ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#ESG


ดิจิทัลคาร์บอนเครดิต: อาวุธลับของไทยสู่การเป็นฮับสีเขียวอาเซียน

ดิจิทัลคาร์บอนเครดิต: อาวุธลับของไทยสู่การเป็นฮับสีเขียวอาเซียน

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้มีการประกาศปรับปรุงแนวทางกำกับดูแล Utility Token โดยมีสาระสำคัญในการยกเว้นการกำกับดูแลกลุ่มโทเคนดิจิทัลที่เน้นการอุปโภคบริโภค หรือใช้แทนใบรับรองสิทธิต่าง ๆ (Consumption-based utility token) หรือที่เรียกว่า "Utility Token กลุ่มที่ 1" โดยมีเงื่อนไขห้ามผู้ประกอบธุรกิจให้บริการโทเคนกลุ่มนี้ (ผู้ประกอบธุรกิจ หมายถึง ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับอนุญาตและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต.) ยกเว้นโทเคนที่มีบทบาทสนับสนุนกลไกการพัฒนาประเทศตามที่ ก.ล.ต. กำหนด           Carbon Credit และ Renewable Energy Certificate (REC) คืออะไร? Carbon Credit หรือคาร์บอนเครดิต คือ หน่วยที่แสดงถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกลด ดูดซับ หรือกักเก็บโดยโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ โดย หน่วยวัดที่แสดงถึงการลด ดูดซับ หรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจก1 หน่วย = 1 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานมาตรฐาน เช่น VERRA หรือ Gold Standard Renewable Energy Certificate (REC) คือ ใบรับรองที่แสดงถึงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ทั้งสองสิ่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อโลกและเศรษฐกิจสีเขียว เนื่องจากช่วยส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด และขับเคลื่อนเป้าหมายของโลกในการบรรลุ Carbon Neutrality และ Net Zero โดย ใบรับรองการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (เช่น โซลาร์เซลล์ ลม ชีวมวล)1 REC = 1 เมกะวัตต์-ชั่วโมง (MWh) ของไฟฟ้าสะอาด โดยต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบอิสระ (Auditor)           องค์ประกอบของระบบคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย ตัวอย่างมาตรฐานที่สำคัญในการรับรอง Carbon Credit ในระดับสากล VERRA (VCS) : มาตรฐานระดับสากลที่ใช้รับรองการลดก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก Gold Standard: มาตรฐานที่ให้ความสำคัญกับโครงการที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม           ในส่วนของประเทศไทย มีมาตราฐานที่เป็นของตัวเอง โดยมีผู้รับรองการออกคือองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) T-VER (Thailand Voluntary Emission Reduction Program): มาตรฐานรับรองการลดก๊าซเรือนกระจกของไทย และ T-VER Premium: มาตรฐานระดับพรีเมียมที่เน้นโครงการที่มีประสิทธิภาพและผลประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมชัดเจนยิ่งขึ้น           Carbon Credit ในประเทศไทยได้มาผ่านระบบที่มีองค์ประกอบสำคัญ คือ: ผู้พัฒนาโครงการ (Issuer): หน่วยงานหรือองค์กรที่พัฒนาและดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจก เป็นเจ้าของโครงการนั้นๆ ระบบทะเบียน  (Registry): ระบบฐานข้อมูลที่บันทึกและติดตามสถานะของ Carbon Credit เช่น ระบบทะเบียนคาร์บอนเครดิตของ อบก. ซึ่งทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนบันทึกจำนวนหน่วยคาร์บอนเครดิต ผู้ตรวจสอบ (VVB - Validation and Verification Body): หน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐาน ซึ่งในประเทศไทย VVB จะต้องได้รับการอนุมัติจาก อบก. ก่อนเท่านั้น และทำงานร่วมกับ อบก. ตลาดการแลกเปลี่ยน : ตลาดที่มีการซื้อขาย Carbon Credit เช่น ตลาด FTIX และตลาดที่อยู่ในช่วงการพัฒนาและทดลองใช้ภายใต้การกำกับดูแลโดย อบก.           มาตรฐาน Renewable Energy Certificate (REC) มาตรฐาน REC ที่ได้รับความนิยมระดับโลกคือ International REC Standard (I-REC) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยรับรองและติดตามการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดย REC จะได้มาจากโรงไฟฟ้าที่ผลิตพลังงานหมุนเวียน และได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง (Auditor) ว่าพลังงานที่ผลิตนั้นมาจากแหล่งพลังงานสะอาดจริง โดยจะมีการบันทึกและออกใบรับรองผ่านระบบทะเบียน REC ที่เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งในประเทศไทยนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้ดำเนินการลงทะเบียนและบันทึก REC ผ่านแพลตฟอร์มของ I-REC และมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนบนแพลตฟอร์มที่รองรับ เช่น FTIX           Carbon Credit และ REC มีความสำคัญกับประเทศไทยอย่างไรบ้าง?           สถานการณ์ในประเทศไทยปัจจุบัน ประเทศไทยดำเนินตลาดคาร์บอนเครดิตในรูปแบบ Voluntary Market ซึ่งองค์กรต่างๆ เข้าร่วมด้วยความสมัครใจ ยังไม่มีกฎหมายบังคับอย่างเป็นทางการ (Mandatory Market) แต่ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ตลาดแบบบังคับผ่านระบบ Emission Trading Scheme (ETS) โดยมีการวางแผนและทดลองในบางภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ประเทศไทยยังมีส่วนร่วมในการประชุม COP (Conference of Parties) และได้แสดงความมุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้สอดคล้องกับเป้าหมายระดับโลกที่ตั้งเป้าไว้ในข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) นอกจากนี้ ประเทศไทยกำลังอยู่ในขั้นตอนการร่างและเตรียมนำเสนอ พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อกำหนดกรอบกฎหมายและมาตรการที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ปัจจุบันองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยเริ่มดำเนินการตรวจวัดและบริหารจัดการ Carbon Footprint for Organization (CFO) มากขึ้น เพื่อให้มีการรายงานและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทางธุรกิจอย่างชัดเจน เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสนับสนุนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ           ล่าสุดในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้มีมติปรับปรุงหลักเกณฑ์ โดยอนุญาตให้ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้า และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถนำ Tokenized Carbon Credit, REC และ Carbon Allowance ที่อยู่ในรูปแบบพร้อมใช้ (Ready-to-use) มาให้บริการได้ ภายใต้เงื่อนไขที่สำคัญ 2 ข้อ คือ ต้องมีระบบหรือมาตรฐานการคัดเลือกและเพิกถอนโทเคนดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพและความน่าเชื่อถือของโทเคนที่นำมาซื้อขาย ต้องมีระบบหรือมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลที่ชัดเจน ครบถ้วน และเพียงพอ เพื่อสร้างความโปร่งใสต่อนักลงทุน           ทำไม Carbon Credit และ REC ถึงสำคัญสำหรับประเทศไทย? CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) คือ มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (EU) ที่มีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบในปี 2026 โดยจะเก็บภาษีนำเข้าสินค้า (เช่น เหล็ก อลูมิเนียม ปุ๋ย ซีเมนต์ ไฟฟ้า) ตามปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ผลกระทบต่อไทย: ไทยส่งออกไป EU มูลค่า3 แสนล้านบาทต่อปี(ข้อมูลปี 2566) โดยเฉพาะสินค้าเป้าหมาย CBAM เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ สินค้าเหล็ก หากผู้ผลิตไทยไม่ลดคาร์บอนฟุตพรินต์ จะถูกเก็บภาษีเพิ่มสูงถึง20-35% ของมูลค่าสินค้า ทำให้เสียเปรียบแข่งกับผู้ผลิตใน EU ดึงดูดการลงทุนสีเขียว (Green Investment) ซึ่งทางฝั่งนักลงทุนต่างชาติคัดกรอง ESG หนักขึ้น เช่น กองทุนระดับโลก เช่น BlackRock, GPIF ประกาศลงทุนเฉพาะบริษัทที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สนับสนุนเป้าหมายชาติ Carbon Neutrality 2050 และ Net Zero 2065 : ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกปีละ 370 ล้านตัน CO2 (อันดับ 21 ของโลก) โดยมีภาคพลังงานและยานยนต์ปล่อยสูงสุด (40%) ดังนั้น REC และ Carbon Credit ช่วยลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล และฟื้นฟูระบบนิเวศควบคู่กัน           ผลกระทบเชิงบวกต่อประเทศไทยในระยะยาว การปรับปรุงหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. ครั้งนี้ สะท้อนถึงวิสัยทัศน์ที่เล็งเห็นศักยภาพของเทคโนโลยีบล็อกเชนในการยกระดับตลาด Carbon Credit และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะส่งผลเชิงบวกในระยะยาวโดย: สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรและ SMEs มีรายได้จากโครงการลดคาร์บอน เพิ่มสภาพคล่องของตลาดคาร์บอนและสร้างโอกาสการลงทุนสำหรับภาคธุรกิจ ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางซื้อขายคาร์บอนเครดิตในภูมิภาค กระตุ้นเศรษฐกิจสีเขียวด้วยการดึงดูดการลงทุนและการใช้งานพลังงานสะอาดมากขึ้น ดึงดูดเงินลงทุน ESG (Environmental, Social, Governance) จากต่างชาติ เสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะประเทศที่ให้ความสำคัญต่อการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง           ความท้าทายและข้อควรระวัง นอกจากผลกระทบเชิงบวกแล้ว ยังมีสิ่งที่ประเทศไทยควรระวัง และเตรียมการเพื่อเข้าสู่เศรษฐกิจสีเขียวดังนี้ ความเสี่ยงด้านการตรวจสอบ: การเปลี่ยนหน่วยให้มาเป็นโทเคนดิจิทัลต้องมีการเชื่อมระบบกันระหว่าง ผู้ใช้งานคาร์บอนเครดิต , คลาดแลกเปลี่ยน และ ระบบบันทึกทะเบียน ซึ่งถ้าทำไม่สมบูรณ์ อาจจะเกิดการนับซ้ำซ้อน (Double Counting) ซึ่งส่งผลลบกับความเชื่อมั่น การรับรู้ภาคประชาชน: ต้องสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกคาร์บอนเครดิตและ REC กฎหมายที่คลุมเครือ: ต้องการกรอบกำกับดูแลที่ชัดเจนเพื่อป้องกันการละเมิด           ในยุคที่ "คาร์บอน" คือค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่าย REC และ Carbon Credit ไม่เพียงช่วยลดภาระภาษี CBAM แต่ยังเปิดทางให้ไทยก้าวขึ้นเป็นผู้เล่นหลักในตลาดคาร์บอนโลก ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งรัฐปรับนโยบายสนับสนุน เอกชนลงทุนเทคโนโลยีสะอาด และประชาชนตื่นรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม           การปรับนโยบายของสำนักงาน ก.ล.ต. สะท้อนความพร้อมของไทยในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขับเคลื่อนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ แม้มีอุปสรรคที่ต้องแก้ไข แต่ทิศทางนี้จะช่วยวางรากฐานให้ไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการเงินสีเขียวในอาเซียนอย่างแท้จริง ที่มา : https://www.sec.or.th/TH/Pages/News_Detail.aspx?SECID=11644 ผู้เขียน : Suttirat Hanpanit, Head of Business Development – Token X

คลัง จ่อตั้งกองทุน ThaiESG กองที่ 2  โบรกชี้เป้า 12 หุ้นเด่นน่าสะสม   

คลัง จ่อตั้งกองทุน ThaiESG กองที่ 2 โบรกชี้เป้า 12 หุ้นเด่นน่าสะสม  

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.กรุงศรี ระบุ กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการจัดตั้งกองทุน ThaiESG กองที่ 2 คาดว่าจะมีความชัดเจนภายในเดือนมีนาคม 2568 โดยมีวงเงินประมาณ 1.8 แสนล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับกองทุน LTF ที่ครบอายุไปแล้ว ทั้งนี้ รูปแบบการลงทุนและสิทธิประโยชน์ยังอยู่ระหว่างการหารือ ซึ่งอาจแตกต่างจากกองทุน ThaiESG เดิม แต่ยังคงเน้นลงทุนในประเทศ โดยเราประเมินว่าการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นไทย เนื่องจากจะช่วยชะลอแรงขายจาก LTF เดิมและเสริมสภาพคล่องใหม่เข้าสู่ตลาด โดยเฉพาะในกลุ่มนักลงทุนที่ถือ LTF ระยะยาว ซึ่งมีต้นทุนเฉลี่ยที่ 1,620-1,640 จุด           เรามองปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามซึ่งอาจส่งผลบวกต่อตลาดในระยะกลางถึงยาว ได้แก่ การขยายสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากมีการเพิ่มเพดานลดหย่อนของ ThaiESG จาก 300,000 บาท เป็น 500,000 บาท เท่ากับ LTF เดิม จะช่วยกระตุ้นการลงทุนและสร้างความเชื่อมั่นในตลาดมากขึ้น อีกทั้งยังมีการหารือเรื่องการลงทุนในหุ้นไทย 100% และการขยายขอบเขตของหุ้น ESG เพื่อเพิ่มโอกาสการลงทุนและกระจายความเสี่ยง KSS มองว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยถูกกดดันจากการเติบโตของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและการขาดเงินทุนระยะยาวจาก LTF ที่หมดสิทธิประโยชน์ หากภาครัฐมีมาตรการชัดเจนเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุนในประเทศ จะช่วยให้ SET ค่อย ๆ ฟื้นตัว           KSS ยังคงมุมมองเชิงบวกต่อการสะสมหุ้น เนื่องจาก SET ยังอยู่ใน Deep Value Zone โดยมีค่า PER ปี 2568 อยู่ที่ 13.5 เท่า และหากไม่นับรวมหุ้น DELTA ค่า PER จะอยู่ที่เพียง 11.5 เท่า ปัจจุบันมีหุ้นที่เข้าข่ายการลงทุนระยะยาว ได้แก่ 300 บริษัทที่มี PER ต่ำกว่า 12 เท่า, 435 บริษัทที่ให้ผลตอบแทนปันผลสูงกว่า 3%, 548 บริษัทที่มี PBV ต่ำกว่า 1 เท่า และ 145 บริษัทที่มีคุณสมบัติครบทั้งสามข้อ KSS แนะนำ 7 หุ้น Deep Value ที่มีศักยภาพในการเติบโตระยะยาว ได้แก่ CPALL, BDMS, MINT, BH, GPSC, SCGP และ HMPRO พร้อมกันนี้ยังแนะนำอีก 5 บริษัทที่เข้าเงื่อนไข PER < 12X, PBV < 1X และ Dividend Yield > 3% ในกลุ่มธนาคาร ได้แก่ KBANK, KTB, BBL ผสานกับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มมีปัจจัยหนุนเชิงบวก เช่น AP และ SIRI

BGRIM ติด S&P Global Sustainability Yearbook 2025 ต่อเนื่องปีที่ 4

BGRIM ติด S&P Global Sustainability Yearbook 2025 ต่อเนื่องปีที่ 4

          หุ้นวิชั่น - กรุงเทพฯ 17 กุมภาพันธ์ 2568: บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนด้วยการได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิก S&P Global Sustainability Yearbook 2025 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 พร้อมยกระดับสู่กลุ่ม Top 5% ของอุตสาหกรรมสาธารณูปโภคไฟฟ้า จากระดับ Top 10% ในปีก่อนหน้า สะท้อนถึงการยอมรับในระดับสากลตลอดจนการยกระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) อย่างต่อเนื่อง           ภายใต้ปรัชญาการดำเนินธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารีของ บี.กริม ซึ่งยึดถือมาตลอด 147 ปี บี.กริม เพาเวอร์ มุ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ควบคู่กับการลงทุนในพลังงานสะอาด เสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้แก่ภาคอุตสาหกรรม พร้อมนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน รวมถึงพัฒนาโซลูชั่นด้านพลังงาน ลดการใช้ทรัพยากร และปรับปรุงกระบวนการผลิตพลังงานให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน และการส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ด้วยแนวทางการดำเนินธุรกิจบนรากฐานของความยั่งยืน บี.กริม เพาเวอร์ ได้รับการยอมรับจากผู้ประเมินทั้งในระดับประเทศและระดับสากล โดยได้รับการประเมิน SET ESG Ratings ระดับสูงสุด AAA ประจำปี 2567 พร้อมครองอันดับหุ้นยั่งยืนเป็นปีที่ 7 ติดต่อกัน จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมถึงได้รับคัดเลือกให้อยู่ในดัชนี FTSE4Good Index Series ด้วยคะแนน 4.5 จาก 5 คะแนน และคะแนนเต็ม 5 ในมิติธรรมาภิบาล ทั้งนี้ บี.กริม เพาเวอร์ ยังคงมุ่งมั่นผสานความยั่งยืนเข้ากับการดำเนินงาน สร้างสมดุลระหว่างคุณค่าทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน ลูกค้า และพันธมิตรทางธุรกิจ พร้อมเดินหน้าบรรลุเป้าหมายการเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2593

S&P Global เลือก DELTA เข้า Sustainability Yearbook ปี68

S&P Global เลือก DELTA เข้า Sustainability Yearbook ปี68

          หุ้นวิชั่น - กรุงเทพฯ ประเทศไทย, 17 กุมภาพันธ์ 2568 - บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้นำระดับโลกด้านการจัดการพลังงานและผู้ให้บริการโซลูชันสีเขียวอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย IoT ได้รับการจัดอันดับใน S&P Global Sustainability Yearbook ประจำปี 2568 นับเป็นปีที่แปดติดต่อกันที่บริษัทฯ ได้รับการยอมรับในฐานะบริษัทที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นและยอดเยี่ยมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ทั้งนี้ S&P Global Sustainability Yearbook เป็นทำเนียบรวบรวมรายชื่อบริษัทชั้นนำด้านความยั่งยืนตามการจัดอันดับดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI) โดยเดลต้า ประเทศไทย เป็นบริษัทจดทะเบียนไทยเพียงรายเดียวในกลุ่มอุตสาหกรรม “ชิ้นส่วนอุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์” ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่ทำเนียบนี้           เดลต้ามุ่งเน้นการดำเนินงานด้านความยั่งยืนด้วยแนวทางที่มุ่งเน้นการดำเนินงานที่เห็นผลจริงและวัดผลได้ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม โดยกลยุทธ์ด้าน ESG ของบริษัทฯ ตั้งอยู่บนหลักการของความโปร่งใส ความร่วมมือ และการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง           นายเคเค ชง หัวหน้าฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) กล่าวถึงความสำเร็จครั้งนี้ว่า “เราเชื่อว่าความยั่งยืนคือการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีคุณค่าในระยะยาว ซึ่งจะช่วยให้เดลต้าเติบโตไปพร้อมกับสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสิ่งแวดล้อม การที่เราได้รับคัดเลือกให้อยู่ในรายชื่อ S&P Global Sustainability Yearbook และเข้าเป็นสมาชิกของดัชนี DJSI ไม่เพียงยืนยันถึงความก้าวหน้าของเรา แต่ยังเป็นแรงผลักดันให้เราพัฒนาต่อไป เพื่อยืนหยัดในการขับเคลื่อนความยั่งยืนด้วยแนวทางที่เป็นรูปธรรมและมีคุณค่าอย่างต่อเนื่อง”           ในปีนี้ S&P Global Sustainability Yearbook ได้ทำการประเมินบริษัทกว่า 7,690 แห่งจาก 62 อุตสาหกรรมทั่วโลก และคัดเลือกเหลือเพียง 780 บริษัทเพื่อบรรจุใน Yearbook การได้รับคัดเลือกในครั้งนี้ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเดลต้า ประเทศไทยในการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม           เดลต้า ประเทศไทย ได้ผนวกความยั่งยืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานมาอย่างยาวนาน โดยบริษัทฯ ลงทุนอย่างต่อเนื่องในโครงการต่าง ๆ เพื่ออนุรักษ์และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการสร้างมูลค่าทางธุรกิจในระยะยาว นับตั้งแต่ปี 2560 บริษัทฯ สามารถลดความหนาแน่นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกไซต์งานลงได้กว่าร้อยละ 33 อีกทั้งร้อยละ 23 ของรายได้รวมของบริษัทฯ ยังมาจากโซลูชันเทคโนโลยีสะอาด (clean technology solutions) และบริษัทฯ ยังใช้วัสดุรีไซเคิลในกระบวนการผลิตกว่าร้อยละ 22 ของวัตถุดิบทั้งหมด นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้กำกับดูแลให้ซัพพลายเออร์ทั้งหมดปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณแห่งพันธมิตรธุรกิจผู้มีความรับชอบ (RBA Code of Conduct) เพื่อเสริมสร้างการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน           ก้าวต่อไปสู่อนาคต เดลต้าจะยังคงมุ่งมั่นเสริมสร้างการดำเนินงานด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ กำลังศึกษาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนในด้านต่าง ๆ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร การเพิ่มศักยภาพโครงการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน และการเร่งพัฒนานวัตกรรมโซลูชันคาร์บอนต่ำ และด้วยการผนวกความยั่งยืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานเหล่านี้ เดลต้าจึงสามารถขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตควบคู่ไปกับการดำเนินงานตามหลักการ ESG ได้อย่างมีประสิทธิภาพ           แม้เดลต้า ประเทศไทย จะได้รับการยอมรับใน S&P Global Sustainability Yearbook ซึ่งถือเป็นเครื่องยืนยันความก้าวหน้าที่สำคัญ แต่ความสำเร็จดังกล่าวถือเป็นเพียงก้าวหนึ่งบนเส้นทางอันยาวไกล บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นที่จะนำเสนอโซลูชันที่ช่วยสนับสนุนอนาคตที่ยั่งยืนและสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ก้าวไปไกลกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อตอกย้ำกับคำมั่นสัญญาของบริษัทที่ว่า “Smarter. Greener. Together.”

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

IVL ชู ESG แกนหลักธุรกิจ  มุ่งเพื่อความยั่งยืนระดับโลก   

IVL ชู ESG แกนหลักธุรกิจ มุ่งเพื่อความยั่งยืนระดับโลก  

          บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL มุ่งมั่นเป็นผู้ผลิตเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนชั้นนำระดับโลก ด้วยการนำหลักการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) มาเป็นแกนหลักของธุรกิจ เพื่อส่งมอบการเติบโตอย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้           ดร. แอนโทนี วาตานาเบ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL เล่าให้ฟังว่า บริษัทฯ มีแผนงานชัดเจนในการบรรลุเป้าหมาย ESG เพื่อมุ่งสู่การเป็นบริษัทที่มีความยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยมุ่งมั่นลดและดักจับคาร์บอนจากการดำเนินงานให้ได้มากยิ่งขึ้น เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน และทยอยเลิกการใช้ถ่านหิน           สำหรับด้านสิ่งแวดล้อม (E) มุ่งเน้นบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้แก่ ลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม (Scope 1 และ 2) ลง 30% ภายในปี 2573 เพิ่มการใช้ไฟฟ้าการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเป็น25% ภายในปี 2573 และบรรลุเป้าหมายในการรีไซเคิลขวด PET หลังการบริโภค 1.5 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2573 โดยตั้งแต่ปี 2554 ได้รีไซเคิลขวด PET หลังการบริโภคมากกว่า 134,000 ล้านขวด ซึ่งช่วยลดการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างมาก และลดปริมาณขยะฝังกลบ ความก้าวหน้าและเป้าหมายสำคัญเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างโซลูชันขยายการดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน           ส่วนด้านสังคม (S) มุ่งมั่นสร้างผลกระทบทางสังคมเชิงบวกที่มีความหมายต่อชุมชนที่บริษัทฯ ดำเนินงานอยู่ โดยนำศักยภาพและความเชี่ยวชาญระดับโลกของบริษัทฯ มาสร้างมูลค่าร่วมกันในระยะยาวเพื่อสังคม โครงการริเริ่มที่สำคัญ ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับการรีไซเคิล ในปี 2566 มีผู้เข้าร่วมโครงการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการรีไซเคิลกว่า 400,000 คนทั่วโลก โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเยาวชน เพื่อส่งเสริมการปฎิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน ตลอดจนมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างการร่วมมือกับองค์กรในท้องถิ่นเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงบริการที่จำเป็น อาทิ การศึกษา การดูแลสุขภาพ และการสุขาภิบาล ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนหลายพันคน อีกทั้งโครงการอาสาสมัครเชิญชวนพนักงานเพื่ออุทิศเวลาเป็นอาสาสมัครมากกว่า 15,000 ชั่วโมงในปี 2566 ในโครงการพัฒนาชุมชนต่างๆ ด้วยการตอบสนองความต้องการของชุมชนและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำให้เราสร้างผลกระทบเชิงบวกที่ยั่งยืนซึ่งสอดคล้องกับค่านิยมหลักและกลยุทธ์ ESG ของเรา           ขณะที่ด้านการกำกับดูแล (G) มุ่งเน้นดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและยึดมั่นในความซื่อสัตย์ ปฏิบัติตามมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่เข้มงวดและกรอบการจัดการความเสี่ยงระดับสากล ทั้งแนวทางปฏิบัติทางธุรกิจที่ถูกต้องตามจริยธรรม ยึดมั่นในมาตรฐานการปฏิบัติตามกฎหมายที่เข้มงวด ลดความเสี่ยง และเสริมสร้างความมุ่งมั่นของเราในการดำเนินงานที่ถูกต้องตามจริยธรรมทั่วโลก รวมถึงการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล: นำซอฟต์แวร์เฉพาะด้าน ESG มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบข้อมูลและรายงานด้านความยั่งยืน เพื่อยกระดับความโปร่งใสและความรับผิดชอบมากขึ้น           “เราไม่ได้เป็นเพียงกรอบการดำเนินงานเท่านั้น แต่เป็นรากฐานในการสร้างโอกาสผ่านนวัตกรรมและการลงทุนด้านเทคโนโลยี การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และขับเคลื่อนอนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น ในการสร้างโลกที่ดีขึ้นและยั่งยืนมากขึ้น เราเป็นผู้นำด้านเคมีภัณฑ์ตลอดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ เราจัดหาวัตถุดิบที่ยั่งยืน ออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อความแข็งแกร่งและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และรีไซเคิลเพื่อให้ผลิตภัณฑ์กลับมามีชีวิตใหม่ เราผลิตเคมีภัณฑ์ที่ขาดไม่ได้ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้คนหลายพันล้านคนและโลกของเราทุกวัน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าว           อย่างไรก็ดี ความยั่งยืนถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างคุณค่า และก้าวข้ามความท้าทายในภูมิทัศน์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ด้วยความยืดหยุ่นและนวัตกรรมจึงส่งมอบ "เคมีภัณฑ์ที่ขาดไม่ได้" ตอบสนองความต้องการทั่วโลก พร้อมเป็นผู้นำในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน เคมีภัณฑ์ของบริษัทฯ ถูกนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์จำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์สุขอนามัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ทางการแพทย์ ชิ้นส่วนยานยนต์ สิ่งทอ และอื่นๆ อีกมากมาย           ทั้งนี้ การนำความยั่งยืนมาผนวกเข้ากับธุรกิจช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน ได้นำแนวปฎิบัติด้านการหมุนเวียนมาใช้ในทุกขั้นตอนการดำเนินงาน ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบไปจนถึงโซลูชันการจัดการผลิตภัณฑ์เมื่อสิ้นอายุการใช้งาน แนวทางนี้เกี่ยวข้องกับการลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทฯ เผชิญความเสี่ยงด้านการดำเนินงานที่สำคัญทั่วโลก เนื่องมาจากภัยธรรมชาติตลอดหลายปีที่ผ่านมา รวมถึงพายุทอร์นาโด พายุเฮอริเคน น้ำท่วม ภาวะขาดแคลนน้ำ และไฟป่า เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่           บริษัทฯ ได้พัฒนา "แผนการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ" เพื่อช่วยบรรเทาความเสี่ยงในการดำเนินงานทั่วโลก และเพื่อสร้างความมั่นใจว่า เตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แผนการปรับตัวของอินโดรามา เวนเจอร์ส อยู่ภายใต้การตรวจสอบโดยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (SRMC) และได้มีการนำไปปฏิบัติในทุกฐานการผลิตของอินโดรามา เวนเจอร์ส ทั่วโลก           นอกจากนี้ การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ถือเป็นหัวใจสำคัญในเส้นทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงจัดให้ฝึกอบรมเชิงกลยุทธ์ผ่าน Sustainability Academy ในทุกระดับขององค์กร ซึ่งช่วยให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับเครื่องมือสำหรับประเมินความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ ปรับตัวให้เข้ากับความท้าทายที่เปลี่ยนแปลงไป และตอบสนองความต้องการของลูกค้า การมุ่งเน้นนี้ช่วยให้พนักงานมีความยืดหยุ่นและประสบความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเรา           “เรายังร่วมมือกับพันธมิตร ลูกค้า และซัพพลายเออร์ เพื่อส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคมตลอดห่วงโซ่คุณค่า อีกหนึ่งโครงการที่เราได้ดำเนินการคือ "โครงการส่งเสริมความยั่งยืนของซัพพลายเออร์" (Sustainable Supplier Engagement Program) ซึ่งมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงด้าน ESG ในห่วงโซ่อุปทานและประเมินความพร้อมของซัพพลายเออร์ในการลดการปล่อยคาร์บอน ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างทีมจัดซื้อและทีมธุรกิจในโครงการนี้ แสดงให้เห็นถึงการผสานรวมแนวคิดความยั่งยืนในองค์กรได้อย่างแท้จริง” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าว           อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ การใช้ประโยชน์จากโอกาสด้านการความยั่งยืน โดยลงทุนการรีไซเคิลขั้นสูง ด้วยการร่วมมือกับสตาร์ทอัพชั้นนำและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยีรีไซเคิลที่ล้ำสมัยและนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้องการด้านความยั่งยืนในระดับโลก และช่วยให้ลูกค้าของเราบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน ขณะเดียวกันขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน ด้วยการพัฒนาโซลูชันสอดคล้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มองหาทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม           อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือและการลงทุนทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่าช่วยทำให้วัตถุดิบที่ยั่งยืนและเทคโนโลยีล้ำสมัยมีความพร้อมใช้งานมากขึ้น และมีต้นทุนที่เข้าถึงได้ โดยการส่งเสริมนวัตกรรมผ่านการเข้าใจอย่างครบถ้วนถึงอุปสรรคทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ตลอดจนการสร้างคุณค่า และการปกป้องคุณค่า (Value Protection) เป็นการเสริมสร้างความยืดหยุ่นให้กับการดำเนินงานของบริษัทฯ ผ่านการบูรณาการเครื่องมือบริหารความเสี่ยง เช่น แผนการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ มาตรการเหล่านี้ปกป้องธุรกิจจากความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม รักษาเสถียรภาพในการดำเนินงาน และสร้างความไว้วางใจของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ขณะที่การสร้างคุณค่า (Value Creation) ประสบความสำเร็จผ่านนวัตกรรมที่ยั่งยืน เทคโนโลยีรีไซเคิลขั้นสูง และการขยายสายผลิตภัณฑ์สีเขียวที่มีอัตรากำไรสูง ความพยายามเหล่านี้สอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก ช่วยผลักดันการเติบโตของรายได้ในขณะที่สร้างมูลค่าให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระยะยาว อินโดรามา เวนเจอร์ส ภูมิใจที่ได้เป็นผู้นำด้านโซลูชันที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ระดับโลก ด้วยพนักงานทั่วโลกประมาณ 26,000 คน เรายังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าที่ยั่งยืน ขับเคลื่อนการสร้างสรรค์นวัตกรรม และร่วมมือกับแบรนด์ชั้นนำทั่วโลกเพื่อส่งเสริมอนาคตที่ยั่งยืน

SCC สรุปผลการดำเนินการด้าน ESG ปี 2567

SCC สรุปผลการดำเนินการด้าน ESG ปี 2567

          หุ้นวิชั่น - บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) หรือ SCC สรุปผลการดำเนินการด้าน ESG Net Zero: ในปี 2567 เอสซีจีมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Scope 1+2) อยู่ที่ 26.25 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ลดลง 23.4% เมื่อเทียบกับ 34.24 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี 2563 (ปีฐาน) Go Green: ในปี 2567 รายได้จากสินค้า Green Choice อยู่ที่ 275.6 ล้านบาท หรือคิดเป็น 54% ของรายได้รวม อีกทั้งยังสามารถ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 950,000 ตัน CO2 ลดเหลื่อมล้ำ: ในปี 2567 เอสซีจีมีส่วนในการ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมรวม 24,543 คน ผ่านการพัฒนาอาชีพ ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา และยกระดับสุขภาวะ เป็นต้น ย้ำความร่วมมือ: เอสซีจีร่วมกับผู้แทนจาก กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ GCCA และ UNIDO นำเสนอความคืบหน้าและความสำเร็จของโครงการ Saraburi Sandbox ในหัวข้อ "Saraburi Sandbox: Leading Thailand’s Pathway to a Low Carbon City" ในการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ COP29 ที่กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน ระหว่างวันที่ 11-13 พฤศจิกายน 2567 สะท้อนถึงบทบาทสำคัญของ โครงการ Saraburi Sandbox ในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น เมืองคาร์บอนต่ำ และเป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลการดำเนินการด้าน ESG Net Zero           ผลการดำเนินงานในปี 2567 เอสซีจีมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Scope 1+2) อยู่ที่ 26.25 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ลดลง 23.4% หากเทียบกับ 34.24 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี 2563 (ปีฐาน) ซึ่งยังสอดคล้องกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเอสซีจีในปี 2573 ตามคำแนะนำของ The Science Based Target Initiatives (SBTi) ที่แนะนำให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ 2.5% ต่อปี           แต่หากรวมปริมาณก๊าซเรือนกระจกภายใต้กำลังการผลิตในระดับปกติ เอสซีจีจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ประมาณ 29 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์           เอสซีจีเดินหน้าปรับแผนธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างการเติบโตและคว้าโอกาสใหม่ ๆ จากการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน มุ่งเน้นการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทางเลือก (Alternative Fuel) เช่น พลังงานชีวมวล วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และเชื้อเพลิงจากขยะ (Refuse Derived Fuel หรือ RDF) รวมถึงการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) อย่างยั่งยืน           ในปี 2567 เอสซีจีใช้เชื้อเพลิงทางเลือกคิดเป็น 29% ของพลังงานความร้อนทั้งหมดในทุกธุรกิจ และ 45% สำหรับธุรกิจซีเมนต์ในประเทศไทย Go Green           เอสซีจีเดินหน้าพัฒนาสินค้าคาร์บอนต่ำภายใต้ฉลาก Green Choice เน้นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้สินค้าที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม สร้างความมั่นใจว่าสินค้าเหล่านี้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และดีต่อคุณภาพชีวิต           เอสซีจีตั้งเป้ารายได้จากสินค้า Green Choice เป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของรายได้จากการขายทั้งหมดภายในปี 2573           ในปี 2567 เอสซีจีสามารถสร้างรายได้จากสินค้า Green Choice จำนวน 275.6 ล้านบาท หรือคิดเป็น 54% ของรายได้รวม และสามารถ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 950,000 ตัน CO2 ลดเหลื่อมล้ำ           เอสซีจีมุ่งพัฒนาอาชีพ ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา และยกระดับสุขภาวะ ตั้งแต่ปี 2565 โดยมีเป้าหมาย 50,000 คนในปี 2573 และมีเป้าหมายอยู่ที่ 5,600 คนในปี 2567           สำหรับปี 2567 เอสซีจีมีส่วนในการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมรวม 24,543 คน โดย สนับสนุนการพัฒนาสร้างอาชีพ 5,025 คน ผ่านความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ในการพัฒนาทักษะและความสามารถในการประกอบอาชีพ เช่น โครงการพลังชุมชน ที่อบรมวิสาหกิจชุมชน ส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพิ่มมูลค่าสินค้าท้องถิ่น ขยายโอกาสทางเศรษฐกิจ และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในระยะยาว สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการและ SMEs โดยผ่านแพลตฟอร์มการเงิน Siam Validus Capital ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน 15,093 คน ผ่านโครงการ แพทย์ดิจิทัลทางไกล โดยใช้ นวัตกรรม DoCare เชื่อมโยงผู้ป่วยและแพทย์ เพิ่มการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ในพื้นที่ห่างไกล มอบโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนรวม 4,425 คน ย้ำความร่วมมือ โครงการสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ (Saraburi Sandbox) เอสซีจีร่วมกับ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ GCCA และ UNIDO นำเสนอความคืบหน้าและความสำเร็จของโครงการ Saraburi Sandbox ในหัวข้อ "Saraburi Sandbox: Leading Thailand’s Pathway to a Low Carbon City" ในการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ COP29 ที่กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน ระหว่างวันที่ 11-13 พฤศจิกายน 2567 สะท้อนถึงบทบาทสำคัญของโครงการ Saraburi Sandbox ในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น เมืองคาร์บอนต่ำ ภาคพลังงาน ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าเยี่ยมชมโครงการฯ และเร่งผลักดัน Solar Floating คลองเพรียว โดยเสนอแนวทางให้ทั้ง กฟผ. และภาคเอกชนดำเนินการ เพื่อเรียนรู้ข้อจำกัดและโอกาสของโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำรวจพื้นที่ คลองเพรียวและบึงบ้านหมอ เพื่อประเมินศักยภาพในการติดตั้ง Solar Floating โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ระดับน้ำ ข้อมูลสายส่งโดยรอบ และความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคต ภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ เสนอให้ยกระดับมาตรฐานปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก (มอก. 2594-2567) เป็น มอก. บังคับ แทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (มอก. 15) ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี การบริหารจัดการขยะ ร่วมมือกับ กระทรวงศึกษาธิการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสระบุรี จัดทำโครงการโรงเรียนไร้ขยะ เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกด้าน การจัดการของเสียและการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยนำร่อง 54 โรงเรียนในจังหวัดสระบุรี ภาคเกษตร ขยายผลการทำนาเปียกสลับแห้ง จากแปลงนำร่องที่อำเภอหนองโดนและเสาไห้ จาก 50 ไร่ในปี 2566 เป็น 1,180 ไร่ในปี 2567 ครอบคลุม 7 อำเภอ ได้แก่ เสาไห้ หนองโดน หนองแซง เมืองสระบุรี บ้านหมอ ดอนพุด และหนองแค การใช้ประโยชน์ของที่ดินและป่าไม้ สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายป่าชุมชน 45 แห่ง สำหรับการเขียนแผนจัดการป่าชุมชนและการตั้งคณะกรรมการป่าชุมชน ค้นหา Food Bank เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ของป่าชุมชนและใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนอย่างยั่งยืน ฝึกอบรม "อาสาป่าชุมชน" สู้ไฟป่า จังหวัดสระบุรี จำนวน 4 รุ่น

PR9 คว้า SET ESG Ratings กลุ่ม AAA สองปีซ้อน   

PR9 คว้า SET ESG Ratings กลุ่ม AAA สองปีซ้อน  

          บริษัท โรงพยาบาลพระรามเก้า จำกัด (มหาชน) หรือ PR9 ให้ความสำคัญกับการนำหลักการและแนวคิด ESG (Environmental, Social, Governance) มาบูรณาการในทุกมิติของการดำเนินงาน  เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาองค์กรและการดูแลชุมชน รวมถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม           ล่าสุด คว้ารางวัลหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings 2567 จัดอยู่ในระดับ AAA ต่อเนื่องสองปีซ้อนในกลุ่มบริษัทบริการ (Service) โดยได้รับคะแนนสูงสุดในการประเมินการดำเนินธุรกิจที่ใส่ใจใน 3 ด้านหลัก คือ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social, and Governance: ESG) ถือเป็นการตอกย้ำถึงวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของโรงพยาบาลพระรามเก้า           นพ.เสถียร ภู่ประเสริฐ กรรมการผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า เรามุ่งมั่นเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เมื่อนำแนวคิด ESG มาผนวกเข้ากับการดำเนินธุรกิจ และวัฒนธรรมองค์กร โดยผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญและขับเคลื่อน จึงทำให้เกิดแนวทางการดำเนินงานอย่างชัดเจน  เพราะเราเชื่อว่าการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพสูงนั้นไม่เพียงแต่หมายถึงการรักษาผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนและสิ่งแวดล้อมด้วย           ไม่ว่าจะเป็น ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental)  เน้นการลดผลกระทบจากการดำเนินงาน โดยได้ริเริ่มโครงการลดการใช้พลังงาน การลดการใช้ทรัพยากร และ ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การใช้พลังงานทดแทน Solar Roof และ การรีไซเคิลขยะในโรงพยาบาล รวมไปถึง การจัดการขยะติดเชื้อ เป็นต้น ด้านสังคม (Social) ส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียม โรงพยาบาลมีความมุ่งมั่นในการให้บริการที่มีคุณภาพแก่ผู้ป่วยทุกคน รวมถึงการจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพในชุมชน และ มุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้พร้อมดูแลผู้ป่วยในทุกมิติ ตลอดจน ด้านการกำกับดูแล (Governance) มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาเพื่อช่วยให้ระบบการบริการ มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การทำ SMART Hospital , มีระบบการบริหารจัดการที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ และ มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม โดยนำ ESG มาเป็นกรอบการตัดสินใจในเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานของเราสอดคล้องกับมาตรฐานจริยธรรมและกฎหมาย           “แม้ ESG จะมีความท้าทายในหลากหลายมิติ แต่เรามองว่านี่คือ โอกาสในการยกระดับมาตรฐานการดำเนินงาน เช่น เรื่องการลงทุนในเทคโนโลยีก็เป็นการสร้างศักยภาพให้องค์กรเติบโตไปพร้อมกับการตอบโจทย์ความท้าทายในการให้บริการ รวมถึง เป็นการดึงดูดนักลงทุนที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน สำหรับการจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อม ทั้งเรื่องการลดขยะติดเชื้อ และ การใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก็เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนในระดับองค์กรและชุมชน” กรรมการผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าว           ทั้งนี้ การดำเนินงานด้าน ESG ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของผู้ป่วยและสังคม และช่วยเสริมความเชื่อมั่นให้กับผู้ป่วย นักลงทุน และคู่ค้า โดยเฉพาะในยุคที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับองค์กรที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ตลอดจนการลงทุนในเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบพลังงานทดแทนและ Digital Transformation ไม่เพียงช่วยลดต้นทุนในระยะยาว แต่ยังสร้างความแตกต่างในตลาด และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว รวมไปถึงการพัฒนาโครงการด้านสุขภาพชุมชน เช่น โครงการมีสุขสงฆ์ ,การสอนฟื้นคืนชีพให้กับชุมชนต่างๆ ช่วยเสริมภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลในฐานะผู้ดูแลสุขภาพของประชาชน เป็นการสร้างความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งจะส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กรในอนาคต           นอกจากนี้ ปรับโครงสร้างพื้นฐานความจำเป็นในการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามแนวทาง ESG เช่น การติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์หรือการจัดการขยะที่ได้มาตรฐาน อาจต้องใช้ทรัพยากรและเวลา รวมทั้งปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้สอดคล้องกับแนวทาง ESG อาจต้องใช้เวลาและความพยายามในการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อให้พนักงานทุกระดับเข้าใจและปฏิบัติตามแนวทาง ESG อย่างจริงจัง ขณะเดียวกันติดตามและประเมินผลกระทบจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินการภายใต้แนวทาง ESG           ทั้งนี้ โรงพยาบาลพระรามเก้า ได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมที่สอดคล้องกับแนวคิด ESG หลายโครงการ เช่น โครงการจัดการพลังงาน เป็นการใช้พลังงานทดแทน เช่น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ พลังงานสะอาดเพื่อช่วยลดการใช้พลังงานจากแหล่งฟอสซิล  และติดตั้งหลอดไฟ LED ทั่วโรงพยาบาลเพื่อลดการใช้พลังงาน โครงการจัดการของเสีย จัดระบบแยกขยะติดเชื้อและขยะทั่วไปเพื่อการกำจัดอย่างถูกวิธี , รีไซเคิลขยะภายในองค์กร , ลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว , ลดการใช้โฟม , การนำน้ำเสียมาบำบัดเพื่อใช้ใหม่ โครงการพัฒนาสุขภาพชุมชน อาทิ จัดสัมมนาและกิจกรรมเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพแก่ประชาชนในชุมชน เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดี และ สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคต่าง ๆ จัดอบรม การช่วยฟื้นคืนชีพ ให้กับประชาชนในชุมชน และ บริษัท ใกล้เคียง จัด Mobile Clinic ให้บริการตรวจสุขภาพคนในชุมชน เช่น บริษัท , คอนโด , วัด ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง และโครงการสนับสนุนบุคลากร ได้แก่ จัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพให้กับพนักงาน จัดโครงการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ในการทำงาน จัดโครงการพัฒนาทักษะและความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมให้พนักงาน ESG DNA

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

ก.ล.ต. ขับเคลื่อนตลาดทุนไทย  เดินหน้าส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ

ก.ล.ต. ขับเคลื่อนตลาดทุนไทย เดินหน้าส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ

           หุ้นวิชั่น - ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) เป็นรากฐานสำคัญที่สนับสนุนความยั่งยืนของระบบนิเวศและเศรษฐกิจของโลก กิจการต่าง ๆ ล้วนพึ่งพาธรรมชาติในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมผ่านห่วงโซ่อุปทาน[1] อย่างไรก็ดี การลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของทรัพยากรและความเสี่ยงต่อธุรกิจในระยะยาว โดยงานวิจัยของ Stockholm Resilience Centre[2] ระบุว่า การสูญเสียความสมบูรณ์ของชีวมณฑล[3] (Loss of Biosphere Integrity) ได้เกินขีดความสามารถในการรองรับของโลกแล้ว ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือไม่สามารถหาทางแก้ไขให้กลับมาเป็นดังเดิมได้ อันจะสร้างความเสียหายต่อสังคมและเศรษฐกิจทั่วโลกในอนาคต            เพื่อรับมือกับวิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น หลายหน่วยงานทั่วโลกได้ดำเนินการสนับสนุนการอนุรักษ์และการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น กรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออล ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework: KM-GBF) ซึ่งจัดทำและรับรองในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD) สมัยที่ 15 (COP 15) เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพในระดับโลก หรือออกกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์ที่ปลอดการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป และกฎหมายการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นต้น[4]            ประเทศไทยในฐานะภาคีของ CBD ได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับประเทศ(National Biodiversity Strategies and Action Plans: NBSAPs) มาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน NBSAPs เป็นฉบับที่ 5 โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดทำ ซึ่งแผนดังกล่าวได้กำหนดเป้าหมายระดับชาติ ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (เป้าหมายระดับชาติฯ) เพื่อคุ้มครอง อนุรักษ์ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ไทยยังได้ลงนามใน NBSAP Accelerator Partnership[5] ซึ่งเป็นกลุ่มเครือข่ายพันธมิตรระดับโลก เพื่อสนับสนุนการจัดทำและขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม NBSAPs ให้บรรลุตามเป้าประสงค์และเป้าหมายของ KM-GBF และวิสัยทัศน์ระดับโลกในการอยู่อย่างสอดคล้องและปรองดองกับธรรมชาติ (Living in harmony with nature) ภายในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) ด้วย            สำหรับ NBSAPs ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566 – 2570) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่างแผนเมื่อเดือนตุลาคม 2567มีการกำหนดเป็นเป้าหมายระดับชาติฯ ที่จะต้องบรรลุภายใน พ.ศ. 2573 ได้แก่ (1) การมีพื้นที่คุ้มครองและพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกเขตพื้นที่คุ้มครอง (OECMs) ของประเทศทั้งบนบกและในทะเลอย่างน้อยร้อยละ 30 (2) ดัชนีสถานภาพชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม (Red List index) ไม่น้อยลงจากข้อมูลปีฐาน พ.ศ. 2568 (3) การมีมาตรการในการจัดการสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่รุกรานที่มีลำดับความสำคัญสูงอย่างน้อยร้อยละ 35 และ (4) สัดส่วนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่ม SET50 ที่เปิดเผยข้อมูลการดำเนินธุรกิจที่เชื่อมโยงกับความหลากหลายทางชีวภาพโดยสมัครใจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30[6]            เป้าหมายที่ 4 นี้เป็นเป้าหมายที่ตลาดทุนจะมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครอง อนุรักษ์ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน โดยบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม SET50 สามารถเปิดเผยข้อมูลที่เชื่อมโยงกับความหลากหลายทางชีวภาพ หรือข้อมูลความเสี่ยง การพึ่งพา และผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงนโยบาย แผน กลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยง และผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ การเปิดเผยดังกล่าวเป็นลักษณะสมัครใจ โดยสามารถอ้างอิงกรอบการรายงานตามแนวทางสากล เช่น The Taskforce on Nature-related Financial Disclosures (TNFD) Framework[7] หรือ Global Reporting Initiative (GRI) 101: Biodiversity 2024 เป็นต้น เพื่อช่วยให้การรายงานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพมีมาตรฐาน โปร่งใส น่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล            ก.ล.ต. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ และมุ่งเดินหน้าส่งเสริมและสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลาย ทางชีวภาพและเข้าใจถึงความเสี่ยงและโอกาสที่จะเกิดกับภาคธุรกิจ โดยเตรียมจะเปิดการจัดอบรมสัมมนาให้แก่บุคลากรของบริษัทจดทะเบียน ตั้งแต่ระดับกรรมการและผู้บริหารที่เป็นผู้กำหนดนโยบายและเป้าหมายของบริษัท ไปจนถึงระดับผู้ปฏิบัติ รวมทั้งเตรียมจัดทำคู่มือเพิ่มเติม เพื่อให้บริษัทมีความพร้อมในการดำเนินการ            ด้านความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลโดยสมัครใจ และสนับสนุนบริษัทจดทะเบียนกลุ่ม SET50 ในการบรรลุเป้าหมายระดับชาติฯ ข้างต้น นอกจากนี้ ก.ล.ต. อยู่ระหว่างติดตามและศึกษามาตรฐานและแนวทางสากลที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ทั้งในด้านการระดมทุนและการเปิดเผยข้อมูล เพื่อเป็นเครื่องมือให้บริษัทจดทะเบียนและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำมาใช้ได้ในอนาคต            เป้าหมายระดับชาติที่ส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม SET50 เป็นการดำเนินการในลักษณะของ “ความสมัครใจ” ซึ่งการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไม่เพียงสนับสนุนเป้าหมายระดับประเทศเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสสำคัญที่บริษัทจะได้แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสีย อย่างไรก็ดี เนื่องจากบริบทของแต่ละบริษัทมีความแตกต่างกันทั้งในด้านการพึ่งพา ผลกระทบ ความเสี่ยง และโอกาสที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้น บริษัทควรพิจารณาว่าความหลากหลายทางชีวภาพมีสาระสำคัญ (Materiality) ต่อบริบทการดำเนินงานของตนในระดับใด รวมถึงควรมีแนวทางการบริหารจัดการ ปกป้องคุ้มครอง อนุรักษ์ หรือฟื้นฟู ความหลากหลายทางชีวภาพในรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทการดำเนินธุรกิจ โดยการเปิดเผยข้อมูลในเรื่องนี้เป็นปลายทางสำคัญของกระบวนการ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความโปร่งใสและเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียสำหรับประกอบการตัดสินใจอย่างรอบด้าน            แม้ความหลากหลายทางชีวภาพอาจถูกมองว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในมิติ E (Environment) ของกรอบ ESG แต่การบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่แท้จริงนั้นขึ้นอยู่กับการมี G (Governance) ที่เข้มแข็ง บริษัทควรกำหนดนโยบายและกลไกในการบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจทางธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ไปพร้อม ๆ กับการมีความรับผิดชอบต่อสังคมและโลกใบนี้ [1] ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ บทความ “ความหลากหลายทางชีวภาพ โอกาสและความเสี่ยงของธุรกิจ (ตอนที่ 1)” [2] อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ [A] และ [B] [3] ชีวมณฑล (Biosphere) คือ ส่วนของพื้นผิวโลก (พื้นดิน/หิน/นํ้า) และบรรยากาศของโลกที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ประกอบด้วยระบบนิเวศ (Ecosystem) ต่าง ๆ ซึ่งมีกลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community) และสิ่งมีชีวิต (Organism) ชนิดเดียวกันอาศัยอยู่ร่วมกัน เรียกว่า ประชากร (Population) คลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติม [4] ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ บทความ “ความหลากหลายทางชีวภาพ โอกาสและความเสี่ยงของธุรกิจ (ตอนที่ 2)” [5] อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ [C] และ [D] [6] นอกจากเป้าหมายระดับชาติฯ แล้ว NBSAPs ฉบับที่ 5 ได้กำหนดให้ “สัดส่วนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่ม SET50 ที่เปิดเผยข้อมูลการดำเนินธุรกิจ ที่เชื่อมโยงกับความหลากหลายทางชีวภาพโดยสมัครใจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ภายในปี 2570” เป็นตัวชี้วัดหนึ่งในเป้าหมายที่ 8 บูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพ ในนโยบาย แผน และการดำเนินงานของทุกภาคส่วนในทุกระดับ รวมถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ [7] TNFD Recommendations เผยแพร่ในปี 2023 เพื่อเป็นแนวทางแนะนำการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ ประกอบด้วย 4 ด้านหลัก ได้แก่ การกำหนดโครงสร้างการกำกับดูแล (governance) การผนวกเข้ากับกลยุทธ์องค์กร (strategy) การบริหารจัดการความเสี่ยง (risk management) และการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมาย (metrics and targets) คลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติม

โจทย์ด่วนโรงแรมไทย  กับคำว่า “ยั่งยืน”

โจทย์ด่วนโรงแรมไทย กับคำว่า “ยั่งยืน”

          หุ้นวิชั่น - การประกาศใช้ข้อกำหนดใหม่ของสหภาพยุโรป (EU) ในช่วงต้นปี 2567 ที่ผ่านมา ทั้ง Corporate Sustainability Reporting Directive (CSRD) ว่าด้วยการรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และ Corporate Sustainability Due Diligence Directive (CSDDD) ว่าด้วยการสอบทานด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้ผู้บริโภคในยุโรปและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงรายงานด้านความยั่งยืนของบริษัทหรือองค์กรในยุโรปรวมถึงบริษัทต่างชาติที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานได้ภายในปี 2569 นั้นจะส่งผลกระทบต่อโรงแรมไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้           โรงแรมไทยกำลังถูกผลักดันให้ยั่งยืนยิ่งขึ้นเพื่อรับกติการักษ์โลกของ EU ภายในปี 2569 เนื่องจากโรงแรมและที่พักของไทยกว่า 2 หมื่นแห่งขายห้องพักบน Booking.com ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติเนเธอร์แลนด์รวมถึง Agoda ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้การบริหารของบริษัทแม่เดียวกัน (Booking Holdings) ที่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด CSRD และ CSDDD โดยทาง Booking.com และ Agoda ได้ขานรับข้อกำหนดของ EU พร้อมส่งเสริมโรงแรมทั่วโลกที่ขายห้องพักบนแพลตฟอร์มให้ได้รับการรับรองมาตรฐานความยั่งยืนในระดับสากล อย่างเช่น Greenkey, Green Globe, Travelife, EarthCheck, GSTC และรวมถึง Green Hotel Plus ของไทยที่ได้รับ GSTC-Recognized Standard นอกจากนี้ ข้อกำหนดดังกล่าวยังรวมไปถึงบริษัททัวร์ในยุโรปที่ขายแพ็กเกจท่องเที่ยวไทยด้วย ทั้งนี้จากข้อมูลโครงการสำรวจเพื่อการวิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศในไตรมาส 3 ปี 2567 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พบว่า 56% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาไทยนิยมจองโรงแรมและที่พักผ่าน OTAs และ 35% ของนักท่องเที่ยวยุโรปจองโรงแรมและที่พักผ่านบริษัททัวร์ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ได้ว่าข้อกำหนดใหม่นี้จะส่งผลกระทบกับธุรกิจโรงแรมไทยที่รับนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่ต่ำกว่า 35 ล้านคนในแต่ละปี โดยราว 20% เป็นนักท่องเที่ยวจากยุโรป ขณะที่โรงแรมไทยในภาพรวมยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นบนเส้นทางของความยั่งยืน จากการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจโรงแรมทั่วโลกของ The Department for Environment, Food & Rural Affairs (DEFRA) ของสหราชอาณาจักร พบว่า ในปี 2566 โรงแรมไทยยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่ค่อนข้างสูงที่ 43.4 kgCO2e per occupied room เมื่อเทียบกับ เมืองท่องเที่ยวสำคัญของโลกอย่างญี่ปุ่น สิงคโปร์ อิตาลี และฝรั่งเศส           โรงแรมไทยในภาพรวมยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการก้าวสู่ความยั่งยืน สะท้อนจากจำนวนโรงแรมที่ได้รับมาตรฐานด้านความยั่งยืนในระดับสากลทั้งหมดในปี 2567 อยู่ที่ราว 100 แห่งหรือมีสัดส่วนไม่ถึง 1% ของโรงแรมและที่พักในไทยทั้งหมด อีกทั้งยังกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และภูเก็ต โดยกว่า 60% เป็นโรงแรมเชนทั้งในเครือเชนต่างประเทศและเชนไทย ซึ่งเส้นทางสู่ความยั่งยืนของโรงแรมไทยยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการทั้ง 1) ธุรกิจโรงแรมส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจถึงประโยชน์ในระยะยาวของการเป็นโรงแรมยั่งยืน 2) ความพร้อมในด้านเงินทุน บุคลากร ที่ปรึกษา และการเก็บข้อมูลด้านความยั่งยืนอย่างเป็นระบบเนื่องจากธุรกิจโรงแรมเพิ่งฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 ได้ไม่นาน และ 3) แรงกระตุ้นที่จะผลักดันให้ธุรกิจโรงแรมเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนทั้งจากนโยบายภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจากเทรนด์ของนักท่องเที่ยว ก้าวสำคัญ (3T) ที่จะช่วยให้โรงแรมยั่งยืนเกิดขึ้นได้จริง Target : การกำหนดเป้าหมายสู่ความยั่งยืนภายใต้กรอบเวลาและแผนงานที่ชัดเจน รวมถึงกำหนดตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลการดำเนินงาน ซึ่งธุรกิจโรงแรมอาจกำหนดเป้าหมายระยะสั้นควบคู่ไปกับเป้าหมายระยะยาว Teamwork : การสร้างความรู้ความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืนให้แก่พนักงาน Supplier ไปจนถึงผู้เข้าพัก ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการก้าวสู่ความยั่งยืนร่วมกันด้วย Transform : ธุรกิจโรงแรมอาจเริ่มต้นจากการปรับลดการใช้พลังงานและทรัพยากร รวมถึงการเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง แล้วจึงวางแผนเพิ่มการลงทุนในพลังงานทดแทนหรือปรับปรุงอาคารเขียวเมื่อมีความพร้อม การก้าวข้ามข้อจำกัดและการเสริมความแข็งแกร่งด้านความยั่งยืนต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาครัฐ การยกระดับเป้าหมายความยั่งยืนไทย ด้วยการผลักดันให้ความยั่งยืนเป็นเรื่องโจทย์ด่วนไม่ใช่เป็นเพียงทางเลือกของธุรกิจผ่านการออกข้อกำหนด/มาตรการการบังคับใช้เพื่อกระตุ้นให้ภาคธุรกิจเห็นความสำคัญในการก้าวสู่ความยั่งยืนอย่างจริงจัง รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมด้านความยั่งยืนให้กับสังคม การพิจารณาจัดตั้งกองทุนความยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับการดำเนินการด้านความยั่งยืนเพื่อให้ธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะโรงแรมขนาดกลาง-เล็ก ซึ่งอาจครอบคลุมไปถึงการสนับสนุนเงินทุนในการยื่นขอรับใบรับรองมาตรฐานความยั่งยืนระดับสากล การออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านความยั่งยืน อย่างเช่นการออกสิทธิพิเศษทางภาษีสำหรับการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน การฝึกอบรมบุคลากร หรือการขอใบรับรองมาตรฐานในระดับสากลเพื่อกระตุ้นให้โรงแรมไทยหันมาลงทุนด้านความยั่งยืนมากขึ้น อ่านต่อรายงานฉบับเต็มได้ที่... https://www.scbeic.com/th/detail/product/green-hotel-170125

ก.ล.ต. ยกระดับ “ESG Product Platform” เพิ่มข้อมูลสำคัญ SRI Fund หนุนการลงทุนอย่างยั่งยืน

ก.ล.ต. ยกระดับ “ESG Product Platform” เพิ่มข้อมูลสำคัญ SRI Fund หนุนการลงทุนอย่างยั่งยืน

          หุ้นวิชั่น - วันอังคารที่ 21 มกราคม 2568 | ฉบับที่ 16 / 2568 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เดินหน้าส่งเสริมการลงทุนอย่างยั่งยืน ปรับปรุงศูนย์รวมข้อมูลผลิตภัณฑ์ทางการเงินกลุ่มความยั่งยืน (ESG Product Platform) โดยเพิ่มข้อมูลสำคัญของกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน (SRI Fund) ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องในตลาดทุนและประชาชนทั่วไป เข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ได้สะดวกยิ่งขึ้น           นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ก.ล.ต. ได้พัฒนาและเปิดตัว ESG Product Platform ตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 โดยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องในตลาดทุนและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ทางการเงินกลุ่มความยั่งยืนได้โดยสะดวกจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ โดยการปรับปรุงครั้งนี้ ก.ล.ต. ได้เพิ่มข้อมูลกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน (Sustainable and Responsible Investing Fund : SRI Fund) แยกตามสิทธิประโยชน์ทางภาษี ได้แก่ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) พร้อมรายละเอียดสำคัญ ประกอบด้วย มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (AUM) จำนวนกองทุน และจำนวนบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่บริหารจัดการกองทุนรวมดังกล่าว โดยข้อมูลทั้งหมดจะปรับปรุงทุกสิ้นวันทำการ           “การพัฒนา ESG Product Platform ในระยะต่อไป ก.ล.ต. มีแผนที่จะจำแนกข้อมูล Thai ESG ที่ลงทุนหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีการเปิดเผยเป้าหมายและแผนการเพิ่มมูลค่าบริษัท (corporate value up plan) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุนที่สนใจลงทุนใน Thai ESG ที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ หลังจาก ก.ล.ต. ได้ขยายขอบเขตทรัพย์สินที่ Thai ESG สามารถลงทุนได้ (eligible assets) ให้กว้างขึ้น โดยอนุญาตให้ลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีแผนการเพิ่มมูลค่ากิจการได้อีกกลุ่มหนึ่ง เพื่อส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนยกระดับธรรมาภิบาล (governance) ของตนเอง” เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าว           ก.ล.ต. มุ่งหวังให้ ESG Product Platform เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ทางการเงินกลุ่มความยั่งยืนและตัดสินใจลงทุนได้อย่างเชื่อมั่น ช่วยให้ตลาดทุนมีความน่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพ และสังคมทุกภาคส่วนเข้าถึงได้ ทั้งนี้ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://sustainablefinance.sec.or.th/Fund

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

AIMC มองปี68 จังหวะลงทุน Thai ESG  แนะกระจายพอร์ตลดผันผวน

AIMC มองปี68 จังหวะลงทุน Thai ESG แนะกระจายพอร์ตลดผันผวน

          หุ้นวิชั่น - จากภาพรวม กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) ที่ปัจจุบันมีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การบริหาร (AUM) ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท โดย สมาคมบริษัทจัดการลงทุน และ สมาชิกบริษัทจัดการลงทุน 16 แห่ง พร้อมนำเสนอ 42 กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) และเตรียมออกกองทุน Thai ESG กองใหม่ๆ เพื่อให้เป็นทางเลือกการลงทุน           นางชวินดา หาญรัตนกูล นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) กล่าวว่า เป้าหมายเม็ดเงินใหม่ของกองทุน Thai ESG ไม่ต่ำกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมองว่าเป็นจังหวะการลงทุน เพราะตลาดหุ้นไทยตอนนี้ไม่ถูกและไม่แพง เมื่อดู P/BV ต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยมี P/BV เพียง 1 เท่า อีกทั้งช่วงที่ผ่านมาเห็นชัดว่าตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวขึ้น โดยปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยเติบโตจากกลุ่มสุขภาพ ธนาคาร ไอที สินค้าอุปโภคบริโภค อย่างมีนัยสำคัญและน่าจะเติบโตต่อเนื่อง คาดว่าตลาดหุ้นไทยจะเติบโตต่อเนื่องอีกในปีนี้ เติบโตแบบออแกนิก (Organic Growth) เติบโตตามสภาวะปกติแบบค่อยเป็นค่อยไป           “หุ้นไทยไม่ได้ถูกหรือแพงเกินไป และเมื่อดู P/BV ต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยเรามี P/BV เพียง 1 เท่า อีกทั้งช่วงที่ผ่านมาเห็นชัดว่าตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม แนะนำให้กระจายพอร์ตลงทุนที่หลากหลายเพื่อลดความผันผวน เชื่อว่าเกณฑ์ใหม่ที่ภาครัฐให้คือระยะเวลาการถือครองที่ลดลงเหลือเพียง 5 ปี วงเงินลดหย่อนที่เพิ่มเป็น 300,000 บาท ไม่รวมกับวงเงินลดหย่อนภาษีจากกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF, ประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ เป็นต้น ลงทุนได้ทั้ง หุ้น และตราสารหนี้ เกณฑ์ดังกล่าวยังย้อนหลังไปถึงกองทุน ThaiESG ที่ออกมาก่อนหน้านี้ด้วย จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นแรงจูงใจให้กับนักลงทุนที่วางแผนลดหย่อนภาษี พร้อมส่งเสริมการออมในระยะยาว โดยเฉพาะนักลงทุนเจนใหม่ที่สนใจเรื่องการลงทุนมากขึ้น ได้เริ่มต้นการออมกับหุ้น-ตราสารหนี้ ที่มี ESG” นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน กล่าว           ทั้งนี้ จากการที่กองทุน Thai ESG ที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระยะเวลาการถือครองที่ลดลงเหลือเพียง 5 ปี และวงเงินลดหย่อนที่เพิ่มเป็น 300,000 บาท พบว่าคนรุ่นใหม่สนใจเข้ามาลงทุนกองทุน Thai ESG เพราะต้องการบริหารภาษีตัวเอง และให้ความสำคัญเรื่อง ESG มากขึ้น อีกทั้งระยะเวลาลงทุนไม่นานจนเกินไป และเห็นช่วงอายุของผู้ลงทุนกว้างมากขึ้นช่วงอายุ 30-60 ปี ทั้งนี้ ผู้ลงทุนส่วนใหญ่จะลงทุนหุ้นมากกว่า 80% ที่เหลือเป็นการลงทุนตราสารหนี้           นอกจากนี้ ยังเป็นการขับเคลื่อนบริษัทจดทะเบียน ปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึง ESG เพื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในดัชนี SET ESG โดยในปีที่ผ่านมามีหลักทรัพย์ที่เข้าเกณฑ์ เพิ่มขึ้นเป็น 228 ราย ประกอบกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือ บลจ. ในอุตสาหกรรม พร้อมสนับสนุนการลงทุนอย่างยั่งยืนภายใต้กรอบ ESG ผ่านกองทุน Thai ESG ที่สามารถลงทุนได้ทั้งหุ้นไทยและตราสารหนี้ไทย จึงมั่นใจว่าจะสามารถเติบโตต่อไปได้ และจะเป็นการเติบโตแบบออแกนิก (Organic Growth) ซึ่งหมายความว่าเป็นการเติบโตตามปัจจัยพื้นฐานตามเศรษฐกิจไทยที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง          สำหรับประเด็นที่อาจกระทบต่อการลงทุนธีม ESG หลัง โดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานั้น แม้จะรู้กันว่า ทรัมป์ ไม่ได้สนใจ หรือสนับสนุน ESG แต่มองว่า ESG ยังคงเดินหน้าต่อไปได้ แต่อาจจะเติบโตช้าลงบ้าง เพราะหลายประเทศได้ขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวไปไกลมาก โดยเฉพาะภูมิภาคยุโรปที่ก้าวไปไกลเกินจะถอยกลับ ขณะที่เอเชียให้ความสำคัญ แม้จีนเองยังให้การตอบรับหรือหากมองไปในสหรัฐอเมริกาเองมีกองทุน ESG หลายกอง ดังนั้นเรื่องดังกล่าวจึงยังคงเดินหน้าต่อไป

ชี้ 4 ปัจจัยบวก กองทุน ThaiESG  ลงทุนได้ผลตอบแทนดี

ชี้ 4 ปัจจัยบวก กองทุน ThaiESG ลงทุนได้ผลตอบแทนดี

           หุ้นวิชั่น - ปฏิเสธไม่ได้ว่า แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ESG หรือ Environment, Social and Governance กำลังเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ระดับโลกด้านการลงทุน พิสูจน์จากผลตอบแทนของดัชนีความยั่งยืนที่โอกาสสร้างผลตอบแทนเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ดังนั้น จึงได้เห็นนักลงทุนส่วนใหญ่นำปัจจัยด้าน ESG มาประกอบการตัดสินใจ เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีระยะยาว รวมถึงเป็นการลดความผันผวนของพอร์ตลงทุน ส่งผลให้การลงทุนใน กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) เป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากในรอบปีที่ผ่านมา            ดร.กรอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า เป็นปีแห่งการลงทุนในกองทุน ThaiESG เพราะการลงทุนวันนี้นำไปสู่โอกาสระยะยาวใน 5 ปีข้างหน้า เนื่องจากมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 4 ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งเกิดการลงทุนหลังเงินเฟ้อเข้าสู่ภาวะปกติ มีการลดดอกเบี้ยอย่างน้อย 1 ปี ทำให้ภาคส่งออกดีขึ้น การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวในปี 2567 มีนักท่องเที่ยวเข้ามามากถึง 36 ล้านคน อาทิ จีน อินเดีย รัสเซีย ตะวันออกกลาง ไม่พึ่งพาประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยกรุงเทพฯ ครองอันดับ 1 เมืองนักท่องเที่ยวเยือนมากที่สุดในปี 2567 การลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในไทย ซึ่งข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ระบุว่า มีการลงทุนด้านอีวี (EV) ดาต้า เซ็นเตอร์ (Data Center) เซมิ คอนดักเตอร์ (Semi Conductor) ในช่วง 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) ปี 2567 มากกว่า 700,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42% เทียบช่วงเดียวกันของปี 2566 ซึ่ง การลงทุนจากต่างประเทศในลักษณะนี้ไม่ค่อยพบบ่อยและไม่ได้มาเพียงปีเดียว การผงาดขึ้นของตลาดเอเชียและอาเชียน ซึ่งเม็ดเงินลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้อีก 5 ปีข้างหน้าจะเป็นคุณประโยชน์กับอาเซียน โดยอาเซียนจะเป็นเป้าหมายการลงทุนที่ดีที่สุด            “โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เข้ามาส่งผลดีและโอกาสกับไทย แม้จะได้รับผลกระทบจากกำแพงภาษี แต่มองว่าผู้ผลิตสหรัฐอเมริกาไม่สามารถขยายกำลังการผลิตทดแทนความต้องการได้ อีกทั้งสินค้าจีนราคาแพงขึ้น 60% จากการเก็บภาษีเพิ่มเป็น 60% แต่ของไทยแพงขึ้นเพียง 10% ทำให้ราคาถูกกว่า และคาดจะไม่เกิดสงครามการเมืองระหว่างประเทศ ดังนั้น ไทยจะดีทั้งท่องเที่ยว ส่งออก ส่วนปีถัดไป และระยะยาวจะได้ประโยชน์จากการลงทุนต่างชาติ” ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าว            ทั้งนี้ ปัจจุบันแนวโน้มเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติสภาพคล่องมีอยู่มากในตลาดโลก หากสุดท้ายต้องหาที่ลงทุน เศรษฐกิจไทยฟื้น การท่องเที่ยวเริ่มกลับมา การเติบโตของภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง ความเชื่อมั่นเริ่มกลับมา รวมทั้งเทรนด์ด้าน ESG บริษัทในไทยที่ดำเนินการด้าน ESG มากสุดในอาเซียน จะช่วยให้มีการลงทุนเข้ามาในประเทศเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

ปตท.สผ. รักษามาตรฐานการดำเนินงานด้านความยั่งยืนระดับสากลอย่างต่อเนื่อง

ปตท.สผ. รักษามาตรฐานการดำเนินงานด้านความยั่งยืนระดับสากลอย่างต่อเนื่อง

         หุ้นวิชั่น - บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. (PTTEP) ยังคงรักษามาตรฐานความยั่งยืนตามแนวทางสากลมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยผลการดำเนินงานที่โดดเด่นครอบคลุมมิติด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (ESG) โดยบริษัทได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกในกลุ่มดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ หรือ Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) เป็นครั้งที่ 10 ในกลุ่มดัชนีโลก (World Index) ประเภทอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซขั้นต้นและครบวงจร (Oil & Gas Upstream & Integrated) รวมทั้งได้รับคัดเลือกให้อยู่ใน The Sustainability Yearbook 2024 จาก S&P Global ติดต่อกันเป็นปีที่ 11 และเป็นสมาชิกของ FTSE4Good Index Series จาก FTSE Russell ต่อเนื่องเป็นปีที่ 9          นอกจากนี้ ปตท.สผ. ยังได้รับการจัดอันดับจากสถาบันการประเมินต่าง ๆ ได้แก่ ระดับ BBB โดย MSCI ESG Ratings, ระดับ C+ โดย ISS ESG Ratings, ระดับ AA โดย SET ESG Ratings และได้รับการประเมินเป็นบริษัทที่มีความเสี่ยงด้าน ESG ต่ำ เป็นอันดับที่ 30 จากทั้งหมด 301 บริษัทในกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซ (Oil & Gas Producers) โดย Morningstar Sustainalytics’ ESG Risk Ratings อีกด้วย          ปตท.สผ. ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจตามกรอบแนวคิดด้านความยั่งยืน โดยมี 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การพัฒนาสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ (High Performance Organization – HPO), การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (Governance, Risk Management, and Compliance – GRC), และการสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืน (Sustainable Value Creation – SVC) เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ส่งมอบคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระยะยาว พร้อมทั้งสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs)

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

บทบาทการจัดอันดับ ESG ขับเคลื่อนตลาดทุนไทยสู่ความยั่งยืน

บทบาทการจัดอันดับ ESG ขับเคลื่อนตลาดทุนไทยสู่ความยั่งยืน

          ปัจจุบันเรื่องการประกอบธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม(Environmental, Social and Governance: ESG) เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainability) ของบริษัท โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกกล่าวถึงหรือเป็นความคาดหวังจากผู้ลงทุนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) ในทุกภาคส่วน ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ทำให้เป็นอีกกลไกหนึ่งที่สำคัญนอกเหนือจากกฎเกณฑ์ที่กำหนดโดยหน่วยงานกำกับดูแล ที่กระตุ้นให้บริษัทมีการจัดทำรายงานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน เพื่อสื่อสารให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจถึงนโยบาย เป้าหมาย แผนธุรกิจ การจัดการความเสี่ยงด้าน ESG และผลการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งในปัจจุบันนอกจากบริษัทต้องรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลที่ได้เปิดเผยเองแล้ว (Internal Assurance) ในระดับสากลยังมีการพูดไปถึงการรับรองการรายงานข้อมูลด้านความยั่งยืน (Sustainability Reporting Assurance)[1] โดยหน่วยงานรับรองภายนอก (External Assurance) ที่มีแนวโน้มในการนำมาใช้อีกด้วย เพื่อให้ข้อมูลมีความโปร่งใส น่าเชื่อถือ และช่วยลดปัญหาการฟอกเขียว (Greenwashing)[2]           แม้ปัจจุบันยังไม่มีคำนิยามหรือคำจำกัดความของ ESG ที่เป็นที่ตกลงร่วมกันในระดับสากล หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ มิติ E-S-G ของแต่ละบริษัทอาจมีความหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบธุรกิจ สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และบริการ พันธกิจ วิสัยทัศน์ ตลอดจนคุณค่าหลักของกิจการ ดังนั้น การประเมินหรือการจัดอันดับด้าน ESG (ESG Ratings) จึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่เข้ามามีบทบาทช่วยให้ผู้ลงทุนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีข้อมูลเพื่อสามารถเปรียบเทียบการดำเนินการด้าน ESG ของแต่ละบริษัท สำหรับประกอบการตัดสินใจลงทุนหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น           ทั้งนี้ จากรายงาน Rate the Raters 2023: ESG Ratings at a Crossroads ซึ่งจัดทำโดย The SustainAbility Institute by ERM[3]พบว่า ร้อยละ 53 ของผู้ลงทุนสถาบัน นำการจัดอันดับ ESG ของบริษัทมาใช้ในกระบวนการตัดสินใจลงทุน และมากกว่าร้อยละ 94 ใช้การจัดอันดับ ESG อย่างน้อยเดือนละครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 78 ในปี 2561 - 2562 สะท้อนถึงแนวโน้มความต้องการใช้ข้อมูลการจัดอันดับด้าน ESG ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้จัดอันดับด้าน ESG ในระดับสากล (ESG Ratings Provider) มีการจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนไทยหลายบริษัทด้วย           ในปี 2564 องค์กรคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ (International Organization of Securities Commissions: IOSCO) ได้เผยแพร่รายงาน Environmental, Social and Governance (ESG) Ratings and Data Products Providers[4] ซึ่งได้ศึกษาและทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและกลไกของการจัดอันดับด้าน ESG และการให้บริการข้อมูล ESG ซึ่งจะมีผลเกี่ยวพันต่อระบบนิเวศของการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance Ecosystem) โดย IOSCO ได้ให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้จัดอันดับด้าน ESG ควรกำหนดปัจจัยที่ครบถ้วนเพื่อให้สามารถจัดอันดับที่มีคุณภาพสูง รวมทั้งเปิดเผยแหล่งข้อมูลที่ใช้ วิธีการจัดอันดับ (Methodologies) การจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ความโปร่งใสระดับสูงในการปฏิบัติงาน และการรักษาความลับของข้อมูล ส่วนหน่วยงานกำกับดูแลควรให้ความสนใจในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลการจัดอันดับด้าน ESG มากขึ้น ตลอดจนวางแนวทางการกำกับดูแลผู้จัดอันดับด้าน ESG อย่างเหมาะสมกับบริบทและสภาพแวดล้อมในประเทศของตน เป็นต้น           นอกจากนี้ ยังพบว่า หน่วยงานกำกับดูแลในหลายประเทศได้นำหลักการและข้อเสนอแนะของ IOSCO มาใช้ประกอบการกำหนดแนวทางการกำกับดูแลผู้จัดอันดับด้าน ESG เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือมากขึ้น เช่น สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเขตเศรษฐกิจพิเศษฮ่องกง ซึ่งจัดทำหลักจรรยาบรรณ (Codes of Conducts) เพื่อให้ผู้จัดอันดับด้าน ESG นำไปปรับใช้และเปิดเผยผลการปฏิบัติของตนต่อสาธารณะเพื่อสร้าง ความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในขณะที่สหภาพยุโรปและอินเดีย ได้ออกกฎเกณฑ์ (Regulations) กำหนดให้ผู้จัดอันดับด้าน ESG ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแล จึงจะสามารถให้บริการในประเทศของตนได้ เป็นต้น           สำหรับตลาดทุนไทยมีการประเมินหรือจัดอันดับที่นำปัจจัย ESG มาประกอบการพิจารณาด้วยเช่นกัน อย่างเช่น โครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies: CGR) โครงการ ASEAN Corporate Governance Scorecard[5] ที่ดำเนินการโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors: IOD) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การจัดทำรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI (Thailand Sustainability Investment) ที่ได้พัฒนามาสู่ SET ESG Ratings และกำลังจะยกระดับการประเมินด้วยเกณฑ์สากลของ FTSE Russell ESG Scores ดำเนินการโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น           การประเมินหรือการจัดอันดับดังกล่าวเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่กระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียนตระหนักถึงความสำคัญของ ESG ตลอดห่วงโซ่คุณค่า และมีการปรับปรุงการดำเนินงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และสามารถเปรียบเทียบ (Peer Pressure) กับบริษัทจดทะเบียนอื่น อันจะนำมาซึ่งการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ตอบโจทย์ผู้ลงทุนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนช่วยยกระดับความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนและตลาดทุนโดยรวม           ก.ล.ต. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลและพัฒนานโยบายเพื่อตลาดทุนที่ยั่งยืนได้ตระหนักถึงเรื่องความยั่งยืน ซึ่งเป็นถนนที่ทุกภาคส่วนเดินไปข้างหน้าร่วมกัน จังหวะการก้าวเดินของแต่ละภาคส่วนจึงควรบูรณาการไปด้วยกัน ดังนั้น “ความร่วมมือ” รวมทั้งการติดตามพัฒนาการด้วยความเข้าใจและปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของประเทศไทย จึงเป็นสิ่งที่ ก.ล.ต. ให้ความสำคัญและมุ่งมั่นที่จะทำให้เกิดผลที่ดียิ่งขึ้นเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ (Trust and Confidence) สำหรับตลาดทุนไทยต่อไป [1] สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากบทความ “ทิศทางการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนและการกำกับดูแลกิจการ” จัดทำโดย ฝ่ายส่งเสริมความยั่งยืน สำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 หรือ link:  https://www.sec.or.th/TH/Template3/Articles/2567/190767.pdf [2] การฟอกเขียว หมายถึง การทำให้ผู้ลงทุนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจผิดว่าบริษัทมีการดำเนินการเพื่อความยั่งยืน โดยที่ในความเป็นจริงบริษัทมิได้กระทำเช่นนั้น [3] ข้อมูลเพิ่มเติม Link: https://www.erm.com/globalassets/sustainability.com/thinking/pdfs/2023/rate-the-raters-report-april-2023.pdf [4] ข้อมูลเพิ่มเติม Link: https://www.iosco.org/library/pubdocs/pdf/IOSCOPD690.pdf [5] หน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Capital Market Forum) ได้ริเริ่มให้มีการประเมินและจัดอันดับ บรรษัทภิบาลของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยปัจจุบันมีประเทศเข้าร่วมการประเมิน 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม โดย ฝ่ายส่งเสริมความยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

RS มุ่ง Sustainable Life Enriching  ใช้ Entertainmerce โตยั่งยืน

RS มุ่ง Sustainable Life Enriching ใช้ Entertainmerce โตยั่งยืน

          บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ อาร์เอส กรุ๊ป "RS" ในฐานะองค์กรเอกชนชั้นนำที่มุ่งเน้นการส่งมอบความสุขผ่านงานบันเทิง สินค้าและบริการเพื่อสุขภาพอย่างครบวงจรให้แก่ผู้บริโภคและสัตว์เลี้ยง ภายใต้โมเดลธุรกิจ Entertainmerce ซึ่งนอกจากสร้างการเติบโตทางธุรกิจ ยังให้ความสำคัญกับการทำงานด้านความยั่งยืนโดยใส่ใจและมีความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามนโยบายขององค์การสหประชาชาติ ภายใต้กรอบ ESG (Environmental, Social and Governance) ซึ่งกลยุทธ์และแนวทางการดำเนินธุรกิจของธุรกิจในเครือ อาร์เอส กรุ๊ป ต้องอยู่บนพื้นฐานของการสร้างการเติบโตและยั่งยืนภายใต้แนวคิด Sustainable Life Enriching  ซึ่งมาจากความเชี่ยวชาญทางธุรกิจและประสบการณ์ของพนักงานและผู้บริหาร โดยเน้นการดำเนินการอย่างยั่งยืน ใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ เสริมสร้างสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Enhance Health and Wellbeing) ที่อาร์เอส กรุ๊ป เราเชื่อว่าทุกชีวิตมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้องค์กรเติบโต จึงมุ่งมั่นในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนและสัตว์เลี้ยงให้มีความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดี (Consumer Health and safety) ครอบคลุมทั้งด้านสุขภาพกายและใจ ด้วยมาตรฐานและนวัตกรรมที่ได้รับการยอมรับระดับโลก โดย สุขภาพคน มีการสร้างสรรค์และส่งมอบผลิตภัณฑ์นวัตกรรม (Innovation Development) ด้านสุขภาพที่หลากหลายให้แก่ผู้บริโภค เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมด้วยบริการที่ไม่เพียงแต่ดูแลเฉพาะรูปลักษณ์ภายนอก แต่ยังช่วยสร้างความรื่นรมย์ต่อจิตใจอีกด้วย ด้าน สุขภาพสัตว์ ได้ยกระดับคุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยงในฐานะสมาชิกสำคัญของครอบครัว ผ่านผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้รับการพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อให้สัตว์เลี้ยงมีชีวิตที่มีความสุข แข็งแรง และได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมในทุกช่วงวัย สนับสนุนการลงทุนด้านสังคม (Contribute to Social Investment) อาร์เอส กรุ๊ป พร้อมที่จะแบ่งปันความบันเทิง ทรัพยากร และความเชี่ยวชาญจากบุคลากรที่หลากหลาย ด้วยการส่งมอบโอกาสและสนับสนุนความเท่าเทียมในสังคม มุ่งสร้างความสุขที่ยั่งยืน ผ่านการต่อยอดความรู้และเพิ่มทักษะในการทำงาน เพื่อนำไปปรับใช้ในโลกยุคปัจจุบัน ผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ โครงการ RS Have A Seat เป็นโครงการที่แบ่งปันพื้นที่พิเศษในกิจกรรมบันเทิงต่างๆ ของ อาร์เอส กรุ๊ป ให้กับกลุ่มเยาวชนและกลุ่มเปราะบาง ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงวัย หรือผู้พิการ เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงประสบการณ์ความบันเทิงเต็มรูปแบบ ช่วยเติมเต็มความสุข รอยยิ้ม และสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต (Social Inclusion) สำหรับปีนี้ ได้มอบสิทธิพิเศษให้กับ สมาชิกกลุ่มจ้างวานข้า มูลนิธิกระจกเงา ร่วมสนุกในคอนเสิร์ต “RS Meeting Concert 2024 Dance Marathon 2 ยกกำลัง...เต้น จำนวน 30 คน, ผู้พิการและผู้ช่วยพิการ จากโครงการกาลพลิก จำนวน 50 คน ร่วมชมวาไรตี้ซีรีส์คอนเสิร์ต “ยัยตัวร้ายกับนายหัวโจก” และล่าสุด ทีมพนักงานกวาด จากสำนักเขตจตุจักร จำนวน 40 คน เข้าร่วมชมคอนเสิร์ต อำพลฟูดส์ presents DAN - BEAM DREAM 2 BE CONCERT 21st CENTURY DADDY’S CLUB โครงการ RS Young Blood อาร์เอส กรุ๊ป แบ่งปันความเชี่ยวชาญขององค์กร เปิดโอกาสให้เยาวชนเข้ามาศึกษาดูงาน และเรียนรู้จากประสบการณ์จริง เพื่อเสริมสร้างทักษะและแรงบันดาลใจในการก้าวสู่เส้นทางอาชีพในอนาคต (People Development) ไม่ว่าจะเป็นการลงนาม MOU จับมือ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เปิดหลักสูตร “Entertainmerce”, การเปิดบ้านต้อนรับคณะอาจารย์และเจ้าหน้าที่สำนักงานวิทยทรัพยากรและสถานีวิทยุจุฬา Chula Radio, เปิดสตูดิโอ COOLfahrenheit และช่อง 8 ให้นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ สัมผัสประสบการณ์จริง เป็นต้น RS Nearby ช่วยชุมชนบอกต่อของดี โครงการส่งเสริมธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อยในชุมชนย่านจตุจักรในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมรายได้ให้แก่ชุมชนและผู้ประกอบการรายย่อยย่านจตุจักร (Local Economic Development) จากการเป็นสื่อกลางในการโปรโมตของดีในชุมชนผ่านสื่อต่างๆ ของอาร์เอส กรุ๊ป ทั้งทางสื่อโซเชียลมีเดียของบริษัทฯ และการนำเสนอคอนเทนต์ผ่านรายการปากท้องต้องรู้ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 8 รวมถึงการประชาสัมพันธ์ในช่วงต่างๆ ของสถานีเพลง COOLfahrenheit ซึ่งเป็นการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับร้านค้าและผลิตภัณฑ์คุณภาพในชุมชนให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย เขตจตุจักร กิจกรรม People Development ที่มุ่งมั่นพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรในองค์กร ด้วยการเพิ่มทักษะและความรู้ใหม่ๆ ผ่าน RS Learning Center พร้อมกับการดูแลสุขภาพทั้งกายและใจ เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถเติบโตและก้าวหน้าไปพร้อมกับองค์กร มีทั้งกิจกรรมเวิร์คช็อป “RS Healthy Mind for Healthy Engagement สร้างภูมิคุ้มกันจิตใจ, กิจกรรมเติมเต็มความรู้ด้านความยั่งยืน RS Group Sustainability Training สร้างการตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อม (Protect our Planet) อาร์เอส กรุ๊ป เชื่อว่าการสร้างโลกที่ยั่งยืนจะนำไปสู่อนาคตที่สดใส และส่งผลดีต่อธุรกิจและสังคม เราจึงมุ่งสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อม พร้อมใช้ทรัพยากรอย่างรับผิดชอบเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้แก่โลกใบนี้ (Environmental Preservation) โดยผลักดันให้องค์กรลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง และลดสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 จึงตั้งเป้าดำเนินธุรกิจตามแนวปฏิบัติ RS Net Zero และตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่การดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่การลดการใช้พลังงานและการจัดการคัดแยกขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ไปจนถึงการพัฒนากระบวนการธุรกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและลดผลกระทบต่อโลกในระยะยาว Low Carbon Event สร้างสรรค์ มิวสิคเฟสติวัลคาร์บอนต่ำ ที่มุ่งเน้นการจัดระเบียบการแยกขยะภายในงาน สนับสนุนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแยกขยะเพื่อส่งเข้าสู่ระบบจัดการอย่างถูกวิธี และลดขยะในงานไม่ให้เกิดปัญหากับชุมชนหรือสิ่งแวดล้อม ปราศจากการฝั่งกลบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปี พ.ศ.2567 มีการจัดเทศกาลดนตรี COOL Summer Fest 2024 ณ ชายหาดชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จัดการขยะรวม 1,187 กิโลกรัม และเทศกาลดนตรี COOL Windy Fest 2024 จัดการขยะรวม 894 กิโลกรัม RS Green Army การมีส่วนร่วมในการลดการใช้พลังงานและลดขยะในองค์กร โดยพนักงานทุกคนยังเป็นกระบอกเสียงสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้ และเชิญชวนให้ทุกคนร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน อาทิ ความร่วมมือลดใช้พลังงานในองค์กร, กิจกรรม #ฮาวทูทิ้ง สะสมฝาขวดน้ำเพื่อส่งเข้าสู่ระบบรีไซเคิล โดยปีนี้สามารถรวบรวมฝาขวดน้ำได้มากถึง 70 กิโลกรัม Green Packaging เป็นการสร้างมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจคอมเมิร์ซที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญในการผลิตสินค้าที่ปราศจากสารตกค้างที่อันตราย และคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองว่าไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งแบรนด์ vitanature+ ได้ปรับบรรจุภัณฑ์มาเป็น PCR (Post-Consumer Recycled Plastic), Hato Pet Wellness เลือกใช้บรรจุภัณฑ์แบบ รีฟิลทุกสาขาเพื่อลดขยะ Contribution คืนชีพขวดพลาสติก PET1 จากขยะสร้างสรรค์ใหม่ให้กลายเป็นกระเป๋าจากเส้นใย รีไซเคิล โดยนำรายได้ทั้งหมดไปสมทบทุนสนับสนุนการดูแลสัตว์ทะเลหายากและระบบนิเวศ ร่วมมือกับคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมกว่า 300,000 บาท โดยทำต่อเนื่องปีนี้เป็นปีที่ 3 แล้ว           ทั้งนี้ อาร์เอส กรุ๊ป พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตควบคู่กับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ด้วยความมุ่งมั่นนำความเชี่ยวชาญของแต่ละธุรกิจในเครือ ทั้งการสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก (Inspire) กับทุกธุรกิจ สร้างการป้องกันและผลกระทบเชิงลบ (Prevent) ด้วยสินค้าและบริการ สร้างความเชื่อมโยงระหว่างองค์กรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Connect) และการสร้างโอกาสและการเข้าถึงอย่างเท่าเทียม (Access) มุ่งสู่การเป็น Sustainable Life Enriching ที่พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนรวมถึงสัตว์เลี้ยงผ่านผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในทุกมิติอย่างยั่งยืน           ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสาร และความเคลื่อนไหวต่างๆ ของ อาร์เอส กรุ๊ป ได้ทาง www.rs.co.th และ https://www.facebook.com/RSGROUPOFFICIAL

ส่องผลประเมิน SET ESG Ratings ประจำปี 2567

ส่องผลประเมิน SET ESG Ratings ประจำปี 2567

           หุ้นวิชั่น - ด้วยปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมที่นับวันจะรุนแรงขึ้น เรื่อง “ความยั่งยืน” กลายเป็นกติกาที่กำหนดให้ผู้คนใช้ชีวิตอย่างมีความรับผิดชอบหรือทำธุรกิจโดยคำนึงถึง ESG หรือสิ่งแวดล้อม (Environment: E) สังคม (Social: S) และบรรษัทภิบาล (Governance: G) ในแวดวงการเงินการลงทุน ก็ใช้ ‘ข้อมูลการดำเนินงาน ESG’ เป็นตัวตัดสินว่าบริษัทไหนทำเรื่อง ESG ได้ดีบ้าง ซึ่งทั่วโลกมีผู้ประเมินและจัดอันดับเรตติ้งด้า น ESG มากมาย สำหรับประเทศไทย มีหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ที่คัดบริษัทตัวท็อปด้าน ESG จนมีนักลงทุนนำไปใช้เป็นเครื่องมือประกอบในการตัดสินใจลงทุน SET ESG Ratings คืออะไร หุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings คือ หุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคัดกรองมาแล้วว่าดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาล โดยจะประกาศผลในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี บริษัทที่จะได้อยู่ในทำเนียบหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ต้องผ่านเกณฑ์คัดกรองถึง 3 ด่าน ด่านแรก คือ เกณฑ์คัดกรองเบื้องต้น เช่น ไม่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน ไม่ถูกขึ้น SP จากการส่งงบล่าช้าไม่ถูกขึ้นเครื่องหมาย CB, CS, CC, CF เป็นต้น ด่านที่ 2 คือ เกณฑ์คะแนนจากแบบประเมิน โดยบริษัทต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 50% ในแต่ละมิติ E S G ด่านที่ 3 คือ เกณฑ์คุณสมบัติของบริษัท ซึ่งจะพิจารณาตลอดกระบวนการ หากไม่เป็นไปตามคุณสมบัติจะถูกคัดออกจาก SET ESG Ratings ระหว่างปีได้ เช่น ไม่เป็นบริษัทที่ส่งงบการเงินล่าช้า ไม่ถูกทางการตัดสินความผิดในประเด็นด้าน ESG และต้องมีกำไรสุทธิอย่างน้อย 3 ใน 5 ปี เป็นต้น บริษัทที่สามารถผ่านด่านทั้งหมดนี้จึงจะได้เป็นหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ซึ่งแบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ AAA (90-100 คะแนน) AA (80-89 คะแนน) A (65-79 คะแนน) และ BBB (50-64 คะแนน) หุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ถือเป็นตัวช่วยสร้างความน่าสนใจให้บริษัทในสายตาของนักลงทุน ทำให้บริษัทเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันก็เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับนักลงทุนใช้เปรียบเทียบการดำเนินงาน ESG ของแต่ละบริษัท เพื่อประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน สะท้อนได้จากเม็ดเงินลงทุนด้าน ESG ในไทยกว่า 1.6 แสนล้านบาทที่นำ SET ESG Ratings ไปใช้เป็นเกณฑ์หนึ่งในการลงทุน เช่น กองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง มูลค่า 1.5 แสนล้านบาท และกองทุน ThaiESG กว่า 51 กองทุน มูลค่ารวมราว 14,545 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567) หุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ทำสถิตินิวไฮถึง 228 บริษัท!  หุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ประจำปี 2567 มีด้วยกันทั้งสิ้น 228 บริษัท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 37 บริษัท! นับว่าน่าตื่นเต้นเป็นนิวไฮ ให้นักลงทุนได้จับจังหวะลงทุนใหม่ ๆ ด้วยตัวเลือกใหม่ สอดคล้องกับจำนวนบริษัทที่สมัครใจเข้าร่วมการประเมินเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดแตะ 320 บริษัทเป็นครั้งแรกในปีนี้ หุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ทั้งหมดนี้แบ่งเป็นระดับ AAA 56 บริษัท ระดับ AA 80 บริษัท ระดับ A 71 บริษัท และระดับ BBB 21 บริษัท ซึ่งน่าสนใจมากว่า ระดับที่มีจำนวนบริษัทเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือกลุ่ม AAA จากเดิมมีเพียง 33 บริษัทกลายเป็น 56บริษัทในปีนี้ นอกจากนี้ หุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ยังกระจายอยู่ในทั้ง 8 กลุ่มอุตสาหกรรม โดยมีกลุ่มธุรกิจบริการมากที่สุดถึง 43 บริษัท ตามมาด้วยกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง และกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม ที่กลุ่มละ 34 บริษัท มีบริษัทที่สมัครเข้าร่วมประเมินเป็นปีแรกและได้ติดอยู่ในทำเนียบ SET ESG Ratings เลย 55 บริษัท สะท้อนว่าบริษัทจดทะเบียนไทยกำลังเร่งปรับตัวและยกระดับ ESG อย่างเข้มข้น โดยเฉพาะเรื่องการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์ทั่วโลกที่เริ่มกลายเป็นกฎเกณฑ์ และนักลงทุนกำลังมองหาเพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน ยั่งยืนอย่างไร ส่องจุดแข็งหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings พบว่า ทุกบริษัทกำลังเร่งปรับตัวใน 3 เรื่องสำคัญ ดังนี้ วิเคราะห์ประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ (Materiality) แบบชัด ๆ ทุกบริษัทเน้นเปิดเผยกระบวนการวิเคราะห์และระบุประเด็นที่เป็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน โดยเทียบประเด็นกับเป้าหมาย Sustainable Development Goals (SDGs) พร้อมระบุว่าแต่ละประเด็นมีผลกระทบอะไรต่อธุรกิจ และธุรกิจวางกลยุทธ์หรือแผนธุรกิจมาจัดการกับประเด็นเหล่านั้นอย่างไร โดยมักตั้งเป้าหมายและกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน ลูกค้ายังสำคัญเสมอ ทุกบริษัทเน้นเรื่องการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยกำหนดเป้าหมายในการรักษาและพัฒนาความพึงพอใจของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง นำผลการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าไปพัฒนาสินค้าและบริการ รวมถึงกระบวนการทำงานของบริษัท มุ่งสร้างการเติบโตในระยะยาว เน้นหัวใจสีเขียว บริษัทส่วนใหญ่เน้นเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมักกำหนดและเปิดเผยเป้าหมายในการลดการใช้ทรัพยากร เช่น การใช้ไฟฟ้า การใช้น้ำ และการลดการปล่อยของเสีย โดยดำเนินโครงการที่ให้พนักงานมีส่วนร่วม รวมถึงจัดตั้งหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบงานด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานแล้ว ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน อย่างไรก็ดี บริษัทจดทะเบียนยังควรพัฒนาเพิ่มเติมเรื่องการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เพื่อลดความเสี่ยงจากการจัดหาวัตถุดิบหรือบริการที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจ การสนับสนุนนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์และบริการ ตลอดจนให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน มองหาตัวช่วยในการลงทุน มองหาหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings หุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่นักลงทุนสามารถนำไปใช้ประกอบในการตัดสินใจลงทุน โดยอาจนำไปใช้เป็นตัวสกรีนหุ้นเบื้องต้นควบคู่กับปัจจัยพื้นฐานของหุ้นที่สนใจ หรือปรับน้ำหนักการลงทุนในพอร์ตโฟลิโอตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อบริหารความเสี่ยงหรือสร้างโอกาสในการหาผลตอบแทนในระยะยาว ดูผลประเมิน SET ESG Ratings ปี 2567 ได้ที่ https://setsustainability.com//libraries/1258/item/set-esg-ratings

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

สเตคอน กรุ๊ป คว้า SET ESG Ratings ระดับ AA ปี 67

สเตคอน กรุ๊ป คว้า SET ESG Ratings ระดับ AA ปี 67

          บริษัท สเตคอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ STECON ได้รับผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ในระดับ AA ประจำปี 2567 ในกลุ่มก่อสร้าง โดยเป็น 1 ใน 228 บริษัทจดทะเบียนที่ได้รับการประเมินและจัดอันดับจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สะท้อนการทำงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องของ STECON ในด้าน ESG ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล           นับเป็นปีที่สองติดต่อกันที่ STECON ได้รับคัดเลือกเข้าสู่หุ้นยั่งยืน “SET ESG Rating” โดยได้รับการจัดอันดับในระดับ “Rating AA” นับเป็นความสำเร็จและภาคภูมิใจของบริษัทฯ ซึ่งตระหนักถึงความสำคัญต่อการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยบริษัทกำหนดนโยบายและเป้าหมายหลักด้านการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน ตามหลัก ESG (Environmental, Social and Governance) ให้ความสำคัญกับแนวทางในการดำเนินธุรกิจแบบเติบโตไปพร้อมกันทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน หรือ Sustainability Development ที่ครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งด้านบรรษัทภิบาลเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศไทย สร้างคุณค่าแก่สังคมไทยในทุกภาคส่วน           ทั้งนี้การประเมินหุ้นยั่งยืนหรือ SET ESG Ratings นี้ ยังเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้ลงทุน นักวิเคราะห์ และผู้จัดการกองทุน ใช้ควบคู่กับข้อมูลอื่น ๆ ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสการเติบโตของธุรกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) จะยิ่งส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจ           STECON มีความมุ่งมั่นสร้างการเติบโตทางธุรกิจ นำหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ มีเป้าหมายการเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม และจากนี้บริษัทยังคงมุ่งมั่นพัฒนาสู่การเติบโตทางธุรกิจอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป [PR News]

UAC คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Rating ปี 2567 ระดับ “A”

UAC คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Rating ปี 2567 ระดับ “A”

          นายชัชพล ประสพโชค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) หรือ “UAC” เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 228 บริษัทจดทะเบียน ที่ได้รับการประกาศผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ที่ “ระดับ A” โดยรางวัลดังกล่าวสะท้อนถึงความมุ่งมั่นที่ไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาและยกระดับการดำเนินกิจการเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้การบริหารความเสี่ยงอย่างมีวินัย ดำเนินธุรกิจตามกรอบแนวคิดของการคำนึงถึง Environmental, Social and Governance หรือ ESG ผ่านกระบวนการทางธุรกิจในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้เป็นองค์กรแห่งความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) สอดรับวิสัยทัศน์ความมุ่งมั่นสู่การเป็นผู้ประกอบการด้านพลังงานสะอาด ปิโตรเคมี และสาธารณูปโภค ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์นโยบายการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมธุรกิจพลังงาน เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน (For Sustainable Future) และการดำเนินธุรกิจแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) [PR News]

SSP คว้า ESG Ratings 2024 ระดับ “AA”

SSP คว้า ESG Ratings 2024 ระดับ “AA”

           บมจ.เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น หรือ SSP ภายใต้การบริหารของ CEO คนเก่ง “วรุตม์ ธรรมาวรานุคุปต์" ไม่ทำให้ผิดหวัง ล่าสุดได้รับผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Rating ระดับ “AA” (คะแนนรวม 80-89) ในกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร (Resources) จากการประกาศผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ต่อเนื่องจากรางวัล CGR ระดับ 5 ดาว “ดีเลิศ” มาก่อนหน้านี้ นับเป็นความสำเร็จและความภาคภูมิใจของบริษัทฯเป็นอย่างมาก และสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานของบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ยกระดับการดำเนินงานภายใต้กรอบ ESG ครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจและการกำกับดูแลกิจการ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน และแสดงให้เห็นถึงศักยภาพการเติบโตขององค์กรในระยะยาว มุ่งเน้นการลงทุนในพลังงานสีเขียวทุกรูปแบบ ตอกย้ำความพร้อมด้านความยั่งยืน เพื่อการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง ขอปรบมือดังๆ ให้เลยคร้าบบบ!! [PR News]

abs

Hoonvision

ก.ล.ต. สนับสนุนกองทุน Thai ESG เพิ่มทางเลือกลงทุน พร้อมลดหย่อนภาษีได้

ก.ล.ต. สนับสนุนกองทุน Thai ESG เพิ่มทางเลือกลงทุน พร้อมลดหย่อนภาษีได้

          หุ้นวิชั่น - นายเอนก อยู่ยืน รองเลขาธิการ และโฆษก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า “ตามที่คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 มีมติเห็นชอบการปรับปรุงมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศ สำหรับผู้มีเงินได้ที่ซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thailand ESG Fund: Thai ESG) สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีรายได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2567 – 2569 ได้ เพิ่มจาก 100,000 บาทเป็นไม่เกิน 300,000 บาทต่อปีต่อคน ล่าสุดกระทรวงการคลังได้ออกประกาศกฎกระทรวง โดยได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567           ทั้งนี้ กองทุน ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการลงทุนซึ่งนอกจากจะช่วยสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนของประเทศแล้ว ยังสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีรายได้บุคคลธรรมดาได้ด้วย ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้ปรับปรุงประกาศเพื่อขยายขอบเขตการลงทุนกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน รวม 5 ฉบับ โดยได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567 ซึ่งมีผลให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) สามารถจัดตั้งหรือแก้ไขโครงการจัดการเพื่อลงทุนตามขอบเขตการลงทุนใหม่ที่กว้างขึ้นได้”

ตลท. ชู ESG มุ่งความยั่งยืน  ย้ำบรรษัทภิบาล-จริยธรรมผู้นำ

ตลท. ชู ESG มุ่งความยั่งยืน ย้ำบรรษัทภิบาล-จริยธรรมผู้นำ

          ศาสตราจารย์พิเศษ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดงาน SET ESG Professionals Forum 2024 เพื่อเป็นเวทีระดมความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากมุมมองของผู้ขับเคลื่อน ESG ในองค์กรอย่างเครือข่ายสมาชิก SET ESG Experts Pool ซึ่งผนึกพลังร่วมขับเคลื่อนตลาดทุนไทยสู่ความยั่งยืนตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ครั้งนี้เพื่อยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการสู่ระดับสากล สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของตลาดทุนไทยในการสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจที่ยั่งยืนและมีบรรษัทภิบาล สอดรับการดำเนินงานตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ปีที่ 50 โดยในปัจจุบันท่ามกลางความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว           บรรษัทภิบาลที่ดีถือเป็นรากฐานสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่นและการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมี "ผู้นำ" ที่มีวิสัยทัศน์และจริยธรรม จะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างองค์กรที่ยั่งยืน ผู้นำยุคใหม่ต้องสามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (Integrity) สร้าง Legacy of Positive Impact และสร้างแรงบันดาลใจให้กับองค์กร คู่ค้า และสังคมในวงกว้าง นอกจากนี้ การมีระบบการกำกับดูแลที่ดียังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดความเสี่ยงและความขัดแย้ง รวมถึงส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกในองค์กร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าองค์กรจะดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส มั่นคงและเติบโตในภาวะวิกฤตความเชื่อมั่นนี้           ไฮไลท์สำคัญของการจัดงานครั้งนี้ เริ่มด้วยมุมมองเชิงลึกจาก ดร. ดิเรก เกศวการุณย์ Managing Partner จาก Bain & Company Thailand หัวข้อ “Innovative Corporate Governance: Strategies for Long-term Value Creation” ถึงแนวทางการปรับโครงสร้างการกำกับดูแลให้ยืดหยุ่นและตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ พร้อมเสนอกรณีศึกษาองค์กรชั้นนำระดับโลก ร่วมด้วยคุณวารุณี ปรีดานนท์ ประธานคณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการวางระบบบัญชี สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่นำเสนอ “Fraud Insights 2024” ผลสำรวจและสถิติการทุจริตในองค์กรธุรกิจในระดับสากล รวมถึงบริบทประเทศไทย และย้ำความสำคัญของการสร้างระบบป้องกันการทุจริตผ่านการกำกับดูแลและการเสริมสร้างระบบควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และปิดท้ายด้วยเสวนา “Executive Influence: How Leaders 4.0 Shape           Ethical Cultures” ร่วมด้วยคุณวิเชียร พงศธร ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ ,ดร. เสรี นนทสูติ กรรมการสหประชาชาติ ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และกรรมการอิสระ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และ ดร. ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการ ViaLink และสถาบันอนาคตไทยศึกษา ได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างรากฐานองค์กรที่แข็งแกร่งผ่านภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม (Ethical Leadership) โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่ต้องผสานการใช้เทคโนโลยีและ AI เข้ากับการรักษาคุณค่าด้านจริยธรรม พร้อมชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบนิเวศทางธุรกิจที่ยั่งยืนผ่านการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยจริยธรรม การบูรณาการมาตรฐานสิทธิมนุษยชนและจริยธรรมสากลเข้ากับบริบทไทย และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการยกระดับความโปร่งใสและความรับผิดชอบขององค์กร นอกจากนี้ยังได้เน้นย้ำถึงบทบาทของผู้นำยุคใหม่ที่ต้องมีกรอบการตัดสินใจที่คำนึงถึงจริยธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนในตลาดทุนไทย           ผู้ประกอบการและผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดงานสัมมนาและข่าวสารด้านความยั่งยืนของตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ทาง Website: SETSustainability.com และ LINE Official: @SETsustainability [PR News]

ESG เพิ่มมูลค่าหุ้นไทยอย่างไร? [จัดเต็มการลงทุน]

ESG เพิ่มมูลค่าหุ้นไทยอย่างไร? [จัดเต็มการลงทุน]

https://www.youtube.com/watch?v=k-ByVxrL4cM ติดตามรายการ "จัดเต็มการลงทุน" ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 9.00-9.30 น. ทาง ททบ.5

[PR News] STECH ชูโรงงานคอนกรีตอัดแรงเด่น ESG

[PR News] STECH ชูโรงงานคอนกรีตอัดแรงเด่น ESG

           STECH ตอกย้ำ โรงงานคอนกรีตที่โดดเด่นเรื่อง ESG หนุนต้นแบบธุรกิจคอนกรีตอัดแรง Sustainability ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมี “ลวดรักษ์โลก” มุ่งเน้นใช้ “ปูนลดโลกร้อน” เพื่อช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อน มุ่งสู่ธุรกิจสีเขียวเพื่อความยั่งยืน            นายเจษฎ์กรณ์ มงคลศรีสวัสดิ กรรมการผู้จัดการ สายงานการตลาดและการขาย บริษัท สยามเทคนิคคอนกรีต จำกัด (มหาชน) หรือ STECH เปิดเผยว่า บริษัทฯ ให้ความสำคัญในกลุ่มผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรง ซึ่งถือเป็นธุรกิจต้นน้ำของอุตสาหกรรมก่อสร้าง ที่สามารถสร้างการเติบโตยั่งยืนควบคู่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือตามหลัก ESG (Environmental, Social, Governance) ตอกย้ำการเป็นหนึ่งในผู้นำในธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรงภายใต้เครื่องหมายการค้า “STEC” ได้แก่ เสาเข็ม เสาไฟฟ้า เป็นต้น รวมทั้งให้บริการรับเหมาก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของบริษัท            ปัจจุบัน STECH มีโรงงานคอนกรีตอัดแรงจำนวน 10 แห่ง ครอบคลุมหลายภูมิภาคทั่วประเทศ ได้วางแผนใช้พลังงานสะอาดควบคู่กับขับเคลื่อนแนวทาง ESG มีการติดโซลาร์รูฟที่โรงงานบริษัทฯ แล้วจำนวน 11 แห่ง ได้แก่ สำนักงานใหญ่ (กรุงเทพมหานคร) และโรงงานที่จังหวัดลำพูน สุโขทัย ขอนแก่น อุบลราชธานี บุรีรัมย์ นครราชสีมา และที่สระบุรี 2 แห่ง (อ.ดอนพุด และ อ.พระพุทธบาท) รวมทั้ง ที่ชลบุรี 2 แห่ง            นอกจากนี้ STECH นำร่องผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นรากฐานสำคัญสำหรับงานก่อสร้างทุกชนิด ได้แก่ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ “ปูนลดโลกร้อน” หรือ ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ซึ่งเป็นปูนซีเมนต์ที่ก่อตัวและแข็งตัวเนื่องจากการทำปฏิกริยากับน้ำ ซึ่งช่วยลดก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศอย่างมีนัยสำคัญ และช่วยลดโลกร้อน เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตสินค้าคอนกรีต รวมทั้ง การใช้  “ลวดรักษ์โลก” ภายใต้ บริษัท สยามสตีลไวร์ จำกัด (SSW) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ผลิตลวดที่ไม่ใช้น้ำกรดในการทำความสะอาด โดยนำนวัตกรรมและองค์ความรู้ มาเพิ่มคุณสมบัติลวดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบสนองความต้องการลูกค้า ด้วยโรงงานผลิตลวดเหล็กที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีความทันสมัยที่สุดในขณะนี้ สนับสนุนงานโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดย STECH ขานรับเรื่องการสร้างความยั่งยืน (Sustainability) ให้องค์กร และเป็นนโยบายหลักที่บริษัทจะเดินหน้าต่อไปในอนาคต            จากความตระหนักรู้ของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติสิ่งแวดล้อม บริษัทจึงมีความมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงการให้บริการตามเวลาที่ลูกค้ากำหนด โดยใช้ระบบบริหารงาน คุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001 ตลอดจนมีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้ STECH เป็นโรงงานคอนกรีตอัดแรงที่สามารถขับเคลื่อนธุรกิจบนเส้นทางแห่งความยั่งยืนได้ (Sustainable Development Goals: SDGs)

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011