#IROYAL


“IROYAL”  9 เดือนกวาดรายได้รวม 140 ล.เร่งขยายฐานไปอุตสาหกรรม

“IROYAL” 9 เดือนกวาดรายได้รวม 140 ล.เร่งขยายฐานไปอุตสาหกรรม

         ‘บมจ. อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง’ หรือ IROYAL’ ประกาศผลงานงวด 9 เดือนปี 67 ทำรายได้รวม 140 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 47.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.56% โชว์ทำอัตรากำไรสุทธิ 33.68% พร้อมตุน Backlog ไม่ต่ำกว่า 140 ล้านบาท จากกลุ่มลูกค้า Blue chip เป็นหลัก ประเมินผลงานไตรมาส 4/67 เติบโตดี เดินหน้าประมูลงานภาครัฐและเอกชน มูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 1,200 ล้านบาท ปักธงปี 2568 รายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า 50% รุกวางแผนระยะสั้น-กลาง เร่งขยายฐานลูกค้าไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ มากขึ้น          นายภณภัทร เมฆาสุวรรณดำรง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ IROYAL ผู้ให้บริการด้านวิศวกรรมเพื่อจัดหาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะครอบคลุมงานติดตั้งและงานซ่อมบำรุง ด้วยการออกแบบ ให้คำปรึกษา และนำเสนอโซลูชั่น เปิดเผยถึงภาพรวมการดำเนินงานในงวด 9 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม-กันยายน) มีรายได้รวม 140 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการขาย 104.60 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 75% รายได้จากการขายพร้อมติดตั้ง 22.47 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 16% และรายได้อื่น 12.72 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 9% ของรายได้จากการดำเนินงาน ทั้งนี้ บริษัทฯ มีการรับรู้รายได้อื่นจากการให้บริการโครงการที่เพิ่มขึ้นกว่า 391% เข้ามาอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบกับมีการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทั้งการขายแบบ Vendor Managed Inventory (VMI) และการขายสินค้าตามคำสั่งซื้อของลูกค้าเพื่อใช้ในโรงไฟฟ้าสำหรับทดแทนอุปกรณ์ที่ชำรุดมากยิ่งขึ้น          ขณะที่การทำกำไรสุทธิ 47.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.56% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) 33.68% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 24.11% ผลจากการบริหารต้นทุนในการจัดจำหน่าย และค่าใช้จ่ายในการบริหารที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถจัดหาผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะทาง หรือ Customize ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งช่วยแก้ปัญหาหลักของลูกค้าได้ตรงจุด ซึ่งยังไม่มีคู่แข่งรายใดสามารถให้บริการได้ในลักษณะเดียวกัน เป็นผลทำให้สามารถสร้างอัตรากำไรได้สูงขึ้น โดย ณ งวด 9 เดือน บริษัทฯ มีงานที่รอส่งมอบ (Backlog) ไม่ต่ำกว่า 140 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่จะเป็นงานจากกลุ่มลูกค้า Blue chip อาทิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ บจก. ไฟฟ้าหงสา (โรงไฟฟ้าหงสา สปป.ลาว) ซึ่งจะรับรู้เป็นรายได้ส่วนใหญ่ในปีหน้า          ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร IROYAL กล่าวเพิ่มว่า สำหรับแนวโน้มผลการดำเนินงานในไตรมาส 4/2567 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น ด้วยปัจจัยบวกจากความต้องการใช้ไฟฟ้าและความต้องการด้านงานวิศวกรรมที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ จากอัตราความต้องการใช้ไฟฟ้าและการเติบโตของอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้า บริษัทฯ จึงคาดว่าจะสามารถขยายแผนงานรองรับความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ในระบบต่างๆ ของโรงไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม IROYAL เล็งเห็นโอกาสการขยายงานไปยังงานเทคโนโลยีจากแนวโน้มความต้องการนำเทคโนโลยีมาช่วยในกระบวนการทำงานข้างต้น เนื่องจากมีความเข้าใจในขั้นตอน กระบวนการ และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าต่างๆ ที่อาจนำมาพัฒนากระบวนการทำงานในปัจจุบันของโรงไฟฟ้าต่างๆ อย่างไรก็ตาม IROYAL เตรียมเดินหน้าเข้าประมูลงานภาครัฐและเอกชน มูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 1,200 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการจัดหาอุปกรณ์และเครื่องจักรสำหรับโรงไฟฟ้า, โครงการระบบ Tunnel Ventilation (ระบบระบายอากาศ) ในอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีม่วงใต้,  โครงการ Oil and Gas Service, โครงการ Solar System ทำสัญญาแบบ PPA และ โครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น          ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าผลการดำเนินงานในปี 2567 จะทำได้ใกล้เคียงกับปี 2566 พร้อมตั้งเป้าหมายรายได้ปี 2568 เติบโตไม่ต่ำกว่า 50% โดยวางแผนการเติบโตในระยะสั้น 1-3 ปี (2568-2570) ภายหลังได้เงินจากการระดมทุน บริษัทฯ พร้อมมุ่งมั่นขยายงาน และเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้าน เพื่อขยายงานเข้าไปในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น โรงงานปูนซีเมนต์, Oil & Gas, โรงงานปิโตรเคมี, โรงกลั่นน้ำมัน และเทคโนโลยีสารสนเทศ ขณะที่ในระยะกลาง 3-5 ปี บริษัทฯ จะให้ความสำคัญกับพลังงานสะอาด โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงแผนร่วมทุน เป็นต้น ซึ่งจะใช้ความเชี่ยวชาญของบริษัทฯ ที่มีความเข้าใจในขั้นตอน กระบวนการ และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าต่างๆ นำมาพัฒนากระบวนการทำงานในปัจจุบันของโรงไฟฟ้าต่างๆ รวมถึงในอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกด้วย [PR News]

IROYAL ปักธงผู้นำโซลูชั่นพลังงานไฟฟ้า มั่นใจพื้นฐานธุรกิจแกร่ง

IROYAL ปักธงผู้นำโซลูชั่นพลังงานไฟฟ้า มั่นใจพื้นฐานธุรกิจแกร่ง

           ‘บมจ. อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง’ หรือ IROYAL’ โชว์ฟอร์มเข้าเทรดวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) สุดแกร่ง มั่นใจนักลงทุนให้การตอบรับดี ปักธงสู่ผู้นำธุรกิจด้านโซลูชั่นพลังงานไฟฟ้าที่เติบโตจากการนำเสนอนวัตกรรมในพลังงานสู่อนาคต เดินหน้าขยายขีดความสามารถเข้าประมูลงาน รับดีมานด์จากหลายภาคอุตสาหกรรม มั่นใจพื้นฐานธุรกิจที่แข็งแกร่ง พร้อมรุกขยายธุรกิจพลังงานที่สร้างความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างการเติบโตต่อเนื่องในระยะยาว            นายภณภัทร เมฆาสุวรรณดำรง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ IROYAL ผู้ให้บริการด้านวิศวกรรมเพื่อจัดหาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะครอบคลุมงานติดตั้งและงานซ่อมบำรุง ด้วยการออกแบบ ให้คำปรึกษา และนำเสนอโซลูชั่น เปิดเผยว่า ได้นำหุ้นเข้าซื้อขายวันแรก (5 พฤศจิกายน 2567) ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในหมวดอุตสาหกรรมบริการ โดยใช้ชื่อย่อ ‘IROYAL’ ในการซื้อขายหลักทรัพย์ ด้วยศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ที่มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมมานานกว่า 40 ปี สั่งสมองค์ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการจนเป็นที่ยอมรับของลูกค้าที่เป็นองค์กรชั้นนำของประเทศ คาดว่าจะช่วยสนับสนุนให้ IROYAL เป็นหุ้น IPO น้องใหม่ที่นักลงทุนให้ความสนใจ            บริษัทฯ วางแผนสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยการลงทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและรองรับความต้องการใช้บริการจากบริษัทในอุตสาหกรรมต่างๆ พร้อมกันนี้ ได้เล็งเห็นโอกาสขยายธุรกิจไปสู่งานเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น โดยใช้ความเชี่ยวชาญของกลุ่มบริษัทฯ ที่มีความเข้าใจในขั้นตอน กระบวนการ และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าต่างๆ นำมาพัฒนากระบวนการทำงานในปัจจุบันของโรงไฟฟ้าต่างๆ นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้เริ่มขยายฐานลูกค้าไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ มากขึ้น เพื่อเพิ่มฐานลูกค้าให้มีความหลากหลาย เช่น โรงกลั่นน้ำมันหรือโรงงานปิโตรเคมี ที่มีระบบการเผาไหม้ (Combustion System) โรงงานปูนซีเมนต์ ที่มีระบบจัดการของเสียและไอเสีย (Flue Gas Management System) รวมถึงได้เริ่มขยายฐานลูกค้าด้วยการสรรหาผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในระบบสำรองไฟฟ้าและพลังงาน (Uninterruptible Power Supply System) โดยเน้นกลุ่มโรงแรม อาคารขนาดใหญ่ หรืออาคารโรงพยาบาล ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความจำเป็นต้องใช้ระบบสำรองไฟฟ้าและพลังงาน            นางสาวประภาพรรณ ประภัทรโพธิพงศ์ กรรมการบริษัท บริษัท อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ IROYAL กล่าวว่า บริษัทฯ วางแผนนำเงินที่ได้จากการ IPO ภายหลังหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องไปขยายธุรกิจ เพื่อมุ่งสู่ผู้นำธุรกิจด้านโซลูชั่นพลังงานไฟฟ้าที่เติบโตไปด้วยการนำเสนอนวัตกรรมพลังงานสู่อนาคต ได้แก่ 1. นำไปใช้ประมูล และค้ำประกันผลงาน งานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ภายในปี 2567-2568 จำนวน 280 ล้านบาท เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายการรับงานของกลุ่มบริษัทฯ ในอนาคต และ 2. ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ ภายในปี 2567-2568 จำนวน 78.21 ล้านบาท พร้อมกันนี้ ได้กำหนดนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่า 50% ของกำไรสุทธิตามงบการเงินของบริษัทฯ หลังหักภาษีและการจัดสรรทุนสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่กฎหมายและบริษัทกำหนดไว้            อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ตลอดเสมอมา โดยจัดหาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ซึ่งผ่านการผลิตจากโรงงานที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีชั้นนำในกระบวนการผลิตรวมถึงมีการควบคุมคุณภาพที่ได้มาตรฐาน ได้รับการยอมรับในระดับสากล จากหลายแบรนด์จากทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทฯ มีมูลค่างานที่ยังไม่ได้ส่งมอบแก่ลูกค้า (Backlogs) ณ งวดครึ่งแรกปี 2567 อยู่ที่ 63.01 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะทยอยรับรู้รายได้ในปีนี้จำนวน 28.11 ล้านบาท และที่เหลือจะทยอยรับรู้ในปีถัดไป            นางสาวนลิน วิริยะเสถียร กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย กล่าวว่า บมจ. อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจมากว่า 40 ปีสามารถใช้องค์ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการจนเป็นที่ยอมรับของลูกค้าที่เป็นองค์กรชั้นนำของประเทศ ส่งผลให้มีฐานลูกค้าที่สำคัญในกลุ่มลูกค้าประเภทอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในประเทศและต่างประเทศ อาทิ บจก. ไฟฟ้าหงสา (โรงไฟฟ้าหงสา สปป.ลาว), การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), บมจ. ทีพีไอ โพลีน (TPIPL) และ บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) เป็นต้น ซึ่ง IROYAL จะยังคงรักษากลุ่มลูกค้าประเภทดังกล่าวต่อไป ด้วยการนำเสนอบริการเชิงบำรุงรักษาและบริการเชิงการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต            นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า IROYAL อยู่ในสถานะที่มีความพร้อมสำหรับโอกาสในการเติบโตไปกับกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ในการจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการทางวิศวกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ รวมถึงการมีความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าในระยะยาว ส่งผลทำให้การเติบโตของรายได้ของ IROYAL จะโตควบคู่ไปกับอัตราการเติบโตของรายได้จากกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า ขณะเดียวกันบริษัทฯ ยังมีโอกาสเข้าร่วมประมูลงานในกลุ่มหลักและกลุ่มใหม่ๆ ที่่มีศักยภาพเสริมความยั่งยืนในระยะยาว [PR News]

[Gossip] ‘IROYAL’ นักลงทุน VI รายใหญ่เข้าถือหุ้น

[Gossip] ‘IROYAL’ นักลงทุน VI รายใหญ่เข้าถือหุ้น

          เรียกว่าฉายแววโดดเด่น ก่อนเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ สำหรับ บมจ.อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง หรือ IROYAL ซึ่งภายหลังการเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 58 ล้านหุ้น นับว่าประสบความสำเร็จยอดจองล้นหลาม และยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนวีไอ (VI) รายใหญ่ที่มีชื่อเสียงหลายรายเข้ามาจับจองซื้อหุ้น เช่น ‘เสี่ยยักษ์ วิชัย วชิรพงศ์’ ‘วรพรรณ จึงทรัพย์ไพศาล’ และ ‘เซียนมี่ ทิวา ชินธาดาพงศ์’ ที่ชื่นชอบในโมเดลธุรกิจผู้ให้บริการด้านวิศวกรรมเพื่อจัดหาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะครอบคลุมงานติดตั้งและงานซ่อมบำรุง ด้วยการออกแบบ ให้คำปรึกษา และนำเสนอโซลูชั่น ซึ่งอยู่ในตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) และยังเป็นธุรกิจที่มีคู่แข่งน้อย ทำให้มั่นใจในศักยภาพการเติบโต และพร้อมจะลงทุนแบบระยะยาว งานนี้ หัวเรือใหญ่ IROYAL “ภณภัทร เมฆาสุวรรณดำรง” เร่งเครื่องทำผลงานเต็มที่ พร้อมวางโรดแม็พสร้างการเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อขยายโมเดลธุรกิจที่สร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานไฟฟ้าและเตรียมขยายไปสู่กลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ในอนาคต ตอกย้ำการเป็นผู้นำธุรกิจด้านโซลูชั่นพลังงานไฟฟ้าอย่างแท้จริง…

2 หุ้น IPO ตบเท้าเข้าเทรด mai ต้นพ.ย.นี้

2 หุ้น IPO ตบเท้าเข้าเทรด mai ต้นพ.ย.นี้

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน 2 บริษัทใหม่ เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ต้นเดือนพฤศจิกายนนี้           ประกอบไปด้วย บริษัท อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ IROYAL ราคาเสนอขาย IPO 6.50 บาท/หุ้น ระยะเวลาเสนอขาย IPO 24 - 28 ต.ค. 2567 และเตรียมเข้าซื้อขายหลักทรัพย์วันแรก คือ วันที่ 5 พ.ย. 67           สำหรับรายละเอียด มูลค่าการระดมทุน 377.00 ล้านบาท ราคาพาร์ 0.50 บาท มูลค่าตามราคาตลาด 1,495.00 ล้านบาท P/E ณ วัน IPO 15.83 เท่า จำนวนหุ้นที่เสนอขาย 58,000,000 หุ้น คิดเป็น 25.22% ของหุ้นทั้งหมดหลัง IPO โดยมีที่ปรึกษาทางการเงิน คือ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด และผู้จัดการการจัดจำหน่ายคือ บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)           ลักษณะธุรกิจ ของ IROYAL เป็นผู้ให้บริการด้านวิศวกรรมเพื่อจัดหาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งกลุ่มบริษัทมีความเชี่ยวชาญในการจัดหาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในระบบการผลิตของโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม จากผู้ผลิตชั้นนำระดับสากล โดยครอบคลุมถึงงานบริการติดตั้งและซ่อมบำรุง ด้วยการออกแบบ ให้คำปรึกษา และนำเสนอโซลูชั่น เพื่อตอบสนองตามความต้องการของลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ           รวมถึงการบริหารสินค้าคงคลังในส่วนที่กลุ่มบริษัทจัดหาและจำหน่าย ให้บริการด้านวิศวกรรมเพื่อจัดหาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งกลุ่มบริษัทมีความเชี่ยวชาญในการจัดหาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในระบบการผลิตของโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม จากผู้ผลิตชั้นนำระดับสากล โดยครอบคลุมถึงงานบริการติดตั้งและซ่อมบำรุง ด้วยการออกแบบ ให้คำปรึกษา และนำเสนอโซลูชั่น เพื่อตอบสนองตามความต้องการของลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการบริหารสินค้าคงคลังในส่วนที่กลุ่มบริษัทจัดหาและจำหน่าย           สำหรับ ผลการดำเนินงานช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2564 – 2566) บริษัทมีรายได้รวม 196.78 ล้านบาท 116.98 ล้านบาท และ 280.38 ล้านบาท ตามลำดับ โดย ณ ปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายคิดเป็นสัดส่วน 54.51% ของรายได้จากการดำเนินงาน รายได้จากการขายพร้อมติดตั้ง 45.49% ของรายได้จากการดำเนินงาน ทั้งนี้ ด้วยจุดเด่นของ IROYAL คือการมี Recurring income ในอัตราเฉลี่ยสูงถึง 50-60% ของรายได้จากการดำเนินงาน ซึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นของกลุ่มลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจ โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าหลักอย่างโรงไฟฟ้าที่ต้องมีกำหนดแผนซ่อมบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ และต้องอาศัยเทคโนโลยีเฉพาะ ทำให้ยากที่จะเปลี่ยนผู้ให้บริการ (High-switching costs) และคู่แข่งใหม่ๆ ก็เข้ามาแข่งขันยากเช่นกัน (High barrier to entry)           ขณะที่กำไรสุทธิในงวด 3 ปี ทำได้ 35.36 ล้านบาท 27.94 ล้านบาท และ 72.22 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 17.97% 23.88% และ 25.76% ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นเนื่องจากการบริหารต้นทุนในการจัดจำหน่าย และค่าใช้จ่ายในการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ           บริษัท เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ MPJ ราคาเสนอขาย IPO 6.50 บาท/หุ้น ระยะเวลาเสนอขาย IPO 28 - 30 ต.ค. 2567 และเตรียมเข้าซื้อขายหลักทรัพย์วันแรก คือ วันที่ 6 พ.ย. 67           สำหรับรายละเอียด มูลค่าการระดมทุน มูลค่าการระดมทุน 318.00 ล้านบาท ราคาพาร์ 0.50 บาท มูลค่าตามราคาตลาด 1,200.00 ล้านบาท P/E ณ วัน IPO 13.65 เท่า จำนวนหุ้นที่เสนอขาย 53,000,000ที่ปรึกษาทางการเงิน คือ บริษัท แคปปิตอล วัน พาร์ทเนอร์ จำกัด และ ผู้จัดการการจัดจำหน่าย คือบริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด           ลักษณะธุรกิจของ MPJ เป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจร ทั้งการขนส่งทางบกต่อเนื่องกับท่าเรือ การบริหารลานตู้คอนเทนเนอร์ การจัดการขนส่งระหว่างประเทศ (Freight Forwarder) และบริการคลังสินค้า ให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจร ทั้งการขนส่งทางบกต่อเนื่องกับท่าเรือ การบริหารลานตู้คอนเทนเนอร์ การจัดการขนส่งระหว่างประเทศ (Freight Forwarder) และบริการคลังสินค้า           สำหรับ ผลการดำเนินงานช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2564 – 2566) บริษัทมีรายได้รวม 1,014.74 ล้านบาท 1,300.27 ล้านบาท และ 910.24 ล้านบาท ตามลำดับ  สำหรับงวด 6 เดือนแรกปี 2566 และ 2567 กลุ่มบริษัทมีรายได้จากการให้บริการเท่ากับ 427.51 ล้านบาท และ 456.22 ล้านบาท ตามลำดับ           ขณะที่กำไรสุทธิในงวด 3 ปีบริษัทมีกำไรสุทธิสำหรับปี 2564 - 2566 เท่ากับ 76.74 ล้านบาท 101.34 ล้านบาท และ 80.45 ล้านบาท ตามลำดับ หรือคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิร้อยละ 7.41 ร้อยละ 7.65 และร้อยละ 8.63 ของรายได้รวมทั้งหมด ตามลำดับ สำหรับงวด 6 เดือนแรกปี 2566 และ 2567 กลุ่มบริษัทมีกำไรสุทธิเท่ากับ 31.05 ล้านบาท และ 38.38 ล้านบาท ตามลำดับ รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

IROYAL เคาะ IPO 6.50 บาทต่อหุ้น จ่อเทรดกระดาน mai พ.ย.นี้

IROYAL เคาะ IPO 6.50 บาทต่อหุ้น จ่อเทรดกระดาน mai พ.ย.นี้

           ‘บมจ. อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง หรือ IROYAL ผู้ให้บริการด้านวิศวกรรม เพื่อจัดหาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะ ครอบคลุมงานติดตั้งและงานซ่อมบำรุง ด้วยการออกแบบ ให้คำปรึกษา และนำเสนอโซลูชั่น สำหรับโรงไฟฟ้า และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ประกาศราคาขายหุ้น IPO ที่ 6.50 บาทต่อหุ้น เปิดจองซื้อวันที่ 24-25 และ 28 ต.ค. 67 และคาดว่าจะนำหุ้นเข้าซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ภายในพฤศจิกายนนี้ วาง 7 กลยุทธ์สร้างการเติบโต ขยายโมเดลธุรกิจที่สร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานไฟฟ้า และกำลังขยายไปสู่กลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ เร่งขับเคลื่อนพลังงานสู่ความยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม            นายภณภัทร เมฆาสุวรรณดำรง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ IROYAL (บริษัทฯ) เปิดเผยว่า บริษัทฯ เดินหน้าเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ซึ่งนับเป็นอีกก้าวของความสำเร็จที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรับโอกาสทางธุรกิจ และมุ่งสู่การเป็นผู้นำในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และระบบวิศวกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ ที่จะสร้างความมั่นคง และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พร้อมด้วยการขยายไปสู่กลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับโลก โดยมุ่งขับเคลื่อนไปสู่ธุรกิจที่สร้างความยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ ทั้งนี้ ได้แต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย พร้อมแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์อีก 4 ราย เป็นผู้ร่วมจัดจำหน่ายหุ้น IPO ของ IROYAL ประกอบด้วย บริษัทหลักทรัพย์ ไอร่า จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) และ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด            ทั้งนี้ บริษัทฯ วางแนวทางการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตผ่าน 7 กลยุทธ์ ได้แก่ 1. การขายโดยมุ่งเน้นการได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ให้บริการและการรับงานตรงจากลูกค้า โดยบริษัทฯ ให้ความสำคัญตั้งแต่กระบวนการคัดสรรผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทจากผู้ผลิตที่มีความเชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ สำหรับการให้บริการ กลุ่มบริษัทให้บริการผ่านทีมงานขายที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทมีการประเมินความเสี่ยงของโครงการ เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถส่งมอบงานได้ตามคุณภาพ ความถูกต้องครบถ้วนตามขอบเขตงาน และระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด 2. เป็น One Stop Service ด้านการบริการจัดหาอุปกรณ์และโซลูชั่นในโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่นๆ บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการสร้าง และรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในการให้บริการรอบด้านและการตระหนักถึงการบริการที่จะสร้างประโยชน์แก่ลูกค้าอย่างยั่งยืนมากกว่าแค่การให้บริการทั่วไป 3. สร้างพันธมิตรทางธุรกิจเป็น Sole Distributors และ Exclusive dealers เนื่องจากผู้ผลิตเปรียบเสมือนหุ้นส่วนที่ต้องทำงานร่วมกันในระยะยาว โดยการสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับผู้ผลิต เน้นการสร้างความไว้วางใจ ให้คุณค่าต่อกัน 4. พัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุกส่วนงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อธำรงไว้ซึ่งทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า 5. บริหารจัดการสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ ไม่มีนโยบายในการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า และไม่มีผลิตภัณฑ์รอจำหน่าย โดยให้ความสำคัญตลอดกระบวนการจัดหาและติดตั้ง เพื่อการบริหารจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงในการสูญเสียของผลิตภัณฑ์ 6. ด้านความยั่งยืน โดยบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรเพื่อให้สามารถแข่งขันและเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างคุณค่าด้านเศรษฐกิจ ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนในองค์กร และสังคม 7. สร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน เพื่อสนับสนุนความสามารถในการแข่งขัน พร้อมต่อยอดการดำเนินธุรกิจให้บริการแบบครบวงจร            นางสาวประภาพรรณ ประภัทรโพธิพงศ์ กรรมการบริษัท บริษัท อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ IROYAL กล่าวว่า บริษัทฯ ถือเป็นผู้ดำเนินธุรกิจให้บริการด้านวิศวกรรม เพื่อจัดหา และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะ โดยมีความเชี่ยวชาญในการจัดหาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในระบบการผลิตของโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรมมาอย่างยาวนานมากกว่า 40 ปี รวมถึงมีการบริหารสินค้าคงคลังในส่วนที่กลุ่มบริษัทจัดหาและจำหน่าย นอกจากนี้ มีบริษัทย่อยภายใต้ชื่อ บริษัท ซีนิท เพาเวอร์ ซิสเต็ม จำกัด (ZENITH) โดยถือหุ้นในสัดส่วน 99.99% ดำเนินธุรกิจที่สอดรับกับทิศทางของกลุ่มบริษัทฯ            โดยบริษัทฯ ได้รับความไว้วางใจจากเจ้าของตราผลิตภัณฑ์ชั้นนำในต่างประเทศ แต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในระบบต่างๆ มากกว่า 22 ตราผลิตภัณฑ์ จนเป็นที่ยอมรับจากกลุ่มลูกค้าภาครัฐและเอกชนมาอย่างยาวนาน โดยปัจจุบันกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ IROYAL ให้บริการจัดหาและจำหน่ายจะเน้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนกระบวนการผลิตหรือการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงสามารถลดผลกระทบหรือแก้ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมได้ โดยปัจจุบันแบ่งผลิตภัณฑ์เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในระบบเผาไหม้ (Combustion System) เช่น อุปกรณ์กำจัดเขม่าควัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้ จะมีอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนในระบบเผาไหม้ ทำหน้าที่ถ่ายเทความร้อนเพื่อเพิ่มพลังความร้อนที่ใช้ในระบบเผาไหม้ สามารถใช้ได้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น โรงกลั่นน้ำมันหรือโรงงานปิโตรเคมี กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในระบบจัดการของเสีย และไอเสีย (Flue Gas Management System) เช่น ระบบระบายอากาศ และพัดลมอุตสาหกรรม, อุปกรณ์ดักจับฝุ่นละอองชนิดไฟฟ้าสถิต อุปกรณ์ดักจับละอองน้ำ โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในระบบจัดการของเสียและไอเสียสามารถใช้ได้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น โรงงานปูนซีเมนต์ เป็นต้น กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในระบบแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger System) เช่น แผงระบายความร้อน ซึ่งอยู่ในหอหล่อเย็นที่ทำหน้าที่ลดอุณหภูมิน้ำและวนกลับไปใช้ในโรงงานหรือระบบต่างๆ เป็นต้น กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในระบบอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับระบบน้ำ เช่น เครื่องกรองอนุภาคระดับไมครอนในน้ำดิบปั๊มน้ำอุตสาหกรรม เป็นต้น และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับระบบสำรองไฟฟ้าและพลังงาน เช่น เครื่องสำรองไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่สามารถใช้ในกลุ่มโรงแรม อาคารขนาดใหญ่ อาคารโรงพยาบาล หรือศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่            ขณะที่กลุ่มลูกค้าของบริษัทฯ เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีการทำงานของอุปกรณ์ เครื่องจักรตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมย่อมมีการเสื่อมสภาพลงตามการใช้งาน โดยบริษัทฯ จะเข้าศึกษาระบบและอุปกรณ์ของลูกค้า เพื่อพิจารณาว่าระบบของลูกค้าเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชนิดใด ซึ่งแบ่งการให้บริการได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. การให้บริการเชิงบำรุงรักษา เป็นการนำเสนออุปกรณ์ชนิดเดิมที่ลูกค้าใช้อยู่แล้ว โดยหากเป็นตราผลิตภัณฑ์ที่บริษัทฯ เป็นตัวแทน บริษัทฯ ก็จะจัดหาอุปกรณ์ชนิดเดิมและให้บริการติดตั้งตามรอบอายุการใช้งานเพื่อบำรุงรักษาและป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต และ 2. การให้บริการเชิงพัฒนา เป็นการนำเสนออุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์เดิม หรือนำเสนออุปกรณ์เสริมเพื่อติดตั้งเพิ่มเติมควบคู่กับอุปกรณ์เดิม รวมถึงการให้คำปรึกษา และร่วมกันพัฒนา ออกแบบ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในกระบวนการผลิต            นายนฤดล รัศมี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ IROYAL กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับ ผลการดำเนินงานช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2564 – 2566) บริษัทฯ มีรายได้รวม 196.78 ล้านบาท 116.98 ล้านบาท และ 280.38 ล้านบาท ตามลำดับ โดย ณ ปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายคิดเป็นสัดส่วน 54.51% ของรายได้จากการดำเนินงาน รายได้จากการขายพร้อมติดตั้ง 45.49% ของรายได้จากการดำเนินงาน ทั้งนี้ ด้วยจุดเด่นของ IROYAL คือการมี Recurring income ในอัตราเฉลี่ยสูงถึง 50-60% ของรายได้จากการดำเนินงาน ซึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นของกลุ่มลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจ โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าหลักอย่างโรงไฟฟ้าที่ต้องมีกำหนดแผนซ่อมบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ และต้องอาศัยเทคโนโลยีเฉพาะ ทำให้ยากที่จะเปลี่ยนผู้ให้บริการ (High-switching costs) และคู่แข่งใหม่ๆ ก็เข้ามาแข่งขันยากเช่นกัน (High barrier to entry) ขณะที่กำไรสุทธิในงวด 3 ปี ทำได้ 35.36 ล้านบาท 27.94 ล้านบาท และ 72.22 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 17.97% 23.88% และ 25.76% ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นเนื่องจากการบริหารต้นทุนในการจัดจำหน่าย และค่าใช้จ่ายในการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ            ส่วนผลการดำเนินงานในงวดครึ่งแรกปี 2567 บริษัทฯ มีรายได้รวม 118.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.07% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 110.38 ล้านบาท ขณะที่กำไรสุทธิทำได้ 44.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 99.06% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 22.42 ล้านบาท และมีอัตรากำไรสุทธิ 37.77% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 20.32% ทั้งนี้ สาเหตุหลักมาจากกำไรขั้นต้น และอัตรากำไรขั้นต้นจากงานการขายดีขึ้น การส่งมอบผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น ทั้งจำนวนรายการผลิตภัณฑ์ และปริมาณผลิตภัณฑ์ กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน การบริหารต้นทุนในการจัดจำหน่าย และค่าใช้จ่ายการบริหารที่มีประสิทธิภาพ            นางสาวนลิน วิริยะเสถียร กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย กล่าวว่า บมจ. อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง ได้กำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ที่ราคา 6.50 บาทต่อหุ้น คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (P/E) เท่ากับ 15.83 เท่า ถือเป็นราคาที่เหมาะสมที่สะท้อนความแข็งแกร่งในการดำเนินงานของบริษัทฯ และศักยภาพการเติบโตในการเป็นผู้นำธุรกิจด้านโซลูชั่นพลังงานไฟฟ้า และพร้อมขยายการให้บริการการจัดหาผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยจะเปิดให้นักลงทุนจองซื้อหุ้น IPO ในวันที่ 24-25 และ 28 ตุลาคม 2567 คาดว่าจะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนและซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้            ทั้งนี้ IROYAL มีทุนจดทะเบียน 115 ล้านบาท และทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 86 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ 230 ล้านหุ้น โดยจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 58 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 25.22 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ โดยบริษัทฯ จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปใช้ในการประมูล และค้ำประกันผลงาน งานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายการรับงานของบริษัทฯ ในอนาคต และส่วนที่เหลือจะใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในบริษัทฯ            นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ของ บมจ. อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยเสริมศักยภาพการดำเนินงาน และฐานะการเงินเพื่อรองรับการเติบโต พร้อมด้วยจุดเด่นที่สำคัญคือ ผู้บริหารเป็นผู้มีความรู้ และประสบการณ์ในธุรกิจมาอย่างยาวนานกว่า 40 ปี รวมถึงไม่มีคู่แข่งทางตรงที่ทำธุรกิจเหมือนกับกลุ่มบริษัทฯ โดยบริษัทฯ สามารถจัดหาผลิตภัณฑ์ และบริการให้กับลูกค้าได้หลากหลายประเภทอย่างครบวงจร ขณะที่ผู้ให้บริการจัดหา และให้บริการรายอื่นจะเน้นให้บริการจัดหาผลิตภัณฑ์ประเภทใดประเภทหนึ่ง แต่สำหรับ IROYAL มุ่งเน้นการจัดหาผลิตภัณฑ์ และการให้บริการที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูงจากผู้ผลิตที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยี มีความเชี่ยวชาญในการผลิต โดยอาศัยเทคนิคเฉพาะทาง ประสบการณ์ และความน่าเชื่อถือ การส่งมอบตรงเวลา การบริการหลังการขายและราคาที่เหมาะสม [PR News]

[ภาพข่าว] “IROYAL” เซ็นสัญญาแต่งตั้ง UW เคาะ IPO 6.50 บาทต่อหุ้น

[ภาพข่าว] “IROYAL” เซ็นสัญญาแต่งตั้ง UW เคาะ IPO 6.50 บาทต่อหุ้น

           นางสาวประภาพรรณ ประภัทรโพธิพงศ์ (ที่ 4 จากซ้าย) กรรมการบริษัทฯ นายภณภัทร เมฆาสุวรรณดำรง (ที่ 5 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ IROYAL พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร (ที่ 3 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน และ นางสาวนลิน วิริยะเสถียร (ที่ 6 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ร่วมพิธีลงนามสัญญาแต่งตั้ง บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย และแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ ไอร่า จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) และ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ของ IROYAL จำนวนไม่เกิน 58 ล้านหุ้น โดยกำหนดราคาเสนอขาย IPO ที่ 6.50 บาทต่อหุ้น และเปิดให้นักลงทุนรายย่อยจองซื้อในวันที่ 24-25 และ 28 ตุลาคม 2567 คาดว่าจะนำหุ้น IROYAL เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้

[Gossip] IROYAL  เล็งโรดโชว์ออนไลน์ 9 ต.ค. นี้ ก่อนลงสนามเทรด mai พร้อม IPO 58 ล้านหุ้น

[Gossip] IROYAL เล็งโรดโชว์ออนไลน์ 9 ต.ค. นี้ ก่อนลงสนามเทรด mai พร้อม IPO 58 ล้านหุ้น

          เตรียมนับถอยหลังเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ mai ในเร็วๆ นี้ สำหรับ บมจ.อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง หรือ IROYAL ผู้ให้บริการด้านวิศวกรรม เพื่อจัดหาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะ เพื่อใช้ในระบบการผลิตของโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม ครอบคลุมถึงงานบริการติดตั้งและซ่อมบำรุง ด้วยการออกแบบ ให้คำปรึกษา และนำเสนอโซลูชั่น เพื่อตอบสนองตามความต้องการของลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการบริหารสินค้าคงคลังในส่วนที่กลุ่มบริษัทจัดหาและจำหน่าย โดยเตรียมเดินหน้าจัดโรดโชว์ (Roadshow) ในวันที่ 9 ตุลาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 13.00 – 15.00 น. งานนี้ นำทีมโดยผู้บริหาร IROYAL “ภณภัทร เมฆาสุวรรณดำรง” “ประภาพรรณ ประภัทรโพธิพงศ์” “นฤดล รัศมี” พร้อมด้วย “สมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บจ. แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน และ “นลิน วิริยะเสถียร” กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บล. เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย ร่วมกันนำเสนอภาพรวมการดำเนินธุรกิจ และกลยุทธ์ขับเคลื่อนการเติบโต เพื่อก้าวสู่ผู้นำทางธุรกิจด้านโซลูชั่นพลังงานไฟฟ้าที่เติบโตไปด้วยการนำเสนอนวัตกรรมพลังงานและกำลังขยายไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ สำหรับอนาคต ถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ก่อนเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 58 ล้านหุ้น โดยมีแผนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ภายในไตรมาส 4 นี้ สำหรับนักลงทุนที่สนใจหุ้น IPO IROYAL ต้องไม่พลาด เข้ารับฟังทางแพลตฟอร์มออนไลน์ผ่านช่องทาง Facebook Page: Wealthy Thai งานนี้ เชื่อว่าจะเป็นหนึ่งในหุ้น IPO น้องใหม่ที่จะสร้างสีสันและความมั่งคั่งให้กับพอร์ตการลงทุน

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต