู้ชุดที่ 5 อายุ 9 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.35% ต่อปี และ หุ้นกู้ดิจิทัลชุดที่ 6 อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.95% ต่อปี               หุ้นกู้ทุกชุดมีกำหนดชำระดอกเบี้ยทุก 6 เดือน ตลอดอายุหุ้นกู้ โดยเปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 20 – 21 และ 24 มีนาคมนี้ (รวมถึงวันเสาร์ที่ 22 และวันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม เฉพาะหุ้นกู้ดิจิทัลชุดที่ 6 และการจองซื้อผ่านระบบออนไลน์ของ ผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้บางรายเท่านั้น) ผ่าน 10 สถาบันการเงินชั้นนำ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคาร ยูโอบี ธนาคารออมสิน และบริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคินภัทร สำหรับหุ้นกู้ดิจิทัล เสนอขายผ่านวอลเล็ตซื้อขายหุ้นกู้ บนแอปพลิเคชัน ‘เป๋าตัง’ ของธนาคารกรุงไทย เท่านั้น               สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่สนใจจองซื้อหุ้นกู้ IRPC สามารถจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณ 100,000 บาท ผ่านหลากหลายช่องทาง   ทั้งผ่านสาขาหรือออนไลน์แอปพลิเคชันของผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ที่มีให้บริการ นอกจากนี้ได้เพิ่มทางเลือกให้ผู้ลงทุนในรูปแบบหุ้นกู้ดิจิทัล อายุ 5 ปี สามารถจองซื้อขั้นต่ำ 1,000 บาท และทวีคูณ 1,000 บาท ผ่านวอลเล็ตซื้อขายหุ้นกู้บนแอปฯ “เป๋าตัง” โดยหุ้นกู้ดิจิทัล     บนแอปฯ เป๋าตัง อำนวยความสะดวกให้ผู้ลงทุนซื้อขายได้แบบเรียลไทม์ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ IRPC เป็นบริษัทปิโตรเลียมและปิโตรเคมีครบวงจรชั้นนำของประเทศไทย ด้วยวิสัยทัศน์สร้างสรรค์นวัตกรรมวัสดุและพลังงงาน      เพื่อชีวิตที่ลงตัว ที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม               ข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ และหนังสือชี้ชวนที่ www.sec.or.th หรือ สามารถติดต่อผู้จัดการการจัดจำหน่ายตามรายละเอียดด้านล่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ยกเว้นสาขาไมโคร) โทร. 1333 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok Bank Mobile Banking ได้อีก 1 ช่องทางสำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) โทร. 1572 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชัน krungsri app สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-111-1111 โดยจองซื้อผ่านวอลเล็ตซื้อขายหุ้นกู้ บนแอปพลิเคชัน ‘เป๋าตัง’ ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เท่านั้น (เฉพาะหุ้นกู้ดิจิทัลเท่านั้น) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-888-8888 กด 869 หรือจองซื้อผ่านเว็บไซต์ K-My Invest (www.kasikornbank.com/kmyinvest) สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย (ซึ่งรวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารกสิกรไทย) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โทร. 02-777-6784 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชัน SCB EASY สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย (ซึ่งรวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารไทยพาณิชย์) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) โทร. 1428 กด #4 ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) 02-626-7777 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชัน CIMB THAI สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) โทร. 02-285-1555 บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) โทร. 02-165-5555 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชัน Dime! สำหรับ ผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา (ซึ่งรวมถึงธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานขายของบริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคินภัทร) ธนาคารออมสิน โทร. 02-299-9245, 02-299-9246 หรือจองซื้อผ่านทางแอปพลิเคชัน MyMo สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น โทร. 1115 กด 5 และ 1143

IRPC เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้-หุ้นกู้ดิจิทัล 3.80%-4.35% ต่อปี จองซื้อ 20-21-24 มี.ค.นี้

IRPC เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้-หุ้นกู้ดิจิทัล 3.80%-4.35% ต่อปี จองซื้อ 20-21-24 มี.ค.นี้

          บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC ประกาศดอกเบี้ยหุ้นกู้และหุ้นกู้ดิจิทัล ที่จะเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป อัตราดอกเบี้ยคงที่ระหว่าง 3.80% – 4.35% ต่อปี คาดว่าเปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 20 - 21 และ 24 มีนาคมนี้ ผ่าน 10 สถาบันการเงินชั้นนำ ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ที่ระดับ “A-“ แนวโน้ม “คงที่” หรือ “Stable” จากทริสเรทติ้ง เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 พร้อมเดินหน้ายกระดับประสิทธิภาพและเสริมความแข็งแกร่ง ในธุรกิจหลัก ได้แก่ ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และพัฒนาต่อยอดธุรกิจใหม่ที่บริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญ ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรด้วยนวัตกรรมวัสดุและพลังงานที่ยั่งยืน           นายพิจินต์ อภิวันทนาพร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บัญชีและการเงิน บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC เปิดเผยว่า IRPC กำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับหุ้นกู้และหุ้นกู้ดิจิทัล ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้รวม 5 ชุด ประกอบด้วย หุ้นกู้อายุ 4 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.80% ต่อปี หุ้นกู้อายุ 6 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.10% ต่อปี หุ้นกู้อายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.25% ต่อปี หุ้นกู้อายุ 9 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.35% ต่อปี และหุ้นกู้ดิจิทัลอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.95% ต่อปี เสนอขายแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป หุ้นกู้ทุกชุดมีกำหนดชำระดอกเบี้ยทุก 6 เดือน ตลอดอายุหุ้นกู้ โดยคาดว่าจะเปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 20 – 21 และ 24 มีนาคมนี้ ผ่าน 10 สถาบันการเงินชั้นนำ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคาร ยูโอบี ธนาคารออมสิน และบริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคินภัทร สำหรับหุ้นกู้ดิจิทัล เสนอขายผ่านวอลเล็ตซื้อขายหุ้นกู้ บนแอปพลิเคชัน ‘เป๋าตัง’ ของธนาคารกรุงไทย เท่านั้น           ด้านสถาบันการเงินผู้จัดการการจำหน่ายหุ้นกู้ เชื่อมั่นว่าหุ้นกู้ IRPC เป็นอีกหนึ่งโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจ และคาดว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุน โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดโดยรวมมีความผันผวนจากการลงทุนในหลักทรัพย์อื่น ๆ การลงทุนในหุ้นกู้ของ IRPC จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่คงที่สม่ำเสมอ ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้อยู่ที่ระดับ “A-” แนวโน้ม “คงที่” หรือ “Stable” จากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568           สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่สนใจจองซื้อหุ้นกู้ IRPC สามารถจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณ 100,000 บาท ผ่านหลากหลายช่องทาง ทั้งผ่านสาขาหรือออนไลน์แอปพลิเคชันของผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ที่มีให้บริการ นอกจากนี้ได้เพิ่มทางเลือกให้ผู้ลงทุนในรูปแบบหุ้นกู้ดิจิทัล อายุ 5 ปี สามารถจองซื้อขั้นต่ำ 1,000 บาท และทวีคูณ 1,000 บาท ผ่าน วอลเล็ตซื้อขายหุ้นกู้บนแอปฯ “เป๋าตัง” โดยหุ้นกู้ดิจิทัลบนแอปฯ เป๋าตัง อำนวยความสะดวกให้ผู้ลงทุนซื้อขายได้แบบเรียลไทม์ตลอด 24 ชั่วโมง           ทั้งนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ และร่างหนังสือชี้ชวนซึ่งยังไม่มีผลบังคับใช้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงาน ก.ล.ต. ผู้ลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากแบบแสดงรายการ ข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ และร่างหนังสือชี้ชวนที่ www.sec.or.th หรือ สามารถติดต่อผู้จัดการการจัดจำหน่ายตามรายละเอียดด้านล่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ยกเว้นสาขาไมโคร) โทร. 1333 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok Bank Mobile Banking ได้อีก 1 ช่องทางสำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) โทร. 1572 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชัน krungsri สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-111-1111 โดยจองซื้อผ่านวอลเล็ตซื้อขายหุ้นกู้ บนแอปพลิเคชัน ‘เป๋าตัง’ ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เท่านั้น (เฉพาะหุ้นกู้ดิจิทัลเท่านั้น) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-888-8888 กด 869 หรือจองซื้อผ่านเว็บไซต์ K-My Invest (www.kasikornbank.com/kmyinvest) สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย (ซึ่งรวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารกสิกรไทย) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โทร. 02-777-6784 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชัน SCB EASY สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย (ซึ่งรวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารไทยพาณิชย์) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) โทร. 1428 กด #4 ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) 02-626-7777 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชัน CIMB THAI สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) โทร. 02-285-1555 บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) โทร. 02-165-5555 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชัน Dime! สำหรับ ผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา (ซึ่งรวมถึงธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานขายของบริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคินภัทร) ธนาคารออมสิน โทร. 02-299-9245, 02-299-9246 หรือจองซื้อผ่านทางแอปพลิเคชัน MyMo สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น โทร. 1115 กด 5 และ 1143 คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน [PR News]

IRPC ปี 67 ขาดทุน 5,193 ลบ. ปี 68 อุตสาหกรรมปิโตรเคมียังเหนื่อย

IRPC ปี 67 ขาดทุน 5,193 ลบ. ปี 68 อุตสาหกรรมปิโตรเคมียังเหนื่อย

            หุ้นวิชั่น - IRPC มุ่งสร้างความเข้มแข็งจากธุรกิจหลักปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ท่าเรือและอสังหาริมทรัพย์ รุกขยายธุรกิจที่เชี่ยวชาญและแสวงหาธุรกิจใหม่ พร้อมคว้าโอกาสเติบโตจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ด้วยนวัตกรรมวัสดุและพลังงานที่ยั่งยืน             11 กุมภาพันธ์ 2568 - นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) เปิดเผยว่าปี 2567 เศรษฐกิจโลกมีความท้าทายและผันผวน IRPC เร่งปรับตัวและสร้างการเติบโตด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงาน ลดต้นทุน บริหารจัดการลงทุนทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเสริมสร้างความปลอดภัยประสิทธิภาพการทำงานและพัฒนาบุคลากร เพื่อพร้อมคว้าโอกาสจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ด้วยนวัตกรรมวัสดุพลังงานตอบโจทย์เมกะเทรนด์ และมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero โดยสร้างสมดุลระหว่างธุรกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน             นายเทอดเกียรติ กล่าวว่า ในปี 2567 IRPC สามารถสร้างรายได้และมูลค่าเพิ่มผ่านโครงการ Ultra Clean Fuel (UCF) ซึ่งเริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 โดยผลิตและจำหน่ายน้ำมันดีเซลมาตรฐานยูโร 5 และน้ำมันอากาศยาน Jet A-1 ตามมาตรฐานสากล JIG (Joint Inspection Group) เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก บริษัทฯ ได้ดำเนินการรับมือกับวัฏจักรปิโตรเคมีที่ชะลอตัว โดยมุ่งพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีชนิดพิเศษ (Specialty Products) เพิ่มขึ้นร้อยละ 36 เพื่อตอบสนองตลาดที่มีศักยภาพสูง อาทิ บรรจุภัณฑ์ การแพทย์ ยานยนต์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศรวมทั้ง ได้ดำเนินการเพิ่มกำลังการผลิต Floating Solar เฟส 2 อีก 8.5 เมกะวัตต์ และพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ บนที่ดินของบริษัทฯ เพื่อสร้างรายได้และเสริมศักยภาพด้านพลังงานสะอาดในอนาคต             อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ความผันผวนของราคาพลังงาน ที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก การแข่งขันที่ทวีความรุนแรงทั้งจากอุปทานล้นตลาดจากกำลังการผลิตใหม่ ประกอบกับความต้องการของผู้บริโภคปรับตัวลดลง กระทบต่อส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานในปี 2567 เปรียบเทียบกับปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายสุทธิสำหรับปี 2567 จำนวน 281,711 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6 เทียบกับปีก่อน             โดยมีสาเหตุจากปริมาณขายลดลงร้อยละ 4 และราคาขายเฉลี่ยลดลงร้อยละ 2 ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง โดยราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยปี 2567 ปรับตัวลดลงจากปีก่อน โดยมีปัจจัยกดดันจากความกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจจีน สหรัฐอเมริกา และยุโรปที่ชะลอตัว รวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งในหลายประเทศ ส่งผลให้เกิดการขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน 2,496 ล้านบาท หรือ 0.98 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล             ขณะที่มีการกลับรายการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่ได้รับ (กลับรายการ NRV) 953 ล้านบาท หรือ 0.38 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และกำไรจากการบริหารความเสี่ยงน้ำมันที่เกิดขึ้นจริง (Realized Oil Hedging) 879 ล้านบาท หรือ 0.35 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากรายการดังกล่าว ทำให้บริษัทฯ บันทึกขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันสุทธิ (Net Inventory Loss) รวม 664 ล้านบาท หรือ 0.25 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตทางบัญชี (Accounting GIM) จำนวน 17,691 ล้านบาท หรือ 6.99 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 3 จากปีก่อน และมีกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) จำนวน 4,476 ล้านบาท ลดลง 1,278 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 22             นอกจากนี้ บริษัทฯ บันทึกค่าเสื่อมราคา 9,140 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากปีก่อน เป็นผลจากสินทรัพย์ที่เพิ่มจากโครงการ Ultra Clean Fuel (UCF) ที่มีการผลิตเชิงพาณิชย์ในเดือนเมษายน 2567 ประกอบกับมีต้นทุนทางการเงินสุทธิจำนวน 2,427 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 จากปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากเงินกู้ยืมที่เพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นตามตลาด อย่างไรก็ตามบริษัทฯ มีกำไรจากการลงทุนจำนวน 989 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัท ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล เอสเตท ระยอง จำกัด (WHA IER) ที่เริ่มรับรู้รายได้จากการจำหน่ายที่ดินตั้งแต่ไตรมาส 2/2567 จากปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้ในปี 2567 บริษัทฯ บันทึกผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิ 5,193 ล้านบาท มากกว่าปี 2566 ที่ร้อยละ 78             สำหรับผลดำเนินงานไตรมาส 4/2567 เปรียบเทียบกับไตรมาส 3/2567 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายสุทธิ 63,037 ล้านบาท ลดลง 6,927 ล้านบาท หรือร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน บริษัทฯ มี EBITDA จำนวน 3,200 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2567 ที่มีผลขาดทุน EBITDA 4,843 ล้านบาท โดยในไตรมาส 4/2567 บริษัทฯ บันทึกค่าเสื่อมราคา 2,429 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากไตรมาสก่อน ประกอบกับบันทึกขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์จำนวน 406 ล้านบาท จากค่าเงินบาทอ่อนค่า อีกทั้งบันทึกขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจาก การบริหารความเสี่ยงน้ำมัน 694 ล้านบาท และขาดทุนจากการด้อยค่าและตัดจำหน่ายทรัพย์สินจำนวน 652 ล้านบาท โดยหลักมาจากบันทึกด้อยค่าเงินลงทุนของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม จากที่ปัจจัยที่กล่าวข้างต้น ส่งผลให้ในไตรมาส 4/2567 บริษัทฯ บันทึกผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิ 1,125 ล้านบาท น้อยกว่าไตรมาส 3/2567 ที่ร้อยละ 77             สำหรับแนวโน้มธุรกิจปิโตรเคมี ปี 2568 อุตสาหกรรมปิโตรเคมียังคงเผชิญภาวะอุปทานล้นตลาดจากกำลังผลิตใหม่ในจีน ขณะที่ ความต้องการเติบโตร้อยละ 1 - 3 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ผู้ผลิตบางรายต้องบริหารกำลังการผลิตให้สอดคล้องกับตลาดผลิตภัณฑ์กลุ่มบรรจุภัณฑ์อาหารและเทคโนโลยีที่เติบโตดี ส่วนสินค้าคงทน เช่น บ้านและรถยนต์ เติบโตต่ำจากกำลังซื้อที่ชะลอตัว ปัจจัยที่ต้องติดตามได้แก่ นโยบายกีดกันทางการค้าสหรัฐฯ ที่อาจกระทบเศรษฐกิจจีน ความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจทำให้ราคาพลังงานและต้นทุนวัตถุดิบผันผวน และข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้นในสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปเตรียมบังคับใช้มาตรการควบคุมการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง ครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีและห่วงโซ่การผลิต ผู้ประกอบการจึงต้องปรับกลยุทธ์ให้สอดรับกับกฎเกณฑ์ใหม่             บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจตามแนวทางที่ยั่งยืน โดยได้รับรางวัลและการรับรองทั้งในระดับประเทศและสากล เช่นได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิก Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 11 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil & Gas Refining and Marketing และบริษัทฯ ได้รับคัดเลือกให้เป็นองค์กรเอกชนรายแรกและรายเดียวในประเทศที่ได้รับรางวัล “ดีเด่นระดับ GOLD” องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประเภทองค์กรธุรกิจ ประเภทธุรกิจขนาดใหญ่ จากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้รับการประเมินด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี ระดับดีเลิศ (Excellent CG Scoring Company) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai IOD)             ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2567 ในอัตรา 0.01 บาทต่อหุ้น คิดเป็นเงินประมาณ 204 ล้านบาท โดยจะเสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติในวันที่ 2 เมษายน 2568 ต่อไป

IRPC ปี67ขาดทุน 5.1พันล. งบลงทุน5ปี1.3หมื่นล้านบาท

IRPC ปี67ขาดทุน 5.1พันล. งบลงทุน5ปี1.3หมื่นล้านบาท

                หุ้นวิชั่น - IRPC ปี 2567 ยังเผชิญความท้าทาย! รายได้ลดลง 6% จากราคาน้ำมันดิบขาลง ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน ขณะที่ตลาดปิโตรเคมีเผชิญอุปทานล้นจากจีน บันทึกผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิ 5,193 ล้านบาท มากกว่าปี 2566 ที่ร้อยละ 78 แนวโน้มปี 2568 คาดความต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้น แต่ยังมีแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลกและข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมเดินหน้าลงทุน 13,093 ล้านบาท รองรับความผันผวนของตลาดพลังงานและปิโตรเคมี นาย พิจินต์ อภิวันทนาพร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บัญชีและการเงิน บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการประจำปี 2567 เปรียบเทียบกับปี 2566: บริษัทฯ มีรายได้จากการขายสิทธิสำหรับปี 2567 จำนวน 281,711 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีสาเหตุมาจากปริมาณขายลดลงร้อยละ 4 และราคาขายเฉลี่ยลดลงร้อยละ 2 ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง                 สำหรับธุรกิจปิโตรเลียม มีกำไรขั้นต้นจากการกลั่นตามราคาตลาด (Market Gross Refining Margin: Market GRM) ที่ลดลงจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์เทียบกับราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยเฉพาะส่วนต่างราคาน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซินที่อ่อนตัวลงจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นของกำลังการผลิตใหม่ของโรงกลั่นในแถบประเทศตะวันออกกลางและทวีปแอฟริกา ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมี มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตตามราคาตลาดของกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี (Market Product to Feed: Market PTF) ที่เพิ่มขึ้นจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีกับราคาแนฟทาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน                 ในขณะเดียวกัน กลุ่มธุรกิจสาธารณูปโภคมีกำไรขั้นต้นค่อนข้างคงที่จากการขายไฟฟ้าและไอน้ำ ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตตามราคาตลาด (Market GIM) อยู่ที่ 18,355 ล้านบาท หรือ 7.24 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 5 อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีของปี 2567 ปรับตัวลดลงจากปีก่อน โดยมีปัจจัยกดดันจากความกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจจีน สหรัฐอเมริกา และยุโรปที่ชะลอตัว รวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งในหลายประเทศ อาทิ รัสเซีย-ยูเครน และอิสราเอล-อิหร่าน การลดลงของราคาน้ำมันดิบส่งผลให้เกิดการขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน 2,496 ล้านบาท หรือ 0.98 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่มีการกลับรายการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือให้เท่ากับมูลค่าสิทธิที่ได้รับ (กลับรายการ NRV) 953 ล้านบาท หรือ 0.38 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และกำไรจากการบริหารความเสี่ยงน้ำมันที่เกิดขึ้นจริง (Realized Oil Hedging) 879 ล้านบาท หรือ 0.35 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากรายการดังกล่าว ส่งผลให้บริษัทฯ บันทึกขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันสุทธิ (Net Inventory Loss) รวม 664 ล้านบาท หรือ 0.25 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตทางบัญชี (Accounting GIM) จำนวน 17,691 ล้านบาท หรือ 6.99 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 3 จากปีก่อน                 นอกจากนี้ บริษัทฯ มีกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) จำนวน 4,476 ล้านบาท ลดลง 1,278 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 22 โดยในปี 2567 บริษัทฯ บันทึกค่าเสื่อมราคา 9,140 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากปีก่อน เป็นผลจากสินทรัพย์ที่เพิ่มจากโครงการ Ultra Clean Fuel (UCF) ที่มีการผลิตเชิงพาณิชย์ในเดือนเมษายน 2567 ประกอบกับมีต้นทุนทางการเงินสุทธิ จำนวน 2,427 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 จากปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากเงินกู้ยืมที่เพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นตามตลาด นอกจากนี้ บริษัทฯ บันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าและตัดจำหน่ายทรัพย์สินจำนวน 566 ล้านบาท โดยหลักมาจากบันทึกด้อยค่าเงินลงทุนของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม และบันทึกการกลับรายการด้อยค่าที่ดิน                 อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มีกำไรจากการลงทุนจำนวน 989 ล้านบาท โดยหลักเพิ่มขึ้นจากส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัท ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล เอสเตท ระยอง จำกัด (WHAIER) ที่เริ่มรับรู้รายได้จากการจำหน่ายที่ดินตั้งแต่ไตรมาส 2/2567 จากปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้ในปี 2567 บริษัทฯ บันทึกผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิ 5,193 ล้านบาท มากกว่าปี 2566 ที่ร้อยละ 78 แนวโน้มธุรกิจปี 2568 1. ธุรกิจปิโตรเลียม ทิศทางและแนวโน้มราคาน้ำมันดิบปี 2568 คาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันของโลกอยู่ที่ประมาณ 106 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นประมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่อยู่ที่ประมาณ 105 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความหวังในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน หลังประธานาธิบดีของจีนประกาศว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเชิงรุกมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การเติบโตของเศรษฐกิจจีนในปี 2568 บรรลุเป้าหมายที่ร้อยละ 5 อย่างไรก็ตาม ตลาดน้ำมันดิบอาจได้รับแรงกดดันจากนโยบายการบริหารประเทศของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เช่น • การเจรจาสงบศึกระหว่างรัสเซียกับยูเครน • การเพิ่มการผลิตน้ำมันดิบในประเทศ แม้ปัจจุบันการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐอเมริกาจะอยู่ที่ประมาณ 13-14 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งสูงที่สุดเมื่อเทียบกับการผลิตน้ำมันดิบในพื้นที่อื่นๆ ของโลก อีกทั้งการกีดกันทางการค้าที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น อาจกระทบต่อการค้าและการผลิตของหลายประเทศ โดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลก นอกจากนี้ การผลิตน้ำมันดิบของประเทศอื่นๆ นอกกลุ่ม โอเปกพลัส (OPEC+ ) ยังอยู่ในระดับสูงเช่นกัน ส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่าตลาดน้ำมันดิบจะมีอุปทานส่วนเกินอยู่ที่ประมาณ 0.4-1.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน แม้โอเปกพลัสได้ดำเนินการเลื่อนการเพิ่มการผลิตน้ำมันดิบเพื่อลดผลกระทบจากสภาวะอุปทานส่วนเกินก็ตาม สำหรับราคาน้ำมันดิบ ดูไบในปี 2568 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 70-80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยปัจจัยหลักที่คาดว่าจะมีผลต่อราคาน้ำมันดิบ ได้แก่ • การชะลอการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ FED ตามนโยบายการบริหารประเทศของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้ง และกดดันความต้องการใช้น้ำมัน • ผลกระทบที่เกิดจากการกีดกันการค้าต่อจีน และความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ซึ่งยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่ออุปทานของน้ำมันดิบ 2. ธุรกิจปิโตรเคมี ทิศทางและแนวโน้มราคาปิโตรเคมีปี 2568 คาดว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมียังคงเผชิญกับการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง จากกำลังการผลิตใหม่ในประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดภาวะอุปทานล้นตลาด (Over Supply) ขณะที่อุปสงค์คาดว่าจะเติบโตในอัตราใกล้เคียงกับปี 2567 ที่ประมาณ ร้อยละ 1-3 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้ผู้ผลิตปิโตรเคมีบางรายจำเป็นต้องบริหารระดับการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งนี้ อุตสาหกรรมปลายทางแต่ละประเภทมีอัตราการเติบโตที่แตกต่างกัน เช่น • ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เช่น ฟิล์มและกล่องพลาสติกสำหรับบรรจุอาหาร ขวดพลาสติก คาดว่าจะเติบโตได้ดีจากภาคการบริโภคและภาคบริการที่ยังคงแข็งแกร่ง • กลุ่มสินค้าเทคโนโลยี คาดว่าจะเติบโตตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว • กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยและสินค้าคงทน เช่น อาคาร บ้าน และรถยนต์ มีอัตราการเติบโตต่ำกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากความเชื่อมั่นและความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงได้รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ • ปริมาณการค้าโลกที่อาจได้รับผลกระทบจากนโยบายของ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้ากับหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งอาจส่งผลต่อแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีน • ความต้องการใช้เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี • ปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด หากสถานการณ์เกิดความรุนแรงหรือลุกลามไปยังประเทศอื่น ๆ จะส่งผลต่อราคาพลังงานและต้นทุนวัตถุดิบให้มีความผันผวนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ อุตสาหกรรมยังต้องปรับตัวเพื่อเตรียมรับมือกับข้อจำกัดทางการค้าในประเด็นด้าน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) โดยหลายประเทศตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก เช่น สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ที่จะเริ่มใช้ข้อกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยก๊าซเหล่านี้ในปริมาณสูง ซึ่งครอบคลุมถึง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในห่วงโซ่การผลิต ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต้องปรับแนวทางการดำเนินงานเพื่อรองรับข้อกำหนดดังกล่าว แผนการลงทุน คณะกรรมการของบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติแผนการลงทุน 5 ปี (ปี 2568 - 2572) วงเงินรวม 13,093 ล้านบาท

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

[PR News] IRPC แต่งตั้ง CEO ใหม่ “เทอดเกียรติ พร้อมมูล” ขับเคลื่อนองค์กรเติบโตยั่งยืน

[PR News] IRPC แต่งตั้ง CEO ใหม่ “เทอดเกียรติ พร้อมมูล” ขับเคลื่อนองค์กรเติบโตยั่งยืน

          (30 กันยายน 2567) บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) แต่งตั้ง นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป           สำหรับ นายเทอดเกียรติ มีประสบการณ์ในตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และมีความเชี่ยวชาญทั้งงานแผนกลยุทธ์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผ่านภารกิจในการกำกับดูแล และกำหนดทิศทางให้กับกลุ่มธุรกิจที่สำคัญของปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. รวมทั้งดำรงตำแหน่งสำคัญในหลายองค์กร ได้แก่ กรรมการบริหาร สถาบันวิทยสิริเมธี ประธานคณะกรรมการจัดการสถาบันวิทยาการพลังงาน อุปนายก สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย กรรมการ สมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย           นายเทอดเกียรติ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท Master of Engineering (Industrial & Manufacturing Systems Engineering) จาก University of Missouri, Columbia, USA และปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเคมี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย           นายเทอดเกียรติ CEO ลำดับที่ 8 ของ IRPC จะมาขับเคลื่อนองค์กร สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ ผ่านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด สร้างสมดุลในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของธรรมาภิบาล ที่คำนึงถึงสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืนต่อไป

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011