ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#GPSC


GPSC ขานรับรัฐตรึงค่าไฟ โบรกเคาะพื้นฐาน 41.50 บ.

GPSC ขานรับรัฐตรึงค่าไฟ โบรกเคาะพื้นฐาน 41.50 บ.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.กสิกรไทย มีมุมมองเชิงบวกต่อ GPSC ภายหลังจากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประกาศตรึงค่าไฟฟ้าที่ 4.15 บาท/หน่วย (ค่าไฟฟ้าฐาน 3.78 บาท และ Ft 0.37 บาท) สำหรับงวดเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคมปี 2568 ซึ่งสอดคล้องกับอัตราที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เสนอมา ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.15 บาทต่อหน่วย เท่ากับค่าไฟฟ้าเฉลี่ยในงวดปัจจุบัน มองเป็นบวกต่อกลุ่มโรงไฟฟ้า เนื่องจากค่าไฟฟ้าออกมาสูงกว่าที่เราคาดไว้ที่ 4.00 บาท/หน่วย เบื้องต้นมองว่ามี upside ต่อประมาณการกำไรปี 2025 ประมาณ 5% สำหรับ GPSC ที่มีสัดส่วนรายได้จาก SPP ซึ่งเป็น FT link ราว 39% ในปี 2568 นี้ GPSC: ราคาพื้นฐาน 41.50 บ.

GPSC เดินหน้าแผนศึกษา SMR เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero

GPSC เดินหน้าแผนศึกษา SMR เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero

              GPSC เจาะลึกเทคโนโลยี SMR ตอบโจทย์พลังงานสะอาด หนุนลดคาร์บอนฯ ในภาคการผลิต มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero พร้อมเดินหน้าจับมือ Seaborg Technologies จากเดนมาร์ก ศึกษาความเป็นไปได้พัฒนาในไทย วางเป้าหมายเป็นเทคโนโลยีที่สร้างเสถียรภาพด้านพลังงาน มีความปลอดภัยสูง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม             นายศิริเมธ ลี้ภากรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่าสถานการณ์ความต้องการด้านพลังงานสะอาดที่มีเสถียรภาพในการส่งมอบทั้งไฟฟ้าและไอน้ำในประเทศไทย มีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยข้อจำกัดของพลังงานหมุนเวียน อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ฯลฯ ที่ไม่สามารถผลิตไอน้ำได้ ในขณะที่การผลิตไฟฟ้ายังคงไม่มีความต่อเนื่องขึ้นกับสภาพอากาศ  ดังนั้น  GPSC จึงเร่งศึกษาพัฒนานวัตกรรมพลังงานสะอาดประเภทอื่นๆ ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนภาคการผลิตของประเทศไทย ให้สามารถรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนพลังงาน ควบคู่กับการลดการปล่อยคาร์บอนฯ สู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทยภายในปี 2608 โดยขณะนี้ GPSC ได้ให้ความสนใจในเทคโนโลยี Small Modular Reactor หรือ SMR ในเจเนอเรชันที่ 4 ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าผลิตพลังงานแบบโมดูล่าร์ขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นโมดูลที่ผลิตและประกอบเบ็ดเสร็จจากโรงงานผู้ผลิต สามารถขนย้ายได้ โดยร่วมกับบริษัท Seaborg Technologies จากประเทศเดนมาร์ก เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการพัฒนาโครงการฯ ซึ่งกำหนดแผนระยะเวลาในการศึกษา 4 ปี (ระหว่างปี 2567-2570)             นอกจากนี้ จากรายงานตัวเลขของไทยที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สูงถึง 250 ล้านตันต่อปีนั้น แบ่งเป็นแหล่งที่มาจากกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า 37% การขนส่งคมนาคม 34% ภาคอุตสาหกรรม 24% และภาคเศรษฐกิจอื่นๆ 5% โดยที่ไทยมีแผนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนถึงปี 2593 โดยเน้นไปที่กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า ให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง จาก 2562 ที่ 100 ล้านตัน จนไปถึงปี 2593 จะอยู่ที่ 41 ล้านตัน แต่ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม ปี 2562 อยู่ที่ 42 ล้านตัน แต่ช่วงปี 2593 กลับขึ้นมาเป็นประมาณ 50 ล้านตัน แสดงว่าแผนการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ประสบความสำเร็จในกลุ่มอุตสาหกรรม เพราะว่าภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้พลังงานความร้อน (Thermal Energy) ซึ่งไม่สามารถผลิตจากพลังงานหมุนเวียนประเภทแสงอาทิตย์หรือลมได้             ในขณะที่ทุกภาคส่วนกำลังติดตามเรื่องนโยบาย CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ของสหภาพยุโรป ที่ได้กำหนดราคาคาร์บอนฯ สำหรับสินค้าบางรายการที่นำเข้าไปในกลุ่มประเทศยุโรป มีผลบังคับใช้ในปี 2569 หากเอกชนยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งพลังงานสะอาดได้ หรือมีพลังงานหมุนเวียนไม่เพียงพอ จะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันลดลง หรือโดนกำแพงภาษีเพิ่มขึ้น ในขณะที่เทคโนโลยี SMR สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายรูปแบบ อาทิ การผลิตไฮโดรเจน การผลิตไอน้ำ การใช้เป็นแหล่งพลังงานสีเขียวในกระบวนการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS)             “สำหรับกระบวนการศึกษาความเป็นไปได้กับผู้เชี่ยวชาญจาก Seaborg จะสามารถทำให้ GPSC เข้าถึงมาตรฐานความปลอดภัยของเทคโนโลยี SMR ตามข้อกำหนดของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) อย่างไรก็ตาม การศึกษาความเป็นไปได้ SMR จะต้องดำเนินการตามกฎระเบียบที่ภาครัฐกำหนด และรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนภายในประเทศที่เกี่ยวข้องด้วย ทั้งด้านกฎหมาย ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ฯลฯ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ โดยคาดว่าภายในปี 2578 จะเห็นเทคโนโลยี SMR ในเชิงพาณิชย์ได้ในต่างประเทศ” นายศิริเมธ กล่าว

ปตท. -GPSC - Solar PPM ติดตั้งไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ ณ วัดสระเกศฯ

ปตท. -GPSC - Solar PPM ติดตั้งไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ ณ วัดสระเกศฯ

เมื่อเร็วๆนี้ - ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) หรือ PTT พร้อมด้วย นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) และนายกฤษณ์ พรพิไลลักษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด (Solar PPM) ร่วมถวายระบบ Solar Rooftop ขนาด 100 กิโลวัตต์ แด่พระเดชพระคุณพระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดภูเขาทอง) เพื่อปรับปรุงระบบไฟฟ้าของวัดให้เป็นระบบไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับใช้งานภายในอาคารบำเพ็ญกุศล 1-2 และเมรุ โดยสามารถลดค่าไฟฟ้าของวัดได้ถึงร้อยละ 50 ภายใน 1 เดือน นับเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายให้แก่วัดและเป็นการสนับสนุนเพื่อสาธารณประโยชน์ให้แก่วัดและชุมชนในพื้นที่อีกด้วย

บอร์ด GPSC อนุมัติขายหุ้น 40% ใน TSR

บอร์ด GPSC อนุมัติขายหุ้น 40% ใน TSR

          บอร์ด GPSC เห็นชอบการขายหุ้น 40% ใน บริษัท TSR ให้กับ บ. เลวันตา รีนิวเอเบิลส์ (ประเทศไทย) จำกัด คาดการซื้อขายแล้วเสร็จไตรมาส 2/2568  เน้นย้ำการทำธุรกรรมครั้งนี้เป็นไปตามกลยุทธ์ จัดพอร์ตโครงการลงทุนให้เกิดประสิทธิภาพ สอดรับทิศทางเทรนด์พลังงานแห่งอนาคต เพื่อเติบโตต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัทฯ (บอร์ด) มีมติเห็นชอบให้บริษัทฯ ขายหุ้นของ บริษัท ไทย โซล่าร์ รีนิวเอเบิล จำกัด หรือ TSR ซึ่ง GPSC ถือหุ้นในสัดส่วน 40% หรือ 23.33 ล้านหุ้น มูลค่ากว่า 1,200 ล้านบาท ให้กับบริษัท เลวันตา รีนิวเอเบิลส์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Levanta คาดว่าจะดำเนินการซื้อขายเสร็จสิ้นภายในไตรมาส 2/2568 นี้ การเข้าทำธุรกรรมครั้งนี้ เป็นไปตามแผนกลยุทธ์การปรับโครงสร้างการบริหารจัดการโครงการลงทุนให้เกิดความเหมาะสม สอดรับกับทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นในระยะยาว ซึ่งบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะขยายขีดความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบใหม่ สอดรับกับการเติบโตทั้งในประเทศ และต่างประเทศ บริษัท ไทย โซล่าร์ รีนิวเอเบิล จำกัด ถือหุ้น 100% ใน บริษัท สยาม โซลาร์ เอ็นเนอร์ยี่ 1 จำกัด (SSE1) ดำเนินธุรกิจพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ประเภทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) ขนาดกำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น 32 เมกะวัตต์ โดยดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยโซลาร์เซลล์ ระบบโฟโต้โวลตาอิก แบบติดตั้งบนพื้นดิน (โรงไฟฟ้า PV ประเภท Solar Farm) และจำหน่ายไฟฟ้าทั้งหมดให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตภูมิภาค (กฟภ.) ซึ่งเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 2556

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

GPSC อัดงบลงทุน 3 พันลบ./ปี-เป้ากำลังการผลิตไฟฟ้า 14,076 MW ในปี 72

GPSC อัดงบลงทุน 3 พันลบ./ปี-เป้ากำลังการผลิตไฟฟ้า 14,076 MW ในปี 72

          นางสุกิตตี ไชยรักษ์ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสการเงินองค์กร และนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) เปิดเผยว่า บริษัทฯ วางงบลงทุน 4 ปี (2568-2571) ไว้ปีละที่ 3,000 ล้านบาท รองรับการซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าและการลงทุนต่างๆ ส่วนการลงทุนที่ประเทศอินเดียคาดว่าปีนี้ไม่ต้องลงทุนเพิ่มแล้ว แต่เป็นการขยายแพลตฟอร์มเพื่อต่อยอดกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ให้มีการเติบโต           โดยงบลงทุนใหญ่จะเกิดขึ้นในปี 2572 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างรอความชัดเจนของโครงการหน่วยผลิตไฟฟ้าและไอน้ำจากกากน้ำมัน Energy Recovery Unit (ERU) ว่าจะได้ข้อสรุปอย่างไร ซึ่งหากมีการเจรจาที่เหมาะสมคาดว่าจะได้ข้อสรุปและคาดว่าจะใช้งบลงทุนประมาณ 20,000 ล้านบาท ภายในปี 2572           นอกจากนี้บริษัทฯ ยังตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตภายในปี 2572 เป็น 14,076 เมกะวัตต์  จาก 7,058 เมกะวัตต์ ในปี 2567 โดยจะมีสัดส่วนมาจากพลังงานไฟฟ้าสีเขียว (Renewable) เพิ่มเป็น 68% จากเดิม 40%, ก๊าซธรรมชาติจะลดลงเหลือ 24% จากเดิม 49% หลักๆ มาจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 63% ที่มีการขยายการลงทุนในประเทศอินเดีย รวมถึงไต้หวัน           สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2568 บริษัทฯ จะมุ้งเน้นการบริหารจัดการพลังงาน ทั้งไฟฟ้าและไอน้ำให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรมได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง ผ่านการดำเนินกลยุทธ์ 4 เสาหลัก ประกอบด้วย Strengthen and Expand the Core มุ่งเน้นสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจการผลิตและส่งจ่าย สาธารณูปการให้เป็นเลิศ (Best-in-Class Strategy) Scale-up Green Energy มุ่งเน้นการขยายธุรกิจไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานหมุนเวียนร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Renewable Hybrid System) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ New S-curve มุ่งเน้นการพัฒนาด้วยการลงทุนด้านนวัตกรรม New S-curves ในหลายรูปแบบ เพื่อเพิ่มรายได้ และรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจพลังงานและธุรกิจไฟฟ้าในอนาคต Shift to Customer-centric Solutions มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจในรูปแบบการผลิตไฟฟ้าแบบกระจาย ศูนย์ (Distributed Generation) ระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์ (District Cooling System) และการบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management Services) ภายใต้นวัตกรรมพลังงานเพื่อธุรกิจ (Smart Power Solution Business) โดยมีเป้าหมายเพื่อ ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มเสถียรภาพทางด้านพลังงานให้แก่ผู้ใช้บริการไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (Commercial) และอุตสาหกรรม (Industrial)           นอกจากนี้ยังมุงเน้นการบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ และการดำเนินโครงการต่างๆ เช่น การบริหารจัดการพอร์ตการลงทุน เพื่อสนับสนุนผลประกอบการให้เติบโต           บริษัทฯ ประเมินอัตราค่าไฟฟ้า (Ft) ในไตรมาส 1/2568 จะอยู่ที่ 36.72 สตางค์ต่อหน่วย ขณะที่ภาพทั้งปี 2568 คาดอยู่ที่ 19.72-36.72 สตางค์ต่อหน่วย , ราคาก๊าซธรรมชาติ คาดว่าทั้งปีนี้จะอยู่ในกรอบ 330-340 บาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเทียบกับปีก่อน, ราคาถ่านหิน คาดว่าจะอยู่ที่ 120-130 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ส่วนความต้องการใช้ไฟฟ้าของลูกค้าอุตสาหกรรม คาดทรงตัวถึงปรับลดลงเล็กน้อย เป็นไปตามการดำเนินงานของลูกค้า และอัตราแลกเปลี่ยน คาดทรงตัวในกรอบ 35 บาท/ดอลลาร์ เมื่อเทียบกับปีก่อน

GPSC - DELTA บรรลุข้อตกลง ศึกษาพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน มุ่งลดคาร์บอน

GPSC - DELTA บรรลุข้อตกลง ศึกษาพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน มุ่งลดคาร์บอน

          GPSC – DELTA  บรรลุข้อตกลงร่วมมือศึกษาการจัดหาไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ทั้งรูปแบบ On-site และภายใต้ Direct PPA หรือผ่าน TPA พร้อมเดินหน้าสู่ RE 100 ด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมพลังงาน เพื่อการบริหารจัดการพลังงานครบวงจร และเป็นเครื่องมือสำคัญของภาคการผลิตและส่งออกสินค้าคาร์บอนต่ำ รับมือกติกาการค้าโลกเข้มข้น ใช้สินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม             นายมนัสชัย คงรักษ์กวิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ GPSC ได้ร่วมลงนามความร่วมมือศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดหาพลังงานหมุนเวียน หรือแสวงหาโอกาสการพัฒนาแนวทางการลดการปลดปล่อยคาร์บอนฯ ร่วมกับนวัตกรรมด้านการจัดการพลังงาน ผ่านสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง (Direct Power Purchase Agreement: Direct PPA) และ/หรือ ผ่านการขอใช้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม (Third Party Access: TPA) กับ นายแจ็คกี้ จาง ประธานฝ่ายบริหารและปฏิบัติการ (COO) และ นายเคอร์ติส คู ผู้อำนวยการธุรกิจประจำประเทศไทย บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA  ผู้นำระดับโลกด้านการจัดการพลังงานและผู้ให้บริการโซลูชันสีเขียวอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย IoT โดย GPSC จะเป็นผู้จัดหาพลังงานหมุนเวียนด้วยนวัตกรรมและโซลูชั่นต่างๆ ด้านการบริหารจัดการพลังงานอย่างครบวงจร เป็นไปตามนโยบายของ เดลต้า ที่มีความต้องการใช้พลังงานหมุนเวียนให้ได้ 100% (RE 100) สู่เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ตั้งเป้าไว้ในปี 2573           สำหรับแผนการศึกษาในครั้งนี้ จะพิจารณาพลังงานหมุนเวียน และการใช้น้ำเย็นคาร์บอนต่ำที่เหมาะสม ซึ่งสามารถนำมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีด้านจัดการพลังงาน ที่จะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานที่มีเสถียรภาพในการป้อนกำลังไฟฟ้าเพื่อการผลิต ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ระบบกักเก็บพลังงาน พร้อมด้วยการวางระบบส่งและโซลูชันด้านการบริหารจัดการพลังงานอย่างครบวงจร บริหารจัดการต้นทุนด้านพลังงาน และเป็นไปตามข้อกำหนดการส่งออกไปยังต่างประเทศ ป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิต ทั้งนี้ GPSC และ เดลต้า จะพัฒนาโครงการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) เพื่อเดินหน้าสู่การลดคาร์บอนฯ ร่วมกัน           “GPSC ในฐานะองค์กรชั้นนำด้านนวัตกรรมพลังงาน มุ่งมั่นเติบโตในพลังงานหมุนเวียน ที่มีความเชี่ยวชาญ ทั้งเทคโนโลยี และการบริการโซลูชัน พร้อมให้บริการในการออกแบบเชิงบูรณาการให้สอดรับความต้องการของลูกค้า ซึ่งสอดคล้องกับสองกลยุทธ์ทางธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่ S2 Scale-Up Green Energy และ S4 Shift to Customer-Centric Solutions  จากกลยุทธ์ 4S ซึ่งประกอบด้วย S1 สร้างความแข็งแกร่งพร้อมขยายการให้บริการให้ธุรกิจหลัก (Strengthen and Expand the Core)  S2 การพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียน (Scale-Up Green Energy) S3 การลงทุนด้านนวัตกรรมจากธุรกิจใหม่ (New S-curve) และ S4 บริการโซลูชันด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า (Shift to Customer-Centric Solutions) อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาแหล่งผลิตพลังงานหมุนเวียนประเภทต่างๆ ตามเป้าหมายที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้พลังงานหมุนเวียนของ เดลต้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นายมนัสชัย กล่าว           นายแจ็คกี้ จาง ประธานฝ่ายบริหารและปฏิบัติการ (COO) ของบริษัทเดลต้า ประเทศไทย กล่าว “ความยั่งยืนคือหัวใจของเดลต้า เรามุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจโดยใช้นวัตกรรมและให้ความสำคัญกับการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งในยุคที่มีความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดคือพันธกิจสำคัญของเรา โดยเรามุ่งหวังใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2573 และบรรลุเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2593 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมของเดลต้า เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับการยอมรับจากดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ เช่นเดียวกับ GPSC ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงเจตนารมณ์เดียวกันของทั้งสองบริษัทในการสร้างความยั่งยืน ความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพด้านพลังงานสะอาด การจัดเก็บพลังงาน และผลักดันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน”           จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมต้องปรับเปลี่ยนการใช้พลังงาน โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน หรือพลังงานสะอาดมากขึ้น รวมถึงปัจจัยทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลต่อราคาพลังงานให้มีความผันผวนในระดับสูง และข้อกำหนดการค้าระหว่างประเทศที่เข้มข้นในเรื่องการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ผู้ประกอบการผลิตสินค้าต้องแสวงหาการพัฒนาพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งปัจจุบัน GPSC มีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางด้านพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม สอดรับกับผู้ประกอบที่แสวงหานวัตกรรมการผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและบริบทใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เดลต้า  อีเลคโทรนิคส์ ในฐานะพลเมืององค์กรระดับโลกและผู้นำด้านการจัดการพลังงานและความร้อน เดินหน้าพัฒนาโซลูชันที่เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พลังงานยั่งยืนเข้าถึงได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  โดยบริษัทไม่ได้เพียงแต่อิงตามกระแสเท่านั้น แต่ยังมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์กำลังขั้นสูง ที่จะช่วยส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ระบบจัดเก็บพลังงานอัจฉริยะ และระบบการจัดการพลังงานที่ตอบโจทย์ความต้องการในปัจจุบัน ด้วยความร่วมมือกับ GPSC เดลต้ามุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมให้กับภาคอุตสาหกรรมและชุมชนสู่อนาคตที่ยั่งยืน

GPSC กำไรปี 67 ที่ 4,062 พันล. รุกเป้า Net Zero โชว์แกร่งปันผล 0.45 บาท

GPSC กำไรปี 67 ที่ 4,062 พันล. รุกเป้า Net Zero โชว์แกร่งปันผล 0.45 บาท

          GPSC โชว์ศักยภาพขับเคลื่อนความมั่นคงทางพลังงาน (Reliability) สะท้อนผ่านกำไรสุทธิปี 2567 อยู่ที่ 4,062 ล้านบาท พร้อมโชว์ศักยภาพความแข็งแกร่งประกาศจ่ายปันผลอีก 0.45 บาทต่อหุ้นในเดือนเมษายนนี้ เดินหน้ารุกตลาดเทคโนโลยีนวัตกรรมพลังงานสู่เป้าหมาย Net Zero ร่วมกับกลุ่ม ปตท. ในฐานะผู้ส่งมอบพลังงานสะอาด รองรับตลาดพลังงานแห่งอนาคต และขยายการลงทุนธุรกิจเกี่ยวข้องในอินเดียอย่างต่อเนื่อง           นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานปี 2567 บริษัทฯ มีรายได้รวมทั้งสิ้น 90,730 ล้านบาท ลดลง 0.4% ขณะที่มี EBITDA รวมทั้งสิ้น 19,009 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับปี 2566 (YoY) ส่งผลให้กำไรสุทธิอยู่ที่ 4,062 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% โดยผลการดำเนินงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มาจากกำไรขั้นต้นที่เพิ่มขึ้นจากปริมาณการขายทั้งไอน้ำและไฟฟ้าที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง อีกทั้งการบริหารจัดการเชื้อเพลิงทั้งก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างเป็นเลิศ แม้ว่าค่าไฟฟ้าผันแปร (ft) ในกลุ่มอุตสาหกรรมจะลดลงก็ตาม โดยส่วนใหญ่ของผลิตภัณฑ์ไอน้ำ และไฟฟ้า สามารถส่งผ่านต้นทุนได้           “จากผลประกอบการของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ประจำปี 2567 บริษัทฯ ยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซี่งคณะกรรมการฯ มีมติจ่ายเงินปันผล จำนวน 0.90 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็นเงินปันผลต่อกำไรสุทธิ 62.5% ประกอบด้วยการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปี 2567 จำนวน 0.45 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,268,878,215 บาท ซึ่งได้จ่ายแล้วเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 และเงินปันผลสำหรับงวด 6 เดือนหลังของปี 2567 จำนวน 0.45 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น1,268,878,215 บาท มีกำหนดจะจ่ายเงินปันผลดังกล่าว ในวันที่ 23 เมษายน 2568 โดยบริษัทฯ มีแผนจ่ายเงินปันผลดังกล่าวเมื่อได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568” นายวรวัฒน์กล่าว           ทั้งนี้ นอกจากการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน (Reliability) ให้แก่ธุรกิจและอุตสาหกรรมในประเทศแล้ว GPSC ยังมุ่งมั่นพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีการเติบโตของความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในระดับสูงมาก โดยเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในอินเดีย ซึ่งในปัจจุบันทางภาครัฐของอินเดียให้การสนับสนุน ทั้งในด้านการพัฒนาระบบสายส่งและการเปิดใช้งาน Third Party Access (TPA) ต่อยอดเทคโนโลยีจ่ายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้ 24 ชั่วโมง เพื่อรองรับไฟฟ้าสะอาด การส่งเสริม supply chain ภายในประเทศเพื่อลดการพึ่งพาต่างชาติและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงการให้การสนับสนุนงบลงทุน (CAPEX) เพื่อลดต้นทุน และเร่งการพัฒนาโครงการพลังงานสะอาดตามเป้าหมายของประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยเสริมศักยภาพของ GPSC ในตลาดพลังงานหมุนเวียนระดับสากล ผ่านการถือหุ้นใน AEPL สัดส่วน 42.93 % ของทุนทั้งหมด โดยเป็นโครงการที่ชนะการประมูล และมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 20,399 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโครงการที่สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบแล้ว 37 โครงการ กำลังผลิต 4,696 เมกะวัตต์ โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 โครงการ กำลังผลิต 2,052 เมกะวัตต์ คาดว่าจะสามารถจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2568-2569 และมีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา 23 โครงการ กำลังผลิต 13,651 เมกะวัตต์ คาดว่าจะสามารถผลิตและป้อนเข้าระบบได้ในปี 2568-2570           อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ด้วยเป้าหมายการพัฒนานวัตกรรมพลังงานสู่ Net Zero Emissions ทั้งการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ผ่านความร่วมมือการพัฒนาโครงการต่างๆ ร่วมกับบริษัทในกลุ่ม ปตท. เพื่อมุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และเตรียมความพร้อมในการลดความเข้มข้นของคาร์บอนในภาคสาธารณูปโภค (Utility Carbon Intensity) ให้กับลูกค้าอุตสาหกรรม เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก และรองรับมาตรการ CBAM ซึ่งจะสอดคล้องกับกฎระเบียบด้านภาษีคาร์บอนในอนาคต [PR News]

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

GPSC งบ Q4 สูงกว่าโบรกคาด ชี้เป้าที่ 34.00 บ.

GPSC งบ Q4 สูงกว่าโบรกคาด ชี้เป้าที่ 34.00 บ.

         หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี ประเมินผลประกอบการ 4Q24 โดยมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น109% yoy และ 30% qoq ออกมาสงูกว่าที่ฝ่ายวิจัยคาด จากรายได้จากกาดำเนินงาน รายได้อื่นและส่วนแบ่งกำไรที่สูงกว่าที่คาด ขณะที่กำไรสุทธิทั้งปี 24 ก็สูงกว่าที่คาดเช่นกัน โดยกำไรสุทธิอยู่ที่4 พันล้านบาท และกำไรหลักอยู่ที่6.1 พันล้านบาท หนุนจากการเติบโตของรายได้จาก GHECO-One ในขณะที่เงินชดเชยประกันภัยช่วยเพิ่มรายได้อื่นๆ คงประมาณการกำไรปี2025-26F และราคา เป้าหมายที่ 34 บาท คงคำแนะนำ ซื้อ

GPSC ปี 67 กำไรสุทธิโต 10% แตะ 4 พันลบ.

GPSC ปี 67 กำไรสุทธิโต 10% แตะ 4 พันลบ.

       หุ้นวิชั่น - บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) เปิดเผยผลประกอบการสำหรับปี 2567 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้จากการดำเนินงานรวม 90,730 ล้านบาท ลดลง 349 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีรายได้จากการดำเนินงานรวม 91,079 ล้านบาท ในส่วนของค่าใช้จ่าย มีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 88,106 ล้านบาท (รวมขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน) มีรายได้จากการดำเนินงานอื่น รายได้อื่น เงินปันผลและส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า จำนวน 2,147 ล้านบาท        ทำให้บริษัทฯ มีกำไรสุทธิในปี 2567 จำนวน 4,062 ล้านบาท หรือคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 1.44 บาท เพิ่มขึ้น 368 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 10% จากปี 2566 ที่มีกำไรสุทธิ 3,694 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 288,136 ล้านบาท และมีหนี้สินรวม 129,992 ล้านบาท และมีส่วนของผู้ถือหุ้น 119,142 ล้านบาท โดยมีอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 0.87 เท่า ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายทางการเงินของบริษัท

จับตา GPSC 4Q24 เติบโตเด่น Bloomberg ให้เป้า 40.56 บาท

จับตา GPSC 4Q24 เติบโตเด่น Bloomberg ให้เป้า 40.56 บาท

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด ระบุถึง GPSC ว่า แนวโน้มผลงาน 4Q24 เติบโตเด่น            แนวโน้มผลประกอบการ 4Q24 จาก Bloomberg ราว 1.0-1.1 พันล้านบาท ขยายตัว QoQ และ YoY เนื่องจาก 1. ต้นทุนก๊าซธรรมชาติ และราคาถ่านหินที่ลดลง ในขณะที่ค่า Ft ยังคงที่ 4.18 บาท/หน่วย จากไตรมาสก่อน ทำให้แนวโน้ม margin ของโรงไฟฟ้า SPP ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับ 25% (จาก 3Q24 ที่23%) 2. ปริมาณการขายไฟที่เพิ่มขึ้นจากโรงไฟฟ้าเก็คโค-1 กลับมาเดินเครื่องเกือบเต็มไตรมาส หลังปิดซ่อมตามแผนใน 3Q24 3. รับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากโครงการไซยะบุรีที่ดีขึ้น จากการดำเนินงานที่ราบรื่น ไม่มีการหยุดการดำเนินงาน ส่วนภาพทั้งปีคาดการณ์ที่ 4.2 พันล้านบาท +12%YoY            สำหรับแนวโน้มปี 25F ยังมีปัจจัยบวลบผสมผสานกัน โดยมีปัจจัยหนุนจากการปรับเพิ่มสัญญา Gas-linked ของลูกค้าแตะระดับ 70% และพร้อมขานรับการย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศมากขึ้น นอกจากนี้ยังประเมินการกลับมาดำเนินงานอย่างราบรื่นของโครงการไซยะบุรี รวมถึงโครงการร่วมทุน อื่นๆ และการขยายธุรกิจไปยังอินเดีย (Avaada) ส่วนปัจจัยลบ โอกาสในการปรับลดค่า Ft ในปีนี้ยังมีอยู่            ในเชิง sentiment รับปัจจัยบวกจาก GPSC ถูกเพิ่มเข้าสู่ดัชนี MSCI Global Small Cap ซึ่งจะปรับน้ำหนักดัชนีในวันที่ 28 ก.พ. และตลาดได้ปรับลดประมาณการกำไรในปี 24-25F พอสมควรแล้ว โดยราคาเป้าหมายเฉลี่ยปัจจุบันจาก Bloomberg อยู่ที่ 40.56 บาท            แนวรับ 27/25.75 ไม่ควรต่ำกว่าลงมา แนวต้าน 28/30/31

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

GPSC คาดกำไรปี67 โต 54% ต้นทุนก๊าซลด - ส่วนแบ่งกำไรไซยะบุรี หนุน

GPSC คาดกำไรปี67 โต 54% ต้นทุนก๊าซลด - ส่วนแบ่งกำไรไซยะบุรี หนุน

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ คาด GPSC กำไรปกติ 4Q67F เพิ่มขึ้นเด่นทั้ง QoQ, YoY ตาม GP ของ SPP เพิ่มขึ้น ทั้ง QoQ, YoY ตามต้นทุนก๊าซลดลง + ส่วนแบ่งกำไรจากไซยะบุรีเพิ่มขึ้นมาก ทำให้กำไรปกติทั้งปี +54% YoY           คาดกำไรปกติทั้งปี FY68F ยังแข็งแกร่ง ด้วยตัวช่วยของส่วนแบ่งกำไรจากไซยะบุรีและการ COD ของ CFXD ซึ่งคาดช่วยชดเชยการปรับลดค่าไฟฟ้า           ราคาหุ้นที่ลดลง -31% YTD สะท้อน Sentiment เชิงลบต่อนโยบายลดค่าไฟฟ้าไปแล้ว           แนวรับ = 25.5/26 แนวต้าน = 28.5/29.5           GPSC | ซื้อ | TP=44 บ.

GPSC รุกไฟฟ้าสีเขียว รับเทรนด์ Net Zero

GPSC รุกไฟฟ้าสีเขียว รับเทรนด์ Net Zero

           หุ้นวิชั่น - GPSC เปิดเกมรุกปี 68 ดึงกลยุทธ์ S4 เจาะตลาด REC ซื้อ-ขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ส่งตรงลูกค้าผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เดินหน้าพัฒนาสินค้าคาร์บอนต่ำ รับกระแสการค้าโลกเปลี่ยนแปลง มุ่งสู่ Net Zero Emissions            นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า แนวโน้มของความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งจำเป็นต้องมีแผนการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาด สอดรับกับกระแสโลกที่มุ่งสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจุบัน GPSC จึงได้พัฒนาการเสนอขายใบรับรองการผลิตไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate : REC) จากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเข้าถึงพลังงานหมุนเวียนในภาคอุตสาหกรรม            ล่าสุด GPSC ได้มีการลงนามในสัญญาการซื้อขาย REC กับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งเป็นสัญญาการรับซื้อ REC จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในจังหวัดระยอง ระยะเวลา 3 ปี ถือเป็นก้าวสำคัญในการรุกตลาด REC ภายใต้มาตรฐาน I-REC (International Renewable Energy Certificate) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสามารถนำไปลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Scope 2) และเป็นกลไกที่สำคัญช่วยผลักดันการใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม            ความร่วมมือในการซื้อขาย REC ครั้งนี้ จะนำไปสู่แนวทางการขยายปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นในอนาคต รวมทั้งการซื้อขายในปัจจุบันกับกลุ่มลูกค้าของ GPSC ไปสู่การขยายตลาดไปยังลูกค้าในกลุ่มอื่นๆ ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงพลังงานหมุนเวียนได้ง่ายขึ้น และยังคงรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันผลิตสินค้าและการส่งออกสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคที่มีมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM)            แนวทางของการพัฒนาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ที่มีการรับรอง REC เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ S4 ของ GPSC ในด้าน Shift to Customer-Centric Solutions ที่มุ่งการให้บริการโซลูชั่น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญทั้งในด้านการผลิตไฟฟ้าและสาธารณูปโภค เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันภายใต้กฎทางการค้าโลกที่มุ่งสู่ Net Zero Emissions โดยเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ 4S ซึ่งประกอบด้วย S1 สร้างความแข็งแกร่งพร้อมขยายการให้บริการให้ธุรกิจหลัก (Strengthen and Expand the Core) S2 การพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียน (Scale-Up Green Energy) S3 การลงทุนด้านนวัตกรรมจากธุรกิจใหม่ (New S-curve) และ S4 บริการโซลูชั่นด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า (Shift to Customer-Centric Solutions)

GPSC คาดกำไรปี68 แกร่ง ไซยะบุรี - COD หนุน โบรกเคาะเป้า 44 บ.

GPSC คาดกำไรปี68 แกร่ง ไซยะบุรี - COD หนุน โบรกเคาะเป้า 44 บ.

         หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.แลนด์ แอนด์ เฮาส์ คาดกำไรปกติ 4Q67F เพิ่มขึ้นเด่นทั้ง QoQ, YoY ตาม GP ของ SPP เพิ่มขึ้นทั้ง QoQ, YoY ตามต้นทุนก๊าซลดลง + ส่วนแบ่งกำไรจากไซยะบุรีเพิ่มขึ้นมาก ทำให้กำไรปกติทั้งปี +54%YoY คาดกำไรปกติทั้งปี FY68F ยังแข็งแกร่ง ด้วยตัวช่วยของส่วนแบ่งกำไรจากไซยะบุรีและการ COD ของ CFXD ซึ่งคาดช่วยชดเชยการปรับลดค่าไฟฟ้า ราคาหุ้นที่ลดลง -26%YTD สะท้อน Sentiment เชิงลบต่อนโยบายลดค่าไฟฟ้าไปแล้ว แนวรับ = 27/27.5 แนวต้าน = 30.5/32 GPSC | ซื้อ | TP=44 บ.

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

[Vision Exclusive] GPSC เตรียมแผนรับมือ Ft - ดีล M&A

[Vision Exclusive] GPSC เตรียมแผนรับมือ Ft - ดีล M&A

          หุ้นวิชั่น - GPSC เตรียมรับมือนโยบายค่า FT ปี 68 คาดผันผวนตลอดปี พร้อมรักษาความสามารถในการทำกำไร เดินหน้าขยายธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ด้านโครงการ AEPL จ่ายฟ้าเข้าระบบ17-18 กิกะวัตต์ (GWh) และ มีแผน M&A ต่อเนื่อง โบรกมองQ4/67 คาดกำไรสุทธิ 898 ลบ. พุ่ง 88% กำไรปกติทั้งปี 67 คาดอยู่ที่ 4.3 พันล้านบาท เติบโต 28% ผลการดำเนินงานโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็ก (SPP) ที่ดีขึ้นตามต้นทุนก๊าซที่ลดลง           นักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) เปิดเผยกับทีมข่าวหุ้นวิชั่น ว่า บริษัทฯ ได้เตรียมแผนรับมือนโยบายค่าไฟฟ้า (FT) ของภาครัฐ ที่คาดว่าจะมีความผันผวนตลอดทั้งปีนี้ เพื่อรักษาระดับความสามารถในการทำกำไร ผ่านการเข้าไปเจรจา เพื่อทำความเข้าใจถึงแนวโน้มค่าไฟฟ้า กับทางลูกค้าอุตสาหกรรม เนื่องปัจจุบัน GPSC มีสัดส่วนรายได้จากการขายไฟฟ้าให้ลูกค้าดังกล่าวอยู่ราว 28%           “มองว่าแนวโน้มนโยบายค่า FT ในปีนี้น่าจะมีความผันผวนอยู่พอสมควร ซึ่งเราก็ยอมรับว่าเราได้รับผลกระทบ แต่บริษัทได้มีแผนเตรียมรับมือเอาไว้ บริหารจัดการลูกค้า รวมถึงเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และพยายามพูดคุยกับลูกค้าถึงแนวโน้มค่าไฟฟ้าที่มีความผันผวน โดยบริษัทมีความพยายามที่จะรักษาความสามารถในการทำกำไรเอาไว้ และควบคุมต้นทุนภายใน” นักลงทุนสัมพันธ์ กล่าว           สำหรับแผนการดำเนินงานในปีนี้ บริษัทฯ จะมีกำลังการผลิตใหม่ จากการจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในอินเดีย (Avaada Energy Private Limited :AEPL) รวม 17-18 กิกะวัตต์ (GWh) นอกจากนี้ยังมีแผนเข้าซื้อกิจการ (M&A) โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันก็อยู่ระหว่างการพิจารณาหลายโครงการ อย่างไรก็ตามหากมีความคืบหน้า หรือมีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว บริษัทฯ จะแจ้งให้กับนักลงทุนทราบต่อไป กลยุทธ์การดำเนินงานในปี 68 บริษัทฯ ยังคงมุ่งเน้นแผนกลยุทธ์ 4S ประกอบด้วย           กลยุทธ์ที่ 1 (Strengthen and Expand the Core) มุ่งเน้นสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจการผลิตและส่งจ่าย สาธารณูปการให้เป็นเลิศ (Best-in-Class Strategy) ในระดับสากลภายในปี 2568 โดยใช้ระบบปฏิบัติการสู่ความเป็นเลิศ หรือ Operation Excellence Management System (OEMS) ของกลุ่ม ปตท. เป็นเครื่องมือในการดำเนินการ เพื่อตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้หลักการให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง สามารถรักษาฐานลูกค้าปัจจุบัน พร้อมทั้ง ขยายฐานลูกค้าเพิ่มเติมในอนาคต และสร้างความพึงพอใจให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมุ่งเน้นความเป็นเลิศ ใน 4 ด้าน ได้แก่ ความปลอดภัย (Safety) ความมีเสถียรภาพ (Reliability) ความสามารถในการทำกำไร (Profitability) และความยั่งยืน (Sustainability) ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงการลดความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การบริหารจัดการโรงไฟฟ้าที่จะหมด สัญญาและการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรเพื่อรองรับธุรกิจไฟฟ้าในอนาคต รวมถึงการขยายธุรกิจไปสู่สาธารณูปโภคชนิดอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องด้วย (Expansionintoadjacent business)           กลยุทธ์ที่ 2 (Scale-up Green Energy) : มุ่งเน้นการขยายธุรกิจไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานหมุนเวียนร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Renewable Hybrid System) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยในประเทศจะมีการลงทุนเพื่อตอบโจทย์แผนพัฒนากาลัง ผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan : PDP) และการลงทุนในรูปแบบ Direct Power Purchase Agreement (Direct PPA) ผ่านการเปิดใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม (Third Party Access : TPA) ในอนาคต เพื่อตอบโจทย์ ลูกค้าที่ต้องการพลังงานสะอาด ในขณะที่การพัฒนาธุรกิจในต่างประเทศ บริษัทฯจะเน้นการลงทุนในประเทศเป้าหมายซึ่งมีการ ขยายตัวของความต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดสูงและมีนโยบายสนับสนุนที่ดีจากภาครัฐ ได้แก่ อินเดีย จีน และไต้หวัน           ลยุทธ์ที่ 3 (New S-curve) : มุ่งเน้นการพัฒนาด้วยการลงทุนด้านนวัตกรรม New S-curves ในหลายรูปแบบ เพื่อเพิ่มรายได้ และรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจพลังงานและธุรกิจไฟฟ้าในอนาคตที่สำคัญ ได้แก่ ธุรกิจ Renewable Value Chain เนื่องจากรัฐบาลในหลายประเทศมีนโยบายสนับสนุน นอกจากนี้ บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการศึกษาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดเพื่อลดระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonized Solutions) เพื่อต่อยอดจากการใช้พลังงานหมุนเวียนซึ่งจะมีข้อจำกัดในด้านเสถียรภาพ โดยบริษัทฯ จะร่วมกับพันธมิตรในการศึกษา ระบบผลิต ไฟฟ้าแบบ Base Load ที่มีความจำเป็นสำหรับการรักษาเสถียรภาพของการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ เช่น เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage : CCUS) ไฮโดรเจน (Hydrogen) และ โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในรูปแบบ Small Modular Reactor (SMR)           กลยุทธ์ที่ 4 (Shift to Customer-centric Solutions) : มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจในรูปแบบการผลิตไฟฟ้าแบบกระจาย ศูนย์(Distributed Generation) ระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์ (District Cooling System) และการบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management Services) ภายใต้นวัตกรรมพลังงานเพื่อธุรกิจ(Smart Power Solution Business) โดยมีเป้ าหมายเพื่อ ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มเสถียรภาพทางด้านพลังงานให้แก่ผู้ใช้บริการไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (Commercial) และอุตสาหกรรม (Industrial)           บล.กสิกรไทย ระบุ แนวโน้มกำไรปกติไตรมาส 1/2568 คาดว่าจะอยู่ที่ 900 ล้านบาท ถึง 1,000 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้น YoY โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราค่าไฟฟ้าที่ทรงตัว (4.15 บาท/ kWh ในไตรมาส 1/2568 เทียบกับ 4.18 บาท/ kWh ในไตรมาส 1/2567) และต้นทุนก๊าซที่ลดลง ประกอบกับส่วนแบ่งกำไรเต็มไตรมาสจากโครงการ Changfang และ Xidao (CFXD) ซึ่งเป็นโครงการพลังงานลมนอกชายฝั่งของไต้หวัน ซึ่งเริ่มดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบในช่วงปลายปี 2567 *คาดไตรมาส 4/2567 จะเป็นไตรมาสที่ดีสำหรับช่วงโลว์ซีซั่น           ฝ่ายวิจัยคาด GPSC จะรายงานงบการเงินไตรมาส 4/2567 ในวันที่ 17 ก.พ. ด้วยกำไรสุทธิที่ 898 ล้านบาท เติบโต 88% YoY และ 17% QoQ เราคาดว่ากำไรปกติจะอยู่ที่ 918 ล้านบาท เติบโต 169% YoY แต่ลดลง 14% QoQ จากปัจจัยฤดูกาล โดยหากกำไรไตรมาส 4/2567 เป็นไปตามคาด กำไรปกติทั้งปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ 4.3 พันล้านบาท เติบโต 28% YoY จากผลการดำเนินงานของกลุ่มโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็ก (SPP) ที่ดีขึ้นตามต้นทุนก๊าซที่ลดลง           ผลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า SPP และโรงไฟฟ้าไซยะบุรีปรับตัวดีขึ้น กำไรปกติที่เติบโตเชิง YoY น่าจะมาจาก 1. ผลการดำเนินงานของกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP ที่ดีขึ้นตามอัตราค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น (อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของไทยอยู่ที่ 4.18 บาท/ kWh ในไตรมาส 4/2567 เทียบกับ 3.99 บาท/ kWh ในไตรมาส 4/2566) และต้นทุนก๊าซที่ลดลงเล็กน้อย และ 2. ผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นของโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี (XPCL) จากปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้น แต่การลดลงของกำไรปกติเชิง QoQ สะท้อนถึงแนวโน้มตามฤดูกาลของอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าในไทย (ปริมาณขายไฟฟ้าลดลง) ซึ่งหักล้างผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นของโรงไฟฟ้า XPCL จากระยะเวลาการปิดซ่อมบำรุงที่น้อยลง (17 วันในไตรมาส 3/2567 ปี 2567)           ปัญหาต้นทุนถ่านหินไม่สอดคล้องกับรายได้ของโรงไฟฟ้า GHECO-One ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โรงไฟฟ้าเก็คโค่-วัน (GHECO-One) ยังคงเผชิญปัญหาต้นทุนถ่านหินที่ไม่สอดคล้องกับรายได้ โดยคาดว่าจะมีผลกระทบราว 300 ล้านบาท ในไตรมาส 4/2567 ซึ่งเป็นระดับเดียวกับในไตรมาส 3/2567 ทั้งนี้โรงไฟฟ้ามีการปิดดำเนินการอีกครั้ง โดยมีการถูกสั่งการหยุดเดินเครื่องจาก กฟผ. (Reserved shutdown) ตั้งแต่ปลายเดือน ธ.ค.2567 ถึงเดือน ก.พ.2568 โดยความไม่สอดคล้องดังกล่าวจะคงอยู่ต่อไปในช่วงครึ่งแรกของปี 2568 โดยการไม่สอดคล้องกันของราคาถ่านหินอาจลดลงได้เมื่อมีการเดินเครื่องอย่างต่อเนื่อง           ยังคงคำแนะนำ ซื้อ แต่อยู่ระหว่างทบทวนประมาณการและสมมติฐาน โดยมีความเสี่ยงขาลงจากนโยบายค่าไฟล่าสุด รายงานโดย : พชรธร ภูมิคำ รองบรรณาธิการข่าว HoonVision

GPSC คาดกำไร Q4/67 โต Q-Q, YoY จากต้นทุนก๊าซลดลง-ราคาขายไฟคงที่

GPSC คาดกำไร Q4/67 โต Q-Q, YoY จากต้นทุนก๊าซลดลง-ราคาขายไฟคงที่

         หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุ คาดกำไร 4Q67 โตทั้ง q-q และ y-y: คาดกำไรในไตรมาส 4/67 อยู่ที่ประมาณ 973 ล้านบาท เติบโตทั้งเทียบไตรมาสก่อนหน้า (q-q) และเทียบปีต่อปี (y-y) โดยปัจจัยหลักมาจากต้นทุนก๊าซที่ลดลง คาดต้นทุนก๊าซลดลง 6% q-q เหลือ 330 บาท/MMBTU ด้านราคาขายไฟ SPP คงที่ q-q ตามค่าไฟ Ft ส่วนปริมาณขายไฟโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น 17% q-q ปัจจัยหนุนหลักมาจากโรงไฟฟ้าเก็คโค่-วัน กลับมาเดินเครื่องเกือบเต็มไตรมาส หลังจากในไตรมาส 3/67 ได้รับคำสั่งหยุดเดินเครื่อง          ทั้งนี้ โรงไฟฟ้า SPP ปรับตัวลงประมาณ -4% q-q เนื่องจากมีโรงงานลูกค้ารายใหญ่ปิดซ่อมตามแผน ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น โดยหลักจากโครงการไซยะบุรีฟื้นตัว q-q เนื่องจากไม่มีผลกระทบจากการหยุดดำเนินการเหมือนใน 3Q67 ด้าน SG&A ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 20% q-q แต่ได้รับการชดเชยจากกำไรอัตราแลกเปลี่ยน โดยรวมทำให้คาดกำไรยังโตทั้ง q-q และ y-y          ระยะสั้นยังไม่น่าสนใจ: ฝ่ายบริหารได้ปรับประมาณการให้มีความระมัดระวังมากขึ้น โดยเฉพาะในด้านนโยบายค่าไฟที่จะถูกกดไว้ที่ 3.7-4.0 บาท และปรับคาดการณ์กำไรปี 68 ลง 4.5% เหลือ 5,400 ล้านบาท รวมถึงปรับราคาพื้นฐานลงจาก 63.00 บาท เหลือ 46.00 บาท เนื่องจากมองว่าในระยะยาวการปรับขึ้นค่าไฟมีโอกาสน้อย ทั้งนี้แม้ในระยะยาวยัง แนะนำ “ซื้อ” เนื่องจากมี upside พอสมควร แต่ในระยะสั้น ฝ่ายบริหารมองว่า GULF จะน่าสนใจมากกว่าตามแนวโน้มผลประกอบการที่ยังเติบโต

GPSC คาดปี67 กำไรตาดคาด 4 พันลบ. โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 39.00 บาท

GPSC คาดปี67 กำไรตาดคาด 4 พันลบ. โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 39.00 บาท

หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.หยวนต้า คาด GPSC 4Q24 จะมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 965 ล้านบาท (+25% QoQ, +102% YoY) เติบโต YoY จากต้นทุนเชื้อเพลิงปรับตัวลง ส่วนเมื่อเทียบกับ 3Q24 จะฟื้นตัว QoQ จากขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนลดลงมาก (เทียบกับขาดทุน FX 258 ล้านบาทใน 3Q24) หากนับเฉพาะผลการดำเนินงานปกติคาดจะทำได้ 1.4 พันล้านบาท (-3% QoQ, +75% YoY) ถือว่าประคองตัว QoQ สาระสำคัญดังนี้ 1. แม้ว่าผลกระทบจากต้นทุนถ่านหิน Coal Mismatch ของโรงไฟฟ้า Gheco-one จะเพิ่มขึ้นราว 100 ล้านบาท หลัง EGAT เรียกรับไฟฟ้าตั้งแต่ 1 ต.ค. – 19 ธ.ค. (เทียบกับ 1 เดือนใน 3Q24) 2. ปริมาณขายไฟฟ้าและไอน้ำของลูกค้าอุตสาหกรรม (IU) ลดลง QoQ เพราะเป็นช่วงปิดซ่อมบำรุงของลูกค้า 3. ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน +20% QoQ ตามปัจจัยฤดูกาล 4. อัตราภาษีจ่ายสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเมินว่ากำไรปกติจะประคองตัวได้ QoQ เพราะ 5) ธุรกิจโรงไฟฟ้า SPP ได้ประโยชน์จากต้นทุนก๊าซธรรมชาติปรับตัวลง -6% QoQ 6) รายได้เงินปันผลรับจากราชบุรีพาวเวอร์ (RPCL) เพิ่มขึ้นราว 100 ล้านบาท 7) รับรู้ประโยชน์การจ่ายคืนเงินกู้ 1.6 หมื่นล้านบาทเต็มไตรมาส (ชำระคืนช่วงเดือน ก.ค.) 8) ส่วนแบ่งกำไรจากโรงไฟฟ้าไซยะบุรี (XPCL) เพิ่มขึ้น QoQ เพราะการผลิตราบรื่น (เทียบกับหยุดเดินเครื่อง 17 วันใน 3Q24)   ปรับลดประมาณการ สะท้อนความเสี่ยงจากนโยบายค่าไฟ หาก 4Q24 เป็นไปตามคาด กำไรสุทธิทั้งปีจะทำได้ 4 พันล้านบาทใกล้เคียงกับประมาณการปี 2024 ของเรา (Upside 5%) สำหรับปี 2025 เราปรับลดคาดการณ์กำไรสุทธิลง 23% เป็น 4.5 พันล้านบาท โดยปรับสมมติฐานหลัก ได้แก่ • ค่าไฟ SPP ลง 5% สะท้อนโอกาสภาครัฐแทรกแซงปรับลดค่าไฟงวดเดือน ม.ค. – เม.ย. เป็น 4.15 บาท/หน่วย, เดือน พ.ค. – ส.ค. เป็น 3.98 บาท/หน่วย, เดือน ก.ย. – ธ.ค. เป็น 3.70 บาท/หน่วย อย่างไรก็ตาม ประเมินผลประกอบการปี 2025 ยังเติบโต YoY จากส่วนแบ่งกำไรโรงไฟฟ้าในต่างประเทศตามการ COD กำลังผลิตใหม่ของ Avaada และ CFXD นอกจากนี้ คาดผลกระทบจากการแทรกแซงค่าไฟฟ้าจะสามารถบรรเทาด้วยการทยอยปรับสัญญาขายไฟฟ้าอ้างอิง Gas Link ของลูกค้าอุตสาหกรรมจากปัจจุบันสัดส่วน 20-25% เป็นมากกว่า 30% ในปี 2027 แม้มีมุมมองบวกน้อยลง แต่ราคาหุ้นสะท้อนปัจจัยลบไปแล้ว คงคำแนะนำ “ซื้อ” เรามีมุมมองบวกต่อหุ้นน้อยลง เพราะเห็นว่าอุตสาหกรรมไฟฟ้าในประเทศเผชิญความเสี่ยงเชิงนโยบายมากขึ้น หลังภาครัฐมีนโยบายปรับลดค่าไฟฟ้า เกิดความเสี่ยงด้านต้นทุน Mismatch และใช้เวลามากขึ้นในการรับรู้ประโยชน์จากการทยอยคืนภาระต้นทุนเชื้อเพลิงคงค้างให้แก่ EGAT อย่างไรก็ตาม เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเหมาะสมใหม่ 39.00 บาท เพราะ 1. ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา GPSC -25% ปัจจุบันซื้อขายบน PBV ที่ 0.8 เท่า (Discount -0.80 SD) ถือว่าสะท้อนปัจจัยลบไปมากแล้ว 2. กลยุทธ์การทยอยปรับสัญญาขายไฟฟ้าเป็น Gas Link จะช่วยลดผลกระทบได้ดีกว่าคู่แข่ง 3. การเติบโตระยะยาวของ GPSC ไม่ได้พึ่งพากำลังผลิตในประเทศเป็นหลัก (คาดรายงานงบการเงินวันที่ 17 ก.พ.)

abs

Hoonvision

[Vision Exclusive] ทุบค่าไฟ 3.70บ.เป็นไปได้ เอกชนขอความเป็นธรรม

[Vision Exclusive] ทุบค่าไฟ 3.70บ.เป็นไปได้ เอกชนขอความเป็นธรรม

          อดีตนายกฯ ทักษิณ ชี้เป้าลดค่าไฟเหลือ 3.70 บาท ผู้เชี่ยวชาญชี้เป็นไปได้แต่ต้องจัดการหนี้ EGAT และลดงบฯ ซึ่งอาจกระทบคุณภาพบริการของการไฟฟ้า ด้านเอกชนเข้าใจนโยบายช่วยประชาชน แต่ขอความเป็นธรรมและสนับสนุนต้นทุนก๊าซ พร้อมเตือนว่าหากนโยบายขาดความสมดุล อาจทำให้เกิดการย้ายการลงทุนไปต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ไทยสูญเสียโอกาสด้านพลังงานในระยะยาว           กลุ่มโรงไฟฟ้า หนาวๆ ร้อนๆ หลัง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยระหว่างขึ้นเวทีปราศรัยระหว่างลงพื้นที่หาเสียงให้ นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงราย เรื่องไฟฟ้า ปีนี้ค่าไฟฟ้าจะต้องลงไปอยู่ที่เลข 3 ไม่ใช่เลข 4 ใจตนอยากให้เหลือหน่วยละ 3.50 บาท แต่คงได้แค่ 3.70 บาท กำลังให้เขาช่วยทุบอยู่ ปีนี้ค่าไฟลงแน่เห็นตัวเลขแล้วทุบได้           ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า เรื่องการลดค่าไฟฟ้ายังต้องมาศึกษารายละเอียดกันอีกที ยังไม่สามารถตอบได้ในขณะนี้           แหล่งข่าวในวงการอุตสาหกรรมพลังงานเปิดเผยว่า สำหรับประเด็นการปรับลดค่าไฟฟ้าลงมาถึงระดับ 3.70 บาทต่อหน่วย ปัจจุบันที่ 4.15 บาทสำหรับงวดม.ค.-เม.ย. 2568 นั้นหากพิจารณาก็มีความเป็นไปได้ โดยจะต้องขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการ ทั้งในส่วนของการบริหารจัดการหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งปัจจุบันมียอดหนี้ค้างค่าไฟอยู่ที่ประมาณ 80,000 ล้านบาท หากรัฐนำภาระหนี้ดังกล่าวไปบริหารจัดการเอง วิธีนี้จะช่วยให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าลดลงได้           นอกจากนี้ การสนับสนุนโรงไฟฟ้าที่ได้รับสัญญาสัมปทานในรูปแบบ Adder ซึ่งกำลังจะหมดอายุลงก็จะช่วยลดภาระการสนับสนุนในส่วนนี้ด้วย ทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงมาอยู่ในช่วง 3.80-3.90 บาทต่อหน่วยได้ อย่างไรก็ตาม หากต้องการลดค่าไฟฟ้าให้ต่ำกว่าระดับดังกล่าว หน่วยงานการไฟฟ้าทั้งสามแห่งอาจต้องลดงบประมาณในโครงการบางส่วนหรือปรับลดค่าใช้จ่ายในบางด้าน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพการให้บริการโดยรวม ทั้งนี้ การตัดสินใจลดค่าไฟฟ้าจำเป็นต้องพิจารณาควบคู่กับประเด็นด้านคุณภาพการบริหารจัดการและความมั่นคงของระบบไฟฟ้า เพื่อให้สามารถให้บริการไฟฟ้าอย่างทั่วถึงและครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ           สำหรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้าเอกชน พบว่าโรงไฟฟ้าประเภท IPP (Independent Power Producer) หรือโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ยังไม่ได้รับผลกระทบในขณะนี้ เนื่องจากสัญญาระหว่างโรงไฟฟ้าเอกชนและภาครัฐยังคงดำเนินต่อไปตามปกติ อีกทั้งยังต้องจ่ายค่า AP หรือ ค่าความพร้อมจ่าย ซึ่งเป็นค่าที่ภาครัฐจ่ายให้เพื่อให้โรงไฟฟ้าเตรียมพร้อมเดินเครื่องสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าตามความต้องการ ถือเป็นส่วนสำคัญในโครงสร้างของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ง่าย           ในส่วนของโรงไฟฟ้าประเภท SPP หรือโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก อาจได้รับผลกระทบมากกว่า โดยที่ผ่านมาโรงไฟฟ้า SPP มักได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น ไม่ต้องเสียค่าสายส่ง เพื่อให้สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างมีเสถียรภาพสำหรับลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม หากมีการปรับลดค่าไฟฟ้าในภาพรวม โรงไฟฟ้า SPP อาจจำเป็นต้องปรับราคาซื้อขายไฟฟ้าในระบบตามไปด้วย ซึ่งอาจส่งผลต่อรายได้ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ยังคงต้องรอความชัดเจนจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปว่าจะมีการดำเนินการในทิศทางใดต่อการบริหารจัดการค่าไฟฟ้าในภาพรวม           ขณะที่ บริษัทโรงไฟฟ้าเอกชนแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นการลดค่าไฟฟ้าว่า ภาคเอกชนเข้าใจถึงความจำเป็นของภาครัฐในการลดภาระค่าไฟฟ้าเพื่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม เอกชนต้องการให้ภาครัฐพิจารณาอย่างเป็นธรรมและให้ความช่วยเหลือในด้านต้นทุน เช่น ต้นทุนก๊าซธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากโรงไฟฟ้าถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ มีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ           ทั้งนี้ หากภาคเอกชนต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในเชิงนโยบาย อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการเลือกกระจายความเสี่ยงไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาสในการพัฒนาและขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานในระยะยาว จึงจำเป็นต้องมีความร่วมมือที่สมดุลระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบพลังงานของประเทศ           ในด้านมุมมอง นักวิเคราะห์ บล.บัวหลวง ระบุถึง การลดค่าไฟทั่วประเทศเหลือ 3.70 บาท มีความซับซ้อนและใช้งบประมาณมหาศาล จึงมีแนวโน้มที่นโยบายนี้จะไม่เกิดขึ้นในลักษณะ "Across the Board"  ทั้งนี้ คาดว่ารัฐบาลอาจเลือกช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วย ซึ่งจะกระทบโครงสร้างพลังงานน้อย  หากการลดค่าไฟเกิดขึ้นเฉพาะกลุ่มเปราะบาง หรือเป็นการปรับลดผ่านโครงสร้างราคาก๊าซ ก็จะไม่มีผลกระทบต่อกำไรของ SPP โดย ค่าไฟงวดใหม่ อาจประกาศช่วงต้นเม.ย. ซึ่งเกิดหลังเลือกตั้ง อบจ. อาจสะท้อนนโยบายที่สมดุลและเป็นไปได้มากกว่า ความกังวลระยะสั้นอาจเป็นโอกาสในการเข้าลงทุน หากหุ้นกลุ่มนี้ถูกปรับฐานลงแรงเกินไปจากข่าว           ส่วนบริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) คาดว่าอาจมีความเป็นไปได้ไม่มากที่รัฐบาลจะปรับลดค่าไฟฟ้า เนื่องจาก EGAT ได้แบกรับภาระค่า Ft เกือบ 1 แสนล้านบาทแล้ว และการปรับลดค่าไฟฟ้าตามข้อเสนอจะเพิ่มภาระดังกล่าวอีกกว่า 2 หมื่นล้านบาท และทำให้การชำระหนี้ของ EGAT ล่าช้าออกไปนานกว่าสองปี นอกจากนี้ เราคาดการณ์ว่าต้นทุนค่าก๊าซจะลดลง 3-6% เมื่อเทียบกับปีก่อน มาอยู่ที่ประมาณ 330 บาท/mmBTU ในปี 2025 ซึ่งต่ำกว่าอัตราการลดลงของค่าไฟฟ้าที่เสนอ (-11% จากงวด ม.ค.-เม.ย. 2025) ความแตกต่างนี้จะกดดันอัตรากำไร IU ของหุ้นกลุ่ม SPP มากยิ่งขึ้น หากไม่มีมาตรการช่วยเหลือหรือเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ได้ทำการวิเคราะห์ความอ่อนไหว (sensitivity analysis) ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการลดค่า Ft ลง 1 สตางค์ต่อหน่วย จะลดกำไรของ BGRIM ลง 1.4% จากกรณีฐาน และ GPSC ลดลง 1.1% ส่วน GULF จะได้รับผลกระทบน้อยกว่า เนื่องจากสัดส่วนของ SPP ไม่สูงมาก (คิดเป็น 17% ของกำลังการผลิตส่วนของบริษัทที่ติดตั้งทั้งหมด ณ ต.ค. 2567) ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด หากไม่มีปัจจัยบวกเพิ่มเติม และต้นทุนรวมถึงค่าใช้จ่ายคงที่ การปรับลดค่าไฟฟ้าตามข้อเสนอที่ 3.70 บาท จะลดราคาเป้าหมายสำหรับ GPSC และ BGRIM ลงประมาณ 10% อย่างไรก็ตาม ค่าไฟฟ้าที่เสนอจะต่ำกว่าค่าไฟฟ้าฐานปัจจุบันที่ 3.78 บาท และการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในค่าไฟฟ้าฐานต้องได้รับการอนุมัติและประกาศจากทั้ง ERC และ EGAT นอกจากนี้ หากรัฐบาลมีเงินอุดหนุนต้นทุนค่าก๊าซ จะช่วยจำกัดผลกระทบด้านลบต่อราคาเป้าหมาย โดยเฉพาะหากเงินอุดหนุนดังกล่าวสามารถลดต้นทุนก๊าซลงเหลือ 305 บาท/mmBTU (ลดลง 10% เมื่อเทียบกับปีก่อน) ก็จะไม่มีผลกระทบต่ออัตรากำไร IU (กรณีฐาน)           ยังคงคำแนะนำ "Neutral" สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรม Utilities และคำแนะนำ "Trading Buy" สำหรับ BGRIM, GPSC และ GULF รายงานโดย : ณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการข่าว

GPSC คว้าผู้ผลิต-ขายไฟฟ้า FiT ปี 2565-73 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง

GPSC คว้าผู้ผลิต-ขายไฟฟ้า FiT ปี 2565-73 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง

          หุ้นวิชั่น - นางพรรณพร ศาสนนันทน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน  บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) หรือ GPSC แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าบริษัทย่อยของบริษัทฯ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ผลิตและขายไฟฟ้าตามโครงการการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565 – 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2567 ประเภท พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน รวมคิดเป็นกำลังการผลิตเสนอขายจำนวน 192.88 เมกะวัตต์ หรือมีกำลังการผลิตคิดตามสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทฯ เป็นจำนวน 97.19 เมกะวัตต์ โดยมีกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) รายละเอียดดังนี้: ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นไปตามแผนการขยายการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนของกลุ่มบริษัทฯ และได้มีส่วนร่วมสนับสนุนการดำเนินการโครงการตามแผนพลังงานหมุนเวียนของประเทศ เพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ได้ตามเป้าหมาย

GPSC คว้า 4 โครงการ รวม 193 MW โดย กกพ. เพิ่มพอร์ตพลังงานหมุนเวียน

GPSC คว้า 4 โครงการ รวม 193 MW โดย กกพ. เพิ่มพอร์ตพลังงานหมุนเวียน

         หุ้นวิชั่น - GPSC ผ่านการคัดเลือกโดย กกพ. เป็นผู้พัฒนาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT ของผู้ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน 4  โครงการโดยเป็นกำลังการผลิตกว่า 193 เมกะวัตต์  จากโครงการร่วมทุน เฮลิออส 1 เฮลิออส 2  เฮลิออส 4 และไออาร์พีซี คลีน พาวเวอร์ หนุนเพิ่มพอร์ตพลังงานหมุนเวียนในประเทศ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดเข้าระบบ รองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เดินหน้าสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า GPSC ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในการประกาศผลการคัดเลือกการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed -in Tariff (FiT) ปี 2565 -2573 จำนวน 4 โครงการ โดยมีกำลังการผลิตรวมประมาณ 193 เมกะวัตต์ ซึ่งอยู่ในกลุ่มของผู้ผลิตพลังงานพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน โดยมีผู้ที่ได้รับการคัดเลือกทั้งสิ้น จำนวน 64 ราย รวม 1,580 เมกะวัตต์ ที่กำหนดให้มีการจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (SCOD) ตั้งแต่ปี 2569-2573 สำหรับโครงการที่ได้รับการคัดเลือก จาก กกพ. ประกอบด้วย บริษัท เฮลิออส 1 จำกัด (Helios 1) กำลังการผลิต 48.6  เมกะวัตต์, บริษัท เฮลิออส 2  จำกัด (Helios 2) กำลังการผลิต  61.4 เมกะวัตต์ บริษัท เฮลิออส 4 จำกัด (Helios 4) กำลังการผลิต 8 เมกะวัตต์ ซึ่ง GPSC ถือหุ้นร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจในสัดส่วน 50% และบริษัทร่วมทุนระหว่าง GPSC และบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ภายใต้บริษัท ไออาร์พีซี คลีน พาวเวอร์ จำกัด (IRPC-CP) โดย GPSC ถือหุ้นสัดส่วน 51% กำลังการผลิต 74.88 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ Helios 1 และ Helios 2 มีกำหนด SCOD ในปี 2569 และ Helios 4 และ IRPC-CP มีกำหนด SCOD ในปี 2571 นับเป็นความสำเร็จของการเพิ่มโอกาสในการลงทุนพลังงานหมุนเวียนในประเทศ ที่ GPSC ได้เข้าไปมีส่วนเสริมสร้างเสถียรภาพการจัดหาและพัฒนาพลังงานของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล ที่มีแนวทางการขับเคลื่อนในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน ตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) สำหรับโครงการที่ GPSC ได้รับการคัดเลือก เป็นผู้พัฒนาโครงการในครั้งนี้ จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 โดยแต่ละโครงการจะต้องยอมรับเงื่อนไขการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน​ 14​ วัน​ นับถัดจากวันที่ประกาศผลการคัดเลือก​ อย่างไรก็ดี จากการได้รับการคัดเลือกในครั้งนี้ เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ของธุรกิจ GPSC ที่มีเป้าหมาย ในการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนเกินกว่า 50% ของกำลังการผลิตในปี 2573 ซึ่ง GPSC เป็นบริษัทด้านนวัตกรรมพลังงานที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาพลังงานสะอาดที่หลากหลาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้บริษัทฯ มีความพร้อมในการจัดหาพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  และมีส่วนในการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีพลังงานสะอาด เพื่อรองรับการลงทุนและการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ เพื่อให้ไทยสามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions)” [PR News]

เปิดโผหุ้นเด่น น่าสะสม 1 ปี ขึ้นไป มองปีหน้ากำไรเติบโตต่อ

เปิดโผหุ้นเด่น น่าสะสม 1 ปี ขึ้นไป มองปีหน้ากำไรเติบโตต่อ

          หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.เอเชียพลัส สำรวจหุ้น พบว่า หลังโควิดถึงปัจจุบัน การลงทุนในตลาดหุ้นไทยยากขึ้น ถูกกดดันจากเศรษฐกิจและกำไรบริษัทจดทะเบียนเติบโตช้า และต่ำคาด, การเมืองไม่นิ่ง, FUND FLOW ชะลอไหลเข้า กดดันให้ ในปี 2022, 2023, 2024YTD มีสัดส่วนจำนวนหุ้นทั้งหมดในดัชนี SET และ MAI ที่ให้ผลตอบแทนรายปีเป็นบวกน้อยกว่าครึ่ง หรือเพียง 31%, 14%, 26% ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า ตลาดมีจำนวนหุ้นบวกรายปีต่ำ ทำให้การลงทุนต้อง พิถีพิถัน และเน้น SELECTIVE BUY มากขึ้น ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ ทำการศึกษา และค้นหาหุ้นที่คาดว่าจะเอาชนะตลาด และน่าสะสม สะสมระยะ 1 ปีขึ้นไป ด้วยเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้ เลือกหุ้นที่มี SAFETY MARGIN สูง โดยปกติตลาดหุ้นและหุ้นมักจะไม่ลบ ติดต่อกัน 2 ปี ทำให้หุ้นที่ย่อตัวลงมาในปีนี้ ช่วยลด DOWNSIDE RISK ลงไป ระดับหนึ่งแล้ว เลือกหุ้นที่กำไรปีหน้ามีโอกาสเติบโตเด่น โดยสังเกตได้จากหุ้นที่ขึ้นแรง อันดับต้นๆใน SET100 ในแต่ละปี มักเป็นหุ้นที่กำไรปีนั้นเติบโตเด่นมาก ดังนั้น ฝ่ายวิจัยฯ จึงทำการค้นหา กลุ่มหุ้นที่ราคาย่อตัวลงมาเยอะ แต่กำไรมี โอกาสเติบโตเด่นในปี 2568 อาทิ PETRO, CONS, MEDIA, TOURISM, CONMAT, ENERG, PKG, FIN และเลือกหุ้นเด่นน่าลงทุนจากในกลุ่มนี้ ได้ผลลัพธ์ หุ้นเด่นน่าเข้าสะสมหวังผลในระยะ 1 ปีขึ้นไป คือ SCC, SCGP, MINT, GPSC, CK เป็นต้น นอกจากนี้  ฝ่ายวิจัยฯ ยังค้นหาจุดน่าเข้าสะสมที่เหมาะสมที่สุดรายบริษัท จากการหา OPTIMIZATION  ในกรอบการซื้อขาย ผ่านตัวชี้วัดทางเทคนิค อย่าง RSI โดยการ ทดสอบย้อนหลังในระยะเวลา 4 ปี ที่ผ่านมา ผลลัพธ์จะได้ช่วงซื้อ (RSI กรอบล่าง) และช่วงขาย (RSI กรอบบน) ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีสุดสำหรับหุ้นตัวนั้นๆ

GPSC ไตรมาส 3/2567 กำไร 770ล้านบาท

GPSC ไตรมาส 3/2567 กำไร 770ล้านบาท

            หุ้นวิชั่น - GPSC เผยกำไรสุทธิในไตรมาส 3/2567 อยู่ที่ 770 ล้านบาท ลดลง 657 ล้านบาทจากไตรมาสก่อนหน้า สาเหตุหลักมาจากต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่สูงขึ้นและการหยุดซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้า IPP โกลว์ ไอพีพี ขณะเดียวกันผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งและการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าในอนาคตอาจส่งผลต่อการดำเนินงานของบริษัท             สำหรับผลประกอบการของบริษทฯ ในไตรมาสท 3 ปี 2567 กำไรสุทธิของบริษัทฯ จำนวน 770 ล้านบาท ลดลง 657 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2567 สาเหตุหลักมาจากกำไรขั้นต้นที่ลดลงเนื่องจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) มีต้นทุนของก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นและปริมาณการขายของ กฟผ. ลดลง แต่ปริมาณความต้องการไฟฟ้าของลูกค้าอุตสาหกรรมโดยรวมยังคงอยู่ในระดับที่สูงขึ้น ประกอบกับโรงไฟฟ้าผู้ผลิตอิสระ (IPP) ได้แก่ โรงไฟฟ้าโกลว์ ไอพีพี หยุดซ่อมบำรุงตามแผนจำนวน 13 วันในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 และในไตรมาสที่ 3 การเรียกรับไฟฟ้าจาก กฟผ. ลดลง โรงไฟฟ้าห้วยเหาะมีรายได้ค่าพลังงานไฟฟ้า (EP) ลดลงจากปริมาณการผลิตไฟฟ้าที่ลดลงตามการเรียกรับไฟฟ้าที่ลดลงของ กฟผ. สำหรับไตรมาสนี้ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อน แต่ปริมาณการผลิตไฟฟ้าทั้งปียังคงเป็นไปตามแผน             ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้าเพิ่มขึ้นเนื่องจาก XPCL มีผลประกอบการดีขึ้นจากปริมาณการผลิตไฟฟ้าที่สูงขึ้นตามปริมาณน้ำที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นตามฤดูกาล แม้จะมีการหยุดการผลิต 17 วัน ในขณะที่นูออโว พลัส (NUOVOPLUS) มีการบันทึกผลขาดทุนจากการขายทรัพย์สินโรงงานแบตเตอรี่ในเดือนสิงหาคม แม้ว่ามีกำไรจากบริษัทร่วมทุน NV Gotion และ AEPL มีผลประกอบการลดลงตามปริมาณการผลิตไฟฟ้าที่ลดลงตามค่าความเข้มแสงที่ลดลงตามฤดูกาล ในไตรมาสที่ 3 บริษัทฯ มีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 258 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเกิดจากการบันทึกปรับมูลค่าลูกหนี้ตามสัญญาเช่าทางการเงินสกุลเงินต่างประเทศของโรงไฟฟ้าศรีราชาและโรงไฟฟ้าโกลว์ ไอพีพี ภาษีเงินได้เพิ่มขึ้น 180 ล้านบาท เนื่องจากในไตรมาส 2 ปี 2567 มีการปรับปรุงค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ของปี 2566 (298 ล้านบาท) ในขณะที่ในไตรมาส 3 ปี 2567 มีการรับรู้ภาษีตามผลประกอบการของบริษัท ต้นทุนทางการเงินลดลง 104 ล้านบาทจากการชำระคืนเงินกู้ 16,100 ล้านบาทเมื่อเดือนกรกฎาคม 2567             ทั้งนี้ ในส่วนของฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวม 280,342 ล้านบาท หนี้สินรวม 163,396 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนี้สินที่มีดอกเบี้ย 126,709 ล้านบาท และบริษัทฯ มีส่วนของผู้ถือหุ้น 116,946 ล้านบาท ทำให้อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 0.88 เท่า ซึ่งเป็นไปตามนโยบายทางการเงิน ปัจจัยที่อาจมีผลต่อการดำเนินงานหรือการเติบโตในอนาคต ความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศ             บนสมมุติฐานค่าเฉลี่ยความยืดหยุ่นของปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอยู่ที่ประมาณ 0.9 เท่า และการประมาณการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่ร้อยละ 2.9 ในปี 2568 โดยการคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ประมาณการความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.6 ในปี 2568 โดยการใช้ไฟฟ้าในประเทศที่สูงขึ้นจะมีผลต่อการเรียกเดินเครื่องโรงไฟฟ้าโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และรวมถึงปริมาณการใช้ไฟฟ้าของลูกค้าอุตสาหกรรม หากการขยายตัวทางเศรษฐกิจภายในประเทศสูงขึ้นต่อเนื่อง ต้นทุนเชื้อเพลิงนำเข้า             โดยเฉพาะ LNG ที่มีการปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2567 อาจส่งผลต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้า และทำให้ต้องมีการปรับค่า Ft เพิ่มสูงขึ้นในปี 2568 เนื่องจากปัจจุบัน กฟผ. มีหนี้ค่าจัดซื้อไฟฟ้าและค่าเชื้อเพลิงคงค้าง (AF) ประมาณ 1 แสนล้านบาท (ข้อมูล ณ เม.ย. 2567) และมีการคืนหนี้เพียงบางส่วนผ่านค่า Ft ในช่วงปีที่ผ่านมา ตามนโยบายของภาครัฐที่ต้องการลดผลกระทบต่อประชาชนและภาคธุรกิจ ประกอบกับ กฟผ. จะยังไม่สามารถรับภาระหนี้ได้เพิ่มเติม เนื่องจากต้องรักษาสถานะทางการเงินเพื่อรักษาอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) และมีภารกิจการลงทุนจำนวนมาก โดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียนตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) ซึ่งต้นทุนค่าเชื้อเพลิงจะมีผลโดยตรงต่อรายได้จากการขายไฟฟ้าให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรม การปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าในอนาคต             อาจส่งผลกระทบต่อราคาขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมที่อ้างอิงตามราคาขายปลีกของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ทั้งนี้เนื่องจากการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าครั้งใหญ่ของประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อปี 2558 และปัจจุบันถึงกำหนดระยะเวลาในการทบทวนแล้ว (ทุก 3-5 ปี) เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 และวิกฤติพลังงาน ซึ่งการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าเพื่อสะท้อนต้นทุนพลังงานหลายประเภทที่เปลี่ยนไป อาทิ ต้นทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าตามแผน PDP ฉบับใหม่ ต้นทุนด้านระบบสายส่งไฟฟ้า ต้นทุนด้านการบริหารจัดการเสถียรภาพที่เพิ่มขึ้นเมื่อมีการบูรณาการพลังงานหมุนเวียนเข้ามาในระบบมากขึ้น ซึ่งโครงสร้างราคาไฟฟ้าจะมีผลโดยตรงต่อรายได้จากการขายไฟฟ้าให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรม การเปิดใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม (Third Party Access: TPA)             เป็นส่วนหนึ่งของการเปิดเสรีในธุรกิจไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการขยายธุรกิจไฟฟ้าพลังงานสะอาด โดยผู้ผลิตไฟฟ้าสามารถทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับลูกค้านอกพื้นที่ได้โดยตรง (Direct PPA) ส่งผลให้การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนถูกขับเคลื่อนโดยภาคเอกชนได้อย่างรวดเร็ว

เลือกตั้งสหรัฐฯ เขย่าหุ้นพลังงาน ปรับพอร์ตอย่างไรให้รอด?

เลือกตั้งสหรัฐฯ เขย่าหุ้นพลังงาน ปรับพอร์ตอย่างไรให้รอด?

          หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล.กรุงศรี ระบุว่า ราคาหุ้นในกลุ่มโรงไฟฟ้าโดยเฉพาะ GPSC และ BGRIM มีการปรับตัวลดลง -5.4% และ -3.8% ตามลำดับ ขณะที่หุ้นอื่นในกลุ่มก็มีการปรับตัวลงเช่นกัน มองว่าความกังวลในตลาดเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ ราคา JKM LNG ในเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นจากผู้ค้ามีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางและเอเชีย เช่น ความตึงเครียดระหว่างจีน-ไต้หวัน และเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้, การเลือกตั้งในสหรัฐฯ ที่กำลังจะมาถึง อาจจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมLNG ในสหรัฐฯ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของไทยที่ปรับเพิ่มขึ้น คงมุมมอง ‘Neutral’ สำหรับกลุ่มโรงไฟฟ้า ความกังวลในตลาดเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ที่ตึงเครียดเพิ่มขึ้น การเลือกตั้งสหรัฐฯ และปัจจัยอื่น ๆ           บล.กรุงศรี มองว่าความกังวลในตลาดเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ ราคา JKM LNG ในเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นจากผู้ค้ามีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง จากแหล่งข่าว energy news and natural gas intelligence ตลาดกำลังเฝ้าจับตาเกี่ยวกับพัฒนาการของการโจมตีของอิสราเอลต่ออิหร่าน อิสราเอล ยังคงมุ่งเป้าไปที่ฐานที่มั่นของฮิซบอลลาห์ในเลบานอน ความขัดแย้งที่ทวีความ รุนแรงในตะวันออกกลางทำให้ตลาดก๊าซธรรมชาติไม่แน่นอน ขณะที่การซื้อก๊าซในฤดูหนาวในเอเชียเพิ่มขึ้น และความคาดหวังเกี่ยวกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นช่วยสนับสนุนราคาก๊าซธรรมชาติทั่วโลก นอกจากนี้ความตึงเครียดในเอเชีย ระหว่างจีน-ไต้หวัน และเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ยังเพิ่มความไม่แน่นอนอีกด้วย รวมถึงการเลือกตั้งในสหรัฐฯ ที่กำลังจะมาถึง อาจจะส่งผลกระทบต่อทิศทางอุตสาหกรรม LNG ในสหรัฐฯ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของไทยที่ปรับเพิ่มขึ้นและมีความผันผวน ทำให้เกิดความกังวลในตลาดเกี่ยวกับทิศทางของอัตราดอกเบี้ย คง Neutral rating และคงคำแนะนำ Trading Buy GPSC และ BGRIM           คงมุมมอง Neutral สำหรับกลุ่ม โดยคงคำแนะนำ ‘Trading Buy’ ต่อ BGRIM (TP Bt27), GPSC (TP Bt50), BCPG (TP Bt8.2), EGCO (TP Bt137) และ GULF (TP Bt56.75, pre-synergy) และคงคำแนะนำ ‘Buy’ ต่อ CKP (TP Bt5.2) และGUNKUL (TP Bt3.85)

[ภาพข่าว] GPSC ร่วมทอดกฐินประจำปี 67

[ภาพข่าว] GPSC ร่วมทอดกฐินประจำปี 67

          นางปริญดา มาอิ่มใจ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กร บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. ในฐานะประธานในพิธีทอดกฐินสามัคคี ประจำปี 2567 พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร พนักงานในกลุ่ม GPSC และชาวบ้านในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียง ร่วมกันเป็นเจ้าภาพทำบุญทอดกฐิน ณ วัดเขาไผ่ ตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถานภายในวัด ให้เป็นที่สักการะของประชาชนในพื้นที่สืบต่อไป

SET แกว่งตัวในกรอบ จับตาแนวต้าน 1507 จุด หุ้นเด่น AOT และGPSC

SET แกว่งตัวในกรอบ จับตาแนวต้าน 1507 จุด หุ้นเด่น AOT และGPSC

          หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด ระบุว่าคาด SET เคลื่อนไหวในกรอบ โดยกรอบบนถูกจำกัดบริเวณแนวต้านจิตวิทยา 1500-1507 จุด จากภาวะ Overbought ทางเทคนิค ส่วนกรอบล่างมีแนวรับบริเวณ 1475-1480 จุด เป็นจุดรองรับ ด้วยเม็ดเงินจากกองทุนวายุภักษ์ช่วยประคอง ทั้งนี้แนวโน้มราคามีจุดติดตามสำคัญ โดยหากขึ้นทะลุ 1507 จุด จะเป็นสัญญาณบวกต่อ ส่วนกรณีหลุด 1475 จุด จะเป็นสัญญาณลบต่อภาพการพักฐาน           AOT: 4QFY67 คาดกำไรปกติ 4.0 พันลบ. เพิ่มขึ้น 10%YoY (จากจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น) แต่ลดลง 13% QoQ (จากรายได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่ลดลง) และโมเมนตัมกำไรจะแข็งแกร่งขึ้น YoY และ QoQ ใน 1QFY68 เนื่องจากเป็นช่วงไฮซีซันของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย และยังมีปัจจัยบวกหนุนจากช่วง Golden Week ของจีน           GPSC: มองมีปัจจัยบวกระยะสั้นจากราคาก๊าซยุโรปและ Bond Yield ที่ปรับตัวลง ขณะที่ปี 2567 คาดกำไรปกติอยู่ที่ 4.58 พันลบ. เติบโต 33.8%YoY และจะเติบโตต่อเนื่องอีก 16.3%YoY ในปี 2568 ปัจจัยหนุนจากส่วนแบ่งกำไรจากธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นหลังมีกำลังการผลิตติดตั้งที่สูงขึ้นในอินเดียและไต้หวัน

[ภาพข่าว] GPSC ร่วมฟื้นฟูระบบนิเวศ จ.ระยอง 

[ภาพข่าว] GPSC ร่วมฟื้นฟูระบบนิเวศ จ.ระยอง 

          นายพัฑฒิ บุณยสุขานนท์ ผู้จัดการส่วนปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจการสาธารณะ กลุ่มบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. พร้อมด้วย นายอนุสรณ์ แสงกล้า นายอำเภอเมืองระยอง พนักงานจิตอาสา ชุมชน และคู่ค้า จัดกิจกรรม ร่วมปลูกต้นไม้จำนวน 1,000 ต้น ในพื้นที่กว่า 10 ไร่ ภายใต้โครงการ “เพาะกล้า ฟื้นป่า สร้างชีวิต” เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าต้นน้ำ ซึ่งเป็นป่าชุมชนของบ้านมาบจันทร์ ตำบลแกลง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง           กิจกรรมครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ และชุมชน ที่มีส่วนร่วมในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ผ่านการปลูกต้นไม้หลากหลายชนิด ได้แก่ ยางนา ตะเคียนทอง พยูง ไผ่กิมซุง และไผ่หวาน เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์และสร้างความยั่งยืนในการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน และลดสภาวะโลกร้อนอีกด้วย

[PR News] GPSC ทุนแกร่งแบงก์หนุน 7 พัน ล. รุกพลังงานสะอาด

[PR News] GPSC ทุนแกร่งแบงก์หนุน 7 พัน ล. รุกพลังงานสะอาด

          GPSC ลงนามในสัญญาเงินกู้กับธนาคารทีเอ็มบีธนชาต ธนาคารเกียรตินาคินภัทร และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย วงเงินรวม 7,000 ลบ. มุ่งธุรกิจพัฒนาพลังงานหมุนเวียนทั้งในประเทศและต่างประเทศ สร้างเสถียรภาพความมั่นคงด้านพลังงาน สอดรับกลยุทธ์องค์กรจากบทบาทในการ Decarbonization ให้กับกลุ่ม ปตท. เดินหน้ามุ่งสู่แผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์           นายทิติพงษ์ จุลพรศิริดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ GPSC ได้จัดพิธีลงนามในสัญญาเงินกู้รวม 3 ฉบับ ณ สำนักงาน GPSC อาคาร Energy Complex จตุจักร กรุงเทพฯ รวมวงเงินทั้งสิ้น 7,000 ล้านบาท กับ 3  สถาบันการเงิน ประกอบด้วย ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต (TTB) จำนวน 5,000 ล้านบาท ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) จำนวน 1,000 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย  (EXIM BANK) จำนวน 1,000 ล้านบาท เพื่อปรับพอร์ตเงินกู้ของบริษัทฯ และสนับสนุนการลงทุนด้านพลังงานสะอาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ           GPSC ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันทางการเงินทั้ง 3 แห่งนี้ ซึ่งให้ความสำคัญกับการลงทุนในพลังงานสะอาด นับเป็นการเสริมความแข็งแกร่งทางการเงินให้กับบริษัทฯ เพื่อขยายธุรกิจด้านพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นกลยุทธ์หลักในการเติบโตโดยมุ่งเพิ่มสัดส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทในการ Decarbonization ให้กับกลุ่ม ปตท. พร้อมกับการเสริมสร้างเสถียรภาพ (Reliability) ทางด้านไฟฟ้าให้กับกลุ่ม ปตท. ประกอบกับการหาโอกาสในการเติบโตธุรกิจใหม่ๆ สอดรับกับแนวทางการเปลี่ยนแปลงทิศทางพลังงานโลก และแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) ของไทยที่มุ่งไปสู่พลังงานสะอาด และเดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero           ทั้งนี้ GPSC ให้ความสำคัญในการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นคงในระบบพลังงานให้กับกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรม โดยปัจจุบันบริษัทฯ มีสัดส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนมากกว่า 65% ของกำลังการผลิตทั้งหมดภายในปี 2569 และยังคงมุ่งเน้นแผนขยายการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง พร้อมเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนองค์กร ก้าวสู่การเป็นบริษัทชั้นนำด้านนวัตกรรมพลังงานเพื่อความยั่งยืน 1 ใน 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดินหน้าสู่การพัฒนาพลังงานสะอาดตามเป้าหมายมุ่งสู่ Carbon Neutrality ภายในปี 2593 และ Net Zero GHG Emissions ภายในปี 2603 สอดรับต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมพลังงานโลก ที่เน้นการใช้พลังงานที่ยั่งยืน และให้เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

วิพากษ์หุ้นโรงไฟฟ้า ใครจะได้ประโยชน์หลัก

วิพากษ์หุ้นโรงไฟฟ้า ใครจะได้ประโยชน์หลัก

          หุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.กรุงศรี คาดว่า GULF จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์หลัก ตามมาด้วย GUNKUL, BGRIM และ GPSC เราคง ‘NEUTRAL’ สำหรับกลุ่ม เนื่องจากการประเมินมูลค่า (valuation) ปัจจุบัน ได้ถูกสะท้อนข่าวดีไปในราคาแล้ว จากการที่ กกพ. เดินหน้าเปิดประมูลรอบที่ 2 สำหรับโครงการพลังงานหมุนเวียนรวม 3.6 GW โดยจะประเมินข้อเสนอจากผู้สมัครจำนวน 198 รายตามคะแนนคุณภาพโดยไม่ต้องแก้ไขข้อเสนอขายไฟฟ้า และจะประกาศผลคัดเลือกภายในสิ้นปีนี้           ด้วยการประมูลรอบที่สองสำหรับกำลังการผลิตรวม 3.6 กิกะวัตต์ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในรอบนี้จะประกอบด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 2,632 เมกะวัตต์, พลังงานลม 1,000 เมกะวัตต์, พลังงานชีวมวล 6.5 เมกะวัตต์, และพลังงานจากของเสียอุตสาหกรรม 30 เมกะวัตต์ เพื่อดึงดูดผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้ามากขึ้น กกพ. มีแผนจัดสรรโควตาให้กับผู้ประมูลที่ไม่ได้รับโครงการในรอบแรกเป็นการเฉพาะ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน จะมีกฎระเบียบใหม่ในการจัดซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนภายใต้ระบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับปี 2565-2573 ซึ่งรวมถึงการซื้อเพิ่มเติมจากผู้สมัคร 198 รายที่เคยผ่านเกณฑ์ความพร้อมทางเทคนิคมาแล้ว แต่ไม่ได้รับการคัดเลือกเนื่องจากปริมาณการจัดซื้อเต็มแล้ว กกพ. จะประเมินการซื้อไฟฟ้าจากคะแนนคุณภาพโดยไม่ต้องแก้ไขข้อเสนอเดิม โดยจำกัดที่ 600 เมกะวัตต์สำหรับพลังงานลม และ 1,580 เมกะวัตต์สำหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนพื้นดิน คาดว่าจะประกาศผู้ชนะการประมูลภายในสิ้นปี 2567           หากอ้างอิงถึงผลผู้ชนะการประมูลในรอบแรกและจำนวนเมกะวัตต์ที่ยังไม่ผ่านรอบแรกของแต่ละบริษัท เราคาดว่า GULF (Unrated) จะได้ประโยชน์มากที่สุด ตามมาด้วย GUNKUL, BGRIM, GPSC ทั้งนี้ในรอบแรก GULF ชนะการประมูลคิดเป็น 38% ของการเปิดรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 5.2 GW ตามมาด้วย GUNKUL (16%), SSP (3.3%), BGRIM (3.1%), WHAUP (2.4%), GPSC (0.15%) และอื่นๆ (37%) เรามองว่าการเดินหน้าและมีความชัดเจนนี้จะส่งผลบวกต่อกระบวนการรับรองไฟฟ้าสีเขียวตามแนวทาง Utility Green Tariff (UGT) ของ กกพ. ที่ต้องอาศัยการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในโครงการรับซื้อไฟฟ้าเช่นกัน ที่ถ้าได้ข้อสรุปจะสามารถประเมินผลตอบแทนได้ชัดเจนขึ้นต่อการลงทุนดังกล่าว           บล.กรุงศรี มีมุมมอง Neutral สำหรับกลุ่ม โดยคงคำแนะนำ Trading Buy ต่อ BGRIM (TP Bt27), GPSC (TP Bt50), BCPG (TP Bt8.20), EGCO (TP Bt137) และคำแนะนำ Buy ต่อ GUNKUL (TP Bt3.85)

[PR News] GPSC ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ ด้านการลงทุนพลังงานหมุนเวียนระดับโลก

[PR News] GPSC ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ ด้านการลงทุนพลังงานหมุนเวียนระดับโลก

            GPSC ร่วมแสดงวิสัยทัศน์เวทีสัมมนาด้านการลงทุนพลังงานหมุนเวียน ระดับโลก Global RE-INVEST Renewable Energy Investors Meet & Expo ครั้งทื่ 4 ณ ประเทศอินเดีย             ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล ประธานกรรมการ (ที่ 1 จากขวา) บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. ได้ร่วมเวทีสัมมนาด้านการลงทุนพลังงานหมุนเวียน The 4th Global RE-INVEST Renewable Energy Investors Meet & Expo จัดขึ้นโดยกระทรวงพลังงานหมุนเวียน ประเทศอินเดีย โดยมีนายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีของประเทศอินเดีย เป็นประธานเปิดงาน ทั้งนี้ GPSC ได้รับเกียรติเป็นผู้ร่วมเสวนา ในหัวข้อ “ความท้าทายของนักลงทุนต่างชาติในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในอินเดีย“ โดยได้เสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการลงทุน เพื่อจูงใจนักลงทุนจากทั่วโลก เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายพลังงานหมุนเวียนตามเป้าหมายที่รัฐบาลอินเดียได้กำหนดไว้             นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ และคณะผู้บริหาร GPSC ยังได้เยี่ยมชมบูธกลุ่มบริษัท อวาดา (Avaada Group) ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่สำคัญในอินเดีย ที่ได้เข้าร่วมการจัดแสดงนิทรรศการ เพื่อแสดงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานหมุนเวียน ทั้งนี้ ปัจจุบัน GPSC มีการลงทุนและพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในอินเดียไปแล้ว 6,437 เมกะวัตต์  ผ่านบริษัท โกลบอล รีนิวเอเบิล ซินเนอร์ยี่ จำกัด (GRSC) ในสัดส่วน 43%  ใน อวาด้า เอนเนอร์ยี่ ไพรเวท ลิมิเต็ท (AEPL)

GPSC - กนอ.มาบตาพุด เก็บขยะชายหาดระยอง

GPSC - กนอ.มาบตาพุด เก็บขยะชายหาดระยอง

          นายพีรพล อำไพวิทย์ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสกลยุทธ์องค์กรและความยั่งยืน บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. ร่วมกับสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จัดกิจกรรมวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากลจังหวัดระยอง ประจำปี 2567 โดยมีผู้บริหารและพนักงาน GPSC พร้อมครอบครัวกว่า 150 คน ร่วมกันเก็บขยะชายหาดในบริเวณหาดแสงจันทร์ จังหวัดระยอง  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดชายฝั่งทะเล อันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดระยอง           ทั้งนี้ ขยะที่จัดเก็บ จะถูกแยกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ขยะประเภทที่รีไซเคิลไม่ได้  ดำเนินการโดยหน่วยงานภาครัฐ คือองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ซึ่งจะส่งต่อไปยังโรงคัดแยกขยะเพื่อแปลงเป็นเชื้อเพลิง RDF  (Refuse Derived Fuel) ก่อนส่งเข้าสู่โรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิง RDF ของ GPSC ในจังหวัดระยอง ในขณะที่ขยะประเภทที่รีไซเคิลได้ จะถูกส่งให้ศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะชุมชนบ้านไผ่ ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนที่ GPSC สนับสนุนด้านการแปรรูปขยะเป็นผลิตภัณฑ์ และท้ายสุด ขยะประเภทอันตราย จะถูกส่งให้หน่วยงานภาครัฐท้องถิ่นนำไปกำจัดต่อไป

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456