#Cloud Solution


NT ผนึก AWS จัดโรดโชว์ ตอบ 5 คำถาม คลาวด์คอมพิวติ้ง

NT ผนึก AWS จัดโรดโชว์ ตอบ 5 คำถาม คลาวด์คอมพิวติ้ง

          บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที (NT) ผู้ให้บริการโทรคมนาคมซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของไทย และเป็นพาร์ทเนอร์ระดับ Advanced Tier ของ อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (AWS หรือ เอ ดับบลิว เอส) เปิดเผยว่า การเดินสายจัดกิจกรรมโรดโชว์ในหลายจังหวัดร่วมกับ AWS รวมทั้งการร่วมงาน AWS Public Sector Day 2024 ได้รับความสนใจและการตอบรับอย่างดีจากผู้เข้าร่วมงาน NT จึงได้รวบรวม 5  คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง มาแบ่งปันสำหรับผู้ที่สนใจดังนี้: ต้องการเริ่มย้ายเวิร์คโหลดขึ้น AWS มีขั้นตอนอย่างไร ขั้นตอนการย้าย workloads มี 3 ขั้นตอนหลักๆ ได้แก่ การประเมิน (assess), การเตรียมการย้าย (mobilize), และ การย้ายข้อมูล (migrate) ขั้นตอนแรกสุดที่ต้องดำเนินการคือ 1. ประเมินเวิร์คโหลด (assess workload) และปริมาณของเวิร์คโหลด ร่วมกับ ทาง NT เพื่อออกแบบสถาปัตยกรรมของระบบ (หรือ AWS Architecture) ที่จะย้ายขึ้นไปบน AWS Cloud  และ ประเมิน Solution ในการย้ายระบบที่เหมาะสมร่วมกัน 2. การเตรียมการย้าย (mobilize) สร้างทรัพยากร และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ บน AWS Cloud รอการย้าย เช่น เตรียม VPC, Network, และ เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายไว้ ขั้นตอนสุดท้าย 3.การย้ายข้อมูล (migrate) ทำการย้ายข้อมูลตาม Solution ที่ได้มีการหารือร่วมกัน หากต้องการเปลี่ยนจาก On-Premises ไปใช้เทคโนโลยี AWS Cloud ควรมีการเตรียมความพร้อมขององค์กรอย่างไร ในเชิงทีมงาน งบประมาณ ระยะเวลาในการดำเนินการ ทีมงาน: ในการใช้งานคลาวด์อย่างยั่งยืน ทีมงานที่ดูแลระบบจำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานบนคลาวด์ ซึ่งแตกต่างจากระบบ On-Premises โดยหากทีมงานยังขาดความรู้หรือความเชี่ยวชาญ สามารถให้ NT ช่วยดูแลในช่วงเริ่มต้น และสนับสนุนการเรียนรู้เกี่ยวกับคลาวด์ผ่านคอร์ส เรียนที่มีให้เลือกทั้งแบบออนไลน์และออนไซต์ รูปแบบออนไลน์: ผู้เรียนสามารถเลือกคอร์สที่สะดวกและเหมาะสมกับความต้องการ เช่น AWS Skill Builder แบบ ไม่มีค่าใช้จ่าย: มีคอร์สให้เลือกเรียนมากกว่า 600 คอร์ส AWS Skill Builder แบบ Subscriptions: เข้าถึง Lab ฝึกปฏิบัติกว่า 1,000 Lab และเนื้อหาเตรียมสอบที่ครอบคลุม รูปแบบออนไซต์: NT มีคอร์สอบรมที่สอนโดยอาจารย์ที่ผ่านการรับรองจาก AWS พร้อมบริการสอบ Certification ครอบคลุมตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับทักษะขั้นสูงในหลากหลายสาขา เช่น AI (Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์), Machine Learning และ Data Analytics การเรียนเหล่านี้ช่วยเสริมทักษะให้ทีมงานพร้อมรับมือกับการใช้งานคลาวด์ในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ด้านงบประมาณ: ทีม Solution Architect ของ NT พร้อมให้คำปรึกษาในด้านการออกแบบระบบเมื่อต้องการย้ายมาใช้งานบนคลาวด์ รวมถึงบริการช่วยคำนวณงบประมาณ ไม่ว่าจะเป็นแบบรายปีหรือแบบตามสัญญา เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและเป้าหมายขององค์กร ระยะเวลาดำเนินการ: หลังจากการทำ assess และออกแบบ AWS architecture เป็นที่เรียบร้อย หลังจากนี้การย้ายเวิร์คโหลดขึ้นคลาวด์จะขึ้นอยู่กับความพร้อมในการย้ายระบบของทางลูกค้า และ Solution ในการย้ายเวิร์คโหลด ที่จะต้องมีการหารือร่วมกันระหว่างและลูกค้า เพื่อให้การย้ายขึ้นไปใช้งานบนคลาวด์มีประสิทธิ์ภาพสูงสุดและกระทบกับการใช้งานของ User น้อยที่สุด เวิร์คโหลดแบบไหนควรย้ายก่อน เริ่มจาก Workload ที่ง่ายและมีความเสี่ยงน้อย เช่น Website หรือ Webserver เป็นต้น จากนั้นค่อยๆ Migrate ระบบที่ซับซ้อนมากขึ้น ข้อสำคัญ คือ assess แต่ละ Workload อย่างละเอียด เพื่อหาวิธีการ Migration ที่เหมาะสมที่สุด เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งเหมาะกับองค์กรประเภทใด หากเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือกลาง เหมาะกับการใช้คลาวด์หรือไม่ ในแง่การลงทุนสร้างทีมงานและย้ายจาก On-Premises ขึ้นบนคลาวด์ - การใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์เหมาะสมกับทั้งองค์กรทุกขนาด โดยสามารถเลือกบริการ และฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรม และขนาดขององค์กรได้เพราะคลาวด์คอมพิวติ้งมอบความคล่องตัว ช่วยให้สามารถเรียกใช้ทรัพยากรได้อย่างรวดเร็วและเพิ่มการดำเนินงานได้ทันทีตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลง ทำให้สามารถสร้างนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติใหม่หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ทันกับความต้องการของตลาดในช่วงเวลานั้น ความยืดหยุ่นของระบบช่วยให้องค์กรสามารถปรับการใช้งานทรัพยากรได้อัตโนมัติ ไม่ว่าจะเพิ่มหรือลด เพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงานเป็นไปอย่างเหมาะสมโดยไม่ต้องจัดสรรทรัพยากรเกินความจำเป็น นอกจากนี้ ระบบคลาวด์ยังช่วยลดต้นทุนได้อย่างมาก โดยไม่ต้องลงทุนในฮาร์ดแวร์ล่วงหน้าจำนวนมาก และลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นการจ่ายเฉพาะทรัพยากรที่ใช้งานจริงเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากการลงทุนใน data center ที่มีระยะเวลาของการคุ้มทุนที่นาน และยังมีค่า maintenance สูงอีกด้วย ประโยชน์ของเทคโนโลยีคลาวด์เหล่านี้จะช่วยให้องค์กรธุรกิจมีความยืดหยุ่น ประสิทธิภาพ และคุ้มค่ามากขึ้นในยุคปัจจุบัน หน่วยงานที่ไม่สามารถใช้บัตรเครดิตเพื่อชำระค่าบริการได้ แต่อยากใช้เทคโนโลยี AWS Cloud จะมีตัวเลือกในการชำระค่าบริการอย่างไรได้บ้าง - สามารถใช้บริการ AWS Cloud ผ่าน partner ผู้ให้บริการ Billing Service เช่น NT ในการออกบิล/ใบกำกับภาษีได้ นอกจากหน่วยงานจะไม่ต้องชำระค่าบริการด้วยบัตรเครดิตแล้ว ทาง NT ยังสามารถการออกบิล/ใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าได้ในสกุลเงินบาทไทย ในอัตราแลกเปลี่ยนตามธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันทำการสุดท้ายของเดือนนั้น ๆ หรืออัตราแลกเปลี่ยนคงที่ตามที่ตกลงทำสัญญา สำหรับผู้ที่สนใช้ติดต่อ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ บริการ AWS Cloud ผ่าน NT Cloud สามารถติดต่อบริษัท ได้ที่ [email protected] หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://ntcloudsolutions.ntplc.co.th/solutions/nt-cloud-aws/ [PR News]

INET: ผู้ให้บริการไอซีทีครบวงจร [HoonVison x FynnCorp]

INET: ผู้ให้บริการไอซีทีครบวงจร [HoonVison x FynnCorp]

          บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) [INET] ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีแบบครบวงจร ด้วยฐานลูกค้ากว่า 4,000 ราย โดดเด่นด้าน Cloud Solution และ Digital Platform สำหรับธุรกิจ มีบริการเป็นที่ยอมรับอย่าง One Electronic Billing และ One Authen Key Highlights           ผลการดำเนินงานเติบโต กระแสเงินสดเป็นบวกต่อเนื่อง จากรายได้การขายและให้บริการ รวมถึงกำไรสุทธิในงวด 9 เดือนแรกของปี 2567 เติบโตกว่า 21% และ 57% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สะท้อนดีมานด์ด้าน Digital Transformation ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในแต่ละองค์กรธุรกิจที่เป็นฐานลูกค้าเดิมและใหม่           เชี่ยวชาญด้าน Cloud Service และมุ่งสู่ Platform Service Provider เพื่อรองรับการเติบโตของ Digital Transformation จากความสำเร็จของบริษัทในการพัฒนาแพลตฟอร์ม "หมอพร้อม" ที่เชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพของคนไทยในสถานพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน สู่การขยายบริการ E-Tax Invoice, CA (Certificate Authority) และขยายธุรกิจ Data Center ในไทย เพื่อพัฒนาแหล่งการจัดเก็บข้อมูลภายในประเทศ           เสนอขายหุ้นกู้ 2 รุ่น ให้กับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ เป็นหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และผู้ออกมีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนครบกำหนด โดยจ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน ประกอบด้วย รุ่นอายุ 2 ปี 6 เดือน อัตราดอกเบี้ย 5.35-5.45% ต่อปี และ 3 ปี 1 เดือน อัตราดอกเบี้ย 5.70-5.80% ต่อปี ซึ่งเปิดให้จองซื้อระหว่างวันที่ 7-9 มกราคม ซึ่งที่ผ่านมา บริษัทไม่มีประวัติการผิดนัดชำระหนี้เงินต้นหรือดอกเบี้ยของหุ้นกู้ Company Overview           บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) (INET) เริ่มประกอบธุรกิจเป็นผู้ให้บริการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารครบวงจร เมื่อปี 2538 และได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน เข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2544 เป็นต้นมา โดยมีสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และบริษัท โทรคมนาคมเเห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในปัจจุบัน ด้วยสัดส่วน 24.9% และ 24.1% ตามลำดับ           ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีแบบครบวงจร โดดเด่นด้าน Cloud Service           การดำเนินธุรกิจของ INET แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) Infrastructure as a Service เป็นการรวมการให้บริการ 3 ประเภท ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญสำหรับบริการดิจิทัลอื่น คือ Cloud service, INET Data Center และ บริการ Internet Access           1.1) ธุรกิจบริการ Cloud Service เป็นบริการการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ร่วมกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งบริษัทให้บริการระบบ Cloud Service ในลักษณะสาธารณะสำหรับองค์กรมา กว่า 10 ปี และได้รับรองมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นรายแรกในไทย (ISO/IEC 27018:2019) โดยให้บริการแบ่งตามประเภทเทคโนโลยี คือ Infrastructure as a Service (IaaS): การให้บริการในโครงสร้างพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ อย่าง Server, Storage และ Network เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้บริการลดค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนซื้อและบำรุงรักษาอุปกรณ์เอง Platform as a Service (Paas): เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สามารถนำ Application มาทำงานอยู่บนระบบนี้ โดยไม่ต้องลงทุนด้าน Hardware และ Software อย่างเช่น บริการใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ บริการระบบบริหารจัดการเอกสารดิจิทัล (Paperless) รวมถึง บริการเตรียมความพร้อมทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Cyber Security) เป็นต้น Software as a Service (SaaS): เป็นการให้บริการ Application และ Software ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องติดตั้ง Software ในอุปกรณ์ปลายทาง และไม่ต้องดูแลรักษา Hardware เช่น Email on Cloud เป็นต้น           1.2) ธุรกิจบริการ INET Data Center อย่าง Co-Location บริการรับฝาก Server สำหรับองค์กรที่ต้องการความปลอดภัย ด้วยระบบสนับสนุนอย่างระบบไฟฟ้าสำรอง ระบายความร้อน การเชื่อมต่อเครือข่ายความเร็วสูง โดยลูกค้าจะนำเครื่องที่มีอยู่แล้วมาฝากในพื้นที่ที่จัดไว้ใน ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลไอเน็ต (INET-IDC) ทั้งหมด 3 แห่งของบริษัท ซึ่งได้แก่ อาคารบางกอกไทย ทาวเวอร์ (INET-IDC1) อาคารไทยซัมมิท ทาวเวอร์ (INET-IDC2) และอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี (INET-IDC3) ซึ่งทั้ง 3 ศูนย์สามารถเชื่อมต่อกันด้วยความเร็วสูง และจะคอยให้บริการองค์กรชั้นนำของประเทศที่ทำการซื้อขายธุรกรรมหลักทรัพย์อินเทอร์เน็ต ไปจนถึง ผู้ให้บริการเว็บไซต์ และผู้ใช้บริการจากต่างประเทศที่ต้องการเผยแพร่ต่อผู้ใช้ในประเทศไทย           1.3) ธุรกิจบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Access) สำหรับธุรกิจครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ 2) Business Platform ประกอบด้วยบริการ           2.1) E-Transaction อย่าง E-Tax Invoice Service เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการด้วยระบบที่เชื่อมโยงกับสรรพากร, E-Factoring ตัวช่วยส่งข้อมูลรายการบัญชี สร้างเอกสารการเงินผ่านระบบออนไลน์ระหว่างบริษัทที่มีบัญชีลูกหนี้ และบริษัทไฟแนนซ์ โดยทำให้บริษัทที่มีหนี้สามารถขายหนี้สินให้กับบริษัทไฟแนนซ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพขึ้น และ Certification Authority (CA) เป็นหน่วยงานในการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ทำธุรกรรมต่างๆได้อย่างมั่นใจว่าบุคคลนั้นๆที่ทำการติดต่อมีตัวตนจริง เชื่อถือได้ เช่น ใบรับรองประเภทนิติบุคคล ใบรับรองประเภทเจ้าหน้าที่นิติบุคคล และใบรับรองประเภทบุคคล           2.2) E-Office อย่างบริการ Digital Workflow ที่ทำให้องค์กรปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจเป็นระบบดิจิทัล เช่น ลดการใช้กระดาษ เพิ่มความเร็วในการจัดการข้อมูล รวมถึงระบบลงนามเอกสารจากกระดาษเป็น Digital Signature อีกทั้ง E-Meeting (One-Conference) และ One Box ที่ทำให้องค์กรบริหารจัดการไฟล์เป็นระบบและปลอดภัย Source: One Report 2566           โครงสร้างรายได้ของบริษัท มีรายได้จาก Cloud Service เป็นหลัก คิดเป็นประมาณ 85% ของรายได้ในปี 2566 ตามมาด้วยบริการ Co-Location 10% และอื่นๆ และในปี 2567 รายได้ของแต่ละกลุ่มธุรกิจยังคงสัดส่วนใกล้เคียงเดิม Source: One Report 2566 (หน่วยล้านบาท)           กลุ่มลูกค้าของบริษัทประกอบด้วยหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เป็น Medium Enterprise ส่วนใหญ่ และรองลงมาเป็น Small Enterprise แบ่งเป็นลูกค้าองค์กรที่ต้องการลดต้นทุนทางด้าน IT Structure ลูกค้าขนาดกลางและขนาดเล็กที่ต้องการใช้ IT Structure หรือ Software as a Service รวมไปถึงกลุ่มลูกค้าองค์กรที่ต้องการลดต้นทุนด้านบุคลากรด้าน IT และช่วยลดปัญหาบุคลากรขาดทักษะ โดยบริษัทมีช่องทางการจำหน่าย เน้นการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง นำเสนอสินค้าและบริการไปยังกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มผ่านพนักงานขาย หน้าเว็บไซด์ และ Thaidotcom Marketplace และมีการร่วมมือกับพันธมิตรในการให้บริการ Cloud Service เพื่อขยายฐานลูกค้า โดยเน้นลูกค้าเอกชนที่สนใจนวัตกรรม Source: Opportunity Day 3Q2567           หากเทียบในอุตสาหกรรมเดียวกัน พบว่า มีผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการอินเทอร์เน็ตจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เหมือนกับบริษัทจำนวน 222 ราย (อ้างอิงข้อมูลจากรายงานประจำปี 2566) ซึ่ง INET จัดว่าเป็นบริษัทขนาดกลางในกลุ่มคู่แข่งขันทั้งหมด 222 ราย ตั้งเป้าการเป็น Trusted Platform Service Provider           บริษัทวางแผนที่จะเป็นมากกว่า Cloud Service Provider โดยการมุ่งเน้นการลงทุนในบริการ Platform ต่างๆ เพื่อต่อยอดการใช้งานของบริการ Cloud พร้อมกับให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งจาก Roadmap ที่ได้วางไว้ บริษัทได้ก้าวข้ามการเป็น Cloud Provider มาสู่การสร้างแพลตฟอร์ม (Digital Transform) ที่เน้นการจัดข้อมูลให้เข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ Source: Opportunity Day 3Q2567           ในปัจจุบัน บริษัทมีบริการด้าน Digital Platform Services เป็นที่ยอมรับอย่าง One Electronic Billing ผู้ให้บริการ E-Tax Invoice ด้วยส่วนแบ่งตลาด 48.9% จำนวนลูกค้า 2,889 ราย และ One Authen ผู้ให้บริการ CA หรือ Digital Signature มีส่วนแบ่งการตลาด 77.2% ซึ่งบริษัทได้พัฒนาขึ้นมาเอง เป็นกรรมสิทธิ์ที่ผ่านการรับรองจาก NRCA (ผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ) ส่งผลให้ต้นทุนระยะยาวของบริษัทต่ำลง Source: Opportunity Day 3Q2567 สภาพตลาดและการแข่งขัน           ตลาดคลาวด์ในประเทศไทยมีมูลค่ามากกว่า 58,000 ล้านบาทในปัจจุบัน และจากพฤติกรรมของคนในการใช้ชีวิตเข้าสู่ดิจิทัลมากขึ้นโดยเฉพาะภายหลังช่วง COVID-19 จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ผู้ใช้บริการคลาวด์หรือแพลตฟอร์มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยรายงานจาก IDC APeJ Public Cloud Services Tracker รายงานมูลค่าตลาดของบริการ Public Cloud ในไทย มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 20.33% ระหว่างปี 2561-2567 ซึ่ง Software as a Service มีส่วนแบ่งการตลาดใหญ่สุด ด้วยสัดส่วน 50% ของจำนวนรวมทุกประเภท Financial Performance           เติบโตในกลุ่มรายได้หลักอย่าง Cloud Service และ Digital Platform รายได้จากการขายและให้บริการใน 9 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 21.02% YoY มาอยู่ที่ 1,842.63 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากรายได้จากการขาย 9M2566 ที่เคยอยู่ที่ 1,522.62 ล้านบาท ด้วยแรงขับเคลื่อนจากความต้องการของภาคเอกชนที่อยากปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล           กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเกือบ 57% YoY ใน 9M2567 มาอยู่ที่ 207.52 ล้านบาท จากการเติบโตของรายได้ ประกอบกับการบริหาร จัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ Current Corporate Bonds Financial Covenants           ในการออกหุ้นกู้ บริษัทมีหน้าที่ดำรงอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (IBD/E: Interest Bearing Debt to Equity Ratio) ตลอดอายุของหุ้นกู้ในงบการเงินรวม เป็นอัตราส่วนไม่เกิน 2.5 เท่า ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีของแต่ละปี โดย ณ ไตรมาส 3 ปีนี้ บริษัทดำรงอัตราส่วนนี้เท่ากับ 2.14 เท่า ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากสิ้นปี 2566 ที่ 2.27 เท่า จากการชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้น และเงินกู้ยืมระยะยาวลดลงอย่างมาก Outstanding Bonds           INET ออกหุ้นกู้ระยะยาวมาแล้วทั้งหมด 13 รุ่นตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน และเป็นหุ้นกู้ที่ยังไม่ครบกำหนดชำระ 8 รุ่น ซึ่งเป็นหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดชำระในเดือนมกราคม ปี 2568 จำนวน 3 รุ่น ได้แก่ INET251A, INET251B, INET251C รวมเป็นมูลค่าเงินต้นของหนี้หุ้นกู้ทั้งสิ้น 1,500 ล้านบาท ส่งผลให้ ณ ปัจจุบัน บริษัทมีหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ (Outstanding bonds) 4,578.3 ล้านบาท โดยบริษัทอยู่ในระหว่างการเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่จำนวน 2 รุ่น วัตถุประสงค์เพื่อชำระคืนหนี้หุ้นกู้ที่จะครบกำหนดชำระในต้นปีหน้าทั้ง 3 รุ่น (roll over) รวมถึงใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้นในการประกอบกิจการ ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม บริษัทมีแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมหากไม่สามารถเสนอขายได้เต็มจำนวน จากกระแสเงินสดภายในกิจการ หรือจากแหล่งเงินทุนอื่นๆ หุ้นกู้เสนอขายใหม่ Key Risk Factors ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง เนื่องจากบริษัทอยู่ในช่วงขยายธุรกิจ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน จึงจำเป็นต้องจัดหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม ซึ่งบริษัทมีโครงสร้างเงินทุนจากการกู้ยืมเป็นหลัก (D/E = 4.57) และเป็นหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสูง สะท้อนจากการเทียบกับกำไรส่วน EBITDA พบว่ามีค่าเพิ่มขึ้นมา 8.77 เท่า ในงวด 9 เดือน ปี 2567 จึงทำให้อาจเผชิญกับความผันผวนด้านอัตราดอกเบี้ย ประกอบกับ ถ้าผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนที่คาดไว้ ก็อาจส่งผลความสามารถในการชำระหนี้ได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทมีแผนที่จะเพิ่มทุนในอนาคตและดำเนินการลดต้นทุนอย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สภาพคล่องอยู่ในระดับที่บริษัทควบคุมได้ ความเสี่ยงในการดำรงอัตราส่วนทางการเงิน บริษัทมีหน้าที่ดำรงอัตราส่วนของหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันสิ้นงวดบัญชี ไม่เกิน 2.5 เท่า ในการกู้ยืม ซึ่ง ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2567 บริษัทดำรงอัตราส่วนนี้เท่ากับ 2.14 เท่า โดยบริษัทเชื่อมั่นว่า ณ สิ้นปี 2567 จะสามารถดำรงอัตราส่วนนี้ไว้ได้ ความเสี่ยงด้านการด้อยสิทธิเชิงโครงสร้างของหุ้นกู้ เนื่องจากหุ้นกู้ที่เสนอขายนี้เป็นหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ซึ่งทำให้มีความด้อยสิทธิกว่าเจ้าหนี้ที่มีลำดับในการได้รับชำระคืนก่อน (หนี้มีประกัน) อย่างมีนัยสำคัญ Source: Company's factsheet อ่านรายละเอียดเพิ่มที่ https://app.visible.vc/shared-update/bedb3e8b-073e-441b-b5b7-a1b4e6a2babb