#ATP30


ATP30 ชู Backlog สูง 1,870 ลบ. ดันผลงานโค้งท้ายโตต่อ

ATP30 ชู Backlog สูง 1,870 ลบ. ดันผลงานโค้งท้ายโตต่อ

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เอสบีไอ ไทย ออนไลน์ จำกัด ATP30 รายงานกำไรสุทธิ 3Q67 เพิ่มขึ้น 32.6% YoY ที่ 12.0 ล้านบาท ผลจากการขยายฐานลูกค้าทั้งรายใหม่และรายเดิมอย่างต่อเนื่อง และ อัตราก าไรขั้นต้นที่สูงขึ้นพร้อมปัจจัยบวกหนุน 4Q67 โตต่อ ATP30 รายงานกำไรสุทธิ 3Q67 เพิ่มขึ้น 32.6% YoY ที่ 12.0 ล้านบาท ผลจากการขยายฐานลูกค้าทั้งรายใหม่และรายเดิมอย่างต่อเนื่อง และ อัตรากำไรขั้นต้นที่สูงขึ้น โดยบริษัทมีรายได้จากการให้บริการ เพิ่มขึ้น 7.8% YoY ที่ 181.9 ล้านบาท ผลจากจากการขยายฐานลูกค้าทั้งรายใหม่และรายเดิมอย่างต่อเนื่อง และ การปรับขึ้นราคาค่าบริการตามต้นทุนพลังงานในส่วนของอัตรากำไรขั้นต้น(GPM)ไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับ 20.34% เพิ่มขึ้นจากระดับ 18.99% ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หลักๆเป็นผลจาก การปรับขึ้นราคาค่าบริการตามต้นทุนพลังงาน และการควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพของบริษัท ปัจจัยบวกผลประกอบการในช่วง 4Q67 ของบริษัท คือ การเริ่มรับรู้รายได้จากการให้บริการลูกค้ารายใหม่จำนวน 3 ราย รวมถึง Backlog ของรายได้ค่าบริการที่จะทยอยรับรู้ในช่วงถัดไปของบริษัทยังอยู่ระดับสูงที่ 1,870 ล้านบาท และ การปรับขึ้นราคาค่าบริการจะหนุนให้ GPM ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น           อนึ่ง “ATP30 ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งบุคลากรจากแหล่งที่พักอาศัยในเขตชุมชนไปยังโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานที่ประกอบการโดยเฉพาะรอบเขตนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกและภาคกลาง”

ATP30 โชว์กำไรงวด 9 เดือน 67 โตแรง 73.64%

ATP30 โชว์กำไรงวด 9 เดือน 67 โตแรง 73.64%

          ATP30 เผยผลประกอบการงวด 9 เดือนปี 67 รายได้ 535.99 ล้านบาท กำไรสุทธิ 33.53 ล้านบาท โต 73.64% ไตรมาส 3 รายได้ เดินหน้าทำนิวไฮต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 เริ่มรับรู้รายได้จากลูกค้าใหม่ในไตรมาส 4/67 มุ่งเน้นพัฒนาระบบ ขยายฐานลูกค้าเพิ่ม ดันผลประกอบการปี 67 โตตามเป้า           นายปิยะ เตชากูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอทีพี 30 จำกัด (มหาชน) (ATP30) ผู้ดำเนินธุรกิจให้บริการรถรับส่งพนักงานจากแหล่งที่พักอาศัยในเขตชุมชนไปยังโรงงานอุตสาหกรรม สถานประกอบการโดยเฉพาะรอบเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก (Eastern Seaboard) และเขตอุตสาหกรรมภาคกลาง เปิดเผยว่า ผลประกอบการงวด 9 เดือนปี 2567 บริษัทมีรายได้รวม 535.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีรายได้รวม 497.27 ล้านบาท จำนวน 38.72 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7.79% และมีกำไรสุทธิ 33.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 19.31 ล้านบาท จำนวน 14.22 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 73.64%           ขณะที่ผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2567 ยังสามารถทำสถิติสูงสุดต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 โดยมีรายได้รวม 182.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีรายได้รวม 169.35 ล้านบาท จำนวน 12.86 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7.59% และมีกำไรสุทธิ 12.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 9.07 ล้านบาท จำนวน 2.96 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 32.64%           ทั้งนี้ผลประกอบการของ ATP30 สามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการบริหารจัดการต้นทุนที่ดี ทั้งในด้านการปรับปรุงรถเพื่อให้บริการ การควบคุมต้นทุนด้านพลังงาน การเดินรถ ส่งผลให้บริษัทมีกำไรขั้นต้นสูงขึ้นอยู่ที่ 106.58 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้น 19.92% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่มีกำไรขั้นต้น 84 ล้านบาท หรืออัตรากำไรขั้นต้น 16.95% อีกทั้งบริษัทมีลูกค้าที่ให้บริการเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของกลุ่มลูกค้าเดิมที่ขยายสัญญา และกลุ่มลูกค้าใหม่ จำนวน 5 ราย คิดเป็นมูลค่าสัญญารวม 1,870 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทมีรถให้บริการทั้งหมด 702 คัน แบ่งเป็น รถบัส 277 คัน มินิบัส 51 คัน รถตู้ 361 คัน รถกระบะ 2 คัน และรถ EV 11 คัน           “ทิศทางธุรกิจไตรมาส 4 ปีบริษัทยังสามารถสร้างการเติบโตได้ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง จากกลยุทธ์การบริหารจัดการต้นทุนที่แข็งแกร่ง การขยายฐานลูกค้า พร้อมทั้งพัฒนาระบบเพื่อรองรับการเติบโต และต่อยอดงานบริการให้หลากหลายยิ่งขึ้น รวมถึงให้ความสำคัญกับการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อความแข็งแรงและยั่งยืนของบริษัทในอนาคต มั่นใจว่ารายได้ของบริษัทในปีนี้จะเติบโตตามเป้าหมายที่ 10% และสามารถรักษาอัตรากำไรขั้นต้นให้อยู่ในระดับ 20% รวมถึงอัตรากำไรสุทธิประมาณ 8-10%”นายปิยะ กล่าว [PR NEWS]

ATP30 “ซื้อ” ราคาเหมาะสม 1.16 บาท

ATP30 “ซื้อ” ราคาเหมาะสม 1.16 บาท

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน  บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด คาดแนวโน้มงวดไตรมาส 3/2567 ของ ATP30 กำไรเติบโตจากไตรมาสก่อนหน้า และช่วงเดียวกันกับปีก่อน จากฐานรายได้เพิ่มขึ้น และอัตรากำไรปรับดีขึ้น และคาดว่ารายได้จากการให้บริการในงวดไตรมาส 3/2567 มีโอกาสเติบโตต่อเนื่องจากการเริ่มบริการลูกค้าใหม่ตั้งแต่ปลายปี 66 และการปรับค่าบริการให้สอดคล้องกับราคาน้ำมันดีเซล           ขณะที่การนำรถที่ปรับปรุงสภาพกลับมาให้บริการเกือบ 90% และจำนวนรถที่ตัดค่าเสื่อมราคาครบแล้วสนับสนุนให้อัตรากำไรขั้นต้นมีแนวโน้มปรับดีขึ้นทุกไตรมาส เห็นได้จากอัตรากำไรขั้นต้นในงวดไตรมาส 2/2567 เท่ากับ 19.6% ปรับดีขึ้นจาก 16.7% ในไตรมาส 2/2566 ทั้งนี้คาดรายได้จากการให้บริการเท่ากับ 180 ล้านบาท +2% จากไตรมาสก่อนหน้า +7% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน และคาดกำไรสุทธิในงวดไตรมาส 3/2567 ราว 12.2 ล้านบาท +10% จากไตรมาสก่อนหน้า +35% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน ขณะที่กำไรงวดครึ่งปีแรก 2567 เท่ากับ 21.5 ล้านบาท +110% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน           คาดอัตราการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) ของกำไรสุทธิปี 2567-2568 เท่ากับ 17% ต่อปี  ปัจจุบันบริษัทให้บริการลูกค้าจำนวน 68 รายมีจำนวน รถโดยสารรวม 745 คัน ปลายงวดไตรมาส 2/2567 มีรายได้ส่วนที่ยังไม่ได้รับรู้จำนวน 1,500 ล้านบาท ในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้บริษัทมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น 4 รายและได้ดำเนินการเตรียมรถโดยสารใหม่จำนวน 22 คัน เพื่อเตรียมให้บริการ           ฝ่ายวิเคราะห์ยังคงประมาณการรายได้และกำไรสุทธิในปี 2567 ตามเดิมที่ 707 ล้านบาท +6% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน และ 43 ล้านบาท ซึ่งยังเห็นการเติบโต 49% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน ประมาณการกำไร 9 เดือนแรกปี 2567 คิดเป็น 50% ของประมาณกำไรทั้งปี สำหรับปี 2568 ฝ่ายวิเคราะห์ประมาณการรายได้ราว 736 ล้านบาท +4% และคาดกำไรสุทธิเติบโตราว 8% เป็น 42.7 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) ของกำไรสุทธิระหว่างปี 2565 – 2568 ราว 17% ต่อปี           การดำเนินงานด้าน ESG บริษัทให้ความสำคัญกับบริหารจัดการ จัดซื้อ จัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แผนการเพิ่มสัดส่วนการใช้รถ EV บริษัทเปิดเผยเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทวนสอบในแบบ 56-1 One Report ปี2567 และได้การรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้น ขององค์กรจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO)           ฝ่ายวิเคราะห์ คงคำแนะนำ “ซื้อ” โดยปรับใช้ราคาเหมาะสมสำหรับปี 2568  เท่ากับ 1.16 บาท  ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อศักยภาพในการเติบโตของรายได้จากการให้บริการรถรับส่งพนักงานในพื้นที่ EEC ครอบคลุมจังหวัดชลบุรีฉะเชิงเทรา และระยอง ซึ่งจะรับได้ประโยชน์จากมาตรการ EEC Free Visa           ในการประเมินราคาเหมาะสมสำหรับปี 2568 ซึ่งอิง Prospect PER ที่ระดับ 17 เท่าซึ่งสอดคล้องกับ CAGR โดยประมาณกำไรต่อหุ้น ในปี 2568 ได้เท่ากับ 0.069 บาท คำนวณราคาเหมาะสมสำหรับปี 2567 ได้เท่ากับ 1.16 บาท ซึ่งยังมีอัพไซต์จากราคาปิดล่าสุดอีกราว 28% จึงคงคำแนะนำ “ซื้อ”

[Vision Exclusive] ATP30 ยกระดับความปลอดภัยรถบัส ลูกค้าต่อคิวบริการปลายปีแน่น

[Vision Exclusive] ATP30 ยกระดับความปลอดภัยรถบัส ลูกค้าต่อคิวบริการปลายปีแน่น

          หุ้นวิชั่น - ATP30 ไขปมความปลอดภัยรถบัส รับส่งพนักงาน จากปาก คุณปิยะ  เตชากูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอทีพี 30 จำกัด (มหาชน) หรือ ATP30 ดำเนินธุรกิจให้บริการขนส่งพนักงาน โดยให้บริการรถรับ-ส่งจากที่พักไปยังโรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการในประเทศไทย โดยธุรกิจหลักแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ บริการขนส่ง (Transport Services) ให้บริการรับ-ส่งพนักงานตามเส้นทางที่กำหนดในเขตนิคมอุตสาหกรรมและสถานประกอบการต่างๆ ผ่านยานพาหนะหลากหลายประเภท เช่น รถบัส รถตู้ รถมินิบัส และรถกระบะ           บริการบริหารจัดการ (Management Services) ให้บริการบริหารจัดการด้านการขนส่งและยานพาหนะ รวมถึงการบริหารกองรถสำหรับภาคธุรกิจต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการขนส่ง บริการให้เช่ายานพาหนะ (Vehicle Rental Services) ให้เช่ารถสำหรับการขนส่งพนักงานหรือการใช้งานในกิจการต่าง ๆ รวมถึงบริการเช่ารถที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการนำเสนอโซลูชันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม           จุดเด่นและความสามารถ มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการยานพาหนะจำนวนมาก โดยปัจจุบันมีการให้บริการด้วยกองรถที่ประกอบด้วย บริษัทมีลูกค้าจำนวน 68 ราย โดยมีรถโดยสารที่ให้บริการทั้งสิ้น จำนวน 687คัน ประกอบด้วย รถบัสโดยสาร จำนวน 267 คัน รถมินิบัสโดยสาร จำนวน 51 คัน รถตู้/รถตู้ วีไอพีโดยสาร จำนวน 359 คัน รถไฟฟ้าโดยสาร จำนวน 8 คันและรถกระบะให้บริการ จำนวน 2 คัน และยังมี Backlog สำหรับรายได้ค่าบริการที่ยังไม่ได้รับรู้ 1,500 ล้านบาท ของสัญญาคงเหลือ           นายปิยะ เตชากูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอทีพี 30 จำกัด (มหาชน) หรือ ATP30 ได้ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวหุ้นวิชั่นเกี่ยวกับแนวทางการกำกับดูแลและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการรถบัสและรถรับส่งพนักงานในประเทศไทย โดยกล่าวถึงความเข้มงวดในการออกกฎหมายและมาตรการควบคุมด้านความปลอดภัยมากขึ้น หลังเกิดเหตุการณ์อุบัติเหตุรถบัสทัศนศึกษาเกิดเหตุเพลิงไหม้จนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก           มาตรการในการตรวจสอบความปลอดภัยของผู้ประกอบการควรได้รับการพิจารณาและนำไปปฏิบัติในระดับเบื้องต้นก่อนที่จะบังคับใช้กฎหมายในระดับประเทศ เพราะปัจจุบันการตรวจสอบยังไม่สามารถครอบคลุมทั่วประเทศได้ เนื่องจากมีรถให้บริการหลายลักษณะและมีจำนวนมาก อีกทั้งยังมีผู้ประกอบการหลายรายที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด จึงควรให้ความสำคัญกับมาตรการของผู้ประกอบการในการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงภายในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ผู้ประกอบการควรมีการตรวจเช็ครถอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงฝึกอบรมพนักงานขับรถให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสูงสุด เพื่อให้บริการมีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือมากขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ           มาตรการด้านความปลอดภัยของรถโดยสารที่บริษัทให้ความสำคัญ โดยมาตรการนี้ครอบคลุมถึงการตรวจสอบอุปกรณ์และระบบต่าง ๆ ภายในรถอย่างเข้มงวด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้โดยสาร และการตรวจสอบอุปกรณ์ภายในรถโดยสาร เช่น เครื่องดับเพลิง ประตูฉุกเฉิน และระบบความปลอดภัยอื่น ๆ ควรได้รับการตรวจเช็คอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในกรณีฉุกเฉิน           ขณะที่ การตรวจสอบระบบรถโดยสารในส่วนอื่น ๆ ควรดำเนินการเป็นกิจวัตรประจำวัน ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบระบบหล่อเย็น น้ำมันเครื่อง การรั่วซึมของของเหลวต่าง ๆ และแรงดันลมยางก่อนออกให้บริการทุกครั้ง สำหรับ การตรวจสอบรายเดือน ควรครอบคลุมถึงสภาพของยางรถยนต์ ประตูฉุกเฉิน ระบบความปลอดภัยต่าง ๆ และอุปกรณ์ในห้องโดยสาร เช่น เข็มขัดนิรภัย เพื่อให้มั่นใจว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน นอกจากนี้ การตรวจสอบพฤติกรรมของพนักงานขับรถก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยและการให้บริการที่ดีที่สุด มาตรการดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุและเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้โดยสารได้เป็นอย่างดี           นายปิยะ กล่าวต่อว่า สำหรับทิศทางธุรกิจในช่วงที่เหลือปี 2567 ค่อนข้างมั่นใจว่าจะเติบโตดีพอสมควร เพราะบริษัทจะมีลูกค้าใหม่เข้ามา บริษัทได้รับสัญญาบริการรับส่งพนักงานของโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ 4 ราย ประกอบไปด้วย บริษัท สยามไอซิน จำกัด โดยจะเริ่มให้บริการส่งบุคลากร เป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 จนถึง 30 กันยายน 2572 ด้วยรถบัส จำนวน 10 คัน และรถตู้จำนวน 2 คัน           บริษัท ไดกิ้น คอมเพรสเซอร์ อินดัสทรีย์ จำกัด โดยจะเริ่มให้บริการรับส่งบุคลากร เป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 จนถึง 31 ตุลาคม 2570 ด้วยรถบัส จำนวน 10 คัน บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด โดยจะเริ่มให้บริการส่งบุคลากร เป็นระยะเวลา 5 ปีตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2567 จนถึง 30 พฤศจิกายน 2572 ด้วยรถบัสไฟฟ้า จำนวน 4 คัน และ บริษัท เอ็นเอส สยามยูไนเต็ดสตีล จำกัด โดยจะเริ่มบริการรับส่งบุคลากร เป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2572 ด้วยรถตู้ จำนวน 6 คัน           บริษัทกำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาเพื่อปิดดีลกับลูกค้าใหม่อีก 2-3 ราย ซึ่งคาดว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงได้ภายในต้นปี 2568 โดยบริษัทมีแผนที่จะมุ่งเน้นการให้บริการด้วยรถไฟฟ้าหรือรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) เพิ่มมากขึ้น           ในปี 2568 บริษัทมีแผนที่จะเพิ่มจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าอีก 20 คัน เพื่อสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และตระหนักถึงการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้น อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับหลักการและแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) มาโดยตลอด           นอกจากนี้ บริษัทยังได้ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรในแบบ 56-1 One Report ประจำปี 2567 ซึ่งได้รับการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้ตรวจสอบอย่างครบถ้วน พร้อมทั้งได้รับการขึ้นทะเบียน ฉลากคาร์บอนฟุตพรินท์ขององค์กร (CFO) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ           ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 บริษัทมีรายได้รวมอยู่ที่ 495.59 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 33.12 ล้านบาท ส่วนในปี 2565 รายได้เพิ่มขึ้นเป็น 632.45 ล้านบาท แต่กำไรสุทธิลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 29.17 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2566 รายได้รวมเพิ่มขึ้นอีกเป็น 671.48 ล้านบาท แต่กำไรสุทธิปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 28.98 ล้านบาท           สำหรับผลประกอบการในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 บริษัทมีรายได้รวมอยู่ที่ 353.78 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 21.50 ล้านบาท แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวและแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้น แม้กำไรสุทธิจะยังมีการปรับตัวลดลงจากปีที่ผ่านมา แต่บริษัทยังคงรักษาระดับรายได้ให้เติบโตอย่างสม่ำเสมอ รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน