ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#BPP


BPP ไฟฟ้าเท็กซัสหนุนโต โบรกเคาะพื้นฐาน 9.20 บ.

BPP ไฟฟ้าเท็กซัสหนุนโต โบรกเคาะพื้นฐาน 9.20 บ.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.หยวนต้า ระบุ Banpu Power (BPP) มีโอกาสเข้าสู่รอบการฟื้นตัว ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในเท็กซัสมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว หากอิงข้อมูลจากบริษัทฯ ในปี 2024 อุปสงค์ไฟฟ้าของตลาด ERCOT (ตลาดขายไฟฟ้าหลักในรัฐเท็กซัส) อยู่ที่ระดับ 86GW และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 123GW ภายในปี 2027 และ 148GW ภายในปี 2030 หรือคิดเป็นการเติบโตในระดับ 9.5% CAGR ระหว่างปี 2024-30 หลังได้แรงหนุนหลักจากอุตสาหกรรม Data Center ที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตามกระแส AI และการลงทุนโครงการ Stargate ซึ่งเป็นโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI หลักภายใต้รัฐบาลของคุณทรัมป์ และการย้ายฐานการผลิตกลับมายังสหรัฐฯ เพื่อลดผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีนำเข้าของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการเริ่มโครงการผลิตไฮโดรเจนในรัฐเท็กซัส (คาดเห็นความต้องการใช้ไฟฟ้าจากกลุ่มดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ปี 2027 เป็นต้นไป)           กำลังผลิตไฟฟ้าที่เติบโตไม่ทันจะช่วยหนุนกำไรของโรงไฟฟ้าในสหรัฐฯ แม้ปัจจุบัน ERCOT ได้มีแผนการเพิ่มจำนวนโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง แต่ผลจากการเติบโตของอุปสงค์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้อุปสงค์ไฟฟ้าใน ERCOT มีโอกาสสูงกว่ากำลังผลิตไฟฟ้าได้ในระยะยาว ทั้งนี้หากอิงข้อมูลจาก ERCOT พบว่าในปี 2026 มีโอกาสที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วงหน้าร้อน (ช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงที่สุดของปีในรัฐเท็กซัส) จะสูงกว่ากำลังผลิตไฟฟ้าของระบบราว 6% หากไม่รวมกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (หากรวมกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจะมีกำลังผลิตสำรองเหลือเพียง 5%) ทำให้ค่าไฟฟ้าในช่วงเวลาดังกล่าวมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น (ERCOT ระบุว่าราคาค่าไฟฟ้าในช่วงดังกล่าวมีโอกาสปรับตัวขึ้นไปเป็น US$60/MWh จาก US$32/MWh ในปี 2024) โดยจากการประเมินเบื้องต้นคาดว่าหากค่าไฟฟ้าปรับขึ้นไปอยู่ในระดับดังกล่าวจริง จะส่งผลให้กำไรของโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติของบริษัทฯ ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นได้ราว 15-30% (บริษัทฯ มีการทำสัญญาซื้อขายไฟล่วงหน้าราว 50% และตลาด ERCOT ไม่มีการกำหนดราคาค่าความพร้อมจ่าย) (ยังไม่รวมไว้ในประมาณการ)           แนวโน้มกำไร 1Q25 มีโอกาสกลับมาเติบโตทั้ง QoQ และ YoY เบื้องต้นคาดกำไรปกติ 1Q25 ที่ระดับ 600-700 ล้านบาท กลับมาเติบโตทั้ง QoQ และ YoY จากปัจจัยฤดูกาลของโรงไฟฟ้า CHP ในจีนและจำนวนวันการปิดซ่อมบำรุงของโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติในสหรัฐฯ และโรงไฟฟ้าหงสาที่ลดลง หากมองไปช่วง 2Q-3Q25 คาดว่ากำไรปกติจะสามารถเติบโต QoQ และ YoY ได้ต่อเนื่องจากการเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนในสหรัฐฯ และการไม่มีการปิดซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าหงสาที่เป็นแหล่งกำไรหลักของบริษัทฯ (ในปี 2025 โรงไฟฟ้าหงสาจะมีการปิดซ่อมบางส่วนในช่วง 1Q25 และ 4Q25)           มีเงินปันผลช่วยจำกัด Downside ปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “ซื้อ” เรามองว่าราคาหุ้นที่ปรับตัวลง 12% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ได้สะท้อนปัจจัยลบจากผลประกอบการ 4Q24 ที่ออกมาต่ำกว่าคาดไปมากแล้ว และมีโอกาสฟื้นตัวได้ในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้าจากการได้รับประโยชน์จากการเติบโตของอุตสาหกรรม Data Center ในสหรัฐฯ นอกจากนี้ หุ้นยังมีเงินปันผลในระดับ 0.60 บาท/หุ้น/ปี (Dividend Yield 8.2%) ช่วยจำกัด Downside จึงปรับคำแนะนำจาก “TRADING” ขึ้นเป็น “ซื้อ” สำหรับการลงทุนระยะยาว

BPP เผย โรงไฟฟ้าก๊าซฯสหรัฐ แกร่ง รับดีมานด์พุ่ง - ราคาซื้อขายไฟเพิ่ม

BPP เผย โรงไฟฟ้าก๊าซฯสหรัฐ แกร่ง รับดีมานด์พุ่ง - ราคาซื้อขายไฟเพิ่ม

          บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ผู้ผลิตพลังงานระดับสากล เผยผลดำเนินงานปี 2567รักษาผลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าทุกแห่งได้อย่างมีเสถียรภาพควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อย CO2 โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าในจีนลดการปล่อยคาร์บอนจากโรงไฟฟ้าได้ดีกว่าเกณฑ์ ทำให้มีรายได้เพิ่มเติมจากการขายสิทธิการปล่อยก๊าซคาร์บอน (Carbon Emission Allowances: CEAs) เกือบ 90 ล้านบาท เล็งเตรียมความพร้อมโรงไฟฟ้า Temple I และ Temple II ในสหรัฐฯ รับแรงหนุนจากแนวโน้มราคาซื้อขายไฟล่วงหน้าในตลาดไฟฟ้าเสรี ERCOT สูงขึ้นเกือบเท่าตัวในปี 2568 และการคาดการณ์อัตราความต้องการใช้ไฟฟ้าในสหรัฐฯ มีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) 15-17% ภายในปี 25731 จากการลงทุน Data Centers โดยรัฐเท็กซัสมี การเติบโตของ Data Centers ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของสหรัฐฯ2             นายอิศรา นิโรภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP กล่าวว่า “BPP ขับเคลื่อนการเติบโตตามแนวทางการดำเนินธุรกิจ Beyond Quality Megawatts โดยมุ่งมั่นบริหารพอร์ตโฟลิโอให้มีความสมดุลและครอบคลุมมากไปกว่าการขยายกำลังผลิตไฟฟ้า เพื่อมีความยืดหยุ่นในการหาโอกาสใหม่ ๆ ในการเติบโต และสร้างกระแสเงินสดได้อย่างมั่นคงในระยะยาว โดยปีที่ผ่านมาธุรกิจโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple I และ II ในรัฐเท็กซัส สหรัฐฯ สามารถเดินเครื่องเพื่อส่งมอบพลังงานได้ต่อเนื่อง แม้จะมีราคาซื้อขายไฟฟ้าเฉลี่ยลดลงจากอุณหภูมิและสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แต่เราเชื่อมั่นว่า ราคาซื้อขายไฟในปี 2568 มีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นสอดรับกับเทรนด์เทคโนโลยีพลังงานและดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐฯ อีกทั้ง BPP มีมาตรการบริหารจัดการความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา (Hedging Risk Management) ด้วยการใช้เครื่องมือทางการเงิน (Financial Derivative) สำหรับโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งนี้ โดยในปี 2568 จะมีกระแสเงินสดที่จะได้รับจากการใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากปี 2567 ที่ 40% นอกจากนี้ เรามองเห็นโอกาสในการสร้างรายได้เพิ่มเติมของธุรกิจในจีนจากการขายสิทธิการปล่อยก๊าซคาร์บอน (CEAs) ของโรงไฟฟ้าถ่านหิน”           “นอกจากนี้ยังเร่งขยายธุรกิจพลังงานหมุนเวียนและธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง (Renewables+) เดินหน้าสร้างห่วงโซ่ธุรกิจพลังงานที่แข็งแกร่ง โดยเน้นการลงทุนในโครงการแบตเตอรี่ฟาร์มขนาดใหญ่ (BESS) และการซื้อขายพลังงาน (Energy Trading) เพื่อสร้าง New S-curve ให้กับบริษัทฯ รวมถึงนำเทคโนโลยีดิจิทัลและ AI มาเสริมการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น” นายอิศรา กล่าวเสริม   ผลการดำเนินงานปี 2567 BPP มีรายได้รวม 25,827 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 1,746 ล้านบาท โดยมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) จากการดำเนินงานปกติ รวม 7,383 ล้านบาท พร้อมรักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วน ผู้ถือหุ้น (D/E) อยู่ในระดับต่ำเพียง 0.49 เท่า โดยไฮไลต์สำคัญในปีที่ผ่านมา ประกอบด้วย ธุรกิจพลังงานความร้อน (Thermal Energy): โรงไฟฟ้าเอชพีซี (HPC) ในสปป.ลาว และโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี (BLCP) ในไทย ยังคงเดินเครื่องอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถรักษาค่าความพร้อมจ่ายไฟ (EAF) ในระดับสูงที่ร้อยละ 86 และร้อยละ 90 ตามลำดับ และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเพิ่มเติมจากจำนวนชั่วโมงการผลิตตามสัญญา รวมถึงการดำเนินงานที่ดีขึ้นของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (CHP) และโรงไฟฟ้าซานซีลู่กวง (SLG) ในจีน จากการบริหารต้นทุนถ่านหินที่ดีขึ้นและมีรายได้อื่นที่เพิ่มขึ้นเกือบ 90 ล้านบาท จากการขายสิทธิการปล่อยก๊าซคาร์บอนของโรงไฟฟ้า (CEAs)ปริมาณประมาณ 290,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุด ที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและควบคุมการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดีกว่าเกณฑ์ ธุรกิจ Renewables+: ลงทุนในโครงการ BESS เพิ่มเติมอีก 2 แห่งในญี่ปุ่น ได้แก่ โครงการ Aizu (ไอสึ) และโครงการ Tsuno (ซึโนะ) กำลังการผลิตรวม 208 เมกะวัตต์-ชั่วโมง ซึ่งคาดว่าจะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ในปี 2571 ขณะที่โครงการ Iwate Tono กำลังการผลิต 58 เมกะวัตต์-ชั่วโมง มีความคืบหน้า 99% เตรียมเปิด COD ในไตรมาส 2 ปีนี้ และเดินหน้าธุรกิจขายไฟฟ้า Energy Trading ในญี่ปุ่น ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยม โดยมีการซื้อขายทั้งหมด 2,816 กิกะวัตต์-ชั่วโมง ล่าสุดในปี 2568 บ้านปู เน็กซ์ ซึ่ง BPP ถือหุ้นร้อยละ 50 ได้ร่วมกับโซลาร์บีเค บริษัทชั้นนำด้านพลังงานสะอาดในเวียดนาม จัดตั้งบริษัทร่วมทุน เพื่อให้บริการโซลาร์รูฟท็อปสำหรับกลุ่มธุรกิจเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมในเวียดนาม ตั้งเป้าเฟสแรก 390 เมกะวัตต์           “ด้วยพอร์ตธุรกิจที่มีความหลากหลายและกระจายตัวอย่างสมดุลผ่านการดำเนินธุรกิจเชิงรุกใน 8 ประเทศยุทธศาสตร์ทั่วโลก ทำให้ BPP มีความสามารถปรับตัวรับมือกับภาวะวิกฤติต่างๆ และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในแต่ละประเทศเพื่อส่งมอบคุณค่าและผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม พร้อมก้าวสู่เป้าหมายการเป็นผู้ผลิตพลังงานระดับโลก” นายอิศรา นิโรภาส กล่าว ทิ้งท้าย

BPP คาด Q4/67 กำไรที่ 610 ลบ. มีปันผล 0.60 บ. โบรกแนะ “TRADING” เป้า 9.20 บาท

BPP คาด Q4/67 กำไรที่ 610 ลบ. มีปันผล 0.60 บ. โบรกแนะ “TRADING” เป้า 9.20 บาท

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.หยวนต้า คาดกำไร 4Q67 ยังไม่เด่นและมีการบันทึกรายการขาดทุนจากการขายโรงไฟฟ้า คาดกำไรปกติ 4Q67 ที่ 610 ล้านบาท ลดลง 47% QoQ แม้เริ่มเข้าสู่ช่วง High Season ของโรงไฟฟ้า CHP ในจีน หลังถูกกดดันจาก 1. ปัจจัยฤดูกาลและการเข้าสู่ช่วงปิดซ่อมบำรุงประจำปีของโรงไฟฟ้าในสหรัฐฯ 2. คาดส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมลดลงเป็น 585 ล้านบาท (-57% QoQ, -23% YoY) จากการปิดซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าหงสาหน่วยที่ 1-2 และโรงไฟฟ้า BLCP หน่วยที่ 2 ในช่วง 4Q67 3. คาดต้นทุนทางการเงินลดลงเป็น 720 ล้านบาท (-5% QoQ, -4% YoY) ตามทิศทางการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ และจีน            ขณะที่ YoY คาดกำไรปกติสามารถเติบโตได้ YoY จากฐานที่ต่ำในปีก่อน หลังได้แรงหนุนจากต้นทุนถ่านหินในจีนที่ปรับตัวลงและส่วนแบ่งกำไรจากโรงไฟฟ้า SLG ที่คาดเพิ่มขึ้นเป็น 85 ล้านบาท จาก 51 ล้านบาทใน 4Q66 จากปริมาณขายไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นและการขายสิทธิการปล่อยคาร์บอน (Carbon Permit) ในจีนราว 3.0 แสนตันคาร์บอน ทั้งนี้ คาดบริษัทฯ จะมีการบันทึกรายการขาดทุนจากการขายโรงไฟฟ้า Nakoso ราว 1,500 ล้านบาทใน 4Q67 ทำให้คาดบริษัทฯ รายงานผลขาดทุนสุทธิ 4Q67 ที่ 1,060 ล้านบาท (พลิกเป็นขาดทุน QoQ และขาดทุนเพิ่มขึ้น YoY) ปรับกำไรปี 2568-69 ลงเพื่อสะท้อนผลกระทบจากการขายโรงไฟฟ้าในญี่ปุ่น            ปรับประมาณการกำไรปี 2568-69 ลง 2-3% เป็น 3,144 ล้านบาท (+4% YoY) และ 3,351 ล้านบาท (+7% YoY) ตามลำดับ เพื่อสะท้อนส่วนแบ่งกำไรที่ลดลงราว 100-150 ล้านบาท หลังการขายโรงไฟฟ้าถ่านหิน Nakoso ออกไปในช่วง 4Q67            ทั้งนี้ คาดกำไรปกติ 2568 จะยังสามารถทรงตัวอยู่ในระดับสูงได้ต่อเนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติในสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น YoY (หนุนความสามารถในการทำกำไรของโรงไฟฟ้าในสหรัฐฯ) หลังได้แรงหนุนจากนโยบายสนับสนุนการส่งออก LNG ของคุณทรัมป์ และปริมาณขายไฟฟ้าในจีนที่มีแนวโน้มฟื้นตัวตามเศรษฐกิจจีน แนวโน้มกำไร 1Q68 มีโอกาสกลับมาเติบโตทั้ง QoQ และ YoY            เบื้องต้นคาดกำไรปกติ 1Q68 ที่ระดับ 650-750 ล้านบาท เติบโตทั้ง QoQ และ YoY หลังได้แรงหนุนจาก 1. จำนวนวันปิดซ่อมบำรุงของโรงไฟฟ้าหงสาที่ลดลงทั้ง QoQ และ YoY 2. สภาวะอากาศในสหรัฐฯ ที่หนาวเย็นมากขึ้น YoY จะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนให้ปริมาณขายไฟฟ้าและความสามารถในการทำกำไรของโรงไฟฟ้าในสหรัฐฯ สูงขึ้น YoY 3. ไม่มีการรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน Nakoso เหมือนปีก่อน (ในช่วง 1Q24 รับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนราว 49 ล้านบาท) ปรับราคาเหมาะสมลงเป็น 9.20 บาท/หุ้น คงคำแนะนำ “TRADING” ผลจากการปรับประมาณการลงและการปรับ WACC ที่ใช้ประเมินมูลค่าขึ้นเป็น 9.0% (เดิม 8.1%) เพื่อสะท้อนสภาวะตลาดที่มีความเสี่ยงมากขึ้น ส่งผลให้ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2568 ลดลงเป็น 9.20 บาท/หุ้น มี Upside 12.2% แม้คาดหุ้นมีเงินปันผลราว 0.60 บาท/หุ้น/ปี (Dividend Yield 7.3%) ช่วยจำกัด Downside แต่เรามองว่าการฟื้นตัวของราคาหุ้นในระยะถัดจากนี้จะยังคงทำได้จำกัด เพราะถูกกดดันจากกำไรของโรงไฟฟ้าในสหรัฐฯ ที่ยังผันผวน รวมถึงการที่หุ้นยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ จึงคงคำแนะนำ “TRADING”

กางพอร์ตธุรกิจ BPP ปีนี้  ลุย สหรัฐฯ - จีน - อินโดนีเซีย

กางพอร์ตธุรกิจ BPP ปีนี้ ลุย สหรัฐฯ - จีน - อินโดนีเซีย

          หุ้นวิชั่น - บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าคุณภาพระดับสากล  มุ่งมั่นนำความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เกือบ 30 ปี สร้างการเติบโตในธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 8 ประเทศ ได้แก่ ไทย สปป.ลาว จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ซึ่งกว่าร้อยละ 80  ของกำลังการผลิตไฟฟ้าเป็นการจำหน่ายไฟฟ้าในต่างประเทศเป็นหลัก โดยปัจจุบัน BPP มุ่งสร้างสมดุลของพอร์ตธุรกิจทั้งพลังงานความร้อน (Thermal Energy) และพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ในประเทศยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง โดยมีโรงไฟฟ้าและโครงการโรงไฟฟ้าทั้งหมด 40 แห่ง กำลังผลิตทั้งหมด 3.6 กิกะวัตต์ตามสัดส่วนการลงทุน และตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้า 1,500 เมกะวัตต์จากโครงการก๊าซธรรมชาติภายในปี 2030 โดยเน้นประเทศยุทธศาสตร์ เช่น สหรัฐฯ จีน และอินโดนีเซีย สำหรับโรงไฟฟ้าที่จำหน่ายไฟในประเทศไทย มีโรงไฟฟ้า 2 แห่ง ที่มีสัญญาซื้อขายระยะยาว PPA จ่ายไฟให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คือ โรงไฟฟ้า บีแอลซีพี จังหวัดระยอง และโรงไฟฟ้าเอชพีซี ใน สปป. ลาว ที่เป็นกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าสำคัญของไทย บริษัทฯ มีความภูมิใจ ที่ 2 โรงไฟฟ้านี้ถือเป็นต้นแบบโรงไฟฟ้าที่มีการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความน่าเชื่อถือสูง (High reliability) และดำเนินการผลิตไฟฟ้าได้เต็มกำลังการผลิตตามคำสั่งของกฟผ. (Base load power plant with full capacity dispatch) ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากในการบริหารต้นทุนการผลิตโดยรวมของประเทศ (Cost effectiveness) นายอิศรา นิโรภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP กล่าวว่า “ด้วยการสนับสนุนจากราคาพลังงานและความต้องการใช้พลังงานในสหรัฐฯ ที่จะเพิ่มขึ้นจากการพัฒนาของ AI และศูนย์ข้อมูล (Data Center) โดยในปี 2568 คาดว่าราคาซื้อขายไฟล่วงหน้าในตลาด ERCOT สำหรับปี 2568 เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าจากปี 2567 อีกทั้ง บริษัทฯ จะมีกระแสเงินสดจากการป้องกันความเสี่ยง (Hedging) เพิ่มขึ้นกว่า 40% จากปี 2567 รวมถึงการเติบโตของกำไรของโรงไฟฟ้าในจีนจากต้นทุนถ่านหินที่คาดการณ์ว่าจะลดลง และรายได้จาก Carbon Emission Allowance ดังนั้นแม้จะมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจหรือนโยบายพลังงานภายในประเทศที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าผลการดำเนินงานของบริษัทฯ จะเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนจากการที่บริษัทมีฐานการดำเนินงานในหลากหลายประเทศ ประกอบกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  เสริมสถานะการเงินที่แข็งแกร่งพร้อมรองรับการขยายการลงทุนต่อไปในอนาคต และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น โดยมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลราว 4%-6% ต่อปี ในขณะที่กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ยังเติบโตต่อเนื่องโดยเฉลี่ยมากกว่า 20% ต่อปี” ถึงแม้ในปัจจุบันมีปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจพลังงานกำลังเผชิญ อาทิ ความกังวลต่อนโยบายลดค่าไฟฟ้าหรือเรื่องการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก Global Minimum Tax (GMT) ในอัตราขั้นต่ำ 15% จากบริษัทข้ามชาติที่มีรายได้ไม่น้อยกว่า 750 ล้านยูโร อย่างไรก็ตาม สำหรับ BPP นั้น นโยบายลดค่าไฟฟ้าในประเทศไม่ได้ส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ดำเนินการอยู่ในต่างประเทศ และโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งที่จำหน่ายไฟฟ้าในไทยล้วนเป็นสัญญาซื้อขายระยะยาว PPA ขณะที่ Global Minimum Tax (GMT) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2568 มีผลกระทบจำกัดต่อ BPP เนื่องจากในประเทศหลักที่เข้าไปลงทุน ทางบริษัทฯ มีการจ่ายภาษีในอัตราที่มากกว่า 15% อยู่แล้ว จึงไม่มีความเสี่ยงในเรื่องนี้ “เราเชื่อว่าธุรกิจพลังงานจะยังคงมีเสถียรภาพค่อนข้างมาก เนื่องจากไฟฟ้าเป็นปัจจัยพื้นฐานที่คนจำเป็นต้องใช้ รวมไปถึงเทรนด์พลังงานในอนาคตจะยิ่งเสริมให้ความต้องไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความสามารถในการทำกำไรในอนาคตของ BPP จะยังคงมีความยืดหยุ่นไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด โดยบริษัทฯ จะมุ่งเน้นการสร้างการเติบโตควบคู่ไปกับความยั่งยืน (Balancing Growth and Sustainability) ทั้งยังให้ความสำคัญกับการสร้างผลตอบแทนที่ดีสม่ำเสมอในระยะยาวให้แก่ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน” นายอิศรากล่าวปิดท้าย ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกิจ BPP ได้ที่ www.banpupower.com  [PR News]

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

เมื่อโลกเกิดภัยพิบัติ ผู้ผลิตไฟฟ้าปรับตัวยังไง?

เมื่อโลกเกิดภัยพิบัติ ผู้ผลิตไฟฟ้าปรับตัวยังไง?

           หุ้นวิชั่น - ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็น อุทกภัยที่เกิดในหลายพื้นที่ของประเทศไทย แผ่นดินไหวที่มักจะเกิดในประเทศที่เป็นเกาะ เช่น ญี่ปุ่น หรือการเกิดพายุหิมะในช่วงฤดูหนาวของสหรัฐอเมริกา ฯลฯ เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้าง ทรัพย์สิน และส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงการใช้ชีวิตของผู้คนจำนวนมากที่ต้องพบกับความเสี่ยงในการขาดแคลนไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการขับเคลื่อนทุกชีวิตและเป็นตัวแปรสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ การส่งมอบพลังงานไฟฟ้าอย่างมั่นคงและต่อเนื่องไม่ว่าในสถานการณ์ใด จึงถือเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ต้องทำให้สำเร็จ เพื่อให้ทุกชีวิตสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่น โดยไม่มีการหยุดชะงัก            นายอิศรา นิโรภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP กล่าวว่า “ภาวะขาดแคลนไฟฟ้าถือเป็นสิ่งที่ผู้คนกังวลมากที่สุดเมื่ออยู่ในสภาวะที่ไม่ปกติ BPP ในฐานะผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าคุณภาพเพื่อโลกที่ยั่งยืน ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งมอบพลังงานอย่างมั่นคงและต่อเนื่อง (Reliable) รวมถึงมุ่งเน้นการบริหารจัดการความเสี่ยงในการผลิตไฟฟ้าเพื่อรับมือกับปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เพื่อให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่ชุมชนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเตรียมความพร้อมในโรงไฟฟ้าทุกแห่งเพื่อการตอบสนองและฟื้นคืนการดำเนินงานในภาวะฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพภายในระยะเวลารวดเร็วภายใต้แผนการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ นอกจากนี้ เรายังพร้อมช่วยบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ของชุมชนและสังคมในประเทศที่เข้าไปดำเนินธุรกิจในยามที่เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจของ BPP ที่สอดคล้องกับหลักความยั่งยืน (ESG) และเป้าหมายในการส่งมอบพลังงานไฟฟ้าคุณภาพ”            โรงไฟฟ้ามีระบบจ่ายไฟฉุกเฉิน และประชาชนมีแหล่งไฟฟ้าสำรองใช้เมื่อเกิดภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น            หลังจากวิกฤตการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในจังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2554 ประชาชนในเมืองไอสึวากามัตสึส่วนใหญ่รู้สึกกังวลกับภาวะขาดแคลนไฟฟ้า Banpu Japan K.K. (BJP) บริษัทในเครือ BPP จึงติดตั้งระบบจ่ายไฟฉุกเฉินในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์นาริไอสึ ซึ่งมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยให้คนในท้องถิ่นมีแหล่งไฟฟ้าสำรองใช้เมื่อเกิดภัยพิบัติ รวมถึงส่งมอบเครื่องผลิตไฟฟ้าแบบเคลื่อนที่ได้ให้ชาวเมืองมุกะวะบนเกาะฮอกไกโดที่ประสบเหตุแผ่นดินไหว ที่ส่งผลให้เกิดไฟฟ้าดับทั่วทั้งเกาะ เพื่อให้ชาวเมืองมุกะวะมีแหล่งพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนใช้ทั้งในช่วงเวลาปกติ หรือเมื่อเกิดภัยพิบัติ นับเป็นการนำธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมาปรับใช้ให้เข้ากับพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติ ผ่านความร่วมมือเพื่อการพัฒนาชุมชนระหว่างบริษัทฯ ผู้นำในท้องถิ่น และประชาชน            โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติในสหรัฐฯ ส่งมอบพลังงานไฟฟ้าต่อเนื่องทั้งยามปกติและในวิกฤติสภาพอากาศ            โรงไฟฟ้า Temple I และโรงไฟฟ้า Temple II ในรัฐเท็กซัส เป็นโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติที่ใช้เทคโนโลยี Combined Cycle Gas Turbines (CCGT) ที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น (High Efficiency, Low Emissions: HELE) และมีเสถียรภาพในการส่งมอบพลังงานไฟฟ้า โรงไฟฟ้าคู่แฝดนี้ถูกออกแบบและติดตั้งด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เหมาะกับสถานที่ตั้งที่อยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศผันผวนทั้งร้อนจัดและหนาวจัด ตัวอย่างในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่เกิดพายุหิมะถล่มรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา เป็นช่วงที่อากาศหนาวเย็นที่สุดในรอบ 30 ปี ที่อุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส เป็นเวลาหลายวันติดต่อกัน ทำให้เกิดเหตุการณ์ไฟดับ (Blackout) ส่งผลให้ประชาชนไม่มีไฟฟ้าใช้สำหรับสร้างความอบอุ่นในช่วงที่อากาศหนาวจัด จากเหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากการขาดความพร้อมและความมั่นคงในการส่งมอบพลังงานในพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้น BPP จึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการที่ดีของโรงไฟฟ้าคู่แฝดนี้ เพื่อทำให้การเดินเครื่องโรงไฟฟ้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีมาตรการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ เพื่อทำให้โรงไฟฟ้าสามารถผ่านร้อนผ่านหนาวไปได้ ทั้งการติดตั้งระบบหล่อเย็นเสริมเพื่อช่วยลดอุณหภูมิของหม้อแปลงในช่วงฤดูร้อนที่มีอุณหภูมิสูงจัด ที่ส่งผลให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้นในช่วงเวลาที่เร่งผลิตไฟฟ้า หรือการติดตั้งโครงสร้างระบบรางเลื่อนอัตโนมัติแบบถาวรสำหรับสถานีสูบน้ำในฤดูหนาวที่อาจประสบปัญหาสถานีสูบน้ำไม่สามารถทำงานได้ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็งหรือเมื่อน้ำกลายเป็นน้ำแข็ง เป็นการป้องกันอากาศที่เย็นจัดเพื่อทำให้การผลิตน้ำบริสุทธิ์สำหรับการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าทำงานได้อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงตัวอย่างเหตุการณ์เมื่อครั้งที่เกิดพายุหมุนที่มีความรุนแรงขนาดที่เรียกว่าเป็นพายุทอร์นาโดในเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ทำให้หอควบคุมความเย็น (Cooling tower) บางส่วนของโรงไฟฟ้าและโครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าในพื้นที่เกิดความเสียหาย แต่ด้วยประสิทธิภาพในการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าด้วยทีมงานที่มีความพร้อมและประสบการณ์สูง และการเตรียมความพร้อมด้วยแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน บริษัทฯ จึงสามารถส่งมอบไฟฟ้าได้อย่างมีเสถียรภาพผ่านระบบสายส่งที่ยังสามารถใช้การได้ไปพร้อม ๆ กับการเร่งซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย ทำให้โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติในสหรัฐอเมริกาทั้งสองแห่งของ BPP กลับเข้าสู่สภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในการจ่ายไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนทั้งในช่วงปกติและวิกฤติสภาพอากาศได้อย่างต่อเนื่อง            เดินหน้าสร้างความมั่นคงและต่อเนื่องทางพลังงานไฟฟ้าในไทย            BPP ยังคงเดินหน้ารักษาประสิทธิภาพของระบบผลิตไฟฟ้าและค่าความพร้อมจ่ายไฟ (Equivalent Availability Factor: EAF) ในระดับสูงของโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี (BLCP) ในประเทศไทย และโรงไฟฟ้าเอชพีซี (HPC) ใน สปป. ลาว พร้อม ๆ ไปกับการมีส่วนเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน เพื่อส่งมอบกระแสไฟฟ้าไปยังชุมชนและสังคมได้อย่างมั่นคงและต่อเนื่อง ทำให้คนไทยสามารถดำเนินกิจกรรมทางสังคมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้อย่างไม่สะดุด ทุกช่วงเวลา            “ภายใต้แผนการเติบโตทางธุรกิจตามแนวทาง Beyond Megawatts Portfolio เราจะขยายพอร์ตธุรกิจให้เป็นมากกว่าการผลิตไฟฟ้า เราเดินหน้าลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในอุตสาหกรรมพลังงาน เช่น โครงการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (BESS) ที่มีศักยภาพกักเก็บสะสมพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินจากปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ และนำไฟฟ้าที่สะสมได้นั้นมาจ่ายในช่วงเวลาที่ต้องการหรือขาดแคลน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ช่วยเสริมความมั่นคงในการเปลี่ยนผ่านพลังงานไปสู่ระบบนิเวศการใช้พลังงานที่ยั่งยืน”            “BPP มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่ไปกับการเป็นองค์กรพลเมืองที่ดี (Good Corporate Citizen) ในทุกประเทศที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนและชุมชน และร่วมส่งมอบพลังงานไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพและมั่นคง ตลอดจนการศึกษาและพัฒนาพลังงานรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นและรูปแบบการใช้พลังงานในอนาคต” นายอิศรา กล่าวเสริม

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456