#DSI


DSI ปล่อยโดรน

DSI ปล่อยโดรน "Vtol" ตรวจบุกรุกป่าสงวนฯ

          DSI ลงพื้นที่นำอากาศยานไร้คนขับแบบ Vtol ตรวจสอบกรณีมีการร้องเรียนเอกชนถือครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองพระยาอาจโดยมิชอบด้วยกฎหมาย มูลค่าความเสียหายหลายร้อยล้านบาท           ตามที่ พันตำรวจตรี ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และพันตำรวจตรี จตุพล บงกชมาศ ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการคดีพิเศษภาค ได้มอบหมายและกำชับให้ศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษ เขตพื้นที่ 8 เฝ้าระวังอาชญากรรมพิเศษในพื้นที่รับผิดชอบ ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต กระบี่ พังงา ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช และจังหวัด สุราษฎร์ธานี โดยเป็นกลุ่มจังหวัดที่เป็นพื้นที่แหล่งทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก จึงมีโอกาสสูงที่จะเกิดอาชญากรรมที่เป็นคดีพิเศษ โดยเฉพาะกรณีเกี่ยวกับการบุกรุกยึดถือแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่รับผิดชอบ นั้น           โดยวานนี้ (วันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2567) นายศุภชัย คำคุ้ม ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษ เขตพื้นที่ 8 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษ เขตพื้นที่ 8 และคณะ ได้สนธิกำลังร่วมกับ นายไกรศรี สว่างศรี ผู้อำนวยการส่วนแผนที่และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ กองเทคโนโลยีและศูนย์ข้อมูลการตรวจสอบ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ นำอากาศยานไร้คนขับแบบ Vtol ที่สามารถทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศแบบความละเอียดถูกต้องสูง ร่วมกับระบบ DSI Crime Map ทำการบินสำรวจจัดทำแผนที่เกิดเหตุ บริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าปลายคลองพระยา ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ ซึ่งมีกรณีกล่าวหาว่า บริษัทแห่งหนึ่ง ได้ถือครองที่ดินตามเอกสารสิทธิ์ที่ดินประเภทหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) จำนวน 21 แปลง เนื้อที่กว่า 766 ไร่ ทับซ้อนพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าว โดยรับเรื่องเป็นสำนวนสืบสวนที่ 161/2567 ในการลงพื้นที่ มีหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 12 (สาขากระบี่) ศูนย์ป้องกันและปราบปรามที่ 4 ภาคใต้ เจ้าหน้าที่สำนักพัฒนาที่ดินเขต 11 (สุราษฎร์ธานี) เจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาที่ดินกระบี่ เจ้าหน้าที่ที่ดินจังหวัดกระบี่ สาขาอ่าวลึก เจ้าหน้าที่ป่าไม้หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ กบ.5 (ปลายพระยา) และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ได้แก่ นายอำเภอปลายพระยา และผู้ใหญ่บ้านที่เกี่ยวข้อง ร่วมปฏิบัติการในครั้งนี้ด้วย           จากการตรวจสอบลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่า บริษัทดังกล่าว มีการถือครองที่ดินทับซ้อนกับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติฯ ตามคำร้อง โดยเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ที่ใช้อ้างในการครอบครอง ทั้งที่มีขึ้นก่อนและหลังประกาศกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ป่าปลายคลองพระยา ที่ต้องสืบสวนขยายผลการได้มาซึ่งเอกสารดังกล่าวให้ชัดเจน หากเกิดจากเป็นการกระทำที่มิชอบ ย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 หรืออาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 หรืออาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินและที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 9 ซึ่งมีโทษตามมาตรา 108 ทวิ และความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง และจะมีมูลค่าความเสียหายหลายร้อยล้านบาท หลังจากนี้ศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษ เขตพื้นที่ 8 จะเร่งรัดการสืบสวนเพื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติการสอบสวนพิเศษ พ.ศ. 2547 หากเข้าข่ายเป็นคดีพิเศษ จะเสนอผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้ทำการสอบสวนเป็นพิเศษโดยเร็ว [PR News]

DSI รวบครบ หมอ พยาบาล นายหน้าร่วมขบวนการอุ้มบุญเถื่อน !!

DSI รวบครบ หมอ พยาบาล นายหน้าร่วมขบวนการอุ้มบุญเถื่อน !!

          หุ้นวิชั่น - วานนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2567) ศูนย์สืบสวนสะกดรอยและการข่าว ภายใต้การอำนวยการของ นายวิทวัส สุคันธรส ผู้อำนวยการศูนย์สืบสวนสะกดรอยและการข่าว ได้จับกุม นางสาวอมลยา (สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 5636/2567 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 จับกุมได้ที่บริเวณคอนโดมิเนียม ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร นำส่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กองคดีการค้ามนุษย์ ดำเนินคดีกรณีดังกล่าว สืบเนื่องจาก กองคดีการค้ามนุษย์ ภายใต้การอำนวยการของ พันตำรวจตรี สิริวิชญ์ เกษมทรัพย์ ผู้อำนวยการกองคดีการค้ามนุษย์ ได้สืบสวนสอบสวนคดีพิเศษที่ 235/2565กรณีกลุ่มบุคคลกระทำการเป็นขบวนการนายหน้าจัดให้มีการรับตั้งครรภ์แทนโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (อุ้มบุญ) ทางคดีมีพยานหลักฐานว่า นางสาวอมลยา (สงวนนามสกุล) ทำหน้าที่เป็นนายหน้าจัดหาหญิงมารับจ้างอุ้มบุญโดยผิดกฎหมาย จึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาเพื่อออกหมายจับ นางสาวอมลยาฯ ในความผิดฐาน ร่วมกันดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทน เพื่อประโยชน์ทางการค้าร่วมกันดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทน เพื่อประโยชน์ทางการค้า และร่วมกันกระทำเป็นคนกลาง หรือนายหน้า โดยเรียกรับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน เพื่อเป็นการตอบแทนในการให้มีการรับตั้งครรภ์แทน ซึ่งศาลอาญาได้ออกหมายจับตามคำร้อง และกองคดีการค้ามนุษย์ได้ประสานงานกับศูนย์สืบสวนสะกดรอยและการข่าว เพื่อติดตามจับกุมผู้ต้องหาดังกล่าว           อนึ่ง สัปดาห์ที่ผ่านมา ศูนย์สืบสวนสะกดรอยและการข่าว ยังได้จับกุม นางสาววนากานต์ (สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 5638/2567 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 นางสาววรารัตน์ (สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 5640/2567 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีเดียวกันได้ที่บริเวณโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในพื้นที่ แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร และจับกุมนางสาวกรรณิการ์ (สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 5639/2567 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ได้ที่หน้ากรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งทั้ง 3 ราย เป็นแพทย์และพยาบาลที่ทำการฝังตัวอ่อนในครรภ์ของหญิงอุ้มบุญ คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ จึงแจ้งข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้ให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันทางการแพทย์จะดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนให้แก่สามี และภรรยา โดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ให้ดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนให้แก่สามีและภรรยารายนั้นและร่วมกันดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้าร่วมกันดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยจับกุมผู้ต้องหารายนี้ เป็นรายที่ 4           การดำเนินการในการติดตามจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับในคดีพิเศษ เป็นไปตามข้อสั่งการของ พันตำรวจตรี ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่กำหนดให้ศูนย์สืบสวนสะกดรอยและการข่าว ซึ่งเป็นหน่วยงานขึ้นตรงการบังคับบัญชา จัดชุดปฏิบัติการติดตามจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับ โดยเฉพาะหมายจับที่ใกล้ขาดอายุความ เพื่อนำตัวผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดที่ยังหลบหนี เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมต่อไป

DSI เปิดเวทีเสวนา STARK: ถอดบทเรียน

DSI เปิดเวทีเสวนา STARK: ถอดบทเรียน "แผนประทุษกรรม" สู่วิธีป้องกัน-เยียวยาผู้เสียหายกว่า 14,000 ล้านบาท

          หุ้นวิชั่น -  วันนี้ (2 ธันวาคม 2567) ณ ห้องประชุม 10-09 อาคารกระทรวงยุติธรรม พันตำรวจตรี ยุทธนาแพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษและคณะทำงานศึกษาแผนประทุษกรรมกรณีบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)” ได้จัดงานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “แผนประทุษกรรมกรณี บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (STARK)” ขึ้น ซึ่งกรณีดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นมาจากการกระทำความผิดในตลาดทุนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายเหตุการณ์ในประเทศไทย ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของนักลงทุนและก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและสังคมโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้มีพฤติการณ์การตกแต่งบัญชีและใช้งบการเงินอันเป็นเท็จในลักษณะที่มุ่งหวังหลอกลวงนักลงทุนผ่านการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนและเสนอขายหุ้นกู้ โดยการกระทำดังกล่าวส่งผลให้มีผู้เสียหายรวมกว่า 4,700 ราย และมีมูลค่าความเสียหายสูงกว่า 14,000 ล้านบาท                     เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนามาตรการป้องกันในเชิงรุกที่ครอบคลุมและทันเหตุการณ์ยิ่งขึ้นรวมถึงเพื่อพัฒนามาตรการเยียวยาผู้เสียหายให้เหมาะสมกับบริบทและรูปแบบสภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อเดือนกรกฎาคม 2567 พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแผนประทุษกรรมกรณี บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (STARK) โดยมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เป็นประธานคณะทำงาน มีผู้แทนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงาน ก.ล.ต. สำนักงานอัยการสูงสุด กรมบังคับคดี สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านกฎหมายและด้านตลาดทุน รวมถึงตัวแทนผู้เสียหายจากการลงทุนหุ้นสามัญเป็นคณะทำงาน และมีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการคณะทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ (1) เพื่อเป็นกรณีศึกษา โดยมีกรณีศึกษาของบริษัท สตาร์คฯ เป็นศูนย์กลางของการถอดบทเรียน (2) เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและกรอบการดำเนินงานเพื่อป้องกันและปราบปรามคดีที่มีผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อประชาชน เศรษฐกิจ และสังคม และ (3) เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่มีประสิทธิภาพในการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของตลาดทุนและตลาดเงินในการสร้างระบบการกำกับดูแลตรวจสอบและแจ้งเตือนล่วงหน้า อันจะยังผลให้ตลาดทุนและตลาดเงินมีเสถียรภาพ ความน่าเชื่อถือ และความโปร่งใสตรวจสอบได้ตามมาตรฐานสากล                       หลังจากคณะทำงานศึกษาแผนประทุษกรรมฯได้มีการประชุมร่วมกันทั้งสิ้น 7 ครั้ง เพื่อยกร่างรายงานศึกษาการถอดบทเรียนแผนประทุษกรรมกรณีดังกล่าว โดยได้เชิญหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงาน ปปง. รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการตรวจสอบบัญชี มาให้ข้อคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ อีกทั้งยังมีการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้ร่างรายงานศึกษาการถอดบทเรียนฯ มีข้อมูลข้อเท็จจริงที่ครบถ้วนในทุกมิติ นำไปสู่การร่างเอกสารรายงานศึกษาการถอดบทเรียน ประกอบด้วย 4 บท ได้แก่ (1) ข้อเท็จจริงและลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ บริษัท สตาร์คฯ เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ด้วยวิธีการ Backdoor Listing จนถึงการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด (2) มาตรการป้องกันที่มีอยู่ในปัจจุบัน ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ และที่ควรมีเพิ่มเติมในอนาคต ซึ่งครอบคลุมในเรื่องของการกำกับดูแลผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบการเงิน กรรมการอิสระ การจัดทำลักษณะ/พฤติการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงอันอาจนำไปสู่การกระทำความผิด (red flag) และผู้ให้เบาะแส (whistle blower)      (3) มาตรการปราบปรามและแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรมของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลดความซ้ำซ้อนและระยะเวลาในภาพรวมที่ใช้ในการสืบสวนสอบสวน และ (4) มาตรการเยียวยา ซึ่งรวมถึงแนวทางในการติดตามเรียกคืนทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิดเพื่อคืนให้กับผู้เสียหาย ตลอดจนบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่จะช่วยเหลือบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยมีแนวคิดในเรื่องการจัดตั้งกองทุนต่าง ๆ                     การจัดงานเสวนาในวันนี้ ได้รับเกียรติจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิด นายพงศ์เทพ  เทพกาญจนา อดีตรองนายกรัฐมนตรี/ประธานคณะทำงาน นายธวัชชัย  พิทยโสภณ รองเลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เป็นผู้ร่วมเสวนา  โดยมีเนื้อหาประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักคือ (1) การนำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษา และ (2) การรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ  โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 200 คน ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กร สมาคม สถาบันการศึกษา            กลุ่มผู้เสียหาย และประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องหรืออาจเข้าข่ายเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการพัฒนามาตรการป้องกัน มาตรการปราบปราม และมาตรการเยียวยา กรณีการกระทำความผิดในตลาดทุน ซึ่งคณะทำงานฯ จะนำข้อคิดเห็นและข้อสังเกตต่าง ๆ ที่ได้จากงานเสวนาในครั้งนี้ ไปใช้ในการปรับปรุงร่างรายงานศึกษาการถอดบทเรียนฯ เพื่อให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นและจะเปิดเผยต่อสาธารณชนให้ทราบต่อไป

DSI ชี้ PTT-OR อยู่ในขั้นสืบสวน ยันเอกสารที่เผยแพร่สื่อ ไม่ใช่ของ DSI

DSI ชี้ PTT-OR อยู่ในขั้นสืบสวน ยันเอกสารที่เผยแพร่สื่อ ไม่ใช่ของ DSI

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตกรรมการและผู้บริหาร IEC กับพวก รวม 4 ราย ต่อ DSI กรณีทุจริตทำให้ IEC เสียหาย

ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตกรรมการและผู้บริหาร IEC กับพวก รวม 4 ราย ต่อ DSI กรณีทุจริตทำให้ IEC เสียหาย

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2567 | ฉบับที่ 238 / 2567            ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตกรรมการและผู้บริหาร บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิล เอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) (IEC) กับพวกรวม 4 ราย ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ในข้อหาร่วมกันกระทำผิดหน้าที่โดยทุจริต ผ่านการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชีวมวลและ Plastic Recycling ที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้แก่ตนเองหรือผู้อื่น ทำให้ IEC ได้รับความเสียหาย            สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับเรื่องจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ในช่วงกลางปี 2564 ขอให้ ก.ล.ต. ตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานกรณีมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่า IEC* มีการจัดซื้อที่ดินเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าส่อไปทางทุจริตและแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับกรณีที่ ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษต่อ DSI ไปก่อนหน้านั้นแล้ว** ดังนั้น ก.ล.ต. จึงได้ดำเนินการตรวจสอบการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ) และดำเนินการกล่าวโทษนายภูษณ ปรีย์มาโนช และนางสัณห์จุฑา วิชชาวุธ อดีตกรรมการและผู้บริหาร IEC กับพวกอีก 2 ราย ได้แก่ พลโท อนุธัช บุนนาค และนายสราญ เลิศเจริญวงษา โดยปรากฏข้อเท็จจริงและหลักฐานที่พิจารณาได้ว่า ในช่วงปี 2557 – 2558 บุคคลทั้ง 4 ราย ได้ร่วมกันกระทำการทุจริตผ่านธุรกรรมการจัดซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชีวมวลและ Plastic Recycling ที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ในราคาสูงเกินสมควร และให้ IEC จ่ายเงินค่าจ้างในการจัดหาสิทธิกำจัดขยะ เพื่อให้ IEC เข้าทำสัญญารับช่วงสิทธิกำจัดขยะ โดยนายภูษณและนางสัณห์จุฑารู้อยู่แล้วว่า IEC ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ เนื่องจากโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ IEC ถูกยกเลิกไปแล้ว อันเป็นเหตุให้ IEC ได้รับความเสียหายทั้งสิ้น 156.8 ล้านบาท            การกระทำของบุคคลดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 281/2 วรรคสอง ประกอบมาตรา 89/7 และมาตรา 307 มาตรา 308 มาตรา 311 มาตรา 313 และมาตรา 315 แห่งพ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ประกอบมาตรา 83 และมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา แล้วแต่กรณี ก.ล.ต. จึงกล่าวโทษบุคคลทั้ง 4 รายต่อ DSI เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป            การถูกกล่าวโทษข้างต้นมีผลให้ผู้ถูกกล่าวโทษเข้าข่ายมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจและไม่สามารถดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียนตลอดระยะเวลาที่ถูกกล่าวโทษดำเนินคดี นับตั้งแต่วันที่ ก.ล.ต. มีหนังสือกล่าวโทษบุคคลดังกล่าวต่อ DSI***            ทั้งนี้ ภายหลังการกล่าวโทษของ ก.ล.ต. กระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาต่อไปเป็นการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ และการพิจารณาของศาลยุติธรรม ตามลำดับ โดย ก.ล.ต. จะติดตามความคืบหน้าในการดำเนินคดี และจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ในกระบวนการภายหลัง ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษแล้ว __________________ หมายเหตุ: * ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพิกถอนหุ้นสามัญของบริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิล เอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) (IEC) จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 ** ข่าว ก.ล.ต. ฉบับที่ 104/2560 เรื่อง “ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตผู้บริหาร IEC กับพวกรวม 25 ราย กรณีร่วมกันกระทำผิดหน้าที่โดยทุจริต และแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ ทำให้บริษัทเสียหาย” https://www.sec.or.th/TH/Pages/News_Detail.aspx?SECID=6831 *** ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2560 เรื่อง การกำหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560