#GUNKUL


GUNKUL โบรกคาด Q4 กำไรโต รับอานิสงส์ภาครัฐ

GUNKUL โบรกคาด Q4 กำไรโต รับอานิสงส์ภาครัฐ

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.กรุงศรี ระบุ GUNKUL มี Catalyst 2 ส่วนจากภาครัฐ มอง Positive ต่อข่าว 2 ประเด็นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนซึ่งออกมาเมื่อวานนี้ โดย i) GUNKUL เป็นผู้ได้รับคัดเลือกพลังงานหมุนเวียนเฟส 2 ในปริมาณมากที่สุดรวม 319 MW ซึ่งจะทยอย COD ในปี 2027-2030F เราประเมินโครงการดังกล่าวเป็น Upside ต่อประมาณการปี 27-30F ราว 16% ซึ่งเรายังไม่รวมเข้ามา ii) มีปัจจัยบวกจากข่าวยกเว้นการขอใบอนุญาตติดตั้ง Solar rooftop ในทุกขนาด ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยหนุนการเติบโตของธุรกิจ Solar rooftop (จากปัจจุบันมีสัดส่วน 8% ของรายได้รวม)           ด้าน Outlook คาดกำไรปกติ 4Q24F เติบโต y-y แต่ลดลง q-q หลังปริมาณแรงลมลดลงตาม Seasonality           คงคำแนะนำ Buy และราคาเป้าหมาย (TP25F) ที่ 3.85 บาท อิง SOTP ประเด็น วานนี้มี 2 ประเด็นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน i) กกพ. ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกพลังงานหมุนเวียนเฟส 2 รูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565-2573 รวม 2,145 MW แบ่งเป็นพลังงานลม 565 MW และพลังงานโซลาร์ 1,580 MW โดยจะมีการทยอยลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ภายใน 14-60 วันหลังประกาศผลคัดเลือก ii) กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศยกเว้นให้การติดตั้ง Solar rooftop ทุกระดับกำลังการผลิต ไม่เข้าข่ายต้องขอใบอนุญาตโรงงาน (เดิมกำลังการผลิตเกิน 1 MW ต้องขอใบอนุญาต) นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมอยู่ระหว่างพิจารณาขยายกรอบการติดตั้งโซลาร์ฟาร์ม (Solar Farm) และโซลาร์โฟลทติ้ง (Solar Floating) ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในอนาคต ความเห็นและคำแนะนำ มีมุมมอง Positive ต่อทั้ง 2 ข่าว i) โดย GUNKUL เป็นผู้ได้รับคัดเลือกพลังงานหมุนเวียนเฟส 2 ในปริมาณมากที่สุดรวม 319 MW จากทั้งหมด 2,145 MW โดยแบ่งเป็นพลังงานลม 284 MW และพลังงานโซลาร์ 35 MW ซึ่งจะเป็นโครงการที่ทยอย COD ในปี 2027-2030F อิงโครงการล่าสุดที่ GUNKUL ได้รับในพลังงานหมุนเวียนเฟส 1 มีกำไรราว 1.5 ลบ. ต่อ MW และหากคิดบนสมมติฐานเดียวกัน จะเป็น Upside จากประมาณการของเราราว 16% ii) มองบวกต่อการยกเว้นการขอใบอนุญาตทุกกำลังการผลิต เนื่องจากเป็นปัจจัยหนุนช่วยอำนวยความสะดวกการติดตั้ง Solar rooftop เร่งขึ้น จาก ณ ปัจจุบัน GUNKUL มีสัดส่วนรายได้จาก Solar rooftop ราว 8% คาดกำไรปกติ 4Q24F เติบโต y-y จากงาน EPC และ Trading ที่เป็นตัวหนุนตลอดปี 24F ซึ่งมีโอกาสได้รับงานเพิ่ม เนื่องจากเป็นช่วงที่ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าที่ได้รับคัดเลือกจาก PPA พลังงานหมุนเวียนรอบ 5,203 MW ซึ่งเตรียม COD ในปี 25-26F เริ่มก่อสร้าง ส่วนกำไรลดลง q-q หลังปริมาณแรงลมลดลงตาม Seasonality ด้าน Outlook ในระยะกลาง-ยาว มีโรงไฟฟ้าใหม่ทยอย COD ตั้งแต่ปี 2026F (โซลาร์ 652 MW, ลม 180 MW) ซึ่งสามารถชดเชย Adder โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมขนาด 30 MW (ถือเป็น JV ร่วมกับ GULF) ที่จะหมดในปี 2026F ได้ เบื้องต้นยังคงคำแนะนำ Buy และราคาเป้าหมายเดิม (TP25F) ที่ 3.85 บาท อิง SOTP โดยยังไม่รวม Upside จากการคัดเลือกดังกล่าวจนกว่าจะได้รับข้อมูลเพิ่มเติม

GUNKUL-BGRIM ปลื้มได้ไฟเพิ่ม รัฐสั่งลุยไฟฟ้าทดแทน 2.1 พัน MW

GUNKUL-BGRIM ปลื้มได้ไฟเพิ่ม รัฐสั่งลุยไฟฟ้าทดแทน 2.1 พัน MW

          กกพ. ไฟเขียวผลิตไฟฟ้าเพิ่ม 2,145 MW ด้าน GUNKUL กวาด 7 โครงการ 319 MW ดันกำลังการผลิตเพิ่ม ปักหมุดรายได้ทะลุ 10,000 ล้านบาท ส่วน EGCO คว้าสิทธิ 11 โครงการ 448 MW ฟาก BGRIM รับ 60 MW เสริมฐานพลังงานหมุนเวียน ส่วน EA ได้เพิ่ม 90 MW หนุนแผนขยายธุรกิจ จ่อทยอย SCOD ปี 2569-2573 โบรกมอง GUNKUL เด่นสุด เนื่องจากกำลังผลิตที่ได้รับคัดเลือกในรอบดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนราว 22% ของกำลังผลิตทั้งหมดในปัจจุบัน           สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ประกาศรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมที่ได้รับการคัดเลือก ตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2567 ซึ่งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานได้ประชุมเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 พิจารณาเห็นชอบผลการคัดเลือกผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมจำนวน 72 ราย ปริมาณพลังไฟฟ้าที่เสนอขายรวม 2,145.4 เมกะวัตต์ โดยแบ่งเป็นพลังงานลม จำนวน 8 ราย รวม 565.40 เมกะวัตต์ กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ หรือ SCOD ตั้งแต่ปี 2571-2573 และพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน จำนวน 64 ราย รวม 1,580 เมกะวัตต์ กำหนด SCOD ตั้งแต่ 2569-2573           โดยมีการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ให้การไฟฟ้าคู่สัญญาแจ้งให้ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าทราบและยอมรับเงื่อนไขการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน 14 วันนับถัดจากวันที่สำนักงาน กกพ. ประกาศรายชื่อ และกลุ่มที่ 2 ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อสถานีไฟฟ้าเดียวกัน ตกลงรูปแบบการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายตามหลักการแบ่งปันสิ่งอำนวยความสะดวกร่วมกัน (Common Facilities Sharing) และยอมรับเงื่อนไขการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน 60 วัน นับถัดจากวันที่ประกาศผลการคัดเลือก           นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL) เปิดเผยว่า ทิศทางธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ในปี 2568 เชื่อว่ายังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปี 2567 เนื่องจากภาพรวมตลาดยังมีศักยภาพ ทั้งงานจากโครงการพลังงานทดแทนรอบใหม่ และงานของภาครัฐที่มีงบลงทุนด้านพื้นฐานเพิ่มเติมตามความต้องการใช้ไฟฟ้า โดยบริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้ปี 2568 ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากประมาณการรายได้ปี 2567 ที่คาดว่ารายได้รวมจะเติบโตตามเป้า 15% จากปีก่อน ซึ่งปัจจุบันถือว่าใกล้เคียงแล้ว หลัก ๆ การเติบโตยังคงมาจากการรับรู้รายได้จากธุรกิจพลังงานทดแทน ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและวางระบบทางด้านวิศวกรรม (EPC) และเทรดดิ้งอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า           ทั้งนี้ ปี 2568 บริษัทฯ ตั้งเป้างานในมือจากธุรกิจ EPC ไว้ที่ประมาณ 4,500 ล้านบาท ส่วนธุรกิจโรงไฟฟ้าวางเป้ากำลังการผลิตเติบโต 35% ใน 2 ปีข้างหน้า หรือเพิ่มประมาณ 100-150 เมกะวัตต์ต่อปี จากปัจจุบันมีกำลังการผลิตไฟฟ้าอยู่กว่า 1,500 เมกะวัตต์           โดยล่าสุดสำนักงาน กกพ. ได้ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคัดเลือกรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเฟส 2 กำลังการผลิตที่เสนอขายรวม 2,145 เมกะวัตต์ ซึ่งกลุ่มบริษัทย่อยที่ GUNKUL ถือหุ้นทางตรงผ่านบริษัท กันกุล วิน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และบริษัท กันกุล วัน เอ็นเนอร์ยี 9 จำกัด ได้รับการคัดเลือกรวมทั้งสิ้น 319 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นพลังงานลม 284 เมกะวัตต์ และโซลาร์กำลังการผลิต 35 เมกะวัตต์ โดยจะทยอย COD ตั้งแต่ปี 2570-2573 ส่งผลทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้ารวมเพิ่มเป็นประมาณ 1,800 เมกะวัตต์ ซึ่งเป้าหมายของบริษัทฯ คือการมีเมกะวัตต์สะสมเพิ่มเป็น 2,000 เมกะวัตต์ในปี 2569 นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้ดำเนินการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องอยู่หลายโครงการ ทั้งโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มและโรงไฟฟ้าพลังงานลม           ขณะที่โครงการพลังงานหมุนเวียนจำนวน 832 เมกะวัตต์ ทั้งโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มและโรงไฟฟ้าวินด์ฟาร์ม ที่ได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ไปก่อนหน้านี้ จะทยอยเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ตั้งแต่ปี 2569-2573 คาดว่าจะใช้เงินลงทุนในส่วนนี้ประมาณ 38,000 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ยังมีเงินลงทุนเพียงพอ และปัจจุบันอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนยังอยู่ในระดับต่ำ พร้อมรองรับการเติบโตในอนาคตได้อย่างต่อเนื่อง           “ตามที่ได้มีการประกาศรายชื่อผู้ที่ได้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นนั้น ทำให้บริษัทในกลุ่มของ GUNKUL ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการขายสินค้าในระบบอุปกรณ์ไฟฟ้าและรับเหมาก่อสร้างจะได้รับประโยชน์เพิ่มเติมไปด้วย โดยเฉพาะงานรับเหมาก่อสร้างที่จะได้รับโอกาสทำสายส่งไฟฟ้าและสถานีไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังมองว่าในอนาคตหากประเทศไทยมุ่งไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำและต้องการมีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น GUNKUL ก็ยังมีโอกาสในการที่จะเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้น รวมถึงภาคเอกชนที่ตอนนี้ก็หันมาใช้พลังงานจากโซลาร์เซลล์เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นโอกาสที่ธุรกิจโซลาร์ที่เป็น Private PPA ของ GUNKUL จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน” นางสาวโศภชา กล่าวในที่สุด           ส่วน บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM ผ่านการคัดเลือกกว่า 60 เมกะวัตต์ ขณะที่ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ผ่านการคัดเลือก 90 เมกะวัตต์           บล. หยวนต้า ระบุว่า โดยจากการตรวจสอบเบื้องต้น บริษัทในกลุ่มโรงไฟฟ้าที่ได้รับคัดเลือกมากที่สุดคือ EGCO (ได้รับคัดเลือก 11 โครงการ ขนาดรวม 448 MW และเป็นโครงการแสงอาทิตย์ทั้งหมด) ตามมาด้วย GUNKUL (ได้รับคัดเลือก 7 โครงการ ขนาดรวม 319 MW แบ่งออกเป็นโครงการลม 4 โครงการ ขนาดรวม 284 MW และโครงการแสงอาทิตย์ 3 โครงการ ขนาดรวม 35 MW) มองว่าหุ้นที่ได้ประโยชน์ชัดเจนที่สุดคือ GUNKUL ([email protected]) เนื่องจากกำลังผลิตที่ได้รับคัดเลือกในรอบดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนราว 22% ของกำลังผลิตทั้งหมดในปัจจุบัน (ทั้งที่ COD แล้วและอยู่ระหว่างการก่อสร้าง)

GUNKUL ธุรกิจQ4โตต่อ โบรกเคาะเป้า 5 บาท

GUNKUL ธุรกิจQ4โตต่อ โบรกเคาะเป้า 5 บาท

         หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล. ดาโอคงคำแนะนำ “ซื้อ” GUNKUL และราคาเป้าหมาย 5.00 บาท อิง SOTP ทั้งนี้มีมุมมองเป็นกลางจากงาน SET Opportunity Day เมื่อ 26 พ.ย. 2024 หลังธุรกิจยังมีพัฒนาการตามแผน โดยสรุปประเด็นดังนี้ 1) ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน คงเป้า 2.0GW ในปี 2026E (1.5GW ในปัจจุบัน) นอกจากโครงการในไทยแล้ว จะเพิ่มโครงการในต่างประเทศโดยเฉพาะใน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลียราว 150MW ในช่วง 3 ปีข้างหน้า 2) ธุรกิจ EPC ปัจจุบันมี Backlog ราว 4 พันล้านบาท โดยงานในระยะสั้นที่เป็น potential project มีไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท ทยอยออกมาในช่วง 4Q24E-2025E 3) ธุรกิจ Trading มี outlook ที่ดีจากการลงทุนเพิ่มเติมของหน่วยงานรัฐฯ รวมไปถึงอานิสงส์จากโครงการพลังงานทดแทนในไทยที่จะเริ่มทยอย COD ในปี 2025E-30E เป็นปัจจัยหนุน เบื้องต้นเรายังคงประมาณการกำไรปกติปี 2024E ที่ 1.8 พันล้านบาท +11% YoY แนวโน้ม 4Q24E คาดเติบโตได้ QoQ จากโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่คาดผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น รวมถึงงาน EPC ซึ่งรับรู้รายได้มากขึ้นโดยเฉพาะช่วงครึ่งปีหลัง ราคาหุ้น underperform SET ราว -14% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาคาดยังไร้ key catalyst ระยะสั้น อย่างไรก็ตามเราคาดราคาหุ้นมีโอกาสกลับไป outperform SET ได้จากโอกาสในการได้งาน EPC โรงไฟฟ้าเพิ่มเติมหลังโครงการพลังงานทดแทน 5.2GW จะเริ่มทยอย COD ในปี 2024E เป็นต้นไป รวมถึงโอกาสในการได้โครงการเพิ่มในเฟสถัดไป 3.6GW เป็นอีก catalyst นอกจากนี้ผลประกอบการกลับเข้าสู่ภาวะขาขึ้นจากการทยอยรับรู้รายได้โครงการพลังงานทดแทนใหม่ซึ่งจะทยอย COD ในปี 2026E ถึง 2030E หนุนกำลังการผลิตจากปี 2023 ที่ 0.6GW สู่ระดับ 1.5GW

GUNKUL Q3/67 มีกำไร 379 ล้านบาท มั่นใจ 3-5ปี โตไม่ต่ำกว่า 15%

GUNKUL Q3/67 มีกำไร 379 ล้านบาท มั่นใจ 3-5ปี โตไม่ต่ำกว่า 15%

          บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) ศักยภาพเต็มเปี่ยม ประกาศผลงานไตรมาส 3/67 กำไรสุทธิแตะ 460.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 49.93 ล้านบาท หรือ 12.17% รับแรงหนุนจากการดำเนินธุรกิจหลักที่ดีขึ้น ทั้งในส่วนของธุรกิจการขายอุปกรณ์ไฟฟ้า ธุรกิจก่อสร้าง รายได้จากการขายทรัพย์สินตามสัญญาเช่าเงินทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างมีสาระสำคัญ ฟาก “โศภชา ดำรงปิยวุฒิ์” ประกาศเดินหน้าประมูลโครงการพลังงานทดแทนต่างประเทศเพิ่มเพื่อต่อยอดธุรกิจให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น  มั่นใจอนาคตธุรกิจสดใสตามแผน PDP ที่ยังมีการประมูลโครงการเพิ่ม           นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร  บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL) เปิดเผยว่าผลการดำเนินงานตามปกติของกิจการ สำหรับงวดไตรมาส 3/2567 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2567 มีกำไรสุทธิจำนวน 460.19 ล้านบาท เทียบจากงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 410.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 49.93 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นในอัตรา 12.17%  ส่วนรายได้รวมเท่ากับ 2,667.60 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนจำนวน 2,183.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 483.85 ล้านบาท หรือ คิดเป็นเพิ่มขึ้นอัตรา 22.16%  โดยมีสาเหตุมาจากรายได้ส่วนงานขายอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า ธุรกิจก่อสร้างและให้บริการ และรายได้จากการขายทรัพย์สินตามสัญญาเช่าเงินทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างมีสาระสำคัญ           ขณะที่รายได้จากการก่อสร้างและให้บริการมีจำนวน 942.42 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อน มีจำนวน 627.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 314.71 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นอัตรา 50.14% เนื่องจากการรับรู้รายได้โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับลูกค้าภาคเอกชน และโครงการก่อสร้างสายเคเบิลใต้น้ำให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่วนรายได้จากการขายทรัพย์สินตามสัญญาเช่าเงินทุนมีจำนวน 517.23 ล้านบาท เทียบจากงวดเดียวกันของปีก่อนเท่ากับ 461.01 เพิ่มขึ้นจำนวน 110.22 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นอัตรา 23.91% เกิดจากรายได้จากการขายไฟฟ้าบนหลังคาให้กับภาคเอกชน โดยเป็นสัญญาระยะยาว 10-15 ปี ซึ่งเป็นรายได้ที่เกิดจากการขายทรัพย์สินตามสัญญาเช่าเงินทุนจากการปรับของมาตรฐานทางบัญชี (TFRS16)           สำหรับรายได้รวมงวด 9 เดือนของปี 2567 มีจำนวน 7,475.63 ล้านบาท เทียบจากงวดเดียวกันของปีก่อนจำนวน 5,898.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,577.04 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นในอัตรา 26.74%           “บริษัทฯ เชื่อว่าภาพรวมธุรกิจของกลุ่ม GUNKUL ในอนาคตจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง จากโครงสร้างธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ที่ดำเนินการอยู่ในทุกภาคส่วนที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการเติบโตของประเทศ และเทรนด์ธุรกิจด้านพลังงานในอนาคตที่ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากแผน PDP ที่จะต้องมีการประมูลโครงการเพิ่มขึ้นในอนาคต รวมถึงการพัฒนาโครงการในต่างประเทศ ซึ่งบริษัทฯ อยู่ระหว่างการดำเนินการเจรจาและศึกษาโครงการต่างประเทศเพิ่มอยู่หลายโครงการ ทำให้เชื่อว่าจะช่วยสนับสนุนให้ภาพรวมธุรกิจของบริษัทรวมถึงผลการดำเนินงานในอนาคตจะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง” นางสาวโศภชากล่าว           ด้วยบริษัทฯ มีเป้าหมายการเติบโตในช่วง 3-5 ปี ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 จากการพัฒนาโครงการพลังงาน ทั้งโครงการลมและโครงการพลังงานแสงอาทิตย์กว่า 832 เมกะวัตต์ รวมถึงโครงการพลังงานทดแทนทั้งในและต่างประเทศที่จะเพิ่มเติมในอนาคต นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีส่วนของ Backlog งานขายอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าและงานบริการก่อสร้างที่มีอยู่กว่า 5,000 ล้านบาท คาดว่าบริษัทฯ จะมีการใช้เงินลงทุนในส่วนทุนไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาทในอีก 5 ปี โดยปัจจุบันอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนยังอยู่ในระดับต่ำ พร้อมรองรับการเติบโตในทุกด้าน เพื่อสร้างรายได้และผลกำไรให้บริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง           ทั้งนี้จากการที่กลุ่มบริษัทฯ มีการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างมั่นคง โดยยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาล ในมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสีย ทุกฝ่าย ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจเพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน จึงทำให้ได้รับคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการในระดับ 5 ดาว หรือ “ดีเลิศ” จากโครงการสำรวจด้านการกำกับดูแลกิจการของบริษัท จดทะเบียนไทย ประจำปี 2567 (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies 2024 : CGR) จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) โดยการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)   โดย GUNKUL ถือเป็นองค์กรภาคเอกชนที่ได้รับการประเมิน CGR 5 ดาว ในระดับดีเลิศ  ติดต่อกันเป็นเวลา 8 ปี

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

โบรกฯคาด GUNKUL กำไรโต YoY ลุ้นนโยบาย Solar Rooftop หนุน

โบรกฯคาด GUNKUL กำไรโต YoY ลุ้นนโยบาย Solar Rooftop หนุน

          หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด คาด GUNKUL กำไรปกติ 3Q67 ที่ 436 ล้านบาท ลดลง 6% QoQ แต่เติบโต 2% YoY โดยการลดลง QoQ มีสาเหตุหลักมาจาก 1) คาดรายได้ของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในไทยลดลงเป็น 590 ล้านบาท (-6% QoQ, -2% YoY) ตามปัจจัยฤดูกาล 2) คาดรายได้ของธุรกิจ EPC และ Trading ลดลงเป็น 790 ล้านบาท (-2% QoQ, +65% YoY) และ 640 ล้านบาท (-4% QoQ, +16% YoY) ตามลำดับ จากการเข้าสู่ช่วงฤดูฝน (ทำให้การติดตั้ง Solar Rooftop ทำได้ยากขึ้น) 3) คาดส่วนแบ่งกำไรจากโครงการลมในประเทศ (รับรู้ผ่าน GGC) ทรงตัวที่ระดับ 220 ล้านบาท (ทรงตัว QoQ, -18% YoY)           ขณะที่ YoY คาดกำไรปกติสามารถเติบโตได้ แม้คาดส่วนแบ่งกำไรจากโครงการลมในประเทศลดลงตามความเร็วลมที่ลดลง เพราะได้แรงหนุนจากรายได้ของกลุ่มธุรกิจ EPC และ Trading ที่เติบโตสูง YoY ตามปริมาณงานก่อสร้างโรงไฟฟ้าและการติดตั้ง Solar Rooftop ที่เติบโตขึ้นจากปีก่อน หากกำไรปกติ 3Q67 ออกมาใกล้เคียงคาด กำไรปกติ 9M67 จะคิดเป็นสัดส่วน 81% ของประมาณการทั้งปี           คาดกำไร 4Q66 ลดลงตามฤดูกาลแต่ยังเติบโตได้ YoY เบื้องต้นคาดกำไรปกติ 4Q67 ที่ระดับ 300-400 ล้านบาท ลดลง QoQ ตามส่วนแบ่งกำไรของโครงการลมในประเทศที่ลดลงตามปัจจัยฤดูกาล (ออกจากช่วงฤดูฝนทำให้ความเร็วลมลดลง) ขณะที่ YoY คาดเติบโตได้จากฐานที่ต่ำในปีก่อนหลังได้แรงหนุนจาก 1) รายได้ของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่คาดเติบโต YoY หลังฤดูมรสุมไม่มาช้าเหมือนปีก่อน (ทำให้ Capacity Factor ของโครงการแสงอาทิตย์สูงขึ้น YoY) 2) รายได้ของธุรกิจ EPC และ Trading ที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องตามกระแสการติดตั้ง Solar Rooftop และปริมาณการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในประเทศที่เร่งตัวขึ้นหลังการลงนามในสัญญา PPA ของโครงการพลังงานหมุนเวียนที่ได้รับคัดเลือกในรอบ 5.2GW รอรับประโยชน์จากการรับซื้อไฟฟ้าหมุนเวียนรอบใหม่และนโยบาย Solar Rooftop           GUNKUL เป็นหนึ่งในหุ้นกลุ่มหลักที่จะได้รับประโยชน์จากการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนส่วนขยายจำนวน 2.2GW สำหรับผู้ที่เสนอขายไฟฟ้าในรอบ 5.2GW แต่ไม่ได้รับคัดเลือก โดยบริษัทฯ มีโครงการที่ไม่ได้รับคัดเลือกในรอบดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 400MW ทำให้มีโอกาสที่บริษัทฯ จะมีโครงการที่ได้รับคัดเลือกเพิ่มเติมสูง (คาดมีความชัดเจนภายในเดือน ธ.ค. 2567 เป็นอย่างเร็ว)           นอกจากนี้ ในปัจจุบัน รัฐบาลอยู่ระหว่างการร่างกฎหมายกำกับดูแลการติดตั้ง Solar Rooftop และการออกมาตรการสนับสนุนเงินทุนในการติดตั้ง Solar Rooftop และการนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปใช้ในการลดหย่อนภาษี ซึ่งหากนโยบายดังกล่าวมีความชัดเจน จะส่งผลให้ความต้องการติดตั้ง Solar Rooftop ในไทยสูงขึ้นและเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนการเติบโตของธุรกิจ EPC และ Trading ของบริษัทฯ ปรับไปใช้ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2568 ที่ 3.90 บาท/หุ้น...คงคำแนะนำ “ซื้อ”           ปรับไปใช้ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2568 ที่ 3.90 บาท/หุ้น มี Upside 47.7% แม้ในระยะสั้นหุ้นมีโอกาสถูกกดดันจาก Bond Yield ระยะ 10 ปีของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้น แต่เรามองว่าหุ้นมีโอกาสเคลื่อนไหวได้ดีกว่าตลาดในระยะกลาง-ยาวจาก 1) ผลประกอบการในช่วง 3Q-4Q67 ที่เติบโต YoY ต่อเนื่อง 2) แรงเก็งกำไรการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนส่วนขยายจำนวน 2.2GW จึงคงคำแนะนำ “ซื้อ” สำหรับการลงทุนระยะ 6 เดือนขึ้นไป

[ภาพข่าว] GUNKUL คว้า CG ดีเลิศ 5 ดาว 8 ปีซ้อน

[ภาพข่าว] GUNKUL คว้า CG ดีเลิศ 5 ดาว 8 ปีซ้อน

          บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL)  ได้รับคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการในระดับ 5 ดาว หรือ “ดีเลิศ” (Excellent CG Scoring) จากโครงการสำรวจด้านการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนไทย ประจำปี 2567 (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies 2024 : CGR) จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) โดยการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)   โดย GUNKUL ถือเป็นองค์กรภาคเอกชนที่ได้รับการประเมิน CG 5 ดาว ในระดับดีเลิศ  ติดต่อกันเป็นเวลา 8 ปี           ทั้งนี้ ถือเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท ที่มุ่งเน้นพัฒนามาตรฐานการกำกับดูแลกิจการในระดับที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการดำเนินกิจการ โดยยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาล ในมิติเศรษกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจเพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน ส่งผลให้ผู้ถือหุ้นมีความมั่นใจในการดำเนินงานของบริษัท

วิพากษ์หุ้นโรงไฟฟ้า ใครจะได้ประโยชน์หลัก

วิพากษ์หุ้นโรงไฟฟ้า ใครจะได้ประโยชน์หลัก

          หุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.กรุงศรี คาดว่า GULF จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์หลัก ตามมาด้วย GUNKUL, BGRIM และ GPSC เราคง ‘NEUTRAL’ สำหรับกลุ่ม เนื่องจากการประเมินมูลค่า (valuation) ปัจจุบัน ได้ถูกสะท้อนข่าวดีไปในราคาแล้ว จากการที่ กกพ. เดินหน้าเปิดประมูลรอบที่ 2 สำหรับโครงการพลังงานหมุนเวียนรวม 3.6 GW โดยจะประเมินข้อเสนอจากผู้สมัครจำนวน 198 รายตามคะแนนคุณภาพโดยไม่ต้องแก้ไขข้อเสนอขายไฟฟ้า และจะประกาศผลคัดเลือกภายในสิ้นปีนี้           ด้วยการประมูลรอบที่สองสำหรับกำลังการผลิตรวม 3.6 กิกะวัตต์ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในรอบนี้จะประกอบด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 2,632 เมกะวัตต์, พลังงานลม 1,000 เมกะวัตต์, พลังงานชีวมวล 6.5 เมกะวัตต์, และพลังงานจากของเสียอุตสาหกรรม 30 เมกะวัตต์ เพื่อดึงดูดผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้ามากขึ้น กกพ. มีแผนจัดสรรโควตาให้กับผู้ประมูลที่ไม่ได้รับโครงการในรอบแรกเป็นการเฉพาะ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน จะมีกฎระเบียบใหม่ในการจัดซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนภายใต้ระบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับปี 2565-2573 ซึ่งรวมถึงการซื้อเพิ่มเติมจากผู้สมัคร 198 รายที่เคยผ่านเกณฑ์ความพร้อมทางเทคนิคมาแล้ว แต่ไม่ได้รับการคัดเลือกเนื่องจากปริมาณการจัดซื้อเต็มแล้ว กกพ. จะประเมินการซื้อไฟฟ้าจากคะแนนคุณภาพโดยไม่ต้องแก้ไขข้อเสนอเดิม โดยจำกัดที่ 600 เมกะวัตต์สำหรับพลังงานลม และ 1,580 เมกะวัตต์สำหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนพื้นดิน คาดว่าจะประกาศผู้ชนะการประมูลภายในสิ้นปี 2567           หากอ้างอิงถึงผลผู้ชนะการประมูลในรอบแรกและจำนวนเมกะวัตต์ที่ยังไม่ผ่านรอบแรกของแต่ละบริษัท เราคาดว่า GULF (Unrated) จะได้ประโยชน์มากที่สุด ตามมาด้วย GUNKUL, BGRIM, GPSC ทั้งนี้ในรอบแรก GULF ชนะการประมูลคิดเป็น 38% ของการเปิดรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 5.2 GW ตามมาด้วย GUNKUL (16%), SSP (3.3%), BGRIM (3.1%), WHAUP (2.4%), GPSC (0.15%) และอื่นๆ (37%) เรามองว่าการเดินหน้าและมีความชัดเจนนี้จะส่งผลบวกต่อกระบวนการรับรองไฟฟ้าสีเขียวตามแนวทาง Utility Green Tariff (UGT) ของ กกพ. ที่ต้องอาศัยการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในโครงการรับซื้อไฟฟ้าเช่นกัน ที่ถ้าได้ข้อสรุปจะสามารถประเมินผลตอบแทนได้ชัดเจนขึ้นต่อการลงทุนดังกล่าว           บล.กรุงศรี มีมุมมอง Neutral สำหรับกลุ่ม โดยคงคำแนะนำ Trading Buy ต่อ BGRIM (TP Bt27), GPSC (TP Bt50), BCPG (TP Bt8.20), EGCO (TP Bt137) และคำแนะนำ Buy ต่อ GUNKUL (TP Bt3.85)

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต