#GULF


GULF ได้รับการประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ AAA

GULF ได้รับการประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ AAA

          บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF ได้รับการประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ในระดับสูงสุด ‘AAA’ กลุ่มทรัพยากร (Resources) จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดย GULF ได้รับคัดเลือกให้อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืนต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ GULF ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนภายใต้กรอบการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยงอย่างครอบคลุม และการนำข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, Governance: ESG) มาดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน           GULF มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในทุกมิติ เพื่อสร้างความเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืน พร้อมปรับตัวให้เข้ากับแนวโน้มของโลกและการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว โดย GULF เดินหน้าลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยเป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 และเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนให้ไม่น้อยกว่า 40% ของกำลังการผลิตทั้งหมด ภายในปี 2578 เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ           ในปีนี้มีบริษัทจดทะเบียนที่ผ่านเกณฑ์และได้รับการประกาศผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings รวม 228 บริษัท โดยมี 56 บริษัท ที่ได้รับการประเมินระดับ AAA โดย SET ESG Ratings คัดเลือกจากบริษัทจดทะเบียนที่สมัครใจเข้าร่วมการประเมิน และมีผลคะแนนจากการตอบแบบประเมินผ่าน 50% ในมิติ E S และ G และต้องผ่านเกณฑ์คุณสมบัติตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด เช่น เป็นบริษัทที่มีผลการประเมินคุณภาพรายงานด้านบรรษัทภิบาล (CGR) โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ตั้งแต่ 3 ดาวขึ้นไป ไม่เป็นบริษัทหรือมีกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่ถูกกล่าวโทษหรือได้รับการตัดสินความผิดเรื่อง ESG จากหน่วยงานทางการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่เป็นบริษัทที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย CB, CC, CF, CS เป็นต้น โดยปัจจุบันมีกองทุนบางประเภทที่ใช้ SET ESG Ratings เป็นหนึ่งในนโยบายการลงทุน เช่น กองทุน Thailand ESG Funds (TESG) มีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการของกองทุน (AUM) กว่า 14,545 ล้านบาท และกองทุนวายุภักษ์หนึ่ง หน่วยลงทุนประเภท ก. มี AUM 150,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะมีกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนด้าน ESG เพิ่มขึ้น สอดรับกับทิศทางความตื่นตัวของ บจ. ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน           ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ESG ของ GULF ได้ในรายงานความยั่งยืนของบริษัทที่ https://investor.gulf.co.th/th/document/sustainability-reports

GULF จัดกิจกรรม “พาน้องเรียนรู้แปลงนาสาธิต”

GULF จัดกิจกรรม “พาน้องเรียนรู้แปลงนาสาธิต”

           บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF จัดกิจกรรม “พาน้องเรียนรู้แปลงนาสาธิต” ณ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรและแปลงนาสาธิต โรงไฟฟ้าหนองแซง จ.สระบุรี โดยมีตัวแทนนักเรียนและคุณครูจากโรงเรียนวัดหนองทางบุญมาร่วมทำกิจกรรม อาทิ การเกี่ยวข้าว, การนวดข้าว, ทำอาหารไก่ไข่, การเก็บไข่ไก่, ทำปุ๋ยมูลไส้เดือน และการทำอาหารจากพืชผักปลอดสารพิษ โดยกิจกรรมนี้มีเป้าหมายเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นให้เยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิถีเกษตรอินทรีย์ และการทำเกษตรแบบหมุนเวียน (Circular Farming) รวมไปถึงปลูกฝังเรื่องการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และช่วยลดโลกร้อนได้อีกด้วย            นายกรชนะ มีสมศักดิ์ นักวิชาการเกษตร ประจำศูนย์การเรียนรู้เกษตรและแปลงนาสาธิต โรงไฟฟ้าหนองแซง กล่าวว่า “จากจุดเริ่มต้นที่ศูนย์การเรียนรู้เกษตรและแปลงนาสาธิต เป็นเสมือนต้นแบบทางการเกษตรให้กับชาวบ้านและชุมชนรอบๆ โรงไฟฟ้า ว่าเกษตรกรรมและโรงไฟฟ้าสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่สร้างผลกระทบแล้วนั้น ทุกวันนี้ยังเป็นห้องเรียนนอกสถานที่ให้กับคนในพื้นที่หรือผู้ที่สนใจ ได้มาศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีการเกษตรอีกด้วย โดยวันนี้ได้จัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้ทางเกษตรให้กับเด็กๆ 4 ฐาน คือ 1.การเรียนรู้วิถีของชาวนา ผ่านการเกี่ยวข้าว สีข้าว และนวดข้าวแบบดั้งเดิม ฐานที่ 2 นำวัตถุดิบที่ได้จากการสีข้าว เช่น รำข้าว และปลายข้าว มาทำอาหารไก่ไข่ รวมไปถึงเก็บไข่ไก่ และฐานที่ 3 คือฐานให้ความรู้วิธีการทำปุ๋ยมูลไส้เดือน ฐานที่ 4 คือเก็บผักปลอดสารพิษมาทำอาหาร โดยปุ๋ยที่ใช้ปลูกผักก็คือปุ๋ยมูลไส้เดือนที่ทำเองในแปลงนาสาธิต โดยน้องๆ นักเรียนจะได้รับความรู้เรื่องวิถีชาวนาแบบดั้งเดิม เกษตรอินทรีย์ และการเกษตรแบบหมุนเวียน  (Circular Farming) ผ่านกิจกรรมเหล่านี้ โดยกัลฟ์จะยังคงพัฒนาต่อยอดแปลงนาสาธิต แห่งนี้อย่างต่อเนื่อง และพร้อมเรียนรู้เติบโตไปกับเยาวชนและชุมชนอย่างยั่งยืน”            ด.ญ.แพรไหม สุขธรรมา นักเรียนชั้น ป.5 โรงเรียนวัดหนองทางบุญ กล่าวว่า “วันนี้ได้เรียนรู้เรื่องการเกี่ยวข้าว, การเก็บไข่ไก่, วิธีการทำปุ๋ยมูลไส้เดือน และทำอาหารจากผักปลอดสารพิษ โดยหนูชอบฐานกิจกรรมการทำอาหารไก่และเก็บไข่ไก่ที่สุด เพราะสามารถนำไปต่อยอดได้ทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน และในชุมชนได้ด้วย ขอบคุณพี่ๆ จากบริษัทกัลฟ์ที่จัดกิจกรรมฐานให้ความรู้ผ่านกิจกรรมในวันนี้ ที่นอกจากจะสนุกแล้วยังได้ความรู้อีกด้วย”            ศูนย์การเรียนรู้เกษตรและแปลงนาสาธิต โรงไฟฟ้าหนองแซง ริเริ่มจากความมุ่งมั่นของกัลฟ์ที่จะสร้างพื้นที่เกษตรอินทรีย์ต้นแบบบนพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าที่อยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน โดยปัจจุบันดำเนินการมานานกว่า 9 ปีแล้ว นับตั้งแต่ก่อตั้งโรงไฟฟ้าหนองแซงเมื่อปี 2558 บนพื้นที่ 42 ไร่ ซึ่งได้พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรให้กับชุมชนรอบข้างที่ส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม โดยมุ่งเน้นการทำเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี เน้นจัดการพื้นที่และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดการสร้าง PM 2.5 พร้อมทั้งต่อยอดให้เป็นโครงการต้นแบบของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ด้านการเกษตร เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ และถ่ายทอดไปยังชุมชนในพื้นที่ต่อไป ติดตามข่าวสารของกัลฟ์ได้ที่ เฟซบุ๊กแฟนเพจ GULF Spark:  https://www.facebook.com/GULFSPARK.TH/ และ ช่องทาง Tiktok: https://www.tiktok.com/@GULFspark

GULF ผนึก SiamAI พันธมิตร NVIDIA ผลักดัน AI Cloud ยกระดับดิจิทัลไทย

GULF ผนึก SiamAI พันธมิตร NVIDIA ผลักดัน AI Cloud ยกระดับดิจิทัลไทย

          GULF ร่วมลงทุนในศูนย์ข้อมูลกับ Siam AI พันธมิตรไทยรายแรกของ NVIDIA พร้อมพัฒนาโซลูชั่น AI ครอบคลุมพลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน และโทรคมนาคม มุ่งเสริมศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลไทยสู่อนาคต           นางสาวยุพาพิน วังวิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ขอแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทราบว่าเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2567 บริษัท จีเอสเอ ดาต้า เซนเตอร์ จำกัด (“GSA DC”) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนที่บริษัทฯ ถือหุ้นทางอ้อมในสัดส่วนร้อยละ 40 ผ่านบริษัท กัลฟ์ เอดจ์ จำกัด (“Gulf Edge”) ได้ลงนามในสัญญาการให้บริการศูนย์ข้อมูล (Data Center) กับบริษัท สยาม เอไอ คอร์เปอเรชั่น จำกัด (“Siam AI”) ซึ่งเป็นบริษัทไทยรายแรกที่เป็นพันธมิตรกับ NVIDIA Corporation โดย NVIDIA Corporation เป็นผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยี GPU และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ภายใต้โครงการ NVIDIA Cloud Partner โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ในประเทศไทยและขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลผ่านโซลูชั่น AI บนระบบคลาวด์ (AI Cloud Solutions)           นอกจากนี้ Gulf Edge ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 กำลังอยู่ระหว่างการหารือเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) กับ Siam AI เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโซลูชั่น AI ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ได้แก่ ธุรกิจพลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน บริการดิจิทัล และโทรคมนาคม โดยมุ่งเน้นการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance) การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Operational Optimization) การนำเสนอบริการเฉพาะบุคคล (Hyper-personalization) และการยกระดับการให้บริการลูกค้า (Enhanced Customer Services)           ความร่วมมือนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศและเสริมสร้างศักยภาพในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

GULF ร่วมกับ “ศูนย์การศึกษาพิเศษแก่งคอย” สานต่อพัฒนาการสำหรับเด็กพิเศษ

GULF ร่วมกับ “ศูนย์การศึกษาพิเศษแก่งคอย” สานต่อพัฒนาการสำหรับเด็กพิเศษ

          หุ้นวิชั่น - “บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)” หรือ “GULF” ร่วมกับ “ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสระบุรี หน่วยบริการแก่งคอย” จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาสำหรับเด็กพิเศษ เนื่องในวันคนพิการสากล 3 ธันวาคม 2567 โดยมีกิจกรรมระบายสี และการเล่านิทานที่สอดแทรกการเสริมสร้างพัฒนาการด้วย “หมอนช้างจับมือ” ที่จัดทำโดย “กัลฟ์อาสา” เพื่อช่วยบริหารกล้ามเนื้อมือ และกระตุ้นปลายประสาทของสมอง นอกจากนี้ยังมีการมอบอุปกรณ์การเรียน พร้อมด้วยขนม นม และของใช้ที่จำเป็นสำหรับเด็ก รวมถึงการปรับปรุงห้องเรียนและพัฒนาสนามเด็กเล่นให้มีความสวยงาม พร้อมต่อการใช้งานที่ปลอดภัยอีกด้วย           “นางสาวดรุณี มูลคำภา” ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสระบุรี หน่วยบริการแก่งคอย เริ่มเปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อปี 2559 ปัจจุบันมีเด็กพิเศษที่อยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของศูนย์การศึกษาพิเศษฯ แห่งนี้จำนวน 47 ราย โดยแบ่งเป็นเด็กออทิสติก ดาวน์ซินโดรม เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา มีพัฒนาการทางสมองช้า ซึ่งมีทั้งมารับบริการที่ศูนย์ฯ แบบไปเช้าเย็นกลับ และแบบที่มีเจ้าหน้าที่ศูนย์การศึกษาพิเศษฯเข้าไปให้การดูแลที่บ้านของเด็กซึ่งเป็นผู้ป่วยติดเตียง ที่ผ่านมากลุ่มบริษัทกัลฟ์ เป็นหน่วยงานเอกชนที่มีบทบาทสำคัญในการร่วมส่งเสริมการศึกษา พัฒนาทรัพยากรบุคคล เพิ่มการเข้าถึงการศึกษา เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครองของเด็กที่มีความจำเป็นพิเศษในพื้นที่ โดยได้สนับสนุนการก่อสร้างอาคารเรียนศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสระบุรี หน่วยบริการแก่งคอย เพื่อให้มีความสะดวกสบาย และเสริมสร้างความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการปรับปรุงสนามเด็กเล่น การติดตั้งเหล็กดัด และติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ตลอดจนจัดกิจกรรมต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง           “นางสาวจินตนา เพียรรอดวงษ์” ในฐานะหัวหน้าหน่วยบริการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสระบุรี หน่วยบริการแก่งคอย กล่าวเสริมว่า กัลฟ์ มีส่วนสำคัญอย่างมากที่ช่วยเข้ามาเติมเต็มหน่วยบริการแห่งนี้ เพราะนอกจากการปรับปรุงอาคารสถานที่ให้มีความพร้อม มีความปลอดภัย สะดวกสบาย เอื้ออำนวยต่อการดูแลเด็กพิเศษกลุ่มนี้แล้ว ยังสนับสนุนอุปกรณ์การเรียน เครื่องเล่นต่าง ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเด็กในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมถึงการที่พนักงานของกัลฟ์มาจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับครั้งนี้ที่เหล่าพี่ ๆ กัลฟ์อาสาได้มาจัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ ทั้งการระบายสี การเล่านิทานที่สอดแทรกการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กด้วยหมอนช้างจับมือ ซึ่งเด็ก ๆ สนุกสนานกันเป็นอย่างมาก ที่สำคัญยังมีการนำขนม นม ของใช้ที่จำเป็น รวมถึงอุปกรณ์การเรียนมามอบให้กับศูนย์ฯ นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงห้องเรียนโดยกั้นพื้นที่ห้องเรียนระหว่างเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษกับเด็กที่พอช่วยเหลือตัวเองได้ เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  และการปรับปรุงสนามเด็กเล่นให้มีความสวยงาม ปลอดภัยในการใช้งาน ทำให้รู้สึกว่าเด็กกลุ่มนี้ไม่ถูกทอดทิ้ง แม้ว่าหน่วยบริการแห่งนี้จะเป็นศูนย์เล็ก ๆ ก็ตาม           ขณะที่ “นางทองหล่อ ไชยสุ” ผู้ปกครองของเด็กที่มารับบริการที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสระบุรี หน่วยบริการแก่งคอย กล่าวว่า การมีศูนย์ที่สามารถช่วยดูแลและให้การศึกษากับเด็กพิเศษใกล้บ้าน นอกจากจะลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวได้เป็นอย่างมาก ที่สำคัญเด็ก ๆ ยังได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะของตัวเอง อย่างที่น้องมารับบริการที่ศูนย์แห่งนี้ ฯ มีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งช่วยเหลือตัวเองได้ หยิบจับสิ่งของได้ บอกสี บอกลักษณะได้ ที่สำคัญน้องสามารถเข้าสังคมได้มากขึ้น เพราะถ้าบอกว่าไปโรงเรียนน้องจะดีใจมาก น้องชอบไปโรงเรียนมาก การมีศูนย์การศึกษาพิเศษ ฯ แบบนี้จึงเป็นเรื่องที่ดีมากสำหรับเด็กพิเศษ รวมถึงผู้ปกครองอย่างเราที่ต้องหาเช้ากินค่ำอีกด้วย           กัลฟ์ พร้อมที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็กพิเศษ เพื่อให้เขาสามารถช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้ และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในสังคม สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกัลฟ์ ภายใต้แนวคิด “Powering the Future, Empowering the People” ที่ดำเนินธุรกิจควบคู่กับการเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาและส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ ให้ความสำคัญกับอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป [PR News] ประมวลภาพ “กัลฟ์” จัดกิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการสำหรับเด็กพิเศษ เนื่องในวันคนพิการสากล 3 ธันวาคม 2567 ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสระบุรี หน่วยบริการแก่งคอย

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

เปิดโผ หุ้น AI โอกาสโต! DELTA-GULF-TRUE-INSET น่าจับตา

เปิดโผ หุ้น AI โอกาสโต! DELTA-GULF-TRUE-INSET น่าจับตา

           หุ้นวิชั่น - บริษัท หลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุถึงในบทวิเคราห์ ถึงประเด็นที่ “เจนเซ่น หวง” (Jensen Huang) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เอ็นวิเดีย” (NVIDIA) ยักษ์ผู้ผลิตชิป AI ที่มีมูลค่าบริษัทกว่า 3.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เตรียมเยือนประเทศไทย ในงาน “AI Vision for Thailand” ภายใต้ธีม “The First Step for Thailand Sovereign AI” วันที่ 4 ธ.ค. 2567 ณ Embassy Room, Park Hyatt Bangkok พร้อมประกาศแผนลงทุน ดันไทยขึ้นฮับ AI ภูมิภาค ในงาน AI Vision for Thailand ทั้งนี้ธุรกิจของบริษัทในตลาดหุ้นไทยที่อิงกับ NVIDIA ได้แก่ อีเล็คทรอนิคส์ คอมพิวเตอร์ , AI, Cloud และ Data Center เราคัด 3 หุ้นได้ประโยชน์ จากการนี้ ประกอบด้วย DELTA, GULF และ TRUE            ขณะที่ บริษัท หลักทรัพย์ บัว หลวง จำกัด (มหาชน) ระบุถึง เมื่อการเยือนของ Jensen Huang ในเดือนธันวาคมนี้ใกล้เข้ามาแล้ว (คาดว่าสัปดาห์หน้า) ถึงเวลาแล้วที่จะมองไปที่เฟส 1 ของการเปลี่ยนแปลง Gen AI ในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการสนับสนุนจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของความต้องการ GPU เมื่อข้อจำกัดในอุปทานทำให้ GPU ขาดแคลน ผู้ที่เริ่มต้นก่อนอย่าง JTS และ LTS จะสามารถเก็บเกี่ยวผลกำไรได้อย่างมากในระยะนี้            JTS กำลังสร้าง GPU Farm และโมเดล AI Training โดยใช้ความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับ KT เพื่อจัดหาผลิตภัณฑ์ NVIDIA GPUs นอกจากการใช้งานของตนเองแล้ว แพลตฟอร์ม Gen AI ของ JTS จะทำหน้าที่เป็นสตูดิโอสำหรับการฝึกฝนและปรับใช้งานสำหรับลูกค้า ช่วยให้ธุรกิจสามารถใช้งาน AI ได้โดยไม่ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของตนเอง            LTS: SIAM AI เป็นพันธมิตร Nvidia Cloud รายแรก (และรายเดียว) ของประเทศไทย ผ่านความร่วมมือกับ SIAM AI ทำให้ LTS ได้ประโยชน์จากการเป็นพันธมิตร ซึ่งช่วยให้เข้าถึง GPU ได้ก่อนใคร แตกต่างจากโมเดลการจัดจำหน่ายแบบดั้งเดิม โมเดลปัจจุบันของ NVIDIA คือ "By Invitation Only" ซึ่งให้ข้อได้เปรียบแก่พันธมิตรในการได้รับ GPU ที่จัดสรรในตลาดที่มีข้อจำกัดนี้            INSET วางเป้าหมายปี 2025 เติบโตจากธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับ Cloud และ AI โดยมุ่งเน้นการลงทุนใน Data Center ในประเทศไทย จากความพร้อมด้านประสบการณ์ในการก่อสร้างส่วนงานอาคารหลายโครงการ และการเข้าร่วมประมูลงานจากผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนในไทย โดยคาดว่าจะมีการประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลตั้งแต่ปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า นอกจากนี้ INSET ยังมีโอกาสลุ้นงานในกลุ่ม ICT ที่เกี่ยวข้องกับโครงข่ายต่างๆ เพิ่มเติม            PROEN การเข้ามาของกลุ่ม DAMAC ผู้ให้บริการ Data Center ระดับโลกจากดูไบที่มีลูกค้าทั่วโลก ได้ประกาศลงทุนร่วมกับ PROEN ภายใต้แบรนด์ EDGNEX ด้วยเป้าหมายเริ่มต้น 20MW ในปี 2025-2026 (พร้อมที่ดินรองรับแล้ว) และขยายเพิ่มเป็นหลัก 100MW ในระยะยาว โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา PROEN ได้โอน OTT DC ขนาด 5MW ซึ่งเป็นโครงการแรกให้กลุ่ม DAMAC และรับรู้รายได้-กำไรในช่วง 4Q24 ซึ่งเพิ่มโอกาสให้ PROEN เห็นการ Turnaround ตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป โครงการดังกล่าวจะเปิดให้บริการลูกค้าเฟสแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 และเฟส 2-3 จะเปิดครบในกลางปี 2025 โดยจะมีรายได้จากบริการหลังการขายและระบบประมวลผลเพิ่มเติม

GULF ขายบ.ย่อย COCO 1.9 พันล้านบ. บุ๊คเข้าQ4/67 นี้เนื่องจากไม่มี Synergy ธุรกิจ

GULF ขายบ.ย่อย COCO 1.9 พันล้านบ. บุ๊คเข้าQ4/67 นี้เนื่องจากไม่มี Synergy ธุรกิจ

           หุ้นวิชั่น - นางสาวยุพาพิน วังวิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ขอแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทราบว่า เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 บริษัทฯ ได้จำหน่ายหุ้นสามัญทั้งหมดใน COCO Investments Pte. Ltd. (“COCO”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 ให้แก่กลุ่ม Legendary Venture VCC (“Legendary Venture”) ด้วยมูลค่าขายทั้งสิ้น 56.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,931.1 ล้านบาท ซึ่งมีผลให้ COCO สิ้นสุดสถานภาพการเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ คาดว่าจะบันทึกการขายเงินลงทุนในช่วงไตรมาส 4/2567 นี้            อนึ่ง COCO เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) และได้มีการร่วมลงทุนกับ Legendary Venture เพื่อลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน และธุรกิจอื่นในประเทศเวียดนามตั้งแต่ปี 2564

GULF เดินหน้าโรงไฟฟ้า มองดีมานด์โตต่อเนื่อง

GULF เดินหน้าโรงไฟฟ้า มองดีมานด์โตต่อเนื่อง

           หุ้นวิชั่น – GULF เดินหน้าพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนในพอร์ต เผยโครงการพลังงานทดแทนเฟส 1 ของรัฐ รอลงนามสัญญาอีก 414 เมกะวัตต์ มองหากเลื่อนเฟส 2 ไม่กระทบ และยังพร้อมประมูลงานหากรัฐเปิดโอกาสโครงการใหม่ๆ ปี 68 กำลังการผลิตพุ่งเพิ่มอีก 1,500 เมกะวัตต์ มองปีหน้าดีมานด์ใช้ไฟฟ้าเติบโต ทั้งรถอีวี ดาต้าเซ็นเตอร์หนุน คงเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนกำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียนให้เป็น 40% เผยงบลงทุนโครงการพลังงานในประเทศ 6 ปี ข้างหน้า ที่ 4 หมื่นล้านบาท           นางสาวยุพาพิน วังวิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน GULF เปิดเผยว่า บริษัทยังเดินหน้าในการพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนเฟสแรก 5,200 เมกะวัตต์ ซึ่งโครงการที่บริษัทได้รับคัดเลือกมา หากคิดที่บริษัทถือหุ้น 100 % มีโครงการที่ผ่านการคัดเลือกรวม 1,764เมกะวัตต์ โดยมีการลงนามสัญญาไปแล้วกว่า 1,350 เมกะวัตต์ เป็นโครงการโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (solar farms) และโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (solar farms with battery energy storage systems) และเหลือโครงการที่รอลงนามสัญญาจำนวน 414 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นโครงการลม นอกจากนี้ยังมีโครงการที่ร่วมมือกับพันธิตรอีก อย่างไรก็ดีบริษัทจะเดินหน้าในการพัฒนาโครงการต่อเนื่อง สำหรับงบลงทุนโครงการพลังงานทดแทนในประเทศช่วง 6 ปี ข้างหน้าในส่วนที่บริษัทต้องใส่เงินลงทุน อยู่ที่ ประมาณ 40,000 ล้านบาท               ในปี 2568 บริษัทฯ คาดว่าจะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1,500 เมกะวัตต์ โดยโครงการโรงไฟฟ้า HKP หน่วยผลิตที่ 2 (770 เมกะวัตต์) จะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 1 มกราคม 2568 อีกทั้ง โครงการ solar farms และ solar farms with battery energy storage systems มีแผนที่จะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เพิ่มเติมรวมอีก 7 โครงการ กำลังการผลิตติดตั้งรวมประมาณ 600 เมกะวัตต์ ในขณะที่โครงการ solar rooftop ภายใต้ GULF1 คาดว่าจะดำเนินการจ่ายไฟฟ้าให้กับลูกค้าเพิ่มอีกประมาณ 100 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ รับรู้กำไรที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดดำเนินการ เชิงพาณิชย์ของโครงการดังกล่าว ในส่วนของธุรกิจนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ปีหน้าบริษัทฯ มีแผนที่จะนำเข้า LNG เป็นจำนวน 70 ลำ หรือประมาณ 5 ล้านตัน เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าของโครงการโรงไฟฟ้า GSRC, GPD และ HKP นอกจากนี้ ธุรกิจศูนย์ข้อมูล GSA DC (data center) ของกลุ่มบริษัทฯ ซึ่งมีขนาด 50 เมกะวัตต์ โดยเฟสหนึ่งขนาด 25 เมกะวัตต์ อยู่ในระหว่างการก่อสร้างและมีแผนที่จะเปิดให้บริการในเดือนเมษายน 2568             อย่างไรก็ดี คาดการณ์ว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากหลายปัจจัยสำคัญ อาทิ การการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า (EV Car) และความต้องการไฟฟ้าสะอาดจากธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ เป็นต้น ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในการผลักดันการเติบโตของพลังงานสะอาด บริษัทตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนกำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียนให้เป็น 40% ของกำลังการผลิตติดตั้งรวม ภายในปี 2578 โดยในปีนี้สัดส่วนพลังงานหมุนเวียนคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 10% สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานที่ยั่งยืน          สำหรับประเด็นที่อาจจะมีการระงับการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงและขยะอุตสาหกรรม ในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) เป็นการชั่วคราว ปริมาณ 2,180 เมกะวัตต์ โดยประเด็นดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทในกลุ่มพลังงานหมุนเวียน บริษัทยังยืนยันความพร้อมที่จะเข้าร่วมการประมูล หากภาครัฐเปิดโอกาสให้มีการดำเนินโครงการใหม่ๆ ต่อไป รายงานโดย : ณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการข่าว

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

GULF เนื้อแท้กำไรแกร่ง เคาะพื้นฐาน65บาท

GULF เนื้อแท้กำไรแกร่ง เคาะพื้นฐาน65บาท

         หุ้นวิชั่น - บล. ดาโอ ระบุว่า ปรับคำแนะนำลงเป็น “ถือ” (เดิม “ซื้อ”) แต่ปรับราคาเป้าหมายขึ้นเป็น 65.00 บาท (เดิม 60.00 บาท) ปรับไปใช้ราคาเป้าหมายปี 2025E อิง SOTP ประเมินราคาหุ้นปรับตัวขึ้นจาก theme amalgamation และสะท้อนการเติบโตไปมาก (ราคาหุ้น +52% จากวันปรากาศดีล) โดย ณ ราคาปัจจุบันเทรดอยู่ที่ 2025PER 37X ในขณะที่ consensus ประเมินการเติบโตราว 18% ในปี 2025E ทั้งนี้ บริษัทรายงานกำไรสุทธิ 3Q24 ที่ 6.0 พันล้านบาท (ใกล้เคียง consensus คาด) อย่างไรก็ตามหากตัดรายการพิเศษ Fx ออก กำไรปกติอยู่ที่ 4.7 พันล้านบาท (+12% YoY, ทรงตัว QoQ) โดย YoY ได้แรงหนุนจากการ COD โครงการใหม่ GPD และ HKP และส่วนแบ่งกำไรจาก Jackson มากขึ้น ในขณะที่ QoQ ทรงตัวแม้โรงไฟฟ้า IPP มีค่า AP ที่ต่ำลง และโรงไฟฟ้า SPP ถูกค่าก๊าซกดดัน อย่างไรก็ตามได้รับชดเชยจากโครงการ Jackson (ราคาขายไฟเฉลี่ยเพิ่มขึ้นและมีการกลับรายการ property tax) เบื้องต้นเรายังคงประมาณการกำไรปกติปี 2025E ที่ 1.9 หมื่นล้านบาท (20% YoY) แนวโน้ม 4Q24E คาดกำไรอยู่ระดับใกล้เคียง QoQ แม้มีปัจจัยฤดูการโรงไฟฟ้าผลิตไฟฟ้าน้อยลงแต่คาดได้รับเชยจากโรงไฟฟ้า GPD (663MW COD-4Q24) และผลประกอบการของ INTUCH ที่ดีขึ้นจาก ADVANC ช่วยประคอง ราคาหุ้น outperform SET ราว +48% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา จากประเด็นการจัดโครงสร้างการลงทุนของกลุ่ม ทำให้เกิด amalgamation GULF + INTUCH อย่างไรก็ตามคาดว่าราคาหุ้นสะท้อนประเด็นดังกล่าวไปมาก และปัจจุบันเทรดที่ราคา premium ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการเติบโตที่ตลาดประเมิน (2025PER 37X ในขณะที่ consensus ประเมินการเติบโตราว 18% ในปี 2025E) จึงปรับคำแนะนำลงเป็น “ถือ”

GULF มั่นใจ ปี68 โตก้าวกระโดด ควบรวม GULF -INTUCH เสร็จ

GULF มั่นใจ ปี68 โตก้าวกระโดด ควบรวม GULF -INTUCH เสร็จ

          GULF รายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2567 ด้วยรายได้รวม 31,259 ล้านบาท โต 11% จากปีก่อน พร้อมโชว์กำไรสุทธิ 6,030 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 79% เดินหน้าขยายธุรกิจพลังงานและดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง พร้อมคาดการณ์การเติบโตต่อเนื่องในไตรมาส 4 และปี 2568 บริษัทฯ คาดว่าจะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1,470 เมกะวัตต์ มั่นใจเติบโตอย่างก้าวกระโดดภายหลังการควบรวมระหว่าง GULF และ INTUCH เสร็จสิ้น           บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (GULF หรือ บริษัทฯ) รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567 โดยมีรายได้รวม (total revenue) เท่ากับ 31,259 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% จากไตรมาส 3/2566 และมีกำไรจากการดำเนินงาน (core profit) เท่ากับ 4,710 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% จาก 4,203 ล้านบาท ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นของกลุ่มบริษัทฯ มีสาเหตุหลักมาจากการเติบโตของธุรกิจโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ โดยโครงการกัลฟ์ ปลวกแดง (GPD) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้า IPP ภายใต้กลุ่ม IPD กำลังการผลิตติดตั้งรวม 2,650 เมกะวัตต์ ได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์หน่วยผลิตที่ 2 และ 3 ในเดือนตุลาคม 2566 และมีนาคม 2567 ตามลำดับ ส่งผลให้ในไตรมาส 3/2567 GULF รับรู้ผลการดำเนินงานของโครงการ GPD หน่วยที่ 1-3 ซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 1,987.5 เมกะวัตต์           และโครงการโรงไฟฟ้าหินกอง (HKP) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้า IPP กำลังการผลิตติดตั้งรวม 1,540 เมกะวัตต์ ได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์หน่วยผลิตที่ 1 ซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้ง 770 เมกะวัตต์ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้ GULF รับรู้กำไรจากการดำเนินงานของโครงการ HKP หน่วยที่ 1 ในไตรมาสนี้ อีกทั้ง GULF ยังรับรู้ส่วนแบ่งกำไร core profit ของโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Jackson Generation ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 150 ล้านบาท ในไตรมาส 3/2566 เป็น 414 ล้านบาท ในไตรมาส 3/2567 ซึ่งเป็นผลมาจากการกลับรายการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (property tax) ค้างจ่ายที่บันทึกไว้สูงเกินไปสำหรับปี 2566 และ 9 เดือนแรกของปี 2567 จำนวน 326 ล้านบาท           นอกจากนี้ ในไตรมาส 3/2567 นี้ GULF รับรู้ส่วนแบ่งกำไร core profit จากการลงทุนใน INTUCH จำนวน 1,583 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% จาก 1,527 ล้านบาท ในไตรมาส 3/2566 โดยมีสาเหตุหลักมาจากผลประกอบการของ ADVANC ที่ดีขึ้น           อย่างไรก็ดี ปัจจัยบวกดังกล่าวถูกชดเชยจาก core profit ที่ลดลงของโครงการโรงไฟฟ้ากัลฟ์ ศรีราชา (GSRC) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้า IPP ภายใต้กลุ่ม IPD จากการรับรู้ค่าใช้จ่ายบำรุงรักษา (maintenance expense) ของทั้ง 4 หน่วย ที่เริ่มทยอยซ่อมบำรุงระหว่างไตรมาส 3/2566 - ไตรมาส 3/2567 และปริมาณการขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ลดลง โดยมี load factor เฉลี่ยลดลงจาก 79% ในไตรมาส 3/2566 เป็น 69% ในไตรมาสนี้ นอกจากนี้ โครงการโรงไฟฟ้า IPP 2 โครงการ และ SPP 7 โครงการภายใต้กลุ่ม GJP มีผลกำไรที่ลดลง เนื่องมาจากผลกระทบจากค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เพิ่มขึ้นจากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนในไตรมาสนี้ อีกทั้ง โรงไฟฟ้า IPP 2 โครงการ ซึ่งได้แก่ GNS และ GUT มีปริมาณการขายไฟฟ้าให้ กฟผ. ที่ลดลง โดยมี load factor เฉลี่ยที่ลดลงจาก 21% ในไตรมาส 3/2566 เป็น 7% ในไตรมาส 3/2567           ประกอบกับ โครงการโรงไฟฟ้า SPP 12 โครงการภายใต้กลุ่ม GMP มีอัตรากำไรขั้นต้นจากการขายไฟฟ้าให้กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมที่ลดลง จากราคาค่า Ft เฉลี่ยที่ลดลงในอัตราที่สูงกว่าการลดลงของราคาค่าก๊าซธรรมชาติเฉลี่ย โดยค่า Ft เฉลี่ยลดลงจาก 0.68 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง ในไตรมาส 3/2566 เป็น 0.40 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง ในไตรมาส 3/2567 ในขณะที่ราคาก๊าซธรรมชาติเฉลี่ยลดลงจาก 345.97 บาท/ล้านบีทียู ในไตรมาส 3/2566 เป็น 333.79 บาท/ล้านบีทียู ในไตรมาสนี้           ทั้งนี้ GULF มีกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ในไตรมาส 3/2567 จำนวน 9,843 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับ 9,364 ล้านบาท ในไตรมาส 3/2566 ในขณะที่กำไรสุทธิ (net profit) ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ในไตรมาส 3/2567 เท่ากับ 6,030 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 79% จาก 3,360 ล้านบาท ในไตรมาส 3/2566 โดยในไตรมาส 3/2567 บริษัทฯ รับรู้ผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง เนื่องจากค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นจาก 37.01 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นไตรมาส 2/2567 เป็น 32.46 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นไตรมาส 3/2567 อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวเป็นเพียงการบันทึกรายการทางบัญชี และไม่มีผลกระทบต่อกระแสเงินสดและผลประกอบการของ GULF แต่อย่างใด           ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 GULF มีสินทรัพย์รวม 486,837 ล้านบาท หนี้สินรวม 338,421 ล้านบาท และ ส่วนของผู้ถือหุ้น 148,416 ล้านบาท โดยมีอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (net interest-bearing debt to equity) อยู่ที่ 1.71 เท่า ลดลงจาก 1.85 เท่า ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของส่วนของผู้ถือหุ้นจากผลประกอบการที่ดีขึ้นของกลุ่มบริษัทฯ           นางสาวยุพาพิน วังวิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน GULF เปิดเผยว่า “ในไตรมาส 4/2567 บริษัทฯ คาดว่ารายได้รวมยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากโครงการต่าง ๆ ของบริษัทฯ ที่เปิดดำเนินงานตามแผน โดยโครงการโรงไฟฟ้า GPD หน่วยที่ 4 (662.5 เมกะวัตต์) ได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ซึ่ง GULF จะเริ่มรับรู้ผลการดำเนินงานเต็มไตรมาสของหน่วยผลิตนี้ในไตรมาส 4/2567 นอกจากนี้ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (solar farms) และโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (solar farms with battery energy storage systems) มีแผนที่จะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ 5 โครงการ กำลังการผลิตติดตั้งรวม 532 เมกะวัตต์ ในเดือนธันวาคม 2567 ประกอบกับในไตรมาส 4 เป็นช่วง high season ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม ส่งผลให้โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม 3 โครงการภายใต้กลุ่ม Gulf Gunkul Corporation ในประเทศไทย และโครงการ BKR2 ในประเทศเยอรมนี คาดว่าจะมีผลประกอบการที่ดีขึ้น อีกทั้ง ผลการดำเนินงานของ ADVANC คาดว่าจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากจำนวนผู้ใช้งานและ ARPU ที่เพิ่มขึ้น”           นางสาวยุพาพิน กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในปี 2568 ผลประกอบการของบริษัทฯ คาดว่าจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดภายหลังการควบรวมระหว่าง GULF และ INTUCH เสร็จสิ้น เนื่องจากบริษัทใหม่ (NewCo) จะถือหุ้นโดยตรงใน ADVANC ในสัดส่วน 40.4% ซึ่งทำให้สามารถรับรู้ส่วนแบ่งกำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดโดยสมัครใจ แบบมีเงื่อนไขก่อนทำคำเสนอซื้อ (Conditional Voluntary Tender Offer) ของ ADVANC และ THCOM จะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 4/2567 - 1/2568 ทั้งนี้ การจัดตั้งบริษัทใหม่ (NewCo) คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงต้นไตรมาส 2/2568           ในปี 2568 บริษัทฯ คาดว่าจะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1,470 เมกะวัตต์ โดยโครงการโรงไฟฟ้า HKP หน่วยผลิตที่ 2 (770 เมกะวัตต์) จะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 1 มกราคม 2568 อีกทั้ง โครงการ solar farms และ solar farms with battery energy storage systems มีแผนที่จะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เพิ่มเติมรวมอีก 7 โครงการ กำลังการผลิตติดตั้งรวมประมาณ 600 เมกะวัตต์ ในขณะที่โครงการ solar rooftop ภายใต้ GULF1 คาดว่าจะดำเนินการจ่ายไฟฟ้าให้กับลูกค้าเพิ่มอีกประมาณ 100 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ รับรู้กำไรที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดดำเนินการ เชิงพาณิชย์ของโครงการดังกล่าว ในส่วนของธุรกิจนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ปีหน้าบริษัทฯ มีแผนที่จะนำเข้า LNG เป็นจำนวน 70 ลำ หรือประมาณ 5 ล้านตัน เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าของโครงการโรงไฟฟ้า GSRC, GPD และ HKP           นอกจากนี้ ธุรกิจศูนย์ข้อมูล GSA DC (data center) ของกลุ่มบริษัทฯ ซึ่งมีขนาด 50 เมกะวัตต์ โดยเฟสหนึ่งขนาด 25 เมกะวัตต์ อยู่ในระหว่างการก่อสร้างและมีแผนที่จะเปิดให้บริการในเดือนเมษายน 2568 ส่วนธุรกิจ cloud ที่บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับ Google เพื่อให้บริการ Google Distributed Cloud air-gapped มีแผนที่จะเปิดให้บริการในช่วงไตรมาส 2/2568 โดยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ธุรกิจ health care ธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค รวมถึงสถาบันทางการเงิน นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมองการต่อยอดความร่วมมือทางธุรกิจไปสู่บริการ           อื่น ๆ ในอนาคต ซึ่งได้แก่ AI และ cybersecurity อีกด้วย ส่วนธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (digital asset exchange) ภายใต้แพลตฟอร์ม Binance TH by Gulf Binance ภายหลังจากการเปิดให้บริการในเดือนมกราคมที่ผ่านมา Gulf Binance ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุนและมีผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันมีส่วนแบ่งการตลาดที่มากกว่า 20% ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย อีกทั้งยังได้มีการคัดสรรคู่เหรียญใหม่ ๆ เพิ่มเติมลงบนแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุน” [PR News]

KSS คาดราคาน้ำมันดิบลงต่อ ชูอานิสงส์หุ้นการบิน โรงไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง

KSS คาดราคาน้ำมันดิบลงต่อ ชูอานิสงส์หุ้นการบิน โรงไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) คาดราคาน้ำมันดิบปรับลงต่อ อิง Brent -2.61%d-d ปิดที่ USD 71.94/barrel น้ำมันดิบ West Texas -3.32%d-d ปิดที่ USD 68.04/barrel แรงกดดันมาจาก 1.)Dollar แข็งค่าต่อเนื่อง 2.)           ตลาดผิดหวังจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจีนในช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว ไม่มีมาตรการกระตุ้นอสังหา การบริโภค 3.)คลายกังวล Supply น่ำมันที่หายไปจากพายุเฮอร์ริเคนในอ่าวเม็กซิโกจะ กลับมา           โดยรวมมองเป็นจิตวิทยาบวกต่อหุ้นกลุ่มที่มีต้นทุนน้ำมัน อาทิ กลุ่มสายการบิน เน้น AAV, BA กลุ่ม Anticommodity กลุ่มโรงไฟฟ้า GULF กลุ่มวัสดุก่อสร้าง TASCO

abs

Hoonvision

โบรกคาด GULF กำไร Q3 ที่ 4.5 พันลบ. การผลิตที่เพิ่มขึ้นหนุน

โบรกคาด GULF กำไร Q3 ที่ 4.5 พันลบ. การผลิตที่เพิ่มขึ้นหนุน

          หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.กรุงศรี คาด GULF กำไรสุทธิ 3Q24 ที่ 4.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 35% YoY แต่ลดลง 5% QoQ โดยหลัก ๆ มาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากกำลังการผลิตใหม่ ส่วนแบ่งกำไรจาก INTUCH, HKP, GJP และอื่น ๆ เพิ่มขึ้น Fx gain ประมาณ 900 ล้านบาท ได้ปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2024-26F ขึ้นจากการปรับประมาณการรายได้และรายได้อื่นเพิ่ม และปรับลดต้นทุนทางการเงิน ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 60.25 บาท (จากเดิม 56.75 บาท) และคงคำแนะนำ ‘Trading Buy’ แม้ราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนความคาดหวังของตลาดเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการควบรวมกิจการ และ Valuation จะดูตึงตัว มองว่า ROE หลังการควบรวมกิจการของ GULF ที่ 7-9% ในปี 2025-26F แม้จะต่ำกว่าระดับปัจจุบันที่ 12-13% ยังน่าสนใจเทียบกับ peers คาดกำไรสุทธิ 3Q24 ที่ 4.5 พันล้านบาท (+35% YoY, -5% QoQ)           คาดกำไรสุทธิ 3Q24 ที่ 4.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 35% YoY แต่ลดลง 5% QoQ โดยหลัก ๆ มาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากกำลังการผลิตใหม่ (GPD units 2-3) อัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้นจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น และไม่มีการซ่อมบำรุงใหญ่ ส่วนแบ่งกำไรจาก INTUCH, HKP, GJP และอื่น ๆ เพิ่มขึ้น Fx gain ประมาณ 900 ล้านบาท การลดลง QoQ เกิดจากรายได้อื่นลดลงและ NCI หรือกำไรจากส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมเพิ่มขึ้น นำไปสู่คาดกำไรหลักหรือ core profit ที่ 3.6 พันล้านบาท (-15% YoY, -27% QoQ) คาดกำไรหลักใน 4Q24F จะดีขึ้น QoQ จากส่วนแบ่งกำไรที่เพิ่มขึ้น           คาดกำไรหลักใน 4Q24F จะเพิ่มขึ้น QoQ จากส่วนแบ่งกำไรที่เพิ่มขึ้นและคาดต้นทุนทางการเงินลดลงจากการจ่ายคืนหนี้บางส่วน ราคาเป้าหมายใหม่อยู่ที่ 60.25 (จาก Bt 56.75) โดยวิธี SOTP           ประเมินมูลค่าธุรกิจพลังงานของ GULF ที่ 30 บาทต่อหุ้น (เพิ่มจาก 27.5 บาทโดยวิธี DCF สมมติฐาน Beta 1.2, Rf 2.5%, market risk premium 8%) ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานมีมูลค่าที่ 3.5 บาทต่อหุ้น ขณะที่ธุรกิจ ICT (ถือหุ้น 40.44% ใน ADVANC, ถือหุ้น 41.14% ใน THCOM) จะมีมูลค่า 25 บาทต่อหุ้น ส่วนอื่น ๆ มีมูลค่าที่ 1.5 บาทต่อหุ้น หลังจากรวมมูลค่าเหล่านี้และปรับสำหรับเงินสดและหนี้สุทธิ โดยมีราคาเป้าหมายที่ 60.25 บาท

คัด 3 หุ้นที่ได้รับประโยชน์จากเงินบาทที่แข็งค่าและมีแนวโน้มธุรกิจที่เติบโต [HoonVision x FynnCorp]

คัด 3 หุ้นที่ได้รับประโยชน์จากเงินบาทที่แข็งค่าและมีแนวโน้มธุรกิจที่เติบโต [HoonVision x FynnCorp]

          ในช่วงที่เงินบาทแข็งค่า ตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญกับโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจเป็นพิเศษ การแข็งค่าของเงินบาทในครั้งนี้เป็นผลจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการลดดอกเบี้ยเช่นกัน แต่เงินบาทยังคงแข็งแกร่งเนื่องจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางนโยบายการเงินโลกที่ซับซ้อน           ในภาวะที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นเช่นนี้ นักลงทุนควรจับตามองหุ้นที่สามารถใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะบริษัทที่มีปัจจัยหนุนด้านธุรกิจแข็งแกร่งในช่วงปลายปีและต่อเนื่องไปถึงต้นปีหน้า ซึ่งจะช่วยเสริมแรงบวกจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น SYNEX, AAV และ GULF เป็นหุ้นสามตัวที่มีโอกาสได้รับประโยชน์จากทั้งค่าเงินบาทที่แข็งค่าและแนวโน้มธุรกิจที่เติบโตในไตรมาสสุดท้ายของปี รวมถึงมีศักยภาพในการเติบโตต่อเนื่องในอนาคต 1) SYNEX: ผู้นำด้านการจัดจำหน่ายสินค้า IT ที่พร้อมจะได้ประโยชน์จากต้นทุนที่ลดลง SYNEX ผู้นำในการจัดจำหน่ายสินค้า IT ในไทย มีแนวโน้มได้ประโยชน์จากเงินบาทแข็งค่าซึ่งช่วยลดต้นทุนนำเข้าและเพิ่มอัตรากำไร ประกอบกับการเติบโตของตลาด IT จากเทรนด์การทำงานที่บ้านและเรียนออนไลน์ บริษัทมีโอกาสเติบโตทั้งยอดขายและกำไร โดยเฉพาะในไตรมาส 4 ที่มีเทศกาลช้อปปิ้งและแผนเปิดตัวสินค้าใหม่ในปี ภาพรวมธุรกิจ บริษัท ซินเน็ค จำกัด (มหาชน) หรือ SYNEX เป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าเทคโนโลยีในประเทศไทย โดยจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง ซอฟต์แวร์ ระบบสารสนเทศ และอุปกรณ์สื่อสาร บริษัทฯ เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าจากผู้ผลิตมากกว่า 50 แบรนด์จากต่างประเทศ ตั้งแต่ Apple, Huawei, Nintendo และ Samsung SYNEX มีฐานลูกค้าเป็นผู้ประกอบการประมาณ 5,000 ราย ประกอบไปด้วยผู้วางระบบซอฟต์แวร์ ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ ห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีกทั่วประเทศ โดย SYNEX มีช่องทางการจำหน่ายครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ และให้บริการจัดส่งสินค้าและบริการหลังการขาย บริษัทมีรายได้รวมในปี 2566 และช่วงครึ่งแรกของปี 2567 อยู่ที่ประมาณ 36,000 ล้านบาท และ 18,000 ล้านบาทตามลำดับ โดยปกติแล้ว จะมีสัดส่วนรายได้จากการขายอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ หรือ ระบบไอที มากกว่า 99% ของรายได้ทั้งหมด แผนภูมิแสดงรายละเอียดรายได้และค่าใช้จ่ายของ SYNEX ในปี 2023 โดยมีรายได้หลักจากการขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และไอที มากถึง 36.47 พันล้านบาท คิดเป็น 99.7% ของรายได้ทั้งหมด สัดส่วนของรายได้แยกตามหมวดของสินค้า โดยมีเปอร์เซ็นต์ของช่วงครึ่งปีแรกของ 2024 เป็นสัดส่วนที่อยู่วงนอก ต้นทุนหลักของ SYNEX คือต้นทุนขายสินค้า ซึ่งคิดเป็นประมาณ 93% ของรายได้ เมื่อแบ่งลงไปอีก จะแยกเป็นการจัดซื้อสินค้า 69% จากผู้ผลิตต่างประเทศที่มีฐานการผลิตในไทย และนำเข้า 31% จากผู้ผลิตในต่างประเทศโดยตรง ในด้านการบริหารสินค้าคงคลัง SYNEX ใช้ระบบการสั่งซื้อตามความถี่การขาย โดยสั่งซื้อสินค้าที่มียอดขายสูงอย่างสม่ำเสมอ และสั่งซื้อล่วงหน้าสำหรับสินค้าโครงการหรือสินค้าที่มีระยะเวลาการส่งมอบนานโดยทั่วไป บริษัทได้รับเครดิตเทอม 30-60 วันจากผู้ผลิตในประเทศ และ 30-45 วันจากผู้ผลิตต่างประเทศ ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน เมื่อเงินบาทแข็งค่า ราคาหุ้นของ SYNEX ก็มักจะปรับตัวขึ้นตามไปด้วย กราฟนี้แสดงให้เห็นว่าการแข็งค่าของเงินบาท (USD/THB ลดลง) มักสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้น SYNEX FynnCorp IAS มองว่าการแข็งค่าของเงินบาทส่งผลดีโดยตรงต่อ SYNEX เนื่องจากช่วยลดต้นทุนการนำเข้าสินค้า IT จากต่างประเทศ ซึ่งคิดเป็น 31% ของสินค้าทั้งหมด ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของอัตรากำไรขั้นต้นและกำไรสุทธิ เหตุใด SYNEX จึงน่าลงทุน? ผลประโยชน์จากเงินบาทแข็งและการเติบโตของตลาด IT: SYNEX ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการลดลงของต้นทุนนำเข้าเมื่อเงินบาทแข็งค่า ในขณะเดียวกัน ความต้องการสินค้า IT ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องจากเทรนด์การทำงานที่บ้านและการเรียนออนไลน์ ทำให้บริษัทมีโอกาสเติบโตทั้งในด้านยอดขายและอัตรากำไร โอกาสจากยอดขายพุ่งในไตรมาส 4 และการเปิดตัวสินค้าใหม่: ช่วงเทศกาลช้อปปิ้งปลายปีมักส่งผลให้ยอดขายของ SYNEX เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบกับแผนการเปิดตัวสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตรุ่นใหม่ในไตรมาส 4 ปี 2567 จะเป็นตัวเร่งสำคัญในการเติบโตของรายได้ ปัจจัยเสี่ยง การแข่งขันที่รุนแรงและการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี: ตลาด IT มีการแข่งขันสูงและเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว SYNEX ต้องรักษาความสามารถในการแข่งขันและบริหารสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสินค้าล้าสมัย ภาวะเศรษฐกิจและการพึ่งพาซัพพลายเออร์: ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอาจส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ในขณะที่การพึ่งพาซัพพลายเออร์รายใหญ่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงด้านความต่อเนื่องของธุรกิจหากเกิดปัญหากับซัพพลายเออร์หลัก 2) AAV: โอกาสจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและเงินบาทแข็งค่า AAV ผู้นำสายการบินต้นทุนต่ำในไทย มีแนวโน้มได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเงินบาทแข็งค่าซึ่งช่วยลดต้นทุนดำเนินงานที่อยู่ในรูปสกุลเงินดอลลาร์ เช่น ค่าเช่าเครื่องบินและค่าบำรุงรักษา บริษัทมีโอกาสเติบโตจากแผนขยายเส้นทางบินใหม่ โดยเฉพาะในเส้นทางที่มียอดจองสูง และการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ภาพรวมธุรกิจ บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV เป็นบริษัทแม่ของสายการบินไทยแอร์เอเชีย ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำชั้นนำในประเทศไทยที่ให้บริการทั้งเที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 2023 AAV มีรายได้จากการดำเนินงานเที่ยวบินหลักอยู่ที่ 41 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 135% จากปี 2022 สะท้อนถึงความสำเร็จในการเพิ่มความถี่ของเที่ยวบินและการขยายเส้นทางบินใหม่ๆ เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดการบิน โดยรายได้จากเที่ยวบินภายในประเทศคิดเป็น 60% และระหว่างประเทศคิดเป็น 40% ของรายได้ทั้งหมด ภาพแสดงการกระจายรายได้และค่าใช้จ่ายของ AAV ในปี 2023 โดยรายได้หลักมาจากการดำเนินงานเที่ยวบิน (41.03 พันล้านบาท) ในปี 2566 ต้นทุนหลักของ AAV ประกอบด้วย ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งคิดเป็น 37% ของต้นทุนรวม และยังเป็นต้นทุนที่มีความผันผวนสูงตามราคาน้ำมันโลก นอกจากนี้ยังมี ค่าใช้จ่ายสนามบินและค่าจอดเครื่องบิน คิดเป็น 14% ซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมการใช้สนามบินและการจอดเครื่องบิน และ ค่าบำรุงรักษาและค่าซ่อมแซม คิดเป็น 15% ของต้นทุนรวม เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาเครื่องบินให้พร้อมใช้งานและปลอดภัย ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน การแข็งค่าของเงินบาทส่งผลดีโดยตรงต่อ AAV เนื่องจากช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่อยู่ในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เช่น ค่านํ้ามัน, ค่าเช่าเครื่องบิน และค่าบำรุงรักษา ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของอัตรากำไรขั้นต้นและกำไรสุทธิ เหตุใด AAV จึงน่าลงทุน การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวในภูมิภาค: ตลาดการท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดยคาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปี 2567 AAV อยู่ในตำแหน่งที่ดีในการได้รับประโยชน์จากการเติบโตนี้ ด้วยเครือข่ายเส้นทางบินที่ครอบคลุมและแบรนด์ที่แข็งแกร่งในภูมิภาค การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน: AAV ได้ดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงและการบริหารจัดการฝูงบิน กลยุทธ์การขยายธุรกิจที่มุ่งเน้นการเติบโต: AAV มีแผนขยายเส้นทางบินใหม่ โดยเฉพาะในเส้นทางที่มีศักยภาพสูงและมียอดจองแน่น เช่น เส้นทางไปยังประเทศจีนและญี่ปุ่น การขยายตัวนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มรายได้ แต่ยังช่วยกระจายความเสี่ยงทางภูมิศาสตร์และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว ปัจจัยเสี่ยง ความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว: แม้ว่าการท่องเที่ยวจะมีแนวโน้มฟื้นตัว แต่ยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก เช่น สถานการณ์โรคระบาด หรือความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ที่อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณนักท่องเที่ยวในระยะสั้น ความผันผวนของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง: แม้ว่าราคาน้ำมันจะมีแนวโน้มลดลง แต่ยังมีความเสี่ยงจากความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อต้นทุนการดำเนินงานของ AAV การแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรมการบิน: การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวอาจนำไปสู่การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในอุตสาหกรรมการบิน โดยเฉพาะในด้านราคา ซึ่งอาจกดดันอัตรากำไรของ AAV ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวที่กำลังจะมาถึง 3)  GULF: ผู้นำด้านพลังงานสะอาดและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทแข็งค่า GULF ผู้นำในธุรกิจพลังงานของไทย กำลังขยายการลงทุนสู่พลังงานหมุนเวียนและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล โดยได้รับประโยชน์จากเงินบาทแข็งค่าซึ่งช่วยลดภาระหนี้สินในสกุลเงินดอลลาร์และต้นทุนการนำเข้าเทคโนโลยี บริษัทมีโอกาสเติบโตจากแนวโน้มการลดการปล่อยคาร์บอนทั่วโลกและการเพิ่มขึ้นของความต้องการบริการดิจิทัล โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการพลังงานหมุนเวียนและศูนย์ข้อมูล นอกจากนี้ GULF ยังมีความได้เปรียบจากประสบการณ์และเครือข่ายในอุตสาหกรรมพลังงาน ภาพรวมธุรกิจ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF เป็นผู้นำในธุรกิจพลังงานของประเทศไทย โดยดำเนินโครงการด้านพลังงานทั้งจากพลังงานฟอสซิลและพลังงานหมุนเวียน ในปี 2566 บริษัทมีรายได้รวมประมาณ 114 พันล้านบาท เติบโตขึ้น 21% จากปีก่อน โดยรายได้หลักมาจากธุรกิจพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจก๊าซธรรมชาติ GULF มีแผนขยายการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนและโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล โดยตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานสะอาดและขยายศูนย์ข้อมูล (Data Centers) ในประเทศไทย โดย GULF เองมีแผนที่จะลงทุน มากถึง 1,800 ล้านบาทใน Data Center ในช่วงระยะเวลา 4 ปีข้างหน้า รายได้หลักของ GULF ในปี 2023 มาจากธุรกิจพลังงานเป็นหลัก คิดเป็น 93% ของรายได้รวม ซึ่งประกอบไปด้วย ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ และธุรกิจพลังงานหมุนเวียน รายได้ส่วนอื่นของ GULF จะมาจากโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค, ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และอื่นๆ แผนภูมิแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายของ GULF ในปี 2023 โดยรายได้หลักมาจากธุรกิจพลังงาน เป็น 106.13 พันล้านบาท สิ้นปี 2566 GULF มีหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยกว่า 282,626 ล้านบาท โดยเกือบ 18% อยู่ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ค่าเงินมีบทบาทสำคัญต่อภาระหนี้ของบริษัท ในปีที่ผ่านมา บริษัทต้องบันทึกขาดทุนทางบัญชี 576 ล้านบาท จากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ แม้ว่าจะไม่ใช่การสูญเสียเงินสดจริง แต่ก็ส่งผลต่อการรายงานผลประกอบการ อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทกลับเป็นผลดีต่อ GULF ในแง่ของการจ่ายหนี้ เพราะทำให้ใช้เงินจ่ายน้อยลงเมื่อหนี้อยู่ในสกุลเงินดอลลาร์ ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน การแข็งค่าของเงินบาทส่งผลดีต่อ GULF ในหลายด้าน ประการแรก ช่วยลดภาระหนี้สินในสกุลเงินดอลลาร์ ทำให้บริษัทมีโอกาสในการลดต้นทุนทางการเงินและเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ ประการที่สอง ช่วยลดต้นทุนการนำเข้าเทคโนโลยีและอุปกรณ์สำหรับโครงการพลังงานหมุนเวียนและศูนย์ข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังเพิ่มความคล่องตัวในการขยายการลงทุน ทำให้ GULF สามารถเร่งแผนการลงทุนในโครงการที่มีศักยภาพสูงได้เร็วขึ้น เหตุใด GULF จึงน่าลงทุน โอกาสการเติบโตในธุรกิจพลังงานสะอาดและดิจิทัล: GULF กำลังขยายการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนและศูนย์ข้อมูล ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการลดการปล่อยคาร์บอนทั่วโลกและการเติบโตของความต้องการบริการดิจิทัล การลงทุนในสองธุรกิจที่มีศักยภาพสูงนี้จะช่วยสร้างแหล่งรายได้ใหม่และกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ ประโยชน์จากการบริหารต้นทุนและหนี้สินอย่างมีประสิทธิภาพ: การแข็งค่าของเงินบาทช่วยลดต้นทุนการนำเข้าอุปกรณ์และเทคโนโลยีสำหรับโครงการใหม่ ขณะเดียวกันก็ช่วยลดภาระหนี้สินในสกุลเงินดอลลาร์ เปิดโอกาสให้ GULF สามารถรีไฟแนนซ์หนี้ในอัตราที่ต่ำลง เพิ่มความสามารถในการทำกำไรและการลงทุนในอนาคต ตำแหน่งทางการตลาดที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมพลังงาน: GULF มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจพลังงาน พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่ง ทำให้บริษัทมีความได้เปรียบในการขยายธุรกิจไปสู่พลังงานหมุนเวียนและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล สามารถใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์และความเชี่ยวชาญที่มีอยู่เพื่อสร้างการเติบโตในธุรกิจใหม่ ปัจจัยเสี่ยง ความไม่แน่นอนของนโยบายภาครัฐและกฎระเบียบ: การเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านพลังงานและดิจิทัลของภาครัฐ รวมถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง อาจส่งผลกระทบต่อแผนการลงทุนและการดำเนินงานของ GULF โดยเฉพาะในโครงการพลังงานหมุนเวียนและศูนย์ข้อมูล ความผันผวนของราคาพลังงานและวัตถุดิบ: แม้ว่า GULF จะกำลังขยายไปสู่พลังงานหมุนเวียน แต่ธุรกิจหลักยังคงเป็นการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ ความผันผวนของราคาก๊าซธรรมชาติและเชื้อเพลิงอื่นๆ อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและความสามารถในการทำกำไร ความท้าทายในการขยายธุรกิจใหม่: การขยายธุรกิจไปสู่พลังงานหมุนเวียนและศูนย์ข้อมูลอาจเผชิญกับความท้าทายในด้านการดำเนินงานและการแข่งขัน เนื่องจากเป็นธุรกิจใหม่ที่ GULF อาจยังไม่มีประสบการณ์มากนัก อาจต้องใช้เวลาในการสร้างความเชี่ยวชาญและส่วนแบ่งตลาด อ่านรายละเอียดเพิ่ม คลิก https://app.visible.vc/shared-update/b7514fb8-becc-4ff0-a481-b1cba459cb46

บล.กรุงศรีคาด GULF กำไรจะเติบโตเฉลี่ย 12% ต่อปี CAGR 2024-26

บล.กรุงศรีคาด GULF กำไรจะเติบโตเฉลี่ย 12% ต่อปี CAGR 2024-26

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงานว่า บล.กรุงศรี ได้กลับมาเริ่มต้นวิเคราะห์ GULF โดยให้คำแนะนำ “Trading Buy” ราคาเป้าหมายที่ 56.75 บาท (ก่อนการรวมผลประโยชน์จากการรวมกิจการ) ทั้งนี้ แม้ว่าราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา และการประเมินมูลค่า (Valuation) ค่อนข้างตึงตัว แต่คาดว่า ROE จะยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 7-9% ในปี 2025-2026F (หลังการรวมกิจการ) และคาดว่ากำไรจะเติบโตเฉลี่ย 12% ต่อปี (CAGR 2024-26) ได้รับแรงหนุนจากโครงการใหม่ๆ นอกจากนี้ การรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากการถือหุ้น 40.44% ใน ADVANC จะช่วยเพิ่มการเติบโตของกำไร CAGR สูงถึง 17% เรามองว่า GULF จะได้รับการปรับมูลค่าใหม่ (Re-rate) หลังจากการรวมผลประโยชน์จากการควบรวมกิจการเต็มที่ คาดการณ์กำไรเติบโตเฉลี่ย 12% ต่อปี (2-year 2024-26F CAGR)           เราคาดว่ากำไรสุทธิจะเติบโต 19% ในปี FY24F, 13% ในปี FY25F และ 11% ในปี FY26F โดยได้รับแรงหนุนหลักจากโครงการพลังงานใหม่ๆ อัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้นจากต้นทุนเชื้อเพลิงที่ลดลง และส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นจาก INTUCH และอื่นๆ การวิเคราะห์ความไว (Sensitivity Analysis) ของเราชี้ว่าการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากการถือหุ้น 40.4% ใน ADVANC จะสามารถเพิ่มรายได้ในปี FY25F ได้ 10% และในปี FY26F ได้ 9% ส่งผลให้อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้นเป็น 17% การลงทุน 3 แสนล้านบาทจะเพิ่ม CAGR ของกำไรสุทธิเป็น 44-54%           การเติบโตที่แข็งแกร่งจากการขยายการลงทุนในพลังงานหมุนเวียน และจากการที่อัตราส่วนหนี้สินดอกเบี้ยต่อทุน (IBDE) จะลดลงเหลือ 0.7-0.8x ในปี 2025F (หลังการรวมกิจการ) หมายความว่าบริษัทสามารถก่อหนี้ได้ประมาณ 3 แสนล้านบาท เราคาดว่าเงินจำนวนนี้จะถูกลงทุนในพลังงานหมุนเวียนซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปี 2026 และจะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 1-1.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งเทียบเท่ามูลค่าหุ้นตามกระแสเงินสดส่วนลด (DCF) ที่ประมาณ 11-18 บาทต่อหุ้น ส่งผลให้การเติบโตเฉลี่ยต่อปี (2-year 2024-2026F CAGR) อยู่ที่ระดับ 44-54% ราคาเป้าหมายที่ 56.75 บาท (ก่อนการรวมผลประโยชน์) จากวิธี SOTP (2025F)           เราประเมินมูลค่าธุรกิจพลังงานของ GULF ที่ 27.5 บาทต่อหุ้น (DCF สมมติฐาน Beta 1.2, Rf 2.5%, market risk premium 8%) ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานมีมูลค่า 3.5 บาทต่อหุ้น ขณะที่ธุรกิจ ICT (ถือหุ้น 40.44% ใน ADVANC และถือหุ้น 41.14% ใน THCOM) จะมีมูลค่า 24.5 บาทต่อหุ้น ส่วนอื่นๆ มีมูลค่า 1.5 บาทต่อหุ้น เมื่อรวมมูลค่าเหล่านี้และปรับสำหรับเงินสดและหนี้สินสุทธิ ราคาเป้าหมายอยู่ที่ 56.75 บาท

ROJNA คาด Q3 กำไรดีด 628% รับอานิสงส์ GULF เต็มๆ   

ROJNA คาด Q3 กำไรดีด 628% รับอานิสงส์ GULF เต็มๆ   

           หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี คาด ROJNA กำไรสุทธิ 1.9 พันล้านบาทใน 3Q24F เพิ่มขึ้น 628% yoy และ 210% qoq หากไม่รวมกำไรพิเศษ 1.6 พันล้านบาท กำไรธุรกิจหลักจะอยู่ที่ 332 ล้านบาท ลดลง 22% yoy และ 55% qoq จากกำไรจากธุรกิจไฟฟ้าชะลอตัวลง กำไรธุรกิจหลักใน 9M24F เป็น 1.3 พันล้านบาท ลดลง 10% yoy และคิดเป็น 62% ของประมาณการ FY24F  บริษัทจะประกาศผลการดำเนินงานวันที่ 14 พ.ย.            คาดกำไรจะสูงขึ้น qoq ใน 4Q24 และการซื้อที่ดินจะเป็นปัจจัยหนุนยอดขายในอนาคต พร้อมมีอัพไซด์จากราคาเป้าหมาย บริษัทจะรับรู้กำไรจากการขายที่ดินของบริษัทร่วมทุน TRA ซึ่งจะเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้น เราคงคำแนะนำ "ซื้อ" ยอดขายที่ดินชะลอตัวใน 3Q24            ROJNA มียอดขายที่ดิน 107 ไร่ใน 3Q24 ส่วนใหญ่เป็นโครงการในจังหวัดชลบุรี ส่งผลให้ยอดขายที่ดินใน 9M24 อยู่ที่ 817 ไร่ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของบริษัทที่ 1,000+ ไร่ แต่อาจน้อยกว่าคาดการณ์ที่ 1,870 ไร่ คาดกำไรสุทธิ 3Q24F จะเติบโตโดดเด่น 628% yoy และ 210% qoq เป็น 1.9 พันล้านบาท หนุนจากกำไรจากการบันทึกราคาตลาดหุ้น GULF และ Frazer Logistics & Commercial Trust 1.5 พันล้านบาท และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 127 ล้านบาท กำไรธุรกิจหลักจะลดลง 22% yoy และ 55% qoq เป็น 332 ล้านบาทจากกำไรโรงไฟฟ้าลดลง กำไรธุรกิจหลัก 9M24F จะเป็น 1.3 พันล้านบาท (-10% yoy) ซึ่งคิดเป็น 62% ของกำไร FY24F            กำไรขั้นต้นของนิคมจะเพิ่มขึ้น 5% yoy แต่ลดลง 33% qoq เป็น 500 ล้านบาทใน 3Q24F เติบโต yoy จากยอดโอนที่สูงขึ้น (+9% yoy เป็น 300 ไร่ใน 3Q24) ซึ่งชดเชยกับอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลงเป็น 37% เทียบกับ 41.2% ใน 2Q เนื่องจาก product mix การลดลง qoq เนื่องจากยอดโอนลดลง (-19% qoq เป็น 300 ไร่) แม้อัตรากำไรขั้นต้นจะเพิ่มขึ้น 0.5%            กำไรขั้นต้นของธุรกิจไฟฟ้าจะลดลง 33% yoy และ 24% qoq เป็น 268 ล้านบาทใน 3Q24F กำไรขั้นต้นลดลง yoy เนื่องจากอัตรา Ft เฉลี่ยลดลง (0.4405 บาทใน 3Q23 เทียบกับ 0.3972 บาทใน 3Q24) เทียบกับต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่ลดลงเล็กน้อย (342 บาท/MMbtu ใน 3Q23 เป็น 340 บาท/MMbtu ใน 3Q24) กำไรขั้นต้นลดลง qoq เนื่องจากต้นทุนก๊าซธรรมชาติสูงขึ้นเทียบกับ 305 บาท/MMbtu ใน 2Q24 ในขณะที่อัตรา Ft ทรงตัว ราคาเป้าหมาย 9.2 บาท             คาดว่ากำไรธุรกิจหลักจะเพิ่มขึ้น qoq ใน 4Q24F จากกำไรธุรกิจไฟฟ้าที่ดีขึ้น (ต้นทุนก๊าซธรรมชาติลดลง) และยอดโอนที่ดินที่คาดว่าจะสูงขึ้นใน 4Q24F บริษัทซื้อที่ดิน 1,350 ไร่สำหรับนิคมอุตสาหกรรมโรจนะหนองใหญ่ 2 เพื่อรองรับความต้องการที่สูงขึ้น ซึ่งมีอัพไซด์ต่อราคาเป้าหมาย บริษัทร่วมทุน TRA (ROJNA ถือหุ้น 25%) วางแผนขายที่ดิน 300-500 ไร่ (จาก 4,600 ไร่) ริมถนนบางนา-ตราด กม.32 คาดว่าราคาตลาดจะสูงกว่าต้นทุน ดังนั้น TRA และ ROJNA จะบันทึกกำไรจากการขายที่ดิน

GULF ฉลุยควบ INTUCH จับตาหนุนธุรกิจโตแกร่ง

GULF ฉลุยควบ INTUCH จับตาหนุนธุรกิจโตแกร่ง

          หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี รายงานว่า เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา GULF ได้จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น (EGM) เพื่อพิจารณาการควบรวมกิจการกับ INTUCH โดยผลการลงคะแนนเสียงแสดงให้เห็นว่ามีผู้ถือหุ้นร้อยละ 99.9931 หรือประมาณ 10,497 ล้านเสียงที่สนับสนุนการควบรวม ขณะที่มีเพียง 0.0068% หรือ 715,100 เสียงที่ไม่เห็นด้วย เรามีมุมมองบวกจากค่าใช้จ่ายในการซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นที่คัดค้านไม่เป็นสาระสำคัญและไม่ส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของบริษัท           Our view: การซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นที่คัดค้านไม่เป็นสาระสำคัญ เพื่อให้เป็นไปตามพรบ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 GULF จะต้องเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นที่คัดค้านในราคาตลาดในวันที่ทำการสุดท้ายก่อนการประชุม ซึ่งในกรณีนี้คือราคาปิดในวันที่ 2 ตุลาคม 2567 หรือ 56.50 บาท ทำให้ค่าใช้จ่ายในการซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นที่คัดค้านอยู่ที่เพียง 40.4 ล้านบาท หรือ 0.0085% ของสินทรัพย์รวมของ GULF ณ สิ้นมิ.ย. 2567 เท่านั้น เราจึงมีมุมมองบวกต่อ GULF ที่จะทำให้การควบรวมกิจการกับ INTUCH ไปสู่ขั้นตอนต่อไปได้           สำหรับขั้นตอนต่อไป GULF และ INTUCH จะดำเนินการส่งหนังสือแจ้งเจ้าหนี้ของ GULF และ INTUCH ภายใน 14 วัน หลังวัน EGM และให้ส่งคำคัดค้านภายในสองเดือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติ และเมื่อเงื่อนไขบังคับก่อนการทำธุรกรรมการทำ VTO ใน ADVANC และ THCOM สำเร็จครบถ้วน (หรือได้รับการผ่อนผัน) โดยเงื่อนไขที่สำคัญคือการขอ consent จากเจ้าหนี้ของทั้งสองบริษัท รวมถึงการขอ consent จาก third party ของบริษัทในกลุ่ม และการจัดหาเงินทุนสำหรับ VTO จึงจะเริ่มทำ VTO ของ ADVANC และ THCOM ในช่วง 4Q24-1Q25 นอกจากนี้ ช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นช่วงที่ผู้รับซื้อหุ้นของ GULF และ INTUCH จากผู้ถือหุ้นที่คัดค้าน (หรืออาจจะดำเนินการก่อนช่วง VTO) โดยราคารับซื้อหุ้น GULF จะอยู่ที่ 56.50 บาท และ INTUCH อยู่ที่ 91 บาท (ราคารับซื้อเดิมของ GULF คือ 45 บาท และ INTUCH คือ 76 บาท ทั้งนี้จากราคา หุ้นที่เกินกว่าที่กำหนดจะเป็นดุลพินิจของผู้รับซื้อหุ้นว่าจะรับซื้อหรือไม่ หากไม่รับซื้อ ทั้ง GULF และ INTUCH ต้องหาผู้มารับซื้อใหม่)           Consensus ราคาเป้าหมายเฉลี่ยอยู่ที่ 57.3 บาท แนะนำซื้อ GULF เทรดอยู่ที่ premium เทียบกับคู่แข่ง โดยจากข้อมูล consensus คือเทรดอยู่ที่ 2024F PBV ที่ 5 เท่า PER ที่ 36 เท่า และมี ROE สูงอยู่ที่ 12% เรามองการประเมินมูลค่าเหมาะสมได้รับการสนับสนุนจากกลยุทธ์ของบริษัทที่จะมีการเติบโตทั้งในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค และในธุรกิจโทรคมนาคมผ่าน INTUCH, ADVANC และ THCOM หลังการควบรวมกิจการ

โบรกแนะซื้อ

โบรกแนะซื้อ "INTUCH" มองบวกหากควบรวม ADVANC - GULF

          หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี ระบุว่า ราคาหุ้น INTUCH พุ่งขึ้นอย่างมากในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา แต่ยังคงแนะนำให้ซื้อ INTUCH ปรับราคาเป้าหมายขึ้นจาก 98 บาทเป็น 105 บาท (อิงจาก discount NAV ราว 5% ของ ADVANC) เพื่อสะท้อนราคาเป้าหมายที่สูงขึ้น สำหรับ ADVANC การลงทุนใน INTUCH ที่ราคาปัจจุบันสะท้อนถึง EPS ที่เติบโตโดดเด่นในไตรมาส 3 ปี 2567 (พร้อมกับแนวโน้มการปรับประมาณการขึ้น) เช่นเดียวกับเงินปันผลอย่างน้อย 6 บาท หากบริษัทได้รับการอนุมัติในการควบรวมกับ GULF ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นวันนี้ ณ ราคาปัจจุบัน ผลตอบแทนจากเงินปันผลน่าสนใจที่ระดับ 6.4% คาดกำไร 3Q67 อยู่ที่ 3.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% yoy แต่ทรงตัว qoq           ปัจจัยหนุนจากผลดำเนินงานของ ADVANC เนื่องจาก INTUCH มีธุรกิจด้านการลงทุนในธุรกิจเพียงไม่กี่รายการในพอร์ตโฟลิโอ เราคาดว่า ADVANC จะมีกำไร 3.45 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่คงที่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งถือว่าแข็งแกร่ง เนื่องจากกำไรโดยปกติจะอ่อนตัวลงตามฤดูกาลในไตรมาส 3 โดยลดลง 5-10% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ปีนี้ผลกระทบตามฤดูกาลจะน้อยลง เนื่องจาก ARPU ที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากการแข่งขันที่ลดลง (ดูรายละเอียดในคาดการณ์ผลประกอบการ ADVANC 30/09/2567) มีแนวโน้มปรับกำไรปี 2567 ขึ้นจาก 13.5 พันล้านบาท จากแนวโน้มกำไรของ ADVANC           กำไร 9 เดือนแรกอยู่ที่ 75% ของการคาดการณ์กำไรทั้งปี มี upside risk ต่อการประมาณการของเรา เนื่องจากเราคาดหวังกำไรที่แข็งแกร่งขึ้นจาก ADVANC ในไตรมาส 4 เนื่องจากเป็นช่วง High season เราคงประมาณการเติบโตของกำไร 16% สำหรับปี 2567 และ 6% สำหรับปี 2568 เราคาดว่า INTUCH จะประกาศเงินปันผลอีกสองครั้งในปีนี้ - เงินปันผลพิเศษ 4 บาท ตามการอนุมัติให้ควบรวมกับ GULF ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นวันนี้ (3 ตุลาคม 2567) และ 2 บาทสำหรับผลประกอบการครึ่งหลังของปี 2567 แนะนำซื้อ ปรับราคาเป้าหมายขึ้นเป็น 105 บาท จาก 98 บาท           ปรับราคาเป้าหมายขึ้นเป็น 105 บาท (จาก 98 บาท) จากการปรับราคาเป้าหมายของ ADVANC เรามีมุมมองเชิงบวกหากมีการอนุมัติการควบรวมกิจการ โดยจะได้ประโยชน์จากผลดำเนินงานที่แข็งแกร่งขึ้น อีกทั้งยังได้รับเงินปันผลพิเศษ 6 บาท ซึ่งคิดเป็นเงินปันผลราว 6%

“โกลเบล็ก” คัดหุ้นธีมลงทุน Data Center

“โกลเบล็ก” คัดหุ้นธีมลงทุน Data Center

          กรุงเทพฯ - บล. โกลเบล็ก (GBS) ประเมินหุ้นไทย Sideway Up จากแรงหนุนเม็ดเงินกองทุนวายุภักษ์ 1 เริ่มลงทุนในตลาดหุ้นไทยวันที่ 1 ต.ค. และเริ่มซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์วันที่ 7 ต.ค. และล่าสุด Google ประกาศแผนลงทุน Data Center ในไทย หนุนดัชนีในเดือนตุลาคมเคลื่อนไหวในกรอบ 1,400-1,480 จุด และกลยุทธ์ลงทุนหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการลงทุน Data Center ได้แก่ WHA, ADVANC, GULF, TRUE และ INSET           นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด หรือ GBS ประเมินทิศทางดัชนีตลาดหุ้นไทยในเดือนตุลาคม 2567 มีโอกาสปรับตัวขึ้นในลักษณะ Sideway Up โดยมีแรงหนุนจากเม็ดเงินกองทุนวายุภักษ์ 1 เริ่มลงทุนในตลาดหุ้นไทยวันที่ 1 ต.ค. และเริ่มซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์วันที่ 7 ต.ค.ประกอบกับมีแรงหนุนจาก Google ประกาศแผนลงทุน Data Center ในประเทศไทย 3.6 หมื่นล้านบาทภายในปี 2572 จึงให้กรอบดัชนีที่ 1,400-1,480 จุด           นอกจากนี้ทาง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดว่าระหว่างวันที่ 1-7 ต.ค. 2567 ซึ่งเป็นช่วงวันหยุดในวันชาติจีน (Golden Week) จะมีนักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวยังประเทศไทยประมาณ 1.32-1.83 แสนคน เพิ่มขึ้น 57-144% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 คาดว่าจะสร้างรายได้ทาง การท่องเที่ยวประมาณ 3,710-5,180 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 58-121%           ขณะที่ทางธนาคารกลางจีนออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่ทั้งลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ระยะ 1 ปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของจีน ลง 0.30% สู่ระดับ 2.00% ลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลง 0.50% สู่ระดับ 6.6% ซื้อคืนพันธบัตร (reverse repo) ระยะ 7 วัน มูลค่า 1.82 แสนล้านหยวน (ราว 2.596 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ที่อัตราดอกเบี้ย 1.5% เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงิน  รวมทั้งสั่งการให้ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านเดิมที่ยังผ่อนไม่หมด (existing home loan) ก่อนวันที่ 31 ต.ค. เพื่อฟื้นฟูตลาดอสังหาริมทรัพย์           ด้านปัจจัยในประเทศที่ยังคงต้องจับตาต่อ ได้แก่ วันนี้ (2 ต.ค.) จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.), วันที่ 7 ต.ค. กองทุนวายุภักษ์ เริ่มซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์, สัปดาห์ที่ 2 กระทรวงพาณิชย์แถลงดัชนีเศรษฐกิจการค้า  สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) แถลงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนและอัพเดตสถานการณ์ลงทุน, สัปดาห์ที่ 2 หอการค้าไทยร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย, สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม, วันที่ 16 ต.ค. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 5/2567, สัปดาห์ที่ 4 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดผลิตและส่งออกรถยนต์, กระทรวงพาณิชย์แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย, สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค  ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค, สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีอุตสาหกรรม, วันที่ 30 ต.ค.รายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ฉบับย่อ และวันที่ 31 ต.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย           ส่วนสถานการณ์ต่างประเทศที่น่าจับตาวันที่ 1-7 ต.ค. ตลาดหุ้นจีนปิดทำการเนื่องในวันชาติจีน,วันนี้ (2 ต.ค.) อียู รายงานอัตราว่างงานเดือนส.ค., สหรัฐ รายงานตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนก.ย. และสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์, วันที่ 3 ต.ค. สหรัฐ รายงานดัชนีภาคบริการเดือนก.ย., วันที่ 4 ต.ค. สหรัฐ รายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ย., วันที่ 23 ต.ค. สำนักข่าว CNN จัดโต้วาทีครั้งที่ 2 สำหรับผู้เข้าชิงตำแหน่งปธน.สหรัฐ, วันที่ 5 พ.ย. วันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐและ วันที่ 6-7 พ.ย. ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ           ดังนั้น แนะนำกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการลงทุน Data Center  ได้แก่ WHA, ADVANC, GULF, TRUE และ INSET           ส่วนทิศทางการลงทุนในทองคำ นายณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล. โกลเบล็ก ประเมินแนวโน้มราคาทองคำในเดือนตุลาคมว่า ราคาทองคำมีโอกาสพักตัว โดยให้ระวังแรงขายทำกำไรหลังประธานเฟดส่งสัญญาณไม่รีบร้อนในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากตัวเลขเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมามีสัญญาณชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง  ทำให้นักลงทุนลดความคาดหวังที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมครั้งต่อไป อย่างไรก็ตามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาลง และปัจจัยทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ ยังคงเป็นปัจจัยหนุนทองคำ มองกรอบทองคำเดือนนี้ 2,530 – 2,700 $/Oz คาดว่ามีโอกาสทดสอบแนวรับ

SET มีแรงกดดัน จับตาแนวรับ 1445-1470 จุด มอง PTTEP และ GULF เด่น

SET มีแรงกดดัน จับตาแนวรับ 1445-1470 จุด มอง PTTEP และ GULF เด่น

          หุ้นวิชั่น- คาด SET ได้รับ sentiment ลบ จากสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง หลังอิหร่านโจมตีอิสราเอล ทําให้มองกรอบบนยังถูกจํากัดที่แนวต้าน 1470 จุด อย่างไรก็ตาม คาดเม็ดเงินจากกองทุนวายุภักษ์ช่วยประคองดัชนี ทําให้มองกรอบล่างบริเวณแนวรับ 1445-1450 จุด ยังรองรับได้ ทั้งนี้ คาดดัชนีจะ เคลื่อนไหวระหว่างกรอบ 1445-1470 จุด หุ้นเด่นวันนี้ PTTEP: มองราคาน้ำมันที่แข็งแกร่งในระยะสั้นจะเป็นปัจจัยกระตุ้นราคาหุ้น อีกทั้งราคาหุ้นยังคงปรับขึ้นช้ากว่าราคาน้ำมัน และเป็นหุ้นที่เป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากกรณีกังวลความไม่สงบในตะวันออกกลาง ขณะที่ผลการดำเนินงานและงบดุลของบริษัทยังแข็งแกร่ง โดยปี 2567 คาดมีกำไรปกติ 8.27 หมื่นล้านบาท เติบโต 5% YoY ทั้งนี้ แนะนำราคาเข้าซื้อวันนี้ไม่เกิน 132.50 บาท GULF: ครึ่งหลังปี 2567 คาดกำไรปกติจะเติบโตแกร่งจากกำลังผลิตใหม่ที่เข้ามาเพิ่ม อาทิ โรงไฟฟ้า IPP ใหม่ GDP หน่วยที่ 4 (662.5 MW) และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์หลายโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนา อีกทั้งยังมองบวกต่อดีลควบรวมระหว่าง GULF และ INTUCH นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยที่เข้าสู่ขาลง และ Valuation น่าสนใจ โดยซื้อขายที่ PER ปี 2567 ที่ 33 เท่า (-1.0 SD) ที่มา:บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด

INSET พร้อมเติบโตตามอุตสาหกรรม Data Center

INSET พร้อมเติบโตตามอุตสาหกรรม Data Center

          หุ้นวิชั่น - INSET พร้อมเติบโตตามการขยายตัวของอุตสาหกรรม Data Center โดยในอีก 4-5 ปีข้างหน้า เราคาดว่าอุตสาหกรรมนี้จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด สอดคล้องกับการเติบโตของธุรกิจดิจิทัลและ AI ที่มีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วน ซึ่งจะเปิดโอกาสให้บริษัทรับงานก่อสร้าง Data Center มากขึ้น คาดว่าจะเริ่มเห็นการประมูลโครงการตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป แต่การรับรู้รายได้จะเกิดขึ้นในปี 2569           นายศักดิ์บวร พุกกะณะสุต กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินฟราเซท จำกัด (มหาชน) หรือ INSET เปิดเผยกับ หุ้นวิชั่น ว่า อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทยยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยล่าสุด Google ได้ประกาศแผนการลงทุนมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 35,000 ล้านบาท ในประเทศไทยระหว่างปี 2568-2572 เพื่อสร้าง Data Center และ Cloud Region แห่งใหม่ ซึ่งเป็นการลงทุนสำคัญที่ช่วยผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้           การลงทุนนี้ไม่เพียงแต่จะยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีในประเทศ แต่ยังเปิดโอกาสให้ประเทศไทยรองรับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจดิจิทัลขั้นสูง เช่น 5G, ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI), คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud), Internet of Things (IoT) และ Smart City           นอกจากนี้ การสร้าง Data Center และ Cloud Region ของ Google ยังช่วยดึงดูดผู้ประกอบการด้านบริการข้อมูลระดับโลกเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากประเทศมีความโดดเด่นในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน อัตราค่าไฟฟ้าที่แข่งขันได้ และการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดการลงทุนของผู้ประกอบการยุคใหม่           สำหรับ INSET ซึ่งให้บริการก่อสร้างศูนย์ข้อมูล (Data Center) บริษัทมีความเชี่ยวชาญในด้านการออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับ Data Center ที่รองรับ Big Data, เทคโนโลยี 5G, Cloud Computing และระบบ AI การขยายตัวของผู้ให้บริการดิจิทัลและคลาวด์ในระดับโลกทำให้เกิดความต้องการ Data Center ที่มีประสิทธิภาพสูงและมีเสถียรภาพ ซึ่ง INSET สามารถตอบโจทย์นี้ได้           ด้วยความพร้อมของบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในโครงการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล INSET อยู่ในตำแหน่งที่ดีในการเข้าร่วมประมูลงานก่อสร้าง Data Center ทั้งจาก Google และผู้ให้บริการเทคโนโลยีรายใหญ่อื่นๆ บริษัทคาดว่าจะเข้าร่วมการประมูลงานตั้งแต่ปลายปีนี้ไปจนถึงปีหน้า มูลค่ารวมกว่า 2,000 ล้านบาท สอดคล้องกับการเติบโตของอุตสาหกรรม โดยคาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้จากโครงการเหล่านี้ในปี 2569           อนึ่ง INSET เป็นผู้ให้บริการก่อสร้างศูนย์ข้อมูล (Data Center) และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ, ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายโทรคมนาคม และธุรกิจซ่อมบำรุงและให้บริการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม ส่วนความเห็นนักวิเคราะห์           กระแสเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง Cloud, AI และในอนาคตในส่วนระบบ Automation แม้ไทยอาจจะไม่ได้อยู่ในกลุ่มประเทศต้นน้ำที่ได้ประโยชน์จากการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาโดยตรง แต่กระแสหลักนี้จะสร้างโอกาสให้ไทยในช่วง 4-5 ปีนับจากนี้ ด้วยศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางโครงสร้างพื้นฐานสำคัญด้านเทคโนโลยี กล่าวคือ Data Center ในไทยมีจุดเด่นจากพื้นที่ตั้งเป็นศูนย์กลางภูมิภาค ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ 4G, 5G ที่ครอบคลุม ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติต่ำ และกระแสไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพและมั่นคง ทำให้ไทยเป็นจุดสนใจจากการขยาย Data Center จากสิงคโปร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางเดิมที่เริ่มมีข้อจำกัด           จากการรวบรวมตัวเลขโดย KSS ในส่วนเม็ดเงินลงทุน Data Center ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในประเทศหลักๆ เราประเมินว่าปัจจุบันมีเม็ดเงินมหาศาลรอลงทุน Data Center ในไทยช่วง 4-5 ปีจากนี้ ไม่น้อยกว่า 200,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนสูงราว 1.1% ของมูลค่า GDP ประเทศไทยในปัจจุบัน โดยหากทยอยลงทุนในช่วง 4-5 ปี จะส่งผลบวกต่อ GDP ราว 0.2-0.25% ต่อปี ซึ่งยังไม่รวมประโยชน์ด้านดิจิทัลอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นอีกมากมายต่อประเทศ ถือเป็นหนึ่งใน S-Curve ใหม่ของไทย และเป็น Upside ของเศรษฐกิจระยะกลาง-ยาว ซึ่งเชื่อว่าตลาดยังแทบไม่รวมในประมาณการ GDP มุมมองเชิงกลยุทธ์           ประเมินว่า Upside จากแรงขับเคลื่อนด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ มีจุดเด่นสำคัญ คือ ปริมาณข้อมูลที่ใช้สนับสนุนจะเติบโตแบบทวีคูณ (Exponential) ซึ่งน่าจะสร้างโอกาสทางธุรกิจสูงกว่าที่ตลาดคาดคิดไว้ และเป็น Thematic Theme ระยะกลาง-ยาว 1-5 ปี KSS มีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นที่อยู่ในระบบนิเวศของ Data Center โดยฝั่ง Data Center เราแนะนำผู้ได้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ขยายตัวโดยตรง อาทิ GULF, INTUCH, ADVANC, TRUE, INSET, DELTA, STPI (Non-Coverage)           กลุ่ม Digital Tech ที่ Data Center จะนำมาสู่ Upside งานประเภท Cloud Adoption และ AI รวมถึง Automation Adoption ระยะยาวที่จะหนุนอุตสาหกรรมเข้าสู่รอบใหญ่ของการขยายตัวอีกครั้ง อาทิ BE8, BBIK           ส่วนกระแส Cycle เทคโนโลยี AI ที่ผลักดันอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ พัฒนาให้มี AI พื้นฐานติดเครื่องมากขึ้น จะสร้างโอกาสฟื้นตัวจากรอบการเปลี่ยนอุปกรณ์ตามกระแส AI ซึ่งเราคาดไม่ต่างจากยุค 3G, 4G ที่เคยหนุนหุ้นที่ได้ประโยชน์ อาทิ HANA, ADVICE (Non-Coverage), SYNEX (Non-Coverage) Best Picks: GULF, TRUE, DELTA, INSET, BE8, HANA, ADVICE ที่มา : บล.กรุงศรี

GULF จ่ายไฟฟ้า GPD หน่วย4 ผลิต 662.5 MW

GULF จ่ายไฟฟ้า GPD หน่วย4 ผลิต 662.5 MW

          หุ้นวิชั่น - นางสาวยุพาพิน วังวิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ขอแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทราบว่า เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 บริษัท กัลฟ์ พีดี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ และเป็นผู้ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้ากัลฟ์ พีดี (“GPD”) ได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์หน่วยผลิตที่ 4 ซึ่งเป็นหน่วยการผลิตสุดท้ายของโครงการ มีกำลังการผลิตติดตั้ง 662.5 เมกะวัตต์ โดยจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (“กฟผ.”) เป็นที่เรียบร้อยตามกำหนด (โดยหน่วยผลิตที่ 1 - 3 มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 1,987.5 เมกะวัตต์ เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566, 1 ตุลาคม 2566 และ 31 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ตามลำดับ)           โครงการโรงไฟฟ้า GPD ตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ (ปลวกแดง) อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง เป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (Independent Power Producer: IPP) ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ภายใต้บริษัท อินดิเพนเดนท์ พาวเวอร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (“IPD”) ซึ่งถือหุ้นในโรงไฟฟ้า IPP จำนวน 2 โครงการ กำลังการผลิตติดตั้งรวม 5,300.0 เมกะวัตต์ ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้ากัลฟ์ เอสอาร์ซี (“GSRC”) ซึ่งได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ครบทุกหน่วยการผลิตเป็นที่เรียบร้อยแล้วในปี 2565 และโครงการ GPD ซึ่งได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ครบทุกหน่วยการผลิตเป็นที่เรียบร้อยแล้วในปัจจุบัน โดยทั้งสองโครงการมีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งโครงการละ 2,650.0 เมกะวัตต์ (แบ่งเป็น 4 หน่วยผลิต หน่วยผลิตละ 662.5 เมกะวัตต์) และมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. เป็นระยะเวลา 25 ปี

วิพากษ์หุ้นโรงไฟฟ้า ใครจะได้ประโยชน์หลัก

วิพากษ์หุ้นโรงไฟฟ้า ใครจะได้ประโยชน์หลัก

          หุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.กรุงศรี คาดว่า GULF จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์หลัก ตามมาด้วย GUNKUL, BGRIM และ GPSC เราคง ‘NEUTRAL’ สำหรับกลุ่ม เนื่องจากการประเมินมูลค่า (valuation) ปัจจุบัน ได้ถูกสะท้อนข่าวดีไปในราคาแล้ว จากการที่ กกพ. เดินหน้าเปิดประมูลรอบที่ 2 สำหรับโครงการพลังงานหมุนเวียนรวม 3.6 GW โดยจะประเมินข้อเสนอจากผู้สมัครจำนวน 198 รายตามคะแนนคุณภาพโดยไม่ต้องแก้ไขข้อเสนอขายไฟฟ้า และจะประกาศผลคัดเลือกภายในสิ้นปีนี้           ด้วยการประมูลรอบที่สองสำหรับกำลังการผลิตรวม 3.6 กิกะวัตต์ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในรอบนี้จะประกอบด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 2,632 เมกะวัตต์, พลังงานลม 1,000 เมกะวัตต์, พลังงานชีวมวล 6.5 เมกะวัตต์, และพลังงานจากของเสียอุตสาหกรรม 30 เมกะวัตต์ เพื่อดึงดูดผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้ามากขึ้น กกพ. มีแผนจัดสรรโควตาให้กับผู้ประมูลที่ไม่ได้รับโครงการในรอบแรกเป็นการเฉพาะ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน จะมีกฎระเบียบใหม่ในการจัดซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนภายใต้ระบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับปี 2565-2573 ซึ่งรวมถึงการซื้อเพิ่มเติมจากผู้สมัคร 198 รายที่เคยผ่านเกณฑ์ความพร้อมทางเทคนิคมาแล้ว แต่ไม่ได้รับการคัดเลือกเนื่องจากปริมาณการจัดซื้อเต็มแล้ว กกพ. จะประเมินการซื้อไฟฟ้าจากคะแนนคุณภาพโดยไม่ต้องแก้ไขข้อเสนอเดิม โดยจำกัดที่ 600 เมกะวัตต์สำหรับพลังงานลม และ 1,580 เมกะวัตต์สำหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนพื้นดิน คาดว่าจะประกาศผู้ชนะการประมูลภายในสิ้นปี 2567           หากอ้างอิงถึงผลผู้ชนะการประมูลในรอบแรกและจำนวนเมกะวัตต์ที่ยังไม่ผ่านรอบแรกของแต่ละบริษัท เราคาดว่า GULF (Unrated) จะได้ประโยชน์มากที่สุด ตามมาด้วย GUNKUL, BGRIM, GPSC ทั้งนี้ในรอบแรก GULF ชนะการประมูลคิดเป็น 38% ของการเปิดรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 5.2 GW ตามมาด้วย GUNKUL (16%), SSP (3.3%), BGRIM (3.1%), WHAUP (2.4%), GPSC (0.15%) และอื่นๆ (37%) เรามองว่าการเดินหน้าและมีความชัดเจนนี้จะส่งผลบวกต่อกระบวนการรับรองไฟฟ้าสีเขียวตามแนวทาง Utility Green Tariff (UGT) ของ กกพ. ที่ต้องอาศัยการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในโครงการรับซื้อไฟฟ้าเช่นกัน ที่ถ้าได้ข้อสรุปจะสามารถประเมินผลตอบแทนได้ชัดเจนขึ้นต่อการลงทุนดังกล่าว           บล.กรุงศรี มีมุมมอง Neutral สำหรับกลุ่ม โดยคงคำแนะนำ Trading Buy ต่อ BGRIM (TP Bt27), GPSC (TP Bt50), BCPG (TP Bt8.20), EGCO (TP Bt137) และคำแนะนำ Buy ต่อ GUNKUL (TP Bt3.85)

GULF ตั้ง Gulf Edge Services บริหารธุรกิจคลาวด์ รุกขยายกลุ่มดิจิทัล

GULF ตั้ง Gulf Edge Services บริหารธุรกิจคลาวด์ รุกขยายกลุ่มดิจิทัล

          หุ้นวิชั่น-นางสาวยุพาพิน วังวิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2567 เรื่องการลงนามในสัญญาความร่วมมือระหว่างบริษัท กัลฟ์ เอดจ์ จำกัด (“Gulf Edge”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 กับบริษัท กูเกิล เอเชีย แปซิฟิก จำกัด (“Google”) เพื่อดำเนินธุรกิจการให้บริการระบบคลาวด์ Google Distributed Cloud air-gapped (“GDC air-gapped”) สำหรับองค์กรในประเทศไทยนั้น           เนื่องจาก Gulf Edge มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding company) โดยปัจจุบันถือหุ้นใน บริษัท จีเอสเอ ดาต้า เซนเตอร์ จำกัด บริษัท กัลฟ์ ไฟแนนซ์ จำกัด และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนและคล่องตัวในการบริหารจัดการธุรกิจคลาวด์ของกลุ่มบริษัทฯ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 บริษัทฯ จึงได้จัดตั้งบริษัท กัลฟ์ เอดจ์ เซอร์วิสเซส จำกัด (“Gulf Edge Services”) ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยด้วยทุนจดทะเบียน 10,000,000 บาท และเป็นบริษัทย่อยที่ Gulf Edge ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 โดย Gulf Edge Services มีวัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการธุรกิจคลาวด์ และให้บริการที่เกี่ยวข้องแก่ลูกค้า เพื่อสนับสนุนการเติบโตของกลุ่มธุรกิจดิจิทัลของบริษัทฯ ต่อไป

GULF ประสบความสำเร็จอย่างมากในการเสนอขายหุ้นกู้รวม 25,000 ล้านบาท ตอกย้ำความเชื่อมั่นของนักลงทุน

GULF ประสบความสำเร็จอย่างมากในการเสนอขายหุ้นกู้รวม 25,000 ล้านบาท ตอกย้ำความเชื่อมั่นของนักลงทุน

          เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้ออกหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิและไม่มีประกัน มูลค่ารวมทั้งสิ้น 25,000 ล้านบาท โดยเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน (Institutional Investors) และ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth) หุ้นกู้ดังกล่าวได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นจำนวนมาก โดยแสดงความจำนงในการจองหุ้นกู้ของบริษัทฯ มากถึง 1.96 เท่าของจำนวนที่ประสงค์จะเสนอขาย (Oversubscription) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนในศักยภาพและความแข็งแกร่งของบริษัทฯ สำหรับหุ้นกู้ที่บริษัทฯ เสนอขายในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 5 ชุด ได้แก่ หุ้นกู้อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ย 2.89% ต่อปี มูลค่า 2,500 ล้านบาท หุ้นกู้อายุ 4 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.15% ต่อปี มูลค่า 2,687 ล้านบาท หุ้นกู้อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.28% ต่อปี มูลค่า 10,013 ล้านบาท หุ้นกู้อายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.53% ต่อปี มูลค่า 4,800 ล้านบาท และ หุ้นกู้อายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.76% ต่อปี มูลค่า 5,000 ล้านบาท โดยเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยคงที่เท่ากับ 3.37% และอายุเฉลี่ยหุ้นกู้เท่ากับ 6.08 ปี           ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ในระดับ “A+” แนวโน้ม “คงที่” และหุ้นกู้ได้รับการจัดอันดับในระดับ “A” แนวโน้ม “คงที่” จากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด โดยบริษัทฯ ได้แต่งตั้งให้ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ในครั้งนี้ ซึ่งได้เปิดจองซื้อหุ้นกู้ระหว่างวันที่ 23-25 กันยายน 2567 และได้ออกหุ้นกู้ในวันที่ 26 กันยายน 2567           นางสาวยุพาพิน วังวิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก แม้ว่าสถานการณ์ตลาดหุ้นกู้จะยังคงมีความผันผวน ท่ามกลางความกังวลและความระมัดระวังในการลงทุนในหุ้นกู้ของนักลงทุน แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงได้รับการตอบรับที่ดีเกินคาดจากนักลงทุน โดยยอดจองซื้อเกินกว่าจำนวนที่เสนอขายเกือบ 2 เท่า ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของบริษัทฯ และการเติบโตอย่างต่อเนื่องของธุรกิจของบริษัทฯ โดยการระดมทุนดังกล่าว ส่วนหนึ่งจะนำไปคืนหุ้นกู้ที่ครบกำหนดในเดือนกันยายน อีกส่วนหนึ่งนำไปคืนหนี้สินระยะสั้นของบริษัทฯ และส่วนที่เหลือเพื่อรองรับการขยายการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ ต่อไป บริษัทฯ ขอขอบคุณนักลงทุนทุกท่านที่ให้ความไว้วางใจในหุ้นกู้ของบริษัทฯ และขอขอบคุณผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ร่วมทั้ง 7 สถาบันที่มีบทบาทสำคัญในการจัดจำหน่ายหุ้นกู้จนประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยมในครั้งนี้"