#CPAC


KITCARBON ผนึก TGO เดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net Zero

KITCARBON ผนึก TGO เดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net Zero

           “KITCARBON” แพลตฟอร์มประมวลผลการปล่อย CO2 สำหรับโครงการก่อสร้างรายแรกในไทย ที่มีแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่จะช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยมุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีและเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมมือภาครัฐ ผู้ออกแบบ ผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างและสถาบันวิจัย แชร์ความรู้ในหัวข้อ “Data-Driven Toward Net Zero” ดึงตัวช่วยสุดล้ำบนแพลตฟอร์ม KITCARBON  ชูแนวคิด 'คิด ก่อน สร้าง' พร้อมผนึก TGO เดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net Zero ด้วย Green Data  เชื่อมต่อทุกภาคส่วนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ภายในงาน “KITCARBON Inclusive Green Growth Talks : Sustainability as a possibility, Data-Driven Toward Net Zero” ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์            โดย นายสุรชัย นิ่มละออ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชัน กล่าวเปิดงานพร้อมเผยว่า SCG ในฐานะผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง นอกจากเรื่องที่เราส่งมอบ Green Products เรายังใช้เทคโนโลยี Digital เพื่อให้ทุกการก่อสร้างของลูกค้าของเราเป็นอาคารคาร์บอนต่ำผ่านแพลตฟอร์ม KITCARBON ที่จะช่วยประเมินคาร์บอนในโครงการก่อสร้างก่อนก่อสร้างจริง ซึ่งได้รับการสนับสนุนข้อมูลฉลากคาร์บอนจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) นับเป็นส่วนสำคัญอย่างมาก ที่จะสามารถทำให้แพลตฟอร์ม KITCARBON มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทย ซึ่งสอดคล้องกับ NET ZERO Roadmap ของประเทศไทย เช่นกัน            ภายในงานได้รับเกียรติจาก นายรองเพชร บุญช่วยดี รองผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) ร่วมแชร์ความรู้ในหัวข้อ “Sustainability as a possibility” ถึงทิศทางภาคธุรกิจไทยมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero อย่างยั่งยืน พร้อมเผยถึงกลไกที่เป็น Carbon Pricing ในการลดก๊าซเรือนกระจกที่ทั่วโลกนิยมใช้หลักๆ คือ Emission Trading Scheme (ETS) และภาษีคาร์บอน ซึ่งนับว่าเป็นสองวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและสามารถ กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาต่อการใช้เทคโนโลยีที่สะอาดในประเทศได้            ทั้งนี้ช่วงเสวนาในหัวข้อ “Inclusive Green Growth Talks: Data-Driven Toward Net Zero” ยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 4 ท่านมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้            โดย นายนพพร กีรติบรรหาร Chief Marketing Officer บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด เผยว่า การลดคาร์บอนเครดิตนั้นต้องคำนึงถึงทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) Green Process เน้นการลดคาร์บอนตั้งแต่กระบวนการผลิต ลดการใช้พลังงานถ่านหิน แล้วหันมาใช้เชื้อเพลิงทดแทน รวมถึงลดการใช้ไฟฟ้าโดยใช้พลังงานหมุนเวียนในกระบวนการผลิตซีเมนต์ในประเทศแทน 2) Green Products มีการพัฒนาปูนคาร์บอนต่ำเจเนอเรชัน 2 โดยตั้งเป้าสัดส่วนการขายปูนคาร์บอนต่ำทดแทนปูนเดิมที่ 90% ภายในปีนี้ และผลักดันให้มีการใช้สินค้า SCG Green Choice มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีสินค้า 318 รายการ ที่ได้รับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และมีแผนที่จะขอจดเพิ่มอีก 210 รายการในปีนี้ 3) Green Solutions เน้นการพัฒนานวัตกรรมก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น เทคโนโลยีการพิมพ์คอนกรีต 3 มิติ (3D Printing) ที่ช่วยลดเศษวัสดุเหลือใช้หน้างานได้ถึง 70% และแพลตฟอร์มประเมินคาร์บอนงานก่อสร้าง หรือ KITCARBON ที่ใช้เทคโนโลยี Digital & BIM เข้ามาช่วยคำนวน Embodied Carbon ของโครงการ ซึ่งจะให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ต่อการออกแบบกระบวนการก่อสร้างและการเลือกใช้วัสดุ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม            ดร.ณรงค์วิทย์ อารีมิตร Executive Director บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด (A49) and Regional Manager A49 ขอนแก่น ในฐานะสถาปนิกและผู้ออกแบบ กล่าวว่า ทางบริษัทจัดตั้งแผนก Sustainability มา 20 ปีแล้ว แต่ปัจจุบันนี้ หากจะทำให้ครบทั้งกระบวนการต้องอาศัยการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-Driven) บริษัทจึงจัดตั้งแผนกใหม่ชื่อ Integrated Research เพื่อบูรณาการความยั่งยืน ข้อมูล และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดในการออกแบบเพื่อความยั่งยืนคือ วิธีคิดไม่ว่าจะเป็น Build Less สร้างให้น้อยลง เพิ่มพื้นที่สีเขียวมากขึ้น Build Light ลดเศษวัสดุในการก่อสร้าง ใช้วัสดุที่นำมารีไซเคิลได้ Build Low Carbon ใช้วัสดุที่มีอยู่ โดยที่ไม่ได้เติมวัสดุสิ้นเปลืองเพิ่ม เป็นอีกหนึ่งวิธีคิดในการออกแบบเพื่อทำให้เกิดคาร์บอนต่ำ และ Build for The Future ออกแบบเพื่อเน้นการลด Operational Carbon เช่น การออกแบบเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าในอนาคต เป็นต้น ทั้งนี้การลดคาร์บอนให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ดังนั้นเครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณ Embodied Carbon และ Operational Carbon จึงสำคัญมากในอนาคต            ดร.ทศพร ศรีเอี่ยม ผู้อำนวยการสถาบันแบบจำลองสารสนเทศอาคาร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ และคณะทำงานคาร์บอนนิวทัลลิตี้ สภาวิศวกร กล่าวว่า สภาวิศวกรมีหน้าที่ในการจัดทำมาตรฐานการใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling Standard) ให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล พร้อมเผยแพร่ให้กับองค์กรต่างๆ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการก่อสร้างให้มีความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านจากยุค Analog สู่ยุค Digital นอกจากนี้ ทางสภาฯ ยังพร้อมด้วยวิศวกร จำนวน 200,000 คน และสถาปนิก จำนวน 50,000 คน เพื่อสนับสนุนองค์กรต่างๆ ในการลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ            ด้าน ดร.นงนุช  พูลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัย สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (MTEC) กล่าวว่า ปัจจุบันทุกอย่างมุ่งสู่ Net Zero ทั่วโลกมีการออกมาตรการทางการค้าด้านสิ่งแวดล้อมมากถึง 18,000 มาตรการ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 16% ยังไม่รวมถึงความต้องการด้านฉลากคาร์บอนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นทางสถาบันฯ จึงมีหน้าที่ที่จะสนับสนุนข้อมูลให้ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ แต่บางครั้งแม้ว่าเราจะมีฐานข้อมูลของไทยเอง แต่ผู้ประกอบการมักจะเจอปัญหาเวลาจดทะเบียนในต่างประเทศ เพราะใช้ฐานข้อมูลที่ต่างกัน ดังนั้นการพัฒนาฐานข้อมูลให้สอดคล้องกับบริบทหรือธุรกิจแต่ละประเภทนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็น            ดังนั้นการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำของอุตสาหกรรมก่อสร้างนั้นจำเป็นต้องวางแผนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เริ่มตั้งแต่วิธีคิด การออกแบบ การเลือกใช้วัสดุ การขนส่ง จนถึงการก่อสร้าง ซึ่ง KITCARBON ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ตอบโจทย์และช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงข้อมูลวัสดุก่อสร้าง สามารถคำนวน Embodied Carbon ของวัสดุแต่ละชนิด ลดต้นทุนโดยรวมและลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ [PR News]

AP มุ่งสังคมสีเขียว นำร่อง “คอนกรีตคาร์บอนต่ำ”

AP มุ่งสังคมสีเขียว นำร่อง “คอนกรีตคาร์บอนต่ำ”

          กรุงเทพฯ (21 ต.ค. 67) บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย ภายใต้คำมั่นสัญญา “ชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้” นำโดย นายบุญชัย จันทร์กระจ่างเลิศ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานซัพพลายเชน ย้ำเบอร์หนึ่งอสังหาฯ ไทย เดินหน้าขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องด้วยการเลือกใช้อีกหนึ่งนวัตกรรมเพื่อโลก “คอนกรีตคาร์บอนต่ำ” ที่พัฒนาขึ้นโดย CPAC บริษัทในเครือเอสซีจี หนึ่งในพันธมิตรที่สำคัญของเอพี ที่มาร่วมกันสร้างสังคมสีเขียวผ่าน “บ้านคุณภาพ” ตามแนวคิด Green Construction เพราะที่เอพี เราใส่ใจในทุกรายละเอียดของการพัฒนาที่อยู่อาศัยคุณภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้เป็นที่...ที่ดีที่สุดในทุกๆ ด้าน โดยล่าสุดในปี 2567 (มกราคม – กันยายน) เอพีได้นำนวัตกรรมนี้มาใช้กับบ้านเอพีกว่า 56 โครงการ ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 1,112,600 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2e) หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้กว่า 117,116 ต้น ด้วยความมุ่งหวังที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศไทยเพื่อก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ พร้อมพัฒนาองค์กรและสร้างความยั่งยืนในทุกกระบวนการตามหลัก ESG เพื่อให้ลูกบ้านเอพีและสังคมมีชีวิตดีๆ ไปด้วยกัน

[PR News] AP – CPAC ผนึกกำลังตอกย้ำจุดยืนสร้างบ้านคุณภาพรักษ์โลก

[PR News] AP – CPAC ผนึกกำลังตอกย้ำจุดยืนสร้างบ้านคุณภาพรักษ์โลก

          AP Thailand จับมือ CPAC ในเครือเอสซีจี ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญและต่อเนื่อง ตอกย้ำจุดยืนเดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อการอยู่อาศัยไทยที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยสังคมคาร์บอนต่ำ (Low-Carbon Society) ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างบ้านคุณภาพรักษ์โลกไปด้วยกัน ซึ่งบริษัทฯ เชื่อมั่นและเลือกใช้ “คอนกรีตคาร์บอนต่ำซีแพค” ในงานโครงสร้างโครงการบ้านแนวราบในเครือเอพี ไทยแลนด์ ที่มุ่งเน้นพัฒนานวัตกรรมสู่การสร้างบ้านคุณภาพ ทั้งยังช่วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการขนส่งผ่าน “รถโม่เล็ก CPAC” ขนาดคล่องตัวที่ช่วยลดฝุ่น PM 2.5 และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์           นายบุญชัย จันทร์กระจ่างเลิศ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานซัพพลายเชน บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ตอกย้ำความเป็นผู้นำในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย เพื่อให้ทุกโครงการเครือเอพีคือที่...ที่ดีที่สุด ภายใต้พันธกิจสำคัญคือ การพัฒนาโครงการในเครือเอพี มุ่งส่งมอบชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้ให้กับทุกคน ควบคู่ไปกับความเชื่อที่ว่า  “มากกว่าคำว่าบ้าน” แต่คือการสร้างชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน เพื่อให้ทุกพื้นที่ในบ้านเอพี เติบโตไปพร้อมกับทุกช่วงเวลาชีวิตของทุกคนอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านความใส่ใจในทุกรายละเอียด ตั้งแต่การออกแบบ การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างคุณภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด Green Construction โดยเฉพาะงานซีเมนต์และคอนกรีตผสมเสร็จที่ถือเป็นวัสดุหลักของการก่อสร้าง ซึ่งบริษัทฯ มีความเชื่อมั่นในนวัตกรรมคอนกรีตคาร์บอนต่ำจาก CPAC ในเครือเอสซีจี           “เอพี ไทยแลนด์ เราเชื่อมั่นในการสร้างบ้านคุณภาพที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ลูกค้าได้อยู่อาศัยอย่างมีความสุขและมีสุขภาพที่ดีในระยะยาว ผ่านการเลือกใช้สินค้ารักษ์โลก (Green Product) จาก CPAC ในการก่อสร้างโครงการบ้านแนวราบรวมกว่า 56 โครงการในปีนี้ (2567) ตลอดจน เลือกใช้ ‘รถโม่เล็ก CPAC’ และ ‘คอนกรีตคาร์บอนต่ำซีแพค’ ซึ่งจุดเด่นของ ‘รถโม่เล็ก CPAC’ เหมาะสำหรับงานก่อสร้างในพื้นที่จำกัด ช่วยลดเสียงรบกวน ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับคอนกรีตทั่วไป ‘คอนกรีตคาร์บอนต่ำซีแพค’ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ช่วยลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยลดผลกระทบต่อสภาพอากาศ  ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงความใส่ใจของบริษัทฯ ที่ต้องการมอบสิ่งที่ดีที่สุด เป็นบ้านคุณภาพที่ยั่งยืนและปลอดภัย เป็นมิตรต่อสุขภาพ และเป็นมิตรต่อโลกของเราทุกคน”           ด้าน นายถิรวัฒน์ พูนกาญจนะโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด กล่าวว่า “นับเป็นความภูมิใจของ CPAC ในการพัฒนานวัตกรรมและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับ AP Thailand ที่มีวิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน โดยการดำเนินงานร่วมกันกับ           AP Thailand ตั้งแต่มกราคม – ปัจจุบัน (กันยายน 2567) สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1,112,600 กิโลกรัม เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 117,116 ต้น นับเป็นอีกหนึ่งกลไกในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 และล่าสุด AP Thailand กับการเลือกใช้ ‘คอนกรีตคาร์บอนต่ำซีแพค’ และ ‘รถโม่เล็ก CPAC’ เพื่อเข้ามาใช้ในโครงการพัฒนาอสังหาฯ ใจกลางเมือง ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราหวังว่านวัตกรรมนี้จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ตอบโจทย์การก่อสร้างสมัยใหม่และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างยั่งยืน”           สำหรับรถโม่เล็ก CPAC ขึ้นชื่อว่าเล็กกะทัดรัด มีความคล่องตัว ตอบโจทย์งานโครงการที่พักอาศัยในเมืองใหญ่และด้วยสามารถบรรทุกคอนกรีตได้มากถึง 2 คิวต่อเที่ยว อีกทั้งยังไม่ส่งผลกระทบต่อถนนให้ทรุดตัวเสียหายจากการรับน้ำหนัก และลดมลภาวะทางเสียง ส่วนคอนกรีตคาร์บอนต่ำซีแพค มีความโดดเด่นด้วยเนื้อคอนกรีตทึบแน่น ผิวเรียบ ทนต่อการขัดสีและหลุดล่อน ช่วยให้งานก่อสร้างแข็งแรง และสามารถออกแบบตามกำลังอัดให้เหมาะสมกับงานประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานพื้น เสา คาน หรือโครงสร้างที่ต้องการความทนทาน ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบการใช้งานสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในกระบวนการผลิตได้อย่างน้อย 25 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร(คิว) เทียบเท่าการใช้คอนกรีต 1 คิว เท่ากับการปลูกต้นไม้ได้ถึง 2.5 ต้น           และทั้งหมดนี้คือสิ่งที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ AP Thailand และ CPAC ที่มีแนวทางร่วมกันที่ไม่ใช่เพียงแต่   ตอบโจทย์เรื่องที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม พร้อมยังสร้างแรงกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทยเกิดการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำอีกด้วย