#IPO


IPO ปิดแรงสุดแห่งปี! LTS-APO-SEI เกิน100%

IPO ปิดแรงสุดแห่งปี! LTS-APO-SEI เกิน100%

หุ้นวิชั่น – เปิดหุ้น First Trading Day ปี 67 ผลตอบแทนสูง 5 อันดับ ได้แก่ LTS สุดเจ๋ง! ปิดเหนือจองสูงสุด +201.67% รองลงมาคือ APO ปิด +114.14% ต่อด้วย SEI ปิดที่ +103.23% TERA ปิดที่ +60.00% และ BPS ปิดที่ +36.67%           ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบ บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ปี 2567 ทั้งหมด 18 บริษัท ประกอบไปด้วย บริษัท ยูโร ครีเอชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือ EURO เข้าจดทะเบียนในวันที่ 14 ก.พ. 2567 บริษัท แนท แอบโซลูท เทคโนโลยีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ NAT เข้าจดทะเบียนในวันที่ 15 ก.พ. 2567 บริษัท เพเนเล่ส์มาติก โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือ  PANEL เข้าจดทะเบียนในวันที่ 22 ก.พ. 2567 บริษัท เอเชียนน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) หรือ APO เข้าจดทะเบียนในวันที่ 2 เม.ย. 2567           บริษัท บีพีเอส เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ BPS เข้าจดทะเบียนในวันที่ 3 เม.ย. 2567 บริษัท คิวทีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ QTCG เข้าจดทะเบียนในวันที่ 4 เม.ย. 2567 บริษัท เทอร์ราไบท์ พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ TERA  เข้าจดทะเบียนในวันที่ 24 เม.ย. 2567 บริษัท สโตนวัน จำกัด (มหาชน) หรือ STX เข้าจดทะเบียนในวันที่ 26 เม.ย. 2567 บริษัท ไลท์อัพ โทเทิล โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ LTS เข้าจดทะเบียนในวันที่ 17 พ.ค. 2567           บริษัท มากุโระ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ  MAGURO เข้าจดทะเบียนในวันที่ 5 มิ.ย. 2567 บริษัท ชูวิทย์ฟาร์ม (2019) จำกัด (มหาชน) หรือ CFARM เข้าจดทะเบียนในวันที่ 6 มิ.ย. 2567 บริษัท ไนซ์ คอล จำกัด (มหาชน) หรือ NCP เข้าจดทะเบียนในวันที่ 31 ก.ค. 2567 บริษัท พีเอ็มซี เลเบิล แมททีเรียลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PMC เข้าจดทะเบียนในวันที่ 11 ก.ย. 2567 บริษัท เอสอีไอ เมดิคัล จำกัด (มหาชน) หรือ SEI เข้าจดทะเบียนในวันที่ 24 ก.ย. 2567           บริษัท ไทย ออโต ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด (มหาชน) หรือ TATG เข้าจดทะเบียนในวันที่ 8 ต.ค. 2567 บริษัท อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ IROYAL เข้าจดทะเบียนในวันที่ 5 พ.ย. 2567 บริษัท เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ MPJ เข้าจดทะเบียนในวันที่ 6 พ.ย. 2567 บริษัท อินสไปร์ ไอวีเอฟ จำกัด (มหาชน) หรือ IVF เข้าจดทะเบียนในวันที่ 11 ธ.ค. 2567 และพบ 11 บริษัทจดทะเบียนวันแรกยืนเหนือจอง ประกอบไปด้วย NAT ปิดเหนือจอง +27.78% หรือปิดที่ 6.90 บาท จากราคาที่ IPO 5.40 บาท APO ปิดเหนือจอง +114.14% หรือปิดที่ 2.12 บาท จากราคาที่ IPO 0.99 บาท BPS ปิดเหนือจอง +36.67% หรือปิดที่ 1.23 บาท จากราคาที่ IPO 0.90 บาท TERA ปิดเหนือจอง +60.00% หรือปิดที่ 2.80 บาท จากราคาที่ IPO 1.75 บาท LTS ปิดเหนือจอง +201.67% หรือปิดที่ 9.05 บาท จากราคาที่ IPO 3.00 บาท MAGURO ปิดเหนือจอง +22.01% หรือปิดที่ 19.40 บาท จากราคาที่ IPO 15.90 บาท           CFARM ปิดเหนือจอง +10.37% หรือปิดที่ 1.49 บาท จากราคาที่ IPO 1.35 บาท NCP ปิดเหนือจอง +1.00% หรือปิดที่ 2.02 บาท จากราคาที่ IPO 2.00 บาท PMC ปิดเหนือจอง +1.65% หรือปิดที่ 1.85 บาท จากราคาที่ IPO 1.82 บาท SEI ปิดเหนือจอง +103.23% หรือปิดที่ 6.30 บาท จากราคาที่ IPO 3.10 บาท TATG ปิดเหนือจอง +23.20% หรือปิดที่ 1.54 บาท จากราคาที่ IPO 1.25 บาท โดยแสดงเป็นตารางและเรียงลำดับผลตอบแทนได้ ดังนี้ ที่มา https://www.settrade.com/th รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

mai ต้อนรับ IROYAL เริ่มซื้อขาย 5 พ.ย. นี้

mai ต้อนรับ IROYAL เริ่มซื้อขาย 5 พ.ย. นี้

          บมจ. อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง ผู้ให้บริการด้านวิศวกรรมเพื่อจัดหาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะที่ใช้ในระบบการผลิตของโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ 5 พ.ย. นี้ ด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 1,495 ล้านบาท  โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “IROYAL”           นายประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ mai ยินดีต้อนรับ บมจ. อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง เข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายใน mai ภายใต้กลุ่มบริการ โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “IROYAL” ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567           IROYAL และบริษัทย่อยเป็นผู้ให้บริการด้านวิศวกรรมเพื่อจัดหาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งกลุ่มบริษัทมีความเชี่ยวชาญในการจัดหาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในระบบการผลิตของโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม จากผู้ผลิตชั้นนำระดับสากล สามารถแบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในระบบต่างๆ ได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในระบบเผาไหม้ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในระบบจัดการของเสียและไอเสีย ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในระบบแลกเปลี่ยนความร้อน และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในระบบอื่นๆ โดยให้บริการครอบคลุมงานติดตั้งและซ่อมบำรุง ด้วยการออกแบบ ให้คำปรึกษา และนำเสนอโซลูชั่น เพื่อตอบสนองตามความต้องการของลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการบริหารสินค้าคงคลังในส่วนที่กลุ่มบริษัทจัดหาและจำหน่าย ในงวด 6 เดือน 2567 กลุ่มบริษัทมีสัดส่วนรายได้จากลูกค้าในประเทศ : ลูกค้าต่างประเทศ  26% : 74% โดยลูกค้าในประเทศมาจากรัฐวิสาหกิจด้านกิจการพลังงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน และลูกค้าต่างประเทศมาจากบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ 30 มิ.ย. 2567 มีงานที่ยังไม่ได้ส่งมอบ 63 ล้านบาท           IROYAL มีทุนชำระแล้วหลัง IPO 115 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญเดิม 172 ล้านหุ้นและหุ้นสามัญเพิ่มทุน 58 ล้านหุ้น เสนอขายต่อผู้มีอุปการคุณของบริษัท 8.7 ล้านหุ้น  กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท รวมถึงผู้มีความสัมพันธ์ 5.8 ล้านหุ้น และบุคคลตามดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์จำนวน 43.5 ล้านหุ้น  เมื่อวันที่ 24-25 และ 28 ตุลาคม 2567 ในราคาหุ้นละ 6.5 บาท คิดเป็นมูลค่าเสนอขาย 377 ล้านบาท มูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 1,495 ล้านบาท ทั้งนี้ การกำหนดราคาเสนอขายหุ้น IPO คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E ratio) ที่ 15.83 เท่า คำนวณจากกำไรสุทธิต่อหุ้น 4 ไตรมาสย้อนหลัง (ตั้งแต่ 1 ก.ค. 66 – 30 มิ.ย. 67)  ซึ่งเท่ากับ 94.43 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นครั้งนี้ (fully diluted) คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.41 บาท โดยมีบริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้นสามัญ           นายภณภัทร เมฆาสุวรรณดำรง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อินเตอร์รอแยล เอ็นจิเนียริ่ง (IROYAL) เปิดเผยว่า บริษัทมีประสบการณ์ในธุรกิจรวมกว่า 40 ปี มีความสามารถในการจัดหาอุปกรณ์และโซลูชั่น และให้บริการอย่างครบวงจรเพื่อสร้างความพึงพอใจ และความมั่นใจในผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท สำหรับเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้จะนำไปใช้เพื่อการประมูลและค้ำประกันผลงาน งานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน รวมถึงใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ           IROYAL มีผู้ถือหุ้นใหญ่หลังเข้าจดทะเบียน คือ กลุ่มครอบครัวประภัทรโพธิพงศ์ ถือหุ้น 59.67% และนายภณภัทร เมฆาสุวรรณดำรง 6.05% โดยบริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่ต่ำกว่า 50% ของกำไรสุทธิจากงบเฉพาะกิจการภายหลังจากหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และจัดสรรทุนสำรองต่าง ๆ           ผู้ลงทุนและผู้สนใจ สามารถดูรายละเอียด จากหนังสือชี้ชวนของบริษัทที่เว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ www.sec.or.th และข้อมูลทั่วไปของบริษัทที่ www.interroyalengineering.com และ www.set.or.th [PR News]

[PR News] ก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่ง “สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์”

[PR News] ก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่ง “สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์”

          ก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่ง “สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์” เรียบร้อยแล้ว เดินหน้าเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เตรียมขายไอพีโอ 105 ล้านหุ้น           สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) นับหนึ่งไฟลิ่ง “สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์” ในวันที่ 19 ก.ย.2567 เรียบร้อยแล้ว ลุยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เดินหน้าขาย IPO 105 ล้านหุ้น ระดมทุน เพิ่มเทคโนโลยีการสกัดสมุนไพร พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการขยายธุรกิจ           นายสมภพ กีระสุนทรพงษ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญของ บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SNPS เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือสำนักงาน ก.ล.ต. ได้เริ่มนับหนึ่งแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือไฟลิ่ง ของ SNPS ในวันที่ 19 ก.ย.2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดย SNPS วางแผนเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) หมวดธุรกิจ ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ (PERSON) และจะเสนอขายหุ้นสามัญให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก หรือ IPO จำนวน 105 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท คิดเป็น 25.93% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้           ทั้งนี้ SNPS มีวัตถุประสงค์ของการระดมทุนในครั้งนี้ แบ่งเป็น 1.เพิ่มเทคโนโลยีในการสกัดให้ได้สารสกัดสมุนไพรที่มีความบริสุทธิ์มากขึ้น 2.เพื่อวิจัย พัฒนา และผลิตวัตถุดิบสมุนไพรสำหรับยาพัฒนาจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ยาพัฒนาจากสมุนไพร และอาหารทางการแพทย์หรืออาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ 5 รายการ 3.เพื่อชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินของกลุ่มบริษัทฯ 4. ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ           ดร.ธีรญา กฤษฎาพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SNPS ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสารสกัดสมุนไพรมาตรฐาน และรับจ้างพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ความงาม และสุขอนามัย ภายใต้ตราสินค้าของลูกค้า (Original Design Manufacturer) รวมถึงการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสินค้าของกลุ่มบริษัทฯ (Original Brand Manufacturer) ทำให้ธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯแบ่งได้เป็น 2 ธุรกิจหลัก ประกอบด้วย 1.ธุรกิจผลิตและจำหน่ายสารสกัดสมุนไพรมาตรฐาน ซึ่งเป็นธุรกิจต้นน้ำที่ดำเนินการโดยบริษัทฯ และ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 บริษัทมีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและจำหน่ายทั้งหมด 398 รายการ แบ่งเป็น สารสกัดสำหรับเครื่องสำอางและเวชสำอาง 162 รายการ, สารสกัดสำหรับอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 108 รายการ, สารสกัดสำหรับยา 104 รายการ และวัตถุดิบสำหรับเครื่องสำอางและเวชสำอาง 24 รายการ 2.ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ความงาม และสุขอนามัย ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ธุรกิจ ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่รับจ้างพัฒนาและผลิตภายใต้ตราสินค้าของลูกค้า (Original Design Manufacturer : ODM) และกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและจำหน่ายภายใต้ตราสินค้าของกลุ่มบริษัท (Original Brand Manufacturer : OBM)           ผลการดำเนินงานในงวด 6 เดือนแรกปี 2567 SNPS มีรายได้รวม 216.82 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.47 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า และมีกำไรสุทธิ 29.35 ล้านบาท           “ตอนนี้ SNPS ได้เริ่มนับหนึ่งไฟลิ่งเรียบร้อย และถือว่าเป็นอีกก้าวที่สำคัญ ที่เราจะก้าวเข้าสู่การเป็นสมาชิกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เพราะว่าบริษัทวางแผนที่จะเข้าระดมทุน เพื่อเพิ่มเทคโนโลยี รวมทั้งนำไปใช้วิจัย พัฒนา และผลิตวัตถุดิบสมุนไพรให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเข้าแข่งขันในเวทีระดับโลก พร้อมขยายธุรกิจในอนาคต เพื่อสนับสนุนผลการดำเนินงานให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง สร้างผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุนทุกท่าน” ดร.ธีรญา กล่าว

[PR News] โอ้กะจู๋ ลงกระดานเทรด 4 ต.ค.นี้ เสนอขาย IPO หุ้นละ 6.70 บาท

[PR News] โอ้กะจู๋ ลงกระดานเทรด 4 ต.ค.นี้ เสนอขาย IPO หุ้นละ 6.70 บาท

           “OKJ” โชว์กลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจฟาร์มเกษตรอินทรีย์และร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ‘โอ้กะจู๋’ ประกาศราคาเสนอขาย IPO หุ้นละ 6.70 บาท จองซื้อ 23 – 25 ก.ย. 67 นี้ ลงกระดานเทรด 4 ต.ค.นี้            “บมจ. ปลูกผักเพราะรักแม่” หรือ “OKJ” หนึ่งในผู้นำธุรกิจให้บริการและจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Be Organic from Farm to Table” เน้นวิถีเกษตรอินทรีย์ (Organic) ตั้งแต่เพาะปลูกจนถึงเก็บผลผลิต กำหนดราคาเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 159 ล้านหุ้น ที่ราคา 6.70 บาทต่อหุ้น เตรียมเปิดให้นักลงทุนจองซื้อระหว่างวันที่ 23 – 25 กันยายน 67 คาดนำหุ้นเข้าซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) 4 ตุลาคมนี้ ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจฟาร์มเกษตรอินทรีย์และร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ‘โอ้กะจู๋’ เดินหน้า สร้างการเติบโตในฐานะ “King of Organic Salad” ในไทย ฟาก OR มั่นใจศักยภาพคงสัดส่วนการถือหุ้น 20% หลัง IPO            นายชลากร เอกชัยพัฒนกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ” หรือ “OKJ”) เปิดเผยว่า บริษัทฯ มุ่งมั่นสร้างการเติบโตในฐานะ “King of Organic Salad” ในประเทศไทย ภายใต้วิสัยทัศน์ “เรามุ่งมั่นเดินบนวิถีอินทรีย์ที่ดีต่อตัวเรา และสังคม” ผ่านพันธกิจที่สำคัญ คือการส่งมอบผักออร์แกนิคจากฟาร์ม คัดสรรวัตถุดิบปราศจากสารเคมี นำเสนอผ่านประสบการณ์มื้ออาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคน และให้การดูแลต้อนรับเสมือนคนในครอบครัว พร้อมทั้งมุ่งมั่นสนับสนุนเพื่อนร่วมอุดมการณ์ในวิถีอินทรีย์ ซึ่งการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันเพื่อรองรับโอกาสทางธุรกิจในอนาคตอย่างยั่งยืน            ปัจจุบัน บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบธุรกิจให้บริการและจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่มอีกทั้งผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพภายใต้คอนเซ็ปต์ “Be Organic from Farm to Table” เน้นการปลูกผักสลัดแบบเกษตรอินทรีย์ (Organic) และและคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพ โดยแบ่งธุรกิจปัจจุบันเป็น 3 ประเภท ได้แก่ (1) บริการและจำหน่ายอาหารภายใต้แบรนด์ “โอ้กะจู๋” จัดจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพประเภทต่าง ๆ อาทิ สลัด สเต็ก สปาเก็ตตี้ อาหารจานเดียว ขนมหวาน น้ำผักผลไม้ (2) ร้านอาหารประเภทจานด่วน (QSR) ภายใต้แบรนด์ “Ohkajhu Wrap & Roll” จำหน่ายสลัด แร๊พสลัด แซนวิช และเมนูสุขภาพพร้อมหยิบ (Grab & Go) เพื่อให้ตอบโจทย์ชีวิตที่เร่งรีบได้ (3) ร้านน้ำผักผลไม้เพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์ “Oh! Juice” ซึ่งต่อยอดจากเมนูน้ำผักออร์แกนิค และผลไม้ที่จำหน่ายในร้านโอ้กะจู๋            บริษัทฯ มีกลยุทธ์และแนวทางการดำเนินธุรกิจเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ผ่าน 7 แนวทาง ได้แก่ (1) พัฒนาธุรกิจบริการและจำหน่ายอาหารภายใต้แบรนด์โอ้กะจู๋ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยการขยายสาขา เพิ่มรูปแบบร้านอาหารใหม่ ๆ และปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยตั้งเป้าหมายขยายครบ 67 สาขา ภายในปี 2571 (2) สร้างและรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อให้เกิดความผูกพันกับแบรนด์ (Brand engagement) และความจงรักภักดีต่อแบรนด์ (Brand loyalty) ผ่านกลยุทธ์ในการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่สมาชิกเพิ่มเติม รวมถึงแผนการตลาดที่ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพื่อทำให้เกิดการซื้อซ้ำบ่อยขึ้น (3) พัฒนาธุรกิจ และแบรนด์ใหม่ ๆ และขยายช่องทางการจำหน่าย โดยต่อยอดจากธุรกิจหลัก โดยในปีนี้ บริษัทฯ ประสบความสำเร็จจากการเริ่มธุรกิจใหม่ภายใต้แบรนด์ “Ohkajhu Wrap & Roll” และ “Oh! Juice” และมีแผนจะขยายสาขาร้านใหม่ทั้ง 2 แบรนด์อย่างต่อเนื่อง ให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล หรือเมืองท่องเที่ยวสำคัญ โดยตั้งเป้าหมายการขยายสาขาทั้ง 2 แบรนด์ รวมประมาณ 90 สาขา ภายในปี 2571 รวมถึงมีแผนพัฒนาแบรนด์อื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้สามารถตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น (4) เติบโตอย่างรวดเร็วร่วมกับ OR ซึ่งเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่ง โดยร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และนำสินค้าไปจำหน่ายในร้าน Café Amazon ทำให้มีโอกาสเข้าถึงเครือข่ายผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันของ OR จำนวนมาก ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสให้สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ในการทำธุรกิจ รวมถึงเพิ่มโอกาสขยายสาขาร้านอาหาร (5) ต่อยอดและรักษาความเป็นผู้นำในการทำเกษตรอินทรีย์ และพัฒนาวิธีการเพาะปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น พร้อมมุ่งมั่นในการขยายเครือข่ายเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ วิถีธรรมชาติ วิถีที่ยั่งยืน (6) พัฒนาเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อเพิ่มผลผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) โดยมีแผนในการเพิ่มกำลังการผลิตและเพิ่มสายการผลิตสินค้าเพิ่มเติมที่ครัวกลางในกรุงเทพฯ (7) แสวงหาโอกาสในการลงทุนและขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่ช่วยพัฒนา Ecosystem และสร้างนวัตกรรมในการทำธุรกิจของบริษัทฯ ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และแผนกลยุทธ์            นายจิรายุทธ ภูวพูนผล ประธานเจ้าหน้าที่สายงานเกษตรอัจฉริยะ OKJ กล่าวว่า OKJ เชี่ยวชาญในกระบวนการทำเกษตรอินทรีย์ในเชิงลึก ซึ่งเป็นกระบวนการจัดหาวัตถุดิบผักสลัดที่หลากหลายและเป็นวัตถุดิบหลักที่สำคัญที่สุดของบริษัทฯ โดยผู้บริหารและบุคลากร มีความเข้าใจวิธีการเพาะปลูก ลักษณะ และคุณสมบัติของผักแต่ละชนิด สามารถปรับเปลี่ยนวิธีเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมแต่ละฤดูกาลในประเทศไทย โดยมีการทำเกษตรอินทรีย์แบบบูรณาการทุกกระบวนการ เพราะบริษัทฯ เชื่อว่าเกษตรอินทรีย์เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำการเกษตรกรรม นอกจากนี้ บริษัทฯ ตั้งใจปลูกและเก็บเกี่ยวผักอินทรีย์ทุกต้นพร้อมเสิร์ฟให้ถึงมือทุกคน โดยปราศจากสารเคมีและยาฆ่าแมลง ปัจจุบัน สวนของ OKJ ที่ใช้ปลูกผักสลัด ผลไม้บางชนิด และดอกไม้ทานได้ ด้วยกระบวนการเกษตรอินทรีย์ทั้ง 5 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่รวมประมาณ 380 ไร่ เป็นฟาร์มเกษตรอินทรีย์ที่การันตีด้วยมาตรฐาน IFOAM จากสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ USDA Organic มาตรฐานรับรองอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ของสหรัฐอเมริกา มาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์แคนาดา (Canada Organic Regime – COR) และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สหภาพยุโรป (EU Organic Certification)            นายวรเดช สุชัยบุญศิริ ประธานเจ้าหน้าที่ซัพพลายเชน OKJ กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทฯ มีความสามารถในการบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ของธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ สามารถควบคุมคุณภาพและประสิทธิภาพ ตั้งแต่กระบวนการจัดหาวัตถุดิบ บริหารจัดการครัวกลาง บริหารจัดการสาขา ทำให้มั่นใจได้ถึงคุณภาพและประสิทธิภาพในแต่ละกระบวนการ รวมไปถึงการควบคุมการดำเนินงาน วางแผนร่วมกับผู้ให้บริการภายนอกที่มีประสบการณ์ด้านการโลจิสติกส์ในการขนส่งและการบริหารจัดการศูนย์กระจายสินค้า พร้อมใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้สามารถติดตามสถานะการขนส่ง การควบคุมจัดเก็บวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ โดยจะขนส่งวัตถุดิบจากเชียงใหม่มาศูนย์กระจายสินค้าในกรุงเทพฯ รวมถึงกระจายสินค้าไปยังร้านอาหารแต่ละสาขาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะผักถือเป็นวัตถุดิบสำคัญของบริษัทฯ โดยสามารถจัดส่งผลผลิตที่สดใหม่จากสวนถึงหน้าร้านสาขาภายใน 28 ชั่วโมง            นางสาวเบญญาภา เตชะมณีสถิตย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ OKJ กล่าวว่า จุดแข็งของ OKJ คือการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย จากทีมวิจัย และพัฒนาที่มีศักยภาพในการคิดค้นตั้งแต่ต้นน้ำคือการเพาะปลูกผักที่หลากหลาย พืชหาทานยาก รวมถึงพัฒนาสูตรอาหาร และเครื่องดื่ม โดยร่วมกับฝ่ายการตลาดที่ศึกษาพฤติกรรม ความต้องการ และกระแสนิยมของผู้บริโภค ทำให้บริษัทฯ สามารถออกเมนูใหม่ ๆ ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่หลากหลาย และแตกต่างจากอาหารเพื่อสุขภาพทั่วไป นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับกระบวนการฝึกอบรม เพิ่มศักยภาพบุคลกรอย่างสม่ำเสมอ โดยมีศูนย์การเรียนรู้ Ohkajhu academy เพื่อสร้างสมรรถนะที่ครบด้าน รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ในการให้บริการลูกค้าที่เปรียบเสมือนคนในครอบครัว เป็นคนที่เรารัก พร้อมที่จะดูแล และมอบสิ่งที่ดีที่สุดเสมอ ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้นทั้งการเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิม และยอดขายจากสาขาที่เปิดเพิ่มเติม นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการนำเมนูและผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาและต่อยอดมาจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมของแบรนด์โอ้กะจู๋ และนำเสนอเป็นร้านรูปแบบใหม่ เพื่อขยายฐานลูกค้าและเพิ่มช่องทางการจำหน่าย ได้แก่ การเปิดร้าน Oh! Juice และร้าน Ohkajhu Wrap & Roll ซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้าและถูกพูดถึงในสื่อสังคมออนไลน์เป็นอย่างมาก ตอกย้ำให้ OKJ เป็นผู้นำการสร้างเทรนด์ผลิตภัณฑ์ และเมนูเพื่อสุขภาพที่แปลกใหม่ (Trend setter) ให้เกิดเป็นกระแสนิยมในประเทศไทย            นางสาวภวิษย์เพ็ญ เหล่ารัตนไพบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บัญชีและการเงิน OKJ กล่าวเสริมว่า ผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกปี 2567 บริษัทฯ มีรายได้รวม 1,110.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 778.0 ล้านบาท ขณะที่กำไรสุทธิทำได้ 102.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 73.9 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นทั้งการเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิม และการขยายสาขารูปแบบ Full-service Restaurant 6 สาขา นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2566 อีกทั้ง บริษัทฯ เริ่มรับรู้รายได้จากการขายจากการเปิดร้านอาหารและเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์ใหม่ ได้แก่ ร้าน Ohkajhu Wrap & Roll ที่เริ่มเปิดสาขาแรกเดือนเมษายน 2567 และร้าน Oh! Juice ที่เริ่มเปิดสาขาแรกเดือนพฤษภาคม 2567 เป็นต้นมา            นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย กล่าวว่า บมจ.ปลูกผักเพราะรักแม่ ได้กำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ที่ราคา 6.70 บาทต่อหุ้น คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (P/E) 24.13 เท่า หากพิจารณาผลกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในช่วง 12 เดือนย้อนหลัง ถือเป็นราคาที่เหมาะสมที่สะท้อนพื้นฐานและศักยภาพการเติบโต โดยเตรียมเปิดให้นักลงทุนจองซื้อหุ้น IPO ในวันที่ 23 – 25 กันยายน 2567 โดยมี บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย และมีบริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น IPO และคาดว่าจะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนและซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) 4 ตุลาคมนี้            ปัจจุบัน OKJ มีทุนจดทะเบียน 304.5 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 609.0 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.5 บาท โดยมีทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วจำนวน 225.0 ล้านบาท เป็นหุ้นสามัญจำนวน 450.0 ล้านหุ้น โดยจะเสนอขายหุ้น IPO จำนวน ไม่เกิน 159.0 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 26.1 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลัง การเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ โดยบริษัทฯ จะนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้น IPO ไปใช้ขยายสาขา สร้างครัวกลางแห่งใหม่ เพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจ            นอกจากนี้ เพื่อคงความเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่ง ภายหลัง IPO ทาง บริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด (Modulus) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ได้ทำสัญญาซื้อขายหุ้น โดยจะซื้อหุ้นสามัญเดิมจากผู้ร่วมก่อตั้งรวม 31.8 ล้านหุ้น คิดเป็น 5.2% ของจำนวนหุ้นหลัง IPO บนกระดานรายใหญ่ (Big Lot Board) ในราคาเดียวกับราคาเสนอขายหุ้น IPO ในวันแรกที่หุ้น OKJ เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นที่ 20% ภายหลังการ IPO และคาดว่าจะได้เห็นความร่วมมือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ หรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่เหมาะสมและตรงกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อวางจำหน่ายในร้าน Café Amazon

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน