#ECF


“เฟอร์นิเจอร์” ปี68 โต2.9% CHIC-ECF โหนกระแส

“เฟอร์นิเจอร์” ปี68 โต2.9% CHIC-ECF โหนกระแส

          หุ้นวิชั่น - Krungthai COMPASS คาด “แนวโน้มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์” ปี 68 โต 2.9% ตลาดในประเทศ ส่งออกขยายตัว จับตา Eco-friendly Furniture ตอบโจทย์ลูกค้ายุคใหม่ สอดรับนโยบาย ESG จับตา บจ.CHIC,ECF,FANCY,EURO,ILM,MODERN,ROCK,SIAM           ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS เปิดเผยถึง “แนวโน้มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์” ว่า มูลค่าตลาดเฟอร์นิเจอร์โดยรวมในปี 2567-68 มีแนวโน้มขยายตัว 4.5% YoY และ 2.9% YoY ตามลำดับ แบ่งเป็นมูลค่าตลาดเฟอร์นิเจอร์ในประเทศ (70% ของมูลค่าตลาดรวม) คาดจะทยอยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยอัตรา 2.0% YoY และ 2.9% YoY ตามลำดับ ส่วนตลาดส่งออก (30% ของมูลค่าตลาดรวม) คาดขยายตัวที่ 10.4% YoY และ 2.7% YoY ตามลำดับ           ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ยังมีความเสี่ยงที่ต้องติดตาม ได้แก่ 1) กำลังซื้อในประเทศที่ยังเปราะบาง อาจทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อเฟอร์นิเจอร์ออกไป 2) การแข่งขันที่อยู่ในระดับสูง และยังมีแนวโน้มที่จะถูกตีตลาดจากเฟอร์นิเจอร์ของประเทศคู่แข่ง 3) ต้นทุนการผลิตที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงค่าแรงที่อาจปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจะบั่นทอนความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ และยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ อาทิ นโยบายการค้าในตลาดโลก และค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่า           ในระยะข้างหน้า ธุรกิจควรต่อยอดการผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่มีความยั่งยืน เช่น Eco-friendly Furniture เพื่อตอบโจทย์ความต้องการลูกค้ายุคใหม่ และสอดรับกับแนวนโยบายด้าน ESG รวมถึงนโยบายการค้าในตลาดโลกล สรุปบทวิเคราะห์           ในปี 2567-68 คาดว่าตลาดเฟอร์นิเจอร์โดยรวมมีแนวโน้มขยายตัว 4.5% YoY และ 2.9% YoY ตามลำดับ แบ่งเป็น 1) ตลาดในประเทศ (สัดส่วน 70% ของมูลค่าตลาดรวม) คาดว่าจะฟื้นตัวได้อย่างจำกัดด้วยอัตราการขยายตัว 2.0% YoY และ 2.9% YoY ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้เฟอร์นิเจอร์สำหรับที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มถูกกดดันจากภาคอสังหาฯ ที่ยอดขายใหม่ยังไม่ฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ยังได้รับอานิสงส์จากความต้องการใช้เฟอร์นิเจอร์ในกลุ่มสำนักงานและกลุ่มธุรกิจโรงแรมที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาชดเชยได้บางส่วน และ 2) ตลาดส่งออก (สัดส่วน 30% ของมูลค่าตลาดรวม) คาดว่าจะขยายตัวที่ 10.4% YoY และ 2.7% YoY ตามลำดับ โดยได้รับอานิสงส์จากการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไปตลาดที่มีศักยภาพสูง เช่น สหรัฐฯ ที่กลับมาขยายตัวตามทิศทางมูลค่าตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ที่ทยอยปรับตัวดีขึ้น           อย่างไรก็ตาม ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ของไทยยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่ต้องติดตาม ได้แก่ 1) กำลังซื้อในประเทศที่ยังเปราะบาง และภาวะหนี้ครัวเรือนที่สูง ซึ่งกดดันทั้งภาคอสังหาฯ และความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อเฟอร์นิเจอร์ออกไป 2) การแข่งขันที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะการจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ เนื่องจากการเข้ามาในธุรกิจทำได้ง่าย ไม่มีข้อกำหนดหรือขั้นตอนที่ซับซ้อน รวมถึงการแข่งขันจากเฟอร์นิเจอร์จีนที่เข้ามาทำตลาดกับผู้บริโภคชาวไทยโดยตรงผ่านทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งอาจกดดันยอดขายของผู้ประกอบการไทย และ 3) ความสามารถในการทำกำไรถูกกดดันจากต้นทุนการผลิต เช่น ราคาไม้ยางพาราและราคาอะลูมิเนียมที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงค่าแรงงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการปรับขึ้นค่าแรง ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น           นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ต้องติดตาม อาทิ นโยบายการค้าต่างประเทศของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ อาจทำให้ทิศทางและนโยบายการค้าเปลี่ยนแปลง การแข็งค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ก็เป็นปัจจัยที่กดดัน ทำให้การแข่งขันในตลาดส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของไทยมีความยากลำบากมากขึ้น           ในระยะข้างหน้า ผู้ประกอบการในธุรกิจเฟอร์นิเจอร์อาจต้องเผชิญกับความท้าทายสำคัญจากมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศคู่ค้าเข้มงวดขึ้น เช่น มาตรฐาน CARB, มาตรการ EUDR และมาตรการ CBAM รวมถึงกระแสของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการควรพิจารณานำแนวคิดด้าน ESG มาผนวกกับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับนโยบายการค้าในตลาดโลก และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว อาทิเช่น เฟอร์นิเจอร์ในกลุ่ม Eco-Friendly หรือ Green Furniture เป็นต้น           มูลค่าตลาดเฟอร์นิเจอร์โดยรวมในปี 2567-68 มีโอกาสขยายตัว 4.5% YoY และ 2.9% YoY ตามลำดับ ดังนั้น ตลาดในประเทศที่มีสัดส่วนประมาณ 70% ของมูลค่าตลาดรวม คาดว่าจะฟื้นตัวได้อย่างจำกัดด้วยอัตรา 2.0% YoY และ 2.9% YoY ตามลำดับ ขณะที่ตลาดส่งออกซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 30% ของมูลค่าตลาดรวม จะมีส่วนช่วยพยุงตลาดได้บ้าง โดยคาดว่าจะขยายตัวที่ 10.4% YoY และ 2.7% YoY ตามลำดับ           ในปี 2567-68 คาดว่ามูลค่าตลาดในประเทศจะฟื้นตัวได้อย่างจำกัดด้วยอัตราการขยายตัว 2.0% YoY และ 2.9% YoY ตามลำดับ เนื่องจากถูกกดดันจากภาคอสังหาฯ ที่ยอดขายใหม่ยังไม่ฟื้นตัว และกระทบต่อความต้องการเฟอร์นิเจอร์สำหรับที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม ยังได้รับแรงหนุนจากความต้องการใช้เฟอร์นิเจอร์สำนักงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าตลาดสำนักงานให้เช่าในช่วงปี 2567-68 จะมีพื้นที่สำนักงานใหม่สร้างเสร็จเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 375,000 ตร.ม. ต่อปี ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนให้ความต้องการใช้เฟอร์นิเจอร์ในอาคารสำนักงานสูงขึ้น และยังได้รับอานิสงส์จากความต้องการใช้เฟอร์นิเจอร์ในกลุ่มธุรกิจโรงแรมที่มีการปรับปรุงห้องพักและสงซื้อเฟอร์นิเจอร์เพิ่มเติบโตเพื่อรองรับการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยว           ส่วนมูลค่าส่งออกเฟอร์นิเจอร์ คาดว่าในปี 2567-68 จะขยายตัวที่ 10.4% YoY และ 2.7% YoY ตามลำดับ โดยได้รับอานิสงส์จากการส่งออกไปยังตลาดที่มีศักยภาพสูง อย่างสหรัฐฯ ที่มีสัดส่วนตลาดเกือบ 50% จะกลับมาขยายตัวตามรายจ่ายในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ที่ทยอยปรับตัวดีขึ้น โดย Technavio ได้คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ มีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ยปีละ 4.4% CAGR (ปี 2566-71) ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนให้ความต้องการซื้อและนำเข้าเฟอร์นิเจอร์เพื่อตกแต่งที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในสหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้น           ต้นทุนของธุรกิจผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์แบ่งเป็น 43% คือต้นทุนค่าสินค้า อีก 21% คือต้นทุนค่าแรงงาน และส่วนที่เหลือ 36% เป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าโฆษณาและส่งเสริมการขาย           โดยในช่วง 1-2 ปีนี้ อัตราการทำกำไรของธุรกิจมีแนวโน้มถูกกดดันจากต้นทุนการผลิต ได้แก่ 1) ราคาไม้ยางพาราที่ปรับตัวสูงขึ้นจาก 1.42-2.21 บาท/กิโลกรัมในปี 2564 มาอยู่ที่ 1.53-2.37 บาท/กิโลกรัมในปี 2567 2) ราคาวัตถุดิบกลุ่มโลหะ ได้แก่ ราคาอะลูมิเนียมที่ยังสูงกว่า ค่าเฉลี่ยปี 2561-63 ราว 30-35% ขณะที่ราคาเหล็กแม้จะมีทิศทางปรับตัวลดลง แต่ยังมีความผันผวนอยู่มาก ทำให้ความเสี่ยงต่อ Stock Loss เพิ่มขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ 3) ค่าแรงงานที่มีโอกาสปรับขึ้นตามนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำของรัฐบาล จะส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น           การแข่งขันของธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ เนื่องจากการเข้ามาในธุรกิจทำได้ง่าย ไม่มีระเบียบหรือขั้นตอนที่ซับซ้อน ซึ่งสะท้อนจากจำนวนผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจการอยู่ในตลาดมากกว่า 5,000 ราย โดยส่วนใหญ่กว่า 90% เป็นผู้ประกอบการรายย่อย (Micro) และขนาดย่อม (Small) และเมื่อพิจารณาตามลักษณะการดำเนินธุรกิจ พบว่า ราว 53% ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมดเป็นผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์           นอกจากนี้ ตลาดในประเทศและตลาดส่งออกต้องเผชิญกับการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นจากเฟอร์นิเจอร์ของจีนซึ่งได้เปรียบด้านราคา และปัจจุบันผู้ประกอบการจากจีนได้เข้ามาทำตลาดกับผู้บริโภคชาวไทยโดยตรงผ่าน 2 ช่องทางสำคัญ ได้แก่ 1) การขายทางออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ อาทิ Temu และ 2) การร่วมเป็นพันธมิตรกับตัวแทนจำหน่ายในไทย โดยนำเข้าเฟอร์นิเจอร์จากจีนที่ได้รับสิทธิ Free Trade Area (FTA) ภาษีนำเข้า 0% ซึ่งนับเป็นปัจจัยที่กดดันความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยได้           สำหรับผู้ประกอบการจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ประกอบไปด้วย บริษัท ชิค รีพับบลิค จำกัด (มหาชน) หรือ CHIC เป็นศูนย์รวมจัดจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ สินค้าตกแต่งบ้าน ของใช้ในบ้าน ที่นอนและเครื่องนอน อย่างครบวงจร (One Stop Shopping) ในรูปแบบ Stand Alone ภายใต้ชื่อ "ชิค รีพับบลิค (CHIC)" และ "รีน่า เฮย์ (Rina Hey)"           บริษัท อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด (มหาชน) หรือ ECF เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์จากไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด ไม้เอ็มดีเอฟแบบประกอบด้วยตนเอง เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา กระดาษปิดผิว ไม้ยางพาราแปรรูปอบแห้ง และให้บริการตัดแผ่นปิดขอบไม้ (พีวีซี) เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีหนึ่งในบริษัทย่อยที่ลงทุนด้านพลังงานทดแทน           บริษัท แฟนซีวู๊ด อินดัสตรีส จำกัด (มหาชน) หรือ FANCY ผู้ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้และแปรรูปไม้ยางพารา           บริษัท ยูโร ครีเอชั่นส์ จำกัด (มหาชน)  หรือ EURO ผู้ประกอบธุรกิจการจัดจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านครบวงจร ครอบคลุมทั้งเฟอร์นิเจอร์ชุดครัว เฟอร์นิเจอร์สำนักงาน เฟอร์นิเจอร์นอกอาคาร ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและแสงสว่าง สินค้าและวัสดุเพื่อการตกแต่ง ของใช้ เครื่องนอน เครื่องออกกำลังกาย และสินค้าหรืออุปกรณ์เทคโนโลยี ภายใต้ชื่อร้าน "Euro Creations" และร้านภายใต้แบรนด์อื่นๆ           บริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ ILM ผู้ประกอบธุรกิจร้านค้าปลีกจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านครบวงจรในประเทศไทย ภายใต้แบรนด์ร้านค้า "Index Living Mall" และแบรนด์อื่น ๆ รวมทั้งจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางอื่นๆ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ที่ครอบคลุมลูกค้าทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ และประกอบธุรกิจพื้นที่ให้เช่าภายใต้รูปแบบคอมมูนิตี้มอลล์ ภายใต้แบรนด์ "The Walk" "Little Walk" และ "Index Mall" รวมถึงพื้นที่เช่าในสาขาของ Index Living Mall           บริษัท โมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MODERN ผู้ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ครบวงจรครอบคลุมทั้งเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน เฟอร์นิเจอร์บ้าน เฟอร์นิเจอร์ชุดครัว และเฟอร์นิเจอร์นอกอาคาร โดยจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายในประเทศผ่านทีมขายตรง ผ่านโชว์รูม และตัวแทนจำหน่ายในภูมิภาคต่างๆ ตลอดจนส่งออกต่างประเทศ นอกจากนี้ยังนำเข้าเฟอร์นิเจอร์และเป็นผู้นำเข้าวัสดุอุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์และวัสดุเพื่อการตกแต่งภายในจากต่างประเทศ โดยบริษัทมีการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขาย           บริษัท ร้อกเวิธ จำกัด (มหาชน) หรือ ROCK ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน           บริษัท สยามสตีลอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ SIAM ผู้ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์เหล็กภายใต้เครื่องหมายการค้า LUCKY KINGDOM OKAMURA CHITOSE และ PILOT และเฟอร์นิเจอร์ไม้ ทั้งแบบลอยตัว และแบบ built-in ภายใต้เครื่องหมายการค้า KINGDOM และมีบริการรับตกแต่งภายใน ทั้งในอาคารสำนักงาน และบ้านพักอาศัย รวมทั้งผลิตและจำหน่ายอาคารสำเร็จรูปอเนกประสงค์ LUCKY Hi-Tech Building System           อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนจากกระบวนการผลิตและการกำจัดของเสียหลังจากไม่นำมาใช้งานแล้ว ท่านข้อมูลจาก European Environmental Bureau (EEB) ระบุว่า ในแต่ละปีมีเฟอร์นิเจอร์ในประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรปถูกเผาหรือฝังกลบไม่ต่ำกว่า 10 ล้านตัน ขณะที่ข้อมูลรายงานจาก MyToolShed (UK) ระบุว่า โดยเฉลี่ยการผลิตเฟอร์นิเจอร์แต่ละชนิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศประมาณ 47 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบเท่ากับการเผาไหม้ของน้ำมัน 20 ลิตร           จากประเด็นด้าน ESG ที่มีความเข้มข้นขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการในธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ โดยเฉพาะผู้ส่งออกทั่วโลกต้องเผชิญกับความท้าทายสำคัญจากมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่ของโลก อาทิ มาตรฐาน CARB ของสหรัฐฯ รวมถึงมาตรการ EUDR และ CBAM ของสหภาพยุโรปที่จะบังคับใช้อย่างเข้มงวดในระยะถัดไป ดังนั้น ผู้ประกอบการควรพิจารณานำแนวคิดด้าน ESG มาผนวกกับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับนโยบายการค้าในตลาดโลกและช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

ECF ผนึก KYC Now ตั้ง บ.ร่วมทุน แตกไลน์ธุรกิจใหม่เสริมแกร่ง

ECF ผนึก KYC Now ตั้ง บ.ร่วมทุน แตกไลน์ธุรกิจใหม่เสริมแกร่ง

           นายพชรฐณพงษ สุขสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด (มหาชน) หรือ ECF ผู้ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ครบวงจร จำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ เปิดเผยว่า บริษัทฯ แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าการประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 ได้มีมติอนุมัติ ให้บริษัทจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด (มหาชน) หรือ ECF กับบริษัท เควายซี นาว จำกัด (KYC Now) ร่วมพัฒนาและให้บริการตรวจสอบอัตลักษณ์ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบอัตลักษณ์ เช่น ตรวจสอบหนังสือเดินทาง การตรวจสอบใบหน้าเทียบกับฐานข้อมูล เป็นต้น รวมทั้งประกอบธุรกิจให้คำแนะนำ ออกแบบและติดตั้งระบบซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์ รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง            โดยคาดกระบวนกาจัดตั้งบริษัทร่วมทุนจะแล้วเสร็จ และรับรู้รายได้เข้ามาภายในไตรมาส 4/2567 ความร่วมมือทางธุรกิจในครั้งนี้ ถือเป็นการผนึกความแข็งแกร่งของทั้งสองธุรกิจ โดย KYC Now ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบอัตลักษณ์คิดค้นนวัตกรรมโดยทีมคนไทยที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในยุคดิจิทัลในปัจจุบัน ที่การทำธุรรรมออนไลน์เป็นที่แพร่หลาย การตรวจสอบอัตลักษณ์ที่รวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง            บริษัทร่วมทุนแห่งนี้จะเข้ามาเติมเต็มช่องว่างในตลาดและตอบสนองความต้องการของทั้งภาคธุรกิจและบุคคลทั่วไป การร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของ ECF ในการก้าวเข้าสู่ธุรกิจที่มีศักยภาพสูง และเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างสรรค์อนาคตที่ดียิ่งขึ้น เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมต่างๆทั้งในภาคธุรกิจและภาครัฐ "ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับไอทีเป็นธุรกิจ S-Curve และมีฐานผู้ใช้บริการจำนวนมาก ดูได้จากจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศแต่ละปี และยังมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชนอีกหลายแห่ง"นายพชรฐณพงษ กล่าว            นายณธกร ธนาชัยหิรัญ ผู้ก่อตั้ง บริษัท เควายซี นาว จำกัด กล่าวเสริมว่า KYC Now รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ ECF การผนึกกำลังกันของทั้งสองบริษัท จะช่วยให้เราสามารถนำเสนอบริการตรวจสอบอัตลักษณ์ที่ครอบคลุมและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคดิจิทัลที่การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญอย่างยิ่ง เราเชื่อมั่นว่าการร่วมมือกันครั้งนี้จะช่วยยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการทำธุรกรรมออนไลน์ของประเทศไทย และสร้างสรรค์อนาคตที่ดียิ่งขึ้นให้กับทุกภาคส่วน            นายพชรฐณพงษ เปิดเผยถึงแนวโน้มธุรกิจใหม่ที่จะเข้ามาเสริมฐานธุรกิจโดยรวมให้แข็งแกร่งขึ้น โดยจะเห็นภาพชัดเจนตั้งแต่ปี 2568 ส่วนธุรกิจผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์มีสัญญาณการเติบโตที่ดีและคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างชัดเจนในไตรมาส 4/2567 หลังจากบริษัทปรับแผนการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยกระบวนการทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้วในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา            และคาดว่าในปี 2568 ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์จะได้รับแรงสนับสนุนจากการส่งออก โดยเฉพาะเมื่อสหรัฐฯ มีประธานาธิบดีคนใหม่ และสถานการณ์สงครามการค้าต่างประเทศเอื้อต่อคำสั่งซื้อสำหรับการผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์เพื่อการส่งออก เบื้องต้นบริษัทคาดการณ์การเติบโตของธุรกิจผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ในระดับ 12-15% จากปี 2567

ECF ผนึก KYC Now ตั้งบริษัทร่วมทุน แตกไลน์ธุรกิจใหม่ เสริมแกร่ง

ECF ผนึก KYC Now ตั้งบริษัทร่วมทุน แตกไลน์ธุรกิจใหม่ เสริมแกร่ง

           ECF เดินหน้าขยายธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ประกาศจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับบริษัท เควายซี นาว จำกัด (KYC Now) ผู้ให้บริการตรวจสอบอัตลักษณ์ด้วยทีมงานคนไทย ร่วมพัฒนาและให้บริการตรวจสอบอัตลักษณ์ที่ครอบคลุมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เสริมความแข็งแกร่งผ่านการผสมผสานระหว่าง 2 ธุรกิจ ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยการทำธุรกรรมออนไลน์ของประเทศไทย และสร้างสรรค์อนาคตที่ดียิ่งขึ้นให้กับทุกภาคส่วน             นายพชรฐณพงษ สุขสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด (มหาชน) (ECF) ผู้ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ครบวงจร จำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ เปิดเผยว่า บริษัทฯ แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าการประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 ได้มีมติอนุมัติ ให้บริษัทจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด (มหาชน) (ECF) กับบริษัท เควายซี นาว จำกัด (KYC Now) ร่วมพัฒนาและให้บริการตรวจสอบอัตลักษณ์ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบอัตลักษณ์ เช่น ตรวจสอบหนังสือเดินทาง การตรวจสอบใบหน้าเทียบกับฐานข้อมูล เป็นต้น รวมทั้งประกอบธุรกิจให้คำแนะนำ ออกแบบและติดตั้งระบบซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์ รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง            ความร่วมมือทางธุรกิจในครั้งนี้ ถือเป็นการผนึกความแข็งแกร่งของทั้งสองธุรกิจ โดย KYC Now ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบอัตลักษณ์คิดค้นนวัตกรรมโดยทีมคนไทยที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในยุคดิจิทัลในปัจจุบัน ที่การทำธุรกรรมออนไลน์เป็นที่แพร่หลาย การตรวจสอบอัตลักษณ์ที่รวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง บริษัทร่วมทุนแห่งนี้จะเข้ามาเติมเต็มช่องว่างในตลาดและตอบสนองความต้องการของทั้งภาคธุรกิจและบุคคลทั่วไป            การร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของ ECF ในการก้าวเข้าสู่ธุรกิจที่มีศักยภาพสูง และเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างสรรค์อนาคตที่ดียิ่งขึ้น เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ทั้งในภาคธุรกิจและภาครัฐ            นายณธกร ธนาชัยหิรัญ ผู้ก่อตั้ง บริษัท เควายซี นาว จำกัด กล่าวเสริมว่า KYC Now รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ ECF การผนึกกำลังกันของทั้งสองบริษัท จะช่วยให้เราสามารถนำเสนอบริการตรวจสอบอัตลักษณ์ที่ครอบคลุมและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคดิจิทัลที่การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญอย่างยิ่ง เราเชื่อมั่นว่าการร่วมมือกันครั้งนี้จะช่วยยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการทำธุรกรรมออนไลน์ของประเทศไทย และสร้างสรรค์อนาคตที่ดียิ่งขึ้นให้กับทุกภาคส่วน" [PR News]