##GFC


GFC คาด S-curve ใหม่ ตลาดกลุ่มต่างชาติหนุน

GFC คาด S-curve ใหม่ ตลาดกลุ่มต่างชาติหนุน

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.กรุงศรี ระบุปรับคำแนะนำเป็น Buy สำหรับ GFC ยังคง TP25F ที่ 8.30 บาท เนื่องจากคาดกำไรสุทธิ 4Q24F ฟื้นตัว q-q จากการใช้บริการเพิ่มขึ้น และผลบวกปรับขึ้นราคาเต็มไตรมาส ส่วนปี 25F คาดกำไรสุทธิ (+7%y-y) เติบโตต่อเนื่อง มีปัจจัยบวกปรับขึ้นราคาและ 2 สาขาใหม่เปิดบริการเต็มปี ขณะที่ราคาหุ้นซื้อขาย PE ปี 25F เทียบเท่า Forward PE ใกล้เคียง -2.0SD ปรับคำแนะนำเป็น Buy ราคาเป้าหมาย (TP25F) ที่ 8.30 บาท           ปรับคำแนะนำเป็น Buy (เดิม Trading Buy) สำหรับ GFC คงราคาเป้าหมายปี 25F ที่ 8.30 บาท วิธี DCF WACC 8.7% คิดเป็น Imply PE ปี 25F ที่ 21 เท่า ขณะที่ราคาหุ้น GFC ซื้อขาย PE ปี 25F เฉลี่ย 17 เท่า เทียบเท่า Forward PE ใกล้เคียง -2.0SD เรามองเป็นโอกาสลงทุนเมื่อพิจารณาแนวโน้มกำไรสุทธิเติบโตเฉลี่ย +15%CAGR 25 ปี 2025 จะมี S-curve ใหม่จากการขยายตลาดกลุ่มต่างชาติ           ผู้บริหารระบุ เดือน ม.ค.25 สาขาพระราม 9 จะพร้อมให้บริการเต็มรูปแบบ หลังได้ใบอนุญาตให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ฯ ในเดือน ธ.ค.24 โดยช่วงแรกจะให้บริการ 2 ห้องตรวจ (vs Full Phase ที่ 12 ห้อง) รองรับการให้บริการราว 25-30 เคสต่อเดือน ช่วยเพิ่มศักยภาพรับลูกค้าจากปัจจุบันมีเพียงสาขาพระราม 3 ซึ่งมีอัตราใช้บริการเฉลี่ย 70-80% นอกจากนี้ GFC อยู่ระหว่างเจรจาเอเจนซีจีนมากกว่า 1 ราย ผู้บริหารมองว่าจะชัดเจนและเริ่มส่งลูกค้าช่วงต้นปี 25F พร้อมตั้งเป้าหมายรายได้ปี 25F เติบโตเกิน 15% กรณีรวมรายได้จากกลุ่มลูกค้าต่างชาติ เรามองว่าในปี 25F การเปิดสาขาพระราม 9 เต็มปีทำให้ GFC สามารถขยายฐานลูกค้าใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มต่างชาติ ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้เพียง 1% คาด 4Q24F กำไรสุทธิฟื้นตัว q-q และปี 25F เติบโตต่อเนื่อง 7%y-y           เดือน ต.ค.-พ.ย.24 ทิศทางการใช้บริการดีขึ้นจาก 3Q24 มีปัจจัยบวกการทำโปรโมชั่นต่อเนื่อง ประกอบกับสาขาอุบลราชธานีให้บริการเต็มไตรมาส (vs เริ่มให้บริการ 15 ส.ค.24) และสาขาพระราม 9 เริ่มให้บริการ นอกจากนี้ปลาย 3Q24 มีการปรับขึ้นราคา 10% เราคาด 4Q24F จะมีกำไรสุทธิราว 18 ลบ. (-19%y-y +11%q-q) ฟื้นตัว q-q ตามทิศทางรายได้ (-4%y-y +4%q-q) ส่วนปี 24F คาดมีกำไรสุทธิ 81 ลบ. (+5%y-y) และปี 25F คาดกำไรสุทธิ 87 ลบ. (+7%y-y) เติบโตต่อเนื่อง มีปัจจัยบวกปรับขึ้นค่าบริการและเปิดสาขาพระราม 9 เต็มปี (สมมติฐานปี 25F สาขาพระราม 9 เริ่มมีรายได้ลูกค้าต่างชาติใน 2H25F มีจำนวนเคสเฉลี่ย 5 เคสต่อเดือน)

ภาวะมีบุตรยากขาขึ้น ล็อกมง GFC-SAFE

ภาวะมีบุตรยากขาขึ้น ล็อกมง GFC-SAFE

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) แนะนำ Bullish กลุ่ม Fertility service ชี้ SAFE เด่น เคาะเป้า 16.30 บาท ด้าน GFC "ซื้อ" พิกัด 8.30 บาท           แนวโน้มตลาดบริการรักษาภาวะมีบุตรยากโลกและไทยเป็นขาขึ้น National Statistics Offices UN ระบุ ในปี 2022 ตลาดบริการภาวะมีบุตรยากทั่วโลก (Global Fertility Services) รวมถึงการขายผลิตภัณฑ์และการให้บริการที่เกี่ยวกับการช่วยเจริญพันธุ์ มีมูลค่าราว 47,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตเป็น 90,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2027 และ 117,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2032 หรือมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 13.8% ต่อปี สำหรับตลาดบริการ Intracytoplasmic Sperm Injection (ICSI) ในปี 2022 มีมูลค่าราว 17,725 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตเป็น 35,582 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2027 และ 69,277.2 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2032 ตามลำดับ หรือมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 14.3% ต่อปี           ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการเติบโตของตลาดบริการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ คือ อายุเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นของการมีบุตรคนแรกของผู้หญิงในหลายประเทศ และการขยายตัวของตลาดท่องเที่ยวสำหรับผู้มีบุตรยาก (Fertility Tourism) โดยข้อมูลจาก Medicaltourism.com คาดการณ์ว่าตลาดท่องเที่ยวสำหรับผู้มีบุตรยากทั่วโลกจะมีมูลค่าประมาณ 180,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2026 หรือมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 15% CAGR ในช่วงปี 2019-2026 โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงที่สุดราว 68,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2026 หรือเติบโตเฉลี่ย 17% ต่อปี (ปี 2019-2026) รวมทั้งคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีมูลค่าราว 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ           สำหรับประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางสำคัญของ Fertility Tourism ได้แก่ ไทย, มาเลเซีย, อินเดีย, ออสเตรเลีย, และญี่ปุ่น           สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจาก National Statistics Offices ระบุว่าในปี 2019 ตลาดให้บริการผู้มีบุตรยากมีมูลค่าราว 211 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าในปี 2027F ตลาดท่องเที่ยวสำหรับผู้มีบุตรยากของไทยจะมีมูลค่าเพิ่มเป็น 518 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 15% CAGR ในช่วงปี 2023-2027 ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อธุรกิจให้บริการรักษาภาวะมีบุตรยากในประเทศไทยยังมีแนวโน้มเติบโตขาขึ้น สอดคล้องกับตลาดโลก ทำให้ฝ่ายวิเคราะห์มองเป็นโอกาสทั้ง GFC และ SAFE ในการขยายตลาดกลุ่มต่างชาติใหม่ๆ           ฝ่ายวิเคราะห์ให้น้ำหนักลงทุน Bullish สำหรับกลุ่มผู้ให้บริการภาวะผู้มีบุตรยาก (Fertility service) เนื่องจากการให้บริการภาวะผู้มีบุตรยากเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ทางการแพทย์ที่ภาครัฐผลักดัน เพื่อให้ประเทศไทยกลายเป็น “Medical Hub” รวมทั้งเป็นทางเลือกของคนอยากมีลูก และตอบโจทย์วาระแห่งชาติส่งเสริมการมีบุตร นอกจากนี้ คาดว่าใน 4Q24F กำไรสุทธิรวมกลุ่มฯ จะมีการฟื้นตัว q-q และปี 2025F คาดกำไรสุทธิรวม (+17% y-y) เข้าสู่การเติบโตรอบใหม่ มีปัจจัยสนับสนุน           แนวโน้มตลาดท่องเที่ยวสำหรับผู้มีบุตรยากของโลกและไทยยังเติบโตเป็นขาขึ้น เนื่องจากอายุเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นในการมีบุตรคนแรกของผู้หญิงหลายประเทศ ทำให้ภาวะผู้มีบุตรยากเป็นปัญหาที่พบในหลายประเทศ โดย National Statistics Offices UN คาดการณ์ตลาดบริการภาวะมีบุตรยากทั่วโลก (Global Fertility Services) มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 14% ต่อปี (2022-32) ส่วนตลาดไทยคาดมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 15% CAGR 2023-27 จึงเป็นโอกาสในการขยายตลาดกลุ่มใหม่ให้กับ GFC และ SAFE           ประเทศไทยมีจำนวนประชากรเกิดใหม่ลดลงต่อเนื่องในช่วง 10 ปี (2012-2022) จาก 818,901 คน หรือคิดเป็นอัตราการเกิดร้อยละ 12.7 ต่อพันคน ในปี 2012 เป็น 502,107 คน หรือคิดเป็นอัตราการเกิดร้อยละ 7.6 ต่อพันคน ในปี 2022 ซึ่งเป็นจำนวนการเกิดต่ำสุดในประวัติศาสตร์ ทำให้รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการมีบุตรเป็นวาระแห่งชาติ และการให้บริการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับครอบครัวที่อยากมีลูก           กฎหมายสมรสเท่าเทียมจะมีผลใช้บังคับ 22 ม.ค. 2025 ประกอบกับมีการทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริการภาวะผู้มีบุตรยาก รวมทั้งเสนอปรับแก้ไขกฎหมายเพื่ออนุญาตให้คู่สมรสที่มีทะเบียนสมรสสามารถอุ้มบุญได้ โดยรวมถึงคู่สมรสเพศเดียวกัน และสำหรับกรณีชาวต่างชาติ           มองเป็นปัจจัยช่วยเพิ่มความต้องการมีบุตรเปิดกว้างขึ้นหุ้นเด่นเลือก SAFE (Buy TP25F 16.30 บาท) ปรับคำแนะนำเป็น Buy (เดิม Trading Buy) เนื่องจากคาด 4Q24F กำไรสุทธิ (-33% y-y +18% q-q) กลับมาเติบโต q-q และปี 25F คาดกำไรสุทธิ (+17% y-y) เติบโตเด่นกว่า GFC (vs กำไรสุทธิ +7% y-y) จากศักยภาพให้บริการพร้อมทั้งบุคลากรการแพทย์และเทคโนโลยีใหม่ ประกอบกับไม่มีผลกระทบต้นทุนและค่าใช้จ่ายของสาขาใหม่เหมือน GFC           เทคโนโลยีใหม่ PGT-A Seq ให้บริการเต็มปี 2025 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพตัวอ่อนและอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ รวมทั้งเป็นโอกาสให้บริการลูกค้าภายนอกทั้งคลินิก IVF และ รพ. ต่างๆ           เอเจนซี่ต่างชาติรายใหม่เข้ามาเพิ่มเติมทั้งจีน, อินเดีย, บังคลาเทศ และเวียดนาม ทำให้มีโอกาสขยายตลาดต่างชาติเพิ่มเติมจากปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้ต่างชาติราว 45%           ส่วน GFC (Buy TP25F 8.30 บาท) ฝ่ายวิเคราะห์ปรับคำแนะนำเป็น Buy (เดิม Trading Buy) เนื่องจากคาด 4Q24F กำไรสุทธิ (-19% y-y +11% q-q) กลับมาเติบโตได้ q-q จากการใช้บริการเพิ่มขึ้น ประกอบกับสาขาใหม่อุบลราชธานีให้บริการเต็มไตรมาส และสาขาพระราม 9 เริ่มให้บริการมีปัจจัยบวกจากการปรับขึ้นค่าบริการเฉลี่ยราว 10% มีผลตั้งแต่ 4Q24F และสาขาพระราม 9 ให้บริการเต็มปี 25F มองเป็น S-curve ใหม่ในการเติบโตจากการขยายตลาดลูกค้าต่างชาติ ซึ่งปัจจุบัน GFC มีสัดส่วนรายได้ต่างชาติเพียง 1% อย่างไรก็ตามฝ่ายวิเคราะห์ชอบ GFC น้อยกว่า SAFE เนื่องจากคาดปี 25F GFC จะยังมีปัจจัยกดดันด้วยต้นทุนของ 2 สาขาใหม่ รวมทั้งอยู่ระหว่างหาเอเจนซีรายใหม่ร่วมทำตลาดต่างชาติ ทำให้คาดการสร้างรายได้จะเติบโตช้ากว่าต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น           ช่วง 1Q24 ราคาหุ้น SAFE (+16%) ปรับตัวขึ้นดีกว่า GFC (-3%) และกลุ่มการแพทย์ (-0.5%) มีปัจจัยบวกจากผลการดำเนินงาน 1Q24 ทะลุ all time high จากอานิสงส์ความต้องการมีลูกในปีมังกร ทำให้มีการใช้บริการเร่งขึ้นทั้งลูกค้าชาวไทยและต่างชาติ ทั้งนี้นับจากต้นปี 24 ราคาหุ้น SAFE (-33% ytd) และ GFC (-37% ytd) ปรับตัวลงแย่กว่ากลุ่มการแพทย์ (-13% ytd) สะท้อนผลการดำเนินงานปีนี้ผ่านช่วงดีสุดใน 1Q24 ทำให้ราคาปัจจุบัน SAFE และ GFC ซื้อขาย PE ปี 25F เฉลี่ย 18 เท่า หรือเทียบเท่า Forward PE -2.0 SD มองเป็นโซนน่าลงทุน เมื่อเทียบกับแนวโน้มการเติบโตของกำไรสุทธิกลุ่มฯ เฉลี่ย 17% CAGR ปี 25F-26F ประกอบกับการให้บริการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ทางการแพทย์ที่มีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง รวมทั้งได้ประโยชน์จากนโยบายรัฐและกฎหมายสนับสนุนต่างๆ มองว่าราคาหุ้น SAFE และ GFC ควรถูก Re-rated PE ขึ้นจากระดับ -2.0 SD เพื่อสะท้อนแนวโน้มกำไรสุทธิปี 25F กลับมาเติบโต           ในปี 2024F คาดว่ากลุ่มผู้ให้บริการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากที่ศึกษาจะมีกำไรสุทธิรวม 260 ลบ. (-7% y-y) ลดลงตามทิศทางผลการดำเนินงานของ SAFE คาดมีกำไรสุทธิ 179 ลบ. (-11% y-y) ลดลง เนื่องจากคาดว่า SAFE จะมีรายได้ให้บริการ (-0.5% y-y) ชะลอตัวตามจำนวนรอบการเก็บไข่และให้บริการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน ทำให้มีผลของ Economies of scale ลดลงตามการใช้บริการ รวมทั้งการทำตลาดเชิงรุกร่วมกับเอเจนซี่ต่างชาติในประเทศจีน, บังคลาเทศ และอินเดีย ทำให้คาดว่าจะมีค่าใช้จ่าย SG&A (+12% y-y) เพิ่มขึ้นสวนทางกับรายได้ที่ชะลอตัว ส่วน GFC คาดมีกำไรสุทธิ 81 ลบ. (+5% y-y) เติบโต เนื่องจากคาดว่าจะมีรายได้ให้บริการ (+7% y-y) เติบโตจากจำนวนรอบการเก็บไข่ที่เพิ่มขึ้น และมีการปรับขึ้นค่าบริการช่วง 4Q24F ขณะที่ต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการเปิด 2 สาขาใหม่ คาดเริ่มเห็นผลกระทบบางส่วนใน 4Q24F (ปลายเดือน ส.ค. 24 เปิดสาขาอุบลราชธานี และปลาย 4Q24F เปิดสาขาพระราม 9)           ทิศทางและเป้าหมายปี 2025F ผู้บริหาร GFC และ SAFE มีมุมมองบวกต่อการเติบโตของรายได้ที่ดีขึ้นจากการตลาดเชิงรุกและขยายลูกค้าใหม่ โดย GFC ตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 10-15% ยังไม่รวมการขยายตลาดลูกค้าต่างชาติของสาขาพระราม 9 ส่วน SAFE ตั้งเป้าหมายรายได้เติบโตราว 15% ซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตของตลาด IVF ในประเทศไทย           โดยในปี 2025F คาดว่ากลุ่มผู้ให้บริการภาวะมีบุตรยากที่ศึกษาจะมีกำไรสุทธิรวม 297 ลบ. (+14% y-y) เข้าสู่การเติบโตรอบใหม่ เนื่องจากคาดว่า GFC และ SAFE จะมีรายได้เติบโตดีขึ้นตามการใช้บริการและมีจำนวนรอบการเก็บไข่เพิ่มขึ้น โดยคาดว่า GFC จะมีรายได้ให้บริการเติบโต +16% y-y รวมลูกค้าต่างชาติของสาขาพระราม 9 คาดเริ่มให้บริการใน 2Q25F เป็นต้นไป ส่วน SAFE คาดรายได้ให้บริการเติบโต +12% y-y ตามที่คาดว่าจะมีจำนวนรอบการเก็บไข่และให้บริการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเพิ่มขึ้น           ทั้งนี้คาดว่า GFC จะมีปัจจัยกดดันจากการรับรู้ต้นทุนและค่าใช้จ่ายของ 2 สาขาใหม่เต็มปี ทำให้คาดว่ากำไรสุทธิจะอยู่ที่ 87 ลบ. (+7% y-y) เติบโตในอัตราน้อยกว่ารายได้ และเติบโตน้อยกว่า SAFE ที่เราคาดว่ากำไรสุทธิจะอยู่ที่ 210 ลบ. (+17% y-y) เนื่องจากคาดว่า SAFE จะมีผลบวกจาก Economies of scale ของการให้บริการเพิ่มขึ้นทั้งการให้บริการ IVF และให้บริการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน รวมทั้งไม่มีปัจจัยกดดันต้นทุนจากการเปิดสาขาใหม่เหมือน GFC

GFC จ่อบุ๊ครายได้ GFC Ubon เต็มแม็กซ์

GFC จ่อบุ๊ครายได้ GFC Ubon เต็มแม็กซ์

          หุ้นวิชั่น –  หลังจากที่ บมจ.เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ “GFC” ปิดงบ 9 เดือนของปี 2567 โดยกวาดกำไรสุทธิ 62.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.22% และมีรายได้จากการให้บริการ เพิ่มขึ้น 11.47% (YoY) แบบสวยๆ ไปแล้ว ล่าสุด CEO “กรพัส อัจฉริยมานีกูล”เร่งวางเกมรุกทางการตลาดในช่วงโค้งสุดท้าย ลุยเปิดให้บริการสาขา      จีเอฟซี อุบล ทั้งให้คำปรึกษาภาวะผู้มีบุตรยาก การรับฝากครรภ์ และการรักษาภาวะผู้มีบุตรยาก เพื่อปักหมุดให้บริการการรักษาและให้คำปรึกษาแก่ผู้มีบุตรยากในโซนอีสาน แบบเต็มแม็กซ์ ซึ่งก็เท่ากับว่าตั้งแต่ไตรมาส 4/2567 เป็นต้นไป GFC เปิดกระเป๋ารับทรัพย์เต็มๆ จากสาขานี้เข้ามาได้เลย ฟอร์มดีขนาดนี้ แถมภาพรวมอุตสาหกรรมการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากทั่วโลกขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า แนวโน้ม GFC ในปี 2568 จะพุ่งแรงขนาดไหน เพราะหาก GFC Rama 9 International เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการปีหน้า ส่งผลให้เปิดพอร์ตรับลูกค้าต่างชาติได้แบบเต็มๆ ได้ยินแบบนี้แล้วไม่แปลกใจที่ GFC ถูกยกให้เป็นแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ อันดับต้นๆ ที่ลูกค้าแห่เข้ามารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง…... แอบส่งซิกข่าวให้เหล่า FC รู้ขนาดนี้แล้ว ถ้าตกขบวนอย่ามางอแง ให้เห็นนะ

[ภาพข่าว] GFC คว้า CGR 5 ดาว ตอกย้ำองค์กรกำกับดูแลกิจการระดับ “ดีเลิศ”

[ภาพข่าว] GFC คว้า CGR 5 ดาว ตอกย้ำองค์กรกำกับดูแลกิจการระดับ “ดีเลิศ”

          นายกรพัส อัจฉริยมานีกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ หรือ GFC เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับการประกาศผลการประเมินโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนไทย (Corporate Governance Report of Thai Listed Company: CGR) ประจำปี 2567 โดย GFC ได้รับคะแนนประเมินในระดับ “ดีเลิศ” (Excellent CG Scoring) หรือ 5 ดาว จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors : IOD) ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)           ความสำเร็จครั้งนี้ ตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินกิจการ ภายใต้การยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (ESG) โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจของ GFC สอดรับกับแผนความมุ่งเน้นในการให้บริการผู้เข้ารับการรักษาผู้มีบุตรยากในประเทศเป็นหลัก ควบคู่กับการขยายฐานกลุ่มลูกค้าต่างชาติ เพื่อผลักดันองค์กรสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุนอย่างต่อเนื่องในอนาคต

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

GFC ท็อปฟอร์ม โชว์กำไร 9 เดือนแรกโต 14.22%

GFC ท็อปฟอร์ม โชว์กำไร 9 เดือนแรกโต 14.22%

          กรุงเทพฯ – บมจ.เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ หรือ “GFC” โชว์งบไตรมาส 9 เดือนแรกกำไร 62.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.22% (YoY) กวาดรายได้จากการให้บริการ 283.59  ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.47% ขณะที่ไตรมาส3/67 รายได้จากการให้บริการแตะ 92.65 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.92%           นายกรพัส อัจฉริยมานีกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) “GFC” เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนของปี 2567 ว่า บริษัทฯ มีรายได้จากการให้บริการ จำนวน 283.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.17 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 11.47 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน (YoY) 9 เดือนของปี 2566 ที่มีรายได้จากการให้บริการอยู่ที่ 254.42 ล้านบาท สำหรับปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ผลดำเนินการเติบโต เนื่องจากจำนวนผู้มีบุตรยากที่เข้ามาทำการรักษาในช่วง 3 เดือนแรกของปีมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นอานิสงส์จากความต้องการมีบุตรในปีมังกร ขณะที่จำนวนรอบของการเก็บไข่สำหรับงวด 9 เดือนของปี 2567 เพิ่มขึ้นจำนวน 28 รอบ หรือคิดเป็น 4.15% (YoY) ขณะที่กำไรสุทธิในส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ อยู่ที่ 62.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.8 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 14.22 (YoY) ส่วนอัตรากำไรสุทธิสำหรับงวด 9 เดือนแรก เท่ากับร้อยละ 22.12 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.53 (YoY)           ขณะที่ผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 3/2567 มีรายได้จากการให้บริการจำนวน 92.65 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.18 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.92 (YoY) ทั้งนี้เป็นผลมาจากจำนวนผู้เข้ารับบริการรักษาภาวะ              ผู้มีบุตรยากทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับบริษัทฯรับรู้รายได้จากบริษัท จีเอฟซี อุบล จำกัด (GFC Ubon) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ที่เปิดดำเนินการให้การรักษาผู้มีบุตรยากในช่วงกลางเดือนสิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้น 10.54 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 12.83 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ที่มีรายได้จากการให้บริการ 82.11 ล้านบาท เนื่องมาจากจำนวนรอบของการเก็บไข่ เพิ่มขึ้น 29 รอบ หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.29 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการทำการตลาดในช่องทางต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ขณะที่กำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่อยู่ที่ 16.52 ล้านบาท           “ในไตรมาส 3 ตลาดรักษาผู้มีบุตรยากยังคงมีการเติบโต พร้อมทั้งยังมีการขยายพื้นที่การให้บริการ โดยเริ่มเปิดให้บริการสาขา จีเอฟซี อุบล ในส่วนการให้คำปรึกษาเบื้องต้น และการทำแผนการตลาดที่เข้มแข็ง รวมถึงการดูแลและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้รับบริการ ซึ่งส่งผลให้บริษัทฯ สามารถรักษาความพึงพอใจและความเชื่อมั่นจากลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึงผลการดำเนินงาน ในไตรมาส 3/2567 ที่มีรายได้รวมเพิ่มขึ้น 12.82% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า”           สำหรับภาพรวมธุรกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ บริษัทฯ คาดการณ์ว่าจะยังคงรักษาระดับรายได้จากการให้บริการได้อย่างแข็งแกร่ง ประกอบกับจากการขยายพื้นที่การให้บริการมากขึ้นจากการเปิดให้บริการสาขา จีเอฟซี อุบล ทั้งให้คำปรึกษาภาวะผู้มีบุตรยาก การรับฝากครรภ์ และการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากด้วยวิธี IUI และได้ให้บริการการรักษาแบบเต็มรูปแบบ ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2567 ประกอบกับกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกผ่านช่องทางดิจิทัลเพื่อเพิ่มการรับรู้ในแบรนด์ และดึงดูดลูกค้ารายใหม่เข้าสู่ระบบ ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ภาพรวมของผลการดำเนินในช่วงโค้งสุดท้ายมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง           อย่างไรก็ตาม ภาพรวมอุตสาหกรรมการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากมีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็วทั่วโลก เนื่องจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด และปัจจัยทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น อายุเฉลี่ยของการมีบุตรที่สูงขึ้น, ความสนใจในเรื่องสุขภาพการเจริญพันธุ์และการขยายตัวของการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วย เจริญพันธุ์(Assisted Reproductive Technology: ART) เช่น การใช้AI ในการคัดเลือกตัวอ่อนที่ดีที่สุด (embryo selection) รวมถึงการพัฒนาวิธีการรักษาใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุน ให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต รวมถึงการที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) ในส่วนของเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะการรักษาภาวะมีบุตรยาก ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวเป็นตัวแปรที่ส่งผลให้ความต้องการบริการทั้งจากคนไทยและชาวต่างชาติเพิ่มขึ้น [PR News]

GFC ชูความพร้อมคลินิก และเทรนด์ผู้หญิงยุคใหม่นิยม “ฝากไข่”

GFC ชูความพร้อมคลินิก และเทรนด์ผู้หญิงยุคใหม่นิยม “ฝากไข่”

           นายกรพัส อัจฉริยมานีกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ หรือ GFC เปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัทฯ ยังคงมุ่งเน้นการให้บริการผู้เข้ารับการรักษาผู้มีบุตรยากในประเทศเป็นหลักควบคู่กับการขยายฐานกลุ่มลูกค้าต่างชาติ เพื่อสอดรับการแผนการขับเคลื่อนธุรกิจของ GFC เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต            โดยล่าสุด บริษัทฯ ให้การต้อนรับนักวิเคราะห์และนักลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) พร้อมทั้งพาเยี่ยมชมสาขา GFC พระราม 9 อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งคาดว่าเตรียมเปิดให้บริการเร็วๆ นี้ สำหรับโครงการสาขาดังกล่าว ถือเป็นหนึ่งในแลนด์มาร์คที่สำคัญของกรุงเทพฯ ที่จะยกระดับการให้บริการทางการแพทย์สำหรับผู้มีบุตรยากอย่างครอบคลุม สอดรับกับการเตรียมก้าวสู่ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) ในอนาคต เนื่องจากมีห้องวิจัยและห้องปฏิบัติการสำหรับนักวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย ห้องประชุมสัมมนาวิชาการทางการแพทย์ ศูนย์ฝึกอบรมนักเทคนิคการแพทย์ภายในของกลุ่มบริษัท (In-house training) เพื่อเป็นการบริหารทรัพยากรบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ชูนวัตกรรม การนำเอาเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ PGT-A Plus มาใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจ ความผิดปกติของพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนการฝังตัวเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการคัดกรองหาตัวอ่อนที่มีความสมบูรณ์และสามารถเพิ่มอัตราความสำเร็จ (Success Rate) ในการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น            ขณะที่สาขาอุบลราชธานี ล่าสุดได้มีการเปิดให้บริการแล้วบางส่วน และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ครบทุกการรักษาภายในเร็วๆ นี้ โดยสาขาดังกล่าวสามารถรองรับผู้เข้ารับการรักษาได้ครอบคลุม ในพื้นอุบลฯ และจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากในโซนพื้นที่ดังกล่าวมีอัตราผู้เข้ารับคำปรึกษาผู้มีบุตรยากเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเชื่อว่าจะสามารถขยายฐานและเพิ่มโอกาสการเติบโตของกลุ่มลูกค้าที่สูงขึ้นในอนาคต            อย่างไรก็ตาม ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์และทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธ์ุที่มีประสบการณ์ด้านการให้บริการทางการแพทย์สำหรับผู้มีปัญหามีบุตรยาก ตั้งแต่การรับบริการตรวจเบื้องต้น, การรักษาด้วยวิธี IUI, การรักษาด้วยวิธี ICSI, การฝากไข่ (Egg Freezing) และการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน NGS สามารถตอบโจทย์ผู้เข้ารับการรักษา ผู้มีบุตรยากทั้งคนไทยและต่างชาติได้อย่างครอบคลุม            ขณะเดียวกัน นายกรพัส ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า เทรนด์ผู้หญิงยุคปัจจุบัน เริ่มให้ความสำคัญในการ ฝากไข่เพิ่มมากขึ้น ส่งให้บริษัทฯ เร่งวางกลยุทธ์เจาะตลาดบริการฝากไข่อย่างต่อเนื่อง เพราะการฝากไข่ ถือเป็นหนึ่งในเทคนิคการแพทย์ในการเจริญพันธุ์ สำหรับการวางแผนภายใต้การสร้างหลักประกันเพื่อเพิ่มโอกาสการมีลูกในอนาคต ดังนั้นบริษัทฯ เชื่อว่า ธุรกิจฝากไข่ จะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ GFC ได้เพิ่มขึ้นในอนาคต [PR News]

[ภาพข่าว] GFC WE CARE มอบถุงยังชีพ

[ภาพข่าว] GFC WE CARE มอบถุงยังชีพ

          นายกรพัส อัจฉริยมานีกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วยทีมงาน บมจ.เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ หรือ GFC (Genesis Fertility Center) ผู้ให้บริการทางการแพทย์สำหรับผู้มีบุตรยาก พร้อมยืนเคียงข้างสังคมให้ความช่วยเหลือเสมอทุกด้าน ล่าสุด GFC WE CARE ร่วมกันจัดชุดถุงยังชีพยา และเวชภัณฑ์เด็ก จำนวน 500 ชุด ให้แก่ผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม มอบให้กับทางองค์กรทำดี (บุ๋ม ปนันดา) โดยทางองค์กรได้ส่งตัวแทนมารับมอบ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม เพื่อแบ่งเบาความทุกข์ยากให้กับผู้ประสบภัยในลำดับต่อไป สำหรับโครงการ CSR เพื่อสังคม ภายใต้ชื่อ “GFC WE CARE” ทาง GFC ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาตลอด ทั้งมอบเงินสนับสนุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ หรือบริจาคเงินและสิ่งของเพื่อสนับสนุนมูลนิธิต่างๆ เพราะนี่คือหนึ่งในปณิธานที่บริษัท ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการทำกิจกรรม และช่วยเหลือกลับคืนสู่สังคมไทย

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต