ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#Digital Assets


ก.ล.ต. กล่าวโทษ OKX-ผู้สนับสนุนการกระทำความผิด 9 ราย ประกอบธุรกิจศูนย์ฯ ไม่ได้รับอนุญาต

ก.ล.ต. กล่าวโทษ OKX-ผู้สนับสนุนการกระทำความผิด 9 ราย ประกอบธุรกิจศูนย์ฯ ไม่ได้รับอนุญาต

          ก.ล.ต. กล่าวโทษ Aux Cayes FinTech Co. Ltd. ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มบนเว็บไซต์ www.okx.com/th (OKX) และผู้สนับสนุนการกระทำความผิด 9 ราย ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) กรณีกระทำการเข้าข่ายการประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ โดยมีบุคคลทั้ง 9 รายเป็นผู้สนับสนุนการกระทำของ OKX           สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับแจ้งเบาะแสและตรวจสอบ พบว่าตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2564 OKX ได้ให้บริการจัดระบบการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่ออำนวยความสะดวกให้เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเก็บค่าธรรมเนียมร้อยละ 0.1 ของมูลค่าธุรกรรมที่ลูกค้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และมีการชักชวนและประชาสัมพันธ์ให้มาใช้บริการผ่านเว็บไซต์ OKX รวมถึงยังมีกิจกรรมส่งเสริมการขายอันเป็นการชักชวน ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ เช่น Telegram ชื่อ “OKX TH” Twitter (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น X) ชื่อ “OKX Thai Community” Line OpenChat ชื่อ “Thai Community” เป็นต้น           การกระทำของ OKX เข้าข่ายประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลตามมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ) ซึ่ง OKX ดำเนินการโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26 อันมีความผิดและระวางโทษตามมาตรา 66 แห่ง พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ           นอกจากนี้ ยังปรากฏว่า OKX ได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนการประชาสัมพันธ์การให้บริการและกิจกรรมส่งเสริมการขายจากบุคคลทั้ง 9 ราย ได้แก่ (1) นายศรัณย์ บุญมีศรีสง่า ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “ลองลงทุน” Youtube ชื่อ “ลองลงทุน” และ Discord Server ชื่อ “LONGLONGTHUN Community” (2) นายณัฐ จูงวงศ์ ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “พ่อบ้านคริปโต” Youtube ชื่อ “พ่อบ้านคริปโต” Discord Server ชื่อ “Moonstation” และ Line OpenChat ชื่อ “Exclusive MoonStation” (3) นายกฤษณะ กฤษณานุวัตร์ ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “Srisiam” และ Youtube ชื่อ “Srisiam” (4) นายสมิทธิ เจริญมิน ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “น้ายามพาเทรด” และ Youtube ชื่อ “น้ายามพาเทรด” (5) นายกิตติทัศน์ เบญจเจริญพัฒน์ ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “I Learn A Lot : แชร์มุมมองด้านการลงทุน” Youtube ชื่อ “I Learn A Lot” และ Line OpenChat ชื่อ “Exclusive Wave125i” (6) นายสรวิศ สงวนโภคัย ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “Art of Crypto” Youtube ชื่อ “Art of Crypto” และ Telegram ชื่อ “Art of Crypto” (7) นายอัครวัฒน์ รุจิเรืองชัย ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “Crypto Teller : บอกกล่าวเล่าคริปโต” Youtube ชื่อ “cryptoteller007” และ Discord Server ชื่อ “Mookata Trader Community” (8) นายรชต เชื้อสายบัว ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “กราฟฟิ้ววว” Line OpenChat ชื่อ “กราฟฟิ้ววว เดอะ คอมมูนิตี้” และ Discord Server ชื่อ “ห้องลับจับคลื่น” (9) นายวรุตม์ วนิชยาโกศล ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “Insight On-Chain : ส่องข้อมูลออนเชน” และ Line OpenChat ชื่อ “Insight On-Chain มาคุยกัน”           การกระทำของบุคคลทั้ง 9 ราย ทำให้ OKX เป็นที่รู้จักและมีบุคคลสนใจไปใช้บริการ OKX มากขึ้น จึงเข้าข่ายเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ OKX ในการประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรา 26 อันมีความผิดและระวางโทษตามมาตรา 66 แห่งพ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา           ก.ล.ต. จึงกล่าวโทษ OKX และผู้สนับสนุนการกระทำความผิดทั้ง 9 ราย ต่อ บก.ปอศ. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป           ทั้งนี้ ภายหลังการกล่าวโทษของ ก.ล.ต. กระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาต่อไปเป็นการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ และการพิจารณาของศาลยุติธรรม ตามลำดับ โดย ก.ล.ต. จะติดตามความคืบหน้าในการดำเนินคดี และจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ในกระบวนการภายหลัง ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษแล้ว           พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ขอเตือนประชาชนและผู้ลงทุนให้ระมัดระวังการใช้บริการกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และยังมีความเสี่ยงที่จะถูกหลอกลวง (scam) รวมถึงความเสี่ยงในการเป็นเส้นทางผ่านเงินของผู้กระทำความผิดที่ต้องการฟอกเงิน โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตได้ที่ www.sec.or.th หรือแอปพลิเคชัน “SEC Check First” และสามารถตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ได้ที่ investor alert ลิงก์ https://market.sec.or.th/public/idisc/th/InvestorAlert           ทั้งนี้ หากมีเบาะแสเกี่ยวกับการดำเนินการที่น่าสงสัย โปรดแจ้งที่ “ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและแจ้งเบาะแส” โทร. 1207 หรือผ่านช่องทาง Facebook page “สำนักงาน กลต.” หรือ Sec Live Chat ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. เพื่อการตรวจสอบในเชิงลึกต่อไป

ก.ล.ต. กล่าวโทษ XT.COM ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต

ก.ล.ต. กล่าวโทษ XT.COM ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต

             ก.ล.ต. กล่าวโทษผู้ให้บริการแพลตฟอร์มศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลบนเว็บไซต์ www.xt.com (XT.COM) ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ในความผิดกรณี XT.COM กรณีกระทำการเข้าข่ายประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ)              สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตรวจสอบพบว่า XT.COM ได้ให้บริการระบบการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่ออำนวยความสะดวกให้เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเก็บค่าธรรมเนียม และมีการชักชวนและประชาสัมพันธ์ให้มาใช้บริการของ XT.COM ในประเทศไทย ผ่านทางโซเชียลมีเดียเป็นภาษาไทย ได้แก่ Facebook Telegram และ YouTube รวมทั้งการออกบูธ XT.COM ในงานที่จัดขึ้นในประเทศไทยด้วย              การกระทำของ XT.COM เข้าข่ายประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ซึ่ง XT.COM ดำเนินการโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรา 26 อันมีความผิดและระวางโทษตามมาตรา 66 แห่ง พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ก.ล.ต. จึงกล่าวโทษ XT.COM ต่อ บก.ปอศ. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป              ทั้งนี้ ภายหลังการกล่าวโทษของ ก.ล.ต. กระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาต่อไปเป็นการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ และการพิจารณาของศาลยุติธรรม ตามลำดับ โดย ก.ล.ต. จะติดตามความคืบหน้าในการดำเนินคดี และจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ในกระบวนการภายหลัง ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษแล้ว              พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ขอเตือนประชาชนและผู้ลงทุนให้ระมัดระวังการใช้บริการกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และยังมีความเสี่ยงที่จะถูกหลอกลวง (scam) รวมถึงความเสี่ยงในการเป็นเส้นทางผ่านเงินของผู้กระทำความผิดที่ต้องการฟอกเงิน โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตได้ที่ www.sec.or.th และแอปพลิเคชัน SEC Check First และสามารถตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ได้ที่ investor alert ลิงก์ https://market.sec.or.th/public/idisc/th/InvestorAlert              ทั้งนี้ หากมีเบาะแสเกี่ยวกับการดำเนินการที่น่าสงสัย โปรดแจ้งที่ “ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและแจ้งเบาะแส” โทร. 1207 หรือผ่านช่องทาง Facebook page “สำนักงาน กลต.” หรือ Sec Live Chat ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. เพื่อการตรวจสอบในเชิงลึกต่อไป

ก.ล.ต.เห็นชอบปรับปรุงเกณฑ์ NC ของ DA Custodian

ก.ล.ต.เห็นชอบปรับปรุงเกณฑ์ NC ของ DA Custodian

          สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (คณะกรรมการ ก.ล.ต.) มีมติเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์เงินกองทุน (Net Capital) สำหรับ DA Custodian เพื่อส่งเสริมให้เกิดผู้ให้บริการภายในประเทศมากขึ้น รวมทั้งเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์อัตราค่าความเสี่ยงสำหรับ investment token และโทเคนดิจิทัลที่ไม่มี custody risk ยกระดับระบบนิเวศของโทเคนดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพ           ตามที่ ก.ล.ต. มีแนวทางในการส่งเสริมผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Custodial Wallet Provider : DA Custodian) ให้มีจำนวนมากขึ้น โดยสนับสนุนผู้ให้บริการดังกล่าวให้มีต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ต้องการฝากทรัพย์สินลูกค้ากับ DA Custodian ในประเทศ รวมถึงมีแนวทางในการส่งเสริมและยกระดับระบบนิเวศของโทเคนดิจิทัล ทั้งการออกเสนอขายในตลาดแรกและ การซื้อขายเปลี่ยนมือในตลาดรอง โดยลดภาระของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในการดำรงเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเก็บรักษาทรัพย์สินลูกค้า (custody risk) กรณีที่ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (investment token) และโทเคนดิจิทัลที่ไม่มี custody risk           คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดำรงเงินกองทุน หรือ “หลักเกณฑ์ NC” ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีสาระสำคัญดังนี้           (1) การปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ NC ของ DA Custodian โดยปรับลดอัตรา NC cold wallet สำหรับให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล (DA Custodian) ให้อยู่ที่ 1% (ลดลงจาก 2%) เพื่อส่งเสริมให้เกิดผู้ให้บริการภายในประเทศมากขึ้นและลดภาระต้นทุนให้ผู้ประกอบธุรกิจ ปรับเพิ่มสัดส่วนการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าใน cold wallet ให้ไม่น้อยกว่า 95% (จากเดิม 90%) และกำหนดห้ามผู้ประกอบธุรกิจประเภท DA Custodian มอบหมายระบบงานในการเก็บรักษาทรัพย์สินลูกค้าต่อไปยังผู้ให้บริการรายอื่น (ห้าม sub-custody) รวมทั้งปรับปรุงข้อกำหนดอื่น ๆ ของหลักเกณฑ์ ให้สอดคล้องกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นที่เก็บรักษาทรัพย์สินลูกค้า*           (2) การปรับปรุงหลักเกณฑ์อัตราค่าความเสี่ยงสำหรับโทเคนดิจิทัลที่ไม่มี custody risk โดยกำหนดยกเว้นอัตรา NC custody risk สำหรับโทเคนดิจิทัล** ที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเก็บรักษาไว้ใน hot และ cold wallet หากเหรียญดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด*** รวมถึงไม่ต้องนำไปฝากไว้กับผู้ประกอบธุรกิจประเภท DA Custodian           ทั้งนี้ ก.ล.ต. จะดำเนินการยกร่างประกาศ เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และออกประกาศบังคับใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไป หมายเหตุ : * ได้แก่ การใช้ same coin ในการดำรงเงินกองทุน การปรับปรุงนิยามของกรมธรรม์ และการดำเนินการกรณีที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้ ** โทเคนดิจิทัล ให้หมายความตามนิยาม "โทเคนดิจิทัล" ใน พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ https://www.sec.or.th/TH/Documents/ActandRoyalEnactment/RoyalEnactment/enactment-digitalasset2561.pdf *** เช่น ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องจะต้องมีบริการที่สามารถติดต่อประสานงานได้ในประเทศไทย หรือระบุเงื่อนไขการออกเหรียญใหม่ (re-issue) อย่างชัดเจนในแบบ filing เป็นต้น

USDT และ USDC กับตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในไทย [HoonVision x Tokenx]

USDT และ USDC กับตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในไทย [HoonVision x Tokenx]

          USDT และ USDC: เปิดศักราชใหม่ของการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย           หุ้นวิชั่น - จากการที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ได้ประกาศอนุมัติให้เหรียญ Stablecoin ที่ได้รับความนิยมระดับโลกอย่าง USDT (Tether) และ USDC (Circle) สามารถจับคู่ซื้อขายกับสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นๆ บนแพลตฟอร์มที่ได้รับการกำกับดูแลในประเทศไทยได้ ในวันที่ 16 มีนาคม 2568   การเปิดให้ Stablecoin ดังกล่าวซื้อขายได้ เป็นการตอบสนองต่อกระแสความนิยมที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกและความต้องการจากตลาดนักลงทุนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่การเพิ่มสภาพคล่องและอำนวยความสะดวกในการลงทุน           โดยก่อนหน้านี้ กลต. อนุญาตให้ซื้อขายได้เฉพาะสกุลเงินดิจิทัลชั้นนำเช่น Bitcoin (BTC), Ethereum (ETH), XRP และ Stellar (XLM) หรือเหรียญที่ใช้เฉพาะในระบบชำระเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้น แล้ว USDC, USDT น่าเชื่อถือหรือไม่?           Stablecoin เป็นส่วนสำคัญของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลทั่วโลก โดยมีมูลค่าตลาดรวมพุ่งสูงถึงประมาณ 1.9 – 2.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงปลายปี 2024 ซึ่งเติบโตกว่า 46% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ตอกย้ำการขยายตัวอย่างรวดเร็วของตลาดนี้ ปัจจุบัน ภาพประกอบ : ข้อมูลสถิติ stablecoin แต่ละเหรียญ (ราคา , ปริมาณการเทรดใน 24 ชั่วโมง (เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2024), จำนวน exchange ที่รองรับ และ market cap) USDT (Tether) เป็นเหรียญ Stablecoin ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งในด้านมูลค่าตลาดและปริมาณการใช้งาน โดยครองส่วนแบ่งตลาดราว 69–70% ของมูลค่าตลาด Stablecoin ทั้งหมด  มีมูลค่าตลาดประมาณ 1.39 แสนล้านดอลลาร์ (ประมาณ 4.9 ล้านล้านบาท)  มีกระดานเทรดรองรับ 358 กระดาน USDC (USD Coin) ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 20% อันดับสองของโลก  และเป็น Stablecoin มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์ และมีกระดานเทรดรองรับถึง 397 กระดาน           ส่วน Stablecoin อื่นๆ เช่น DAI, BUSD, และเหรียญที่มีขนาดเล็กกว่า รวมกันคิดเป็นสัดส่วนที่เหลือราว 10% ของตลาด           สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีข้อมูลสถิติอย่างเป็นทางการที่ระบุสัดส่วนประชากรไทยที่ถือครอง Stablecoin โดยตรง อย่างไรก็ดี ไทยได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการยอมรับคริปโทเคอร์เรนซีสูงติดอันดับโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา (ปี 2023 ไทยอยู่ในอันดับที่ 10 ของดัชนีการยอมรับคริปโทระดับโลก ก่อนจะปรับมาอยู่อันดับ 16 ในปี 2024) มีรายงานว่าในปี 2023 คนไทยราว 13 ล้านคน (ประมาณ 18% ของประชากร) เคยใช้สกุลเงินดิจิทัลบางประเภทในการลงทุนหรือทำธุรกรรม           เปรียบเทียบ USDT vs USDC (ความน่าเชื่อถือและการใช้งาน): แม้ USDT และ USDC จะเป็น Stablecoin ชั้นนำที่ผูกกับเงินดอลลาร์สหรัฐเหมือนกัน แต่ทั้งสองมีความแตกต่างในด้านความน่าเชื่อถือ การกำกับดูแล และการยอมรับใช้งานในตลาด           USDT (Tether): เป็น Stablecoin รุ่นบุกเบิก (ก่อตั้งปี 2014) และมีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด โดยได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในตลาดเอเชียและการเทรดระดับโลก เนื่องจากสภาพคล่องสูงและมีคู่เทรดแทบทุกแพลตฟอร์ม นอกจากนี้ USDT ยังได้รับการยอมรับใช้บนเครือข่ายบล็อกเชนที่หลากหลาย (เช่น Ethereum, Tron, BSC เป็นต้น) ทำให้ผู้ใช้สามารถโอน USDT ได้สะดวกด้วยค่าธรรมเนียมต่ำ (กรณี Tron-USDT ได้รับความนิยมมากในเอเชียเพราะค่าธรรมเนียมถูก) อย่างไรก็ตาม USDT เคยมีประวัติด้านลบเรื่อง ความโปร่งใสในการสำรองสินทรัพย์ โดยในปี 2021 บริษัท Tether ถูกสั่งปรับเป็นเงิน 41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากกรณีให้ข้อมูลชวนเข้าใจผิดว่ามีทุนสำรองหนุนหลังเหรียญครบ 100% ตลอดเวลา แต่ภายหลังสืบสวนพบว่าช่วงหนึ่งมีทุนสำรองจริงเพียง 27.6% ของจำนวนเหรียญที่ออก  กรณีนี้ทำให้ USDT ถูกวิจารณ์เรื่องความโปร่งใสและสร้างความกังวลในหมู่นักลงทุน ถึงแม้ปัจจุบัน Tether จะยืนยันว่าได้ปรับปรุงการเปิดเผยข้อมูลและมีทุนสำรองเต็มมูลค่าเหรียญแล้วก็ตาม อีกด้านหนึ่ง USDT มีประวัติราคาที่ผันผวนหลุดจาก $1 น้อยมาก (ยกเว้นช่วงวิกฤตสั้นๆ ที่ผู้ลงทุนเทขายเหรียญอื่นแล้วเข้าถือ USDT มากขึ้นจนราคา USDT สูงกว่า $1 เล็กน้อย) และไม่เคยเกิดกรณีเหรียญล้มละลาย จึงยังรักษาความเชื่อมั่นจากผู้ใช้ส่วนใหญ่ไว้ได้ กรณี USDT กับข้อพิพาทกฎหมาย MiCA ของยุโรป: หนึ่งในประเด็นสำคัญระดับสากลคือการที่ สกุลเงิน USDT ต้องเผชิญกับกฎระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรปภายใต้กฎหมาย Markets in Crypto-Assets (MiCA) ซึ่งเป็นกรอบกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะมีผลบังคับใช้ทั่วทั้งสหภาพยุโรป MiCA กำหนดให้ผู้ออก Stablecoin ต้องได้รับอนุญาตและปฏิบัติตามมาตรฐานด้านเงินทุนและสินทรัพย์สำรองที่เข้มงวด รวมถึงการจำกัดปริมาณการใช้ Stablecoin บางประเภทในการทำธุรกรรมรายวันเพื่อป้องกันความเสี่ยงเชิงระบบในภูมิภาคนี้ ในช่วงต้นปี 2025 ที่ผ่านมา แพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลหลายแห่งในยุโรป (เช่น com และ Coinbase) ได้ประกาศ เพิกถอน USDT ออกจากการให้บริการในยุโรป ชั่วคราว เพื่อเตรียมความพร้อมให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ MiCA           USDC (USD Coin): เป็น Stablecoin ที่ออกในปี 2018 โดยบริษัท Circle (ร่วมกับ Coinbase ภายใต้เครือข่าย Centre) ซึ่งวางตำแหน่งให้ USDC เป็นเหรียญที่เน้น ความโปร่งใสและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ มากกว่า USDT โดย Circle มีการเปิดเผยรายงานการตรวจสอบสินทรัพย์สำรองโดยบุคคลที่สามเป็นประจำทุกเดือน และเก็บสินทรัพย์สำรองในสถาบันการเงินที่ได้รับการกำกับดูแลอย่างเข้มงวดใน คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้ USDC ได้รับความเชื่อถือในฐานะ Stablecoin ที่มีความน่าเชื่อถือสูง และมักถูกเลือกใช้ในบริบทที่ต้องการความโปร่งใสหรือเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน (เช่น บริษัทจดทะเบียนหรือโครงการ DeFi ที่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์) อย่างไรก็ดี USDC เองก็เคยประสบเหตุการณ์ สูญเสียมูลค่าผูกพันช่วงสั้นๆ ในเดือนมีนาคม 2023 เมื่อธนาคาร Silicon Valley Bank ซึ่งถือเงินสำรองบางส่วนของ USDC ประสบปัญหาล้มละลาย ส่งผลให้ USDC หลุดpeg ลงไปประมาณ 87 เซนต์ก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเข้ามาประกันเงินฝากและทำให้ USDC กลับสู่ $1 ได้ในเวลาไม่นาน () () เหตุการณ์ดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าแม้ USDC จะมีการกำกับดูแลที่ดีกว่า แต่ก็ยังอาจได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงของระบบการเงินดั้งเดิมได้เช่นกัน ในแง่การใช้งาน USDC เป็นที่นิยมมากในฝั่งสหรัฐอเมริกาและยุโรป และเริ่มมีบทบาทในตลาดเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะในการใช้งานด้าน DeFi และการชำระเงินระหว่างประเทศที่ต้องการความน่าเชื่อถือ           โดยสรุป USDT มีจุดแข็งเรื่องเครือข่ายการใช้งานกว้างขวางและสภาพคล่องสูง ขณะที่ USDC โดดเด่นเรื่องความโปร่งใสและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ผู้ใช้งานมักเลือก Stablecoin ที่เหมาะกับความต้องการของตน เช่น นักเทรดอาจนิยม USDT เพราะมีความคุ้นชิน และรู้จักมานาน ส่วนองค์กรธุรกิจหรือโครงการที่เน้นความน่าเชื่อถืออาจเลือกใช้ USDC มากกว่า ทั้งนี้ ทั้งสองเหรียญต่างก็ถือว่ามีประวัติรักษามูลค่าใกล้เคียง $1 ได้อย่างมีเสถียรภาพสูงมาก ยกเว้นเหตุการณ์ผิดปกติระยะสั้นในบางครั้งเท่านั้น ผลกระทบเชิงบวกของรองรับ USDT และ USDC สามารถจับคู่ซื้อขายกับสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นๆ ที่เปิดกว้างมากขึ้น           ในระยะสั้น ทาง USDT และ USDC นั้น สามารถเป็น สะพานเชื่อมระหว่างระบบการเงินไทยกับตลาดการเงินดิจิทัลโลก ช่วยให้นักลงทุนไทยจะสามารถเข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัลได้สะดวกขึ้น เนื่องจาก USDT และ USDC ช่วยลดปัญหาความผันผวนของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัล จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นตัวกลางการซื้อขายและเก็บรักษามูลค่า นอกจากนี้ยังเปิดกว้างการเข้าถึง digital asset ของประเทศไทยที่ออกได้ในอนาคต ในกรณีที่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลยอมรับการชำระเงินเป็นสกุล USD ซึ่งจะทำให้การมูลค่าเงินจาก คริปโตเคอเรนซี่ เข้ามายัง digital asset มากขึ้น           นอกจากนี้ Stablecoin ยังอาจถูกใช้เป็น เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน ในช่วงที่ค่าเงินบาทผันผวน สมมติหากผู้ประกอบการหรือประชาชนกังวลว่าบาทจะอ่อนค่า ก็อาจแปลงสินทรัพย์บางส่วนไปถือเป็น Stablecoin สกุลเงินดอลลาร์เพื่อรักษามูลค่า (คล้ายกับการถือเงินตราต่างประเทศ) อย่างไรก็ดี การทำเช่นนี้ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยยอมรับได้           ในขณะที่นักลงทุนจากต่างประเทศจะมองประเทศไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจมากขึ้น ด้วยระบบที่มีความยืดหยุ่นและรองรับการใช้งานของ Stablecoin ซึ่งได้รับความนิยมในระดับสากล ส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น โดยนักลงทุนต่างชาติไม่จำเป็นจะต้องเจอความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนในกรณีที่ลงทุนในสินทรัพย์ดิจัทัลของประเทศไทย           ซึ่ง USDT และ USDC น่าจะมีโอกาสที่จะเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่นักลงทุนไทยถือครองมากขึ้น เพื่อใช้เป็นที่พักเงินระหว่างการเทรดหรือเพื่อโอนมูลค่าระหว่างแพลตฟอร์ม เนื่องจากความผันผวนต่ำและความสะดวกในการแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ แนวโน้มการเติบโตของ Stablecoin ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีความโดดเด่น สอดคล้องกับกระแสทั่วโลกที่ Stablecoin กลายเป็นเครื่องมือสำคัญทั้งในการซื้อขายคริปโทและการชำระเงินดิจิทัล โดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่อย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา และลาตินอเมริกา ซึ่งมีความต้องการ Stablecoin สูง           ในระยะกลางและยาว stablecoin ทั้ง USDT, USDC ยังช่วยเปิดประตูสู่นวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ เช่น การชำระเงินด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล การให้บริการฝากหรือกู้ยืมสินทรัพย์ดิจิทัลที่มี Stablecoin เป็นสื่อกลาง ตลอดจนการพัฒนาโทเคนดิจิทัลที่มีสินทรัพย์อ้างอิง (Asset-backed Tokens) อย่างไรก็ตาม การใช้งานดังกล่าวต้องดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้ Stablecoin เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินนั้น จะไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ หากมีการนำ Stablecoin มาใช้อย่างแพร่หลายในระบบการเงินไทย ย่อมก่อให้เกิด ผลดีหลายประการต่อภาคการเงินและการลงทุน ประการแรก Stablecoin สามารถช่วย เพิ่มประสิทธิภาพในการโอนเงินและการชำระเงิน โดยเฉพาะธุรกรรมระหว่างประเทศ เช่น การโอนเงินข้ามประเทศหรือการชำระค่าสินค้านำเข้า–ส่งออก สามารถทำได้รวดเร็วขึ้นและค่าธรรมเนียมถูกลง เมื่อเทียบกับการโอนผ่านธนาคารแบบดั้งเดิมและระบบ SWIFT นอกจากนี้ Stablecoin ยัง ทำงานตลอด 24/7 ไม่มีวันหยุด จึงอำนวยความสะดวกให้ภาคธุรกิจสามารถทำธุรกรรมได้ตลอดเวลา ไม่ต้องรอเวลาทำการของธนาคาร ความท้าทายที่ควรจับตาจากการนำ USDT และ USDC มาใช้กว้างขวางมากขึ้น           ความเสี่ยงของ Stablecoin ในบริบทประเทศไทย (ฟอกเงินและบัญชีม้า):           สำหรับประเทศไทย ปัญหา “บัญชีม้า” ที่คนร้ายใช้บัญชีธนาคารของผู้อื่นหรือบัญชีปลอมในการรับโอนเงินก็อาจเชื่อมโยงกับการใช้ Stablecoin ได้ เช่น คนร้ายอาจหลอกให้เหยื่อโอนเงินเข้าบัญชีม้า แล้วรีบนำเงินนั้นไปซื้อ USDT/USDC และโอนออกนอกประเทศในรูปคริปโท ทำให้การติดตามเงินทำได้ยากขึ้น ความเสี่ยงเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการจัดการผ่านมาตรการตรวจสอบและกำกับดูแลที่เหมาะสม ซึ่งไทยเองเริ่มตระหนักถึงปัญหานี้ เช่น ผู้เชี่ยวชาญได้เตือนว่าการใช้ Stablecoin ที่ไม่อยู่ในระบบสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมอาจทำให้หน่วยงานยากจะติดตามที่มาของเงิน และไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นเจ้าของเงินจริงๆ ในธุรกรรมนั้น จึงต้องมีการกำกับและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังเพื่อป้องกันการใช้ Stablecoin เป็นช่องทางฟอกเงินหรือหลอกลวงทางการเงิน ตัวอย่างกรณีล่าสุดคือกรณีอื้อฉาวของ บริษัท The ICON Group ที่ถูกกล่าวหาว่าฟอกเงินและติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่ามีธุรกรรมผิดปกติเป็นมูลค่ามหาศาลกว่า 247 ล้าน USDT (ประมาณ 8,223 ล้านบาท) ถูกโอนออกจากกระเป๋าที่เกี่ยวข้องก่อนที่ผู้บริหารของบริษัทจะถูกจับกุมเพียง 1 ชั่วโมง กรณีนี้ชี้ให้เห็นว่าอาชญากรสามารถใช้ Stablecoin (เช่น USDT) โยกย้ายเงินจำนวนมากได้อย่างรวดเร็วเมื่อใกล้ถูกจับกุม           นอกจากนี้ รายงานของสหประชาชาติ ยังได้เตือนว่า Stablecoin อย่าง USDT กลายเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมในกลุ่มอาชญากรและองค์กรอาชญากรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากความสะดวกรวดเร็วในการโอน, ความเป็นส่วนตัวของธุรกรรม, และค่าธรรมเนียมต่ำ เมื่อเทียบกับการโอนผ่านธนาคารแบบดั้งเดิม ทำให้เงินผิดกฎหมายสามารถถูกฟอกและย้ายข้ามประเทศได้โดยยากต่อการตรวจสอบ นอกจากนี้ Stablecoin ยังถูกใช้มากในธุรกิจผิดกฎหมายออนไลน์ เช่น การพนันออนไลน์ และ “ธนาคารใต้ดิน” เพื่อเลี่ยงมาตรการควบคุมของ           อีกด้านหนึ่ง ความเสี่ยงด้านอาชญากรรมการเงิน ก็เป็นความท้าทายสำคัญ ดังที่กล่าวในหัวข้อก่อนหน้า Stablecoin ที่ทำธุรกรรมบนบล็อกเชนแบบไม่มีตัวกลางอาจถูกใช้ฟอกเงินหรือสนับสนุนกิจกรรมผิดกฎหมายได้ ไทยจึงจำเป็นต้องเสริมสร้างระบบการตรวจสอบและกำกับดูแล เช่น กำหนดให้ผู้ให้บริการในประเทศต้องทำ KYC/AML ลูกค้าอย่างเข้มงวด และประสานงานกับหน่วยงานปราบปรามการฟอกเงินในการติดตามธุรกรรมที่น่าสงสัย ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าปัจจุบัน ธุรกรรม Stablecoin มีความเป็นส่วนตัวสูงและติดตามตัวตนได้ยาก ซึ่งหน่วยงานไทยจะต้องหาแนวทางตรวจสอบที่มา-ปลายทางของเงินให้ได้ มิฉะนั้นจะไม่ทราบเลยว่าใครเป็นเจ้าของเงินหรือเงินนั้นมาจากกิจกรรมที่ถูกกฎหมายหรือไม่  ความท้าทายนี้ต้องการเครื่องมือกำกับดูแลใหม่ ๆ ที่อาจเกินขีดความสามารถของกฎหมายการเงินแบบเดิม แหล่งอ้างอิง : รายงานและประกาศจากธนาคารแห่งประเทศไทย​ , สำนักงาน ก.ล.ต., สถาบันการเงินระหว่างประเทศ, Markets in Crypto-Assets (MiCA รวมถึง ข้อมูลจากบทวิเคราะห์จาก CoinDesk, Cointelegraph ผู้เขียน สุทธิรัตน์ หาญพานิชย์ Head of Business Development, Token X

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

ก.ล.ต.ปรับปรุงหลักเกณฑ์ยกเว้นใบอนุญาตผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลฯ

ก.ล.ต.ปรับปรุงหลักเกณฑ์ยกเว้นใบอนุญาตผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลฯ

          สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อยกเว้นใบอนุญาตผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม (MF) และกองทุนส่วนบุคคล (PF) ที่บริหารจัดการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อให้ช่องทางของผู้ประกอบธุรกิจฝั่ง traditional เป็นหนึ่งในกลไกสนับสนุน การเติบโตของโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment token) รวมถึงเพิ่มความยืดหยุ่นและความหลากหลายในการลงทุนของ MF และ PF โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2568           ตามที่ ก.ล.ต. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อหลักการและร่างประกาศเพื่อยกเว้นใบอนุญาตผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลให้แก่ บล. และ บลจ. ที่บริหารจัดการ MF และ PF ที่ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงตลาด Investment token ได้มากขึ้นทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง ผ่านช่องทางของผู้ประกอบธุรกิจฝั่ง traditional ซึ่งจะทำให้ระบบนิเวศของตลาด Investment token มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตลอดจนช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความหลากหลายในการลงทุนของกองทุน MF และ PF โดยมีการกำกับดูแล บล. และ บลจ. ซึ่งลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้หลักเกณฑ์ด้านหลักทรัพย์ ทั้งนี้ จากการเปิดรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวแล้วเสร็จเมื่อช่วงไตรมาส 4 ของปี 2567 ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้แสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์ตามที่ ก.ล.ต. เสนอ           ก.ล.ต. จึงได้ออกประกาศการปรับปรุงหลักเกณฑ์สำหรับ บล. และ บลจ. ดังกล่าวข้างต้น* โดยเผยแพร่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป หมายเหตุ : * ประกาศที่เกี่ยวข้องจำนวน 1 ฉบับ ดังนี้ ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 1/2568 เรื่อง การกำหนดลักษณะการจัดการเงินทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2) https://publish.sec.or.th/nrs/10662s.pdf

กรณีศึกษาจาก Ondo Finance และ Mastercard และ โอกาสของสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย [HoonVision x TokenX]

กรณีศึกษาจาก Ondo Finance และ Mastercard และ โอกาสของสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย [HoonVision x TokenX]

           เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา ได้มีการประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่าง Ondo Finance และ Mastercard ในการนำ Real-World Assets (RWA) มาโทเค็นและเชื่อมเข้าสู่เครือข่าย Multi-Token Network (MTN) กำลังสร้างกระแสความตื่นตัวครั้งใหญ่ให้กับวงการการเงิน และสินทรัพย์ดิจิทัลทั่วโลก            โดยสินทรัพย์แรกที่เปิดตัวในโครงการนี้คือกองทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะสั้น (OUSG) ของ Ondo ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้ธุรกิจและผู้ถือโทเค็นสามารถรับผลตอบแทนรายวัน พร้อมการทำธุรกรรมได้แบบ 24/7 โดยแทบไม่ต้องพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานคริปโตใด ๆ เพิ่มเติม Ondo Finance            เป็นสตาร์ตอัปด้านการเงินแบบโทเค็น (Tokenized Finance) ที่เน้นพัฒนาวิธีการลงทุนผ่านสินทรัพย์ในโลกความเป็นจริง (Real-World Assets หรือ RWA) ในรูปแบบโทเค็น โดยมีจุดเด่นอยู่ที่การออกโทเค็นกองทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ OUSG ซึ่งได้รับความสนใจจากสถาบันการเงินและนักลงทุนทั่วโลก Mastercard Multi-Token Network (MTN)            คือโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่ Mastercard พัฒนาขึ้น เพื่อให้ธนาคารและผู้ให้บริการการเงินสามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันบนบล็อกเชนได้ในรูปแบบดิจิทัล ชูจุดเด่นในเรื่องความโปร่งใส การชำระเงินรวดเร็ว และขยายความสามารถในการทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ติดข้อจำกัดเรื่องช่วงเวลาทำการหรือความแตกต่างของเขตเวลา OUSG (Ondo Short-Term U.S. Government Bond Fund)            เป็นหนึ่งในกองทุนของ Ondo Finance ที่อยู่ในระบบ Blockchain โดยกองทุนตัวนี้ มุ่งลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐความเสี่ยงต่ำและสภาพคล่องสูง เช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุสั้น (ตั๋วเงินคลัง หรือ Treasury Bills) และสินทรัพย์เทียบเท่าเงินสดอื่น ๆ โดยผ่านการแปลงเป็นโทเค็นดิจิทัลบนเครือข่ายบล็อกเชน. ปัจจุบันพอร์ตการลงทุนของ OUSG นำเงินส่วนใหญ่ไปลงทุนใน กองทุนสภาพคล่องดิจิทัลสกุลเงินดอลลาร์ของ BlackRock (BUIDL)            โดยจุดเด่นของ OUSG คือ OUSG ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะสั้น ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงต่ำและมีสภาพคล่องสูง จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลดความผันผวน และ มีกลไกการคำนวณและสะสมดอกเบี้ยเป็นรายวัน ทำให้นักลงทุนรับรู้การเติบโตของมูลค่ากองทุนได้ต่อเนื่อง ไม่ต้องรอเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส            แต่ OUSG แม้ว่าจะดำเนินการด้วยระบบ blockchain ก็ยังมีข้อจำกัดในบางประการเช่นกัน เมื่อนำมาเชื่อมต่อกับโลกแห่งการเงินในปัจจุบัน นั่นคือ  การซื้อขายหรือการไถ่ถอนอาจถูกจำกัดด้วย settlement windows ที่ต้องไปเชื่อมต่อเครือข่ายการเงินแบบดั้งเดิม จุดแตกต่างของ OUSG บน MTN ของ Master Card ธุรกรรม 24/7 ที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา: การผสานเข้ากับ MTN ของ Mastercard ช่วยให้ OUSG สามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ไม่จำกัดด้วยเวลาทำการของธนาคารหรือ settlement windows เชื่อมต่อกับระบบการเงินดั้งเดิมให้ง่ายขึ้น: MTN ช่วยเป็นสะพานเชื่อมระหว่างสินทรัพย์โทเค็นกับเครือข่ายการชำระเงินเอกชน (private payment rails) ของธนาคาร ซึ่งทำให้การชำระเงินและการเคลียร์ธุรกรรมเป็นไปอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เปิดโอกาสในการเข้าถึงมากขึ้น แล้วเหตุใดจึงนับเป็น “หมุดหมายสำคัญ” ในวงการการเงิน ? เชื่อมต่อโลกการชำระเงินแบบดั้งเดิมกับบล็อกเชนสาธารณะ ความร่วมมือระหว่าง Ondo และ Mastercard ถือเป็นครั้งแรก ๆ ที่ระบบเครือข่ายการชำระเงินภาคเอกชน (Private Payment Rails) สามารถโต้ตอบกับโทเค็นซึ่งทำงานบนบล็อกเชนสาธารณะได้อย่างราบรื่น เปิดประตูสู่ระบบการเงิน 24 ชั่วโมง นวัตกรรมนี้ช่วยให้สถาบันการเงินและธุรกิจต่าง ๆ ก้าวสู่การบริหารสินทรัพย์ (treasury management) ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเวลาทำการของธนาคาร ไม่ต้องกังวลเรื่อง Time Zone จึงมีโอกาสเพิ่มประสิทธิภาพการหมุนเวียนเงินสด (Cash Flow) ได้มากขึ้น ต้นแบบการใช้งานจริง (Real Use Case) ของ RWA Tokenization ในขณะที่สินทรัพย์โทเค็นรูปแบบต่าง ๆ อาจเคยมีปัญหาด้านกฎระเบียบและเทคโนโลยีมาโดยตลอด การเคลื่อนไหวครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสถาบันการเงินที่เป็นที่ยอมรับอย่าง Mastercard เริ่มเปิดรับและสนับสนุนการนำ RWA มาสู่บล็อกเชนในลักษณะที่ถูกกำกับดูแลตามมาตรฐานทางการเงิน ประโยชน์ต่อภาคการเงินและธุรกิจ ธุรกิจและธนาคารเข้าถึง “ผลตอบแทนรายวัน” ได้ง่ายขึ้น จากเดิมที่อาจต้องอาศัยบัญชีพิเศษหรือโบรกเกอร์เพื่อลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ แต่เมื่อทุกอย่างอยู่ในรูปแบบโทเค็น สามารถส่งเงินสดและรับโทเค็น OUSG ได้ทันที ลดข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ การทำธุรกรรมบนบล็อกเชนที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย MTN ช่วยให้ชำระเงินหรือแลกเปลี่ยนมูลค่าได้ทุกวันทุกเวลา ลดเวลาในการรอคิวชำระบัญชี (Settlement Windows) การบริหารความเสี่ยงและความโปร่งใสที่ดีขึ้น เนื่องจากบล็อกเชนเป็นระบบแบบบัญชีสาธารณะ (Public Ledger) สามารถตรวจสอบรายการโอนเข้าออกได้ และมี Smart Contract คอยควบคุมเงื่อนไขการโอนหรือล็อกสินทรัพย์ เกี่ยวข้องอย่างไรกับประเทศไทย            จากกรณีศึกษาที่กล่าวมา  Ondo Finance มีส่วนคล้ายกับการศึกษา Stable Coin ของประเทศไทย โดยในช่วงต้นปีที่ผ่านมา จากการที่กระทรวงการคลังศึกษาความเป็นไปได้ ในการนำเทคโนโลยี Tokenization พัฒนา Stablecoin ใหม่ มีพันธบัตรรัฐบาลที่ออกใหม่ Asset-Backed มูลค่า 1 หมื่นล้านบาท พร้อมตั้งแพลตฟอร์มเทรดใหม่เสร็จภายในปีนี้ เฟสต่อไปเตรียมเปิดให้ Stablecoin ใช้ซื้อสินค้าได้ ซึ่งความคล้ายเคียงของ OUSG และ Stable Coin ของประเทศไทยนั้นคือโดน back ด้วยพันธบัตรเหมือนกัน            ดังนั้น การเปิดกว้างต่อ Stablecoin ที่มีพันธบัตรรัฐบาลไทยเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน อาจเป็นก้าวสำคัญสู่ยุคใหม่ของระบบการเงินไทย ซึ่งในอนาคตอาจเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายบล็อกเชนระดับโลกเช่นเดียวกับกรณี Ondo Finance และ Mastercard การยกระดับเทคโนโลยีและการกำกับดูแลอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ผู้ประกอบการรายเล็กและใหญ่ รวมถึงนักลงทุนทั่วไป มีโอกาสเข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัลคุณภาพได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเราสามารถเห็นโอกาสต่างๆดังต่อไปนี้ เช่น การพัฒนาระบบการเงินดิจิทัล: แนวทาง Stablecoin ที่มีพันธบัตรรัฐบาลเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน จะเป็นหนึ่งในนวัตกรรมของประเทศไทยสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยจะเป็นก้าวสำคัญในการที่ภาครัฐเป็นผู้ออกโทเคนเอง ส่งเสริมสภาพคล่องและการเข้าถึงตลาด: หาก Stablecoin ในไทยประสบความสำเร็จ จะเปิดโอกาสให้นักลงทุนและผู้ประกอบการเข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีคุณภาพได้ตลอด 24 ชั่วโมง การเชื่อมต่อระหว่างระบบการเงินดั้งเดิมและดิจิทัล: โมเดลที่ได้จาก Ondo Finance และ Mastercard แสดงให้เห็นว่าการผสานเทคโนโลยีบล็อกเชนกับระบบการชำระเงินแบบดั้งเดิมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและลดข้อจำกัดในด้านเวลาการทำธุรกรรมได้            บทเรียนจากกรณีศึกษาในต่างประเทศเช่น Ondo Finance และ Mastercard จึงอาจจะเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญให้ประเทศไทยสามารถมองหาโอกาสและวางกลยุทธ์ในการพัฒนาระบบการเงินที่มีความทันสมัยและครอบคลุมทั้งด้านเทคโนโลยีและความปลอดภัย เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับยุคสินทรัพย์ดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เขียน สุทธิรัตน์ หาญพานิชย์ Head of Business Development, Token X

จับตาเทรนด์ Tokenization ในไทย ทางเลือกใหม่ของนักลงทุนสายอสังหาฯ

จับตาเทรนด์ Tokenization ในไทย ทางเลือกใหม่ของนักลงทุนสายอสังหาฯ

Tokenization คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร          Tokenization คือ การเปลี่ยนสินทรัพย์ (Asset) ให้กลายเป็นโทเคนดิจิทัลบนบล็อกเชน (Blockchain) โดยโทเคนเหล่านี้จะแทนสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของหรือผลประโยชน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ เช่น หุ้นในโครงการ อัตราผลตอบแทน หรือสิทธิในการใช้ทรัพย์สิน เป็นต้น การโอนหรือแลกเปลี่ยนโทเคนเหล่านี้จะถูกบันทึกแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger) ทำให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ และลดต้นทุนการทำธุรกรรม ข้อดีของการ Tokenize สินทรัพย์ เพิ่มสภาพคล่อง (Liquidity): เมื่อมีการทำโทเคนสำหรับสินทรัพย์ซึ่งปกติอาจสภาพคล่องต่ำ (เช่น อสังหาฯ งานศิลปะ หรือสินค้าการเกษตร) โทเคนเหล่านี้สามารถซื้อขายได้ในตลาดรองดิจิทัลอย่างรวดเร็ว 24/7 มีผู้สนใจได้ทั่วโลก ลดข้อจำกัดในการเข้าถึง: นักลงทุนรายย่อยสามารถเข้าถึงสินทรัพย์ที่เดิมทีต้องใช้เม็ดเงินลงทุนสูง หรือมีโครงสร้างซับซ้อน เช่น กองทุน Private Equity, กองอสังหาริมทรัพย์ในทำเลแพง หรืออื่น ๆ แบ่งหน่วยลงทุนได้: ผู้ถือโทเคนอาจถือแค่บางส่วนของสินทรัพย์ ไม่จำเป็นต้องถือทั้งก้อน ซึ่งทำให้การลงทุนเปิดกว้างและกระจายความเสี่ยงได้สะดวกยิ่งขึ้น          ด้วยเหตุนี้ การ Tokenize จึงเป็นการเปิดโอกาสให้แก่สินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Asset) เช่น อสังหาริมทรัพย์, สิทธิบัตร, ลิขสิทธิ์, งานศิลปะ และสินทรัพย์อีกหลายรูปแบบ ให้สามารถเข้ามาลงทุน และสามารถแลกเปลี่ยนได้อย่างคล่องตัวกว่าเดิม โดยเทรนด์การนำมาประยุกต์นี้เรียกว่า Real World Asset Tokenization หรือ การแปลงสินทรัพย์ในโลกให้อยู่ในรูปแบบโทเคน          โดยในประเทศไทยนั้น การทำ Tokenization ได้เริ่มมีการใช้กับโปรเจ็คต่างๆ ในการ สร้างเหรียญ Investment Token ที่รับรองโดย ก.ล.ต. ออกมาเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุน ในการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างของ Tokenization กับโปรเจ็คต่างๆในโลกนี้ 1) Real Estate Backed Tokenization อสังหาริมทรัพย์เป็นตัวอย่างการใช้งานแรกๆ ของการนำมาประยุกต์ใช้งาน ซึ่งมีหลายตัวอย่าง เช่น RealT (สหรัฐอเมริกา): เป็นแพลตฟอร์มซื้อขายโทเคนที่อิงกับอสังหาริมทรัพย์ มีการแบ่งหน่วยบ้านหรืออาคารให้เป็นโทเคนบนบล็อกเชน Ethereum ผู้ซื้อโทเคนจะได้รับส่วนแบ่งค่าเช่า (Rental Income) ตามสัดส่วนที่ถือ AspenCoin (รีสอร์ทหรูใน Aspen): ออกเหรียญโทเคนเพื่อเป็นหลักฐานการถือสิทธิในโครงการรีสอร์ทระดับไฮเอนด์ โดยผู้ลงทุนสามารถรับผลตอบแทนจากการดำเนินงานของโรงแรมหรือรีสอร์ท Propy: แพลตฟอร์มซื้อขายอสังหาริมทรัพย์บนบล็อกเชน เคยมีการขายบ้านหลังแรกโดยใช้ Smart Contract บนแพลตฟอร์มนี้ 2) IP Tokenization Intellectual Property (IP) หรือทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ลิขสิทธิ์เพลง สิทธิบัตร สิ่งประดิษฐ์ ฯลฯ สามารถนำมา Tokenize เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและเปิดให้บุคคลภายนอกสามารถลงทุนในผลงานเหล่านี้ได้ ยกตัวอย่าง มีโปรเจกต์ที่เปิดขาย Token ที่อิงกับค่าสิทธิในการใช้งานเพลง (Music Royalties) ซึ่งเมื่อเพลงได้รับค่าลิขสิทธิ์ ผู้ถือโทเคนก็จะได้รับส่วนแบ่งตามสัดส่วน เช่น Nas แรปเปอร์ระดับตำนาน ได้นำเพลง “Ultra Black” และ “Rare” มาขายสิทธิรายได้ในรูปแบบโทเคน NFT บนแพลตฟอร์ม Royal โดยเปิดให้คนทั่วไปซื้อโทเคนในระดับต่าง ๆ (Gold, Platinum, Diamond) ซึ่งแต่ละระดับจะได้ส่วนแบ่งรายได้ (Streaming Royalties) ไม่เท่ากัน 3) Commodity-backed Tokenization สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) เช่น ทองคำ น้ำมัน หรือผลิตภัณฑ์เกษตร สามารถถูก Tokenize เพื่อใช้แทน “สัญญา” หรือ “กรรมสิทธิ์” ในตัวสินค้า ตัวอย่าง: PAX Gold (PAXG): โทเคนที่อิงกับทองคำแท่งซึ่งฝากไว้อย่างปลอดภัยในห้องเก็บทองคำ ผู้ถือ 1 โทเคน = เป็นเจ้าของทอง 1 ออนซ์ และ Tether Gold (XAUT): คล้ายกันคือ เป็นโทเคนที่มีทองคำเป็นสินทรัพย์อ้างอิง ผู้ถือโทเคนถือสิทธิ์ทองคำในปริมาณที่แน่นอน 4) ตัวอย่างอื่นๆ ที่สามารถทำ Tokenization สำหรับสินทรัพย์ต่าง ๆ อีกมาก เช่น Art-backed Tokens: โทเคนที่ผูกกับมูลค่าของงานศิลปะระดับโลก ทำให้คนทั่วไปสามารถ “ร่วมถือครอง” ผลงานชิ้นเดียวในโลกได้ Carbon Credit Token: โทเคนที่สร้างขึ้นเพื่อเทรดเครดิตคาร์บอน ตอบโจทย์ธุรกิจที่ต้องการลดคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยเปิดตลาดให้โปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากขึ้น Real Estate Tokenization ในประเทศไทย ทำไม Real Estate Tokenization ถึงเป็นที่น่าสนใจในประเทศไทย?          อสังหาริมทรัพย์เป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงและส่วนใหญ่มีสภาพคล่องต่ำ นักลงทุนต้องใช้เงินก้อนใหญ่ในการซื้อ-ขาย และยังมีปัญหาด้านขั้นตอนเอกสารและค่าธรรมเนียม แต่เมื่อนำ Blockchain และ Smart Contract มาใช้ เราจะสามารถ: แบ่งหน่วยลงทุน: นักลงทุนทั่วไปที่มีทุนไม่มาก ก็สามารถลงทุนบางส่วนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ ทั้งบ้าน คอนโดมิเนียม หรืออสังหาฯ เชิงพาณิชย์ ทำธุรกรรมเร็วขึ้น: ลดการพึ่งพาตัวกลาง (เช่น โบรกเกอร์ หรือตัวแทน) จึงลดค่าธรรมเนียมและขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน เปิดตลาดรองขนาดใหญ่: มีตลาดรองสำหรับแลกเปลี่ยนโทเคนอสังหาฯ ได้ทั่วโลก 24/7 ทำให้ผู้ถือโทเคนสามารถขายหน่วยลงทุนได้ง่าย ไม่ต้องรอผู้ซื้อเงินหนาเพียงรายเดียว          ตัวอย่าง Investment Token สำหรับ อสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย Real X (1)          RealX หรือชื่อเต็ม RealX Investment Token (โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนเรียลเอ็กซ์) เป็นโทเคนที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท เรียล เอสเตท เอกซ์โพเนนเชียล จำกัด และได้บริษัท โทเคน เอกซ์ จำกัด เป็นผู้พัฒนาระบบเสนอขายโทเคน          RealX ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นโทเคนที่มีสินทรัพย์ค้ำประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือคอนโดในเครือ ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หมายความว่านักลงทุนรุ่นใหม่ที่สนใจการลงทุนในสินทรัพย์อ้างอิงหรือมีกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์ไม่จำเป็นต้องมีเงินหลักล้านก็สามารถเริ่มลงทุนผ่านโทเคนนี้ได้ โดยเริ่มเพียงหลักร้อยบาท และทางบริษัทฯ ผู้ออกโทเคนก็ได้คัดสรรคอนโดที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเพื่ออ้างอิงมูลค่าผลตอบแทนจากกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์เข้ากับโทเคน          โทเคน RealX มีสินทรัพย์ค้ำประกันก็คือคอนโดในเครือ ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ที่ตั้งอยู่ในย่านใจกลางเมืองกรุงเทพฯ จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1.พาร์ค ออริจิ้น ทองหล่อ (138 ห้อง) 2.พาร์ค ออริจิ้น พญาไท (123 ห้อง) 3.พาร์ค ออริจิ้น พร้อมพงศ์ (100 ห้อง)          ซึ่งคอนโดทั้ง 3 โครงการนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมือง แถมผู้ถือโทเคน RealX ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาดูแลคอนโดด้วยตัวเอง เพราะทางมีทีมงานคอยช่วยดูแลให้          จุดเด่นที่นักลงทุนน่าจะให้ความสนใจโทเคน RealX ก็คือเรื่องของผลตอบแทน ซึ่งทางทางบริษัทฯ ผู้ออกโทเคนก็ได้ระบุไว้ว่าผลตอบแทนจากการลงทุนจะมาจาก 2 ส่วน ได้แก่ ผลตอบแทนรายไตรมาสจากค่าเช่าสุทธิของคอนโดฯ ทั้ง 3 โครงการเป็นระยะเวลา 10 ปี นับจากเริ่มต้นโครงการ โดยในปีที่ 1–5 บริษัท พาร์ค ลักชัวรี่ จำกัด ที่อยู่ในเครือออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จะรับประกันรายรับสุทธิของโครงการที่ 4% 4.25% 4.50% 4.75% และ 5% ต่อปีของมูลค่าเสนอขายโทเคนดิจิทัลฯ ตามลำดับ ได้รับผลตอบแทนเป็นรายไตรมาสจากการทยอยจำหน่ายคอนโดทั้ง 3 โครงการในปีที่ 6–10 (รวมกรณีขยายอายุโครงการ) รวมกับผลตอบแทนรายไตรมาสจากค่าเช่าสุทธิ          *อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง ผู้ออกโทเคนจึงได้เน้นย้ำว่าผลตอบแทนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ Sirihub (2)          สิริ ฮับ โทเคน (SiriHub Token) เป็นโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนที่ออกโดย บริษัท เอสพีวี 77 จำกัด ภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 และเสนอขายโทเคนดิจิทัลในตลาดแรกผ่าน บริษัท เอ็กซ์สปริง ดิจิทัล จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล หรือ ICO Portal ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. และจะเข้าจดทะเบียนซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ได้แก่ บริษัท อีอาร์เอ็กซ์ จำกัด ซึ่งได้รับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลจากกระทรวงการคลังภายใต้การกำกับดูแลโดย ก.ล.ต. โดยมีโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน 2 กลุ่ม ได้แก่ SiriHubA และ SiriHubB สินทรัพย์อ้างอิง          กลุ่มอาคารสำนักงาน สิริ แคมปัส ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) โดยมีสัญญาเช่าระยะยาว 12 ปี ทำให้มีกระแสรายรับสม่ำเสมอ ส่วนแบ่งรายได้ ผู้ลงทุนจะได้รับส่วนแบ่งรายได้ทุกไตรมาส ในอัตราร้อยละ 4.5 ต่อปี สำหรับโทเคน SiriHubA และร้อยละ 8.0 ต่อปี สำหรับโทเคน SiriHubB และจะได้รับส่วนแบ่งจากรายได้ส่วนสุดท้าย จากการจำหน่ายทรัพย์สินเมื่อสิ้นสุดโครงการ 4 ปี Summer Point Token (Sum X) (3) เป็นเหรียญล่าสุดในประเทศไทย กำหนดวันจองซื้อในเดือน กุมภาพันธ์ 2568          โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนซัมเมอร์พ้อยท์ (Summer Point Token) เป็นโทเคนดิจิทัลที่มีอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยเป็นสินทรัพย์อ้างอิง ซึ่งมีการออกและเสนอขายภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“สำนักงาน ก.ล.ต.”) ของประเทศไทย และเป็นไปตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หรือนวัตกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างครบถ้วนและถูกต้อง โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนลำดับที่ 4 ของประเทศไทย ที่เสนอขายผ่าน Token X ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ได้รับความเห็นชอบจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มี ผู้ออกโทเคนดิจิทัล เป็น บริษัท เดอะ อิชชูเออร์ จำกัด (The ISSUER) บริหารอสังหาริมทรัพย์ โดย บริษัท บูทิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยมี ผู้ให้บริการระบบเสนอขาย โทเคนดิจิทัล (ICO Portal) คือ บริษัท โทเคน เอกซ์ จำกัด (Token X) อัตราผลตอบแทนทั้งโครงการเฉลี่ยต่อปี (IRR) เฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี ตลอดอายุโครงการโทเคนดิจิทัล มูลค่าและจำนวนโทเคนดิจิทัล ที่เสนอขาย : มูลค่าการเสนอขายไม่เกิน 450,000,000 บาท โดยมีจำนวนโทเคนดิจิทัลที่เสนอขายไม่เกิน 900,000,000 โทเคน ราคาที่เสนอขาย : 50 บาท ต่อโทเคน มูลค่าการจองซื้อขั้นต่ำต่อครั้ง : มูลค่าจองซื้อขั้นต่ำ 500 บาท (1,000 โทเคน) จองซื้อ” Summer Point Token พร้อมกัน 24 กุมภาพันธ์ - วันที่ 14 มีนาคม 2568 โอกาสรับอัตราผลตอบแทนทั้งโครงการเฉลี่ยต่อปี 2%* เริ่มต้นเพียง 500 บาทเท่านั้น          โดยสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ จองซื้อได้ที่ https://summerpointtoken.finance/  หรือ Application Token X (ดาวน์โหลดได้ที่ App Store หรือ GooglePlay) แหล่งอ้างอิง Bitkub (https://www.bitkub.com/th/blog/what-is-realx-be38886d69a) digital (https://spv77.digital/) Summerpoint Token ผู้เขียน สุทธิรัตน์ หาญพานิชย์ Head of Business Development, Token X

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

Stable Coin เรื่องต้องรู้ [HoonVision x TokenX]

Stable Coin เรื่องต้องรู้ [HoonVision x TokenX]

          หุ้นวิชั่น - Stable Coin เรื่องต้องรู้ 1) Stable Coin คืออะไร Stable Coin คือสกุลเงินดิจิทัล (คริปโทเคอร์เรนซี) ที่ออกแบบให้มีมูลค่า “คงที่” หรือผันผวนน้อย และ ทำหน้าที่เป็น สะพานเชื่อม ระหว่างระบบการเงินดั้งเดิม (traditional finance) กับโลกของสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลนี Blockchain ในเชิงปฏิบัติจะมีการกำหนดกลไกเพื่อรักษามูลค่าให้ใกล้เคียงกับสินทรัพย์อ้างอิง เช่น 1 USDC ≈\approx≈ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ผู้ลงทุนหรือผู้ใช้งานจึงมั่นใจได้ว่าราคาจะผันผวนน้อยกว่าเงินคริปโตอื่น ๆ ถือเป็นจุดเด่นสำคัญที่ทำให้ Stable Coin ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในภาคธุรกิจและผู้บริโภค 2) ข้อดีและโอกาสของ Stable Coin ลดความผันผวน เนื่องจาก Stable Coin ถูกออกแบบให้ราคาผูกกับสินทรัพย์อ้างอิงที่มีมูลค่าคงที่ (เช่น ดอลลาร์สหรัฐ) จึงมีความผันผวนน้อย สร้างความมั่นใจในการใช้งานทั้งในฐานะสื่อกลางการแลกเปลี่ยนและการเก็บรักษามูลค่า ความรวดเร็วและค่าธรรมเนียมต่ำ การโอน Stable Coin บนเครือข่ายบล็อกเชนทำได้อย่างรวดเร็วและค่าใช้จ่ายในการโอนอาจถูกกว่าการโอนเงินผ่านระบบธนาคารแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะการโอนข้ามประเทศ การเข้าถึงตลาดโลก Stable Coin สามารถแลกเปลี่ยนได้ผ่านตลาดคริปโตทั่วโลกแบบ 24/7 ไม่จำกัดวันหยุด และสามารถใช้ได้ในหลายแพลตฟอร์ม เปิดโอกาสให้ธุรกิจและบุคคลทั่วไปเข้าถึงการโอนเงินระหว่างประเทศได้ง่ายขึ้น เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงค่าเงินท้องถิ่น ในบางประเทศที่ค่าเงินผันผวนสูง ผู้คนหรือธุรกิจอาจใช้ Stable Coin เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะอัตราแลกเปลี่ยน ปกป้องมูลค่าทรัพย์สินที่ถืออยู่ โอกาสในอนาคต มีการพัฒนาโซลูชันทางการเงินใหม่ ๆ บนเครือข่าย Stable Coin เช่น การโอนเงินระหว่างประเทศ (cross-border payment) ทันที การสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการกู้ยืม (lending) หรือฝาก (staking) 3) Stable Coin แบ่งเป็นกี่ประเภท Fiat-Backed Stable Coin มีการค้ำประกันด้วยเงินสกุลหลัก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร หรือเงินบาทจริง ๆ ที่ฝากไว้ในบัญชีธนาคารหรือสินทรัพย์ที่มีมูลค่าคงที่ โดยผู้ออกจะต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกันครบตามจำนวนที่ออกเหรียญ เช่น USDC (USD Coin) USDT (Tether) Crypto-Backed Stable Coin ค้ำประกันด้วยเงินคริปโตอื่น ๆ ผ่านสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) แม้จะมีโอกาสผันผวนไปตามตลาดคริปโต แต่ถูกออกแบบให้มีการค้ำประกันเกินมูลค่า (over-collateralized) เพื่อรักษาเสถียรภาพและความน่าเชื่อถือ เช่น DAI (ค้ำประกันด้วย ETH และสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น) Commodities-Backed Stable Coin ถูกหนุนด้วยสินค้าโภคภัณฑ์อย่างทองคำ น้ำมัน หรือโลหะมีค่าอื่น ๆ ทำให้ผู้ถือ Stable Coin ประเภทนี้มีสิทธิถือครองสินทรัพย์ในปริมาณที่เทียบเท่า ตัวอย่างเช่น PAXG (Pax Gold) XAUT (Tether Gold) Treasury-Backed Stable Coin ประเภทนี้จะได้รับการสนับสนุนจากพันธบัตรหรือสินทรัพย์จากคลังเงินรัฐหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น USDY (อาจได้รับการค้ำประกันด้วยพันธบัตรหรือสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความมั่นคง) Algorithmic Stable Coin เป็น Stable Coin ที่ไม่ได้มีการค้ำประกันด้วยสินทรัพย์ใด ๆ โดยตรง แต่ใช้ “อัลกอริทึม” และกลไกปรับสมดุลอุปทาน-อุปสงค์เพื่อรักษามูลค่าให้ใกล้เคียงกับที่ตรึงไว้ (peg) ตัวอย่างกลไกทั่วไป ซึ่งไม่ค่อยได้รับความนิยมในสมัยปัจจุบันเท่าใดนัก ได้แก่ UST (Luna) , FRAX 4) ตัวอย่างการนำ Stable Coin ไปใช้งาน สิงคโปร์: XSGD โดย StraitsX (ผู้ถือใบอนุญาต Major Payments Institution License จาก MAS) ออกเหรียญ XSGD เพื่อใช้แทนดอลลาร์สิงคโปร์ในรูปแบบดิจิทัล อาร์เจนตินา (Argentina) อาร์เจนตินาประสบปัญหาเงินเปโซ (Argentine Peso) อ่อนค่าต่อเนื่องและมีภาวะเงินเฟ้อสูง ประชาชนจำนวนหนึ่งจึงหันไปใช้ Stable Coin โดยเฉพาะที่ผูกกับดอลลาร์สหรัฐ เพื่อปกป้องมูลค่าของเงินออม ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจซื้อ USDT หรือ USDC เก็บไว้ในวอลเล็ตแทนการเก็บ Peso บราซิล : Brazil’s Pix ภายในระบบชำระเงินทันที (Instant Payment - IP) ของบราซิล ธนาคารกลางบราซิล (Banco Central do Brasil; BCB) ได้สร้าง “Pix” ซึ่งเป็นระบบ IP scheme ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถโอนเงินได้ทันที เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังสามารถเชื่อมต่อกับ Stable Coin เพื่อให้การโอนเงินข้ามพรมแดนสะดวก รวดเร็ว และมีต้นทุนที่ต่ำลง ยุโรป: BVNK BVNK เป็นแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อให้ธุรกิจสามารถรับ-ส่ง แลกเปลี่ยน และเก็บรักษา Stable Coin ควบคู่ไปกับสกุลเงินปกติได้อย่างสะดวก ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกรรมระหว่างประเทศได้คล่องตัวมากขึ้น ลดค่าธรรมเนียม และไม่ต้องกังวลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนผันผวน DeFi (Decentralized Finance) ในโลกของ Decentralized Finance หรือ Web 3.0 มีใช้ Stable Coin ในแอปพลิเคชันทางการเงินแบบกระจายศูนย์ เช่น การปล่อยกู้ (Lending) การยืม (Borrowing) การทำ Yield Farming หรือการซื้อขายบน DEX (Decentralized Exchange) ช่วยให้เกิดสภาพคล่องสูง ปลอดภัย (ผ่าน Smart Contract) และเปิดโอกาสให้คนทั่วไปเข้าถึงบริการการเงินได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง 5) ประเทศไทย และ Stable Coin สำหรับประเทศไทยนั้น Stable Coin เป็นที่พูดถึงมากขึ้นในระยะหลัง ซึ่งจริงๆแล้ว มีการทดลองการใช้งานมาในระยะหนึ่งแล้ว ในรูปแบบวงจำกัด ประเทศไทยมี “Regulatory Sandbox” ซึ่งจัดตั้งโดยธนาคารแห่งประเทศไทยเช่นกัน เพื่อเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินและผู้พัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาทดสอบภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด เช่นการนำ stable coin มาใช้กับการทำ programmable payment, cross-border payment และในด้านอื่นๆ เช่น SCB 10X ส่ง Rubie Wallet แอปพลิเคชันกระเป๋าเงินดิจิทัลเข้าร่วมการทดสอบ Regulatory Sandbox ของ ธปท. และ ก.ล.ต. นำนวัตกรรมใหม่ด้านการเงิน ครั้งแรกของเมืองไทยด้วย PBM หรือ Purpose Bound Money  ที่แปลงเงินดิจิทัลที่ผูกกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เป็น THBX และสามารถทำธุรกรรมการชำระเงิน ภายใต้วัตถุประสงค์ที่กำหนดบนมือถือที่ปลอดภัย โดยจะเปิดตัวในงานสัมมนา DevCon 2024 โดย PBM จะสามารถตั้งเงื่อนไขอัตโนมัติเพื่อกำหนดการใช้จ่ายได้ในเขตพื้นที่และร้านค้าที่กำหนดเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาจากกระทรวงการคลัง ในการพัฒนา Stablecoin ใหม่ มีพันธบัตรรัฐบาลที่ออกใหม่มาเป็นAsset-Backed มูลค่า 1 หมื่นล้านบาท พร้อมตั้งแพลตฟอร์มเทรดใหม่เสร็จภายในปี 2568 นี้ และเตรียมขยายเฟสต่อไปเตรียมเปิดให้ Stablecoin ใช้ซื้อสินค้าได้ ผู้เขียน สุทธิรัตน์ หาญพานิชย์ Token X

“Token X” เตรียมเปิดจองซื้อโทเคนดิจิทัล “Summer Point Token” 24 ก.พ. -14 มี.ค.68

“Token X” เตรียมเปิดจองซื้อโทเคนดิจิทัล “Summer Point Token” 24 ก.พ. -14 มี.ค.68

          บริษัท โทเคน เอกซ์ จำกัด หรือ “Token X” ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) เตรียมเปิดจองซื้อโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน “Summer Point Token” ที่ราคาโทเคนละ 0.50 บาท วันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 14 มีนาคม 2568 นี้ ผ่านแอปพลิเคชัน “Token X” ชูจุดเด่นโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนรูปแบบใหม่ ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นอาคารสำนักงาน Summer Point บนทำเลศักยภาพติด BTS พระโขนง มีอัตราการเช่าเฉลี่ยประมาณ 96% กลุ่มผู้เช่าหลากหลายและเป็นกลุ่มธุรกิจที่กำลังเติบโต มีทีมผู้บริหารอสังหาฯ ที่มีความเชี่ยวชาญ รวมทั้งโทเคนดิจิทัลสามารถเทรดได้ในตลาดรอง พร้อมรับผลตอบแทนเป็นรายไตรมาสจากค่าเช่าสุทธิ คิดเป็นอัตราผลตอบแทนทั้งโครงการเฉลี่ยต่อปี (IRR) เฉลี่ย 10.2%* ต่อปี และรับเงินต้นทยอยคืน 4% ต่อปี ตลอดอายุโครงการ           นางสาวจิตตินันท์ ชาติสีหราช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเคน เอกซ์ จำกัด หรือ Token X ภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ (SCBX Group) ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลในประเทศไทย (ICO Portal) ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“สำนักงาน ก.ล.ต.”) เปิดเผยว่า การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในทำเลศักยภาพใจกลางเมืองต้องใช้เงินทุนสูง จึงเข้าถึงได้ยากสำหรับนักลงทุนรายย่อย บริษัท เดอะ อิชชูเออร์ จำกัด, บริษัท บูทิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BC และ Token X เห็นถึงศักยภาพของสินทรัพย์ดิจิทัล จึงได้พัฒนา “Summer Point Token” โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนที่เชื่อมโยงโลกการเงิน และอสังหาริมทรัพย์เข้าด้วยกัน โดยมีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นอาคารสำนักงาน “Summer Point” บนทำเลทองใจกลางพระโขนง ติดถนนสุขุมวิทและ BTS พระโขนง เพื่อสร้างมิติใหม่ให้กับวงการอสังหาริมทรัพย์ในการนำเทคโนโลยีบล็อกเชน มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างโอกาสการลงทุนที่เข้าถึงได้ง่ายแก่นักลงทุนทุกระดับ รวมถึงสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนในระยะยาว           ล่าสุด Token X เตรียมเปิดจองซื้อ Summer Point Token ผ่านแอปพลิเคชัน Token X และช่องทางอื่นตามที่กำหนดในหนังสือชี้ชวนฯ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 14 มีนาคม 2568 ที่ราคาเสนอขายโทเคนละ 0.50 บาท จองซื้อขั้นต่ำที่ 500 บาท (1,000 โทเคน) โดยหลังจากการเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Summer Point Token) แล้วเสร็จ ผู้ถือโทเคนดิจิทัลจะได้รับการจัดสรรโทเคนดิจิทัลของตนเข้าสู่กระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Wallet) ที่แจ้งไว้กับผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล และเมื่อโทเคนดิจิทัลเข้าจดทะเบียนในตลาดรองแล้ว ผู้ถือโทเคนดิจิทัลสามารถโอนย้ายไปยังกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดไว้ตลาดรองดังกล่าวได้ ซึ่งตลาดรองที่สามารถโอนไปได้นั้นต้องเป็นตลาดรองที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. และเป็นไปตามที่ระบุในหนังสือชี้ชวน           ทั้งนี้ สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดสรรผลตอบแทนรายไตรมาสจากค่าเช่าสุทธิและเงินต้นทยอยคืน พร้อมแผนการเผาทำลายโทเคนดิจิทัล เพื่อรักษาสมดุลของมูลค่าโทเคนและตอบสนองต่อสัญญาการลงทุน มีดังนี้ 1) การจัดสรรผลตอบแทน และอัตราผลตอบแทน สำหรับโครงการซัมเมอร์พ้อยท์ ซึ่งเป็นการลงทุนในรูปแบบสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (Leasehold) ซึ่งกำหนดให้มีการทยอยคืนเงินต้นแก่ผู้ถือโทเคนดิจิทัลในอัตราคงที่ 1.0% ของมูลค่าการระดมทุนเริ่มแรก (450 ล้านบาท) หรือคิดเป็น 4.5 ล้านบาทต่อไตรมาส โดยกระแสเงินสดที่เหลือหลังการชำระคืนเงินต้น จะถูกจัดสรรเป็นผลตอบแทนรายไตรมาสจากค่าเช่าสุทธิ กรณีที่รายรับจากค่าเช่าสุทธิไม่เพียงพอ ผู้ออกโทเคนดิจิทัลจะคืนเฉพาะเงินต้นตามสัดส่วนที่เป็นไปได้ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ถือโทเคนได้รับผลตอบแทนต่ำกว่าคาดการณ์ ทั้งนี้ สำหรับอัตราผลตอบแทนทั้งโครงการเฉลี่ยต่อปี (IRR) คิดเป็น 10.2%* ต่อปี ตลอดอายุโครงการ โดยอัตราผลตอบแทนมีการประเมินโดยอ้างอิงจากสมมติฐานเกี่ยวกับอัตราการครองพื้นที่ รวมถึงอัตราการปรับเพิ่มค่าเช่าและค่าบริการในอนาคต ทั้งนี้อัตราผลตอบแทนทั้งโครงการเฉลี่ยต่อปี (IRR) ดังกล่าวจะเป็นอัตราผลตอบแทนทั้งโครงการเฉลี่ยต่อปีเมื่อคำนวณจากการถือครองโทเคนดิจิทัลตั้งแต่วันเริ่มต้นโครงการจนถึงวันสิ้นสุดโครงการ หากการถือครองโทเคนดิจิทัลไม่ได้เป็นไปตามระยะเวลาดังกล่าว อัตราผลตอบแทนทั้งโครงการเฉลี่ยต่อปีอาจมีการเปลี่ยนแปลง 2) วันกำหนดสิทธิการจ่ายผลตอบแทน กำหนดไว้ที่ 00.01 น. ตามเวลาประเทศไทยของ 6 วันทําการภายหลังวันที่ 28 หรือ 29 กุมภาพันธ์ (แล้วแต่วันใดเป็นวันสิ้นสุดของเดือนในแต่ละปี) และวันที่ 15 ของเดือนพฤษภาคม สิงหาคม และพฤศจิกายน ของแต่ละปีจนกระทั่งสิ้นสุดโครงการโทเคนดิจิทัล และ 3) การเผาทำลายโทเคนดิจิทัล เพื่อบริหารจัดการปริมาณโทเคนในตลาด จำนวนโทเคนของผู้ถือโทเคนดิจิทัลจะถูกเผาทำลายในอัตราคงที่ 1.0% ต่อไตรมาส โดยกระบวนการดังกล่าวจะดำเนินการร่วมกับตลาดรองและผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ในกรณีที่รอบการเผาทำลายแรกน้อยกว่า 3 เดือน อาทิ หากโครงการฯ เริ่มในเดือนมกราคม จะสะสมการเผาทำลายในรอบถัดไป อย่างไรก็ตาม โทเคนดิจิทัลคงเหลือทั้งหมดจะถูกเผาทำลายในไตรมาสสุดท้ายของโครงการ           “Summer Point Token เป็นโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนรูปแบบใหม่ที่น่าสนใจ เปิดโอกาสให้นักลงทุนทุกระดับสามารถเข้าถึงการลงทุนในโทเคนดิจิทัลที่มีอาคารสำนักงาน บนทำเลศักยภาพใจกลางเมือง เป็นสินทรัพย์อ้างอิง ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นจำนวนน้อย พร้อมรับผลตอบแทนรายไตรมาสจากค่าเช่าสุทธิ และเงินต้นทยอยคืนตลอดอายุโครงการ ตอบโจทย์นักลงทุนที่มองหาการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ที่มีผลตอบแทนที่สม่ำเสมอและมั่นคงในระยะยาว โดยมีอาคารสำนักงาน Summer Point เป็นสินทรัพย์อ้างอิง” นางสาวจิตตินันท์ กล่าว           นายปรับชะรันซิงห์ ทักราล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บูทิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BC ผู้นำด้านธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้โมเดลธุรกิจ “สร้าง-ดำเนินการ-ขาย” (Build-Operate-Sale : BOS) กล่าวว่า Summer Point Token เป็นโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน ที่มุ่งนำเสนอโอกาสการลงทุนแบบใหม่ที่เข้าถึงง่าย ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชนและสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) เพื่อผู้ที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นสินทรัพย์อ้างอิง โดยมีจุดเด่นดังนี้ 1) ทรัพย์สินของโครงการตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีศักยภาพทางธุรกิจสูง ในทำเลทองบนถนนสุขุมวิท ติด BTS พระโขนง และทางด่วนฉลองรัช ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่เชื่อมต่อไปยังสถานที่สำคัญต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบาย ทั้งยังรายล้อมด้วยแหล่งช็อปปิ้ง โรงพยาบาล และสถานศึกษาชั้นนำ ส่งผลให้ทำเลดังกล่าวมีแนวโน้มค่าเช่าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 2) อาคารทันสมัย ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ โครงการออกแบบภายใต้แนวคิด “Work & Play” รองรับการใช้ชีวิตแบบ Work-Life Flow ด้วยพื้นที่ให้เช่าแบบครบวงจร ทั้ง Co-working Space และสำนักงานขนาดย่อม พร้อมพื้นที่ส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน โดยมีอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ยประมาณ 96% และมีแนวโน้มค่าเช่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3) ผู้เช่าหลากหลาย ลดความเสี่ยงในการลงทุน ทรัพย์สินของโครงการมีผู้เช่าจากหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น สื่อบันเทิง, ร้านอาหาร, ธุรกิจเสริมความงาม เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีความมั่นคงและมีแนวโน้มเติบโตในอนาคต 4) เปิดโอกาสลงทุนในโทเคนดิจิทัลที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นอสังหาฯ ด้วยเงินลงทุนจำนวนน้อย โดย “Summer Point Token” ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนช่วยให้การทำธุรกรรมโปร่งใส ปลอดภัย และตรวจสอบได้ และยังสามารถซื้อขายโทเคนดิจิทัลในตลาดรองได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพิ่มความยืดหยุ่นในการปรับพอร์ตลงทุน นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนทุกกลุ่มเข้าถึงการลงทุนในอาคารสำนักงาน โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก และ 5) บริหารโดยทีมผู้บริหารมืออาชีพ โดย บริษัท บูทิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BC มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ มีทีมบริหารที่มีความชำนาญในการจัดการทรัพย์สินอย่างมืออาชีพ ตั้งแต่การหาผู้เช่า การดูแลรักษาทรัพย์สิน จนถึงเพิ่มมูลค่าแก่โครงการ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงในระยะยาว           “Summer Point Token เป็นมากกว่าแค่โทเคนดิจิทัล แต่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างโลกอสังหาริมทรัพย์และโลกดิจิทัล ด้วยทำเลทองบนถนนสุขุมวิทที่โดดเด่น และอาคารที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ทำให้ Summer Point Token  จึงเป็นทางเลือกการลงทุนรูปแบบใหม่ที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล และมองหาผลตอบแทนที่ยั่งยืน พร้อมความมั่นคงจากการบริหารงานโดยทีมผู้เชี่ยวชาญของ บูทิค คอร์ปอเรชั่น” นายปรับชะรันซิงห์ กล่าว หมายเหตุ:           *อัตราผลตอบแทนมีการประเมินโดยอ้างอิงจากสมมติฐานเกี่ยวกับอัตราการครองพื้นที่ รวมถึงอัตราการปรับเพิ่มค่าเช่าและค่าบริการในอนาคต ทั้งนี้อัตราผลตอบแทนทั้งโครงการเฉลี่ยต่อปี (IRR) ดังกล่าวจะเป็นอัตราผลตอบแทนทั้งโครงการเฉลี่ยต่อปีเมื่อคำนวณจากการถือครองโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนตั้งแต่วันเริ่มต้นโครงการจนถึงวันสิ้นสุดโครงการ หากการถือครองโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนไม่ได้เป็นไปตามระยะเวลาดังกล่าว อัตราผลตอบแทนทั้งโครงการเฉลี่ยต่อปีอาจมีการเปลี่ยนแปลง **คำเตือน: โทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนใน Summer Point Token สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ได้แล้ววันนี้ที่เว็บไซต์ Summer Point Token https://bit.ly/4aPbv6n หรือเว็บไซต์ สำนักงาน ก.ล.ต. https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSTD01.aspx?TransID=655028&lang=th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร: 02-949-1399, Line Official: @Tokenx หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Token X: https://tokenxapp.page.link/c6wA [PR News]

3 เหตุผล จังหวะสำคัญลงทุน Bitcoin

3 เหตุผล จังหวะสำคัญลงทุน Bitcoin

          หุ้นวิชั่น - การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลกำลังเข้าสู่ยุคใหม่ที่เน้นความยั่งยืนและมีความรู้เป็นพื้นฐานสำคัญ จากผลสำรวจของ Binance TH Academy พบว่านักลงทุนรุ่นใหม่ ๆ กำลังให้ความสำคัญกับการศึกษาและสร้างความเข้าใจในการลงทุนกับสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้น แทนที่จะเป็นการตัดสินใจลงทุนตามกระแสเหมือนในอดีต พฤติกรรมการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลที่เปลี่ยนไป           จากการสำรวจของเราล่าสุด พบว่าคนไทยที่สนใจลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลยังคงลังเลที่จะเริ่มต้น โดยมีสองเหตุผลหลักคือ 1. กังวลเรื่องความผันผวนของราคาและ 2. ขาดความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการลงทุนในปี 2025 กำลังเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น จากการพัฒนาการเรียนรู้แบบเชิงรุกและมีนวัตกรรมการป้องกันความเสี่ยงที่ครอบคลุมมากขึ้น โดยข้อมูลจาก Statista คาดการณ์ว่าในปี 2025 ตัวเลขนักลงทุนทั่วโลกในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลจะเพิ่มเป็น 861 ล้านราย จาก FOMO สู่การลงทุนอย่างมีหลักการ           ปรากฏการณ์ FOMO (Fear Of Missing Out) ที่เคยเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต กำลังถูกแทนที่ด้วยแนวคิดการลงทุนที่มีหลักเหตุผลมากขึ้น "เราเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในพฤติกรรมนักลงทุน นักลงทุนรุ่นใหม่มองหาความรู้และเครื่องมือที่จะช่วยจัดการความเสี่ยงมากขึ้น แทนที่จะลงทุนตามกระแสเหมือนในอดีต" กล่าวโดย คุณนิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด Education First, Smart Invest Follow: รากฐานการลงทุนในปี 2025           การศึกษาและความเข้าใจที่ถูกต้องเป็นรากฐานสำคัญของการลงทุนที่ยั่งยืน โดยเฉพาะในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีความซับซ้อน สำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ต้องการเริ่มต้นด้วยเงินลงทุนในงบที่จำกัดและต้องการการคุ้มครองเงินต้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการลงทุนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นได้           ล่าสุด Binance TH ได้ริเริ่มแคมเปญ Price Protection ที่นำเสนอแนวคิด "เรียนรู้พร้อมลงทุนไปด้วยกัน" โดยมอบการคุ้มครองเงินลงทุน 100%* สูงสุด 4,000 บาท สำหรับการลงทุนครั้งแรกบน BINANCE TH เป็น Bitcoin* เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้การลงทุนพื้นฐานที่จำเป็น สร้างความมั่นใจและพัฒนาทักษะการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เผย 3 เหตุผลที่ทำให้ปี 2025 เป็นจังหวะสำคัญของการลงทุน Bitcoin การยกเลิก SAB 121 เปิดทางสถาบันการเงินรายใหญ่ การยกเลิกกฏ Staff Accounting Bulletin No. 121 (SAB 121) ของสหรัฐอเมริกา ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่เปิดโอกาสให้ธนาคารยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ อย่าง JPMorgan, Bank of America และ Citibank สามารถให้บริการด้านบิทคอยน์ได้สะดวกขึ้น เนื่องจากไม่ต้องบันทึกบัญชีที่ซับซ้อนเหมือนในอดีต ซึ่งจะช่วยเพิ่มการเข้าถึงบิทคอยน์สำหรับนักลงทุนทั่วไป เช่นเดียวกับที่เราเห็นจากความสำเร็จของ การอนุมัติ Bitcoin ETFs แนวโน้มการถือบิทคอยน์เป็นทุนสำรองของประเทศ แนวคิดการจัดตั้ง Strategic Bitcoin Reserve (SBR) ในสหรัฐอเมริกา กำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ หากสหรัฐฯ เริ่มถือบิทคอยน์เป็นทุนสำรองอย่างเป็นทางการ อาจเกิด "โดมิโนเอฟเฟกต์" ให้ประเทศอื่น ๆ เช่น บราซิล สาธารณรัฐเช็ก และรัสเซีย พิจารณาแนวทางเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อการยอมรับบิทคอยน์ในระดับโลก สภาพคล่องของ USD เพิ่มขึ้น ปัจจัยขับเคลื่อนราคา Bitcoin การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน M2 ในสหรัฐฯ (เติบโต 6% ในปี 2024) และมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นในปีนี้ ประกอบกับการที่บิทคอยน์มีจำนวนจำกัดเพียง 21 ล้านเหรียญ ทำให้หลายฝ่ายมองว่าบิทคอยน์เป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐฯ มีภาระหนี้ที่สูงขึ้นและยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย           ปัจจัยทั้งสามประการนี้กำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งอาจทำให้ปี 2025 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการลงทุนในบิทคอยน์           ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังอยู่ในระดับต่ำ คนรุ่นใหม่กำลังมองหาทางเลือกในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ซึ่งการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นหนึ่งในทางเลือก แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของความรู้และการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลคริปโตจากการเก็งกำไรระยะสั้นสู่การลงทุนที่มีความรู้เป็นพื้นฐานสำคัญนั้น จะสะท้อนการพัฒนาที่ยั่งยืนของตลาด ผ่านการผสานระหว่างการให้ความรู้และมีมาตรปกป้องเงินลงทุนให้แก่นักลงทุนรุ่นใหม่ เป็นกุญแจสำคัญสร้างความเชื่อมั่นและการเติบโตให้กับตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลของประเทศไทย * เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด สามารถติดตามรายละเอียดแคมเปญ Price Protection ของ BINANCE TH by Gulf Binance ได้ที่ Website หรือ Binance TH Facebook คำเตือน : คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

BINANCE TH by Gulf BINANCE จัดงานใหญ่ ตอกย้ำผู้นำตลาดคริปโต

BINANCE TH by Gulf BINANCE จัดงานใหญ่ ตอกย้ำผู้นำตลาดคริปโต

          หุ้นวิชั่น - BINANCE TH เผยปี 67 สินทรัพย์ดิจิทัลเติบโตแข็งแกร่ง มูลค่าซื้อ-ขายโตกว่า 30 เท่า [1] จัดงานใหญ่ "Street of the Future" Presented by BINANCE TH by Gulf BINANCE ย้ำผู้นำตลาดคริปโตสำหรับทุกคน เปิดพื้นที่สยามสแควร์จับกลุ่มคนรุ่นใหม่  ให้เรียนรู้-สัมผัสประสบการณ์ A Day in the Life of Cryptonians พร้อมกิจกรรมมากมายจากพันธมิตรชั้นนำให้เข้าถึงและเข้าใจโลกคริปโตกับ 8 โซนไฮไลท์ เต็มอิ่มทั้งสาระและความบันเทิง            คุณนิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด กล่าวว่า “เป้าหมายของ Binance TH ในปี 2025 ยังคงให้ความสำคัญกับ 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การดูแลด้านความปลอดภัย ความโปร่งใส และคุณภาพการให้บริการ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลในไทยให้เติบโตอย่างมั่นคง ปีที่ผ่านมาเราเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยมากมายที่หลายประเทศต่างให้การยอมรับสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้น และวันนี้บิตคอยน์สินทรัพย์ดิจิทัลแรกของโลกก็ได้ไต่ขึ้นอันดับ 6 สินทรัพย์การเงินโลกไปแล้ว โดยมีมูลค่ารวมสูงกว่า $1.95 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ [2] แซงหน้าสกุลเงินของทั้งสหราชอาณาจักรและสวิตเซอร์แลนด์ สะท้อนให้เห็นเทรนด์การเปลี่ยนแปลงในโลกการเงินการลงทุนที่จะเต็มไปด้วยโอกาสในปีนี้”            สำหรับภาพรวมการให้บริการของ BINANCE TH ในปีที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ใช้งานไทยลงทะเบียนเปิดบัญชีสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า [1] และมียอดเทรดเพิ่มขึ้นถึง 30 เท่า [1] โดยผู้ใช้งานประเภทบุคคลทั่วไปในประเทศคือกลุ่มที่มีสัดส่วนการลงทุนมากที่สุด [3] และช่วงบิตคอยน์เข้าสู่ All-Time High เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2567 แตะที่มูลค่ากว่า 1 แสนดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ 1 บิตคอยน์ ส่งผลให้มูลค่าตลาดสกุลเงินดิจิทัลเองก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 39.9% มีมูลค่ากว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ [4] นับเป็นหมุดหมายการเติบโตสำคัญของอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะเป็นโอกาสด้านการเงินให้กับทุกคน ฉลองครบรอบ 1 ปีกับความสำเร็จของ BINANCE TH: จำนวนผู้ใช้งาน BINANCE TH เติบโตขึ้นต่อเนื่องนับจากวันที่เปิดให้บริการ สะท้อนศักยภาพตลาดไทยทั้งด้านการเติบโตและปริมาณการซื้อขาย โดยมุ่งมั่นยกระดับอัตราการเข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัลในกลุ่มคนไทยเพิ่มจาก 12% ในปี 2567 [5] และเทรนด์ PayFi [6] เป็นกุญแจสำคัญของการเกิด RWA ที่จะเข้ามาผลักดันการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล โดยนวัตกรรมในระดับ Application Layer มุ่งเน้นที่การปรับแต่ง AI และการสมัครใช้งานที่ง่ายขึ้น เพื่อเข้าถึงผู้ใช้งานในวงกว้าง ขณะที่ในระดับ Financial Layer จะเห็นการมาของ    สเตเบิลคอยน์และการปรับสภาพคล่องอัตโนมัติเพื่อลดความผันผวนและเพิ่มประสิทธิภาพ ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างระบบเงินปกติและคริปโตเป็นไปอย่างไร้รอยต่อ แพลตฟอร์มที่มีเหรียญให้บริการมากที่สุดในประเทศไทยกว่า 350 [1] เหรียญ ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ สกุลเงินดิจิทัลต่าง ๆ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้นว่า เราจะเห็นการพัฒนาเกมที่วางอยู่บนรากฐานของคริปโต หรือ Crypo-Based In-Game Economies [7] มากขึ้น สร้างบุคลากรเข้าสู่อีโคซิสเต็ม BINANCE TH Academy  ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศในการให้ความรู้เรื่องบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัลมาไว้ในห้องเรียน ตลอดปี 2567 สามารถอบรมคนรุ่นใหม่ผ่านสถาบันการศึกษา เป็นจำนวนกว่า 50,000 ราย [1] เพื่อสร้างนักลงทุนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพและนักพัฒนาเทคโนโลยีต้นน้ำ ที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนา Digital Economy ในประเทศ พัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มให้มีความทันสมัย พร้อมรองรับนักลงทุนสถาบันไทยด้วยการพัฒนาฟีเจอร์การซื้อขาย Easy/Buy Sell ที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถทำการซื้อขายคริปโต หรือดิจิทัลโทเคนต่าง ๆ โดยตรง ยกระดับความปลอดภัยแพลตฟอร์มและเพิ่มมาตรการคุ้มครองผู้ใช้ BINANCE TH มีนโยบายและยกระดับการดูแลผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มเทียบเท่า BINANCE แพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลระดับโลก โดยเปิดตัวระบบยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า หรือ Face Verification ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล้ำสมัยที่ออกแบบมาเพื่อยกระดับความปลอดภัยและป้องกันการกระทำผิดทางการเงิน ไปจนถึงร่วมมือกับตำรวจไทยในการสอดส่องและให้ความร่วมมือกรณีเกิดความไม่โปร่งใสทางการเงินดิจิทัล            โอกาสนี้ BINANCE TH  ประเดิมจัดงานใหญ่รับปี 2025 ต้อนรับตลาดกระทิงกับงาน "Street of the Future" Presented by BINANCE TH by Gulf BINANCE เพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงโปรเจกต์ Crypto Currency ระดับโลก สร้าง Networking สัมผัสเทคโนโลยีมากมายในวงการ Web3  ผ่านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สาธิต และจำลองประสบการณ์จากพันธมิตรต่าง ๆ มากมาย            “แน่นอนว่า 2025 จะเป็นปีแห่งโอกาสที่น่าตื่นเต้นสำหรับตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลของไทย เราไม่อยากให้เป็นแค่การเติบโตของตลาด แต่อยากจะทำให้ช่วงเวลานี้เป็นโอกาสสำหรับทุกคน โดยงาน "Street of the Future" Presented by BINANCE TH by Gulf BINANCE จะเป็นจุดเริ่มต้นในการเตรียมความพร้อมของสังคมไทยในการก้าวไปสู่ระบบการเงินยุคใหม่ ที่สินทรัพย์ดิจิทัลจะกลายเป็น ‘กระแสหลักของโลก’ ที่ผู้ใช้งานสามารถเป็นเจ้าของมูลค่าสินทรัพย์ได้อย่างอิสระและโปร่งใส รวมถึงการเปลี่ยนผ่านไปสู่ Web3 อย่างเต็มรูปแบบ” คุณนิรันดร์ กล่าวเพิ่มเติมถึงงาน "Street of the Future" Presented by BINANCE TH by Gulf BINANCE "Street of the Future" Presented by BINANCE TH by Gulf BINANCE: ถนนสู่ฉากทัศน์การเงินยุคใหม่ ที่ใคร ๆ ก็เข้าถึงและเข้าใจได้            กิจกรรมจัดเต็มทั้งสาระและไลฟ์สไตล์ความบันเทิงตลอด 2 วัน ไม่ว่าจะเป็นโปรเจกต์ต่างประเทศที่น่าสนใจอย่างMoodengsol, Memeland, Lumia ฯลฯ, โซน game พร้อมทั้งกิจกรรมให้ร่วมสนุก รับของรางวัลมากมาย  ฯลฯ ร่วมอัพเดทเทรนด์ลงทุนรับต้นปีบนเวทีเสวนาพิเศษ และแขกคนพิเศษ พร้อมการจับมือทำเวิร์คช็อปสำหรับผู้ที่สนใจอยากเริ่มเทรด โดย BINANCE TH Academy และยังมีโซน Meetup space ที่จำลองบรรยากาศการใช้จ่ายด้วยคริปโต เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้เปิดโลกและสัมผัสประสบการณ์การเงินดิจิทัลบนเทคโนโลยีบล็อกเชนด้วยตนเอง ติดตามข่าวสารงาน Street of the Future เพิ่มเติมได้ที่ Official Facebook: BINANCE TH by Gulf BINANCE คำเตือน: คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาข้อมูลและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

โบรกมองบวก วิสัยทัศน์ทักษิณ คาดรัฐ - ก.ล.ต. ยกระดับธรรมาภิบาล

โบรกมองบวก วิสัยทัศน์ทักษิณ คาดรัฐ - ก.ล.ต. ยกระดับธรรมาภิบาล

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.หยวนตา มีมุมมองเป็นบวกต่อการแสดงวิสัยทัศน์ของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร แม้หลายประเด็นอาจไม่ได้ดำเนินการในทันที แต่สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลมีความเข้าใจสภาพตลาดทุนที่ถูกบั่นทอนจากปัจจัยด้านธรรมาภิบาลและความเชื่อมั่น ซึ่งคาดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะออกมาตรการเพื่อควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่เป็นธรรมมากขึ้น ส่วนมาตรการกระตุ้นตลาดทุน มีแนวคิดจะนำ LTF กลับมาใช้เพื่อไม่ให้เงินไหลออกจากตลาดทุน และจะสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนซื้อหุ้นคืนมากขึ้น เนื่องจากมีหลายบริษัทที่ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี ขณะที่มาตรการทางภาษีกำลังศึกษาเพื่อปรับโครงสร้างให้สามารถลดภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา แล้วไปปรับในส่วนอื่นชดเชย เช่น VAT และใช้ Negative Income Tax เพื่อช่วยผู้มีรายได้น้อย           ด้านการสนับสนุนธุรกิจใหม่ จะผลักดัน Data Center, AI, Stem Cell, การผลิตยา, Digital Asset ขณะที่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นไฮไลต์หลักคือการให้เช่าทรัพย์สินระยะยาว 99 ปี และการจัดตั้ง Infrastructure Fund ปัจจัยกดดันกำลังถูกแก้เพื่อฟื้นความเชื่อมั่น           อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ให้มุมมองว่าตลาดหุ้นไทยช่วงที่ผ่านมาเกิดจาก Trust, Confidence, Sentiment ที่ถูกบั่นทอน โดยหลังจากนี้ คาดว่ารัฐบาลและ ก.ล.ต. จะยกระดับธรรมาภิบาลมากขึ้น โดยถ้าจำเป็นต้องปรับกฎหมาย รัฐบาลต้องออก พ.ร.ก. เพื่อให้อำนาจ ก.ล.ต. ในการลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างรวดเร็ว ควบคุม High Frequency Trading ไม่ให้สร้างความผันผวนกับตลาดทุนหรือเอาเปรียบนักลงทุนในประเทศ เชิญชวนธุรกิจใหม่ให้เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยผ่าน BOI เช่น กลุ่มที่เข้ามาลงทุนใน Entertainment Complex เพื่อเพิ่ม Supply หุ้นที่เป็น New S-Curve           นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้บริษัทที่ PBV ต่ำกว่า 1 เท่าซื้อหุ้นคืน (ยังต้องรอมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติมเพื่อจูงใจให้เกิดการซื้อหุ้นคืน) และสนับสนุนตลาด Digital Asset และการซื้อขาย Carbon ส่วนกองทุนลดหย่อนภาษี กระทรวงการคลังกำลังพิจารณานำ LTF กลับมาใช้อีกครั้ง เพื่อให้คงสภาพคล่องในตลาดทุนไม่ให้ลดลง เนื่องจาก TESG ออกมาแล้ว แต่เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้ากองทุนตราสารหนี้ ไม่ได้ไหลเข้าตราสารทุนตามที่ตั้งใจไว้           สนับสนุนธุรกิจใหม่ Data Center, AI, Biotech หลังจากนี้ รัฐบาลจะเดินหน้าสนับสนุน Data Center และ AI อย่างมาก เพื่อให้ประเทศไทยเป็น Hub ด้าน AI โดยมาตรการลดค่าไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งเพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนเอกชนตามที่นักลงทุนกังวลก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ จะส่งเสริมธุรกิจที่เป็น Innovation เช่น Stem Cell เพื่อการดูแลสุขภาพและชะลอวัย รวมถึงสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตยา เพื่อลดภาระให้กับรัฐบาล           ในโครงการเพื่อดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย คุณทักษิณคาดว่า GDP ปี 2025 จะโตเกิน 3% และปี 2026 โตเกิน 4% ก่อนจะไปแตะระดับ 5% ได้ในปี 2027 เราประเมินเป็นปัจจัยบวกต่อ SET INDEX โดยภาพรวม และหุ้นที่เกี่ยวข้องกับมาตรการสนับสนุนของรัฐบาลหลังจากนี้ เช่น Data Center + AI – WHA, AMATA, GULF, INTUCH, LTS, INSET, SYMC, BE8, BBIK Stem Cell + ยา – MEDEZE, TMAN Entertainment Complex – BTS, VGI, MBK รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย – BTS, BEM ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน – CK, STECON ทั้งนี้เราคาดว่าจะเห็นแรง Short Covering ในกลุ่มโรงไฟฟ้าจากแนวทางการปรับลดค่าไฟที่มีความชัดเจนมากขึ้น ปัจจัยกดดันกำลังถูกแก้เพื่อฟื้นความเชื่อมั่น อดีตนายกทักษิณ ชินวัตรให้มุมมองว่าตลาดหุ้นไทยช่วงที่ผ่านมาเกิดจาก Trust, Confidence, Sentiment ที่ถูกบั่นทอน โดยหลังจากนี้ คาดว่ารัฐบาลและ ก.ล.ต. จะยกระดับธรรมาภิบาลมากขึ้น โดยถ้าจำเป็นต้องปรับกฎหมาย รัฐบาลต้องออก พ.ร.ก. เพื่อให้อำนาจ ก.ล.ต. ในการลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างรวดเร็ว, ควบคุม High Frequency Trading ไม่ให้สร้างความผันผวนกับตลาดทุนหรือเอาเปรียบนักลงทุนในประเทศ, เชิญชวนธุรกิจใหม่ให้เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยผ่าน BOI เช่น กลุ่มที่เข้ามาลงทุนใน Entertainment Complex เพื่อเป็นการเพิ่ม Supply หุ้นที่เป็น New S-Curve นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้บริษัทที่ PBV ต่ำกว่า 1 เท่าซื้อหุ้นคืน (ยังต้องรอมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติมเพื่อจูงใจให้เกิดการซื้อหุ้นคืน) และสนับสนุนตลาด Digital Asset และซื้อขาย Carbon ส่วนกองทุนลดหย่อนภาษี กระทรวงการคลังกำลังพิจารณานำ LTF กลับมาใช้อีกครั้ง เพื่อให้คงสภาพคล่องในตลาดทุนไม่ให้ลดลง เนื่องจาก TESG ออกมาแล้ว แต่เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้ากองทุนตราสารหนี้ ไม่ได้ไหลเข้าตราสารทุนตามที่ตั้งใจไว้ สนับสนุนธุรกิจใหม่ Data Center, AI, Biotech หลังจากนี้รัฐบาลจะเดินหน้าสนับสนุน Data Center และ AI อย่างมาก เพื่อให้ประเทศไทยเป็น Hub ด้าน AI โดยมาตรการลดค่าไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งเพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุน ซึ่งจะดำเนินการไม่ให้กระทบโรงไฟฟ้าเอกชนตามที่นักลงทุนกังวลก่อนหน้านี้ แต่เป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ปิดโรงไฟฟ้าที่ต้นทุนสูง, การลดสวัสดิการค่าไฟฟ้าจากหน่วยงานราชการ, และการลดค่าผ่านท่อก๊าซ นอกจากนี้ จะส่งเสริมธุรกิจที่เป็น Innovation เช่น Stem Cell เพื่อการดูแลสุขภาพและชะลอวัย รวมถึงสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตยา เพื่อลดภาระให้กับรัฐบาลในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ส่วนมาตรการสนับสนุน Digital Asset รัฐบาลเตรียมเปิด Sandbox เพื่อทดลองรับ Bitcoin ที่ภูเก็ต ขณะที่ฐานการผลิต EV Car จะทำให้สมดุลกับ Ecosystem ของประเทศมากขึ้น และกระตุ้นให้ธนาคารกลับมาปล่อยสินเชื่ออีกครั้ง ขยายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น รัฐบาลจะใช้กฎหมายทรัพย์อิงสิทธิ เพื่อเปิดให้เช่าทรัพย์สินรัฐระยะยาว 99 ปี เพื่อกระตุ้นการลงทุน เช่น การสร้างบ้านบนที่ดินของการรถไฟฯ, โครงการถมทะเลเพื่อป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพ, การขุดลอกคลองเพื่อระบายน้ำได้เร็วขึ้น และให้เอกชนหรือประชาชนสามารถนำดินไปใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้ยังเดินหน้าขยายสนามบินและถนนในพื้นที่ท่องเที่ยว รวมถึงเปิดให้ลงทุน Entertainment Complex คาดมีเม็ดเงินลงทุนรวมกว่า 5 แสนล้านบาท และจะจัดตั้ง Infrastructure Fund เพื่อดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายในเดือน ต.ค. 2025 โครงสร้างภาษีจะต้องปรับเพื่อกระตุ้นการลงทุน ภาษี Global Minimum Tax ให้เก็บ 15% ตามข้อตกลงกับ OECD ไปก่อน แล้วให้ BOI หามาตรการไปช่วย เพื่อให้การลงทุนในไทยเกิดประโยชน์สุทธิมากกว่าประเทศอื่น ภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดากำลังศึกษาเพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุน โดยถ้าลดภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา จะต้องไปเพิ่ม VAT โดยจะช่วยกลุ่มผู้มีรายได้น้อยผ่านการใช้ Negative Income Tax

ก.ล.ต. ปรับเกณฑ์โฆษณา เพิ่มคำเตือนความเสี่ยงลงทุนใน

ก.ล.ต. ปรับเกณฑ์โฆษณา เพิ่มคำเตือนความเสี่ยงลงทุนใน "โทเคนดิจิทัล"

          หุ้นวิชั่น - ก.ล.ต. ปรับปรุงหลักเกณฑ์การโฆษณาของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO portal) และของผู้ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน (ICO issuer) ในส่วนของคำเตือนความเสี่ยงการลงทุนในโทเคนดิจิทัล เพื่อช่วยให้ผู้ลงทุนตระหนักถึงความเสี่ยงหรือข้อจำกัดก่อนการตัดสินใจลงทุน โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2567           สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีแนวคิดที่จะปรับปรุงหลักเกณฑ์การโฆษณาของ ICO portal และ ICO issuer ในส่วนของคำเตือนความเสี่ยงการลงทุนในโทเคนดิจิทัล ให้เหมาะสม เป็นมาตรฐานเดียวกัน และมีวิธีการนำเสนอคำเตือนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ลงทุนตระหนักถึงความเสี่ยงหรือข้อจำกัดก่อนการตัดสินใจใช้บริการหรือลงทุนในโทเคนดิจิทัล โดยได้เปิดรับความฟังความคิดเห็นและผู้ร่วมแสดงความเห็นส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าว           ก.ล.ต. จึงออกประกาศ* กำหนดให้ ICO portal และ ICO issuer ต้องจัดทำคำเตือนประกอบการโฆษณาตามหลักเกณฑ์ ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ (1) ระบุข้อความคำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือข้อจำกัดของโทเคนดิจิทัลอย่างครบถ้วน (2) นำเสนอคำเตือนในรูปแบบที่มีความคมชัดและสังเกตได้ง่าย โดยใช้โทนสีที่แตกต่างจากสีพื้นของโฆษณาหรือใช้ตัวอักษรหนาขึ้น และมีขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าขนาดตัวอักษรส่วนใหญ่ในโฆษณานั้น (3) จัดให้มีข้อความที่เป็นคำเตือนตลอดเวลาที่โฆษณา โดยข้อความที่เป็นคำเตือนต้องเป็นภาษาเดียวกับภาษาหลักที่ใช้ในการโฆษณา และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนด (4) ในกรณีการโฆษณาที่มีการแสดงภาพและเสียง และการโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (social media) ต้องจัดทำให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนด           ทั้งนี้ การออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป           หมายเหตุ : * ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 34/2567 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลหรือผู้ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 https://publish.sec.or.th/nrs/10464s.pdf

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

เจาะพอร์ต JAS ล่าสุดถือบิตคอยน์เท่าไหร่ ?

เจาะพอร์ต JAS ล่าสุดถือบิตคอยน์เท่าไหร่ ?

          บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS รายงานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า รายได้จากส่วนงานสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีโซลูชันจำนวน 582 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 169 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และลดลง 41 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากรายได้จากการให้บริการวงจรเช่าในประเทศและระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น           สำหรับรายได้จากธุรกิจเหมืองขุดบิตคอยน์ในไตรมาส 3 ปี 2567 มีรายได้จำนวน 20.13 ล้านบาท ลดลง 12.43 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 38.19 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และลดลง 45.55 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 69.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สาเหตุจากในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 ราคาเหรียญมีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน ประกอบกับปริมาณการขุดบิตคอยน์ลดลงภายหลังช่วง Bitcoin halving           ณ สิ้นไตรมาสที่ 3/2567 จำนวนเหรียญบิตคอยน์คงเหลือ 48.9998 เหรียญ 

ก.ล.ต. สั่ง Bitazza ปิดรับลูกค้าใหม่

ก.ล.ต. สั่ง Bitazza ปิดรับลูกค้าใหม่

         คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติให้ บริษัท บิทาซซ่า จำกัด (Bitazza) ระงับการเปิดรับลูกค้าใหม่ เนื่องจากยังไม่สามารถแก้ไขการดำเนินงาน ในเรื่องการทำความรู้จักและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าของบริษัทได้ตามการสั่งการ โดยให้แก้ไขการดำเนินงานให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567          ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้มีหนังสือสั่งการตามมาตรา 35 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ) เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ไปยัง Bitazza ให้แก้ไขระบบเปิดบัญชีและทำความรู้จักลูกค้า ระบบการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าประเภทเงินบาท การประกอบกิจการอื่น และมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI) และการเข้าถึงข้อมูลของบริษัท ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ลูกค้า ตามมติของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (คณะกรรมการ ก.ล.ต.) ทั้งนี้ Bitazza ได้ชี้แจงมายัง ก.ล.ต. เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 แล้ว นั้น          คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุม ครั้งที่ 12/2567 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 พิจารณาแล้วเห็นว่า Bitazza สามารถแก้ไขการดำเนินงานในเรื่องระบบการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าประเภทเงินบาท การประกอบกิจการอื่น และมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI) และการเข้าถึงข้อมูลของบริษัทได้ อย่างไรก็ดี บริษัทยังไม่สามารถแก้ไขการดำเนินงานในเรื่องการทำความรู้จักและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าของบริษัทที่บกพร่องได้ตามการสั่งการของคณะกรรมการ          คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 35 วรรคสอง แห่ง พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ มีมติสั่งการให้ Bitazza ระงับการเปิดรับลูกค้าใหม่ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2567 โดยในระหว่างที่บริษัทระงับการเปิดรับลูกค้าใหม่ Bitazza ต้องดำเนินการ ดังนี้          (1) เสนอแผนการแก้ไขการดำเนินงานในเรื่องการทำความรู้จักและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าโดยไม่ชักช้า โดยให้รวมถึงในกรณี 1) เงินลงทุนไม่สอดคล้องกับข้อมูลรายได้ของลูกค้า 2) อีเมลของลูกค้าคล้ายกันหรือที่อยู่ซ้ำกันและอาจเป็นลูกค้าที่มีความเสี่ยง 3) รอบการทบทวนข้อมูลลูกค้าไม่เหมาะสม และ 4) การจัดกลุ่มความเสี่ยงของลูกค้า          (2) ระงับการดำเนินงานในส่วนที่เป็นการเปิดรับลูกค้าใหม่ ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2567 จนกว่าจะแก้ไขตาม (1) ให้ถูกต้องครบถ้วน และได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้ดำเนินการเปิดรับลูกค้าใหม่ได้          ในการนี้ ให้ Bitazza ดำเนินการแก้ไขตามแผนการแก้ไขที่เสนอตาม (1) ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 และรายงานความคืบหน้าการดำเนินการต่อ ก.ล.ต. จนกว่าจะแล้วเสร็จ โดยบริษัทจะสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้ตามปกติเมื่อได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.          ทั้งนี้ สำหรับลูกค้า Bitazza สามารถติดต่อศูนย์บริการลูกค้าของบริษัท และสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ “ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและแจ้งเบาะแส” โทร. 1207 กด 8 หรืออีเมล info@sec.or.th หรือ เฟซบุ๊กเพจ “สำนักงาน กลต.” หรือ SEC Live Chat ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. www.sec.or.th          นายเอนก อยู่ยืน รองเลขาธิการ และโฆษก ก.ล.ต. กล่าวว่า “ก.ล.ต. ให้ความสำคัญในการติดตามการดำเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ประกอบธุรกิจได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด หากบริษัทดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จ สามารถส่งเอกสารหลักฐานให้ ก.ล.ต. ได้ทันที โดย ก.ล.ต. จะตรวจสอบการดำเนินการดังกล่าวของบริษัทก่อนเสนอคณะกรรมการ ก.ล.ต. พิจารณาต่อไป”

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456