#BGRIM


BGRIM ครองตำแหน่งเรตติ้งสูงสุด SET ESG Rating ระดับ AAA

BGRIM ครองตำแหน่งเรตติ้งสูงสุด SET ESG Rating ระดับ AAA

          หุ้นวิชั่น - บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM ยังคงเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในตลาดทุนไทยอย่างต่อเนื่อง ด้วยการติดอันดับสูงสุด AAA ในการประเมิน "SET ESG Ratings" ประจำปี 2567 และอยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืนต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี (Doing Business with Compassion) โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่ บี.กริม ยึดถือมาตลอด 146 ปี ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า  “ความสำเร็จในครั้งนี้ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงวิสัยทัศน์ของบริษัทที่มุ่งสร้างพลังให้กับสังคมโลกด้วยความโอบอ้อมอารี (Empowering the World Compassionately) เพื่อสร้างคุณค่าให้กับสังคม พร้อมเติบโตเคียงคู่ไปกับประเทศไทยและภูมิภาค ผ่านการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ภายใต้หลักบรรษัทภิบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนการเรียนรู้แก่เยาวชนในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM) ผ่านโครงการ B.Grimm School Camp โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย และโครงการอาชีวศึกษาทวิภาคี ซึ่งได้สร้างโอกาสให้เยาชนรวมกว่า 178,794 คน ในการเข้าถึงองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้โครงการ Save the Tigers ยังเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ บี.กริม เพาเวอร์ในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและฟื้นฟูระบบนิเวศ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ” ในปีนี้ บี.กริม เพาเวอร์ เป็นหนึ่งใน 56 บริษัทที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุด AAA จากทั้งหมด 228 บริษัทจดทะเบียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน SET ESG Ratings โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผลประเมินนี้เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ลงทุนใช้ควบคู่กับข้อมูลอื่น ๆ ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งในขณะเดียวกันปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ยังคงมีบทบาทเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในการส่งเสริมศักยภาพในการเติบโตขององค์กร ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของการลงทุนอย่างยั่งยืน (Sustainable Investment) ที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตลอดปีที่ผ่านมา บี.กริม เพาเวอร์ ได้รับการยอมรับในระดับประเทศและระดับสากลผ่านการจัดอันดับและรางวัลด้านความยั่งยืนจากองค์กรและหน่วยงานชั้นนำด้านความยั่งยืนทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ อาทิการจัดอันดับใน S&P Global Sustainability Yearbook 2023 ด้วยคะแนน Top 10% ของกลุ่มบริษัทผู้นำระดับโลก การได้รับอันดับความน่าเชื่อถือระดับ BBB จาก MSCI ESG Rating            นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืน “FTSE4Good Index Series” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 และได้รับรางวัล Sustainability Disclosure Awards จากสถาบันไทยพัฒน์ ติดต่อกันเป็นปีที่ ตลอดจนได้รับการประเมินโครงการ CGR ในระดับดีเลิศ โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ติดต่อกันเป็นปีที่ 5  ด้วยปรัชญาและความมุ่งมั่นการดำเนินธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี บี.กริม เพาเวอร์ พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon Emissions) ภายในปี พ.ศ. 2593 เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับโลกและคนรุ่นหลังต่อไป

BGRIM ลุยดาต้าเซนเตอร์ ปี68 ลงทุน1.36 แสนล้านบ.

BGRIM ลุยดาต้าเซนเตอร์ ปี68 ลงทุน1.36 แสนล้านบ.

           หุ้นวิชั่น - BGRIM เปิดทิศทางธุรกิจและแผนกลยุทธ์สำคัญในปี 2568 ประกาศลงทุนรวม 136,000 ล้านบาท ตั้งเป้าเพิ่มกำลังผลิตพลังงานหมุนเวียนรวม 10 กิกะวัตต์ภายในปี 2573 ตอกย้ำสู่ผู้นำพลังงานสะอาด เดินหน้าขยายธุกิจระดับโลก ผ่านการร่วมทุน ซื้อกิจการ และพันธมิตรทางธุรกิจพร้อมจัดสรรแหล่งทุนของบริษัทรวม 70,000 ล้านบาท รองรับการเติบโตในระยะยาวและยั่งยืน เปิดตัวธุรกิจใหม่ Data Center อยู่ระหว่างกระบวนการเจรจาทำสัญญา ซื้อขายไฟฟ้ากับศูนย์ข้อมูลขนาดรวม 310 เมกะวัตต์ บี.กริม เพาเวอร์ หนึ่งในผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเอกชนชั้นนำของประเทศไทย ด้วยวิสัยทัศน์            "สร้างพลังให้กับสังคมโลกด้วยความโอบอ้อมอารี" พร้อมเติบโตสู่อนาคตพลังงานสะอาด และการขยาย ธุรกิจระดับโลก ซึ่งล่าสุดได้มีการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับเป้าหมายดังกล่าว แบ่งเป็น 3 กลุ่มงานได้แก่กลุ่มธุรกิจพัฒนาพลังงานหมุนเวียน, กลุ่มธุรกิจในประเทศไทยและโซลูชันธุรกิจอุตสาหกรรม และกลุ่มงานการเงินและบัญชี ภายใต้การนำทัพของ ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บี.กริมเพาเวอร์ และ 3 ผู้บริหารระดับสูง นายพีรเดช พัฒนจันทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน, นายนพเดช กรรณสูต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจในประเทศไทยและโซลูชั่นธุรกิจ อุตสาหกรรม และนางสาวศิริวงศ์ บวรบุญฤทัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร งานการเงินและบัญชี            ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ กล่าวว่า ในปี 2567 บี.กริม เพาเวอร์ ประสบความสำเร็จในการขยายกำลังผลิตโครงการโรงไฟฟ้าหลากหลายโครงการโดยเฉพาะโครงการพลังงานหมุนเวียน ซึ่งยังเป็นทิศทางหลักที่บริษัทจะมุ่งไปตลอดปี 2568 เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ "สร้างพลังให้กับสังคมโลกด้วยความโอบอ้อมอารี" พร้อมเดินหน้าพัฒนาความร่วมมือทางธุรกิจกับพันธมิตรที่แข็งแกร่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่มาของ "ค่านิยมองค์กร" บี.กริม เพาเวอร์ ใน 4 เรื่องหลัก คือ ความเป็นมืออาชีพ การมีทัศนคติที่ดี ความร่วมมือกัน และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สำหรับแผนกลยุทธ์สำคัญสำหรับปี 2568 ได้แก่            1. การเติบโตของพลังงานหมุนเวียน และการขยายธุรกิจในระดับโลก โดยตั้งเป้ามีกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนรวม 10 กิกะวัตต์ภายในปี 2573 ผ่านการลงทุนในพลังงานแสงอาทิตย์พลังงานลม และพลังน้ำ พร้อมดำเนินการตามแนวทาง Net Zero ภายในปี พ.ศ. 2593 ควบคู่กับการขยายธุรกิจในตลาดโลก อาทิ เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านการร่วมทุน การเข้าซื้อกิจการ และการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อเสริมความแข็งแกร่งและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน            2.การเป็นพันธมิตรด้านพลังงานสำหรับ Data Centers บี.กริม เพาเวอร์ มุ่งสู่การเป็นพันธมิตรหลักในการจัดหาพลังงานให้กับ Data Centers ในประเทศไทย โดยร่วมกับนิคมอุตสาหกรรมอมตะเพื่อจัดหาพลังงานหมุนเวียนและให้บริการโซลูชั่นพลังงานครบวงจรรองรับความต้องการของ Data Centers ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ชลบุรี นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างกระบวนการเจรจาทำสัญญา ซื้อขายไฟฟ้ากับศูนย์ข้อมูลขนาดรวม 310 เมกะวัตต์            3. การจัดสรรเงินทุน (Capital Allocation) อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เราให้ความสำคัญกับการจัดสรรเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการเติบโตในระยะยาวและยั่งยืน โดยวางแผนการลงทุนในโครงการต่างๆ ในช่วงปี 2567-2573 รวมทั้งสิ้น 136,000 ล้านบาท ซึ่งเน้นลงทุนในโครงการพลังงานหมุนเวียนถึง 85%            ในขณะที่แผนการลงทุนเฉพาะส่วนทุนของ บี.กริม เพาเวอร์จำนวน 70,000 ล้านบาท จะเป็นพลังงานหมุนเวียนถึง 94% ทั้งนี้แหล่งที่มาของเงินลงทุนของ บี.กริม เพาเวอร์ จะมาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน, การออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ และหุ้นกู้ทั่วไป, เงินกู้จากสถาบันการเงิน รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากพันธมิตรเชิงกล ยุทธ์ และการขายสินทรัพย์ที่มีศักยภาพ            ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าวว่า เรา ยังดำเนินกลยุทธ์การลงทุนด้วยการพิจารณาอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (EIRR) เป้าหมายอยู่ที่ 10-15% ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของเทคโนโลยีในแต่ละโครงการ ความ น่าเชื่อถือของประเทศและผู้รับซื้อไฟฟ้า (Oftaker) รวมถึงความผันผวนของกระแสเงินสดที่คาดการณ์ไว้            นอกจากนี้ บี.กริม เพาเวอร์ ยังมุ่งเน้นการบริหารหนี้สินและทุนอย่างเหมาะสม โดยตั้งเป้าอัตราหนี้สินต่อทุน ที่ 3.0 เท่าในช่วงเริ่มต้นของการจัดหาเงินทุนโครงการ พร้อมทั้งใช้ linited-recourse loan และ backend equity ทั้งนี้ เราให้ความสำคัญกับการกระจายความเสี่ยงและยกระดับการลงทุนในภูมิภาคเอเชียและตลาดโลก เพื่อสร้างการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว            สำหรับเป้าหมายในระยะยาว บี.กริม เพาเวอร์ พร้อมเดินหน้าเติบโตสองค์กรชั้นนำระดับโลก ก้าวสู่ความสำเร็จและขยายธุรกิจไปในหลายประเทศทั่วโลก ผลักดันให้ต่างประเทศเห็นถึงศักยภาพของคนไทยและช่วยนำพาธุรกิจ และพันธมิตรทุกคนสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน [PR News]

BGRIM คว้าสัญญาผลิตไฟฟ้าหมุนเวียน 51.12 MW

BGRIM คว้าสัญญาผลิตไฟฟ้าหมุนเวียน 51.12 MW

          หุ้นวิชั่น - บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (“บี.กริม เพาเวอร์”) ขอเรียนให้ทราบว่าบริษัทย่อยได้รับคัดเลือกเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้กับรัฐบาล ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน คิดเป็นกำลังการผลิตรวมตามสัญญาที่ 51.12 เมกะวัตต์ โดยมีรายละเอียดดังตารางด้านล่าง           นอกจากนี้ บี.กริม เพาเวอร์ ขอเรียนให้ทราบว่า บริษัท บี.กริม โซลาร์ เพาเวอร์ รูฟท็อป จำกัด (บริษัทย่อยที่บี.กริม เพาเวอร์ถือหุ้นทั้งหมด) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ลงนามในสัญญาจ้างงานตามโครงการจัดการพลังงานไฟฟ้าจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังผลิตติดตั้ง 10.26 เมกะวัตต์ เป็นระยะเวลา 25 ปี โดยมีรายละเอียดดังตารางด้านล่าง           ด้วยประสบการณ์ในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน บี.กริม เพาเวอร์ ยังคงมุ่งมั่นขับเคลื่อนการใช้พลังงานสะอาด เพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจพลังงานและการจัดหาพลังงานสะอาดให้กับประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ “GreenLeap – Global and Green” ของบี.กริม เพาเวอร์ เพื่อบรรลุเป้าหมายสู่องค์กรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ (Net Zero Carbon Emissions) ภายในปี 2593

GUNKUL-BGRIM ปลื้มได้ไฟเพิ่ม รัฐสั่งลุยไฟฟ้าทดแทน 2.1 พัน MW

GUNKUL-BGRIM ปลื้มได้ไฟเพิ่ม รัฐสั่งลุยไฟฟ้าทดแทน 2.1 พัน MW

          กกพ. ไฟเขียวผลิตไฟฟ้าเพิ่ม 2,145 MW ด้าน GUNKUL กวาด 7 โครงการ 319 MW ดันกำลังการผลิตเพิ่ม ปักหมุดรายได้ทะลุ 10,000 ล้านบาท ส่วน EGCO คว้าสิทธิ 11 โครงการ 448 MW ฟาก BGRIM รับ 60 MW เสริมฐานพลังงานหมุนเวียน ส่วน EA ได้เพิ่ม 90 MW หนุนแผนขยายธุรกิจ จ่อทยอย SCOD ปี 2569-2573 โบรกมอง GUNKUL เด่นสุด เนื่องจากกำลังผลิตที่ได้รับคัดเลือกในรอบดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนราว 22% ของกำลังผลิตทั้งหมดในปัจจุบัน           สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ประกาศรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมที่ได้รับการคัดเลือก ตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2567 ซึ่งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานได้ประชุมเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 พิจารณาเห็นชอบผลการคัดเลือกผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมจำนวน 72 ราย ปริมาณพลังไฟฟ้าที่เสนอขายรวม 2,145.4 เมกะวัตต์ โดยแบ่งเป็นพลังงานลม จำนวน 8 ราย รวม 565.40 เมกะวัตต์ กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ หรือ SCOD ตั้งแต่ปี 2571-2573 และพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน จำนวน 64 ราย รวม 1,580 เมกะวัตต์ กำหนด SCOD ตั้งแต่ 2569-2573           โดยมีการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ให้การไฟฟ้าคู่สัญญาแจ้งให้ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าทราบและยอมรับเงื่อนไขการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน 14 วันนับถัดจากวันที่สำนักงาน กกพ. ประกาศรายชื่อ และกลุ่มที่ 2 ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อสถานีไฟฟ้าเดียวกัน ตกลงรูปแบบการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายตามหลักการแบ่งปันสิ่งอำนวยความสะดวกร่วมกัน (Common Facilities Sharing) และยอมรับเงื่อนไขการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน 60 วัน นับถัดจากวันที่ประกาศผลการคัดเลือก           นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL) เปิดเผยว่า ทิศทางธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ในปี 2568 เชื่อว่ายังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปี 2567 เนื่องจากภาพรวมตลาดยังมีศักยภาพ ทั้งงานจากโครงการพลังงานทดแทนรอบใหม่ และงานของภาครัฐที่มีงบลงทุนด้านพื้นฐานเพิ่มเติมตามความต้องการใช้ไฟฟ้า โดยบริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้ปี 2568 ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากประมาณการรายได้ปี 2567 ที่คาดว่ารายได้รวมจะเติบโตตามเป้า 15% จากปีก่อน ซึ่งปัจจุบันถือว่าใกล้เคียงแล้ว หลัก ๆ การเติบโตยังคงมาจากการรับรู้รายได้จากธุรกิจพลังงานทดแทน ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและวางระบบทางด้านวิศวกรรม (EPC) และเทรดดิ้งอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า           ทั้งนี้ ปี 2568 บริษัทฯ ตั้งเป้างานในมือจากธุรกิจ EPC ไว้ที่ประมาณ 4,500 ล้านบาท ส่วนธุรกิจโรงไฟฟ้าวางเป้ากำลังการผลิตเติบโต 35% ใน 2 ปีข้างหน้า หรือเพิ่มประมาณ 100-150 เมกะวัตต์ต่อปี จากปัจจุบันมีกำลังการผลิตไฟฟ้าอยู่กว่า 1,500 เมกะวัตต์           โดยล่าสุดสำนักงาน กกพ. ได้ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคัดเลือกรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเฟส 2 กำลังการผลิตที่เสนอขายรวม 2,145 เมกะวัตต์ ซึ่งกลุ่มบริษัทย่อยที่ GUNKUL ถือหุ้นทางตรงผ่านบริษัท กันกุล วิน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และบริษัท กันกุล วัน เอ็นเนอร์ยี 9 จำกัด ได้รับการคัดเลือกรวมทั้งสิ้น 319 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นพลังงานลม 284 เมกะวัตต์ และโซลาร์กำลังการผลิต 35 เมกะวัตต์ โดยจะทยอย COD ตั้งแต่ปี 2570-2573 ส่งผลทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้ารวมเพิ่มเป็นประมาณ 1,800 เมกะวัตต์ ซึ่งเป้าหมายของบริษัทฯ คือการมีเมกะวัตต์สะสมเพิ่มเป็น 2,000 เมกะวัตต์ในปี 2569 นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้ดำเนินการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องอยู่หลายโครงการ ทั้งโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มและโรงไฟฟ้าพลังงานลม           ขณะที่โครงการพลังงานหมุนเวียนจำนวน 832 เมกะวัตต์ ทั้งโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มและโรงไฟฟ้าวินด์ฟาร์ม ที่ได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ไปก่อนหน้านี้ จะทยอยเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ตั้งแต่ปี 2569-2573 คาดว่าจะใช้เงินลงทุนในส่วนนี้ประมาณ 38,000 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ยังมีเงินลงทุนเพียงพอ และปัจจุบันอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนยังอยู่ในระดับต่ำ พร้อมรองรับการเติบโตในอนาคตได้อย่างต่อเนื่อง           “ตามที่ได้มีการประกาศรายชื่อผู้ที่ได้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นนั้น ทำให้บริษัทในกลุ่มของ GUNKUL ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการขายสินค้าในระบบอุปกรณ์ไฟฟ้าและรับเหมาก่อสร้างจะได้รับประโยชน์เพิ่มเติมไปด้วย โดยเฉพาะงานรับเหมาก่อสร้างที่จะได้รับโอกาสทำสายส่งไฟฟ้าและสถานีไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังมองว่าในอนาคตหากประเทศไทยมุ่งไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำและต้องการมีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น GUNKUL ก็ยังมีโอกาสในการที่จะเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้น รวมถึงภาคเอกชนที่ตอนนี้ก็หันมาใช้พลังงานจากโซลาร์เซลล์เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นโอกาสที่ธุรกิจโซลาร์ที่เป็น Private PPA ของ GUNKUL จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน” นางสาวโศภชา กล่าวในที่สุด           ส่วน บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM ผ่านการคัดเลือกกว่า 60 เมกะวัตต์ ขณะที่ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ผ่านการคัดเลือก 90 เมกะวัตต์           บล. หยวนต้า ระบุว่า โดยจากการตรวจสอบเบื้องต้น บริษัทในกลุ่มโรงไฟฟ้าที่ได้รับคัดเลือกมากที่สุดคือ EGCO (ได้รับคัดเลือก 11 โครงการ ขนาดรวม 448 MW และเป็นโครงการแสงอาทิตย์ทั้งหมด) ตามมาด้วย GUNKUL (ได้รับคัดเลือก 7 โครงการ ขนาดรวม 319 MW แบ่งออกเป็นโครงการลม 4 โครงการ ขนาดรวม 284 MW และโครงการแสงอาทิตย์ 3 โครงการ ขนาดรวม 35 MW) มองว่าหุ้นที่ได้ประโยชน์ชัดเจนที่สุดคือ GUNKUL ([email protected]) เนื่องจากกำลังผลิตที่ได้รับคัดเลือกในรอบดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนราว 22% ของกำลังผลิตทั้งหมดในปัจจุบัน (ทั้งที่ COD แล้วและอยู่ระหว่างการก่อสร้าง)

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

BGRIM เชื่อมั่น ปฏิรูปภาษี GMT ไม่ส่งผลต่อธุรกิจปี 2567 จับตากฎหมาย GMT ไทย เริ่มใช้ ปี 2568

BGRIM เชื่อมั่น ปฏิรูปภาษี GMT ไม่ส่งผลต่อธุรกิจปี 2567 จับตากฎหมาย GMT ไทย เริ่มใช้ ปี 2568

          หลังจากที่ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD) เสนอให้มีการปฏิรูประบบภาษีระหว่างประเทศด้วยการจัดเก็บอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำ (Global minimum tax) จากกลุ่มนิติบุคคลข้ามชาติขนาดใหญ่ในอัตรา 15% โดยมีประเทศสมาชิกจำนวนมากเข้าร่วมข้อตกลงดังกล่าวตั้งแต่ปี 2564 ล่าสุดในปี 2567 กฎหมายเกี่ยวกับ GMT เริ่มมีผลบังคับใช้ในหลายประเทศแล้ว รวมถึงประเทศที่ BGRIM เข้าไปลงทุน ได้แก่ เวียดนาม เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี และออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม จากการประเมินในเบื้องต้น การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดภาษีส่วนเพิ่มที่มีสาระสำคัญต่อ BGRIM ในปี 2567 แต่อย่างใด           สำหรับประเทศไทย ณ ปัจจุบัน คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ “ร่าง พ.ร.ก.ภาษีส่วนเพิ่ม” เพื่อรองรับการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำ 15% ตามแนวทาง GMT แล้ว คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2568 ซึ่งจะทำให้บริษัทข้ามชาติที่เข้าหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.ก. ต้องเสียภาษีส่วนเพิ่มหากอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริงในแต่ละประเทศที่เข้าไปลงทุนอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่า 15% โดยจากข้อมูลเบื้องต้นมีการเปิดเผยว่า จะมีมาตรการบรรเทาผลกระทบที่อาจมีต่อผู้ประกอบการที่ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การสนันสนุนจากกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็นต้น ซึ่ง BGRIM ได้ติดตามความคืบหน้าของการออกกฎหมายและมาตรการบรรเทาดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินผลกระทบที่อาจมีต่อ BGRIM ในปี 2568 ต่อไป           ทั้งนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก หรือ Global Minimum Tax (GMT) คือภาษีที่จัดเก็บกับบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ที่มีรายได้รวมต่อปีเกิน 750 ล้านยูโร มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการแข่งขันทางภาษีระหว่างประเทศ (Tax Competition) ดึงดูดการลงทุน และป้องกันการเลี่ยงภาษีของบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ซึ่งนับเป็นการปฏิรูประบบภาษีครั้งสำคัญของโลก

BGRIM ตั้ง 'อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่น' ลุยธุรกิจโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ

BGRIM ตั้ง 'อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่น' ลุยธุรกิจโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ

          ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (“บี.กริม เพาเวอร์”) ขอเรียนให้ทราบว่า บริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ บี.กริม เพาเวอร์ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 51.2 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ได้จัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่โดยถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 ดังรายละเอียดต่อไปนี้: ชื่อบริษัท: บริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่น (หนองละลอก) จำกัด ทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว: 5,000,000 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 50,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท วัตถุประสงค์: เพื่อประกอบธุรกิจในด้านการพัฒนาระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าและการบริหารจัดการโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ แหล่งที่มาของเงินลงทุน: เงินทุนหมุนเวียนของบริษัท           อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด รายการดังกล่าวไม่เข้าข่ายเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน และขนาดของรายการไม่เข้าข่ายเป็นรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์ที่ต้องจัดทำรายงานและเปิดเผยสารสนเทศ ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 20/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทำรายการที่มีนัยสำคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน และประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ พ.ศ. 2547 แต่เป็นกรณีที่บริษัทย่อยของบริษัทจดทะเบียนได้มาซึ่งเงินลงทุนในบริษัทอื่น ซึ่งเป็นผลให้บริษัทนั้นมีสภาพในการเป็นบริษัทย่อยของบริษัทจดทะเบียน

BGRIM ปรับทัพผู้บริหาร รับปี 68

BGRIM ปรับทัพผู้บริหาร รับปี 68

          ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM ครั้งที่ 12/2567 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 มีมติแต่งตั้งกรรมการใหม่และผู้บริหารระดับสูง และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร โดยแต่งตั้ง ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล เป็น กรรมการใหม่ (กรรมการอิสระ) แทน นางเกตุวลี นภาศัพท์ ซึ่งลาออก โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2567 พร้อมมีมติแต่งตั้ง ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ได้แก่ ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ เป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม นายพีรเดช พัฒนจันทร์ เป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน นายนพเดช กรรณสูต เป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจในประเทศไทยและโซลูชันธุรกิจอุตสาหกรรม นางสาวศิริวงศ์ บวรบุญฤทัย เป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร งานการเงินและบัญชี ซึ่งปัจจุบันยังคงดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน (Chief Financial Officer)           ทั้งนี้ การแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงดังกล่าวเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ กลุ่มธุรกิจพัฒนาพลังงานหมุนเวียน กลุ่มธุรกิจในประเทศไทยและโซลูชันธุรกิจอุตสาหกรรม กลุ่มงานการเงินและบัญชี           โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป           สำหรับการโยกย้ายแต่งตั้งครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ของบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ที่มุ่งมั่นสร้างพลังให้กับสังคมโลกด้วยความโอบอ้อมอารี (Empowering the World Compassionately)           ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าวว่า เป้าหมายระยะยาวของ บี.กริม เพาเวอร์ คือการเพิ่มกำลังการผลิตให้ถึง 10,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2573 และเดินหน้าสู่เป้าหมายสำคัญ คือ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero Carbon Emissions) ภายในปี 2593           ทั้งนี้ บี.กริม เพาเวอร์ จะดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ GreenLeap ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างจุดแข็ง 5 ด้านสำคัญ ได้แก่ ความสามารถในการสร้างโอกาสทางธุรกิจ การเป็นพันธมิตรที่ดีและได้รับความไว้วางใจ ความสามารถในการพัฒนาและบริหารโครงการ การจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อรองรับการเติบโตด้วยต้นทุนที่เหมาะสม ความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุนในธุรกิจใหม่ ๆ และการพัฒนาต่อยอดธุรกิจพลังงานให้ทันสมัยและครบวงจร

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

บี.กริม เพาเวอร์ ร่วมสนับสนุน งานเลี้ยงรับรอง สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล

บี.กริม เพาเวอร์ ร่วมสนับสนุน งานเลี้ยงรับรอง สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล

          หุ้นวิชั่น - บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ร่วมสนับสนุนการจัดงานเลี้ยงรับรองเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพพระพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2567 จัดโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล โดยมี นายพีรเดช พัฒนจันทร์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานธุรกิจภูมิภาคเอเชียเหนือ ฟิลิปปินส์และกัมพูชา ผู้แทนจาก บริษัท       บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมงาน เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2567 ณ Crystal Ballroom โรงแรม Lotte กรุงโซล ตลอดทั้งงานยังมีการบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์และเพลงเกาหลีจากวง Royal Bangkok Symphony Orchestraโดยการสนับสนุนจากบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ ร่วมขับร้องโดย ผศ.ดร.กิตตินันท์ ชินสำราญ และนักร้องประสานเสียงจากวง The National Chorus of Korea โดยได้รับเกียรติจาก นายธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล เป็นประธานฝ่ายไทย และนาย Keeyong Chung เอกอัครราชทูตและรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผู้แทนพิเศษสำหรับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เป็นแขกเกียรติยศ พร้อมแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง ประมาณ 500 คน ประกอบด้วย คณะทูตานุทูต, บุคคลสำคัญภาคการเมืองและผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐของเกาหลีใต้, ผู้บริหารภาคเอกชนไทยและเกาหลีใต้, สื่อมวลชนและกลุ่มผู้มีอิทธิพลทางความคิดไทยและเกาหลีใต้,  ข้าราชการและเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ และหน่วยงานทีมประเทศไทย พร้อมทั้งคู่สมรส และผู้แทนชุมชนชาวไทยที่พำนักอยู่ในเกาหลีใต้ สำหรับกิจกรรมไฮไลท์ในงานฯ มีการจัดแสดงนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และราชวงศ์ไทย โดย บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ การออกร้านอาหารของผู้ประกอบการไทยในเกาหลีใต้ การจัดคูหาแสดงผลิตภัณฑ์ และศักยภาพจากภาคเอกชน นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงประติมากรรมน้ำแข็งแกะสลักรูปช้างและหมูเด้ง จัดแสดงในงานเพื่อเชิญชวนคนเกาหลีใต้และคนต่างชาติไปเยือนไทย รวมถึงประติมากรรมอินทรชิตแปลง ร.ศ.115 จาก 333 Art Gallery สถานที่จัดแสดงงานศิลปะของไทยแห่งแรกในกรุงโซล เพื่อเผยแพร่งานศิลปะของไทย งานดังกล่าวสะท้อนถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐเกาหลี พร้อมทั้งเผยแพร่วัฒนธรรมไทยไปสู่สายตานานาชาติ

BGRIM ประสบความสำเร็จ ปิดการขายหุ้นกู้ 8 พันล้าน

BGRIM ประสบความสำเร็จ ปิดการขายหุ้นกู้ 8 พันล้าน

          หุ้นวิชั่น – บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM ผู้ผลิตไฟฟ้าอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศไทย ซึ่งดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม 23 โครงการ และโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งในประเทศและต่างประเทศอีก 41 โครงการ ประสบความสำเร็จจากการออกและเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ โดยผู้ลงทุนให้ความสนใจตอบรับจองซื้อหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ มูลค่ารวม 8,000 ล้านบาท ที่เสนอขายในระหว่างวันที่ 14-15 และ 18-19 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา ขณะที่ บี.กริม เพาเวอร์  เผยพร้อมเดินหน้าขยายธุรกิจตามแผน เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)  ขอขอบคุณผู้ลงทุนที่ให้การตอบรับลงทุนในหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ ของ บี.กริม เพาเวอร์  รวมถึงสถาบันการเงินผู้จัดการการจัดจำหน่ายทั้ง 9 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) และบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ที่อำนวยความสะดวกทั้งการให้ข้อมูลและเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่าย จนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี   สำหรับการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปใช้เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับการชำระคืนหนี้หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ ครั้งที่ 1/2562 ที่จะถึงกำหนดวันชำระคืนก่อนครบกำหนดครั้งแรก ในเดือนพฤศจิกายน 2567 จำนวน 8,000 ล้านบาท โดย บี.กริม เพาเวอร์ กำหนดอัตราดอกเบี้ยในช่วง 5 ปีแรกไว้ที่ 5.75% ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุกๆ 6 เดือน ตลอดอายุหุ้นกู้ โดยผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิเลื่อนการชำระดอกเบี้ยพร้อมกับสะสมดอกเบี้ยจ่ายไปชำระในวันใดก็ได้ให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ โดยไม่จำกัดระยะเวลาและจำนวนครั้ง ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ออกหุ้นกู้แต่เพียงผู้เดียว ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยจะปรับทุกๆ 5 ปี โดยอ้างอิงจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี ณ ขณะนั้น แล้วบวกส่วนเพิ่มคงที่ (Initial Credit Spread) 3.49% ต่อปี และส่วนเพิ่มตามช่วงเวลา (Step-up coupon) ตั้งแต่ 0.25% - 2.00% ต่อปี โดย บี.กริม เพาเวอร์ ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัท ที่ระดับ “A” แนวโน้ม “คงที่” ขณะที่อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ ที่เสนอขายในครั้งนี้อยู่ที่ระดับ “BBB+” โดยบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 นอกจากนี้ ในปี 2567 บี.กริม เพาเวอร์ ได้ประกาศยุทธศาสตร์ GreenLeap – Global and Green มุ่งสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวสู่การเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลก และผู้นำด้านการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนและปลอดภัย โดยมีเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจาก 4,071 เมกะวัตต์ ณ เดือน พฤศจิกายน 2567 เป็น 10,000 เมกะวัตต์ ในปี 2573 ผ่านการลงทุนโรงไฟฟ้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเน้นด้านพลังงานหมุนเวียน ทั้งนี้ บี.กริม เพาเวอร์ อยู่ระหว่างการแสวงหาการลงทุนโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่มเติมในหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น เวียดนาม มาเลเซีย เกาหลี ญี่ปุ่น จีน ตะวันออกกลางอย่างซาอุดีอาระเบีย และประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอเมริกา รวมทั้งยุโรป เพื่อกระจายความเสี่ยงจากต้นทุนพลังงาน  ผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ ของ บี.กริม เพาเวอร์กล่าวเสริมว่า ปัจจัยที่สนับสนุนการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ มาจากความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน ทั้งในด้านยุทธศาสตร์และการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งการระดมทุนครั้งนี้จะทำให้โครงสร้างทางการเงินของบี.กริม เพาเวอร์ ยังคงความแข็งแกร่ง สอดรับกับแผนการขยายการลงทุนของบริษัท ในอนาคต

บี.กริม เพาเวอร์  ได้รับการประเมินการกำกับดูแลกิจการ ปี 2567  ในระดับ “ดีเลิศ” 5 ปีซ้อน

บี.กริม เพาเวอร์ ได้รับการประเมินการกำกับดูแลกิจการ ปี 2567 ในระดับ “ดีเลิศ” 5 ปีซ้อน

          หุ้นวิชั่น - บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM ได้รับการประเมินจากโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน (CGR) ประจำปี 2567 ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ภายใต้การสนับสนุนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในระดับ “ดีเลิศ” (5 ดาว) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ตอกย้ำความสำเร็จภายใต้วิสัยทัศน์แห่งความมุ่งมั่น "สร้างพลังให้กับสังคมโลกด้วยความโอบอ้อมอารี" (Empowering the World Compassionately) ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมีธรรมาภิบาล ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า บี.กริม มุ่งมั่นประกอบธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยคำนึงถึงสังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน โดย มุ่งมั่นที่จะยกระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ในเดือนกันยายน บี.กริม เพาเวอร์ ยังได้รับรางวัลในระดับสากล Outstanding CFO และ Outstanding IR ในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภค จากเวที IAA Awards for Listed Companies 2024 ที่จัดโดยสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน ในฐานะผู้ให้ข้อมูลที่ชัดเจนและตรงประเด็น และเดือนตุลาคม ได้รับรางวัล Outstanding Investor Relations ในงาน SET Awards ประจำปี 2567 ซึ่งจัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและวารสารการเงินธนาคาร สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการสร้างความเชื่อมั่นและความโปร่งใสในการสื่อสารกับนักวิเคราะห์ และนักลงทุนสถาบันอย่างมีประสิทธิภาพ

abs

Hoonvision

BGRIM กำไรหลักไตรมาส 3/67 แกร่ง ปี68 ลงทุน 1-1.5 หมื่นล.

BGRIM กำไรหลักไตรมาส 3/67 แกร่ง ปี68 ลงทุน 1-1.5 หมื่นล.

             BGRIM กำไรสุทธิจากการดำเนินงานไตรมาส 3/67 เติบโตแข็งแกร่ง ไตรมาส4/67 จะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบอีก 2 โครงการ ปี 2568 เตรียมลงทุน 10,000-15,000 ล้านบาท ขยายโครงการพลังงานหมุนเวียนทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มลูกค้า IUs เชื่อมระบบ 40-50 เมกะวัตต์ พร้อมก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และลมนอกชายฝั่ง ควบคู่กับแผนนำเข้า LNG สู่ระบบ Pool Gas คงเป้ามี 10,000 MW ตอกย้ำเป้าหมายระยะยาวผลิตพลังงานสะอาดและบรรลุ Net-Zero Carbon Emissions ในปี 2593              ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยว่า ผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2567 เติบโตแข็งแกร่ง มี EBITDA อยู่ที่ 4,183 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.4% ด้วยปริมาณขายไฟฟ้าเติบโต 7.5% มาอยู่ที่ 3,908 กิกะวัตต์-ชั่วโมง เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักจาก 1. ปริมาณไฟฟ้าขายให้แก่ กฟผ. เพิ่มขึ้น 12.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โครงการโรงไฟฟ้าอุตสาหกรรม (SPP) 2 โครงการ ในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2566 รวมกำลังการผลิตติดตั้ง 280 เมกะวัตต์ และ 2. ปริมาณไฟฟ้าขายให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรม (IUs) ในประเทศเวียดนาม รวมทั้ง ปริมาณขายไอน้ำในประเทศไทยที่เติบโตขึ้น 41.4% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน จากการขยายกำลังการผลิตของลูกค้าเดิม และความต้องการที่เพิ่มขึ้น              สำหรับกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (NNP) – ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ อยู่ที่ 808 ล้านบาท เติบโต 32.5% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปัจจัยหลักที่กล่าวไปข้างต้น รายได้จากการให้บริการที่สูงขึ้น และส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้าที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ กำไรสุทธิ – ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ ซึ่งเป็นกำไรที่รวมผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน (FX) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง และเป็นรายการที่ไม่ใช่เงินสด จะอยู่ที่ 163 ล้านบาท ความสำเร็จตลอดช่วง 9 เดือนของปี 2567 บี.กริม เพาเวอร์ มีการเชื่อมเข้าระบบของลูกค้า IUs รายใหม่ในประเทศไทยจำนวน 11.2 เมกะวัตต์ และจะมีการเชื่อมเข้าระบบของลูกค้า IUs รายใหม่เพิ่มในไตรมาสที่ 4 ด้วยโครงการที่มีในปัจจุบันนับเป็นรากฐานที่ดีที่จะช่วยให้ บี.กริม เพาเวอร์ เติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต              ในไตรมาส 3 นี้ บี.กริม เพาเวอร์ ประสบความสำเร็จในการนำเข้า LNG ลำแรก จำนวน 65,000 ตัน และลำที่สองในเดือนตุลาคม 2567 เพื่อนำเข้าสู่ระบบ Pool Gas โดยในช่วงเริ่มต้น ก๊าซที่นำเข้าจะส่งผ่านไปยังระบบ Pool Gas เพื่อเป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมของบริษัททั้งสิ้น 10 โครงการ นอกจากนี้ยังประสบความสำเร็จจากการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Lohas ECE Spain Gifu Co., Ltd. ในประเทศญี่ปุ่น กำลังการผลิตติดตั้ง 20 เมกะวัตต์ และมีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ระยะเวลา 25 ปี ของบริษัทย่อยและการร่วมค้าจำนวน 8 บริษัท เพื่อพัฒนาและดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาดโครงการรวม 323.3 เมกะวัตต์ มีกำหนดเปิด COD ตั้งแต่ปี 2569 ถึง 2573              ขณะที่ไตรมาส 4 ปี 2567 เตรียมเปิด COD โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ อู่ตะเภา เฟสหนึ่ง และ 2) โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมแบบติดตั้งบนบก KOPOS ในสาธารณรัฐเกาหลี แนวโน้มปี 2568              เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้ามิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้เศรษฐกิจฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง (อ้างอิง: ธนาคารแห่งประเทศไทย, 16 ตุลาคม 2567)              คาดการณ์ราคาก๊าซธรรมชาติต่อหน่วยสำหรับ SPP อยู่ที่ 310-340 บาทต่อล้าน BTU ในปี 2568 ต่ำกว่าปี 2567 เล็กน้อยที่อยู่ในช่วง 320-350 บาทต่อล้าน BTU วางแผนนำเข้า LNG ไม่เกิน 5 ล้านตัน เพื่อนำเข้าสู่ระบบ Pool Gasตั้งเป้าเพิ่มลูกค้า IUs รายใหม่ เชื่อมเข้าสู่ระบบรวม 40-50 เมกะวัตต์ โครงการต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างมีดังนี้: 1. อินทรี บี.กริม: โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 80 เมกะวัตต์ 2. จงเช่อ รับเบอร์: โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคานิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง 35 เมกะวัตต์ 3. 386: โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา 29.6 เมกะวัตต์ 4. Nakwol: โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่ง 365 เมกะวัตต์ สำหรับปี 2568 บริษัทตั้งงบลงทุน ประมาณ 10,000-15,000 ล้านบาท              ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าวว่า เป้าหมายระยะยาวของ บี.กริม เพาเวอร์ คือการเพิ่มกำลังผลิตสู่ 10,000 เมกะวัตต์ ในปี 2573 พร้อมตั้งเป้าหมายสู่การเป็นผู้ผลิตพลังงานชั้นนำระดับโลกและบรรลุเป้าหมายการก้าวสู่องค์กรที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero Carbon Emissions) ภายในปี 2593

BGRIM โชว์กำไร Q3 แกร่งจ่อจ่ายไฟอีก2โครงการ เดิมตามเป้าสู่ 10,000MW

BGRIM โชว์กำไร Q3 แกร่งจ่อจ่ายไฟอีก2โครงการ เดิมตามเป้าสู่ 10,000MW

บี.กริม เพาเวอร์ โชว์กำไรสุทธิจากการดำเนินงานไตรมาส 3/67 เติบโตแข็งแกร่ง ยอดขายไฟฟ้าเติบโต เดินหน้าลงทุนโรงไฟฟ้าหมุนเวียน ตอกย้ำผู้นำพลังงานสะอาด ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยว่า ผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2567 เติบโตแข็งแกร่ง มี EBITDA อยู่ที่ 4,183 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.4% ด้วยปริมาณขายไฟฟ้าเติบโต 7.5% มาอยู่ที่ 3,908 กิกะวัตต์-ชั่วโมง เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักจาก 1. ปริมาณไฟฟ้าขายให้แก่ กฟผ. เพิ่มขึ้น 12.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โครงการโรงไฟฟ้าอุตสาหกรรม (SPP) 2 โครงการ ในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2566 รวมกำลังการผลิตติดตั้ง 280 เมกะวัตต์ และ 2. ปริมาณไฟฟ้าขายให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรม (IUs) ในประเทศเวียดนาม รวมทั้งปริมาณขายไอน้ำในประเทศไทยที่เติบโตขึ้น 41.4% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน จากการขยายกำลังการผลิตของลูกค้าเดิม และความต้องการที่เพิ่มขึ้น สำหรับกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (NNP) – ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ อยู่ที่ 808 ล้านบาท เติบโต 32.5% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปัจจัยหลักที่กล่าวไปข้างต้น รายได้จากการให้บริการที่สูงขึ้น และส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้าที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ กำไรสุทธิ – ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ ซึ่งเป็นกำไรที่รวมผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน (FX) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง และเป็นรายการที่ไม่ใช่เงินสด จะอยู่ที่ 163 ล้านบาท ความสำเร็จตลอดช่วง 9 เดือนของปี 2567 บี.กริม เพาเวอร์ มีการเชื่อมเข้าระบบของลูกค้า IUs รายใหม่ในประเทศไทยจำนวน 11.2 เมกะวัตต์ และจะมีการเชื่อมเข้าระบบของลูกค้า IUs รายใหม่เพิ่มในไตรมาสที่ 4 ด้วยโครงการที่มีในปัจจุบันนับเป็นรากฐานที่ดีที่จะช่วยให้ บี.กริม เพาเวอร์ เติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต ในไตรมาส 3 นี้ บี.กริม เพาเวอร์ ประสบความสำเร็จในการนำเข้า LNG ลำแรก จำนวน 65,000 ตัน และลำที่สองในเดือนตุลาคม 2567 เพื่อนำเข้าสู่ระบบ Pool Gas โดยในช่วงเริ่มต้น ก๊าซที่นำเข้าจะส่งผ่านไปยังระบบ Pool Gas เพื่อเป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมของบริษัททั้งสิ้น 10 โครงการ นอกจากนี้ยังประสบความสำเร็จจากการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Lohas ECE Spain Gifu Co., Ltd. ในประเทศญี่ปุ่น กำลังการผลิตติดตั้ง 20 เมกะวัตต์ และมีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ระยะเวลา 25 ปี ของบริษัทย่อยและการร่วมค้าจำนวน 8 บริษัท เพื่อพัฒนาและดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาดโครงการรวม 323.3 เมกะวัตต์ มีกำหนดเปิด COD ตั้งแต่ปี 2569 ถึง 2573 ขณะที่ไตรมาส 4 ปี 2567 เตรียมเปิด COD โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ อู่ตะเภา เฟสหนึ่ง และ 2) โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมแบบติดตั้งบนบก KOPOS ในสาธารณรัฐเกาหลี ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าวว่า เป้าหมายระยะยาวของ บี.กริม เพาเวอร์ คือการเพิ่มกำลังผลิตสู่ 10,000 เมกะวัตต์ ในปี 2573 พร้อมตั้งเป้าหมายสู่การเป็นผู้ผลิตพลังงานชั้นนำระดับโลกและบรรลุเป้าหมายการก้าวสู่องค์กรที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero Carbon Emissions) ภายในปี 2593 [PR News]

BGRIM เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ 5 ปีแรกที่ 5.75% ต่อปี

BGRIM เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ 5 ปีแรกที่ 5.75% ต่อปี

          BGRIM เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ 5 ปีแรกที่ 5.75% ต่อปี ตอบโจทย์การลงทุนระยะยาว พร้อมคาดเปิดจองซื้อวันที่ 14-15 และ 18-19 พ.ย. นี้ ผ่าน 9 สถาบันการเงินชั้นนำ           บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM (“บริษัทฯ”) หนึ่งในบริษัทพลังงานเอกชนชั้นนำของประเทศไทย ที่โดดเด่นในด้านการผลิตไฟฟ้าอุตสาหกรรมและไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในประเทศและต่างประเทศ ประกาศอัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วง 5 ปีแรกของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ ครั้งที่ 1/2567 ที่ 5.75% ต่อปี โดยคาดว่าจะเสนอขายให้แก่ประชาชนเป็นการทั่วไปในระหว่างวันที่ 14-15 และ 18-19 พฤศจิกายน 2567 ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 9 แห่ง ได้แก่ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงไทย ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย บล.เกียรตินาคินภัทร บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง บล.หยวนต้า และ บล.เอเซีย พลัส สำหรับหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ ชุดดังกล่าว กำหนดชำระดอกเบี้ยทุกๆ 6 เดือน ตลอดอายุหุ้นกู้ โดยผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิเลื่อนการชำระดอกเบี้ยพร้อมกับสะสมดอกเบี้ยจ่ายไปชำระในวันใดก็ได้ให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ โดยไม่จำกัดระยะเวลาและจำนวนครั้ง ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ออกหุ้นกู้แต่เพียงผู้เดียว ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยจะปรับทุกๆ 5 ปี โดยอ้างอิงจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี แล้วบวกส่วนเพิ่มคงที่ (Initial Credit Spread) 3.49% และส่วนเพิ่มตามระยะเวลา (Step-up coupon) อีก 0.25% ต่อปี ไปจนถึง 2% ต่อปี ราคาเสนอขายหน่วยละ 1,000 บาท ผู้ลงทุนทั่วไปจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท ทั้งนี้ BGRIM ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทฯ ที่ระดับ “A” แนวโน้มอันดับเครดิต “คงที่” ขณะที่อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ ที่เสนอขายในครั้งนี้อยู่ที่ระดับ “BBB+” แนวโน้มอันดับเครดิต “คงที่” โดยบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567           ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปใช้สำหรับชำระคืนหนี้หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ ของบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1/2562 (BGRIM19PA) ซึ่งผู้ออกหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิในการไถ่ถอนก่อนกำหนดได้ เมื่อหุ้นกู้มีอายุครบ 5 ปี นับจากวันออกหุ้นกู้ ซึ่งจะตรงกับวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 เนื่องจากสิทธิในการนับหุ้นกู้ดังกล่าวเป็นส่วนของทุนได้ 50% ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามเกณฑ์ของทริสเรทติ้งได้สิ้นสุดลง โดยหุ้นกู้ดังกล่าวมีมูลค่าคงค้างทั้งสิ้น 8,000 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้มีการส่งจดหมายแจ้งการใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดไปยังผู้ถือหุ้นกู้รุ่น BGRIM19PA ลงวันที่ 30 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา BGRIM เคยออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ มาแล้ว 2 ครั้ง (ปี 2562 และ 2566) ซึ่งไม่เคยมีประวัติการเลื่อนจ่ายดอกเบี้ย และไม่เคยผิดนัดชำระหนี้กับเจ้าหนี้รายใดๆ สะท้อนให้เห็นความแข็งแกร่งของกิจการ รวมทั้งโครงสร้างทางการเงินที่มั่นคง           ผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ในครั้งนี้ เปิดเผยว่า หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ นี้ได้รับการตอบรับจากผู้ลงทุนเป็นอย่างดี ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่ระดับ “BBB+” แนวโน้มอันดับเครดิต “คงที่” และอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ที่ “A” แนวโน้มอันดับเครดิต “คงที่” จัดอันดับโดยบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ซึ่งสะท้อนสถานะทางการเงินและผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง รวมทั้งเส้นทางการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ ด้วยศักยภาพในการเติบโต และความมุ่งมั่นในการขยายธุรกิจด้านพลังงานอย่างยั่งยืนของ BGRIM จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้ผู้ลงทุนเลือกลงทุนในหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ ของ BGRIM อีกทั้งปัจจุบันผู้ลงทุนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นกู้ประเภทนี้มากขึ้น จึงนับเป็นโอกาสของผู้ลงทุนที่ต้องการรับผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอในระยะยาว สำหรับหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ ของ BGRIM คาดว่าจะเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไประหว่างวันที่ 14-15 และ 18-19 พฤศจิกายน 2567 ผ่าน 9 สถาบันการเงินชั้นนำ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ (ยกเว้นสาขาไมโคร) (โทร.1333 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น Bangkok Bank Mobile Banking) ธนาคารกรุงไทย (โทร. 02-111-1111) โดยบุคคลธรรมดาสามารถจองซื้อทางออนไลน์ผ่าน Money Connect by Krungthai บนแอปพลิเคชัน Krungthai Next ธนาคารกสิกรไทย (โทร 02-888-8888 กด 869) และรวมถึง บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ (โทร. 02-777-6784) หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่านแอป SCB EASY และรวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (โทร.02-626-7777) บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร และผ่านแอปฯ Dime! ซึ่งรวมถึงธนาคารเกียรตินาคินภัทร ในฐานะหน่วยงานขายของบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร (โทร. 02-165-5555) บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (โทร.02-680-4004) บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จำกัด (โทร. 02-695-5000) บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด (โทร. 02-009-8351-56)           ทั้งนี้ ปัจจุบัน บริษัทฯ อยู่ระหว่างการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งยังไม่มีผลบังคับใช้ สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่สนใจจองซื้อหุ้นกู้ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากร่างหนังสือชี้ชวน https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSDE01.aspx?TransID=641752

เลือกตั้งสหรัฐฯ เขย่าหุ้นพลังงาน ปรับพอร์ตอย่างไรให้รอด?

เลือกตั้งสหรัฐฯ เขย่าหุ้นพลังงาน ปรับพอร์ตอย่างไรให้รอด?

          หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล.กรุงศรี ระบุว่า ราคาหุ้นในกลุ่มโรงไฟฟ้าโดยเฉพาะ GPSC และ BGRIM มีการปรับตัวลดลง -5.4% และ -3.8% ตามลำดับ ขณะที่หุ้นอื่นในกลุ่มก็มีการปรับตัวลงเช่นกัน มองว่าความกังวลในตลาดเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ ราคา JKM LNG ในเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นจากผู้ค้ามีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางและเอเชีย เช่น ความตึงเครียดระหว่างจีน-ไต้หวัน และเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้, การเลือกตั้งในสหรัฐฯ ที่กำลังจะมาถึง อาจจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมLNG ในสหรัฐฯ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของไทยที่ปรับเพิ่มขึ้น คงมุมมอง ‘Neutral’ สำหรับกลุ่มโรงไฟฟ้า ความกังวลในตลาดเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ที่ตึงเครียดเพิ่มขึ้น การเลือกตั้งสหรัฐฯ และปัจจัยอื่น ๆ           บล.กรุงศรี มองว่าความกังวลในตลาดเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ ราคา JKM LNG ในเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นจากผู้ค้ามีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง จากแหล่งข่าว energy news and natural gas intelligence ตลาดกำลังเฝ้าจับตาเกี่ยวกับพัฒนาการของการโจมตีของอิสราเอลต่ออิหร่าน อิสราเอล ยังคงมุ่งเป้าไปที่ฐานที่มั่นของฮิซบอลลาห์ในเลบานอน ความขัดแย้งที่ทวีความ รุนแรงในตะวันออกกลางทำให้ตลาดก๊าซธรรมชาติไม่แน่นอน ขณะที่การซื้อก๊าซในฤดูหนาวในเอเชียเพิ่มขึ้น และความคาดหวังเกี่ยวกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นช่วยสนับสนุนราคาก๊าซธรรมชาติทั่วโลก นอกจากนี้ความตึงเครียดในเอเชีย ระหว่างจีน-ไต้หวัน และเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ยังเพิ่มความไม่แน่นอนอีกด้วย รวมถึงการเลือกตั้งในสหรัฐฯ ที่กำลังจะมาถึง อาจจะส่งผลกระทบต่อทิศทางอุตสาหกรรม LNG ในสหรัฐฯ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของไทยที่ปรับเพิ่มขึ้นและมีความผันผวน ทำให้เกิดความกังวลในตลาดเกี่ยวกับทิศทางของอัตราดอกเบี้ย คง Neutral rating และคงคำแนะนำ Trading Buy GPSC และ BGRIM           คงมุมมอง Neutral สำหรับกลุ่ม โดยคงคำแนะนำ ‘Trading Buy’ ต่อ BGRIM (TP Bt27), GPSC (TP Bt50), BCPG (TP Bt8.2), EGCO (TP Bt137) และ GULF (TP Bt56.75, pre-synergy) และคงคำแนะนำ ‘Buy’ ต่อ CKP (TP Bt5.2) และGUNKUL (TP Bt3.85)

บี.กริม ฟาร์มา จับมือ อินเตอร์ มโหสถ พันธมิตรในกัมพูชา

บี.กริม ฟาร์มา จับมือ อินเตอร์ มโหสถ พันธมิตรในกัมพูชา

          บี.กริม ฟาร์มา ผู้นำการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพครบวงจรของประเทศไทย ที่อยู่ภายใต้กลุ่มธุรกิจด้านสุขภาพ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 หมวดธุรกิจหลักของ บี.กริม ประกอบด้วยธุรกิจด้านพลังงาน ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และธุรกิจด้านอุตสาหกรรม บี.กริม ฟาร์มา และ บริษัท อินเตอร์ มโหสถ จำกัด ได้ลงนามในสัญญาแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศกัมพูชา เพื่อช่วยส่งเสริมการเข้าถึงยารักษาโรคที่มีคุณภาพ โดย อินเตอร์ มโหสถ จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาของ บี.กริม ฟาร์มา ครอบคลุมหลายกลุ่มโรค ได้แก่ 1. กลุ่มยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด 2. กลุ่มยารักษาโรคระบบประสาทและจิตเวช และ 3. กลุ่มยารักษาโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ รวมทั้งสิ้นกว่า 16 รายการ มีสรรพคุณในการช่วยรักษาโรค ที่ปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก อาทิ โรคซึมเศร้า โรคลมชัก โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน โรคหัวใจ รวมถึง โรคที่เกี่ยวกับอาการปวดระบบประสาท เป็นต้น           ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยจำนวนมากในประเทศกัมพูชา สามารถเข้าถึงยารักษาโรคที่มีคุณภาพในราคาที่เป็นธรรม โดยจะเริ่มจำหน่ายในโรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลเอกชน และ ร้านขายยาในกรุงพนมเปญ และ จังหวัดใกล้เคียง ตั้งแต่เดือน มกราคม 2568 เป็นต้นไป           คุณกิตติศักดิ์ ดำรงธนานุรักษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บี.กริม ฟาร์มา กล่าวว่า “จากสถานการณ์ในปัจจุบันที่มีปริมาณความต้องการยาเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยในประเทศกัมพูชาเพิ่มสูงขึ้น บี.กริม ฟาร์มา ในฐานะผู้นำการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพครบวงจร เรามีความพร้อมที่จะรองรับทุกความต้องการด้านยารักษาโรคและผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลสุขภาพ เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนในสังคม ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ อินเตอร์ มโหสถ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือด้วยประสบการณ์ และความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับธุรกิจยาในประเทศกัมพูชา การร่วมมือในครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนให้ บี.กริม ฟาร์มา ประสบความสำเร็จในการขยายธุรกิจไปในประเทศกัมพูชา อีกทั้ง ยังสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรที่ต้องการส่งเสริมการเข้าถึงยารักษาโรคที่มีคุณภาพ ในราคาที่เป็นธรรมให้แก่ผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก โดยไม่จำกัดแค่ภายในประเทศไทยเท่านั้น” นายบัวรัย โก้ย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเตอร์ มโหสถ จำกัด ให้ความเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือนี้ว่า “เรารู้สึกยินดีที่ได้ประกาศความร่วมมือกับ บี.กริม ฟาร์มา ในการร่วมกันส่งเสริมการเข้าถึงยารักษาโรคที่มีคุณภาพในประเทศกัมพูชา อินเตอร์ มโหสถ จะนำความเชี่ยวชาญในธุรกิจยาและเครือข่ายพันธมิตรในประเทศกัมพูชา ผสานเข้ากับประสบการณ์อันยาวนานและความเป็นเลิศในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของ บี.กริม ฟาร์มา มาเพิ่มโอกาสด้านการรักษาโรคให้แก่ผู้ป่วย เพื่อช่วยให้ประชาชนในกัมพูชามีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น” บี.กริม ฟาร์มา และ อินเตอร์ มโหสถ ตั้งเป้าที่จะส่งเสริมด้านยารักษาโรคที่มีคุณภาพให้แก่ผู้ป่วยในประเทศกัมพูชาอย่างทั่วถึง ด้วยศักยภาพอันแข็งแกร่งของทั้งสององค์กร เราจะร่วมกันให้บริการโซลูชันด้านสุขภาพที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงยาที่มีคุณภาพได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ           ความร่วมมือนี้ไม่เพียงสะท้อนถึงโอกาสทางธุรกิจ แต่ยังแสดงถึงความมุ่งมั่นร่วมกัน ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในกัมพูชาอย่างแท้จริง บี.กริม ฟาร์มา จะมุ่งมั่นในการพัฒนาด้านนวัตกรรมใหม่ๆ ควบคู่กับการกำกับดูแลคุณภาพการผลิตให้มีมาตรฐานสูงสุดในทุกขั้นตอน จนมั่นใจว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึงยารักษาโรคและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้อย่างทั่วถึง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมให้ดียิ่งขึ้นไป [PR News]

[ภาพข่าว] BGRIM ส่งต่อความห่วงใยแก่ผู้ประสบอุทกภัยเชียงใหม่

[ภาพข่าว] BGRIM ส่งต่อความห่วงใยแก่ผู้ประสบอุทกภัยเชียงใหม่

          เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567 พลตรี สมพงษ์ สุขประดิษฐ เจ้ากรมการสัตว์ทหารบก และผู้บังคับหน่วยม้าทรงประจำพระองค์ฯ ผู้แทนรับมอบอาหารสำเร็จรูปและสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ได้แก่ บี.กริม บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เพอร์เฟค คอมพาเนียน กรุ๊ป จำกัด เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุกทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงที่ผ่านมา           สำหรับอาหารสำเร็จรูปและสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นดังกล่าว จะได้รับการลำเลียงและขนส่ง ไปยังกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 3 กองพันสัตว์ต่าง (ค่ายตากสิน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบอุทกภัย ต่อไป ณ หน่วยม้าทรงประจำพระองค์ฯ สนามเป้า           การผนึกกำลังในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยครั้งนี้ ดำเนินอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2567 หน่วยม้าทรงประจำพระองค์ฯ และสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับกรมการสัตว์ทหารบก พร้อมด้วยพันธมิตร บี.กริม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท เพอร์เฟค คอมพาเนียน กรุ๊ป จำกัด ให้การสนับสนุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยและสัตว์ที่ได้รับผลกระทบ โดยมอบหญ้าฟ่อนแห้ง จำนวน 200 ฟ่อน หญ้าแพงโกล่าสด 10 ตัน และอาหารม้า Maxwin จำนวน 30 กระสอบ พร้อมสนับสนุนอาหาร ยาและเวชภัณฑ์ ตลอดจนสนับสนุนการเคลื่อนย้ายพื้นที่ให้กับผู้ประสบภัยและสัตว์ ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ในพื้นที่ อ.แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

BGRIM เจรจาลูกค้าดาต้าเซ็นเตอร์ 3-5ราย ทยอยขายไฟสิ้นปีคาดผลิต 4,100 MW

BGRIM เจรจาลูกค้าดาต้าเซ็นเตอร์ 3-5ราย ทยอยขายไฟสิ้นปีคาดผลิต 4,100 MW

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล. ASL คาดว่า BGRIM มีแนวโน้มในช่วงครึ่งปีหลัง 2567 (2H67F) ปรับตัวขึ้นจากแนวโน้มต้นทุนก๊าซที่ลดลง ขณะที่โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่น พลังงานลมในเกาหลี และอู่ตะเภาเฟสแรก ทยอยขายไฟฟ้าเข้าระบบ (COD) ซึ่งจะช่วยให้สิ้นปีมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 4,100 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ BGRIM ยังอยู่ในระหว่างการเร่งเจรจาขายไฟให้ลูกค้ากลุ่ม Data Center จำนวน 3-5 ราย ในเขตนิคมอุตสาหกรรม Bloomberg Consensus ประเมินกำไรสุทธิของ BGRIM ในปีนี้ที่ 2.12 พันล้านบาท (+1.4% YoY) และในปี 2568 ที่ 2.53 พันล้านบาท (+24% YoY) โดยมีราคาเป้าหมายที่ 28 บาท สำหรับกำหนดการ COD โครงการในช่วงครึ่งปีหลัง 2567 มี 3 โครงการ ได้แก่: โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อู่ตะเภา เฟสหนึ่ง โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ GIFU ในญี่ปุ่น โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมบนบก KOPOS ในเกาหลีใต้           ทั้งนี้ BGRIM ยังได้รับอานิสงส์จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาลง เนื่องจากบริษัทมีภาระหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งทำให้ BGRIM ที่มีเงินกู้สกุลดอลลาร์มีโอกาสรับ unrealized FX gain ในงวดนี้ นอกจากนี้ยังได้รับ Sentiment เชิงบวกจากการย้ายฐานการผลิตของลูกค้าจีนเข้าสู่ภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น หลังจากที่ทางการสหรัฐฯ มีแผนเพิ่มภาษีนำเข้าจากจีน ซึ่งช่วยหนุนกลุ่มลูกค้า IU           ราคาหุ้น BGRIM ปรับตัวลงทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย SMA และสร้างแนวรับที่จุดต่ำแท่งเทียนคู่ที่ 23.20 บาท และมีแรงซื้อกลับเข้ามาด้วยแท่งเทียนสีขาวยาว ระหว่างวันปรับทดสอบแนวรับ 24-23.80 บาทได้มั่นคง มีโอกาสเกิด Key Reversal แนวต้านหลักที่ Double Top เดิมที่ 24.80 บาท หากผ่านแนวต้านนี้จะเป็นสัญญาณซื้อรูปแบบแอ่งกระทะขนาดใหญ่ คำแนะนำ ASL กรณี "มีหุ้น" ให้ถือหรือซื้อเพิ่ม รอทดสอบแนวต้านที่ 24.80/25.75-26 บาท กรณี "ไม่มีหุ้น" ซื้อระยะสั้น เน้นยืนแนวรับที่ 24-23.80/23.20 บาท ไม่ควรต่ำกว่าลงมา

[ภาพข่าว] บี.กริม พร้อมพันธมิตรช่วยผู้ประสบภัยและสัตว์ จากน้ำท่วมเชียงใหม่

[ภาพข่าว] บี.กริม พร้อมพันธมิตรช่วยผู้ประสบภัยและสัตว์ จากน้ำท่วมเชียงใหม่

           บี.กริม ร่วมกับ กรมการสัตว์ทหารบก หน่วยม้าทรงประจำพระองค์ฯ พร้อมด้วยพันธมิตรและภาคีเครือข่ายสมาชิก สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย สนับสนุนอาหารและหญ้าแห้ง ยาและเวชภัณฑ์ และการเคลื่อนย้ายพื้นที่ให้กับผู้ประสบภัยและสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย พร้อมเร่งช่วยเหลือ ศูนย์บริบาลช้างฯ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่            เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะที่ปรึกษาศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) ปฏิบัติการส่วนหน้า เดินทางไปที่ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำท่วมและการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดเชียงใหม่ โดยได้ประสาน กรมการสัตว์ทหารบก เพื่อให้ความช่วยเหลือ ศูนย์บริบาลช้างฯ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ พร้อมสนับสนุนอาหารและหญ้าแห้ง ยาและเวชภัณฑ์ และสนับสนุนการเคลื่อนย้ายพื้นที่ให้กับผู้ประสบภัยและสัตว์ ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ในพื้นที่ อ.แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่            โดยมีกรมการสัตว์ทหารบก ร่วมกับหน่วยม้าทรงประจำพระองค์ฯ และสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยพันธมิตร บี.กริม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท เพอร์เฟค คอมพาเนียน กรุ๊ป จำกัด ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและสัตว์ ที่ได้รับผลกระทบ โดยมอบหญ้าฟ่อนแห้ง หญ้าแพงโกล่าสด และอาหารม้า Maxwin ณ บ้านแม่ตะมาน ต.กื๊ดช้าง อ.แม่แตง สำหรับเป็นอาหารสัตว์ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่            ทั้งนี้ ศูนย์อภิบาลและอนุรักษ์ช้างฯ จะดำเนินการเคลื่อนย้ายม้ามายังบ้านแม่ตะมาน ต.กื๊ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เมื่อสร้างคอกเรียบร้อยแล้ว (ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการ) โดยกรมการสัตว์ฯ ยังมีแผนการดำเนินการให้หน่วยงานในพื้นที่สนับสนุนหญ้าแพงโกล่าตัดสด วันละ 1 ตัน และสำรวจความต้องการอาหารม้า Maxwin ในพื้นที่อุทกภัยต่อไป            บี.กริม ได้ให้การสนับสนุนกีฬาขี่ม้ามายาวนาน ด้วยการสนับสนุนผ่านสมาคมขี่ม้าแห่งประเทศไทย เพื่อการพัฒนาศักยาภาพของกีฬาขี่ม้าในประเทศไทยในทุก ๆ มิติ นอกจากนี้ บี.กริม ยังได้จัดการแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลเพื่อการกุศล ระดมทุนสนับสนุนโรงเรียนและมูลนิธิต่างๆ เพื่อเป็นทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนในการพัฒนาวิชาชีพของโรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ) ช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมผ่านมูลนิธิมะเร็งเต้านมเฉลิมพระเกียรติฯ ตลอดจนส่งเสริมโอกาสและการสร้างอาชีพให้แก่ผู้ต้องขังเมื่อกลับคืนสู่สังคมอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี

[ภาพข่าว] BGRIM คว้า 2 รางวัล จากเวที IAA Awards 2024

[ภาพข่าว] BGRIM คว้า 2 รางวัล จากเวที IAA Awards 2024

          เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) รับรางวัล Outstanding CFO และ Outstanding IR ในหมวดอุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภค จากคุณพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในงานมอบรางวัล IAA Awards for Listed Companies 2024 โดยได้รับการโหวตจากนักวิเคราะห์ และผู้จัดการกองทุน ในฐานะเป็นผู้ให้ข้อมูลกับนักวิเคราะห์หลักทรัพย์และกองทุนในเชิงลึก ตรงประเด็น และชัดเจน เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารงานดีเด่น มีจรรยาบรรณและธรรมาภิบาล  ซึ่งจัดขึ้นโดย สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน (IAA) ณ ห้องแกรนด์ ฮอลล์ ชั้น 2  โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก  อะ ลักซ์ชูรี คอลเล็คชั่น โฮเทล           ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยว่า “บริษัทคว้า 2 รางวัล Outstanding CFO และ Outstanding IR ในหมวดอุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภค” จากสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน ในงาน IAA Awards 2024 โดย 2 รางวัลดังกล่าว ประกอบด้วย นางสาวศิริวงศ์ บวรบุญฤทัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ - สายงานการเงินและบัญชี รับรางวัล Outstanding CFO และนางสาวณัฐชนน ชวินสิทธางกูร ผู้จัดการแผนกนักลงทุนสัมพันธ์ รับรางวัล Outstanding IR สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ บี.กริม เพาเวอร์ ในฐานะบริษัทชั้นนำในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภค รวมถึงการนำเสนอข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง และทันต่อสถานการณ์ และการยึดหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินงาน ตลอดจนวิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี สู่การเติบโตอย่างยั่งยืนเคียงข้างสังคมไทย           “การได้รับรางวัลนี้ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ บี.กริม ที่ส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน ภายใต้หลักธรรมาภิบาล การบริหารห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) อย่างรับผิดชอบ และคำนึงถึงผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม” ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าว           สำหรับรางวัล IAA Awards for Listed Companies เป็นรางวัลที่มอบให้กับผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน ใน 14 กลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อประกาศเกียรติคุณและยกย่องผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารงาน ซึ่งนำพาให้บริษัทประสบความสำเร็จ และเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้น ผ่านการให้ข้อมูลกับนักวิเคราะห์ ทำให้เกิดบทวิเคราะห์ที่มีคุณภาพไปสู่นักลงทุน

[PR News] บี.กริม มุ่งพัฒนาระบบปรับอากาศ ชู HVAC Sustainable Energy Solutions

[PR News] บี.กริม มุ่งพัฒนาระบบปรับอากาศ ชู HVAC Sustainable Energy Solutions

          บี.กริม เทคโนโลยี เปิดตัว HVAC Sustainable Energy Solutions มุ่งปรับปรุงระบบปรับอากาศเดิมสำหรับภาคอุตสาหกรรมและอาคารสำนักงาน รับประกันประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย พร้อมตอบโจทย์ธุรกิจอย่างยั่งยืน จัดแสดงในงาน TMA 2024 - 60 Years of Excellence           บี.กริม เทคโนโลยี เผยโฉม HVAC Sustainable Energy Solutions ทางเลือกใหม่ล่าสุดที่มุ่งพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบทำความเย็นที่มาพร้อมกับระบบควบคุมอัตโนมัติ เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ พร้อมนำเสนอหลากหลายโซลูชันครบวงจรเพื่อการประหยัดพลังงานและความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม ภายในงาน TMA 2024 - 60 Years of Excellence ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในวันที่ 16-19 กันยายน ที่ผ่านมา           ตลอดงานแสดงนวัตกรรมเพื่อธุรกิจในครั้งนี้ บี.กริม เทคโนโลยี และบริษัทพันธมิตรชั้นนำ ได้นำเสนอนวัตกรรมที่จะผลักดันให้อาคารและโรงงานอุตสาหกรรมใช้พลังงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดสุขภาวะที่ดีต่อผู้ใช้งานทุกคน ไม่ว่าจะเป็น HVAC Sustainable Energy Solutions โซลูชันใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านระบบปรับอากาศประสิทธิภาพสูงด้วยบริการแบบครบวงจรในที่เดียว โซลูชันการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร (Integrated EV Charging Solutions) โซลูชันโซลาร์ รูฟท็อป (Solar Rooftop) โซลูชันระบบแสงสว่างเปลือกอาคาร (Facade Lighting) โซลูชันเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับผู้ใช้งานอาคาร พร้อมด้วยการให้คำแนะนำและช่วยจัดหา ซื้อ-ขาย ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) จากแหล่งพลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดในภาคอุตสาหกรรม พร้อมไปกับการแบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับอนาคตแห่งความยั่งยืน โดยนายนพเดช กรรณสูต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ที่ร่วมเสวนาในเวที The New Leaders’ Perspective: Sustainability Way Forward หนึ่งในประเด็นสำคัญของงาน TMA ในปีนี้           นายอานนท์ กุลวงษ์วาณิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บี.กริม เทคโนโลยี จำกัด เปิดเผยว่า บี.กริม เทคโนโลยี เล็งเห็นถึงปัญหาของอาคารและโรงงานเก่าที่มีระบบปรับอากาศติดตั้งมาเป็นเวลานาน ซึ่งมีประสิทธิภาพต่ำและใช้พลังงานมากเนื่องจากเป็นเทคโลโยลีที่ล้าสมัย และยังคงใช้สารทำความเย็นที่ทำลายชั้นบรรยากาศอีกด้วย ทางบริษัทฯ จึงเปิดตัว HVAC Sustainable Energy Solutions โซลูชันใหม่ล่าสุด ที่มุ่งพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของ Chiller Plant ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกับการดูแลและรับประกันประสิทธิภาพการทำความเย็นตลอดอายุสัญญา ลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ พร้อมด้วยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านระบบปรับอากาศให้บริการบำรุงรักษาระบบตลอดอายุสัญญา โดยเจ้าของอาคารและโรงงานอุตสาหกรรมสามารถเลือกลงทุนได้หลากหลายวิธี ได้แก่ การลงทุนทั้งระบบแบบครั้งเดียว การเช่าใช้ระบบปรับอากาศ หรือการซื้อบริการความเย็นตามต้องการโดยไม่ต้องลงทุนเอง หรือ Cooling-as-a-Service           บี.กริม ให้ความสำคัญกับการบริการแบบ One-stop Service ในการออกแบบ จัดหา ติดตั้ง ไปจนถึงการบำรุงรักษา เพื่อให้บริการแบบไร้รอยต่อในทุก ๆ โซลูชันเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ บี.กริม และโซลูชันอัจฉริยะเพื่อการจัดการพลังงานและความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน สามารถเข้าถึงได้ที่ https://bgrimmtechnologies.com/

วิพากษ์หุ้นโรงไฟฟ้า ใครจะได้ประโยชน์หลัก

วิพากษ์หุ้นโรงไฟฟ้า ใครจะได้ประโยชน์หลัก

          หุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.กรุงศรี คาดว่า GULF จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์หลัก ตามมาด้วย GUNKUL, BGRIM และ GPSC เราคง ‘NEUTRAL’ สำหรับกลุ่ม เนื่องจากการประเมินมูลค่า (valuation) ปัจจุบัน ได้ถูกสะท้อนข่าวดีไปในราคาแล้ว จากการที่ กกพ. เดินหน้าเปิดประมูลรอบที่ 2 สำหรับโครงการพลังงานหมุนเวียนรวม 3.6 GW โดยจะประเมินข้อเสนอจากผู้สมัครจำนวน 198 รายตามคะแนนคุณภาพโดยไม่ต้องแก้ไขข้อเสนอขายไฟฟ้า และจะประกาศผลคัดเลือกภายในสิ้นปีนี้           ด้วยการประมูลรอบที่สองสำหรับกำลังการผลิตรวม 3.6 กิกะวัตต์ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในรอบนี้จะประกอบด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 2,632 เมกะวัตต์, พลังงานลม 1,000 เมกะวัตต์, พลังงานชีวมวล 6.5 เมกะวัตต์, และพลังงานจากของเสียอุตสาหกรรม 30 เมกะวัตต์ เพื่อดึงดูดผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้ามากขึ้น กกพ. มีแผนจัดสรรโควตาให้กับผู้ประมูลที่ไม่ได้รับโครงการในรอบแรกเป็นการเฉพาะ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน จะมีกฎระเบียบใหม่ในการจัดซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนภายใต้ระบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับปี 2565-2573 ซึ่งรวมถึงการซื้อเพิ่มเติมจากผู้สมัคร 198 รายที่เคยผ่านเกณฑ์ความพร้อมทางเทคนิคมาแล้ว แต่ไม่ได้รับการคัดเลือกเนื่องจากปริมาณการจัดซื้อเต็มแล้ว กกพ. จะประเมินการซื้อไฟฟ้าจากคะแนนคุณภาพโดยไม่ต้องแก้ไขข้อเสนอเดิม โดยจำกัดที่ 600 เมกะวัตต์สำหรับพลังงานลม และ 1,580 เมกะวัตต์สำหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนพื้นดิน คาดว่าจะประกาศผู้ชนะการประมูลภายในสิ้นปี 2567           หากอ้างอิงถึงผลผู้ชนะการประมูลในรอบแรกและจำนวนเมกะวัตต์ที่ยังไม่ผ่านรอบแรกของแต่ละบริษัท เราคาดว่า GULF (Unrated) จะได้ประโยชน์มากที่สุด ตามมาด้วย GUNKUL, BGRIM, GPSC ทั้งนี้ในรอบแรก GULF ชนะการประมูลคิดเป็น 38% ของการเปิดรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 5.2 GW ตามมาด้วย GUNKUL (16%), SSP (3.3%), BGRIM (3.1%), WHAUP (2.4%), GPSC (0.15%) และอื่นๆ (37%) เรามองว่าการเดินหน้าและมีความชัดเจนนี้จะส่งผลบวกต่อกระบวนการรับรองไฟฟ้าสีเขียวตามแนวทาง Utility Green Tariff (UGT) ของ กกพ. ที่ต้องอาศัยการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในโครงการรับซื้อไฟฟ้าเช่นกัน ที่ถ้าได้ข้อสรุปจะสามารถประเมินผลตอบแทนได้ชัดเจนขึ้นต่อการลงทุนดังกล่าว           บล.กรุงศรี มีมุมมอง Neutral สำหรับกลุ่ม โดยคงคำแนะนำ Trading Buy ต่อ BGRIM (TP Bt27), GPSC (TP Bt50), BCPG (TP Bt8.20), EGCO (TP Bt137) และคำแนะนำ Buy ต่อ GUNKUL (TP Bt3.85)

BGRIM ลงนามขายไฟฟ้าโซลาร์กับรัฐนาน 25 ปี กำลังผลิตรวม 323.3MW

BGRIM ลงนามขายไฟฟ้าโซลาร์กับรัฐนาน 25 ปี กำลังผลิตรวม 323.3MW

          กลุ่มบี.กริม เพาเวอร์ ลงนามในสัญญาขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์กับภาครัฐนาน 25 ปี กำลังผลิตรวม 323.3 เมกะวัตต์ เตรียมเดินเครื่อง COD ปี 2569             บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)  โดยบริษัทย่อย และกิจการร่วมค้า ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นระยะเวลา 25 ปี เพื่อร่วมพัฒนาและดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar farms) กำลังการผลิตรวม 323.3 เมกาวัตต์ โดยมีกำหนดเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ตั้งแต่ปี 2569 ถึงปี 2573           ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM กล่าวว่า การเข้าร่วมโครงการดังกล่าวจะช่วยพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาด ขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน สอดคล้องกับกลยุทธ์ GreenLeap-Global and Green เพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกพลังงานและความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ด้วยการจัดหาพลังงานที่มีเสถียรภาพ สามารถเข้าถึงได้และสร้างความยั่งยืนให้แก่อุตสาหกรรม เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้ผลิตพลังงานชั้นนำระดับโลก           ทั้งนี้ ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า บี.กริม เพาเวอร์มุ่งมั่นที่จะขยายการลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีโครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและพัฒนาในหลายประเทศ อาทิ ประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ กัมพูชา กรีซ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดิอาระเบีย รวมทั้งประเทศไทย โดยการขยายการลงทุนในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการมุ่งหน้าสู่เป้าหมายเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนมากกว่า 50% เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของราคาก๊าซธรรมชาติในระยะยาวและยังเป็นการขยายความร่วมมือทางธุรกิจเพื่อสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อการต่อยอดและสร้างโอกาสทางธุรกิจ มุ่งสู่เป้าหมายกำลังผลิตไฟฟ้า 10,000 เมกะวัตต์ ในปี 2573 และก้าวสู่เป้าหมายองค์กรที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net-Zero ภายในปี ค.ศ. 2065 (ปี พ.ศ. 2608)           “บี.กริม เพาเวอร์ มุ่งมั่นต่อยอดและขยายการลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง ตามวิสัยทัศน์องค์กร มุ่งสร้างพลังให้กับสังคมโลกด้วยความโอบอ้อมอารี (Empowering the World Compassionately)” ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าวทิ้งท้าย

BGRIM เซ็นสัญญาขายโซลาร์กับรัฐ 323.3 เมกะวัตต์ 

BGRIM เซ็นสัญญาขายโซลาร์กับรัฐ 323.3 เมกะวัตต์ 

          BGRIM เซ็นสัญญาขายโซลาร์กับรัฐ 323.3 เมกะวัตต์  เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ปี 2569-2573           ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (“บี.กริม เพาเวอร์”) ขอเรียนให้ทราบว่า บริษัทย่อยและ การร่วมค้าจำนวน 8 บริษัทซึ่ง บี.กริม เพาเวอร์ ถือหุ้นร่วมกับบริษัทพันธมิตรอื่นๆ ได้เข้าลงนามในสัญญาซื้อ ขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement) กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (“กฟผ.”) และการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค (“กฟภ.”) เป็นระยะเวลา 25 ปี เพื่อพัฒนาและดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar farms) กำลังการผลิตตามสัญญารวมทั้งสิ้น 323.3 เมกาวัตต์โดยมีกำหนดเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2569 ถึง ปี 2573 ตามประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานและ ประกาศอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) โดยมีรายละเอียดดังนี้           การเข้าร่วมโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับกลยุทธ์ GreenLeap-Global and Green ของ บี.กริม เพาเวอร์ เพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกพลังงาน ด้วยการจัดหาพลังงานสะอาดให้กับประเทศไทย มุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี2608