#CENTEL


ครม. อนุมัติมาตรการ Easy e-receipt  แจกเงินดิจิทัลเฟส 2 - ขยายเวลาลดภาษี ผับ บาร์

ครม. อนุมัติมาตรการ Easy e-receipt แจกเงินดิจิทัลเฟส 2 - ขยายเวลาลดภาษี ผับ บาร์

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.กรุงศรี เผย ครม. มีมติเห็นชอบแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 2 ให้กลุ่มผู้สูงอายุ, อนุมัติมาตรการ Easy e-receipt และขยายเวลาลดภาษีสรรพสามิต ผับ บาร์ ไนต์คลับ อีก 1 ปี เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว บทวิเคราะห์มองเป็นบวกต่อหุ้นในกลุ่ม Domestic Play ที่จะได้ประโยชน์ อาทิ ค้าปลีก, ไฟแนนซ์, ร้านอาหาร และท่องเที่ยว (CRC, CPALL, SAWAD, CENTEL, ERW)

CENTEL ไฮซีซันโตต่อ โบรกเคาะพื้นฐาน44 บ.

CENTEL ไฮซีซันโตต่อ โบรกเคาะพื้นฐาน44 บ.

          หุ้นวิชั่น- บทวิเคราะห์ บล.ดาโอ ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” CENTEL และราคาเป้าหมายปี 2025E ที่ 44.00 บาท อิง DCF (WACC 7.6%, terminal growth 2.5%)           โดยมีมุมมองเป็นบวกจากการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เพราะภาพรวมทั้งธุรกิจโรงแรมและอาหารมีการฟื้นตัวได้ดีตามคาด โดยโรงแรมใหม่ 2 แห่งที่มัลดีฟส์น่าจะ Breakeven ที่ NPAT ที่ Occ. Rate ที่ 55-60% เร็วกว่าโรงแรมเดิมเพราะมีการแชร์ค่าใช้จ่ายระหว่างกันได้ ขณะที่ค่าใช้จ่ายจากโรงแรมแห่งใหม่ที่มัลดีฟส์ใน 2H24E ทั้งหมดอยู่ที่ราว -150-200 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ -200-250 ล้านบาท ส่วน GPM ธุรกิจอาหาร 4Q24E จะยังทรงตัวระดับสูงเมื่อเทียบ QoQ ได้จากการบริหารต้นทุนได้ดีและยังมีการทยอยปิดสาขาที่ไม่กำไร ขณะที่มี M&A 2 ดีลที่กำลังคุยกันอยู่ นอกจากนี้ยังคาดหวังงาน World Expo 2025 ที่ Osaka ช่วง 13 เม.ย.-13 ต.ค. 25 จะหนุนให้ ADR ปี 2025E เพิ่มขึ้นอีก +14% YoY และ Occ. Rate จะเพิ่มขึ้นอีก +2% ไปอยู่ที่ราว 80%เรายังคงประมาณการกำไรปกติปี 2024E อยู่ที่ 1.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น +15% YoY           ขณะที่คาดกำไรปกติ 4Q24E จะเพิ่มขึ้น QoQ จากการเข้าสู่ช่วง High season ของไทย, มัลดีฟส์และญี่ปุ่น ขณะที่กำไรปกติปี 2025E จะเพิ่มขึ้นได้อีก +18% YoY ซึ่งเป็นการเติบโตที่สูงสุดเมื่อเทียบกับ MINT และ ERW เพราะได้รับแรงหนุนจากการไม่มีค่าใช้จ่ายที่สูงเหมือนปี 2024E และรับรู้โรงแรมที่ Renovate 2 แห่ง (ภูเก็ตและพัทยา) ได้เต็มปี เพราะจะดำเนินการได้ตั้งแต่ช่วงปลาย พ.ย.- ต้น ธ.ค. 24ราคาหุ้นปรับตัวลดลง -9%/-12% ในช่วง 1 เดือน/ 3 เดือนที่ผ่านมา เพราะกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่มากกว่าคาด           ขณะที่ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นน้อยกว่าคาด ส่วนธุรกิจอาหารทำกำไรได้ดีขึ้นหลังจากปิดสาขาที่ไม่กำไรออกไป ด้าน Valuation ซื้อขายที่ 2024E EV/EBITDA ที่ 11.7x (-1.25SD below 8-yr average EV/EBITDA) ถูกกว่า ERW ที่ 14.6x ขณะที่กำไรปกติปี 2025E จะเติบโตได้สูงที่สุดเมื่อเทียบกับ MINT และ ERW

CENTEL กำไร Q3 โต 123% แตะ 163 ล้านบาท

CENTEL กำไร Q3 โต 123% แตะ 163 ล้านบาท

          CENTEL สร้างความประทับใจในไตรมาส 3/67 ด้วยกำไรสุทธิเติบโต 123% เมื่อเทียบกับปีก่อน มุ่งเน้นการพัฒนาแบรนด์และขยายธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ วางเป้าหมายอัตราการเข้าพักโรงแรมเฉลี่ย 70%-73% รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPAR) คาดว่าจะอยู่ในช่วง 4,000 – 4,300 บาท ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ผลักดันการเติบโตในธุรกิจอาหาร โดยคาดยอดขายรวมทุกสาขาเติบโต 4%-6% ในปี 2567           นายกันย์ ศรีสมพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน และ รองประธานฝ่ายการเงินและบริหาร บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)หรือ CENTEL  ผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567 ปรับตัวดีขึ้นเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอย่างมีนัยสำคัญ แต่ปรับตัวลดลงเทียบกับไตรมาส 2/2567 ตามฤดูกาลท่องเที่ยว โดยบริษัท มีรายได้รวม: 5,602 ล้านบาท (ไตรมาส 3/2566: 5,416 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 186 ล้านบาท หรือ 3% โดยสัดส่วนรายได้: ธุรกิจโรงแรมต่อธุรกิจอาหารทรงตัวเมื่อเทียบกับปีก่อนอยู่ที่ 43% : 57% และกำไรสุทธิ: 163 ล้านบาท (ไตรมาส 3/2566: 73 ล้านบาท) เติบโต 123% เทียบกับปีก่อน           โดยธุรกิจโรงแรม วันที่ 30 กันยายน 2567 บริษัทฯ มีโรงแรมภายใต้การบริหารงานทั้งหมดจำนวน 92 โรงแรม (20,505 ห้อง) แบ่งเป็นโรงแรมที่เปิดดำเนินการแล้ว 52 โรงแรม (11,101 ห้อง) และโรงแรมที่กำลังพัฒนา 40 โรงแรม (9,404 ห้อง)ในส่วนของ 52 โรงแรมที่เปิดดำเนินการแล้วนั้น 20 โรงแรม (5,566 ห้อง) เป็นโรงแรมที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของ และ 32 โรงแรม (5,535 ห้อง) เป็นโรงแรมที่อยู่ภายใต้สัญญาบริหาร           ทั้งนี้ รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมทั้งหมด (RevPAR) อยู่ที่ 3,429 บาท ในไตรมาส 3/2567 ลดลง 7% เทียบกับไตรมาส 2/2567 สาเหตุหลักมาจากการลดลงของราคาห้องพักเฉลี่ย (ARR) 5% เทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งอยู่ที่ 4,934 บาทในไตรมาส 3/2567 และอัตราการเข้าพัก (OCC) ลดลงจาก 71% ในไตรมาส 2/2567 เป็น 69% ในไตรมาส 3/2567           ธุรกิจอาหาร: ผลการดำเนินงานธุรกิจอาหารสำหรับไตรมาส 3/2567  สำหรับผลประกอบการไตรมาส 3/2567           รายได้จากธุรกิจอาหารรวม: 3,180 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 97 ล้านบาท (หรือเพิ่มขึ้น 3%) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน           อัตราการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (%SSS): ไม่รวมแบรนด์ร่วมทุนและแบรนด์ เดอะ เทอเรส ที่รับบริหาร เพิ่มขึ้น 2% (ไตรมาส 3/2566: 0%) อัตราการเติบโตของยอดขายรวม (%TSS): ไม่รวมแบรนด์ร่วมทุนและแบรนด์ เดอะ เทอเรส อยู่ที่ 4% ทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และแบรนด์ที่เติบโตสูงสุด: มิสเตอร์ โดนัท, อานตี้ แอนส์, โอโตยะ และ เปปเปอร์ลันช์ ณ สิ้นไตรมาส 3/2567 บริษัทฯ มีจำนวนสาขาทั้งหมด 1,396 สาขา (รวมแบรนด์ร่วมทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ) ลดลง 206 สาขา เมื่อเทียบกับสิ้นไตรมาส 3/2566 (ลดลง 213 สาขา เมื่อเทียบกับสิ้นไตรมาส 2/2567) ผลการดำเนินงานของธุรกิจอาหารมีความผันผวนตามฤดูกาลบ้างแต่ไม่รุนแรงมากนัก โดยปกติแล้ว ไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 4 จะมียอดขายสูงกว่าไตรมาสที่ 1 และ 3 เนื่องจากเป็นช่วงปิดเทอมและมีวันหยุดเฉลิมฉลองตามเทศกาล ทั้งนี้ยอดขาย Delivery ในไตรมาสที่ 3 มักได้รับผลกระทบเนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน อย่างไรก็ตาม สำหรับไตรมาส 3/2567 แม้ว่ารายได้ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2/2567 แต่กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น โดยอัตราส่วน EBITDA ต่อรายได้รวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 18% ในไตรมาสที่ 2/2567 เป็น 22% ในไตรมาสที่ 3/2567 ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินงานของแบรนด์หลัก การรับรู้กำไรตามวิธีส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าเพิ่มขึ้น และปัจจัยบวกจากการปิดสาขาที่ไม่ทำกำไร ธุรกิจโรงแรม:           บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้วยความระมัดระวัง โดยการปรับกลยุทธ์ทางการขายและตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด รวมถึงการควบคุมค่าใช้จ่าย เน้นการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและวินัยทางการเงิน ขณะที่ยังคงเดินหน้าลงทุนเพื่อขยายธุรกิจในอนาคตด้วยการจัดสรรเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดหาแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนเหมาะสมจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน และการออกตราสารหนี้ตามภาวะตลาดการเงิน โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ โอซาก้า: เป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว จำนวน 515 ห้อง เปิดดำเนินการเต็มปีเป็นปีแรกในปี 2567 บริหารโดยบริษัท Centara Osaka Japan Kabushiki Kaisha ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้น 100% และเป็นผู้เช่ทรัพย์สิน บริษัทฯ บันทึกผลการดำเนินงานทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายในงบการเงินรวม การปรับปรุงใหญ่ (Major Renovation): โรงแรมเซ็นทารา กะรน ภูเก็ต: ปิดปรับปรุงทั้งหมดตั้งแต่ไตรมาส 3/2566 กำหนดเปิดดำเนินการในเดือนพฤศจิกายน 2567 (330 ห้อง) โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ มิราจ บีช รีสอร์ท พัทยา: ทยอยปิดปรับปรุงตั้งแต่ไตรมาส 3/2566 เปิดดำเนินการห้องที่ปรับปรุงใหม่ในแต่ละเฟสตั้งแต่ไตรมาส 2/2567 การปรับปรุงห้องพักทั้งหมดจะแล้วเสร็จต้นเดือนธันวาคม 2567 การเปิดโรงแรมใหม่ในมัลดีฟส์: เซ็นทารา มิราจ ลากูน มัลดีฟส์ (145 ห้อง): เปิดในเดือนพฤศจิกายน 2567 เซ็นทารา แกรนด์ ลากูน มัลดีฟส์ (142 ห้อง): เปิดในไตรมาส 1/2568 คาดว่าจะมีผลขาดทุนจากค่าใช้จ่ายช่วงเตรียมเปิดดำเนินการ (Pre-opening Expenses) รวมประมาณ 150-200 ล้านบาทในปี 2567 แผนปรับปรุงใหญ่ในปี 2568: โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท แอนด์ วิลลา หัวหิน (251 ห้อง):ทยอยปิดบางส่วนเพื่อปรับปรุงตั้งแต่ไตรมาส 2/2568โรงแรมยังคงเปิดให้บริการระหว่างปรับปรุง โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ทและวิลลา กระบี่ (192 ห้อง): ปิดปรับปรุงทั้งหมดในไตรมาส 2/2568 ธุรกิจอาหาร:           ธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากในแต่ละปีมีผู้ประกอบการใหม่ๆ เพิ่มเข้ามาเป็นจำนวนมาก บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญในการสร้างและพัฒนาแบรนด์เพื่อสร้างความคุ้มค่าและประสบการณ์ที่ดีในการรับประทานอาหารของลูกค้า หามองหาแบรนด์ใหม่ๆ ที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีมาเสริมทัพ หาช่องทางการขายใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงลูกค้า และเน้นการบริหารจัดการต้นทุนในด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและสร้างความเติบโตของรายได้และกำไรอย่างยั่งยืน           ในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 บริษัทฯ ได้มีการวางแผนรับมือความผันผวนของราคาวัตถุดิบ โดยได้มีการดูแนวโน้มราคาเพื่อวางแผนในการเจรจาต่อรองกับผู้ขายวัตถุดิบอย่างต่อเนื่อง หาแหล่งวัตถุดิบทดแทน และมีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับวัตถุดิบหลักในบางส่วนเพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา           บริษัทฯ เน้นเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการเตรียมการจัดตารางการทำงานของพนักงานให้เป็นมาตรฐานตามยอดขาย และนำเทคโนโลยีมาใช้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงมีแผนการปิดสาขาที่ไม่สามารถทำกำไรได้ตามเป้าหมาย มุ่งเน้นการขยายและการทำกำไรในแบรนด์หลักเพื่อเพิ่มอัตราการทำกำไรของบริษัทฯ และพิจารณาเปิดสาขาใหม่ด้วยความระมัดระวัง โดยมุ่งเน้นการขยายสาขาในแบรนด์หลักที่มีอัตราการทำกำไรสูง รวมถึงการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับยอดขายหรือกลุ่มลูกค้าที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน อย่างไรก็ดีสำหรับแนวโน้ม ธุรกิจโรงแรม           บริษัทฯ คาดการณ์ว่าอัตราการเข้าพักเฉลี่ยในปี 2567 จะอยู่ที่ 70% - 73% (รวมโรงแรมร่วมทุน) โดยรายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPAR) คาดว่าจะอยู่ในช่วง 4,000 – 4,300 บาท ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ธุรกิจอาหาร           สำหรับธุรกิจอาหาร บริษัทฯ คาดการณ์การเติบโตจากสาขาเดิม (Same-Store-Sales: SSS) อยู่ที่ 1% - 3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และการเติบโตของยอดขายรวมทุกสาขา (Total-System-Sales: TSS) อยู่ในช่วง 4% - 6%           อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้วางแผนการขยายสาขาด้วยความระมัดระวังมากขึ้น โดยคาดการณ์ว่าจำนวนสาขา ณ สิ้นปี 2567 จะทรงตัวหรือลดลงประมาณ 2% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2566 เนื่องจากการปิดแบรนด์ที่ขาดทุนและสาขาที่เน้นการขายแบบเดลิเวอรี่เป็นหลัก พร้อมทั้งมุ่งเน้นการขยายสาขาในแบรนด์ที่มีอัตราการทำกำไรสูง           ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการต้นทุน และการปรับตัวให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างความมั่นคงในธุรกิจและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในระยะยาว

บล.กรุงศรี แนะ Trading Buy

บล.กรุงศรี แนะ Trading Buy "CENTEL" เป้า 40 บาท

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ปรับลดคำแนะนำ CENTEL เป็น Trading Buy ด้วยราคาเป้าหมาย 40 บาท จากคาดว่ากำไรปกติจะเติบโต 132% ช่วงเดียวกันกับปีก่อน แต่ลดลง 43% จากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาส 3/2567 ซึ่งเป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการ (pre-expense)           กำไรใน 9 เดือน 2567 คิดเป็น 86% ของประมาณการปี 2567 และคาดว่าไตรมาส 4/2567 จะเห็นการลดลงทั้งจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน และไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการสำหรับโรงแรมในมัลดีฟส์ยังคงกดดันกำไรในช่วง ไตรมาส 4/2567-ไตรมาส 1/2568           และหุ้น CENTEL เพิ่มขึ้น 22% ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา ขณะนี้ซื้อขายที่อัตราส่วน P/E 30 เท่าของปี 2568 ซึ่งทำให้มี upside จำกัดต่อราคาเป้าหมายของฝ่ายวิเคราะห์

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

CENTEL คาด Q4/2567 ฟื้นตัวแรง รับ High Season อัตราการเข้าพักพุ่ง 70% พร้อมลุยแผนลงทุนปีหน้า

CENTEL คาด Q4/2567 ฟื้นตัวแรง รับ High Season อัตราการเข้าพักพุ่ง 70% พร้อมลุยแผนลงทุนปีหน้า

          นายกันย์ ศรีสมพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน และรองประธานฝ่ายการเงินและบริหาร บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) หรือ CENTEL เปิดเผยว่า บริษัทอยู่ระหว่างการทบทวนแผนธุรกิจ 5 ปี (ปี 2568-2572) ทั้งในส่วนธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร โดยบริษัทมุ่งมั่นผลักดันการเติบโตทั้งสองส่วนตามกลยุทธ์ที่วางไว้ สำหรับธุรกิจโรงแรม บริษัทมีเป้าหมายดังนี้: การขยายจำนวนโรงแรมในประเทศและต่างประเทศ เพิ่มจำนวนโรงแรมภายใต้การบริหารงานในกลุ่มอาเซียน อาทิ ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน มัลดีฟส์ รวมถึงกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง การปรับปรุงโรงแรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน จับมือกับพันธมิตรเพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจ เปิดสำนักงานในหัวเมืองสำคัญอย่างโฮจิมินห์ เซี่ยงไฮ้ และดูไบ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการขยายธุรกิจในอนาคต ขยายเครือข่ายพันธมิตรทางการตลาดไปยังกุ่มธุรกิจสายการบิน ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า และบริษัทท่องเที่ยวต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนเพื่อลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ตั้งเป้าเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2593 โดยภายใต้แผนการดำเนินงานจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20 ภายในปี พ.ศ. 2572 ด้วยการบริหารจัดการพลังงาน การใช้น้ำ และการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงยกเลิกการใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียว (single-use plastic) ภายในปี พ.ศ. 2568 พร้อมให้โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทาราทุกแห่งได้รับการรับรองด้านสิ่งแวดล้อมจาก Global Sustainable Tourism Council – GSTC ภายในปี พ.ศ. 2568           สำหรับธุรกิจอาหาร บริษัทตั้งเป้าหมายเป็นผู้นำธุรกิจร้านอาหารอันดับ 1 ในใจผู้บริโภค ด้วยนวัตกรรมและการส่งมอบอาหารที่อร่อย คุ้มค่า จากการบริการด้วยใจ และพัฒนาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ ยังเดินหน้าขยายสาขาให้ครอบคลุมทั่วประเทศไทย เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด โดยมุ่งเน้นการรักษามาตรฐานสินค้าให้อยู่ในระดับสูง และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ แนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 4/2567           คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2567 เนื่องจากเป็นช่วง High Season ของทุกภูมิภาค นอกจากนี้ โรงแรม Centara Grand Mirage Pattaya และ Centara Karon จะกลับมาเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ (ยกเว้นส่วน Villa 50 ห้องของ Centara Karon) ในเดือนธันวาคม รวมถึงการเปิดโรงแรมใหม่ Centara Mirage Lagoon Maldives ในเดือนพฤศจิกายน           หากพิจารณาเฉพาะพอร์ตโฟลิโอโรงแรมระดับ 5 ดาวขึ้นไปในประเทศไทยที่บริษัทเป็นเจ้าของ เมื่อเทียบตัวเลขจองห้องพักล่วงหน้า (On the Book) สำหรับไตรมาส 4 ปีนี้กับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ไม่รวม Centara Grand Mirage Pattaya ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุง) พบว่าปรับตัวดีขึ้นประมาณ 15% เมื่อเทียบรายปี (YoY) ขณะที่ตัวเลข On the Book สำหรับโรงแรมที่ดูไบและโอซาก้าปรับตัวดีขึ้นกว่า 10% และเกือบ 40% ตามลำดับ           จากการประมาณการ คาดว่าอัตราการเข้าพักโดยรวมในไตรมาส 4/2567 จะสูงกว่า 70% โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีอุปสงค์ (Demand) ค่อนข้างแข็งแกร่งในไตรมาสนี้ โดยจุดหมายปลายทางสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยว เช่น กรุงเทพมหานคร (อัตราการเข้าพัก > 80%) ภูเก็ต (> 85%) และหัวหิน (80%) ขณะที่โรงแรมในดูไบและโอซาก้าคาดว่าจะมีอัตราการเข้าพักมากกว่า 85% และเกือบ 90% ตามลำดับ แผนการลงทุนปี 2568           บริษัทได้ประเมินการลงทุนเบื้องต้นไว้ โดยคาดว่าธุรกิจอาหารจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท ขณะที่ธุรกิจโรงแรมคาดว่าจะใช้งบลงทุนราว 3,400-7,700 ล้านบาท โดยงบ 3,400 ล้านบาทจะเป็นงบลงทุนปกติ ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงและการรีแบรนด์โรงแรมที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงค่าก่อสร้างโรงแรมใหม่ 2 แห่งที่มัลดีฟส์ ซึ่งมีกำหนดชำระถึงต้นปีหน้า และการขยายห้องพักเพิ่มเติมสำหรับโรงแรม Centara Reserve Samui และ Centara Mirage Dubai ส่วนงบประมาณเพิ่มเติมอีก 4,300 ล้านบาท จะเป็นงบลงทุนสำหรับโรงแรมใหม่ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาพัฒนา รวมถึงการเข้าซื้อกิจการ (M&A) ในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รายงานโดย : ณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการข่าว สำนักข่าว Hoonvision