#CHAYO


CHAYO งบ 9 เดือนรายได้พุ่ง 38.85% เดินหน้าซื้อหนี้เข้าพอร์ต

CHAYO งบ 9 เดือนรายได้พุ่ง 38.85% เดินหน้าซื้อหนี้เข้าพอร์ต

          CHAYO งบไตรมาส 3/2567 รายได้ออกมาแจ่มโต 39.83% กำไรพุ่ง 59.24% จากดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อแก่สินทรัพย์ด้อยคุณภาพและดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืมเพิ่มขึ้น ส่วนผลประกอบการงวด 9 เดือน รายได้สุดปังเพราะได้ยอดจัดเก็บหนี้และรายได้ขายหลักประกันของหนี้ด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้นถึง 89.10% หลังบริษัทซื้อพอร์ตหนี้ด้อยคุณภาพฯ เติมอย่างต่อเนื่อง ส่วนกำไรสุทธิลดลงเล็กน้อย เหตุช่วงไตรมาส 1 บริษัทมีตั้งขาดทุนด้านเครดิตจากการปรับประมาณพอร์ตหนี้ด้อยคุณภาพ แต่ฟันธงผลงานปีนี้ทำได้ตามเป้าแน่นอน ลั่นรายได้จะโตไม่ต่ำกว่า 20% จากปีก่อน           นายสุขสันต์ ยศะสินธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ชโย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CHAYO ผู้ดำเนินธุรกิจบริหารสินทรัพย์ ทั้งที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน ธุรกิจเจรจาติดตามเร่งรัดหนี้สิน ธุรกิจปล่อยสินเชื่อ และกิจการศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานบริษัทฯ ไตรมาส 3/2567 มีรายได้รวม 526.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.83% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ 376.43 ล้านบาท จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ทั้ง 2 ประเภทคือ ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อแก่สินทรัพย์ด้อยคุณภาพจำนวน 139.36 ล้านบาท และจากดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมที่มีรายได้ 38.44  ล้านบาท เพิ่มขึ้น 37.03% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 10.39 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการปล่อยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น           ขณะที่รายได้จากการบริการเร่งรัดหนี้สินมีจำนวน 7.26 ล้านบาท ลดลง 15.12% ซึ่งมีสาเหตุจากที่บริษัทฯ มอบหมายพนักงานให้ติดตามทวงถามหนี้เสียที่กลุ่มบริษัทซื้อมาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายได้การติดตามทวงถามหนี้ของผู้ว่าจ้างภายนอกลดลง ส่วนรายได้จากการให้บริการจัดหาคนไตรมาส 3/2567 มีรายได้ 6.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันของปีก่อนจำนวน 1.47 ล้านบาท เนื่องจากไตรมาส 3 นี้ บริษัทฯ ได้รับงานจากผู้ว่าจ้างเพิ่มขึ้นส่งผลให้รายได้ธุรกิจนี้เพิ่มขึ้น           ด้านกำไรสุทธิไตรมาส 3/2567 อยู่ที่ 138.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 59.24% จากงวดเดียวกันปีก่อนที่ 87.08 ล้านบาท เพราะสามารถทำอัตรากำไรขั้นต้นที่เพิ่มขึ้นได้           สำหรับผลประกอบการงวด 9 เดือน บริษัทมีรายได้ 1,498.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38.85% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 1,079.32 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นโดยหลักทั้งจากดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อแก่สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และจากดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งบริษัทมียอดจัดเก็บจากหนี้ที่ไม่มีหลักประกันและยอดรายได้จากการขายหลักประกันของหนี้ด้อยคุณภาพ จำนวน 572.01 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 89.10% จากงวดเดียวกันปีก่อนที่ทำได้ 302.49 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯ มีการซื้อพอร์ตหนี้ด้อยคุณภาพชนิดมาบริหารเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ส่วนรายได้ดอกเบี้ยจากเงินกู้ยืมที่เพิ่มขึ้นตามการปล่อยสินเชื่อ จำนวน 113.81 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 50.22% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 75.76 ล้านบาท และ ณ สิ้น 30 กันยายน 2567 มียอดลูกหนี้เงินให้กู้ยืมอยู่ที่ 1,051.89 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ระดับ 861.66 ล้านบาท           ส่วนรายได้จากการบริการเร่งรัดหนี้อยู่ที่ 21.14 ล้านบาท ลดลง 22.85% จากช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 27.4 ล้านบาท เนื่องจากให้พนักงานติดตามทวงถามหนี้เสียที่กลุ่มบริษัทซื้อมากขึ้น จึงส่งผลให้รายได้การติดตามทวงถามหนี้ของผู้ว่าจ้างภายนอก ขณะที่รายได้การให้บริการจัดหาคนอยู่ที่ 15.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.09% จากงวดเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 12.61 ล้านบาท เพราะบริษัทรับงานมากขึ้นหลังเปิดดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566           ส่วนกำไรขั้นต้นสำหรับงวด 9 เดือนอยู่ที่ 1,241.31 ล้านบาท หรือคิดเป็น 82.80% ของรายได้ เพิ่มขึ้นจากงวด 9 เดือนของปีก่อนจำนวน 357.09 ล้านบาท หรือ 40.39% สาเหตุมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นสูงขึ้นจากธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ สำหรับกำไรสุทธิงวด 9 เดือน อยู่ที่ 286.74 ล้านบาท ลดลง 6.95% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 308.15 ล้านบาท เพราะบริษัทฯ มีการตั้งขาดทุนด้านเครดิตที่เพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 1/2567 เนื่องจากการปรับประมาณการพอร์ตหนี้ด้อยคุณภาพประกอบกับมีต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น           นายสุขสันต์  กล่าวต่อว่า บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้ปี 2567 โตไม่ต่ำกว่า 20% จากปีก่อนที่ทำได้ 1,527.07  ล้านบาท จากแผนเดินหน้าซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL&NPA) มาบริหารอย่างต่อเนื่อง และตั้งเป้าซื้อหนี้เสียเพิ่มอีก 10,000 ล้านบาท ด้วยเงินลงทุน 500 - 1,000 ล้านบาท โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน บริษัทฯ มีสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (หนี้เสีย) ที่บริหารอยู่ในมือจำนวน 103,528 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้เสียที่มีหลักประกันจำนวน  20,812 ล้านบาท และหนี้ที่ไม่มีหลักประกันจำนวน 82,716 ล้านบาท (โดยไม่รวมทรัพย์ที่รอการขาย หรือ NPA อีกจำนวน 566.79 ล้านบาท) ขณะที่สถานะทางการเงินปัจจุบันของบริษัทถือว่ายังมีความแข็งแกร่ง มีอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) อยู่ที่ 1.07 เท่า           “ปกติช่วงไตรมาส 3 - 4 จะเป็นฤดูกาลไฮซีซั่นของธุรกิจ เพราะจะมีมูลหนี้ที่ทางสถาบันการเงินเปิดประมูลออกมาจำนวนมากกว่าครึ่งปีแรก ทำให้ราคาไม่สูงนัก และสิ่งที่บริษัทฯ ยังเน้นเสมอในการซื้อหนี้ใหม่เพื่อเติมพอร์ต คือต้องมีช่วงระดับราคาที่มีความเหมาะสมและไม่แพงเกินไป เพราะไม่อยากให้กลุ่มลูกหนี้มีภาระทางการเงินเพิ่ม ซึ่งถือเป็นการช่วยเหลือในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งบริษัทฯ ประเมินว่าจะมีจำนวนหนี้ด้อยคุณภาพที่เปิดประมูลลดลงหรือใกล้เคียงกับปีก่อนที่ระดับ 400,000 ล้านบาท” นายสุขสันต์ กล่าว           นอกจากนี้ บริษัทฯ พร้อมเดินหน้านโยบายการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อช่วยเหลือประชาชน ตามนโยบายภาครัฐในการช่วยแก้ปัญหาหนี้ของประเทศเพื่อบรรเทาภาระการชำระหนี้ครัวเรือน โดยมุ่งเน้นการวางแผนผ่อนชำระให้สอดคล้องกับความสามารถของลูกหนี้แต่ละราย เช่นเดียวกับธุรกิจการบริการเร่งรัดติดตามหนี้สินเพื่อเข้าสู่การเจรจา ปรับโครงสร้างหนี้และช่วยเหลือลูกหนี้เป็นรายกรณี โดยกำหนดวงเงินผ่อนชำระขั้นต่ำให้สอดคล้องกับความสามารถในการผ่อนชำระของลูกหนี้เป็นหลัก [PR News]

CHAYO กำไร Q3 ดีกว่าคาด จัดเก็บหนี้โตโดด - เป้า 3.6 บาท

CHAYO กำไร Q3 ดีกว่าคาด จัดเก็บหนี้โตโดด - เป้า 3.6 บาท

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.กรุงศรี ระบุ CHAYO ฟื้นตัวตามกลุ่ม AMC มอง Positive ต่อกำไรสุทธิ 3Q24 ที่ 100 ลบ. (+33% y-y, +31% q-q) สูงกว่าตลาดประเมินราว 17% โดยกำไรเพิ่มขึ้น y-y, q-q ตาม Cash collection ฟื้นตัวแรง (+149% y-y, +64% q-q) การจัดเก็บหนี้โดดเด่นทั้งหนี้รูปแบบ Unsecured (+63% y-y +19% q-q) และหนี้ Secured (+895% y-y +253% q-q) ขณะที่ ECL ทรงตัวใกล้เคียงเดิม โดยปัจจุบันกำไรสุทธิ 9M24F คิดเป็น 59% บนประมาณการใหม่ 24-26F ซึ่งฝ่ายวิจัยฯ ปรับลดลง 13% จากผลของ ECL ก้อนใหญ่ใน 1Q24 ด้าน Outlook 4Q24F คาดเป็นจุดสูงสุดของปี ทรงตัว y-y แต่มองว่าสามารถโตต่อ q-q ได้ตาม Cash collection ซึ่งเป็น High season ของปี แนะนำ Buy บน TP25F ใหม่ 3.6 บาท อิง PBV25F ที่ 0.8x รายงานกำไรสุทธิ 3Q24 ที่ 100 ลบ. (+33% y-y +31% q-q)            รายงานกำไรสุทธิ CHAYO 3Q24 ที่ 100 ลบ. (+33% y-y, +31% q-q) เพิ่มขึ้น y-y, q-q จาก Cash collection ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยยะที่ 264 ลบ. (+149% y-y +64% q-q) แบ่งเป็นหนี้ไม่มีหลักประกัน 155 ลบ. (+63% y-y +19% q-q) และหนี้มีหลักประกัน 110 ลบ. (+895% y-y +253% q-q) ซึ่งมียอดรับพิเศษจากการขาย NPA ก้อนใหญ่ในไตรมาส 3 ราว 97 ลบ. โดยใน 3Q24 บริษัทฯ เริ่มเห็นผลบวกจากการดำเนินคดีคล้ายอุตสาหกรรมที่มีการฟ้องร้องลูกหนี้เพิ่มขึ้น ประกอบกับรายได้ที่สูงกว่า Fixed cost จากค่าใช้จ่ายเงินเดือนพนักงานทวงถามหนี้ แม้ ECL จะยังทรงตัว ทำให้โดยรวมกำไรโดดเด่น โดยกำไรสุทธิงวด 9M24 อยู่ที่ 180 ลบ. บนกรอบประมาณการที่ 59% ของประมาณการใหม่ คาดแนวโน้มกำไร 4Q24F ทรงตัว y-y เพิ่มขึ้น q-q            คาดกำไร 4Q24F ทรงตัว y-y เพิ่มขึ้น q-q และจะเป็นจุดสูงสุดของปีตาม Seasonality โดยมองว่า Cash collection จะปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่คาด ECL จะยังมีพัฒนาการจาก 3Q24 เล็กน้อย กอปรกับมี Catalyst ที่ต้องติดตามคล้ายกลุ่มคือการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ปรับกำไรสุทธิ 24-26F ลงเฉลี่ย 13% CAGR จาก ECL ใน 1Q24            โดยรวมปรับกำไรสุทธิปี 24-26F ลงเฉลี่ย 13% CAGR จากผลของ ECL ตั้งแต่ 1Q24 โดยปรับ i) รายได้รวมขึ้นเฉลี่ย 8% หลังธุรกิจจัดเก็บหนี้ ทว่าปรับ ii) ECL เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 50% ตามนโยบายการตั้งสำรองของ Chayo ซึ่งจะมีการตั้งเมื่อซื้อหนี้เพิ่ม คำแนะนำ            แนะนำ Buy บนราคาเป้าหมาย (TP25F) ที่ 3.60 บาท อิง PBV 0.8x

CHAYO รุกซื้อหนี้เสียเต็มสูบ ตั้งเป้าเติบโต 20% ในปี 2568 ชูพอร์ตแสนล้านบาท

CHAYO รุกซื้อหนี้เสียเต็มสูบ ตั้งเป้าเติบโต 20% ในปี 2568 ชูพอร์ตแสนล้านบาท

           CHAYO เผยบริษัทฯ เดินหน้าซื้อหนี้เสียต่อเนื่อง หลังมูลค่าสินเชื่อเสียในระบบพุ่งกว่า 5 แสนล้านบาท พร้อมชี้โอกาสขยายธุรกิจสู่ต่างประเทศ โดยตั้งเป้าการเติบโต 20% ในปี 2568 ด้วยพอร์ตสินทรัพย์คงค้างกว่าแสนล้านบาท ขณะเดียวกันเตรียมพร้อมปฏิบัติตามมาตรการภาครัฐที่จะช่วยลดภาระผู้กู้            นาย สุขสันต์ ยศะสินธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ชโย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CHAYO เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีการดำเนินธุรกิจ 4 ด้านหลัก ได้แก่ 1. ธุรกิจซื้อหนี้เสีย จากสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) รวมถึงธุรกิจที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับธนาคารแห่งประเทศไทย โดยครอบคลุมทั้งหนี้ที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 90% ของพอร์ตธุรกิจ 2. ธุรกิจปล่อยสินเชื่อ ครอบคลุมทั้งสินเชื่อที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน คิดเป็นสัดส่วน 4% ของธุรกิจ 3.ธุรกิจรับจ้างเร่งรัดหนี้สิน ให้แก่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำ (TRUE, DTAC, AIS) คิดเป็นสัดส่วน 3% ของธุรกิจ 4.ธุรกิจจัดหาบุคลากร เพื่อปฏิบัติงานในองค์กรต่าง ๆ คิดเป็นสัดส่วน 3% ของธุรกิจ            ปัจจุบันมูลค่าสินเชื่อในประเทศไทยสูงกว่า 18 ล้านล้านบาท โดยมีสัดส่วนหนี้เสียอยู่ที่ 3% หรือประมาณ 540,000 ล้านบาท ซึ่งแบ่งออกเป็นหนี้ที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกันในสัดส่วนเกือบเท่ากันคือ 50% โดยบริษัทฯ ได้เข้าซื้อหนี้เสียในกลุ่มสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรายใหญ่ หนี้บัตรเครดิต หนี้สินส่วนบุคคล และสินเชื่อรถยนต์ คิดเป็นสัดส่วนรวม 33-35% ของหนี้เสียทั้งหมด หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 180,000 ล้านบาท            สำหรับแนวโน้มธุรกิจในช่วงท้ายปี บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าซื้อหนี้เสียอย่างต่อเนื่อง โดยในครึ่งปีแรกได้ซื้อหนี้เสียมาแล้วกว่า 2,000 ล้านบาท จากเป้าหมายการซื้อหนี้เสียทั้งปีที่ 10,000 ล้านบาท โดยตั้งงบประมาณไว้ที่  1,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทใช้เงินซื้อหนี้เสียไปไม่ถึง 300 ล้านบาท ดังนั้นยังมีงบประมาณเหลือสำหรับการซื้อหนี้ในช่วงท้ายปี คาดว่าจะซื้อหนี้เพิ่มได้อีกกว่า 8,000 ล้านบาท             นาย สุขสันต์ กล่าวต่อว่าด้วยมูลค่าหนี้เสียในระบบที่สูงกว่า 5 แสนล้านบาท ทำให้หลายบริษัทมองเห็นโอกาสทางธุรกิจจากการเข้าซื้อหนี้ที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และยังช่วยสนับสนุนการเติบโตของบริษัทฯ นอกจากนี้ ภาครัฐยังเตรียมออกมาตรการช่วยเหลือผู้กู้ เช่น การปรับให้การผ่อนชำระบ้านเน้นการตัดเงินต้นมากขึ้น จากเดิมที่เน้นการตัดดอกเบี้ยเป็นหลัก ส่งผลให้ภาระจ่ายรายเดือนของลูกค้าลดลง หากมาตรการนี้ได้รับการอนุมัติ บริษัทฯ พร้อมเดินหน้าปฏิบัติตามทันที เพื่อให้ลูกค้าได้รับประโยชน์สูงสุด            นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมองเห็นโอกาสขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะในเวียดนามและกัมพูชา ซึ่งมีประชากรจำนวนมาก โดยบริษัทฯ จะต้องศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกำหนดของธนาคารพาณิชย์และกฎหมายในการทวงถามหนี้ของแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า บริษัทฯ จะยังคงให้ความสำคัญกับการเติบโตในตลาดในประเทศเป็นหลัก            สำหรับปี 2568 บริษัทฯ ตั้งเป้าการเติบโตที่ 20% พร้อมพอร์ตสินทรัพย์คงค้างมูลค่า 113,000 ล้านบาท โดยมีลูกค้าที่ชำระหนี้ไปแล้วกว่า 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้ พอร์ตที่เหลือประกอบด้วยหนี้ไม่มีหลักประกันมูลค่ากว่า 80,000 ล้านบาท และหนี้ที่มีหลักประกันประมาณ 20,000 ล้านบาท  

CHAYO ชี้ช่องบริหารหนี้ [จัดเต็มการลงทุน]

CHAYO ชี้ช่องบริหารหนี้ [จัดเต็มการลงทุน]

https://www.youtube.com/watch?v=70QOyzspTbM CHAYO ชี้ช่องบริหารหนี้ [จัดเต็มการลงทุน] ติดตามรายการ จัดเต็มการลงทุน ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 9.00-9.30 น. ทาง ททบ.5 

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

ทรีนีตี้ คาดกำไร Q4 CHAYO โตต่อ แนะ

ทรีนีตี้ คาดกำไร Q4 CHAYO โตต่อ แนะ "ซื้อ" เป้า 4 บ.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ส่อง CHAYO คาดกำไร 3Q67 CHAYO ที่ 86 ล้านบาท ดีขึ้น 13% QoQ และ 14% YoY โดยคาดรายได้ธุรกิจ NPL ปรับตัวดีขึ้นราว 9% QoQ และ 44% YoY หลังอาจเห็นยอดจัดเก็บปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของ NPL ที่ไม่มีหลักประกันเนื่องจากลูกหนี้ที่ซื้อมาในช่วงก่อนหน้าเป็นหนี้ที่ค่อนข้างใหม่ทำให้เห็นกระแสเงินสดจากการจัดเก็บได้เร็ว ขณะที่คาดกำไรจาก NPA ลดลงค่อนข้างมากใน QoQ และ YoY เนื่องจากไม่มีการขาย NPA แปลงใหญ่ระหว่างไตรมาส ส่วนรายได้ดอกเบี้ยจากการให้สินเชื่อคาดปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ค่อนข้างทรงตัว QoQ คาดว่าจะเห็นกำไร 4Q67 ดีขึ้นต่อเนื่อง QoQ จากปัจจัยฤดูกาล บวกกับอาจมีการขาย NPA ได้ คงราคาเป้าหมายปี 2568 ที่ 4.00 บาท อิง PBV 1.0 เท่า โดยมองกำไรอยู่ในช่วงฟื้นตัว และอาจเห็น Upside จากการขายทรัพย์หลักประกันของ NPL แปลงใหญ่ที่ยังไม่ได้อยู่ในประมาณการ จึงยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 4 บาท อิง PBV 1.0 เท่า

[Vision Exclusive] CHAYO เร่งซื้อหนี้เสียโค้งท้าย ปั๊มพอร์ตชนหมื่นล้าน

[Vision Exclusive] CHAYO เร่งซื้อหนี้เสียโค้งท้าย ปั๊มพอร์ตชนหมื่นล้าน

หุ้นวิชั่น - รู้หรือไม่ ! CHAYO หรือ บริษัท ชโย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้เล่นหลักของอุตสาหกรรมการบริหารสินทรัพย์ บริการติดตามและทวงถามหนี้แล้ว CHAYO ยังมีธุรกิจให้บริการด้านแรงงาน อีกด้วย           สำหรับโครงสร้างธุรกิจ CHAYO ปัจจุบัน ประกอบไปด้วยธุรกิจ ธุรกิจลงทุนและบริหารสินทรัพย์ ด้อยคุณภาพ 87-88% ธุรกิจให้บริการเจรจาติดตามทวงถาม และเร่งรัดหนี้สิน 3%  ธุรกิจเงินให้สินเชื่อ 7% ธุรกิจการให้บริการจัดหาคน 2%           นายสุขสันต์ ยศะสินธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ชโย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CHAYOเปิดเผยกับทีมข่าวหุ้นวิชั่น ว่า แนวโน้มธุรกิจในไตรมาส 3 และ 4 ปีนี้คาดว่าจะเป็นช่วงที่ดีสำหรับ CHAYO เนื่องจากสามารถเรียกเก็บหนี้ได้ในปริมาณที่มากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการซื้อหนี้ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงปลายไตรมาส 3 และต้นไตรมาส 4 ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 CHAYO สามารถซื้อหนี้เข้าพอร์ตแล้วกว่า 3,000 ล้านบาท จากเป้าหมายทั้งปีที่ตั้งไว้ 10,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดว่าจะเร่งซื้อหนี้ในไตรมาส 4 ตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากสถาบันการเงินมักทยอยขายหนี้เสียออกมาจำนวนมากในช่วงปลายปี           สำหรับการซื้อหนี้ในปีนี้ CHAYO ได้เตรียมงบลงทุนไว้ 1,000 ล้านบาท โดยในช่วง 9 เดือนแรกใช้เงินลงทุนไปแล้วประมาณ 300-400 ล้านบาท คาดว่าไตรมาส 4 จะสามารถซื้อหนี้เพิ่มได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ปัจจุบันบริหารพอร์ตหนี้มูลค่ารวมกว่า 100,000 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ที่มีหลักประกัน 25,000 ล้านบาท และหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน 75,000 ล้านบาท โดยบริษัทสามารถปลดหนี้ไปแล้วราว 10,000 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถในการบริหารจัดการสินทรัพย์และการเก็บหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ           ปริมาณหนี้เสียในทุกๆ ปีมีแนวโน้มออกมาอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 500,000 ล้านบาทต่อปี โดยเมื่อมีการปิดหนี้เก่า จะมีหนี้เสียใหม่เข้ามาทดแทน ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดหนี้เสียยังคงเป็นสภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่ยังไม่ฟื้นตัว การจ้างงานลดลง การส่งออกไม่เติบโต และจำนวนนักท่องเที่ยวที่ยังไม่มากพอจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการลงทุนจากผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ยังขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้แนวโน้มหนี้เสียมีโอกาสเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต           นายสุขสันต์ กล่าวต่อว่า แม้สถาบันการเงินหลายแห่งจะมีการปรับโครงสร้างหนี้และเจรจากับลูกหนี้มากขึ้น ส่งผลให้การซื้อหนี้เสียของ CHAYO ต้องเลื่อนออกไปบ้าง แต่ผลกระทบต่อบริษัทถือว่าน้อย ขณะเดียวกันการเลื่อนการซื้อหนี้ดังกล่าวกลับช่วยลดต้นทุนทางการเงินของ CHAYO ซึ่งส่งผลดีต่อภาพรวมการดำเนินธุรกิจและเพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดการสินทรัพย์ รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

[Gossip] CHAYO ปรับโครงสร้างหนี้รายย่อย ลุยซื้อหนี้เพิ่มอีก 1.5 หมื่นลบ.

[Gossip] CHAYO ปรับโครงสร้างหนี้รายย่อย ลุยซื้อหนี้เพิ่มอีก 1.5 หมื่นลบ.

          CHAYO หรือ บริษัท ชโย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัทบริหารสินทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการหนี้เสียทั้งมีหลักประกัน และที่ไม่มีหลักประกัน นำโดย “สุขสันต์ ยศะสินธุ์” แม่ทัพใหญ่ ประกาศพร้อมเดินหน้านโยบายการปรับโครงสร้างหนี้ช่วยเหลือประชาชน เพื่อสนองนโยบายภาครัฐในการช่วยแก้ปัญหาหนี้ของประเทศ เพื่อบรรเทาภาระการชำระหนี้ของครัวเรือน โดยกลุ่มบริษัทมุ่งเน้นการวางแผนผ่อนชำระให้สอดคล้องกับความสามารถของลูกหนี้แต่ละราย เช่นเดียวกับธุรกิจบริการเร่งรัดติดตามหนี้สิน และ Call Center ที่ยังสามารถติดตามลูกหนี้เพื่อนำเข้าสู่การเจรจา ปรับโครงสร้างหนี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มบริษัทยังคงให้ความช่วยเหลือลูกหนี้เป็นรายกรณี และกำหนดวงเงินผ่อนชำระขั้นต่ำให้สอดคล้องกับความสามารถในการผ่อนชำระของลูกหนี้เป็นหลัก           พร้อมเคลื่อนทัพสร้างผลงานปี 2567 ตั้งธงรายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า 20% จากปีก่อน เดินหน้าซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL & NPA) มาบริหารอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าซื้อหนี้เสียเพิ่มอีกประมาณ 1-1.5 หมื่นล้านบาท ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 - 1,500 ล้านบาท

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต