ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#Cloud AI


AI บทบาทสำคัญในภาคธุรกิจ

AI บทบาทสำคัญในภาคธุรกิจ

          หุ้นวิชั่น - ท่ามกลางการแข่งขันและสงครามเทคโนโลยีที่กำลังร้อนระอุ เทคโนโลยี AI เข้ามามีบทบาทมากขึ้นและยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดด เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในหลากหลายอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ ซึ่งการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในยุคแรก คือ Machine Learning และต่อมาได้ถูกพัฒนาต่อยอดไปสู่ Deep Learning ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น สำหรับในระยะข้างหน้าเรามองว่าเทรนด์ AI จะมุ่งเน้นไปที่ความสามารถในการตอบโต้กับโลกกายภาพได้มากขึ้น ได้แก่ 1) ยานยนต์ไร้คนขับ ที่เป็นระบบการขับขี่โดยไม่มีมนุษย์ควบคุม 2) เทคโนโลยี Digital Twin ที่สร้างแบบจำลองเสมือนจริงของวัตถุทางกายภาพ และ 3) Avatar AI ที่เป็นการสร้างตัวแทนบุคคลเสมือนจริง ส่งผลให้ตลาดของเทคโนโลยี AI ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยจากข้อมูลของ Statista คาดว่า มูลค่าตลาดของเทคโนโลยี AI มีแนวโน้มเติบโตราว 27.6% ต่อปีในช่วงปี 2025-2030 มาอยู่ที่ 8.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2030 AI หนุนธุรกิจในกลุ่มสินค้าไฮเทคให้เติบโตทั้งกลุ่มชิป คอมพิวเตอร์ฯ และแอปพลิเคชัน           SCB EIC คาดการณ์ว่าแนวโน้มความต้องการเทคโนโลยี AI ในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลให้ผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของเทคโนโลยี AI เติบโตต่อเนื่อง โดยกลุ่มที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน AI ประกอบไปด้วยกลุ่มฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล เช่น Data center และ Cloud service ไปจนถึงกลุ่มผู้ให้บริการที่เป็นผู้พัฒนาโปรแกรมหรือแอปพลิเคชัน SCB EIC คาดการณ์ว่ากลุ่มธุรกิจที่จะได้ประโยชน์ คือ 1) ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ นับตั้งแต่ผู้ผลิตเครื่องจักรสำหรับผลิตชิปขั้นสูงอย่าง ASML ผู้ผลิตและออกแบบชิป (NVIDIA) ผู้รับจ้างผลิต (TSMC) ไปจนถึงกลุ่มให้บริการแพ็กเกจ ประกอบและทดสอบชิป 2) อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ ซึ่งปัจจุบันธุรกิจต่าง ๆ ได้เริ่มนำเอาซอฟต์แวร์ AI มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น เช่น ธุรกิจ Healthcare ที่นำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลด้านสุขภาพ วินิจฉัยและรักษาโรค รวมถึงการดูแลผู้ป่วย เป็นต้น ทั้งนี้ Gartner คาดการณ์ว่าตลาดซอฟต์แวร์ AI มีแนวโน้มจะเติบโตเฉลี่ยราว 19% ต่อปีในช่วงปี 2023-2027 3) ธุรกิจ AI applications ไม่ว่าจะเป็น ChatGPT และ Google Gemini ที่มีการแข่งขันกันในการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยอัจฉริยะที่สามารถให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือในการสร้างสรรค์ข้อมูลใหม่ โดยคาดว่า ชิป ASIC ที่ถูกนำไปใช้งานในแอปพลิเคชัน AI ต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนได้จากข้อมูลของ J.P. Morgan ที่ระบุว่า ยอดขายชิป ASIC โลก มีแนวโน้มเติบโตราว 42% ต่อปีในช่วงปี 2023-2028 มาอยู่ที่ 9.9 ล้านชิ้นในปี 2028 เทคโนโลยี AI ยังเติบโตท่ามกลางความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์และการผูกขาดทางการค้า           เทคโนโลยี AI กำลังเติบโตท่ามกลางความท้าทายจากทั้งความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์และการผูกขาดทางการค้าจากผู้เล่นรายใหญ่ นอกจากนี้ นโยบายการค้าการลงทุนของโดนัลด์ ทรัมป์ ในช่วงที่ผ่านมาส่งผลต่อแนวโน้มการเติบโตของเทคโนโลยี AI อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งแผนที่จะทุ่มงบประมาณเพื่อดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมชิปและเทคโนโลยี AI ในประเทศ และทรัมป์ยังคงดำเนินนโยบายและเพิ่มมาตรการควบคุมการส่งชิปขั้นสูงไปจีนเพื่อกีดกันจีนจากการพัฒนาแอปพลิเคชัน AI ต่อจากโจ ไบเดน ทั้งนี้ในปัจจุบัน ตลาดชิป AI ของโลกยังคงถูกผูกขาดด้วยผู้เล่นรายใหญ่ของสหรัฐฯ ขณะที่ NVIDIA ได้ครองตลาดชิป GPU เรายังพบอีกว่า Google ซึ่งเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ได้เป็นเจ้าตลาดในฝั่งของชิป ASIC ซึ่งอาจส่งผลให้ชิป AI มีราคาสูงขึ้นและเกิดปัญหาอุปทานคอขวดจากขาดแคลนชิปในระยะต่อไปได้ ไทยได้ประโยชน์ทั้งการส่งออกชิปและคอมพิวเตอร์ไปสหรัฐฯ และการขยายการลงทุน           SCB EIC ประเมินว่าจากแนวโน้มความต้องการเทคโนโลยี AI ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะส่งผลดีต่อกลุ่มผู้ผลิตชิปและส่วนประกอบที่ไม่รวมชิปต้นน้ำ โดยผู้ประกอบการไทยจะได้ประโยชน์ใน 2 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการส่งออก เช่น กลุ่มผู้ผลิตชิปและส่วนประกอบที่ไม่รวมชิปต้นน้ำ ซึ่งปัจจุบันไทยอยู่ในกลุ่มผู้ให้บริการแพ็กเกจ ประกอบและทดสอบชิป และกลุ่มคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ที่เราประเมินว่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มดังกล่าวไปยังสหรัฐฯ มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากการที่สหรัฐฯ ทดแทนการนำเข้าสินค้าจากจีน และเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี AI โดยคาดว่าในปี 2024 ไทยจะมีสัดส่วนการส่งออกชิปและคอมพิวเตอร์ไปยังตลาดสหรัฐฯ มากถึง 83% และ 40% ของการส่งออกสินค้าในหมวดนี้ทั้งหมด 2) ด้านการลงทุน นับตั้งแต่เกิดสงครามเทคโนโลยีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ได้ส่งผลให้เกิดการขยายการลงทุนมายังอาเซียนรวมถึงไทย สะท้อนได้จากข้อมูลของ BOI พบว่า ในปี 2023 ต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรม E&E โดยมีโครงการขนาดใหญ่ เช่น การผลิต Wafer การประกอบและทดสอบชิป นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจ Data center และ Cloud service ที่มีมูลค่าเงินลงทุนมากกว่า 167,989 ล้านบาท ซึ่งแนวโน้มการลงทุนในธุรกิจดังกล่าวเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการรองรับการเติบโตของกลุ่มเทคโนโลยี AI ในอนาคต ไทยยังเผชิญอุปสรรคด้านการพัฒนาสินค้าไฮเทคโนโลยี ที่ด้อยกว่าคู่แข่งในตลาด AI           ไทยยังมีอุปสรรคและความท้าทายจากการพัฒนาสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงเพื่อรองรับเทคโนโลยี AI ที่ส่งผลให้ยังเป็นรองจากประเทศคู่แข่ง โดยปัจจุบันสหรัฐฯ มีสัดส่วนพึ่งพาการนำเข้าอุปกรณ์ชิปจากไทยเพียง 7% เมื่อเทียบกับสัดส่วนการพึ่งพาการนำเข้าจากมาเลเซียที่มากกว่า 17% ของการนำเข้าชิปทั้งหมดของสหรัฐฯ ทั้งนี้อุปสรรคสำคัญของไทยที่ส่งผลให้ยังมีส่วนแบ่งตลาดที่น้อยกว่าคู่แข่งเนื่องมาจากการขาดความพร้อมของห่วงโซ่อุปทานการผลิตสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง อย่างเช่นชิปต้นน้ำ โดยนอกจากนี้ ไทยยังขาดการวิจัยและพัฒนาในกลุ่มสินค้านวัตกรรมใหม่ และยิ่งไปกว่านั้นเอง ไทยยังคงเผชิญกับปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะดิจิทัลและเทคโนโลยี ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับไทยในการพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าไฮเทคให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งสำคัญต่าง ๆ ได้ ไทยควรเร่งพัฒนาสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและขยายการลงทุนในกลุ่มสินค้าไฮเทคมากขึ้น           ไทยควรเร่งมือเดินหน้าจัดกระบวนทัพทางเทคโนโลยีใหม่ เริ่มต้นจากการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ส่งเสริมการลงทุนที่ครอบคลุมกลุ่มสินค้าไฮเทคโนโลยีมากขึ้น โดยไทยจะต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างในภาคการผลิตเพื่อรองรับการผลิตชิปขั้นสูง สินค้าคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับ AI ไปจนถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและหน่วยความจำที่สามารถรองรับเทคโนโลยี AI โดยจะต้องเร่งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ร่วมกับการพัฒนาแรงงานที่มีทักษะสูงทั้งกลุ่มแรงงานที่มีอยู่เดิมและกลุ่มแรงงานใหม่ เช่น วิศวกรเซมิคอนดักเตอร์และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ผู้เชี่ยวชาญ ที่ยังขาดแคลนอยู่เป็นจำนวนมากและเป็นความเสี่ยงต่อภาคการผลิตในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง ขณะเดียวกัน ภาครัฐต้องเร่งพัฒนาเพื่อสร้างความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและระบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อรองรับการเข้ามาลงทุนของกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำในไทย และสิ่งที่จะขาดไม่ได้คือการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อที่ไทยจะได้ก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีที่สำคัญแห่งอาเซียนและตอบโจทย์ความยั่งยืนในอนาคตไปพร้อม ๆ กัน ที่มา : SCB EIC

CPAXT เซ็นเทนเซ็นต์ คลาวด์ ยกระดับศักยภาพดิจิทัลสู่ Retail Tech

CPAXT เซ็นเทนเซ็นต์ คลาวด์ ยกระดับศักยภาพดิจิทัลสู่ Retail Tech

          หุ้นวิชั่น - กรุงเทพฯ, 24 มกราคม 2568 – บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) หรือ CPAXT เดินหน้ายกระดับประสบการณ์ลูกค้าและประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยประกาศความร่วมมือกับ เทนเซ็นต์ คลาวด์ เพื่อใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นำระบบคลาวด์ : Infrastructure-as-a-Service (IaaS) และ โซลูชัน AI มาปรับใช้ในทุกระบบปฏิบัติการ อาทิ การจัดประเภทสินค้าที่จัดจำหน่าย การประเมินความต้องการของลูกค้าในตลาด รวมถึงการวิเคราะห์ราคาและโปรโมชัน เสริมด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ระดับโลกของ เทนเซ็นต์ คลาวด์ ที่จะมาผสานพลังในการขับเคลื่อนสู่องค์กรดิจิทัลของ ซีพี แอ็กซ์ตร้า ให้แข็งแกร่งและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน มุ่งสู่เป้าหมายการเป็นองค์กร Retail Tech อันจะมีส่วนพัฒนาด้านดิจิทัลของทั้งอุตสาหกรรมค้าปลีกไทย นอกจากนี้ ซีพี แอ็กซ์ตร้า และ เทนเซ็นต์ คลาวด์ ยังมีแผนความร่วมมือที่จะนำโซลูชัน AI มาช่วยในการประเมินยอดขาย และการบริหารจัดการคลังสินค้าอีกด้วย           ซีพี แอ็กซ์ตร้า องค์กรค้าส่งค้าปลีกชั้นนำ ภายใต้แบรนด์ “แม็คโคร” และ “โลตัส” ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจกว่า 30 ปี และความไว้วางใจจากลูกค้าทั้ง B2B และ B2C พร้อมความเป็นผู้นำด้านสินค้าและบริการที่หลากหลายครบครัน ปัจจุบันดำเนินธุรกิจใน 10 ประเทศของภูมิภาคเอเชีย มีสาขากว่า 2,600 แห่ง พร้อมด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ได้รับความนิยมและมีผู้ใช้บริการอย่างกว้างขวาง ด้วยยอดดาวน์โหลดกว่า 14 ล้าน บน Makro PRO และ Lotus’s SMART App           พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง เทนเซ็นต์ คลาวด์ และ ซีพี แอ็กซ์ตร้า จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยมีนาย Jimmy Chen รองประธานกรรมการของบริษัท เทนเซ็นต์ คลาวด์ อินเตอร์เนชันแนล จำกัด และกรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมลงนามกับ นายธรินทร์ ธนียวัน ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มสายงานอีคอมเมิร์ซ และประธานคณะผู้บริหารกลุ่มสายงานเทคโนโลยีและข้อมูล บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) โดยพิธีดังกล่าว ได้รับเกียรติจากนาย Zhang Yun Ming รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของจีน และนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม ร่วมเป็นสักขีพยาน           นาย Poshu Yeung รองประธานอาวุโส บริษัท เทนเซ็นต์ คลาวด์ อินเตอร์เนชันแนล จำกัด กล่าวว่า “เทนเซ็นต์ คลาวด์ มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ ซีพี แอ็กซ์ตร้า ผู้ดำเนินธุรกิจค้าส่งค้าปลีกชั้นนำของภูมิภาค โดยเทนเซ็นต์ คลาวด์ จะร่วมกับ ซีพี แอ็กซ์ตร้า ในการยกระดับศักยภาพด้านดิจิทัลและการประยุกต์ใช้ AI ผ่านผลิตภัณฑ์ บริการ และโซลูชันคุณภาพสูงของเรา เพื่อช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจค้าปลีกของ ซีพี แอ็กซ์ตร้า”           นายธรินทร์ ธนียวัน ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มสายงานอีคอมเมิร์ซ และประธานคณะผู้บริหารกลุ่มสายงานเทคโนโลยีและข้อมูล บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ซีพี แอ็กซ์ตร้า รู้สึกยินดีที่ได้ร่วมมือกับ เทนเซ็นต์ คลาวด์ ในการนำ IaaS และ โซลูชัน AI ที่ทันสมัยมาใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ ซีพี แอ็กซ์ตร้า ในการนำเทคโนโลยีมาช่วยยกระดับประสบการณ์ลูกค้า เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น ตอกย้ำความเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกในภูมิภาคเอเชีย” [PR News]

INET: ผู้ให้บริการไอซีทีครบวงจร [HoonVison x FynnCorp]

INET: ผู้ให้บริการไอซีทีครบวงจร [HoonVison x FynnCorp]

          บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) [INET] ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีแบบครบวงจร ด้วยฐานลูกค้ากว่า 4,000 ราย โดดเด่นด้าน Cloud Solution และ Digital Platform สำหรับธุรกิจ มีบริการเป็นที่ยอมรับอย่าง One Electronic Billing และ One Authen Key Highlights           ผลการดำเนินงานเติบโต กระแสเงินสดเป็นบวกต่อเนื่อง จากรายได้การขายและให้บริการ รวมถึงกำไรสุทธิในงวด 9 เดือนแรกของปี 2567 เติบโตกว่า 21% และ 57% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สะท้อนดีมานด์ด้าน Digital Transformation ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในแต่ละองค์กรธุรกิจที่เป็นฐานลูกค้าเดิมและใหม่           เชี่ยวชาญด้าน Cloud Service และมุ่งสู่ Platform Service Provider เพื่อรองรับการเติบโตของ Digital Transformation จากความสำเร็จของบริษัทในการพัฒนาแพลตฟอร์ม "หมอพร้อม" ที่เชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพของคนไทยในสถานพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน สู่การขยายบริการ E-Tax Invoice, CA (Certificate Authority) และขยายธุรกิจ Data Center ในไทย เพื่อพัฒนาแหล่งการจัดเก็บข้อมูลภายในประเทศ           เสนอขายหุ้นกู้ 2 รุ่น ให้กับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ เป็นหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และผู้ออกมีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนครบกำหนด โดยจ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน ประกอบด้วย รุ่นอายุ 2 ปี 6 เดือน อัตราดอกเบี้ย 5.35-5.45% ต่อปี และ 3 ปี 1 เดือน อัตราดอกเบี้ย 5.70-5.80% ต่อปี ซึ่งเปิดให้จองซื้อระหว่างวันที่ 7-9 มกราคม ซึ่งที่ผ่านมา บริษัทไม่มีประวัติการผิดนัดชำระหนี้เงินต้นหรือดอกเบี้ยของหุ้นกู้ Company Overview           บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) (INET) เริ่มประกอบธุรกิจเป็นผู้ให้บริการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารครบวงจร เมื่อปี 2538 และได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน เข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2544 เป็นต้นมา โดยมีสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และบริษัท โทรคมนาคมเเห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในปัจจุบัน ด้วยสัดส่วน 24.9% และ 24.1% ตามลำดับ           ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีแบบครบวงจร โดดเด่นด้าน Cloud Service           การดำเนินธุรกิจของ INET แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) Infrastructure as a Service เป็นการรวมการให้บริการ 3 ประเภท ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญสำหรับบริการดิจิทัลอื่น คือ Cloud service, INET Data Center และ บริการ Internet Access           1.1) ธุรกิจบริการ Cloud Service เป็นบริการการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ร่วมกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งบริษัทให้บริการระบบ Cloud Service ในลักษณะสาธารณะสำหรับองค์กรมา กว่า 10 ปี และได้รับรองมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นรายแรกในไทย (ISO/IEC 27018:2019) โดยให้บริการแบ่งตามประเภทเทคโนโลยี คือ Infrastructure as a Service (IaaS): การให้บริการในโครงสร้างพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ อย่าง Server, Storage และ Network เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้บริการลดค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนซื้อและบำรุงรักษาอุปกรณ์เอง Platform as a Service (Paas): เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สามารถนำ Application มาทำงานอยู่บนระบบนี้ โดยไม่ต้องลงทุนด้าน Hardware และ Software อย่างเช่น บริการใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ บริการระบบบริหารจัดการเอกสารดิจิทัล (Paperless) รวมถึง บริการเตรียมความพร้อมทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Cyber Security) เป็นต้น Software as a Service (SaaS): เป็นการให้บริการ Application และ Software ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องติดตั้ง Software ในอุปกรณ์ปลายทาง และไม่ต้องดูแลรักษา Hardware เช่น Email on Cloud เป็นต้น           1.2) ธุรกิจบริการ INET Data Center อย่าง Co-Location บริการรับฝาก Server สำหรับองค์กรที่ต้องการความปลอดภัย ด้วยระบบสนับสนุนอย่างระบบไฟฟ้าสำรอง ระบายความร้อน การเชื่อมต่อเครือข่ายความเร็วสูง โดยลูกค้าจะนำเครื่องที่มีอยู่แล้วมาฝากในพื้นที่ที่จัดไว้ใน ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลไอเน็ต (INET-IDC) ทั้งหมด 3 แห่งของบริษัท ซึ่งได้แก่ อาคารบางกอกไทย ทาวเวอร์ (INET-IDC1) อาคารไทยซัมมิท ทาวเวอร์ (INET-IDC2) และอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี (INET-IDC3) ซึ่งทั้ง 3 ศูนย์สามารถเชื่อมต่อกันด้วยความเร็วสูง และจะคอยให้บริการองค์กรชั้นนำของประเทศที่ทำการซื้อขายธุรกรรมหลักทรัพย์อินเทอร์เน็ต ไปจนถึง ผู้ให้บริการเว็บไซต์ และผู้ใช้บริการจากต่างประเทศที่ต้องการเผยแพร่ต่อผู้ใช้ในประเทศไทย           1.3) ธุรกิจบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Access) สำหรับธุรกิจครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ 2) Business Platform ประกอบด้วยบริการ           2.1) E-Transaction อย่าง E-Tax Invoice Service เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการด้วยระบบที่เชื่อมโยงกับสรรพากร, E-Factoring ตัวช่วยส่งข้อมูลรายการบัญชี สร้างเอกสารการเงินผ่านระบบออนไลน์ระหว่างบริษัทที่มีบัญชีลูกหนี้ และบริษัทไฟแนนซ์ โดยทำให้บริษัทที่มีหนี้สามารถขายหนี้สินให้กับบริษัทไฟแนนซ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพขึ้น และ Certification Authority (CA) เป็นหน่วยงานในการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ทำธุรกรรมต่างๆได้อย่างมั่นใจว่าบุคคลนั้นๆที่ทำการติดต่อมีตัวตนจริง เชื่อถือได้ เช่น ใบรับรองประเภทนิติบุคคล ใบรับรองประเภทเจ้าหน้าที่นิติบุคคล และใบรับรองประเภทบุคคล           2.2) E-Office อย่างบริการ Digital Workflow ที่ทำให้องค์กรปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจเป็นระบบดิจิทัล เช่น ลดการใช้กระดาษ เพิ่มความเร็วในการจัดการข้อมูล รวมถึงระบบลงนามเอกสารจากกระดาษเป็น Digital Signature อีกทั้ง E-Meeting (One-Conference) และ One Box ที่ทำให้องค์กรบริหารจัดการไฟล์เป็นระบบและปลอดภัย Source: One Report 2566           โครงสร้างรายได้ของบริษัท มีรายได้จาก Cloud Service เป็นหลัก คิดเป็นประมาณ 85% ของรายได้ในปี 2566 ตามมาด้วยบริการ Co-Location 10% และอื่นๆ และในปี 2567 รายได้ของแต่ละกลุ่มธุรกิจยังคงสัดส่วนใกล้เคียงเดิม Source: One Report 2566 (หน่วยล้านบาท)           กลุ่มลูกค้าของบริษัทประกอบด้วยหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เป็น Medium Enterprise ส่วนใหญ่ และรองลงมาเป็น Small Enterprise แบ่งเป็นลูกค้าองค์กรที่ต้องการลดต้นทุนทางด้าน IT Structure ลูกค้าขนาดกลางและขนาดเล็กที่ต้องการใช้ IT Structure หรือ Software as a Service รวมไปถึงกลุ่มลูกค้าองค์กรที่ต้องการลดต้นทุนด้านบุคลากรด้าน IT และช่วยลดปัญหาบุคลากรขาดทักษะ โดยบริษัทมีช่องทางการจำหน่าย เน้นการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง นำเสนอสินค้าและบริการไปยังกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มผ่านพนักงานขาย หน้าเว็บไซด์ และ Thaidotcom Marketplace และมีการร่วมมือกับพันธมิตรในการให้บริการ Cloud Service เพื่อขยายฐานลูกค้า โดยเน้นลูกค้าเอกชนที่สนใจนวัตกรรม Source: Opportunity Day 3Q2567           หากเทียบในอุตสาหกรรมเดียวกัน พบว่า มีผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการอินเทอร์เน็ตจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เหมือนกับบริษัทจำนวน 222 ราย (อ้างอิงข้อมูลจากรายงานประจำปี 2566) ซึ่ง INET จัดว่าเป็นบริษัทขนาดกลางในกลุ่มคู่แข่งขันทั้งหมด 222 ราย ตั้งเป้าการเป็น Trusted Platform Service Provider           บริษัทวางแผนที่จะเป็นมากกว่า Cloud Service Provider โดยการมุ่งเน้นการลงทุนในบริการ Platform ต่างๆ เพื่อต่อยอดการใช้งานของบริการ Cloud พร้อมกับให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งจาก Roadmap ที่ได้วางไว้ บริษัทได้ก้าวข้ามการเป็น Cloud Provider มาสู่การสร้างแพลตฟอร์ม (Digital Transform) ที่เน้นการจัดข้อมูลให้เข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ Source: Opportunity Day 3Q2567           ในปัจจุบัน บริษัทมีบริการด้าน Digital Platform Services เป็นที่ยอมรับอย่าง One Electronic Billing ผู้ให้บริการ E-Tax Invoice ด้วยส่วนแบ่งตลาด 48.9% จำนวนลูกค้า 2,889 ราย และ One Authen ผู้ให้บริการ CA หรือ Digital Signature มีส่วนแบ่งการตลาด 77.2% ซึ่งบริษัทได้พัฒนาขึ้นมาเอง เป็นกรรมสิทธิ์ที่ผ่านการรับรองจาก NRCA (ผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ) ส่งผลให้ต้นทุนระยะยาวของบริษัทต่ำลง Source: Opportunity Day 3Q2567 สภาพตลาดและการแข่งขัน           ตลาดคลาวด์ในประเทศไทยมีมูลค่ามากกว่า 58,000 ล้านบาทในปัจจุบัน และจากพฤติกรรมของคนในการใช้ชีวิตเข้าสู่ดิจิทัลมากขึ้นโดยเฉพาะภายหลังช่วง COVID-19 จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ผู้ใช้บริการคลาวด์หรือแพลตฟอร์มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยรายงานจาก IDC APeJ Public Cloud Services Tracker รายงานมูลค่าตลาดของบริการ Public Cloud ในไทย มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 20.33% ระหว่างปี 2561-2567 ซึ่ง Software as a Service มีส่วนแบ่งการตลาดใหญ่สุด ด้วยสัดส่วน 50% ของจำนวนรวมทุกประเภท Financial Performance           เติบโตในกลุ่มรายได้หลักอย่าง Cloud Service และ Digital Platform รายได้จากการขายและให้บริการใน 9 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 21.02% YoY มาอยู่ที่ 1,842.63 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากรายได้จากการขาย 9M2566 ที่เคยอยู่ที่ 1,522.62 ล้านบาท ด้วยแรงขับเคลื่อนจากความต้องการของภาคเอกชนที่อยากปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล           กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเกือบ 57% YoY ใน 9M2567 มาอยู่ที่ 207.52 ล้านบาท จากการเติบโตของรายได้ ประกอบกับการบริหาร จัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ Current Corporate Bonds Financial Covenants           ในการออกหุ้นกู้ บริษัทมีหน้าที่ดำรงอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (IBD/E: Interest Bearing Debt to Equity Ratio) ตลอดอายุของหุ้นกู้ในงบการเงินรวม เป็นอัตราส่วนไม่เกิน 2.5 เท่า ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีของแต่ละปี โดย ณ ไตรมาส 3 ปีนี้ บริษัทดำรงอัตราส่วนนี้เท่ากับ 2.14 เท่า ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากสิ้นปี 2566 ที่ 2.27 เท่า จากการชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้น และเงินกู้ยืมระยะยาวลดลงอย่างมาก Outstanding Bonds           INET ออกหุ้นกู้ระยะยาวมาแล้วทั้งหมด 13 รุ่นตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน และเป็นหุ้นกู้ที่ยังไม่ครบกำหนดชำระ 8 รุ่น ซึ่งเป็นหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดชำระในเดือนมกราคม ปี 2568 จำนวน 3 รุ่น ได้แก่ INET251A, INET251B, INET251C รวมเป็นมูลค่าเงินต้นของหนี้หุ้นกู้ทั้งสิ้น 1,500 ล้านบาท ส่งผลให้ ณ ปัจจุบัน บริษัทมีหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ (Outstanding bonds) 4,578.3 ล้านบาท โดยบริษัทอยู่ในระหว่างการเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่จำนวน 2 รุ่น วัตถุประสงค์เพื่อชำระคืนหนี้หุ้นกู้ที่จะครบกำหนดชำระในต้นปีหน้าทั้ง 3 รุ่น (roll over) รวมถึงใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้นในการประกอบกิจการ ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม บริษัทมีแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมหากไม่สามารถเสนอขายได้เต็มจำนวน จากกระแสเงินสดภายในกิจการ หรือจากแหล่งเงินทุนอื่นๆ หุ้นกู้เสนอขายใหม่ Key Risk Factors ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง เนื่องจากบริษัทอยู่ในช่วงขยายธุรกิจ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน จึงจำเป็นต้องจัดหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม ซึ่งบริษัทมีโครงสร้างเงินทุนจากการกู้ยืมเป็นหลัก (D/E = 4.57) และเป็นหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสูง สะท้อนจากการเทียบกับกำไรส่วน EBITDA พบว่ามีค่าเพิ่มขึ้นมา 8.77 เท่า ในงวด 9 เดือน ปี 2567 จึงทำให้อาจเผชิญกับความผันผวนด้านอัตราดอกเบี้ย ประกอบกับ ถ้าผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนที่คาดไว้ ก็อาจส่งผลความสามารถในการชำระหนี้ได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทมีแผนที่จะเพิ่มทุนในอนาคตและดำเนินการลดต้นทุนอย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สภาพคล่องอยู่ในระดับที่บริษัทควบคุมได้ ความเสี่ยงในการดำรงอัตราส่วนทางการเงิน บริษัทมีหน้าที่ดำรงอัตราส่วนของหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันสิ้นงวดบัญชี ไม่เกิน 2.5 เท่า ในการกู้ยืม ซึ่ง ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2567 บริษัทดำรงอัตราส่วนนี้เท่ากับ 2.14 เท่า โดยบริษัทเชื่อมั่นว่า ณ สิ้นปี 2567 จะสามารถดำรงอัตราส่วนนี้ไว้ได้ ความเสี่ยงด้านการด้อยสิทธิเชิงโครงสร้างของหุ้นกู้ เนื่องจากหุ้นกู้ที่เสนอขายนี้เป็นหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ซึ่งทำให้มีความด้อยสิทธิกว่าเจ้าหนี้ที่มีลำดับในการได้รับชำระคืนก่อน (หนี้มีประกัน) อย่างมีนัยสำคัญ Source: Company's factsheet อ่านรายละเอียดเพิ่มที่ https://app.visible.vc/shared-update/bedb3e8b-073e-441b-b5b7-a1b4e6a2babb

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011