#CPF


นิวซีแลนด์ระงับส่งออกสัตว์ปีก กระตุ้นจิตวิทยาบวก GFPT-CPF

นิวซีแลนด์ระงับส่งออกสัตว์ปีก กระตุ้นจิตวิทยาบวก GFPT-CPF

         หุ้นวิชั่น - นิวซีแลนด์ สั่งระงับการส่งออกสัตว์ปีกทั้งหมด หลังตรวจพบเชื้อไข้หวัดนกระบาดที่ฟาร์มไข่ในภูมิภาคโอทาโกทางตอนใต้ของประเทศ คำสั่งดังกล่าวจะดำเนินการไปจนกว่าจะยืนยันได้ว่านิวซีแลนด์ปลอดภัยจากไข้หวัดนกแล้ว          ประเมินเป็นจิตวิทยาบวกต่อกลุ่มส่งออกสัตว์ปีกของไทย (GFPT, CPF) แต่คาด upside จำกัดเนื่องจากนิวซีแลนด์มีมูลค่าส่งออกไก่เพียง 200 ล้านดอลลาร์ต่อปี 6.9% ของยอดส่งออกไก่ไทย และ 0.5% ของยอดส่งออกไก่ทั่วโลก ที่มา : บล กรุงศรี

TOP แจงโครงการ CFP โปร่งใส ย้ำความล่าช้าเกิดจากปัจจัยภายนอก

TOP แจงโครงการ CFP โปร่งใส ย้ำความล่าช้าเกิดจากปัจจัยภายนอก

          หุ้นวิชั่น - ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ระบุว่า นายชัชนัย ปานเพชร ผู้ถือหุ้นของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และประธานสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อขอให้ตรวจสอบการกระทำของคณะกรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ ว่าอาจมีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องหรือไม่ บริษัทฯ ขอชี้แจงข้อเท็จจริงดังนี้: 1. โครงการพลังงานสะอาด (“โครงการฯ”) เป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในด้านการกลั่นน้ำมันและสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ โดยการลงทุนในโครงการฯ บริษัทฯ ได้นำเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาและอนุมัติเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2561 ในคราวนั้น บริษัทฯ ได้จัดให้มีความคิดเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเกี่ยวกับความสมเหตุสมผลและประโยชน์ของโครงการฯ เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น ซึ่งที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติโครงการดังกล่าวด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 99.91 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่เข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนน การดำเนินการทั้งหมดเป็นไปตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน สะท้อนถึงการมีส่วนร่วมของผู้ถือหุ้นในกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีผลสำคัญต่อการพัฒนาธุรกิจของบริษัทฯ 2. ความล่าช้าของโครงการฯ เกิดจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้โครงการฯ เกิดความล่าช้าและต้องเจรจาแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมกับผู้รับเหมาหลัก ได้แก่ The Consortium of PSS Netherlands B.V. (Offshore Contractor) และ Unincorporated Joint Venture of Samsung E&A (Thailand) Co., Ltd., Petrofac South East Asia Pte. Ltd., และ Saipem Singapore Pte. Ltd. (เรียกรวมกันว่า “UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem”) นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ผู้รับเหมาช่วงบางรายได้ยุติการปฏิบัติงาน เนื่องจาก UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem ไม่ชำระเงินค่าจ้าง อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้ดำเนินการบริหารจัดการโครงการฯ อย่างดีที่สุด ทั้งด้านการเจรจาสัญญา การควบคุมต้นทุน และการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการฯ จะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. ขอให้ผู้ที่ได้รับข่าวสารใช้วิจารณญาณ บริษัทฯ ขอให้หลีกเลี่ยงการแชร์ข้อมูลที่บิดเบือนข้อเท็จจริง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและความเสียหายต่อบริษัทฯ บริษัทฯ ขอยืนยันความมุ่งมั่นต่อการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและมีบรรษัทภิบาล พร้อมจะดำเนินการอย่างเต็มความสามารถเพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้น

CPF พลิกเกม! Q3/67 กำไรพุ่ง 504% สู่ 7,309 ล้าน จากราคาสุกรฟื้น-ต้นทุนลด

CPF พลิกเกม! Q3/67 กำไรพุ่ง 504% สู่ 7,309 ล้าน จากราคาสุกรฟื้น-ต้นทุนลด

          CPF รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 3/2567 พุ่งทะยาน 504% แตะ 7,309 ล้านบาท เทียบกับผลขาดทุนสุทธิในปีก่อนหน้า ปัจจัยหลักมาจากราคาสุกรในหลายประเทศปรับตัวดีขึ้น ต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ลดลง และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ พร้อมส่วนได้กำไรจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในจีนและซีพี ออลล์ เดินหน้าเสริมความแข็งแกร่งในตลาดอาหารโลก!           นางกอบบญ ศรีชัย เลขานุการบริษัท บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย (รวมเรียกว่า “บริษัท”) ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร มีการลงทุนและร่วมลงทุนใน 17 ประเทศ พร้อมทั้งมีการค้าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และอาหารมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก           บริษัทมีรายได้จากการขายในไตรมาส 3 ปี 2567 จำนวน 142,703 ล้านบาท โดยเป็นส่วนของกิจการต่างประเทศร้อยละ 62 และกิจการในประเทศไทยร้อยละ 38 รายได้จากการขายลดลงร้อยละ 1 จากงวดเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการจำหน่ายธุรกิจไก่ครบวงจรบางส่วนในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในช่วงปลายปี 2566 ทั้งนี้ หากไม่นับรวมรายการปรับโครงสร้างดังกล่าว รายได้จากการขายจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 จากงวดเดียวกันของปีก่อน จากกิจการในต่างประเทศที่มีระดับราคาสินค้าปรับตัวขึ้นจากปี 2566 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในประเทศกัมพูชา ตุรกี และฟิลิปปินส์           กำไรสุทธิในส่วนของบริษัทในไตรมาส 3 ปี 2567 มีจำนวน 7,309 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 504 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2566 ซึ่งมีผลขาดทุนสุทธิ 1,810 ล้านบาท จากปัจจัยดังนี้ 1. ระดับราคาสุกรในหลายประเทศมีการปรับตัวขึ้นจากระดับที่ต่ำจากภาวะสุกรล้นตลาดในปีที่ผ่านมา อันเป็นผลจากความสมดุลของปริมาณสุกรในตลาดและความต้องการบริโภคที่ดีขึ้น รวมถึงภาวะโรคระบาดในสุกรที่เกิดขึ้นในบางประเทศ 2. ต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ลดลงเนื่องจากการบริหารจัดการด้านประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และระดับราคาวัตถุดบอาหารสัตว์ที่ลดลง รวมถึงการบริหารการวิจัยและสรรหาวัตถุดิบทดแทนที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมด้วยต้นทุนที่ลดลง 3. ส่วนได้ในกำไรของบริษัทร่วมและการร่วมค้าอยู่ที่ระดับ 3,655 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 592 โดยหลักเป็นผลจากผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมในประเทศจีนที่ดำเนินธุรกิจอาหารสัตว์และสุกร และบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ที่มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น

BCP จับมือ CPF ร่วมสร้างพลังงานแห่งอนาคต นำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วผลิต SAF

BCP จับมือ CPF ร่วมสร้างพลังงานแห่งอนาคต นำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วผลิต SAF

           เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2567 บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF จัดพิธีลงนามในบันทึกความร่วมมือด้านความยั่งยืนทางธุรกิจ ในเรื่องการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืนจากน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว ระหว่าง นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากฯ และนายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ โดยมี นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท บางจากฯ และนางกอบบุญ ศรีชัย ผู้บริหารสูงสุดสายงานกิจการองค์กรและลงทุนสัมพันธ์ ซีพีเอฟ ลงนามเป็นสักขีพยาน พร้อมด้วยผู้บริหารบางจากฯ ซีพีเอฟ และบริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด บริษัทในกลุ่มบริษัทบางจาก ร่วมงาน ณ อาคาร ซีพี ทาวเวอร์ ถนนสีลม            ภายใต้ความร่วมมือนี้ บางจากฯ และซีพีเอฟ จะร่วมกันบริหารจัดการการน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว รวมถึงไขมันต่าง ๆ จากธุรกิจผลิตอาหารและไขมันจากบ่อบำบัดน้ำเสียของซีพีเอฟและบริษัทในเครือ เพื่อผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel – SAF) โดยบีเอสจีเอฟ            นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากฯ กล่าวว่า “ขอบคุณ CPF ซึ่งเป็นครัวไทยรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในประเทศ ที่เข้าร่วมโครงการ “ทอดไม่ทิ้ง” เพื่อนำไปผลิต SAF พลังงานแห่งอนาคต นอกจากจะเป็นการสร้างเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG แล้ว ยังเป็นการสร้างความร่วมมือที่ครอบคลุมด้าน ESG ซึ่งถือเป็นแกนหลักของความยั่งยืนในปัจจุบัน เพราะไม่เพียงแค่ช่วยส่งเสริมในด้านการดำเนินธุรกิจ แต่ยังมีผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างแท้จริง ถือเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ทั้งสองบริษัทสามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกและสร้างอนาคตที่ยั่งยืนได้            ความร่วมมือระหว่างบางจากฯ และซีพีเอฟในครั้งนี้ ช่วยสร้างประโยชน์ในหลายมิติ นอกจากการเพิ่มมูลค่าให้กับของเสียจากกระบวนการผลิตอาหาร ซึ่งเป็นแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สมบูรณ์แบบ ยังส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ผ่านการนำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วจากร้านอาหารในเครือซีพีเอฟ เช่น เชสเตอร์, ห้าดาว กระทะเหล็ก ข้าวมันไก่ ไห่หนาน ฯลฯ เข้าร่วมโครงการ "ไม่ทอดซ้ำ" และ "ทอดไม่ทิ้ง" ซึ่งเป็นโครงการที่บีเอสจีเอฟร่วมดำเนินการกับพันธมิตรหลักผู้ริเริ่มโครงการ คือ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มาตั้งแต่ ปี 2565 โดยมีเป้าหมายในการร่วมกันขยายเครือข่ายผู้ประกอบการที่มีความตระหนักในการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในการดูแลสิ่งแวดล้อม สร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีให้คนไทย ปัจจุบันมีหน่วยงานภาคราชการ เอกชน และผู้ประกอบการ ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการและส่งต่อน้ำมันปรุงอาหารเพื่อผลิต SAF มากกว่า 800 จุดทั่วประเทศ ซึ่งการแปรรูปน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วเป็น SAF จะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมการบินให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 80% เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงการบินแบบดั้งเดิม ช่วยตอบโจทย์การแก้ไขวิกฤตสภาวะภูมิอากาศ”            ด้านนายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำนวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่ดีต่อกายและดีต่อใจ ขณะที่บางจากฯ มีนวัตกรรมที่สามารถนำน้ำมันปรุงอาหาร ที่ใช้แล้วจากกระบวนการผลิต เพื่อผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน หรือ SAF ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างรู้ค่าและหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับแนวคิด Sustainovation ของซีพีเอฟที่นำนวัตกรรมมาช่วยตอบโจทย์ความมั่นคงทางอาหารและการบริโภคอย่างยั่งยืน จึงเกิดความร่วมมือในครั้งนี้ โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว (Used Cooking Oil : UCO) รวมถึงไขมันต่าง ๆ จากธุรกิจผลิตอาหาร และไขมันจากบ่อบำบัดน้ำเสียของซีพีเอฟ นำไปผลิตน้ำมัน SAF นอกจากนี้ ยังมีแนวการศึกษาที่อาจมีการขยายผลไปยังธุรกิจของกลุ่มซีพีเอฟในต่างประเทศในอนาคต            “ความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของทั้งสองบริษัท และถือเป็นหนึ่งในการดำเนินการด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ climate action โดยการบริหารการลดของเสียจากกระบวนการผลิตที่จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมให้มีมูลค่า ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างครบวงจร หรือ Circular Economy”            สำหรับความคืบหน้าของการเตรียมเดินเครื่องหน่วยผลิต SAF ของบีเอสจีเอฟ ในพื้นที่โรงกลั่นน้ำมันบางจาก พระโขนง ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง กำลังดำเนินการตามแผนไปประมาณกว่า 70% ณ ปัจจุบัน และจะเริ่มผลิตในช่วงต้นไตรมาสที่ 2 ของปี 2568 ด้วยกำลังการผลิตเริ่มต้น 1 ล้านลิตรต่อวัน [PR News]

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

เทศกาลกินเจ โอกาสสะสมหุ้น CPF-TFG

เทศกาลกินเจ โอกาสสะสมหุ้น CPF-TFG

          หุ้นวิชั่น- ในเทศกาลถือศีลกินเจ วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม 2567 – วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2567 ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงานว่า บล.หยวนต้า ได้จัดทำ สถิติเทศกาลกินเจ: หุ้นกลุ่มเกษตรและอาหารชะลอลงเล็กน้อย แต่ยังแข็งแกร่งกว่า SET  จากสถิติย้อนหลังช่วงเทศกาลกินเจ พบว่าหุ้นในกลุ่มเกษตรและอาหาร แม้จะให้ผลตอบแทนเป็นลบเล็กน้อยในระหว่างเทศกาล โดยเฉลี่ยในรอบ 10 ปี ให้ผลตอบแทนที่ -0.7% และ -0.4% ตามลำดับ แต่ยังดีกว่า SET Index ที่ปรับตัวลงเฉลี่ย -0.8%           อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับช่วง 1 สัปดาห์ก่อนหน้าเทศกาล หุ้นกลุ่มอาหารจะมีผลตอบแทนเฉลี่ย -0.8% ซึ่งเป็นการ Underperform เมื่อเทียบกับ SET Index ที่ -0.2% โดยแสดงให้เห็นว่ามีการเก็งกำไรในฝั่งขายก่อนหน้า และเมื่อเทศกาลกินเจเริ่มขึ้น มักจะเป็นปัจจัยปลดล็อก Overhang ของกลุ่มเกษตรและอาหาร           นอกจากนี้ หากราคาหมูและไก่ไม่ปรับลดลงหลังเทศกาลกินเจ จะสะท้อนถึงความต้องการที่ยังแข็งแกร่ง และมีโอกาสที่ราคาหุ้นในกลุ่มฟาร์มสัตว์จะปรับตัวขึ้นได้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ แนวโน้มกำไร 3Q67: เติบโตอย่างโดดเด่นทั้ง QoQ และ YoY           สำหรับผลประกอบการ 3Q67 ของกลุ่มฟาร์มสัตว์บก คาดว่าจะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งทั้ง QoQ และ YoY โดยได้รับปัจจัยหนุนจากราคาขายเฉลี่ยของหมูที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศ (ปัจจุบันอยู่ที่ราว 73 บาท/กก. +1% MoM, +7% YoY) รวมถึงราคาหมูในเวียดนามและจีนที่ปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่น           ในขณะเดียวกัน ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง จากสต็อกวัตถุดิบที่มีอยู่มากพอ ประกอบกับราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปรับลดลงชัดเจนหลังเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยว ช่วยลดต้นทุนของกลุ่มได้อย่างต่อเนื่องจนถึง 1Q67 เป็นอย่างน้อย ค่าเงินบาทอ่อนค่าและดอกเบี้ยขาลง: ปัจจัยบวกต่อกลุ่มเกษตรและอาหาร           ในช่วงที่ผ่านมาค่าเงินบาทเทียบกับ USD แข็งค่ารวดเร็ว ทำให้เป็นปัจจัยกดดันต่อกลุ่มเกษตรและอาหาร อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีสัญญาณการชะลอการแข็งค่าและเริ่มกลับทิศทางมาเป็นอ่อนค่า ช่วยคลายแรงกดดันและเพิ่มความน่าสนใจให้กับหุ้นในกลุ่มนี้อีกครั้ง นอกจากนี้ การลดอัตราดอกเบี้ยยังเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญ เนื่องจากกลุ่มเกษตรและอาหารมีหนี้สินต่อทุน (IBD/E) ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะ CPF และ TFG ที่มี IBD/E สูงกว่ากลุ่ม กลยุทธ์การลงทุน: ช่วงเทศกาลกินเจเป็นโอกาสเข้าลงทุน           เรายังคงน้ำหนักลงทุนกลุ่มเกษตรและอาหาร “เท่ากับตลาด” แต่เชิงกลยุทธ์ มองว่าหากหุ้นกลุ่มฟาร์มสัตว์บกปรับตัวลงในช่วงเทศกาลกินเจ จะเป็นโอกาสที่ดีในการสะสมเพื่อคาดหวังผลประกอบการ 3Q67 ที่โดดเด่น รวมถึงแนวโน้มค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง หุ้นเด่นที่น่าสนใจในกลุ่มฟาร์มสัตว์บก ได้แก่ CPF (ราคาเป้าหมาย 28.00 บาท) และ TFG (ราคาเป้าหมาย 7.40 บาท) ในขณะที่กลุ่มส่งออกอาหาร ได้แก่ TU (ราคาเป้าหมาย 17.20 บาท) และ ITC (ราคาเป้าหมาย 30.00 บาท)

CPF ยกเลิกบ.ย่อย อเมริกา

CPF ยกเลิกบ.ย่อย อเมริกา

          หุ้นวิชั่น - นางกอบบุญ ศรีชัย เลขานุการบริษัท บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า บริษัท Yipeng, LLC บริษัทย่อย ที่บริษัทถือหุ้นทางอ้อมในสัดส่วนร้อยละ 100 ซึ่งจดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมรกิาในเดือนกันยายน 2562 เพื่อดําเนินธุรกิจร้านอาหารในรัฐเท็กซัส ประเทศสหรฐัอเมริกา มีผลการดําเนินงานไม่เป็นไปตามที่ตั้งไว้ ซึ่งได้รับผลกระทบมาจากหลายปัจจัย เช่น การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐอเมริกา ต้นทุน วัตถุดิบและค่าแรง ที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นต้น ภายหลังจากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว Yipeng, LLC จึงได้จดทะเบียนยกเลิกในวันที่ 25 กันยายน 2567 ทังนี้ การเลิกบริษัทย่อยดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการดําเนินงานของกลุ่ม CPF แต่อย่างใด

live-sticky
LIVE