ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#DELTA


DELTA พุ่ง 5.36% นำกลุ่มอิเล็กฯ คลายกังวลเทรดวอร์-บอนด์ยีลด์ลง

DELTA พุ่ง 5.36% นำกลุ่มอิเล็กฯ คลายกังวลเทรดวอร์-บอนด์ยีลด์ลง

                หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน นายณัฐพล คำถาเครือ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ราคาหุ้นของ บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DELTA) วันนี้ปรับตัวขึ้นแรง บวก 5.36% หรือ 3.75 บาท มาอยู่ที่ 73.75 บาท มองเป็นการรีบาวด์สั้นๆ หลังจากราคาหุ้นปรับตัวลงมาค่อนข้างมาก ขณะที่นักลงทุนคลายความกังวลต่อสงครามการค้าฯ สหรัฐ ที่อาจไม่ได้รุนแรงอย่างที่คาดการณ์ไว้ ทำให้กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มีความหวังขึ้นมา                 อีกทั้งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (บอนด์ยีลด์) ก็ปรับตัวลงมา หลังสหรัฐฯ ได้รายงานความเชื่อมั่นผู้บริโภค ที่ 92.9 ต่ำกว่าที่ Bloomberg Consensus คาดไว้ที่ 94.2 ซึ่งความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4                 ทั้งนี้ DELTA ปรับขึ้นตามหุ้นในต่างประเทศ โดย บล.บัวหลวง ระบุ หุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นต่อเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน โดย S&P 500 +0.2% Nasdaq +0.5% รับแรงหนุนจากหุ้นเทคโนโลยี โดยเฉพาะ Tesla (TSLA) ที่พุ่ง 3.5% Apple (AAPL) และ Amazon (AMZN) บวก 1.4% และ 1.2% ตามลำดับ                 ปัจจัยบวกมาจากความหวังว่า นโยบายภาษีตอบโต้ของ Trump ซึ่งมีกำหนดประกาศวันที่ 2 เม.ย.นี้ อาจมีขอบเขตจำกัดกว่าที่ตลาดเคยกังวล หลังประธานาธิบดีเผยว่า "อาจให้ข้อยกเว้นกับหลายประเทศ" อย่างไรก็ดี Trump ยังส่งสัญญาณเตรียมใช้ภาษีใหม่กับกลุ่ม ยาและรถยนต์ ในอนาคตอันใกล้ รวมถึงประกาศจะเก็บ "ภาษีรอง" จากประเทศที่ซื้อพลังงานจากเวเนซุเอลา                 ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือน มี.ค. ดิ่งลงสู่ 92.9 จุด ต่ำสุดในรอบกว่า 4 ปี สะท้อนความกังวลของประชาชนต่อเศรษฐกิจจากทั้ง ภาษี-เงินเฟ้อ-การเลิกจ้างภาครัฐ                 มองว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังมีโอกาสแกว่งตัวขึ้นในระยะสั้นได้ จากความคาดหวังว่า "ภาษีอาจเบากว่าคาด" แต่ปัจจัยพื้นฐานโดยรวมยังมีแรงกดดัน โดยเฉพาะความเสี่ยงเงินเฟ้อและเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ขณะที่ตลาดติดตามรายงานเศรษฐกิจสำคัญปลายสัปดาห์นี้ ทั้งตัวเลข GDP และ เงินเฟ้อ PCE ซึ่งเป็นดัชนีเงินเฟ้อที่ Fed ให้ความสำคัญ

DELTA คาดกำไร Q1 โตต่อ อุปสงค์ AI server ฟื้น หนุน เป้า 65 บ.

DELTA คาดกำไร Q1 โตต่อ อุปสงค์ AI server ฟื้น หนุน เป้า 65 บ.

             หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.เคจีไอ ระบุ แนวโน้ม AI server ยังเป็นบวก ในบทวิเคราะห์อุตสาหกรรมของ KGI Taiwan เรื่อง “Radar Monthly IT Hardware: Nvdia GTC to revive AI market sentiment” ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 ทีมวิจัยของ KGI Taiwan ยังคงมองบวกกับแนวโน้มกลุ่ม server หลังจากที่ยอดจัดส่ง server โลกเพิ่มขึ้น 2.8% YoY ใน 4Q67 ทำให้ยอดจัดส่ง server โลกในปี 2567 เพิ่มขึ้น 4% YoY เป็น 11.8 ล้านชิ้น (Figure 1) โดยโมเมนตัมน่าจะเป็นบวกต่อเนื่องในปี 2568F และ คาดว่าจะโตได้ถึง 10% YoY (Figure 2) จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ server ทั่วไป และ การเปลี่ยนมาใช้ AI server เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ CSP รายใหญ่ของสหรัฐน่าจะเดินหน้าใช้งบลงทุน (CAPEX) เพิ่มในปี 2568-2569              โดยคาดว่างบลงทุนดังกล่าวจะโตถึง 32% YoY ในปี 2568F (Figure 4) และ เนื่องจากอุปสงค์จาก CSPs สี่เจ้าใหญ่คิดเป็นสัดส่วนถึง 58% ของอุปสงค์ AI server ทั้งหมดในปี 2567F และ คาดว่าจะคิดเป็น 75% ของอุปสงค์ GB200 ทั้งหมดในปี 2568F จึงคาดว่าสัดส่วนของ AI server จะเพิ่มเป็น 12% ของยอดจัดส่งทั้งหมดในปี 2568F จาก 6% ในปี 2567 (Figure 5)              ในขณะเดียวกัน ความกังวลเกี่ยวกับนโยบายภาษีของ Trump อาจเป็นเหตุให้ i) มีการร่นคำสั่งซื้อ (pull-in orders) เข้ามาในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมก่อนที่ภาษีอัตราใหม่จะมีผลบังคับใช้ และ ii) เกิดกระแสการย้ายฐานการผลิตไปสหรัฐ อย่างเช่น TSMC (2330.TW/ 2330 TT) ที่เพิ่งประกาศแผนลงทุนเพิ่ม 1 แสนล้านดอลลาร์ฯ เพื่อสร้างโรงงานผลิต (fabrication plant) เพิ่มสามแห่ง, โรงงานบรรจุภัณฑ์ขั้นสูง (advanced packaging facilities) สองแห่ง และ ศูนย์ R&D หนึ่งแห่ง แต่เนื่องจากต้นทุนในสหรัฐูสู้กับที่อื่นไม่ค่อยได้ ทางทีมวิจัย KGI Taiwan จึงคาดว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานน่าจะเพิ่มขึ้นในปีหน้า กำไรของ DELTA ใน 1Q68 น่าจะโตได้ QoQ แต่การเติบโต YoY ยังเป็นความท้าทาย              เราคาดว่ากำไรจากธุรกิจหลักของ DELTA ใน 1Q68F จะเพิ่มขึ้น QoQ เนื่องจาก i) น่าจะได้อานิสงส์จากการร่นคำสั่งซื้อเข้ามาเพราะหมวด data center คิดเป็น ~35% ของรายได้รวม ii) GPM เพิ่มขึ้น QoQ เพราะไม่มีการปรับวัตถุดิบ, rebase สำหรับลูกค้า และ การตั้งสำรองสำหรับสินค้าที่มี defect และ iii) ค่าใช้จ่ายอาจจะลดลงเพราะไม่ต้องจ่ายค่า royalty fee ย้อนหลัง อย่างไรก็ตาม เรามองว่าการที่กำไรจะเพิ่มขึ้น YoY ยังเป็นเรื่องท้าทายเพราะ i) ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น YoY จากค่า royalty fee และ ii) ค่าใช้จ่ายภาษีเพิ่มขึ้นจากการที่แนวทาง Global minimum tax มีผลบังคับใช้ ซึ่งจะไปหักล้างกับอัตรากำไรขั้นต้นที่น่าจะเพิ่มขึ้น YoY Valuation & action          ราคาเป้าหมายสิ้นปี 2568 เอาไว้ที่ 65.00 บาท อิงจาก PER ที่ 46.0x (ค่าเฉลี่ยในอดีต) เราเชื่อว่าประมาณการกำไรปี 2568F ของเราค่อนข้างอนุรักษ์นิยมแล้ว โดยยังต่ำกว่าของนักวิเคราะห์ในตลาด 10% ในขณะเดียวกัน ราคาเป้าหมายของเราก็ถูก de-rate ลงมาที่ระดับเท่ากับค่าเฉลี่ยในอดีตแล้ว ทั้งนี้ ราคาหุ้น DELTA ลดลงมา 18% ภายในหนึ่งเดือนหลังจากที่เราปรับลดราคาเป้าหมาย และ ลดลงมาถึง 44% หลังจากที่เราปรับลดคำแนะนำเป็นขายตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ราคาหุ้นในปัจจุบันมี downside เพียง 9% เราจึงปรับเพิ่มคำแนะนำจาก “ขาย” เป็น “ถือ” Risks              ภัยธรรมชาติ, มีการปิดโรงงานนอกแผน, ลูกค้าเปลี่ยนไปสั่งสินค้าจาก supplier รายอื่น, ขาดแคลนวัตถุดิบ, เงินบาทแข็งค่าขึ้น

DELTA รุกหนัก AI แผนขยายอาเซียน

DELTA รุกหนัก AI แผนขยายอาเซียน

          หุ้นวิชั่น - DELTA เผยแผนธุรกิจปี 2568 มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ AI และขยาย Data Center รองรับการเติบโตตลาดโลก เตรียมเปิดตัวชิปรุ่นใหม่และขยายทีม R&D อีกกว่า 100 คนในอินเดีย พร้อมขยายสำนักงานในอาเซียน ตั้งเป้าสู่ RE100 ภายในปี 2573 เร่งพัฒนานวัตกรรม เสริมศักยภาพการแข่งขัน สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุนระยะยาว           นายวิกเตอร์ เฉิง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA เปิดเผยว่า บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายการเติบโตในปี 2568 ด้วยการขับเคลื่อนธุรกิจผ่านผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการขยายธุรกิจ Data Center โดยมีแผนเปิดตัวชิปรุ่นใหม่ รองรับการเติบโตของตลาด AI และขยายกำลังการผลิต รวมถึงส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน           กลยุทธ์หลักของ DELTA ในปีนี้มุ่งเน้นการสร้างการเติบโตผ่านเทคโนโลยี AI (Leverage AI-driven Growth) โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ AI ให้เป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโต พร้อมขยายการผลิตและการวิจัย (Manufacturing & R&D Expansion) เพื่อตอบโจทย์ตลาดโลก นอกจากนี้ ยังเน้นการลงทุนในทรัพยากรบุคคลเพื่อขยายองค์ความรู้ และขยายธุรกิจโซลูชันระดับภูมิภาค           ในส่วนของการขยายตลาดระดับภูมิภาค (Regional Expansion) บริษัทฯ ได้เปิดสำนักงานใหม่ในกรุงฮานอย (เวียดนาม) เขตโจฮอร์ (มาเลเซีย) และกัวลาลัมเปอร์ เพื่อสนับสนุนการเติบโตในตลาดอาเซียน ขณะเดียวกันยังมุ่งสู่เป้าหมายการใช้พลังงานหมุนเวียน 100% (RE100) ภายในปี 2573 โดยการสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับสถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ           อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญ คือ การผลักดันโครงการ "Design in India, Design for the World" ด้วยการเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาแห่งใหม่ในเมืองบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย ตั้งแต่เดือนกันยายน 2567 โดยเพิ่มทีมงาน R&D อีกกว่า 100 คน เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับการพัฒนานวัตกรรมระดับโลก (Strengthen Global Innovation)           อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงต้องติดตามประเด็นข้อพิพาทกับสำนักงานใหญ่ที่ไต้หวัน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล โดยเตรียมแผนรองรับความเสี่ยงในด้านต่างๆ และพร้อมปรับตัวให้สอดรับกับนโยบายภาษีของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งคาดว่าผลกระทบจะไม่มาก แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังและปรับกลยุทธ์อย่างเหมาะสม           ด้านโครงการ Data Center ในประเทศไทย DELTA มีบทบาทสำคัญในการออกแบบและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งขณะนี้กำลังติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่นักลงทุนในการพิจารณาการลงทุนระยะยาว เนื่องจากบริษัทฯ ยังคงเดินหน้าพัฒนาโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระยะยาว           สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2567 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายและบริการรวม 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 12% จากปีก่อนหน้า โดยอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 25% แม้ว่ากำไรจากการดำเนินงานจะได้รับผลกระทบในไตรมาสสุดท้ายของปี แต่กำไรสุทธิทั้งปีอยู่ที่ 529 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับรางวัลด้านการพัฒนาและความยั่งยืน สะท้อนถึงการเติบโตที่แข็งแกร่งและความสำเร็จในหลายด้าน ซึ่งคาดว่าจะสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในปี 2568

GPSC - DELTA บรรลุข้อตกลง ศึกษาพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน มุ่งลดคาร์บอน

GPSC - DELTA บรรลุข้อตกลง ศึกษาพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน มุ่งลดคาร์บอน

          GPSC – DELTA  บรรลุข้อตกลงร่วมมือศึกษาการจัดหาไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ทั้งรูปแบบ On-site และภายใต้ Direct PPA หรือผ่าน TPA พร้อมเดินหน้าสู่ RE 100 ด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมพลังงาน เพื่อการบริหารจัดการพลังงานครบวงจร และเป็นเครื่องมือสำคัญของภาคการผลิตและส่งออกสินค้าคาร์บอนต่ำ รับมือกติกาการค้าโลกเข้มข้น ใช้สินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม             นายมนัสชัย คงรักษ์กวิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ GPSC ได้ร่วมลงนามความร่วมมือศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดหาพลังงานหมุนเวียน หรือแสวงหาโอกาสการพัฒนาแนวทางการลดการปลดปล่อยคาร์บอนฯ ร่วมกับนวัตกรรมด้านการจัดการพลังงาน ผ่านสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง (Direct Power Purchase Agreement: Direct PPA) และ/หรือ ผ่านการขอใช้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม (Third Party Access: TPA) กับ นายแจ็คกี้ จาง ประธานฝ่ายบริหารและปฏิบัติการ (COO) และ นายเคอร์ติส คู ผู้อำนวยการธุรกิจประจำประเทศไทย บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA  ผู้นำระดับโลกด้านการจัดการพลังงานและผู้ให้บริการโซลูชันสีเขียวอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย IoT โดย GPSC จะเป็นผู้จัดหาพลังงานหมุนเวียนด้วยนวัตกรรมและโซลูชั่นต่างๆ ด้านการบริหารจัดการพลังงานอย่างครบวงจร เป็นไปตามนโยบายของ เดลต้า ที่มีความต้องการใช้พลังงานหมุนเวียนให้ได้ 100% (RE 100) สู่เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ตั้งเป้าไว้ในปี 2573           สำหรับแผนการศึกษาในครั้งนี้ จะพิจารณาพลังงานหมุนเวียน และการใช้น้ำเย็นคาร์บอนต่ำที่เหมาะสม ซึ่งสามารถนำมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีด้านจัดการพลังงาน ที่จะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานที่มีเสถียรภาพในการป้อนกำลังไฟฟ้าเพื่อการผลิต ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ระบบกักเก็บพลังงาน พร้อมด้วยการวางระบบส่งและโซลูชันด้านการบริหารจัดการพลังงานอย่างครบวงจร บริหารจัดการต้นทุนด้านพลังงาน และเป็นไปตามข้อกำหนดการส่งออกไปยังต่างประเทศ ป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิต ทั้งนี้ GPSC และ เดลต้า จะพัฒนาโครงการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) เพื่อเดินหน้าสู่การลดคาร์บอนฯ ร่วมกัน           “GPSC ในฐานะองค์กรชั้นนำด้านนวัตกรรมพลังงาน มุ่งมั่นเติบโตในพลังงานหมุนเวียน ที่มีความเชี่ยวชาญ ทั้งเทคโนโลยี และการบริการโซลูชัน พร้อมให้บริการในการออกแบบเชิงบูรณาการให้สอดรับความต้องการของลูกค้า ซึ่งสอดคล้องกับสองกลยุทธ์ทางธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่ S2 Scale-Up Green Energy และ S4 Shift to Customer-Centric Solutions  จากกลยุทธ์ 4S ซึ่งประกอบด้วย S1 สร้างความแข็งแกร่งพร้อมขยายการให้บริการให้ธุรกิจหลัก (Strengthen and Expand the Core)  S2 การพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียน (Scale-Up Green Energy) S3 การลงทุนด้านนวัตกรรมจากธุรกิจใหม่ (New S-curve) และ S4 บริการโซลูชันด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า (Shift to Customer-Centric Solutions) อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาแหล่งผลิตพลังงานหมุนเวียนประเภทต่างๆ ตามเป้าหมายที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้พลังงานหมุนเวียนของ เดลต้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นายมนัสชัย กล่าว           นายแจ็คกี้ จาง ประธานฝ่ายบริหารและปฏิบัติการ (COO) ของบริษัทเดลต้า ประเทศไทย กล่าว “ความยั่งยืนคือหัวใจของเดลต้า เรามุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจโดยใช้นวัตกรรมและให้ความสำคัญกับการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งในยุคที่มีความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดคือพันธกิจสำคัญของเรา โดยเรามุ่งหวังใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2573 และบรรลุเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2593 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมของเดลต้า เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับการยอมรับจากดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ เช่นเดียวกับ GPSC ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงเจตนารมณ์เดียวกันของทั้งสองบริษัทในการสร้างความยั่งยืน ความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพด้านพลังงานสะอาด การจัดเก็บพลังงาน และผลักดันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน”           จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมต้องปรับเปลี่ยนการใช้พลังงาน โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน หรือพลังงานสะอาดมากขึ้น รวมถึงปัจจัยทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลต่อราคาพลังงานให้มีความผันผวนในระดับสูง และข้อกำหนดการค้าระหว่างประเทศที่เข้มข้นในเรื่องการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ผู้ประกอบการผลิตสินค้าต้องแสวงหาการพัฒนาพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งปัจจุบัน GPSC มีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางด้านพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม สอดรับกับผู้ประกอบที่แสวงหานวัตกรรมการผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและบริบทใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เดลต้า  อีเลคโทรนิคส์ ในฐานะพลเมืององค์กรระดับโลกและผู้นำด้านการจัดการพลังงานและความร้อน เดินหน้าพัฒนาโซลูชันที่เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พลังงานยั่งยืนเข้าถึงได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  โดยบริษัทไม่ได้เพียงแต่อิงตามกระแสเท่านั้น แต่ยังมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์กำลังขั้นสูง ที่จะช่วยส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ระบบจัดเก็บพลังงานอัจฉริยะ และระบบการจัดการพลังงานที่ตอบโจทย์ความต้องการในปัจจุบัน ด้วยความร่วมมือกับ GPSC เดลต้ามุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมให้กับภาคอุตสาหกรรมและชุมชนสู่อนาคตที่ยั่งยืน

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

“โกลเบล็ก” คัดหุ้นเด่นดัชนี MSCI Rebalance

“โกลเบล็ก” คัดหุ้นเด่นดัชนี MSCI Rebalance

           กรุงเทพฯ - บล. โกลเบล็ก (GBS) ประเมินหุ้นไทยลง จากแรงกดดันของหุ้น DELTA หลังประกาศงบออกมาผิดคาด พร้อมติดตามการรายงานผลการดำเนินของบริษัทจดทะเบียนรายอื่นต่อ จึงให้กรอบการเคลื่อนไหวของดัชนี 1,220-1,290 จุด แนะกลยุทธ์ลงทุนหุ้นเข้า-ออก ดัชนี MSCI Rebalance นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด หรือ GBS ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นไทย SET มีโอกาสปรับตัวลง จากแรงกดดันของหุ้น DELTA หลังประกาศงบออกมาต่ำกว่าตลาดคาด ขณะที่ปัจจัยในประเทศยังติดตามผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนอย่างใกล้ชิด ล่าสุด ตลท. สรุปมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์สะสมตามกลุ่ม นักลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-14 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่าสถาบันในประเทศขายสุทธิ 9,350.06 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 662.53 ล้านบาท นักลงทุน ต่างประเทศขายสุทธิ 9,947.33 ล้านบาท นักลงทุนในประเทศ ซื้อสุทธิ 18,634.86 ล้านบาท จึงให้กรอบดัชนีระหว่าง 1,220-1,290 จุด            สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุนที่จับตาในประเทศ อาทิ สัปดาห์ที่ 3 ส.อ.ท. แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม, ส.อ.ท. แถลงยอดผลิตและส่งออกรถยนต์, วันที่ 26 ก.พ. กำหนดประชุม กนง. ครั้งที่ 1/2568, วันที่ 28 ก.พ. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจและการเงินไทย, สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศ, สศอ. แถลงดัชนีอุตสาหกรรม, สศค. รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค,  ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ส่วนสถานการณ์ต่างประเทศที่น่าจับตา ได้แก่ วันนี้ 19 ก.พ. ญี่ปุ่น รายงานยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนม.ค. ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรเดือนธ.ค.,จีน รายงานดัชนีราคาบ้านเดือนม.ค., สหรัฐ รายงานตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนม.ค., เช้าวันที่ 20 ก.พ. เฟดเผยรายงานการประชุมวันที่ 28-29 ม.ค., วันที่ 20 ก.พ. จีน รายงานอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปีและ 5 ปี, สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนีการผลิตเดือนก.พ. และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนม.ค.            ดังนั้น แนะนำกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจของภาครัฐ  เช่น หุ้นที่ได้ประโยชน์จากโครงการ Easy-E receipt ได้แก่ CRC, COM7, ERW, CENTEL, MINT, M, AU, TNP, SIS, SYNEX, IP และ HL รวมทั้งหุ้นที่เข้า-ออก ดัชนี MSCI Rebalance โดย MSCI Global Standard : ไม่มีหุ้นเข้า แต่มีหุ้นออก ได้แก่  PTTGC, TOP ส่วน MSCI Global Small Cap : หุ้นเข้า ได้แก่ GPSC, PTTGC, SCGP, TOP และหุ้นออก ได้แก่ BSRC, DCC, ERW, GFPT, KAMART, PSG, PSH, SAPPE, STECON, THG, TIPH (ใช้ราคาปิด 28 ก.พ.)            ด้านนายณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.โกลเบล็ก ประเมินราคาทองคำปรับตัวลงจากแรงขายทำกำไรเนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดในปี 68 อยู่ที่ 10%YTD ขณะที่สินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นให้ผลตอบแทนเพียง 4%YTD โดยทองคำยังได้แรงหนุนจากความกังวลสงครามการค้าที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น หลังนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมจากทุกประเทศ อีกทั้งได้ลงนามมาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) คาดมีผลบังคบใช้เดือน เม.ย. อย่างไรก็ตามสหรัฐเผยตัวเลขเงินเฟ้อ CPI และ PPI ปรับตัวขึ้นสูงกว่าคาด ประกอบกับประธานเฟดส่งสัญญาณไม่เร่งปรับลดอัตราดอกเบี้ย ทำให้นักลงทุนเลื่อนคาดการณ์ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นเดือน ก.ย. จากเดิมคาดว่าจะปรับลดในเดือน ก.ค. เป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำปรับตัวขึ้นได้อย่างจำกัด มองกรอบทองคำสัปดาห์นี้ 2,880 – 2,950 $/Oz ทยอยขายทำกำไรที่แนวต้าน

DELTA แจงข้อมูลงบ Q4/67 เพิ่ม หลังราคาหุ้นร่วงหนัก

DELTA แจงข้อมูลงบ Q4/67 เพิ่ม หลังราคาหุ้นร่วงหนัก

          หุ้นวิชั่น - บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DELTA) เปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า จากการรายงานผลประกอบการประจำปี 2567 ที่ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ส่งผลให้เกิดความผันผวนในการซื้อขายและราคาหลักทรัพย์ของบริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญในวันเปิดการซื้อขายต่อมา บริษัทฯ จึงใคร่ขอเรียนชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการดำเนินงานในไตรมาส 4/2567 เพื่อประกอบการพิจารณาของนักลงทุน           1.ยอดขายสินค้าและบริการในไตรมาสนี้อยู่ที่ 41,747 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10.6% แต่ลดลงจากฐานสูงในไตรมาสก่อน 3.4% ขับเคลื่อนโดยกลุ่มผลิตภัณฑ์พาวเวอร์ซิสเต็มสำหรับระบบศูนย์ข้อมูล และดีซีพาวเวอร์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานปัญญาประดิษฐ์ ยังมีแนวโน้มแข็งแกร่งต่อเนื่อง ร่วมกับโซลูชันโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เติบโตได้ดีจากไตรมาสก่อนและปีที่แล้ว จากแนวโน้มความต้องการลงทุนเพื่อยกระดับดาต้าเซ็นเตอร์สำหรับการประมวลผลสมรรถนะสูง อย่างไรก็ตาม รายได้ส่วนกลุ่มโซลูชันสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่แล้ว สอดคล้องกับทิศทางตลาดโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว           2.กำไรขั้นต้นในไตรมาสนี้มีจำนวน 9,376 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.2% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลง 21.4% จากฐานสูงของไตรมาสที่แล้ว โดยมีสาเหตุหลักดังนี้ 2.1 สกุลเงินดอลลาร์ส่งผลต่อค่าเงินบาทแข็งในต้นไตรมาส 4 ทำให้เกิดการรับรู้ขาดทุนในต้นทุนสินค้าคงคลังมูลค่า 13.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 2.2 การให้เงินคืนอุดหนุนแก่ลูกค้า มูลค่า 6.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากยอดขายสูงในกลุ่มผลิตภัณฑ์ดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงการค้า 2.3 หน่วยงานโซลูชัน Magnetic ซึ่งผลิตชิ้นส่วนสำหรับใช้ภายในหลากหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์ เกิดกรณีข้อบกพร่องของวัตถุดิบที่ได้ประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปส่งมอบให้ลูกค้าแล้ว ทำให้บริษัทฯ ต้องดำเนินการแก้งาน พร้อมตั้งสำรองค่าใช้จ่ายที่ครอบคลุมการดำเนินการดังกล่าว มูลค่า 16.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 2.4 อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าว บริษัทฯ ยังสามารถควบคุมบริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีการกลบกลับรายการตั้งสำรองมูลค่าสินค้าคงคลังออกมาเพิ่มเติมบางส่วน เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบของค่าใช้จ่ายไม่ประจำที่เกิดขึ้นในไตรมาสนี้           3.ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (รวมการวิจัยและพัฒนา) มีจำนวน 7,044 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.6% จากไตรมาสก่อน และ 61.8% จากปีก่อนหน้านี้ โดยมีสาเหตุหลักดังนี้: 3.1 ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา มีช่วงฤดูกาลที่บันทึกยอดจากโครงการต่าง ๆ ของศูนย์วิจัยที่เยอรมนีสูงขึ้นในช่วงปลายปี ทั้งนี้เป็นไปตามกลยุทธ์ในการเพิ่มการลงทุนเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีแห่งอนาคต ตามแนวโน้มธุรกิจหลักที่มีดีมานด์ความต้องการสูง 3.2 ค่าสิทธิจ่าย ซึ่งบันทึกอยู่ในค่าใช้จ่ายการขาย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นช่วงปีที่ผ่านมา เนื่องจากยอดขายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เติบโตสูง อย่างไรก็ตาม ไตรมาสนี้มีการประเมินและปรับปรุงอัตราการเรียกเก็บค่าสิทธิจ่ายสำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นเพิ่มเติมและมีผลคำนวณย้อนถึงต้นปี ทำให้ค่าสิทธิจ่ายเพิ่มสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ อัตราดังกล่าวได้รับการสอบทานเปรียบเทียบกับมาตรฐานอุตสาหกรรมเทคโนโลยีโดยผู้เชี่ยวชาญการประเมินอย่างสมเหตุสมผล (บริษัท PWC) 3.3 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการบันทึกค่าใช้จ่ายทางกฎหมายในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2567 โดยยอดรวมค่าใช้จ่ายทางกฎหมายในปีนี้มีมูลค่า 1,008 ล้านบาท (หมายเหตุประกอบงบข้อ 24) ทั้งนี้เกิดจากกลุ่มบริษัทเดลต้ามีข้อพิพาทด้านสิทธิบัตรเทคโนโลยีกับคู่กรณีในสหรัฐอเมริกา สถานะคดียังไม่สิ้นสุดและอยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป ส่งผลให้ยังมีปัจจัยกดดันจากค่าใช้จ่ายในส่วนนี้

DELTA คาดกำไรปี68 โต11% แนะ“TRADING” เป้าที่ 78.00 บ.

DELTA คาดกำไรปี68 โต11% แนะ“TRADING” เป้าที่ 78.00 บ.

          หุ้นวิชั่น - บล.หยวนต้า ประเมินหุ้น DELTA โดย GPM ใน 4Q24 ทำได้ 22.5% (-513 bps QoQ, -208 bps YoY) GPM ที่อ่อนแอมาจาก 1) การขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 13.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 2) การให้ส่วนลดกับลูกค้ากลุ่ม Data Center ที่ทำยอดได้ตามเป้า 6.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 3) กลุ่มธุรกิจ Magnetics Solution Business Unit (MSBU) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่ DELTA ผลิตไว้ใช้ภายในสำหรับหลากหลายกลุ่มสินค้า เกิด Defect หรือข้อบกพร่องบางอย่างในการผลิต ส่งผลให้สินค้าที่ส่งมอบให้ลูกค้าไปแล้วต้องเรียกคืนและแก้ไขงานให้กับลูกค้า นำไปสู่การตั้งสำรอง 16.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่มีการกลับรายการการตั้งสำรองสินค้าคงเหลือมาช่วยบางส่วนประมาณ 300 ล้านบาท แต่ยังไม่เพียงพอ           ► SG&A ใน 4Q24 ที่ 7.0 พันล้านบาท (+19% QoQ, +62% YoY) SG&A ที่เพิ่มขึ้นหลักๆ มาจาก Royalty fee ที่เพิ่มขึ้น 1) ค่า Royalty fee ที่จ่ายให้ Delta Taiwan เพิ่มขึ้นไปครอบคลุมส่วนสินค้าที่ไม่ใช่ AI จากก่อนหน้านี้คิดแค่ส่วนของ AI และมีการปรับอัตราการเก็บเพิ่มขึ้น และมีการคิดย้อนหลังทั้งปี 2024 ทำให้ยอดเพิ่มขึ้น 26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เราคาดว่ายังปรับขึ้นต่อเพราะมีโอกาสจะถูกคิดเพิ่มได้อีก เป็นปัจจัยที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ 2) มีค่า Legal Fee และ R&D เพิ่มขึ้น           ► ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกฎหมายที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีคู่กรณีในตลาดสหรัฐฯ ฟ้องร้องการออกแบบของสินค้ากลุ่ม DC Power ที่ผลิตในไทยบางประเภทไปละเมิด design patent ของคู่ค้า โดยมีกระบวนการสืบสวนเบื้องต้น ผลออกมามีคำสั่งจากหน่วยงานในสหรัฐฯ ให้หยุดขายสินค้ากลุ่มดังกล่าวในตลาดสหรัฐฯ DELTA Guidance ผลกระทบจำกัดเพราะมีการเตรียมทำการ redesign สินค้ากลุ่มนี้เพื่อให้ผ่านเงื่อนไขไว้บางส่วนแล้วและ DELTA ยังมีโอกาสยื่นอุทธรณ์ได้ต่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือก แต่หากเลือกการอุทธรณ์อาจจะมี Legal Fee ต่อเนื่องในช่วง 1H25           ► ตั้งเป้าหมายปี 2025 รายได้สกุลดอลลาร์สหรัฐฯ รวมเติบโตในกรอบ 10%-15% YoY GPM ที่ระดับ 25% และ Tax Rate จะปรับขึ้นเป็นระดับ 15% Guidance ดังกล่าวใกล้เคียงสมมติฐานเบื้องต้นของเราที่รายได้ 11% YoY GPM 25% และ Tax Rate 15% Our Take           ► เราคงคำคาดการณ์กำไรปกติปี 2025 ที่ 2.0 หมื่นล้านบาท (+11% YoY) เราคงราคาหุ้นเหมาะสม ณ สิ้นปี 2025 ที่ 78.00 บาทต่อหุ้น อิง PER ที่ +0.25SD ที่ 49x           ► เนื่องจากหุ้นปรับฐานลงมาแล้ววันนี้ ทำให้เราปรับเพิ่มคำแนะนำขึ้นเป็น “TRADING” เชิงพื้นฐาน เราประเมินราคาหุ้นที่น่าสนใจที่ระดับต่ำกว่า 70.00 บาทต่อหุ้น

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

S&P Global เลือก DELTA เข้า Sustainability Yearbook ปี68

S&P Global เลือก DELTA เข้า Sustainability Yearbook ปี68

          หุ้นวิชั่น - กรุงเทพฯ ประเทศไทย, 17 กุมภาพันธ์ 2568 - บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้นำระดับโลกด้านการจัดการพลังงานและผู้ให้บริการโซลูชันสีเขียวอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย IoT ได้รับการจัดอันดับใน S&P Global Sustainability Yearbook ประจำปี 2568 นับเป็นปีที่แปดติดต่อกันที่บริษัทฯ ได้รับการยอมรับในฐานะบริษัทที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นและยอดเยี่ยมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ทั้งนี้ S&P Global Sustainability Yearbook เป็นทำเนียบรวบรวมรายชื่อบริษัทชั้นนำด้านความยั่งยืนตามการจัดอันดับดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI) โดยเดลต้า ประเทศไทย เป็นบริษัทจดทะเบียนไทยเพียงรายเดียวในกลุ่มอุตสาหกรรม “ชิ้นส่วนอุปกรณ์ เครื่องมือและส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์” ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่ทำเนียบนี้           เดลต้ามุ่งเน้นการดำเนินงานด้านความยั่งยืนด้วยแนวทางที่มุ่งเน้นการดำเนินงานที่เห็นผลจริงและวัดผลได้ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม โดยกลยุทธ์ด้าน ESG ของบริษัทฯ ตั้งอยู่บนหลักการของความโปร่งใส ความร่วมมือ และการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง           นายเคเค ชง หัวหน้าฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) กล่าวถึงความสำเร็จครั้งนี้ว่า “เราเชื่อว่าความยั่งยืนคือการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีคุณค่าในระยะยาว ซึ่งจะช่วยให้เดลต้าเติบโตไปพร้อมกับสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสิ่งแวดล้อม การที่เราได้รับคัดเลือกให้อยู่ในรายชื่อ S&P Global Sustainability Yearbook และเข้าเป็นสมาชิกของดัชนี DJSI ไม่เพียงยืนยันถึงความก้าวหน้าของเรา แต่ยังเป็นแรงผลักดันให้เราพัฒนาต่อไป เพื่อยืนหยัดในการขับเคลื่อนความยั่งยืนด้วยแนวทางที่เป็นรูปธรรมและมีคุณค่าอย่างต่อเนื่อง”           ในปีนี้ S&P Global Sustainability Yearbook ได้ทำการประเมินบริษัทกว่า 7,690 แห่งจาก 62 อุตสาหกรรมทั่วโลก และคัดเลือกเหลือเพียง 780 บริษัทเพื่อบรรจุใน Yearbook การได้รับคัดเลือกในครั้งนี้ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเดลต้า ประเทศไทยในการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม           เดลต้า ประเทศไทย ได้ผนวกความยั่งยืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานมาอย่างยาวนาน โดยบริษัทฯ ลงทุนอย่างต่อเนื่องในโครงการต่าง ๆ เพื่ออนุรักษ์และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการสร้างมูลค่าทางธุรกิจในระยะยาว นับตั้งแต่ปี 2560 บริษัทฯ สามารถลดความหนาแน่นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกไซต์งานลงได้กว่าร้อยละ 33 อีกทั้งร้อยละ 23 ของรายได้รวมของบริษัทฯ ยังมาจากโซลูชันเทคโนโลยีสะอาด (clean technology solutions) และบริษัทฯ ยังใช้วัสดุรีไซเคิลในกระบวนการผลิตกว่าร้อยละ 22 ของวัตถุดิบทั้งหมด นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้กำกับดูแลให้ซัพพลายเออร์ทั้งหมดปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณแห่งพันธมิตรธุรกิจผู้มีความรับชอบ (RBA Code of Conduct) เพื่อเสริมสร้างการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน           ก้าวต่อไปสู่อนาคต เดลต้าจะยังคงมุ่งมั่นเสริมสร้างการดำเนินงานด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ กำลังศึกษาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนในด้านต่าง ๆ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร การเพิ่มศักยภาพโครงการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน และการเร่งพัฒนานวัตกรรมโซลูชันคาร์บอนต่ำ และด้วยการผนวกความยั่งยืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานเหล่านี้ เดลต้าจึงสามารถขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตควบคู่ไปกับการดำเนินงานตามหลักการ ESG ได้อย่างมีประสิทธิภาพ           แม้เดลต้า ประเทศไทย จะได้รับการยอมรับใน S&P Global Sustainability Yearbook ซึ่งถือเป็นเครื่องยืนยันความก้าวหน้าที่สำคัญ แต่ความสำเร็จดังกล่าวถือเป็นเพียงก้าวหนึ่งบนเส้นทางอันยาวไกล บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นที่จะนำเสนอโซลูชันที่ช่วยสนับสนุนอนาคตที่ยั่งยืนและสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ก้าวไปไกลกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อตอกย้ำกับคำมั่นสัญญาของบริษัทที่ว่า “Smarter. Greener. Together.”

ตลท.แจงหุ้นร่วง เหตุราคาหุ้น DELTA รับข่าวผลงานต่ำคาด-AOT ข่าวสัมปทาน

ตลท.แจงหุ้นร่วง เหตุราคาหุ้น DELTA รับข่าวผลงานต่ำคาด-AOT ข่าวสัมปทาน

         ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) เปิดภาคเช้าวันนี้ (17 ก.พ. 2568) ปรับลดลง 31.96 จุด หรือ 2.51% ลดลงจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา มาอยู่ที่ 1,240.14 จุด สาเหตุหลักมาจากการปรับลงของราคาหุ้น DELTA ที่ลดลงหลังข่าวผลประกอบการที่ลดลงต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ และการปรับลดลงของหุ้น AOT เนื่องจากข่าวสัญญาสัมปทาน อย่างไรก็ตามบริษัทได้ชี้แจงเพิ่มเติมมาแล้วเช้าวันนี้ โดยล่าสุด (ณ เวลา 10.28 น.) ดัชนี SET Index อยู่ที่ 1,248.57 จุด ปรับลดลง 1.85% หรือ 23.53 จุด

DELTA ดิ่งฟลอร์ โบรกฯ แนะเลี่ยงลงทุนระยะสั้น

DELTA ดิ่งฟลอร์ โบรกฯ แนะเลี่ยงลงทุนระยะสั้น

        หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.กรุงศรี ระบุ แนะนำให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงการลงทุนใน DELTA ในระยะสั้น หลังจากที่ ตลาดได้ตอบรับผลการดำเนินงานต่ำกว่าคาดการณ์ใน 4Q67 เนื่องจากกำไรของ DELTA ในไตรมาสนี้อยู่ต่ำกว่าประมาณการของตลาดและของบล.กรุงศรี อย่างมากถึง 60% โดยลดลงอย่างมีนัยสำคัญเหลือเพียง 2 พันล้านบาท (-53% yoy, -67% qoq) ซึ่งเป็นกำ ไรรายไตรมาสทต่ำที่สุดในรอบสามปี คำแนะนำปัจจุบันคือ “ขาย” ที่ราคาเป้าหมาย 110 บาท *กำไร 4Q67 ออกมาต่ำคาดอย่างมาก         รายได้ของ DELTA ใน 4Q67 อ่อนตัวลง 3% qoq สู่ระดับ 41.7 พันล้านบาท (+11% yoy) ซึ่งต่ำกว่าประมาณการของฝ่ายวิจัยเล็กน้อย แต่ GPM อยู่ที่เพียง 22.5% เทียบกับ 27.6% ใน 3Q67 ต่ำกว่าประมาณการที่ 25.5% ซึ่งเกิดจากค่าใช้จ่ายครั้งเดียวที่บันทึกในไตรมาสนี้อยู่ที่ประมาณ 1 พันล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (SG&A) พุ่งสูงขึ้นสู่ระดับ 7 พันล้านบาท ซึ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ เพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา โดยมีผลมาจากค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นให้กับ DELTA ไต้หวัน หลังจากมีการผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ AI เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เช่นกัน *มีความเสี่ยงต่อประมาณการกำไรปี 68         ผลการดำเนินงานที่อ่อนแอใน 4Q67 ทำให้กำไรของ DELTA ในปี 67เติบโตเพียง 4.5% yoy สู่ระดับ 1.89 หมื่นล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าประมาณการของเรา 17% สิ่งนี้ส่งผลให้มีความเสี่ยงด้านลบต่อประมาณการกำไรสำหรับปี 68 ที่ 2.4 หมื่นล้านบาท (+34% yoy) ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยอยู่ระหว่างรอการอัพเดทเพิ่มเติมจากบริษัทเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ก่อนที่จะปรับปรุงประมาณการกำไร *หลีกเลี่ยงในระยะสั้น         ราคาหุ้นของ DELTA มักจะได้รับการประเมินมูลค่าที่พรีเมี่ยมเมื่อเทียบกับหุ้นในกลุ่ม เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์แนวโน้มการเติบโตในอนาคต ได้แก่ AI และ data centerอย่างไรก็ตาม ด้วยผลการดำเนินงานที่ต่ำกว่าคาดการณ์ใน 4Q67 และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับต้นทุนในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่าย SG&A และ GMT ซึ่งจะกดดันการเติบโตในปี 68         แนะนำให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงการลงทุนใน DELTA ในระยะสั้น แม้ว่าราคาหุ้นจะลดลงมากกว่า 35% จากระดับสูงสุดและซื้อขายใกล้เคียงกับราคาเป้าหมาย ทั้งประมาณการกำไรต่อหุ้น (EPS) และ P/E มีความเสี่ยงด้านลบ ราคาเป้าหมาย 110 บาท อิงจาก P/E 57 เท่า(+0.5SD) และมีประกาศจ่ายเงินปันผลสำหรับปี 67 ที่ 0.46 บาทต่อหุ้น

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

DELTA ทุ่มงบกว่า 3,424 ล้าน ลุยสร้างโรงงานใหม่ในบางปู

DELTA ทุ่มงบกว่า 3,424 ล้าน ลุยสร้างโรงงานใหม่ในบางปู

         หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน นายเจิ้ง อัน กรรมการบริษัท บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า บริษัทขอแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท ครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ได้มีมติอนุมัติการทำรายการ อนุมัติการซื้อเครื่องจักรกับบุคคลเกี่ยวโยง ภายในไตรมาส 2 ปี 2568 ผู้ซื้อ : บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”)ผู้ขาย : บริษัท Delta Electronics, Inc (DEI) เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 5.54 ของบริษัทฯ บริษัท Delta Electronics Int’l (Singapore) Pte. Ltd. เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ถือหุ้นร้อยละ 42.85 ของบริษัทฯ และเป็นบริษัทย่อยของ Delta Electronics, Inc (DEI) ที่ถือหุ้นทางอ้อมร้อยละ 100 ของทุนชำระแล้ว บริษัท Cyntec Electronics (Suzhou) Co., Ltd. บริษัทย่อยของ Delta Electronics, Inc (DEI) ที่ถือหุ้นทางอ้อมร้อยละ 100 ของทุนชำระแล้ว การซื้อเครื่องจักรใหม่ • ประเภทและมูลค่ารายการ: การซื้อเครื่องจักรใหม่มูลค่าสิ่งตอบแทนรวมประมาณ 432.18 ล้านบาท (หรือประมาณ 12.78 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยมีรายละเอียดดังนี้ ➢ การซื้อเครื่องจักรจากบริษัท Delta Electronics, Inc มูลค่าสิ่งตอบแทนประมาณ 177.29 ล้านบาท (หรือประมาณ 5.24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เท่ากับราคาที่ประเมินโดยผู้ประเมินอิสระ ➢ การซื้อเครื่องจักรจากบริษัท Delta Electronics Int’l (Singapore) Pte. Ltd. มูลค่าสิ่งตอบแทนประมาณ 254.89 ล้านบาท (หรือประมาณ 7.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เท่ากับราคาที่ประเมินโดยผู้ประเมินอิสระ • ขนาดรายการรวม: คิดเป็นร้อยละ 0.549 ของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 • แหล่งเงินทุน: เงินทุนหมุนเวียนของบริษัทฯ • เงื่อนไขการชำระเงิน: ภายใน 70 วันหลังจากได้รับเครื่องจักร • ประโยชน์ที่บริษัทจดทะเบียนจะได้รับ: เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การผลิตของบริษัทในการเปลี่ยนแปลงสู่โรงงานอัจฉริยะ Delta Smart Manufacturing ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิในการผลิตให้กับบริษัทฯ มากขึ้น การซื้อเครื่องจักรเก่า • ประเภทและมูลค่ารายการรวม: การซื้อเครื่องจักรเก่าจากบริษัท Cyntec Electronics (Suzhou) Co., Ltd. มูลค่าสิ่งตอบแทนประมาณ 49.03 ล้านบาท (หรือประมาณ 1.45 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เท่ากับราคาที่ประเมินโดยผู้ประเมินอิสระ • ขนาดรายการรวม: คิดเป็นร้อยละ 0.062 ของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 • แหล่งเงินทุน: เงินทุนหมุนเวียนของบริษัทฯ • เงื่อนไขการชำระเงิน: ภายใน 70 วันหลังจากได้รับเครื่องจักร • ประโยชน์ที่บริษัทจดทะเบียนจะได้รับ: การซื้อเครื่องจักรข้างต้นเป็นการรับโอนเครื่องจักรมาผลิตในประเทศไทยเพื่อตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าที่ต้องการให้ย้ายการผลิตมาจากประเทศจีนมายังประเทศไทยของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (CPBG) ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทฯ มียอดคำสั่งซื้อในกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้างต้นมากขึ้น และอนุมัติการซื้อเครื่องจักรของบริษัทย่อยกับบุคคลเกี่ยวโยง ในไตรมาส 1 ปี 2568 โดยคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องและความสัมพันธ์กับบริษัทจดทะเบียน ผู้ซื้อ: บริษัท Delta Electronics India Pvt. Ltd. (DIN) เป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นทางอ้อมร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียนแล้ว ผู้ขาย: บริษัท Delta Electronics Int’l (Singapore) Pte. Ltd. เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ถือหุ้นร้อยละ 42.85 ของบริษัทฯ และเป็นบริษัทย่อยของ Delta Electronics, Inc (DEI) ที่ถือหุ้นทางอ้อมร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียนแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา กลุ่มบริษัท DEI เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ โดย ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 ถือหุ้นในบริษัทฯ ทั้งทางตรงและทางอ้อมประมาณร้อยละ 63.07 ของหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วของบริษัทฯ          นอกจากนี้ยังอนุมัติการก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ (โรงงาน D16, D17 และ D18) ในเขตบางปู จ.สมุทรปราการของบริษัทฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้ • วัน เดือน ปี ที่ก่อสร้าง – คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2568 และจะแล้วเสร็จภายในกันยายน ปี 2569 • ขนาดและที่ตั้งของที่ดิน โรงงาน D16: อาคาร 4 ชั้น ขนาดอาคารรวม 25,500 ตารางเมตร ในเขตบางปู จ.สมุทรปราการ โรงงาน D17: อาคาร 7 ชั้น (อาคารจอดรถและโรงอาหาร) ขนาดอาคารรวม 26,500 ตารางเมตร ในเขตบางปู จ.สมุทรปราการ โรงงาน D18: อาคาร 4 ชั้น ขนาด 55,000 ตารางเมตร ในเขตบางปู จ.สมุทรปราการ • มูลค่ารายการ – ประมาณ 3,424 ล้านบาท • ขนาดของรายการ – ประมาณร้อยละ 2.78 ของสินทรัพย์รวมของบริษัทฯ ตามงบการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 • ผู้รับเหมาก่อสร้าง – อยู่ระหว่างการพิจารณาแต่ไม่มีความสัมพันธ์กับบริษัทฯ • เงื่อนไขการชำระเงิน – ตามความคืบหน้าของงาน • ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ – ตอบสนองต่อศักยภาพการเติบโตสูงของกลุ่มธุรกิจเพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ กำลังและระบบ (PSBG) และกลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICTBG) ของกลุ่มบริษัทเดลต้า รวมถึงรองรับการขยายตัวด้านการวิจัยและพัฒนาเพิ่มเติม • แหล่งเงินทุนที่ใช้ – เงินหมุนเวียนจากการดำเนินงานของบริษัทฯ

DELTA กำไรสุทธิปี 67 แตะ 1.9 หมื่นลบ. รับอานิสงค์ AI

DELTA กำไรสุทธิปี 67 แตะ 1.9 หมื่นลบ. รับอานิสงค์ AI

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DELTA) รายงานผลประกอบการ ปี 2567 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 18,939 ล้านบาท เทียบกับ 12.6% และ 12.9% ในปี 2566 และ 2565 กำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 1.52 บาทในปี 2567 เทียบกับ 1.48 บาทในปี 2566 และ 1.23 บาทในปี 2565           และมีกำไรจากการดำเนินงานในปี 2567 อยู่ที่ 10.8% เทียบกับ 12.3% และ 12.2% ในปี 2566 และ 2565 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารตามที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้           บริษัทฯ มียอดขายจำนวน 164,732 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.5% และ 39% จากปี 2566 และปี 2565 ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของกลุ่มธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์กำลังไฟฟ้า โดยได้รับแรงหนุนจากโซลูชันการจัดการพลังงานสำหรับศูนย์ข้อมูลและ DC-DC คอนเวอร์เตอร์สำหรับไมโครโปรเซสเซอร์ที่มีความต้องการสูง เพื่อรองรับแนวโน้มการใช้งานที่ขับเคลื่อนด้วย AI กล่าวโดยสรุป เทคโนโลยี AI ได้เร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูลและเครือข่ายเพื่อรองรับความต้องการในการประมวลผลประสิทธิภาพสูง           ในปี 2567 สัดส่วนรายได้จากการขายในตลาดเอเชียเพิ่มขึ้นจาก 39% เป็น 44% ในทางกลับกัน สัดส่วนรายได้จากการขายในภูมิภาคอเมริกาเหนือและยุโรปลดลงจาก 32% เป็น 29% และจาก 28% เป็น 26% ตามลำดับ *ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน           การขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 70 ล้านบาทในปี 2567 เทียบกับกำไรจำนวน 675 ล้านบาทในปี 2566 เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงอย่างมากเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่า FED จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งในปี 2568 อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงปฏิบัติตามนโยบายที่รอบคอบในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิของแต่ละสกุลเงินเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน           ต้นทุนขายในปี 2567 คิดเป็น 75.4% ของยอดขายรวม เทียบกับ 77.1% และ 76.4% ในปี 2566 และ 2565 ตามลำดับ โดยในปี 2567 อัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมานั้น เนื่องจากมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังให้มีอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังสูงขึ้น โดยเฉพาะจากกลุ่มธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์กำลังไฟฟ้าสำหรับศูนย์ข้อมูลที่ออกแบบเฉพาะสำหรับการประมวลผลประสิทธิภาพสูง           ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (รวมถึงการวิจัยและพัฒนา) ในปี 2567 เพิ่มขึ้น 46.2% และ 68.3% จากปี 2566 และ 2565 ตามลำดับ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขาย พร้อมกับค่าธรรมเนียมการสนับสนุนทางเทคนิคที่เกี่ยวกับ AI เพื่อรองรับความต้องการตลาดที่เพิ่มขึ้นในแอปพลิเคชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI

DELTA ปันผล 0.46 บาท XD 27 ก.พ. 2568

DELTA ปันผล 0.46 บาท XD 27 ก.พ. 2568

         หุ้นวิชั่น - บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA ที่ประชุมคณะกรรมการมีมติ อนุมัติการจ่ายเงินปันผล 0.46 บาทต่อหุ้น วันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล(XD) : 27 ก.พ. 2568 และกำหนด วันที่จ่ายปันผล : 28 เม.ย. 2568

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

DELTA ดิ่งหนัก 7% ขายลดเสี่ยง รับผลกระทบจำกัดน้ำหนัก SET50-SET100

DELTA ดิ่งหนัก 7% ขายลดเสี่ยง รับผลกระทบจำกัดน้ำหนัก SET50-SET100

หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี ระบุ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำลังรับฟังความคิดเห็นกรณีปรับปรุงวิธีคำนวณดัชนี SET50 และ SET100 เพื่อลดผลกระทบของดัชนีจากหลักทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ และทำให้การกระจายตัวของน้ำหนักหลักทรัพย์เหมาะสมมากขึ้น และจะนำแนวทางนี้มาใช้กับดัชนี SET50, SET100, SET50FF และ SET100FF การศึกษาของตลาดหลักทรัพย์พบว่าดัชนีชั้นนำในต่างประเทศใช้การจำกัดน้ำหนักในหลายแนวทางหลักๆ ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบ การจำกัดน้ำหนักในระดับรายหลักทรัพย์ (วิธีที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ วางแผนเลือกใช้) เป็นแนวทางที่แพร่หลาย โดยดัชนีที่ศึกษากำหนดเพดานน้ำหนักต่อ 1 หุ้นบริษัทจะอยู่ในกรอบ 8% - 15% การจำกัดน้ำหนักของกลุ่มหลักทรัพย์ขนาดใหญ่หรือกลุ่มอุตสาหกรรม ถูกใช้ในดัชนีชั้นนำ เช่น MSCI และ NASDAQ100  โดยในกรณีของ NASDAQ100 หลักทรัพย์ 5 อันดับแรกที่มีมูลค่าตลาดใหญ่ที่สุดจะต้องมีน้ำหนักรวมกันไม่เกิน 38.5% ของมูลค่าตลาดดัชนี ทั้งนี้ในเบื้องต้นการเสนอรับฟังความคิดเห็น ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีแผนจะจำกัดน้ำหนักของ 1 หลักทรัพย์ในดัชนี SET50, SET100, SET50FF และ SET100FF ไม่เกิน 10% ของมูลค่าตลาดของดัชนี KSS ประเมินผลกระทบ อิงตามกรอบข้อเสนอเบื้องต้น ประเมินหลักทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบเชิงลบใน SET50 และ SET100 ได้แก่  DELTA คาดว่าจะมีเม็ดเงินไหลออกจากกองทุน Passive fund ราว +/- 1,600 ล้านบาท เนื่องจากปัจจุบัน DELTA มีน้ำหนักใน SET50 และ SET100 ที่ประมาณ 13% และ 11% ตามลำดับ ใน SET50FF และ SET100FF ไม่มีหลักทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากไม่มีหลักทรัพย์ใดที่มีน้ำหนักเกิน 10% ของดัชนี หลักทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับผลบวกเด่น (จากโอกาสที่จะมี Passive fund เข้าซื้อกรณีปรับน้ำหนักตามเกณฑ์ใหม่ > 50 ล้านบาท) ได้แก่ PTT, ADVANC, AOT, GULF, PTTEP, CPALL, SCB, TRUE, KBANK, BDMS, KTB ระยะสั้นมองเป็นผลลบต่อดัชนี เนื่องจาก DELTA  อาจเผชิญแรงขาย เพื่อลดความเสี่ยง แต่หากการรับฟังความคิดเห็นผ่านและนำมาใช้ (คาดว่าจะเริ่มต้นในครึ่งปีหลัง 2568) ปัจจัยนี้อาจกลับมาเป็นปัจจัยกระทบอีกครั้งเมื่อมีการ Rebalance ครั้งแรกจากการปรับพอร์ตของ Passive Fund กลยุทธ์แนะนำ: ในระยะสั้นควรหลีกเลี่ยงการเก็งกำไรใน DELTA และสามารถจับจังหวะเก็งกำไรในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการปรับน้ำหนัก เช่น PTT, ADVANC, AOT, GULF

DELTA เผย Delta International เตรียมออกหุ้นกู้แปลงสภาพ 525 ล้านดอลลาร์ เสริมแกร่งธุรกิจ

DELTA เผย Delta International เตรียมออกหุ้นกู้แปลงสภาพ 525 ล้านดอลลาร์ เสริมแกร่งธุรกิจ

          บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) หรือ DELTA ได้รับแจ้งจาก บริษัท Delta International Holding Limited B.V. (“ผู้ถือหุ้น”) (ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท Delta Electronics Inc.) ว่าผู้ถือหุ้นจะมีการออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพประเภทไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย (Zero Coupon Exchangeable Bonds) มูลค่า 525,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 21 มกราคม 2568 โดยหุ้นกู้ดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนในปี 2573 และสามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นของบริษัทฯ (“หุ้นกู้”) โดยมีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันและรองรับการขยายตัวในอนาคต           โดยราคาแปลงสภาพเริ่มต้นของหุ้นกู้อยู่ที่ 187.6 บาทต่อหุ้น ซึ่งราคาแปลงสภาพดังกล่าวอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดและเงื่อนไขของหุ้นกู้ รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขสำคัญของหุ้นกู้ดังกล่าวจะถูกเผยแพร่ใน Market Observation Post System ของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) (https://emops.twse.com.tw/server-java/t58query; ชื่อย่อหลักทรัพย์: 2308.TWSE).           บริษัทฯ ขอเรียนให้ทราบว่าการออกและเสนอขายหุ้นกู้ข้างต้นไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างคณะกรรมการ ผู้บริหาร โครงสร้างการบริหารธุรกิจ รวมถึงนโยบายและการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ แต่อย่างใด ทั้งนี้ หากมีความเปลี่ยนแปลงใด ๆ บริษัทฯ จะแจ้งให้ทราบต่อไป

DELTA จับมือ CCET ยกระดับนวัตกรรมระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรมอัจฉริยะ

DELTA จับมือ CCET ยกระดับนวัตกรรมระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรมอัจฉริยะ

          หุ้นวิชั่น - กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, 16 ธันวาคม 2567 — บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (SET Ticker: Delta) ผู้นำระดับโลกด้านการจัดการพลังงานและผู้ให้บริการโซลูชันสีเขียวอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย IoT และ บริษัท แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (SET Ticker: CCET) ผู้นำด้านอุตสาหกรรม 4.0+ และเป็นบริษัทชั้นนำด้านการผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนอีเล็คโทรนิคส์ (Electronics manufacturing Services (EMS)) ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อยกระดับการทำงานร่วมกันด้านระบบอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรม ความร่วมมือครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นร่วมกันในการพัฒนาประสิทธิภาพ นวัตกรรม และความยั่งยืนในอุตสาหกรรม EMS           นายคงสิทธิ์ โจวกิจเจริญ ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “แคล-คอมพ์ฯ และเดลต้าต่างดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมายาวนานกว่า 35 ปี และประสบความสำเร็จในธุรกิจของตนเป็นอย่างดี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แคล-คอมพ์ฯ มุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับการใช้ automated smart manufacturing ในทุกกระบวนการผลิต และใช้ระบบดิจิทัลในการบริหารจัดการ ตามความมุ่งมั่นเพื่อการรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันในอุตสาหกรรม EMS  ในขณะที่เดลต้าก็ประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่นในด้านการอนุรักษ์พลังงานและลดการปล่อยคาร์บอน ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ และโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI ด้วยเหตุนี้ เราจึงรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมมือกับเดลต้าในการพัฒนาและยกระดับกระบวนการผลิตอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมผลักดันอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทยสู่อีกขั้นของความสำเร็จ”           นายวิคเตอร์ เจิ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้วางรากฐานความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับแคล-คอมพ์ฯ ผ่าน MOU ฉบับนี้ ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับการผลิตอัจฉริยะและการพัฒนาตามแนวทางอุตสาหกรรม 4.0+ ในภาคอุตสาหกรรม EMS การผนวกรวม โซลูชันระบบอัตโนมัติ และ AI ที่ทันสมัยของเดลต้าเข้ากับกระบวนการผลิตของแคล-คอมพ์ฯนั้น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิผลในสายการผลิต และสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ยั่งยืน เราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือภายใต้ MOU นี้จะเปิดโอกาสให้ทั้งสองบริษัทได้ร่วมกันพัฒนา และมุ่งสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นได้”           จากความร่วมมือที่แน่นแฟ้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา MOU ฉบับนี้ได้ยกระดับโครงการความสำเร็จต่าง ๆ ระหว่างเดลต้าและแคล-คอมพ์ฯ ให้เป็นทางการ ไม่ว่าจะเป็นการใช้หุ่นยนต์ SCARA เทคโนโลยี DIATwin และโครงการประหยัดพลังงาน ความสำเร็จเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ชัดเจน ทั้งด้านประสิทธิภาพการดำเนินงาน และความยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นรากฐานสำคัญในการต่อยอดความร่วมมือด้านเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติขั้นสูงอย่าง DIAEAP-IMM           แพลตฟอร์ม CCET 4.0+ (Cell & Connection & Equipment E-System & Transportation) ของแคล-คอมพ์ฯ ซึ่งประกอบด้วยโซลูชัน AI และศูนย์ข้อมูลควบคุมการผลิต ที่ผนวกรวมกับโซลูชัน DIAEAP-IMM ของเดลต้า เป็นหัวใจสำคัญของความร่วมมือครั้งนี้ โดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบอัตโนมัติสำหรับงานฉีดพลาสติก แพลตฟอร์มขั้นสูงนี้รวมความสามารถด้าน IoT การติดตามแบบเรียลไทม์ และการวิเคราะห์ด้วย AI มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดของเสีย และยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ การผสานเทคโนโลยีจากทั้งสององค์กรจะช่วยพัฒนาระบบใหม่ที่สามารถควบคุมตัวแปรได้แม่นยำ เพิ่มประสิทธิภาพการไหลตัวของแม่พิมพ์ และลดความผิดพลาดในการผลิตได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ด้วยศักยภาพในการประมวลข้อมูลดิบให้เป็นข้อมูลเชิงลึกที่พร้อมใช้งาน DIAEAP-IMM จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ไร้ตำหนิและรักษามาตรฐานคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง           ความร่วมมือครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการยกระดับอุตสาหกรรม EMS ด้วยการผนวกจุดแข็งด้านระบบอัตโนมัติของเดลต้าเข้ากับศักยภาพการผลิตของแคล-คอมพ์ฯ ทั้งสององค์กรมุ่งมั่นที่จะสร้างบรรทัดฐานใหม่ของการผลิตที่ชาญฉลาดและยั่งยืน พร้อมขับเคลื่อนนวัตกรรมและการดูแลสิ่งแวดล้อมให้ทัดเทียมมาตรฐานและเทรนด์การผลิตระดับโลก [PR News]

abs

Hoonvision

DELTA พี/อี 82 เท่า เสี่ยงเกินไป ปีหน้ากำไรโตแค่ 13%

DELTA พี/อี 82 เท่า เสี่ยงเกินไป ปีหน้ากำไรโตแค่ 13%

         หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บทวิเคราะห์ บล.กรุงศรี ประมาณการกำไรปี 2025 ของ DELTA อาจมี downside risk ราว 12% เนื่องจากนโยบาย Global Minimum Tax 15% ที่รัฐบาลไทยอนุมัติเมื่อไม่นานนี้ และจะมีผลบังคับใช้ในปี 2025 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ราคาหุ้นของ DELTA ในปัจจุบันมีระดับ P/E ที่สูงถึง 82 เท่า ราคาหุ้นปรับตัวเกินราคาเป้าหมายของเราเป็นอย่างมาก ทำให้เราปรับลดคำแนะนำของ DELTA ลงเป็น REDUCE จาก NEUTRAL บนราคาเป้าหมายเดิมที่ 110 บาท ได้รับผลกระทบจาก Global Minimum Tax          คณะรัฐมนตรีไทยได้อนุมัติ พ.ร.ก. เพื่อบังคับใช้ภาษีขั้นต่ำ 15% สำหรับธุรกิจข้ามชาติที่มีรายได้ต่อปีอย่างน้อย 750 ล้านยูโร (26 พันล้านบาท) ตามแผน Global Minimum Tax จากนโยบายของ OECD ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ DELTA เนื่องจากบริษัทเข้าเกณฑ์ดังกล่าว          ปัจจุบันบริษัทมีค่าใช้จ่ายภาษีคิดเป็น 3% ของกำไรก่อนหักภาษี เนื่องจากบริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ซึ่งหาก DELTA ถูกเรียกเก็บภาษี 15% ในปี 2025 จะส่งผลให้ประมาณการกำไรปี 2025 (24 พันล้านบาท) ลดลง 12% เหลือ 21 พันล้านบาท (+3% YoY) เนื่องจากค่าใช้จ่ายภาษีจะเพิ่มขึ้น 4 เท่า ทั้งนี้ DELTA กำลังหารือร่วมกับ BOI เพื่อหาวิธีบรรเทาผลกระทบดังกล่าว บริษัทมีมุมมองต่อแนวโน้มใน 4Q24 ที่อ่อนตัวลง          บริษัทได้ปรับลดแนวโน้มสำหรับ 4Q24 ลงเล็กน้อย โดยคาดว่ารายได้จะทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย qoq โดยมีแรงหนุนจากความต้องการสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ AI และ Data Center ที่ยังแข็งแกร่ง แต่ความต้องการสินค้าจากอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้ายังคงอ่อนแอ          ในขณะเดียวกัน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอาจเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ อันเนื่องมาจากต้นทุนเพิ่มเติมและรายการย้อนกลับของสินค้าคงคลังที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ดังนั้น เราคาดว่ากำไรของ DELTA จะอ่อนตัวลง qoq ใน 4Q24F แต่ยังคงเติบโต yoy ปรับลดคำแนะนำเป็น “ขาย” ราคาเป้าหมายคงที่ 110 บาท          แม้ว่าความต้องการสินค้าและรายได้ของ DELTA จะยังคงแข็งแกร่ง แต่มีความเสี่ยงต่อกำไรปี 2025 จากภาษีและค่าใช้จ่าย R&D ที่สูงขึ้น ราคาหุ้นอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์โดยมี P/E สูงถึง 82 เท่า (+1.5SD ของค่าเฉลี่ย) ซึ่งดูเหมือนจะสูงเกินไปสำหรับการเติบโตของกำไรเพียง 13% (CAGR) ในช่วงปี 2025-2026          ดังนั้น เราจึงปรับลด DELTA เป็น “ขาย” (จาก “ถือ”) โดยราคาเป้าหมายเดิมที่ 110 บาท อ้างอิง 57 เท่า P/E (+0.5SD ของค่าเฉลี่ย)

เปิดโผ หุ้น AI โอกาสโต! DELTA-GULF-TRUE-INSET น่าจับตา

เปิดโผ หุ้น AI โอกาสโต! DELTA-GULF-TRUE-INSET น่าจับตา

           หุ้นวิชั่น - บริษัท หลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุถึงในบทวิเคราห์ ถึงประเด็นที่ “เจนเซ่น หวง” (Jensen Huang) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เอ็นวิเดีย” (NVIDIA) ยักษ์ผู้ผลิตชิป AI ที่มีมูลค่าบริษัทกว่า 3.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เตรียมเยือนประเทศไทย ในงาน “AI Vision for Thailand” ภายใต้ธีม “The First Step for Thailand Sovereign AI” วันที่ 4 ธ.ค. 2567 ณ Embassy Room, Park Hyatt Bangkok พร้อมประกาศแผนลงทุน ดันไทยขึ้นฮับ AI ภูมิภาค ในงาน AI Vision for Thailand ทั้งนี้ธุรกิจของบริษัทในตลาดหุ้นไทยที่อิงกับ NVIDIA ได้แก่ อีเล็คทรอนิคส์ คอมพิวเตอร์ , AI, Cloud และ Data Center เราคัด 3 หุ้นได้ประโยชน์ จากการนี้ ประกอบด้วย DELTA, GULF และ TRUE            ขณะที่ บริษัท หลักทรัพย์ บัว หลวง จำกัด (มหาชน) ระบุถึง เมื่อการเยือนของ Jensen Huang ในเดือนธันวาคมนี้ใกล้เข้ามาแล้ว (คาดว่าสัปดาห์หน้า) ถึงเวลาแล้วที่จะมองไปที่เฟส 1 ของการเปลี่ยนแปลง Gen AI ในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการสนับสนุนจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของความต้องการ GPU เมื่อข้อจำกัดในอุปทานทำให้ GPU ขาดแคลน ผู้ที่เริ่มต้นก่อนอย่าง JTS และ LTS จะสามารถเก็บเกี่ยวผลกำไรได้อย่างมากในระยะนี้            JTS กำลังสร้าง GPU Farm และโมเดล AI Training โดยใช้ความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับ KT เพื่อจัดหาผลิตภัณฑ์ NVIDIA GPUs นอกจากการใช้งานของตนเองแล้ว แพลตฟอร์ม Gen AI ของ JTS จะทำหน้าที่เป็นสตูดิโอสำหรับการฝึกฝนและปรับใช้งานสำหรับลูกค้า ช่วยให้ธุรกิจสามารถใช้งาน AI ได้โดยไม่ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของตนเอง            LTS: SIAM AI เป็นพันธมิตร Nvidia Cloud รายแรก (และรายเดียว) ของประเทศไทย ผ่านความร่วมมือกับ SIAM AI ทำให้ LTS ได้ประโยชน์จากการเป็นพันธมิตร ซึ่งช่วยให้เข้าถึง GPU ได้ก่อนใคร แตกต่างจากโมเดลการจัดจำหน่ายแบบดั้งเดิม โมเดลปัจจุบันของ NVIDIA คือ "By Invitation Only" ซึ่งให้ข้อได้เปรียบแก่พันธมิตรในการได้รับ GPU ที่จัดสรรในตลาดที่มีข้อจำกัดนี้            INSET วางเป้าหมายปี 2025 เติบโตจากธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับ Cloud และ AI โดยมุ่งเน้นการลงทุนใน Data Center ในประเทศไทย จากความพร้อมด้านประสบการณ์ในการก่อสร้างส่วนงานอาคารหลายโครงการ และการเข้าร่วมประมูลงานจากผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนในไทย โดยคาดว่าจะมีการประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลตั้งแต่ปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า นอกจากนี้ INSET ยังมีโอกาสลุ้นงานในกลุ่ม ICT ที่เกี่ยวข้องกับโครงข่ายต่างๆ เพิ่มเติม            PROEN การเข้ามาของกลุ่ม DAMAC ผู้ให้บริการ Data Center ระดับโลกจากดูไบที่มีลูกค้าทั่วโลก ได้ประกาศลงทุนร่วมกับ PROEN ภายใต้แบรนด์ EDGNEX ด้วยเป้าหมายเริ่มต้น 20MW ในปี 2025-2026 (พร้อมที่ดินรองรับแล้ว) และขยายเพิ่มเป็นหลัก 100MW ในระยะยาว โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา PROEN ได้โอน OTT DC ขนาด 5MW ซึ่งเป็นโครงการแรกให้กลุ่ม DAMAC และรับรู้รายได้-กำไรในช่วง 4Q24 ซึ่งเพิ่มโอกาสให้ PROEN เห็นการ Turnaround ตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป โครงการดังกล่าวจะเปิดให้บริการลูกค้าเฟสแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 และเฟส 2-3 จะเปิดครบในกลางปี 2025 โดยจะมีรายได้จากบริการหลังการขายและระบบประมวลผลเพิ่มเติม

ผ่อนคลายปมการเมือง DELTA เริ่มตั้งหลัก

ผ่อนคลายปมการเมือง DELTA เริ่มตั้งหลัก

          หุ้นวิชั่น - ตลาดหุ้นไทยปรับตัวกลับขึ้นหลังปรับตัวลงแรงวานก่อน ได้รับแรงหนุนจากปัจจัยการเมืองที่คลี่คลายลงหลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติ ”ไม่รับคำร้อง” ในกรณีคุณทักษิณ และพรรคเพื่อไทย ในประเด็นล้มล้างการปกครอง ในส่วนของ DELTA ที่ถูกทางตลท. คุมการซื้อขายมองว่าได้รับปัจจัยลบไปพอสมควรแล้ว คาดเห็นความผันผวนน้อยลง ในส่วนของปัจจัยต่างประเทศกังวลสถานการณ์รัสเซียยูเครน หลังรัสเซียมีการยิงขีปนาวุธตอบโต้ทำให้ตลาดเกิดความกังวลสงครามลุกลาม และอุปทาน น้ำมันที่อาจได้รับผลกระทบ ติดตามความเห็นเจ้าหน้าที่เฟดเพื่อหาทิศทางดอกเบี้ย           เล็งดัชนี แนวรับ 1,440 – 1,435 แนวต้าน 1,450 – 1,460

ตลท.เตือนลงทุน DELTA ต้องรอบคอบ ราคาพุ่งต่อเนื่อง P/E สูงถึง 91.11 เท่า

ตลท.เตือนลงทุน DELTA ต้องรอบคอบ ราคาพุ่งต่อเนื่อง P/E สูงถึง 91.11 เท่า

          ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ผู้ลงทุนพิจารณาข้อมูลประกอบอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อขาย DELTA เนื่องจากราคาปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยมีอัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ (P/E) ที่ 91.11 เท่า และอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) อยู่ที่ 25.36 เท่า           ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ติดตามความเคลื่อนไหวของราคาและพัฒนาการของหลักทรัพย์ DELTA โดยพบว่าราคาหลักทรัพย์ DELTA ปรับตัวเพิ่ม 47% (ณ ราคาปิดวันที่ 7 พฤศจิกายน นี้) เทียบกับ ราคาปิดตลาด ณ วันที่ 30 ก.ย. ที่ 107 บาท ส่วนหนึ่งได้อานิสงส์จากข่าวการลงทุนของบริษัทต่างประเทศด้าน Data center ในประเทศไทย และผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 3/2567 มีกำไรสุทธิ 5,910.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน           โดยราคาปิดวันนี้ที่ 157 บาท (7 พฤศจิกายน 2567) จุดสูงสุดระหว่างวันอยู่ที่ 160.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 3,311 ล้านบาท           ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ผู้ลงทุนพิจารณาข้อมูลปัจจัยพื้นฐานและข้อมูลสารสนเทศที่ชี้แจงผ่านระบบตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมทั้งความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้จากความผันผวนของราคาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน

DELTA คว้ารางวัล “สุดยอดซีอีโอรุ่นใหญ่” CEO ECONMASS AWARDS 2024

DELTA คว้ารางวัล “สุดยอดซีอีโอรุ่นใหญ่” CEO ECONMASS AWARDS 2024

          กรุงเทพฯ ประเทศไทย 1 พฤศจิกายน 2567 — บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ผู้นำระดับโลกด้านการจัดการพลังงานและผู้ให้บริการโซลูชันสีเขียวอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย IoT ประกาศว่า นายวิคเตอร์ เจิ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทเดลต้า ประเทศไทย ได้รับรางวัล CEO Econmass Awards 2024 ประเภท “สุดยอดซีอีโอรุ่นใหญ่ หรือ Top Senior CEO Award” จากนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งรางวัลดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC) เพื่อประกาศเกียรติคุณและยกย่องซีอีโอผู้มีวิสัยทัศน์ทั้ง 18 ท่าน ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยและมุ่งมั่นต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน           นายวิคเตอร์ เจิ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทเดลต้า ประเทศไทย กล่าวว่า "ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับการยกย่องดังกล่าวจากท่านนายกรัฐมนตรี และขอขอบคุณพนักงาน เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ทุกคนสำหรับความทุ่มเทและการสนับสนุนอย่างเต็มที่ เรามุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะขับเคลื่อนการเติบโตอย่างมีความรับผิดชอบ พัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน และเสริมสร้างอนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับประเทศไทยและทั่วโลก”           ในพิธีมอบรางวัล นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้เกียรติเป็นผู้มอบรางวัลแก่นายวิคเตอร์ เจิ้ง รวมถึงผู้ได้รับรางวัลท่านอื่น ๆ  โดยเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการส่งเสริมนวัตกรรมและการเติบโตอย่างยั่งยืนในภาคเอกชนของประเทศไทย ทั้งนี้ การที่นายวิคเตอร์ เจิ้ง ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในเจ็ดของผู้บริหารที่ได้รับรางวัล “Top Senior CEO” สะท้อนถึงความเป็นผู้นำที่โดดเด่นและมีความสามารถของเขาในการบริหารบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ที่คอยผลักดันแนวคิดใหม่ ๆ ด้านเทคโนโลยี และสร้างมาตรฐานใหม่ในด้านการดำเนินงานตามหลักสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ของบริษัทฯ           บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย มีความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญในด้านความยั่งยืน โดยได้รับการจัดอันดับในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices) และดัชนีความยั่งยืนระดับโลก FTSE4Good ซึ่งเป็นสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและการบริหารงานที่โปร่งใสและมีจริยธรรม โดยโครงการสำคัญ ๆ ที่ทางบริษัทได้ทำประกอบไปด้วย การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้ เดลต้า ยังมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ โซลูชันพลังงานอัจฉริยะและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับรางวัล CEO Econmass นั้นถูกจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประกาศเกียรติคุณ ยกย่อง และเชิดชูเกียรติผู้บริหารภาคเอกชนที่มีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์และความสามารถในการปรับตัว ซึ่งช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าทั้งในระดับประเทศและสากล           นางสาวดวงพร อุดมทิพย์ นายกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจไทย กล่าวว่า “รางวัล CEO Econmass Awards สะท้อนถึงความร่วมมืออันแข็งแกร่งระหว่างสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3  สถาบัน (กกร.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สมาคมขอแสดงความยินดีกับซีอีโอทุกท่านที่ได้รับรางวัลในปีนี้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารางวัล CEO Econmass Awards 2024 จะเป็นแรงสนับสนุนที่สำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน”           คณะกรรมการมอบรางวัลประกอบด้วยตัวแทนจากคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3  สถาบัน (กกร.) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม ได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของเดลต้าต่อการดำเนินงานตามมาตรฐาน ESG ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนระดับชาติที่นายกรัฐมนตรีให้การสนับสนุน โดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน ประกอบไปด้วย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) และสมาคมธนาคารไทย (TBA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2520 เพื่อรวบรวมมุมมองของภาคเอกชนในด้านการค้า อุตสาหกรรม และการเงิน โดยมีเป้าหมายสำคัญในการให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลเพื่อรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและการค้า พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการวางแผนพัฒนาและกำหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย           รางวัลอันทรงเกียรตินี้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ต่อกลยุทธ์การพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตในระยะยาว โดยบริษัทยังคงทุ่มเทในการสนับสนุนอนาคตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของประเทศไทย ผ่านความร่วมมือกับผู้นำในอุตสาหกรรมและพันธมิตรจากภาครัฐ [PR News]

DELTA อนุมัติซื้อเครื่องจักร มูลค่า 885.17 ล้านบาท

DELTA อนุมัติซื้อเครื่องจักร มูลค่า 885.17 ล้านบาท

          หุ้นวิชั่น - บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DELTA) ขอแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 7/2567 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ได้มีมติอนุมัติการทำรายการเกี่ยวโยงดังนี้ ไตรมาส 1 ปี 2568 อนุมัติการซื้อเครื่องจักรของบริษัทฯ กับบุคคลเกี่ยวโยง ไตรมาส 4 ปี 2567 อนุมัติการซื้อเครื่องจักรของบริษัทย่อยในอินเดียกับบุคคลเกี่ยวโยง ไตรมาส 4 ปี 2567 อนุมัติการซื้อเครื่องจักรของบริษัทย่อยในสโลวาเกียกับบุคคลเกี่ยวโยง           ทั้งนี้ เมื่อรวมขนาดรายการทั้ง 3 รายการแล้ว มีมูลค่าตอบแทนรวมประมาณ 885.17 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.16 ของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของบริษัทฯ ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 แต่เมื่อรวมกับการทำรายการกับบุคคลเกี่ยวโยงภายในระยะเวลา 6 เดือนอีกร้อยละ 1.45 ทำให้มีขนาดรายการคิดเป็นร้อยละ 2.61 ของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของบริษัทฯ จึงอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเปิดเผยข้อมูลต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย           กรรมการผู้มีส่วนได้เสียที่เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยง ได้แก่ นายเจง อัน นายเคอ จื่อ ชิง นายจาง ช่าย ซิง           ทั้งนี้ กรรมการที่มีส่วนได้เสียทั้ง 3 ท่านไม่ได้เข้าร่วมในการออกเสียงลงคะแนน           คณะกรรมการบริษัทฯ (โดยไม่มีกรรมการที่มีส่วนได้เสีย) ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการเข้าทำรายการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ และเป็นไปตามเงื่อนไขการค้าทั่วไป มีเงื่อนไขที่เป็นธรรม สมเหตุสมผล ไม่ก่อให้เกิดการถ่ายเทผลประโยชน์ คณะกรรมการจึงเห็นชอบอนุมัติให้ดำเนินการเข้าทำรายการดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่มีกรรมการหรือกรรมการตรวจสอบรายใดที่มีความเห็นแตกต่างจากความเห็นของคณะกรรมการแต่ประการใด

DELTA โชว์กำไรไตรมาส 3/67 มีกำไร 5.98 พันล้านบาท

DELTA โชว์กำไรไตรมาส 3/67 มีกำไร 5.98 พันล้านบาท

          หุ้นวิชั่น - DELTA เผยผลประกอบการไตรมาส 3/2567 กำไรจากการดำเนินงานแตะ 5,989 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไร 13.9% โดยมียอดขาย 43,225 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หนุนโดยความต้องการเพาเวอร์ซิสเต็มสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์และดีซี เพาเวอร์ที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังคงบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนเพื่อส่งมอบโซลูชันที่ตอบโจทย์ทิศทางอุตสาหกรรมในอนาคต และมีกำไรสุทธิต่อหุ้นอยู่ที่ 0.47 บาท           บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA  รายงานกำไรจากการดำเนินงานในไตรมาส 3/2567 นี้จำนวน 5,989 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรร้อยละ 13.9 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.5 ของงวดเดียวกันในปีก่อน เนื่องจากความสามารถในการทำกำไรที่ดีขึ้นจากยอดขายในกลุ่มสินค้าที่เติบโตสูง อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ บันทึกรายการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน สืบเนื่องจากทิศทางเงินบาทแข็งค่า ส่งผลให้กำไรสุทธิในไตรมาสนี้เท่ากับ 5,911 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิร้อยละ 13.7 และมีกำไรสุทธิต่อหุ้นอยู่ที่ 0.47 บาท เติบโตร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับ 0.44 บาทต่อหุ้นในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน           ยอดขายสินค้าและบริการในไตรมาสนี้อยู่ที่ 43,225 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากฐานสูงในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนในอัตราร้อยละ 6.8 และเติบโตต่อเนื่องร้อยละ 3.5 จากไตรมาสที่แล้ว ขับเคลื่อนโดยกลุ่มเพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวอย่างโดดเด่น ทั้งจากเพาเวอร์ซิสเต็มสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์และผลิตภัณฑ์ดีซี เพาเวอร์ ซึ่งมีความต้องการสูงตามแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่แพร่หลายมากขึ้น ส่งผลต่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและระบบเครือข่ายเพื่อรองรับการประมวลผลสมรรถนะสูง นอกจากนี้ กลุ่มพัดลมและระบบจัดการความร้อน และเพาเวอร์ซัพพลายสำหรับระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม มีการเติบโตดีในไตรมาสนี้           ขณะเดียวกัน กลุ่มโซลูชันสำหรับยานยนต์ไฟฟ้ายังส่งสัญญาณการฟื้นตัวอย่างจำกัดจากช่วงครึ่งปีแรก และปรับตัวลดลงจากฐานสูงในไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว สืบเนื่องจากดีมานด์ในอุตสาหกรรมยานยนต์โลกอ่อนตัวลง ส่งผลให้ลูกค้าเพิ่มความระมัดระวังในการบริหารสินค้าคงคลัง และปรับแผนการขายให้สอดคล้องกับสภาวะตลาด นอกจากนี้ กลุ่มเพาเวอร์ซิสเต็มสำหรับโครงสร้างพื้นฐานเทเลคอมยังคงประสบสภาวะยอดขายชะลอตัว ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจที่มีความท้าทาย บริษัทฯ ขับเคลื่อนธุรกิจอย่างรัดกุม พร้อมบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน เพื่อมุ่งเน้นการส่งมอบโซลูชันและเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ทิศทางอุตสาหกรรมแห่งอนาคต           กำไรขั้นต้นในไตรมาสนี้มีจำนวน 11,927 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขับเคลื่อนโดยยอดขายกลุ่มผลิตภัณฑ์เพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ร่วมกับการบริหารสินค้าคงคลังของกลุ่มสินค้าหลักอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ภาพรวมอัตรากำไรขั้นต้นทรงตัวได้ดีในระดับสูงและเพิ่มขึ้นกว่าไตรมาสก่อน รวมถึงไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของยอดขายในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีอัตรากำไรสูง ควบคู่กับการกลับรายการตั้งสำรองสินค้าคงคลังเพิ่มเติมในไตรมาสนี้           ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (รวมการวิจัยและพัฒนา) มีจำนวน 5,938 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.9 จากปีก่อนหน้า เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านการขายในส่วนค่าธรรมเนียมจ่ายเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการเติบโตของรายได้ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านการบริหารเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้จากค่าเสื่อมราคา ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรและค่าบริการวิชาชีพ รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านการตลาด งานประชาสัมพันธ์และอีเว้นท์ต่าง ๆ

SET ลุ้นดัชนี 1,470 จุด เงินบาทชะลออ่อนค่า หนุนแรงขายต่างชาติลด

SET ลุ้นดัชนี 1,470 จุด เงินบาทชะลออ่อนค่า หนุนแรงขายต่างชาติลด

           หุ้นวิชั่น - ทีมช่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด ระบุว่า SET ยังรอปัจจัยหนุนใหม่ ซึ่งคาดหวังจากมาตรการด้านการคลังของจีนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในวันเสาร์นี้ ขณะที่เงินบาทที่ชะลอการอ่อนค่า ส่งผลดีให้แรงขายต่างชาติลดลง ทำให้คาดดัชนีมีโอกาสขึ้นทดสอบจุดสูงเดิมบริเวณ 1470 จุด ส่วนกรอบล่างคาดแนวรับ 1450 และ 1440 จุด ยังรองรับได้ ประเด็นสำคัญ วันนี้ ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ เลือกหุ้นเด่น            WHA: มีมุมมองบวกต่อ backlog จนถึงปี 2568 โดยคาดกำไรจะเติบโต 12.7% ในปี 2567 และ 16.2% ในปี 2568 ด้วย FDI และการออกบัตรส่งเสริมที่ยังเติบโตต่อเนื่องในปี 2567 อีกทั้งเชื่อว่า WHA อยู่ในตำแหน่งที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดรายหนึ่งเมื่อเทียบกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ในกลุ่มนิคมฯ            DELTA: 2H67 คาดกำไรจะเพิ่มขึ้น HoH และ YoY จากยอดขายกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ AI ที่ยังคงเติบโตดี อีกทั้งยังมี upside จากการพัฒนาและการขายผลิตภัณฑ์ power supply ที่เกี่ยวข้องกับ AI ที่พัฒนาโดย DELTA Thailand เอง ซึ่งจะทำให้บริษัทไม่ต้องจ่ายค่า technical fee ให้กับทาง DELTA Taiwan ทั้งนี้แนะนำราคาเข้าซื้อวันนี้ไม่เกิน 112 บาท

DELTA ค่าเงินบาทกดกำไร Q3

DELTA ค่าเงินบาทกดกำไร Q3

          หุ้นวิชั่น รายงานว่า บล.กรุงศรี คาดการณ์กำไรหลักของ DELTA ใน 3Q24 จะอยู่ที่ 5.6 พันล้านบาท (+12% yoy, -5% qoq) การลดลงเล็กน้อย qoq มาจากการแข็งค่าของเงินบาท ยังคงมุมมองบวกต่อ DELTA เนื่องจากคาดว่าความต้องการ Data center และ AI จะยังคงแข็งแกร่งต่อไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากราคาหุ้นมี upside จำกัด จึงปรับลดคำแนะนำจากซื้อเป็น Neutral โดยคงราคาเป้าหมายที่ 110 บาท กำไร 3Q24 อ่อนตัวเล็กน้อย qoq จากผลกระทบของค่าเงินบาท           คาดว่ารายได้สกุล USD จะเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็น 1.2 พันล้าน (+7% yoy, qoq) จากความต้องการที่แข็งแกร่งของ Data center และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ AI อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับ USD มากกว่า 5% รายได้สกุลเงินบาทของ DELTA จะเติบโตเล็กน้อยเป็น 42.5 พันล้านบาท (+5% yoy, +2% qoq) GPM 3Q24 คาดว่าจะลดลงเป็น 26.1% จาก 26.9% ใน 2Q24 เนื่องจาก 1) เงินบาทแข็งค่าขึ้น 2) คาดว่าจะไม่มีการกลับรายการของสินค้าคงเหลือ และ 3) ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ AI ที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงมีสัดส่วนรายได้มากขึ้น SG&A ควรเพิ่มขึ้นตามผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ AI เนื่องจากบริษัทต้องจ่ายค่าธรรมเนียมทางเทคนิคให้กับ DELTA ไต้หวัน ส่งผลให้คาดว่ากำไรหลักจะอยู่ที่ 5.6 พันล้านบาท (+12% yoy, -5% qoq) ภาพระยะกลางยังคงสดใส           ยังคงมองบวกต่อแนวโน้มระยะยาวของ DELTA เนื่องจากคาดว่าความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ AI ซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นสูงจะเติบโตขึ้นและคิดเป็น 10% ของรายได้ภายในสิ้นปีนี้ และจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีหน้า ด้าน Data center ยังมีแนวโน้มสดใส โดยเห็นได้จากการลงทุนด้าน Data center ใหม่ของ Google มูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในประเทศไทย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังคงเป็นพื้นที่เชิงกลยุทธ์สำหรับ Data นี่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยบวกสำหรับ DELTA เนื่องจากบริษัทเป็นผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ ODM ให้กับ Google และสามารถให้บริการโซลูชันด้านโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ อีกด้วย ปรับคำแนะนำเป็น NEUTRAL ที่ราคาเป้าหมายเดิม 110 บาท           กำไรหลักช่วง 9M24 คิดเป็น 75% ของประมาณการทั้งปี ดังนั้น เราเชื่อว่ากำไรหลักของบริษัทในปี 2024 จะเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ 20% และเติบโต 17% ในปี 2025 สินค้าที่เกี่ยวข้องกับ AI และ Data center ยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของบริษัท อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นมี upside จำกัด ทำให้เราปรับลดคำแนะนำจากซื้อเป็น Neutral ราคาเป้าหมายที่ 110 บาท อิง P/E 57 เท่า (+0.5SD)

INSET พร้อมเติบโตตามอุตสาหกรรม Data Center

INSET พร้อมเติบโตตามอุตสาหกรรม Data Center

          หุ้นวิชั่น - INSET พร้อมเติบโตตามการขยายตัวของอุตสาหกรรม Data Center โดยในอีก 4-5 ปีข้างหน้า เราคาดว่าอุตสาหกรรมนี้จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด สอดคล้องกับการเติบโตของธุรกิจดิจิทัลและ AI ที่มีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วน ซึ่งจะเปิดโอกาสให้บริษัทรับงานก่อสร้าง Data Center มากขึ้น คาดว่าจะเริ่มเห็นการประมูลโครงการตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป แต่การรับรู้รายได้จะเกิดขึ้นในปี 2569           นายศักดิ์บวร พุกกะณะสุต กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินฟราเซท จำกัด (มหาชน) หรือ INSET เปิดเผยกับ หุ้นวิชั่น ว่า อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทยยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยล่าสุด Google ได้ประกาศแผนการลงทุนมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 35,000 ล้านบาท ในประเทศไทยระหว่างปี 2568-2572 เพื่อสร้าง Data Center และ Cloud Region แห่งใหม่ ซึ่งเป็นการลงทุนสำคัญที่ช่วยผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้           การลงทุนนี้ไม่เพียงแต่จะยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีในประเทศ แต่ยังเปิดโอกาสให้ประเทศไทยรองรับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจดิจิทัลขั้นสูง เช่น 5G, ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI), คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud), Internet of Things (IoT) และ Smart City           นอกจากนี้ การสร้าง Data Center และ Cloud Region ของ Google ยังช่วยดึงดูดผู้ประกอบการด้านบริการข้อมูลระดับโลกเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากประเทศมีความโดดเด่นในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน อัตราค่าไฟฟ้าที่แข่งขันได้ และการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดการลงทุนของผู้ประกอบการยุคใหม่           สำหรับ INSET ซึ่งให้บริการก่อสร้างศูนย์ข้อมูล (Data Center) บริษัทมีความเชี่ยวชาญในด้านการออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับ Data Center ที่รองรับ Big Data, เทคโนโลยี 5G, Cloud Computing และระบบ AI การขยายตัวของผู้ให้บริการดิจิทัลและคลาวด์ในระดับโลกทำให้เกิดความต้องการ Data Center ที่มีประสิทธิภาพสูงและมีเสถียรภาพ ซึ่ง INSET สามารถตอบโจทย์นี้ได้           ด้วยความพร้อมของบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในโครงการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล INSET อยู่ในตำแหน่งที่ดีในการเข้าร่วมประมูลงานก่อสร้าง Data Center ทั้งจาก Google และผู้ให้บริการเทคโนโลยีรายใหญ่อื่นๆ บริษัทคาดว่าจะเข้าร่วมการประมูลงานตั้งแต่ปลายปีนี้ไปจนถึงปีหน้า มูลค่ารวมกว่า 2,000 ล้านบาท สอดคล้องกับการเติบโตของอุตสาหกรรม โดยคาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้จากโครงการเหล่านี้ในปี 2569           อนึ่ง INSET เป็นผู้ให้บริการก่อสร้างศูนย์ข้อมูล (Data Center) และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ, ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายโทรคมนาคม และธุรกิจซ่อมบำรุงและให้บริการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม ส่วนความเห็นนักวิเคราะห์           กระแสเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง Cloud, AI และในอนาคตในส่วนระบบ Automation แม้ไทยอาจจะไม่ได้อยู่ในกลุ่มประเทศต้นน้ำที่ได้ประโยชน์จากการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาโดยตรง แต่กระแสหลักนี้จะสร้างโอกาสให้ไทยในช่วง 4-5 ปีนับจากนี้ ด้วยศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางโครงสร้างพื้นฐานสำคัญด้านเทคโนโลยี กล่าวคือ Data Center ในไทยมีจุดเด่นจากพื้นที่ตั้งเป็นศูนย์กลางภูมิภาค ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ 4G, 5G ที่ครอบคลุม ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติต่ำ และกระแสไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพและมั่นคง ทำให้ไทยเป็นจุดสนใจจากการขยาย Data Center จากสิงคโปร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางเดิมที่เริ่มมีข้อจำกัด           จากการรวบรวมตัวเลขโดย KSS ในส่วนเม็ดเงินลงทุน Data Center ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในประเทศหลักๆ เราประเมินว่าปัจจุบันมีเม็ดเงินมหาศาลรอลงทุน Data Center ในไทยช่วง 4-5 ปีจากนี้ ไม่น้อยกว่า 200,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนสูงราว 1.1% ของมูลค่า GDP ประเทศไทยในปัจจุบัน โดยหากทยอยลงทุนในช่วง 4-5 ปี จะส่งผลบวกต่อ GDP ราว 0.2-0.25% ต่อปี ซึ่งยังไม่รวมประโยชน์ด้านดิจิทัลอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นอีกมากมายต่อประเทศ ถือเป็นหนึ่งใน S-Curve ใหม่ของไทย และเป็น Upside ของเศรษฐกิจระยะกลาง-ยาว ซึ่งเชื่อว่าตลาดยังแทบไม่รวมในประมาณการ GDP มุมมองเชิงกลยุทธ์           ประเมินว่า Upside จากแรงขับเคลื่อนด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ มีจุดเด่นสำคัญ คือ ปริมาณข้อมูลที่ใช้สนับสนุนจะเติบโตแบบทวีคูณ (Exponential) ซึ่งน่าจะสร้างโอกาสทางธุรกิจสูงกว่าที่ตลาดคาดคิดไว้ และเป็น Thematic Theme ระยะกลาง-ยาว 1-5 ปี KSS มีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นที่อยู่ในระบบนิเวศของ Data Center โดยฝั่ง Data Center เราแนะนำผู้ได้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ขยายตัวโดยตรง อาทิ GULF, INTUCH, ADVANC, TRUE, INSET, DELTA, STPI (Non-Coverage)           กลุ่ม Digital Tech ที่ Data Center จะนำมาสู่ Upside งานประเภท Cloud Adoption และ AI รวมถึง Automation Adoption ระยะยาวที่จะหนุนอุตสาหกรรมเข้าสู่รอบใหญ่ของการขยายตัวอีกครั้ง อาทิ BE8, BBIK           ส่วนกระแส Cycle เทคโนโลยี AI ที่ผลักดันอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ พัฒนาให้มี AI พื้นฐานติดเครื่องมากขึ้น จะสร้างโอกาสฟื้นตัวจากรอบการเปลี่ยนอุปกรณ์ตามกระแส AI ซึ่งเราคาดไม่ต่างจากยุค 3G, 4G ที่เคยหนุนหุ้นที่ได้ประโยชน์ อาทิ HANA, ADVICE (Non-Coverage), SYNEX (Non-Coverage) Best Picks: GULF, TRUE, DELTA, INSET, BE8, HANA, ADVICE ที่มา : บล.กรุงศรี

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456