#CFARM


CFARM ร่วมงาน Opp day Q3/2567 ย้ำรายได้ปี 67 ใกล้เคียงเป้า

CFARM ร่วมงาน Opp day Q3/2567 ย้ำรายได้ปี 67 ใกล้เคียงเป้า

                    หุ้นวิชั่น - ผศ.ดร.ศิริรักษ์ ขาวไชยมหา รองกรรมการผู้จัดการสายงานบัญชีและการเงิน  พร้อมด้วยนางสาวมธุชา จึงธนสมบูรณ์ รองกรรมการผู้จัดการสายงานการจัดการ บริษัท ชูวิทย์ฟาร์ม (2019) จำกัด (มหาชน) หรือ CFARM ประกอบธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ ประเภทฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อให้กับคู่สัญญาในรูปแบบเกษตรพันธสัญญาแบบประกันราคา ร่วมนำเสนอข้อมูลในงานบริษัทจดทะเบียนพบนักลงทุน Opportunity Day ประจำไตรมาส 3/2567ว่าภาพรวมผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2567 บริษัทรายได้จากการเลี้ยงไก่เนื้อตามพันธะมีรายได้จากการขาย 154 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1.37 ล้านบาท สำหรับโค้งสุดท้ายปี 2567 ยังเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ แม้ว่ารายได้อาจต่ำกว่าเป้าหมายเล็กน้อย เนื่องจากบางไตรมาสมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเข้ามา นอกจากนี้ยังมีรอบของการพักเล้าของคู่สัญญา ซึ่งส่งผลกระทบทำให้รอบการเลี้ยงลดลง สำหรับภาพรวมประสิทธิภาพการเลี้ยง (Performance)บริษัทยังคงมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อรักษาคุณภาพและประสิทธิภาพในการผลิต

CFARM ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2567 ประชุมไฟเขียวเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้เงิน IPO ลุยอุตสาหกรรมโค

CFARM ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2567 ประชุมไฟเขียวเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้เงิน IPO ลุยอุตสาหกรรมโค

          นายเทพกุล พูลลาภ ประธานกรรมการบริษัท บริษัท ชูวิทย์ฟาร์ม (2019) จำกัด (มหาชน) หรือ CFARM พร้อมด้วย คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-EGM) เมื่อวันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ที่ประชุมมีมติผ่านการอนุมัติทุกวาระตามที่คณะกรรมการเสนอ โดยที่ประชุมมีมติอนุมัติการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินเพิ่มทุนและการเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาใช้เงินเพิ่มทุน ที่ได้รับจากการระดมทุนจากการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO)           ด้านนายชูรัตน์ จึงธนสมบูรณ์ กรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า การลงทุนดังกล่าวเป็นการต่อยอดการเติบโตและหาโอกาสใหม่ในการกระจายความเสี่ยงของบริษัทไปสู่ธุรกิจใกล้เคียง คือกลุ่มธุรกิจปศุสัตว์ที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญ บริษัทจึงได้เริ่มศึกษาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมโค คาดว่าธุรกิจดังกล่าวอาจจะส่งผลดี และช่วยในการกระจายความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน บริษัทจึงมีการขยายไปทำอุตสาหกรรมโค เพื่อเลี้ยงและผลิตน้ำนม คาดว่าจะสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจและช่วยในการกระจายความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจในปัจจุบันของบริษัท จากกรณีดังกล่าวได้ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสใน การสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับบริษัทในระยะยาว [PR News]

[PR News] CFARM บอร์ดสั่งลุยอุตสาหกรรมโค 1,250 ตัว มูลค่า 419 ล. ผลิตนมเชิงพาณิชย์ Q1/69

[PR News] CFARM บอร์ดสั่งลุยอุตสาหกรรมโค 1,250 ตัว มูลค่า 419 ล. ผลิตนมเชิงพาณิชย์ Q1/69

          บมจ.ชูวิทย์ฟาร์ม (2019) หรือ CFARM เผยมติคณะกรรมการบริษัทฯอนุมัติลงทุนในอุตสาหกรรมโค ขนาด 1,250 ตัว โดยมูลค่าการลงทุนประมาณ 419.58 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มผลิตนมเชิงพาณิชย์ได้ช่วงไตรมาส 1 ปี 2569 พร้อมขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้จาก IPO จำนวน 156.62 ล้านบาท เพื่อเป็นการต่อยอดการเติบโตและหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจในการกระจายความเสี่ยงของบริษัทไปสู่ธุรกิจใกล้เคียง           นายชูรัตน์ จึงธนสมบูรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชูวิทย์ฟาร์ม (2019) จำกัด (มหาชน) หรือ CFARM ประกอบธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ ประเภทฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อให้กับคู่สัญญาในรูปแบบเกษตรพันธสัญญาแบบประกันราคา เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2567 เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 อนุมัติเข้าลงทุนในอุตสาหกรรมโค ขนาด 1,250 ตัว พร้อมอาคารสิ่งปลูกสร้างและเครื่องจักรการผลิตน้ำนมดิบเฉลี่ย 17 ล้านลิตรต่อปี บนที่ดินของบริษัท ที่ตำบลโคกสูง อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 419.58 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถเริ่มผลิตนมเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2569           โดยการลงทุนดังกล่าวเป็นการต่อยอดการเติบโตและหาโอกาส ใหม่ในการกระจายความเสี่ยงของบริษัทไปสู่ธุรกิจใกล้เคียง คือกลุ่มธุรกิจปศุสัตว์ที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญ บริษัทจึงเล็งเห็นโอกาส และช่องทางการเติบโตจากลงทุนในอุตสาหกรรมโค ซึ่งคาดว่าจะสร้างผลตอบแทนจากการดำเนินงาน รวมถึงเป็นโอกาสในการเติบโตที่มั่นคงให้บริษัทในระยะยาว           สำหรับแหล่งที่มาของเงินลงทุนในโครงการดังกล่าว มาจากเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทและ/หรือการขอรับการสนับสนุน ทางการเงินจากสถาบันการเงิน นอกจากนี้ ณ 30 มิถุนายน 2567 บริษัทยังมีเงินระดมทุนจากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) คงเหลือจำนวน 156.62 ล้านบาท ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างการขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อขอเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินดังกล่าว โดยจะมีการจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2567 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567  ซึ่งต้องได้รับมติอนุมัติไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของผู้มีสิทธิออกเสียงและมาร่วมประชุม ทั้งนี้หากบริษัทไม่ได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้น บริษัทยังสามารถจัดหาแหล่งเงินทุนสำรองจากสถาบันการเงิน และ/หรือจากแหล่งเงินทุนอื่น เพื่อพัฒนาโครงการต่อไป โดยบริษัทจะ พิจารณาจัดหาแหล่งเงินทุนอย่างระมัดระวัง โดยคำนึงถึงประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นเป็นเป็นสำคัญ เพื่อให้เป็นไปตามแผนงาน ที่บริษัทวางไว้           บริษัทคาดว่าการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อการดำเนินธุรกิจ และสภาพ คล่อง ณ ปัจจุบันของบริษัท และบริษัทจะยังคงดำเนินธุรกิจหลักของบริษัทต่อไป แต่การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินดังกล่าว เพื่อเพิ่มโอกาสในการเติบโตและสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับบริษัทในระยะยาว อีกทั้งการมีแหล่งรายได้ที่หลากหลายจะช่วยเสริมสร้าง ความมั่นคงทางการเงินให้กับบริษัท และยังถือเป็นช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจในชุมชนอีกด้วย           สำหรับธุรกิจปัจจุบัน บริษัทมีการทำธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ ประเภทฟาร์มเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อ ให้กับคู่สัญญา ซึ่งบริษัทมีความเชี่ยวชาญในธุรกิจเกษตร ด้วยเหตุนี้ การนำเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้น IPO ไปใช้ตามวัตถุประสงค์เดิมจึงอาจมิได้ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่บริษัท และผู้ถือหุ้น บริษัทจึงมีความจำเป็นต้องพิจารณาและลดความเสี่ยงในการทาธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ ประเภทฟาร์มเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อเพียงประเภทเดียว บริษัทจึงได้เริ่มศึกษาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมโค คาดว่าธุรกิจดังกล่าวอาจจะส่งผลดี และช่วยในการกระจายความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน บริษัทจึงมีการขยายไปทำอุตสาหกรรมโค เพื่อเลี้ยงและผลิตน้ำนม คาดว่าจะสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจและช่วยในการกระจายความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจในปัจจุบันของบริษัท จากกรณีดังกล่าวได้ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสใน การสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับบริษัทในระยะยาว

[PR News] CFARM เจราจาคู่สัญญาใหม่ รายได้ปี 67 ฉลุย

[PR News] CFARM เจราจาคู่สัญญาใหม่ รายได้ปี 67 ฉลุย

          บมจ.ชูวิทย์ฟาร์ม (2019) หรือ CFARM แจ้งอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อรับสัญญาทั้งรายเดิม และรายใหม่เพิ่มเติม เพื่อรับรองการขยายธุรกิจ ย้ำรายได้ปี 67 ทรงตัวจากปี 66 หลังส่งมอบไก่ให้คู่สัญญาต่อเนื่อง น้ำหนักไก่ตามมาตรฐาน ควบคุมต้นทุนดีเยี่ยม และราคาขายสูงขึ้นกว่าครึ่งปีแรก           นางสาวมธุชา จึงธนสมบูรณ์ รองกรรมการผู้จัดการสายงานการจัดการ บริษัท ชูวิทย์ฟาร์ม (2019) จำกัด (มหาชน) หรือ CFARM ประกอบธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ ประเภทฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อให้กับคู่สัญญาในรูปแบบเกษตรพันธสัญญาแบบประกันราคา เปิดเผยว่าบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจา เพื่อรับสัญญาจากผู้ประกอบการจากคู่สัญญาทั้งรายเดิม และรายใหม่เพิ่มเติม เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ โดยบริษัทจะพิจารณาตามความต้องการของตลาด และสัญญาที่ให้กำไรกับทางบริษัทมากที่สุด           สำหรับในไตรมาส 3/2567 แนวโน้มผลการดำเนินงานจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากการส่งมอบไก่ให้กับคู่สัญญาหลัก ยังเป็นไปตามมาตรฐาน และมีการบริหารจัดการที่ดีขึ้น ทั้งขั้นตอนการเลี้ยง ต้นทุน และค่าใช้จ่ายทุกภาค ส่วนช่วงไตรมาส 4/2567 มองว่ายังคงดำเนินธุรกิจได้ดีตามแผนตามที่กล่าวข้างต้น  ดังนั้นว่าภาพรวมผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2567 จะดีกว่าช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากผลการดำเนินงานโดยรวมดีขึ้น และปกติแล้วรอบการเลี้ยงมากกว่า(5รอบปีต่อ หรือ 40-45 วันขาย)           “ในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ปี 2567 บริษัทคาดว่าจะสามารถสร้างการเติบโตได้ แม้มีฐานการผลิตเท่าเดิม เนื่องจากมีอัตราการเลี้ยงรอดที่ดีกว่าเกณฑ์ 96% และน้ำหนักตัวไก่ดีกว่าที่ 2.8-3 กิโลกรัม (ตลาดเฉลี่ย 2.7-2.8 กก.) และอัตราการกินอาหารของไก่น้อยลงสวนทางน้ำหนักตัวไก่ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนอาหารลดลงด้วย และราคาขายที่สูงกว่าครึ่งปีแรก” นางสาวมธุชากล่าว           ทำให้แผนการดำเนินงานครึ่งปีหลัง 2567 บริษัทยังคงเป้าหมายมีรายได้รวบใกล้เคียงปี 2566 โดยเป็นไปตามการบริโภคที่มีมากขึ้นโดยแต่ละปีก็มีการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 3-4% จากเป็นโปรตีนที่มีราคาถูก และภาคส่งออกไก่ของไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัจจุบันกำลังขยับขึ้นเป็นอันดับ 3 ของโลก พร้อมทั้งความสามารถในการทำกำไรจะยืนสูงเมื่อเทียบกับปี 2566 หลังบริหารต้นทุนโดยรวมได้ดี           ขณะที่แนวโน้มธุรกิจอุตสาหกรรมไก่แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ในปี 2567-2569 คาดว่าปริมาณการผลิตไก่จะเติบโต 2.0-3.0% ต่อปี อยู่ที่ 1.99-2.10 พันล้านตัว และปริมาณเนื้อไก่จะยังคงเติบโต 1.5-2.5% ต่อปี อยู่ที่ 3.19-3.35 ล้านตัน ตามทิศทางความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศที่จะขยายตัวดีขึ้น รวมถึงการปรับลดลงของต้นทุนอาหารสัตว์ตามราคาธัญพืช อาทิ ถั่วเหลือง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีอุปทานเพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปริมาณการบริโภคในประเทศคาดจะเติบโต 1.0-2.0 % ต่อปี  ส่วนปริมาณการส่งออกคาดเติบโต 3.5-4.5% ต่อปี

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

live-sticky
LIVE