#GGC


GGC รายงานความคืบหน้ากรณีศาลแพ่งยกฟ้องให้บริษัท ยืนยันความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล

GGC รายงานความคืบหน้ากรณีศาลแพ่งยกฟ้องให้บริษัท ยืนยันความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล

          หุ้นวิชั่น - นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC เปิดเผยความคืบหน้าด้านคดีความอันเนื่องมาจากเหตุการณ์วัตถุดิบคงคลังสูญหาย ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงมิถุนายน 2561 ตามที่ GGC ได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ  และแจ้งความดำเนินคดีกับผู้บริหาร พนักงาน และ คู่ค้าที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ กล่าวโทษอดีตผู้บริหาร GGC 2 ราย และบริษัทคู่ค้า อีก 9 ราย ร่วมกันกระทำผิด พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และกระทำความผิดอาญา ซึ่ง GGC ได้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม ร่วมกับ ก.ล.ต. มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีความคืบหน้าของคดีที่สำคัญ ดังนี้           เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา ศาลแพ่งได้พิจารณาแล้วมีคำพิพากษายกฟ้อง GGC กรณีที่คู่ค้ากล่าวหาว่าบริษัทฯ ผิดสัญญาซื้อขายน้ำมันปาล์มและเรียกร้องค่าเสียหาย 595.10 ล้านบาท ซึ่งทำให้บริษัทฯ ชนะคดีแพ่งที่บริษัทฯ ถูกฟ้องเป็นคดีที่ 4  จากทั้งหมด 6 คดี เพราะยังมีบางคดีอยู่ระหว่างพิจารณาในชั้นศาล นอกจากนี้ยังมีคดีที่ GGC ฟ้องคดีแพ่งกับอดีตผู้บริหารและคู่ค้าอีก 5 คดี ปัจจุบันศาลตัดสินให้ GGC ชนะทั้ง 5 คดี ซึ่งมีคดีที่ถึงที่สุดแล้ว 4 คดี รวมมูลค่ากว่า 800 ล้านบาท โดย GGC อยู่ระหว่างดำเนินการบังคับคดี           ในส่วนคดีอาญา ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้กล่าวโทษอดีตผู้บริหารของ GGC และบริษัทคู่ค้า และ GGC ได้แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญากับอดีตผู้บริหารและบริษัทคู่ค้า รวมทั้งสิ้น 8 คดี โดยขณะนี้มีคดีอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน 4 คดี อยู่ในชั้นพนักงานอัยการ 1 คดี และอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอีก 3 คดี โดยในช่วงที่ผ่านมาศาลตัดสินคดีอาญาแล้ว 2 คดี ได้แก่           คดีแรก ในช่วงปี 2566 โดยศาลมีคำพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา และความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ให้ลงโทษจำคุกอดีตผู้บริหาร 2 ปี และกรรมการของคู่ค้า 1 ปี 4 เดือน และให้อดีตผู้บริหารชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ GGC จำนวนประมาณ 328.87 ล้านบาท ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์           คดีที่สอง ศาลตัดสินเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะยกประโยชน์ให้จำเลย เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้สิ้นข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาจริง อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาดังกล่าวเป็นคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเท่านั้น คดียังไม่ถึงที่สุด และ GGC จะใช้สิทธิในการยื่นอุทธรณ์ต่อไปโดยคดีดังกล่าว มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 72.88 ล้านบาท แต่ GGC ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของบริษัทคู่ค้าไว้แล้ว           นอกจากนี้ บริษัทฯ ขอความร่วมมือผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ระมัดระวังการรับข้อมูลข่าวสารที่มีการเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งมีการใช้ข้อกล่าวหาบริษัทฯ โดยปราศจากมูลความจริง และมีเจตนาสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ จะติดตามและมีการดำเนินการอย่างเหมาะสมต่อไป           GGC ขอยืนยันว่า บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส มีธรรมาภิบาล พร้อมปกป้องผลประโยชน์ของนักลงทุนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเต็มความสามารถ [PR News]

GGC สานต่อนโยบายกลุ่ม ปตท จับมือพันธมิตรส่งเสริมความยั่งยืนอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน

GGC สานต่อนโยบายกลุ่ม ปตท จับมือพันธมิตรส่งเสริมความยั่งยืนอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน

          บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC จับมือองค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมันยั่งยืน Roundtable on Sustainable Palm Oil (RSPO) และ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย พร้อมกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน และโรงสกัดปาล์มน้ำมัน ผลักดันขยายความร่วมมือยกระดับการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานของประเทศไทย เพื่อเป้าหมายให้เกษตรกรขายผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมันได้ราคาที่ดีอย่างยั่งยืน           นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC เปิดเผยว่า GGC ได้ดำเนินการส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกปาล์มน้ำมันของประเทศไทยมากกว่า 1,000 ราย ให้ดำเนินการตามมาตรฐานและได้รับการรับรอง Roundtable on Sustainable Palm Oil (RSPO) ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ผ่านการดำเนินโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน Sustainable Palm oil production and procurement (SPOPP)  จากความสำเร็จของโครงการดังกล่าวเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรในระยะยาว คือ เกษตรกรมีผลผลิตปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้น มีต้นทุนในการปลูกปาล์มที่ต่ำลง และสามารถสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้แก่เกษตรกร โดย GGC ได้สานต่อความสำเร็จของโครงการดังกล่าวสู่โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนเพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Sustainable Palm Oil Production and Procurement Project for Climate Mitigation and Adaptation (SPOPP CLIMA)  เพื่อเป็นต้นแบบให้กับเกษตรกรรายย่อยผลิตปาล์มน้ำมันในการจัดการสวนปาล์มแบบคาร์บอนต่ำของประเทศไทย           จากการสนับสนุนเกษตรกรให้ปลูกปาล์มอย่างยั่งยืน นับเป็นต้นทางที่สำคัญที่ GGC ได้สร้างความมั่นคงทั้งเรื่องการปลูกปาล์มรวมถึงความมั่นคงทางการเงินให้กับเกษตรกรในระยะยาว และ GGC มีความมุ่งมั่นในการสานต่อนโยบายในการสนับสนุนการซื้อ-ขายปาล์มน้ำมันของกลุ่ม ปตท. เพื่อสนับสนุนนโยบายภาครัฐ ที่ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันสามารถขายผลผลิตได้ไม่ต่ำกว่าราคาประกาศของราชการ ความสำเร็จที่ผ่านมารวมถึงนโยบายดังกล่าวทำให้ GGC เล็งเห็นถึงความสำคัญและดำเนินการสร้างความร่วมมือกันทั้งห่วงโซ่อุปทาน ช่วยเกษตรกรในด้านราคาอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งโรงสกัดน้ำมันปาล์ม GGC และบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เพื่อร่วมกันดำเนินโครงการการจัดซื้อปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน (Palm Oil Sustainable Procurement) โดยโครงการดังกล่าวจะยึดหลักการซื้อขายที่เป็นธรรมตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เพื่อส่งผลประโยชน์ไปยังเกษตรกรทุกรายได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น เพราะสามารถขายผลผลิตได้ราคาที่ดีและเป็นธรรม เราร่วมผลักดันเพื่อให้การรับซื้อผลปาล์มในมูลค่าที่สูงขึ้น ทั้งในส่วนของเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO เรารับซื้อตามราคาประกาศของกรมการค้าภายใน  และในส่วนของเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO นอกจากจะได้รับราคาตามประกาศฯ แล้ว ยังได้ราคาพรีเมี่ยมจากมาตรฐาน RSPO เพิ่มขึ้นด้วย  ซึ่งโครงจัดซื้อน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนนี้จะส่งผลให้ทุกกลุ่มที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานปาล์มน้ำมันของประเทศไทยสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน           วันนี้เรามีพันธมิตรทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคประชาชน ไม่ว่าจะเป็น เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน    ผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน โรงสกัดปาล์มน้ำมัน GGC OR กรมวิชาการเกษตร GIZ  และ RSPO ที่พร้อมร่วมกันผลักดันและสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เพื่อส่งผ่านความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มทุกรายของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน [PR News]

PSP จับมือ GGC ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ EnPAT

PSP จับมือ GGC ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ EnPAT

         บริษัท พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PSP ผู้นำด้านโซลูชันน้ำมันหล่อลื่น นำโดย นายเสกสรร ครองพาณิชย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ผู้นำด้านธุรกิจเคมีชีวภาพ และบริษัทแกนนำในธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม Green Flagship Company ของ GC Group นำโดย นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ เพื่อร่วมกันพัฒนาและผลักดันผลิตภัณฑ์น้ำมัน หม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ EnPAT ให้ก้าวสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบสนองต่อความต้องการในตลาดพลังงานหมุนเวียน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม          ผลิตภัณฑ์ EnPAT ได้รับการพัฒนาภายใต้แนวคิดที่เน้นความยั่งยืน โดยใช้วัตถุดิบชีวภาพจากปาล์มน้ำมันไทย ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล นอกจากนี้ ข้อตกลงนี้ยังมุ่งเน้นการศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ และศักยภาพในการขยายกำลังการผลิตสู่ระดับอุตสาหกรรม พร้อมการทำงานร่วมกันในด้านการตลาดและการจัดจำหน่าย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ในอนาคต          นายเสกสรร ครองพาณิชย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พี.เอส.พี.สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PSP กล่าวว่า “การร่วมพัฒนาน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพจากน้ำมันปาล์มไทยในครั้งนี้ ถือเป็นโครงการสำคัญที่ไม่เพียงส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจเพียงเท่านั้น แต่ยังช่วยลดการนำเข้าและพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน”          ปัจจุบัน PSP กำลังทดสอบการใช้งานน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ EnPAT ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในโครงการ EnPAT ซึ่งทีมวิจัยได้ติดตั้งต้นแบบระบบการผลิตน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพที่มีกำลังการผลิตประมาณ 300 ลิตรต่อครั้ง และได้ทำการทดสอบระบบจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว          นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน)  หรือ GGC กล่าวว่า “ GGC  ร่วมกับภาครัฐดำเนินโครงการ EnPAT โดยพัฒนาน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพจากน้ำมันปาล์มที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการนี้มีการทดสอบภาคสนามเชิงบูรณาการ เพื่อสร้างโอกาสในการใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับเศรษฐกิจใหม่ภายใต้ BCG Model และ New S-Curve ด้าน Biochemicals ช่วยเพิ่มมูลค่าให้น้ำมันปาล์ม สร้างรายได้ให้เกษตรกรไทย และทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ          ความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในอนาคต ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในระดับสากล สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของ GGC ที่มุ่งมั่นสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจให้กับภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนพลังแห่งการสร้างสรรค์ เพื่อคุณค่าที่ยั่งยืน” [PR News]

[PR  News] GGC-GIZ

[PR News] GGC-GIZ "ผลิตปาล์มน้ำมันคาร์บอนต่ำ”

          (30 กันยายน 2567)  - บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ ประจำประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมันรายย่อย 4 จังหวัดภาคใต้ร่วมกันต่อยอดความสำเร็จ ประกาศยกระดับจากการผลิตปาล์มอย่างยั่งยืนสู่การผลิตปาล์มน้ำมันแบบคาร์บอนต่ำ โดยลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding) โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนเพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Sustainable Palm Oil Production and Procurement Project on Climate Mitigation and Adaptation หรือ SPOPP CLIMA) ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรมเซ็นทารา อ่าวนาง บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา กระบี่           สำหรับพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ มีผู้บริหาร และผู้แทนจาก GGC GIZ หน่วยงานภาครัฐรวมทั้งพันธมิตรใน 4 จังหวัดผู้ผลิตปาล์มน้ำมันภาคใต้ ได้แก่ ตรัง กระบี่ พังงา และชุมพร ร่วมลงนาม           โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน เพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Sustainable Palm Oil Production and Procurement Project for Climate Mitigation and Adaptation หรือ SPOPP CLIMA)  เป็นโครงการต่อยอดความสำเร็จจากการรับรองกลุ่มเกษตรกรรายย่อย ตามมาตรฐานการปลูกปาล์มอย่างยั่งยืน (Roundtable Sustainable Palm Oil หรือ RSPO) ภายใต้โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน หรือ SPOPP ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ดำเนินการโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ และความร่วมมือจากกรมวิชาการเกษตร โดยมุ่งเน้นในการสร้างองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรรายย่อยที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน RSPO ในโครงการ SPOPP  ให้สามารถนำข้อมูลที่มีอยู่มาต่อยอดในการคำนวณคาร์บอนฟุตปริ้นท์สำหรับผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมันทะลายสด และมีแนวทางการจัดการสวนแบบคาร์บอนต่ำ ซึ่งการลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ แต่ยังเป็นการเพิ่มความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมันของไทยในตลาดโลกอีกด้วย           นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ GGC กล่าววิสัยทัศน์ภายในงานว่า “GGC ได้ดำเนินการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อให้บรรลุยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs) ของสหประชาชาติ (United Nations: UN) โดยครอบคลุมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน สร้างคุณค่าและยกระดับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจให้ได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ในฐานะผู้นำผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม เราคำนึงถึงการรักษาสมดุลระหว่างการดำเนินกลยุทธ์การเติบโตทางธุรกิจ ควบคู่ไปกับการสร้างผลลัพธ์ที่ยั่งยืนยั่งยืน มีเป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงร้อยละ 20 ภายในปี 2573  และในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero target) ภายในปี 2593  ก้าวสู่การเป็นองค์กรที่สนับสนุนการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ผ่านการดำเนินธุรกิจและการผลิตผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ จากความสำเร็จการดำเนินโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน หรือSPOPP  ที่ผ่านมา GGC ได้นำมาเชื่อมโยงกับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจด้านยั่งยืนของบริษัทฯ ในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดย GGC และ GIZ มีแผนร่วมกันดำเนินโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน เพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Sustainable Palm Oil Production and Procurement Project for Climate Mitigation and Adaptation (SPOPP CLIMA)  ในปี พ.ศ. 2567 – 2570 จุดประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกรในการปลูกปาล์มและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคการเกษตร การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้น และคาร์บอนเครดิต เพื่อร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการเดินไปสู่เป้าหมาย Net Zero ของ GGC ในปี พ.ศ. 2593 และส่งเสริมการปลูกปาล์มยั่งยืนที่สอดรับกับกฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า EU Deforestation-free Regulations: EUDR ที่จะเริ่มบังคับใช้ 1 มกราคม 2568 รวมทั้งการเตรียมความพร้อมสำหรับมาตรฐานความยั่งยืนต่าง ๆ ความร่วมมือในครั้งนี้นอกจากจะช่วยสนับสนุนให้เกิดกระบวนการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศเท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมันของไทยในตลาดโลกอีกด้วย”           คุณจูเลี่ยน ทอสส์ ผู้แทน ผู้ประสานงานกลุ่มโครงการเกษตรและอาหาร GIZ ประเทศไทย กล่าวในพิธีลงนามข้อตกลงว่า โครงการ SPOPP CLIMA มีวัตถุประสงค์พัฒนาการเปลี่ยนแปลงของการเกษตรในประเทศไทยไปสู่การผลิตที่ยั่งยืนและคำนึงถึงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของกลุ่มโครงการฯ    ที่มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหาร ยกระดับความเป็นอยู่ และเสริมสร้างความยืดหยุ่นของเกษตรกร ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม และบรรเทาภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  “ความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและเอกชน รวมทั้งกลุ่มเกษตรกร กลุ่มโรงงานสกัดปาล์มน้ำมันผ่านโครงการ SPOPP CLIMA จะช่วยยกระดับความยั่งยืน และห่วงโซ่คุณค่าการจัดการสวนปาล์มน้ำมันคาร์บอนต่ำที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ การทำงานพัฒนาร่วมกันครั้งนี้จะนำไปสู่การต่อยอดเพื่อสร้างต้นแบบเกษตรกรกว่าหนึ่งพันคนและวิทยากรที่มีความรู้และศักยภาพอีกไม่น้อยกว่า 50 คนเพื่อขยายผลในพื้นที่อย่างยั่งยืน รวมทั้งสร้างระบบฐานข้อมูลในการคำนวณการฝึกอบรมคาร์บอนฟุตปริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ปาล์มทะลายสดของเกษตรกรภายในระยะเวลาดำเนินโครงการ  นำมาสู่การจัดการสวนปาล์มคาร์บอนต่ำในประเทศไทยในระยะยาวต่อไป”

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน