ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#AI


เคาะ 15 หุ้น รับอานิสงส์ Data Center -AI

เคาะ 15 หุ้น รับอานิสงส์ Data Center -AI

              หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี ประเมินในงานสัมมนาครบรอบ 50 ปีของ MFC ประเด็นหลักๆ เน้นไปที่โอกาสของอาเซียนและไทยในการต่อยอดอุตสาหกรรมใหม่ๆ ในอนาคต ภาพใหญ่ทาง McKinsey ประเมิน 6 กลุ่มอุตสาหกรรมที่จะมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ 1.) E-Commerce2.) Digital Advertising3.) Video Games4.) Modular Construction (เทคโนโลยีก่อสร้างที่ช่วยลดต้นทุน เพิ่มความเร็ว และจำกัดผลกระทบสิ่งแวดล้อม)5.) Semi-conductor6.) EVs ซึ่งคาดว่าจะมีสัดส่วนราว 1 ใน 3 ของ GDP โลก               โดยไทยดูมีโอกาสในส่วนการก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ส่วนเรื่องอื่นๆ มีความจำเป็นที่อาเซียนและไทยต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถแข่งขันในระดับโลกได้               ส่วนการปรับตัว อดีตนายกฯ ทักษิณฯ ได้แสดงวิสัยทัศน์เพิ่มเติม เน้น 2 ส่วน คือ โอกาสในการเป็นศูนย์กลางโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี โดยชูจุดเด่นที่ ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องมีค่าไฟฟ้าที่ต่ำ เพื่อเป็นแรงดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ โดยขณะนี้ทั่วโลกมีต้นทุนพลังงานอยู่ที่ราว 2 เซนต์ (ดอลลาร์สหรัฐ) หรือ 0.67 บาท ในขณะที่ต้นทุนพลังงานของไทยอยู่ที่ 11 เซนต์ หรือราว 3.7 บาท ซึ่งในเบื้องต้นตั้งใจอยากให้ลดได้เหลือราว 8 เซนต์ หรือราว 2.7 บาท ซึ่งต่ำกว่าระดับที่นักลงทุนต่างชาติมองว่าเหมาะสมที่ 6-7 เซนต์               ทั้งนี้ เบื้องต้นตั้งเป้าหมายที่อยากเห็นค่าไฟฟ้าลดเหลือ 8 เซนต์ภายในปี 2569 นอกจากนี้ยังเน้นไปที่โอกาสในการนำ AI ต่อยอดในธุรกิจต่างๆ ที่เป็นจุดเด่นของไทย เช่น การแพทย์               อยากปรับไทยให้เป็นศูนย์กลางการเงิน “ศูนย์กลางทางคริปโต และบล็อกเชน” โดยคาดว่าใน 2-3 เดือนข้างหน้า จะเห็นการทำ Sandbox รับเงินคริปโตในจังหวัดภูเก็ต และการออก Stable Coin โดยมีพันธมิตร คือ รัฐบาลไทยเป็นหลักประกัน เชิงกลยุทธ์ เราประเมินโอกาสระยะกลาง-ยาวที่ไทยจะสามารถสร้าง S Curve ใหม่ๆ ยังมีอยู่ แต่อาจจะต้องใช้ระยะเวลาบ้าง ยานยนต์ต้องสร้างสมดุลการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปสู่ EVs ซึ่งในช่วงรอยต่อนี้อาจจะขาดตัวเลือกลงทุนที่น่าสนใจ และแนะนำให้ติดตามพัฒนาการต่อไป ก่อนที่จะเป็นศูนย์กลาง Financial Assets ใหม่ๆ ฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักไปที่การเติมสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจระยะสั้น แต่การต่อยอดให้เป็นอุตสาหกรรมใหม่ระยะยาว ต้องรอติดตามแผนการผลักดันอีกครั้ง Data Center เป็นจุดที่ฝ่ายวิจัยประเมินว่ามีโอกาสที่ดี โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าไทยสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติในส่วนนี้ได้มากพอสมควร แม้การเปลี่ยนแปลงค่าไฟฟ้าจะค่อยเป็นค่อยไป แต่ยังมีจุดเด่นอื่นๆ เช่น การมีพื้นที่ศูนย์กลางในอาเซียน และความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม หากการปรับค่าไฟฟ้าสามารถทำได้ ก็จะมีการดึงเม็ดเงินต่างชาติอย่างต่อเนื่องอีกหลายปี นอกจากนี้การส่งสัญญาณนำ AI ต่อยอดธุรกิจ คาดว่าอุตสาหกรรม/บริษัทที่ปรับตัวได้เร็วในเรื่องนี้ จะได้รับการสนับสนุนจากตลาดในทางบวกมากขึ้น โดยจากการศึกษาของฝ่ายวิจัย พบว่า อุตสาหกรรมที่น่าจะปรับตัวได้เร็ว คือ ธนาคาร, การเงิน, ค้าปลีก, การแพทย์ และภาคผลิต ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าว เราประเมินจิตวิทยาบวกในกลุ่มต่างๆ ได้แก่               1.) กลุ่มที่อยู่ในธีม Infra Tech ได้แก่ สื่อสาร ADVANC, TRUE, นิคม WHA, AMATA, รับเหมางาน Data Center + Digital Tech เช่น INSET ซึ่งในระยะสั้นน่าสนใจขึ้นหลังจากเริ่มปรากฏชื่อการจ้างผู้รับเหมางาน Data Center หลักๆ ในประเทศที่ประกาศลงทุนตั้งแต่ปี 2567 ซึ่งลำดับถัดไปน่าจะเป็นการเร่งจ้างผู้รับเหมาช่วง โดย INSET น่าจะอยู่ในกลุ่มดังกล่าว และ BBIK (ตั้งรับ) ส่วนโรงไฟฟ้าแม้ในระยะกลาง-ยาวจากโอกาสขยายกำลังผลิตรองรับ แต่ในระยะสั้นอาจต้องรอหุ้นตอบรับประเด็นลบจากแนวทางลดค่าไฟที่อาจกลับมากดดันหุ้นอีกครั้ง               2.) กลุ่มที่มีโอกาส AI Adoption ในอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ ธนาคาร เช่น KBANK, KTB, การเงิน เช่น MTC, ค้าปลีก เช่น CPALL, CPAXT, การแพทย์ เช่น BDMS, BCH และภาคผลิต เช่น SCC, SCGP

AI จ่ายปันผล0.19 บาท เล็ง XD 3 มี.ค. 68

AI จ่ายปันผล0.19 บาท เล็ง XD 3 มี.ค. 68

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน AI ประกาศจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้น 0.19 บาท ต่อหุ้น กำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับปันผล (Record date) 4 มี.ค.68 เตรียมจ่าย 25 เม.ย. นี้           คณะกรรมการบริษัทมีมติจ่ายปันผลเป็นเงินสดให้กับผู้ถือหุ้น ในอัตรา 0.19 บาทต่อหุ้น โดยกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับปันผล (Record date) 4 มี.ค. 2568 และวันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล (XD) 3 มี.ค. 2568 และจะจ่ายปันผล 25 เม.ย. 2568

AI อวดกำไรปี 67 ที่ 385.19 ล้านบาท พุ่ง 222.25%

AI อวดกำไรปี 67 ที่ 385.19 ล้านบาท พุ่ง 222.25%

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน AI แจ้งกำไรปี 67 พุ่ง 222.25% เก็บเงินเข้าพอร์ต 385.19 ล้านบาท ส่วนรายได้ทำได้ 9,163.94 ล้านบาท โต 4.59%           นายธนิตย์ ธารีรัตนาวิบูลย์ กรรมการ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชียน อินซูเลเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ AI เปิดเผยว่า บริษัทมีกำไรส่วนที่เป็นของบริษัทฯ ในไตรมาส 4 ปี 2567 จำนวน 126.15 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2566 มีผลกำไรเท่ากับ 41.03 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้นเท่ากับ 85.12 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 207.46           โดยมีรายได้รวมสำหรับไตรมาส 4 ปี 2567 เท่ากับ 2,605.03 ล้านบาท เปรียบเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2566 เท่ากับ 2,319.22 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเท่ากับ 285.81 ล้านบาท (12.32%) , มีค่าใช้จ่ายรวมในไตรมาส 4 ปี 2567 เท่ากับ 2,407.77 ล้านบาท เปรียบเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2566 เท่ากับ 2,255.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 152.23 ล้านบาท (6.75%)           และบริษัทมีผลกำไรส่วนที่เป็นของบริษัทฯ สำหรับปี 2567 จำนวน 385.19 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 มีผลกำไรเท่ากับ 119.53 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้นเท่ากับ 265.66 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 222.25 โดยมีรายได้รวมสำหรับปี 2567 เท่ากับ 9,163.94 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปี 2566 เท่ากับ 8,762.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเท่ากับ 401.78 ล้านบาท (4.59%) มีค่าใช้จ่ายรวมสำหรับปี 2567 เท่ากับ 8,619.66 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปี 2566 เท่ากับ 8,600.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.77 ล้านบาท (0.22%) ปัจจัยที่อาจมีผลต่อการดำเนินงานหรือการเติบโตในอนาคต ธุรกิจลูกถ้วยไฟฟ้า           บริษัทเป็นผู้นำในการผลิตและจำหน่ายลูกถ้วยไฟฟ้าที่ใช้ในกิจการไฟฟ้าและพลังงาน โดยมีลูกค้าหลักคือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และบริษัทในภาคธุรกิจวิศวกรรมและก่อสร้าง จากโครงสร้างของอุตสาหกรรมไฟฟ้าภายในประเทศ ทั้งการขยายตัวของธุรกิจที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมนี้จึงขึ้นอยู่กับการดำเนินการของกลุ่มรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้า ดังนั้นหากกลุ่มลูกค้าหลักดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มลด หรือยกเลิกการสั่งซื้อสินค้า ก็จะส่งผลกระทบต่อรายได้และผลกำไรของบริษัท อย่างไรก็ตามการดำเนินกิจการและการขยายโครงการต่างๆ ของ กฟภ. และ กฟน. นั้น เป็นไปตามแผนนโยบายการก่อสร้างและพัฒนาระบบไฟฟ้าและพลังงานของประเทศ ซึ่งจะสอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวมภายในประเทศ โดยในปัจจุบันยังคงมีแนวโน้มการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และประกอบกับทั้ง กฟภ. และ กฟน. มีหลักเกณฑ์ในกระบวนการคัดสรรผู้จำหน่ายสินค้าในขั้นตอนการจัดซื้อที่ชัดเจนและโปร่งใส โดยสินค้าที่จัดซื้อนั้นจะต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากล ซึ่งผลิตภัณฑ์ลูกถ้วยไฟฟ้าทุกรายการที่บริษัทผลิตและจำหน่ายมีคุณภาพและคุณสมบัติที่ดีกว่าหรือเทียบเท่าตามมาตรฐานสากลที่ได้รับการรับรองจากทั้งสถาบันในประเทศและต่างประเทศ ธุรกิจด้านวิศวกรรม           บริษัท เอไอ เอนจิเนียริ่ง เซอร์วิสเซส จำกัด ซึ่งประกอบกิจการในกลุ่มธุรกิจที่แตกต่าง คือ การรับเหมาก่อสร้างและติดตั้งสถานีไฟฟ้าย่อยและสายส่งกำลังไฟฟ้าแรงสูง โดยมีลูกค้าหลักคือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และจากโครงสร้างของอุตสาหกรรมไฟฟ้าภายในประเทศทั้ง กฟภ. ตามโครงสร้างดังกล่าวการขยายตัวของธุรกิจที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมนี้จึงขึ้นอยู่กับการดำเนินการของการไฟฟ้า อย่างไรก็ตามการดำเนินกิจการและการขยายโครงการก่อสร้างและติดตั้งสถานีไฟฟ้าย่อยและสายส่งกำลังไฟฟ้าแรงสูงต่างๆ ของ กฟภ. นั้น เป็นไปตามแผนนโยบายการก่อสร้างและพัฒนาระบบไฟฟ้าและพลังงานของประเทศ ซึ่งจะสอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวมภายในประเทศ โดยในปัจจุบันยังคงมีแนวโน้มการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และประกอบกับทั้ง กฟภ. มีหลักเกณฑ์ในกระบวนการคัดสรรบริษัทที่มีคุณสมบัติ ประสบการณ์ และความสามารถในการจัดการโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ทำให้การแข่งขันในธุรกิจด้านการก่อสร้างและติดตั้งสถานีไฟฟ้าย่อยและสายส่งกำลังไฟฟ้าแรงสูงไม่รุนแรง นอกจากนี้บริษัทได้ให้บริการงานด้านวิศวกรรมแก่ภาคเอกชนเพื่อรับเหมาก่อสร้างระบบไฟฟ้าแรงสูงให้โรงงานอุตสาหกรรมหรือที่อยู่อาศัย เป็นการลดและกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพาลูกค้ารายใหญ่จำนวนไม่กี่รายให้อยู่ในระดับที่ต่ำ รวมทั้งการตกลงราคาอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างให้อยู่ในวงเงินที่กำหนดสำหรับทุกโครงการก่อสร้าง รวมถึงการทำประกันภัยอุบัติเหตุและการถูกโจรกรรมในระหว่างการก่อสร้างทุกโครงการด้วย

สมรภูมิ AI ระอุ หนุนเทคโนโลยีโตกระโดด

สมรภูมิ AI ระอุ หนุนเทคโนโลยีโตกระโดด

             หุ้นวิชั่น - ท่ามกลางการแข่งขันและสงครามเทคโนโลยีที่กำลังร้อนระอุ เทคโนโลยี AI เข้ามามีบทบาทมากขึ้นและยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดด              เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในหลากหลายอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ ซึ่งการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในยุคแรก คือ Machine Learning และต่อมาได้ถูกพัฒนาต่อยอดไปสู่ Deep Learning ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น สำหรับในระยะข้างหน้าเรามองว่าเทรนด์ AI จะมุ่งเน้นไปที่ความสามารถในการตอบโต้กับโลกกายภาพได้มากขึ้น ได้แก่ 1) ยานยนต์ไร้คนขับ ที่เป็นระบบการขับขี่โดยไม่มีมนุษย์ควบคุม 2) เทคโนโลยี Digital Twin ที่สร้างแบบจำลองเสมือนจริงของวัตถุทางกายภาพ และ 3) Avatar AI ที่เป็นการสร้างตัวแทนบุคคลเสมือนจริง ส่งผลให้ตลาดของเทคโนโลยี AI ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยจากข้อมูลของ Statista คาดว่า มูลค่าตลาดของเทคโนโลยี AI มีแนวโน้มเติบโตราว 27.6% ต่อปีในช่วงปี 2025-2030 มาอยู่ที่ 8.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2030 SCB EIC คาดการณ์ว่าแนวโน้มความต้องการเทคโนโลยี AI ในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลให้ผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของเทคโนโลยี AI เติบโตต่อเนื่อง              กลุ่มที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน AI ประกอบไปด้วยกลุ่มฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล เช่น Data center และ Cloud service ไปจนถึงกลุ่มผู้ให้บริการที่เป็นผู้พัฒนาโปรแกรมหรือแอปพลิเคชัน SCB EIC คาดการณ์ว่ากลุ่มธุรกิจที่จะได้ประโยชน์ คือ 1) ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ นับตั้งแต่ผู้ผลิตเครื่องจักรสำหรับผลิตชิปขั้นสูงอย่าง ASML ผู้ผลิตและออกแบบชิป (NVIDIA) ผู้รับจ้างผลิต (TSMC) ไปจนถึงกลุ่มให้บริการแพ็กเกจ ประกอบและทดสอบชิป 2) อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ ซึ่งปัจจุบันธุรกิจต่าง ๆ ได้เริ่มนำเอาซอฟต์แวร์ AI มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น เช่น ธุรกิจ Healthcare ที่นำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลด้านสุขภาพ วินิจฉัยและรักษาโรค รวมถึงการดูแลผู้ป่วย เป็นต้น ทั้งนี้ Gartner คาดการณ์ว่าตลาดซอฟต์แวร์ AI มีแนวโน้มจะเติบโตเฉลี่ยราว 19% ต่อปีในช่วงปี 2023-2027 3) ธุรกิจ AI applications ไม่ว่าจะเป็น ChatGPT และ Google Gemini ที่มีการแข่งขันกันในการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยอัจฉริยะที่สามารถให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือในการสร้างสรรค์ข้อมูลใหม่ โดยคาดว่า ชิป ASIC ที่ถูกนำไปใช้งานในแอปพลิเคชัน AI ต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนได้จากข้อมูลของ J.P. Morgan ที่ระบุว่า ยอดขายชิป ASIC โลก มีแนวโน้มเติบโตราว 42% ต่อปีในช่วงปี 2023-2028 มาอยู่ที่ 9.9 ล้านชิ้นในปี 2028              อย่างไรก็ดี เทคโนโลยี AI กำลังเติบโตท่ามกลางความท้าทายจากทั้งความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์และการผูกขาดทางการค้าจากผู้เล่นรายใหญ่ นโยบายการค้าการลงทุนของโดนัลด์ ทรัมป์ ในช่วงที่ผ่านมาส่งผลต่อแนวโน้มการเติบโตของเทคโนโลยี AI อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งแผนที่จะทุ่มงบประมาณเพื่อดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมชิปและเทคโนโลยี AI ในประเทศ และทรัมป์ยังคงดำเนินนโยบายและเพิ่มมาตรการควบคุมการส่งชิปขั้นสูงไปจีนเพื่อกีดกันจีนจากการพัฒนาแอปพลิเคชัน AI ต่อจากโจ ไบเดน นอกจากนี้ ในปัจจุบัน ตลาดชิป AI ของโลกยังคงถูกผูกขาดด้วยผู้เล่นรายใหญ่ของสหรัฐฯ ขณะที่ NVIDIA ได้ครองตลาดชิป GPU เรายังพบอีกว่า Google ซึ่งเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ได้เป็นเจ้าตลาดในฝั่งของชิป ASIC ซึ่งอาจส่งผลให้ชิป AI มีราคาสูงขึ้นและเกิดปัญหาอุปทานคอขวดจากขาดแคลนชิปในระยะต่อไปได้ SCB EIC ประเมินว่าจากแนวโน้มความต้องการเทคโนโลยี AI ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะส่งผลดีต่อกลุ่มผู้ผลิตชิปและส่วนประกอบที่ไม่รวมชิปต้นน้ำ              ผู้ประกอบการไทยจะได้ประโยชน์ใน 2 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการส่งออก เช่น กลุ่มผู้ผลิตชิปและส่วนประกอบที่ไม่รวมชิปต้นน้ำ ซึ่งปัจจุบันไทยอยู่ในกลุ่มผู้ให้บริการแพ็กเกจ ประกอบและทดสอบชิป และกลุ่มคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ที่เราประเมินว่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มดังกล่าวไปยังสหรัฐฯ มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากการที่สหรัฐฯ ทดแทนการนำเข้าสินค้าจากจีน และเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี AI โดยคาดว่าในปี 2024  ไทยจะมีสัดส่วนการส่งออกชิปและคอมพิวเตอร์ไปยังตลาดสหรัฐฯ มากถึง 83% และ 40% ของการส่งออกสินค้าในหมวดนี้ทั้งหมด 2) ด้านการลงทุน นับตั้งแต่เกิดสงครามเทคโนโลยีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ได้ส่งผลให้เกิดการขยายการลงทุนมายังอาเซียนรวมถึงไทย สะท้อนได้จากข้อมูลของ BOI พบว่า ในปี 2023 ต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรม E&E โดยมีโครงการขนาดใหญ่ เช่น การผลิต Wafer การประกอบและทดสอบชิป นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจ Data center และ Cloud service ที่มีมูลค่าเงินลงทุนมากกว่า 167,989 ล้านบาท ซึ่งแนวโน้มการลงทุนในธุรกิจดังกล่าวเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการรองรับการเติบโตของกลุ่มเทคโนโลยี AI ในอนาคต อย่างไรก็ดี ไทยยังมีอุปสรรคและความท้าทายจากการพัฒนาสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงเพื่อรองรับเทคโนโลยี AI ที่ส่งผลให้ยังเป็นรองจากประเทศคู่แข่ง              ปัจจุบันสหรัฐฯ มีสัดส่วนพึ่งพาการนำเข้าอุปกรณ์ชิปจากไทยเพียง 7% เมื่อเทียบกับสัดส่วนการพึ่งพาการนำเข้าจากมาเลเซียที่มากกว่า 17% ของการนำเข้าชิปทั้งหมดของสหรัฐฯ ทั้งนี้อุปสรรคสำคัญของไทยที่ส่งผลให้ยังมี ส่วนแบ่งตลาดที่น้อยกว่าคู่แข่งเนื่องมาจากการขาดความพร้อมของห่วงโซ่อุปทานการผลิตสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง อย่างเช่นชิปต้นน้ำ โดยนอกจากนี้ ไทยยังขาดการวิจัยและพัฒนาในกลุ่มสินค้านวัตกรรมใหม่ และยิ่งไปกว่านั้นเอง ไทยยังคงเผชิญกับปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะดิจิทัลและเทคโนโลยี ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับไทยในการพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าไฮเทคให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งสำคัญต่าง ๆ ได้ ไทยควรเร่งมือเดินหน้าจัดกระบวนทัพทางเทคโนโลยีใหม่ เริ่มต้นจากการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ส่งเสริมการลงทุนที่ครอบคลุมกลุ่มสินค้าไฮเทคโนโลยีมากขึ้น              ไทยจะต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างในภาคการผลิตเพื่อรองรับการผลิตชิปขั้นสูง สินค้าคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับ AI ไปจนถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและหน่วยความจำที่สามารถรองรับเทคโนโลยี AI  โดยจะต้องเร่งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ร่วมกับการพัฒนาแรงงานที่มีทักษะสูงทั้งกลุ่มแรงงานที่มีอยู่เดิมและกลุ่มแรงงานใหม่ เช่น วิศวกรเซมิคอนดักเตอร์และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ผู้เชี่ยวชาญ ที่ยังขาดแคลนอยู่เป็นจำนวนมากและเป็นความเสี่ยงต่อภาคการผลิตในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง ขณะเดียวกัน ภาครัฐต้องเร่งพัฒนาเพื่อสร้างความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและระบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อรองรับการเข้ามาลงทุนของกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำในไทย และสิ่งที่จะขาดไม่ได้คือการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อที่ไทยจะได้ก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีที่สำคัญแห่งอาเซียนและตอบโจทย์ความยั่งยืนในอนาคตไปพร้อม ๆ กัน รู้เท่าทันเทคโนโลยี … AI สำคัญอย่างไร ?              เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในภาคธุรกิจ ได้นำไปสู่การปฏิวัติทางเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ท่ามกลางการแข่งขันและสงครามเทคโนโลยีที่กำลังร้อนระอุ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือยุคทองของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจโดยจากข้อมูลของ Statista คาดการณ์ว่า มูลค่าตลาดของเทคโนโลยี AI มีแนวโน้มขยายตัวจาก 2.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2025 มาอยู่ที่ 8.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2030 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 27.6% ในช่วงระหว่างปี 2025-2030  ซึ่งการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ได้กลายเป็นทั้งความเสี่ยงและโอกาสที่ต้องจับตามอง สำหรับด้านความเสี่ยง AI ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการก่ออาชญากรรมและการหลอกลวงทางธุรกิจและทำให้การตรวจจับทำได้ยากขึ้น เช่นเดียวกันหากภาคธุรกิจพึ่งพา AI มากจนเกินไป ก็อาจส่งผลให้บริษัทหรือองค์กรขาดความเข้าใจในกระบวนการตัดสินใจแบบมนุษย์และอาจมองข้ามปัญหาที่แท้จริงในองค์กรไปได้ แต่ในทางกลับกัน ในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขันทางธุรกิจและเทคโนโลยี หากองค์กรไม่มีการปรับตัวหรือไม่ได้นำ AI มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ก็อาจจะส่งผลให้เกิดข้อเสียเปรียบคู่แข่งได้เช่นกัน และด้วยเหตุนี้เองภาคธุรกิจจึงได้ยอมรับความเสี่ยงและมองเห็นโอกาสในการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น              โดยการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในช่วงแรกคือยุคของ Machine Learning (ML)[1] ที่ถือได้ว่าเป็น AI ขั้นพื้นฐานและถูกนำมาใช้ในการพัฒนาระบบการพยากรณ์ ที่นิยมนำมาใช้ทั้งในภาคการเงิน การตลาด และ Healthcare เป็นต้น ต่อมา ML ถูกพัฒนาต่อยอดไปสู่การเรียนรู้เชิงลึกหรือ Deep Learning ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ในช่วงที่สองคือยุคของ Generative AI ที่เปิดตัวในช่วงปลายปี 2022 และทำให้ทั่วโลกได้รู้จักเทคโนโลยี AI กันมากขึ้น โดย Gen AI คือรูปแบบหนึ่งของเทคโนโลยี AI ที่ใช้อัลกอริทึมเชิงลึกที่สามารถสร้างเนื้อหาใหม่อัตโนมัติภายใต้ข้อมูลจำนวนมากที่ถูกป้อนไว้ในระบบ โดย Gen AI ถูกนำไปใช้ในระบบการถามตอบอัตโนมัติที่สามารถสร้างรูปภาพ เพลง หรือคอนเทนต์ใหม่ให้กับผู้ใช้งาน ซึ่ง Gen AI ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ได้แก่ ChatGPT ของ OpenAI และ Gemini ของ Google (รูปที่ 1)                สำหรับเทรนด์ AI ที่น่าจับตามองในระยะข้างหน้าจะมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยี AI ที่สามารถตอบโต้กับโลกกายภาพได้มากขึ้น ได้แก่ 1) ยานยนต์ไร้คนขับ ที่นำเทคโนโลยี AI มาช่วยในระบบการขับขี่โดยไม่มีมนุษย์ควบคุม ปัจจุบันบริษัท Google ได้เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า Waymo ที่เป็นแท็กซี่ไร้คนขับซึ่งมีการเปิดให้บริการในตลาดสหรัฐฯ 2) เทคโนโลยี Digital Twin คือ การนำเทคโนโลยี AI มาสร้างแบบจำลองเสมือนจริงของวัตถุทางกายภาพอย่างเช่น แบบจำลองโรงงานที่สามารถเชื่อมต่อได้ตั้งแต่อุปกรณ์หรือเครื่องจักรไปจนถึงสายพานการผลิต โดยติดตั้งอุปกรณ์เซนเซอร์ IoT เพื่อเชื่อมต่อระหว่างวัตถุกับภาพเสมือนจริงแบบ Real-time ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยคาดว่า Digital Twin จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมได้ เช่น การปรับปรุงกระบวนการผลิต การบำรุงรักษา การตรวจสอบการปล่อยมลพิษทางอากาศ น้ำ และขยะในโรงงาน เป็นต้น 3) Avatar AI เป็นการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการสร้างตัวแทนบุคคลเสมือนจริงที่ถูกขับเคลื่อนด้วยอัลกอลิทึมขั้นสูง โดย Avatar สามารถตอบสนองและสื่อสารได้แบบ Real-time ทั้งข้อความ เสียง การแสดงพฤติกรรมผ่านภาพเคลื่อนไหว (รูปที่ 1)           รูปที่ 1 : ในระยะข้างหน้า เทคโนโลยี AI มีแนวโน้มที่จะถูกนำไปใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่างโลกดิจิทัลกับโลกกายภาพมากขึ้น                 ในโลกที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้ส่งผลให้เกิดห่วงโซ่อุปทานใหม่ ในกลุ่มสินค้าไฮเทค โดยกลุ่มที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน AI ประกอบด้วย 1) กลุ่มฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์  ซึ่งเป็นหัวใจหลักของระบบการควบคุมการทำงานของเทคโนโลยี AI 2) โครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล (Data infrastructure) ที่เน้นไปที่โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลสำหรับการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก อย่างเช่นกลุ่ม Data center และ Cloud service ไปจนถึงระบบการป้องกันและการรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ 3) กลุ่มผู้ให้บริการ (Service provider) คือกลุ่มผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม โปรแกรม หรือ แอปพลิเคชัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่ม AI (รูปที่ 2)           รูปที่ 2 : กลุ่มผู้ผลิตสินค้าไฮเทค เช่น ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ และธุรกิจ AI applications เป็นกลุ่มที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากแนวโน้มความต้องการเทคโนโลยี AI SCB EIC คาดการณ์ว่าแนวโน้มความต้องการเทคโนโลยี AI ในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้ผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของเทคโนโลยี AI เติบโตต่อเนื่องตามไปด้วย ดังนี้ (รูปที่ 2) 1) ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ เป็นหนึ่งในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเทคโนโลยี AI โดยจากข้อมูลของ Gartner คาดการณ์ว่ารายได้ชิป AI ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 7.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2024 มาอยู่ที่ 1.97 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2028 และมีอัตราเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 29.7% ในช่วงระหว่างปี 2024-2028 โดยกลุ่มที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานการผลิตชิปที่จะได้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเครื่องจักรสำหรับผลิตชิป (Equipment) คือกลุ่มที่มีการลงทุนซื้อเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างบริษัท ASML ของเนเธอร์แลนด์ ที่มีหน้าที่ทำการผลิตเครื่องจักรตามคำสั่งของกลุ่มผู้ออกแบบ หรือ Fabless โดย ASML คาดการณ์ว่ายอดขายเครื่องจักร EUV lithography[1] จะขยายตัวอยู่ที่ราว 8-14% ในช่วงระยะ 5 ปีข้างหน้า จากแรงหนุนของความต้องการเครื่องจักร EUV lithography ที่เติบโตขึ้นต่อเนื่อง จากการผลิตชิปประสิทธิภาพสูงเพื่อรองรับเทคโนโลยี AI กลุ่มผู้ออกแบบ หรือ Fabless ในปัจจุบันกลุ่มผู้ออกแบบบางส่วนมุ่งไปที่การออกแบบเพื่อพัฒนาการผลิตชิป AI เช่น สหรัฐฯ (NVIDIA, Broadcom, AMD, Qualcomm และ Microsoft) และไต้หวัน (MediaTek) ซึ่งชิปขั้นสูงส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในกลุ่มธุรกิจ Data center คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน และยานยนต์ไฟฟ้า กลุ่มผู้ผลิตชิปครบวงจร (Integrated Device Manufacturer หรือ IDM) เป็นกลุ่มที่ทั้งออกแบบ ผลิต และจัดจำหน่าย ผู้เล่นในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมีโรงงานผลิตชิปและมีแบรนด์สินค้าเป็นของตัวเอง เช่น บริษัท Intel และ Micron (สหรัฐฯ) และ Samsung (เกาหลีใต้) โดยจากข้อมูลล่าสุดพบว่า Intel ได้มีการเปิดตัวชิปประมวลผล AI รุ่นใหม่ คือ Intel Gaudi 3 เพื่อที่จะนำมาแข่งกับชิป NVIDIA H100 (สหรัฐฯ) ที่เปิดตัวไปในช่วงปี 2022 ซึ่งการเปิดตัวชิปรุ่นใหม่ของ Intel มุ่งไปที่ลูกค้ากลุ่มประมวลผลข้อมูลเป็นหลักเช่นเดียวกันกับบริษัท Nvidia กลุ่มผู้รับจ้างผลิตชิปขั้นสูง เช่น TSMC (ไต้หวัน) และ Samsung (เกาหลีใต้) ที่เป็นผู้รับจ้างผลิตชิปรายใหญ่ของโลก ซึ่งปัจจุบัน TSMC ยังเป็นผู้ถือครองสัดส่วนการผลิตชิปขั้นสูงที่มีขนาดต่ำกว่า 7 นาโนเมตร อยู่ราว 92% ของสัดส่วนการผลิตชิปขั้นสูงทั้งหมด กลุ่มให้บริการแพ็กเกจชิป ประกอบและทดสอบชิป (Outsourced Semiconductor Assembly and Test : OSAT) โดยคาดว่ากลุ่มผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ขั้นสูง (Advanced packaging) จะสามารถขยายตัวได้ดีไปในทิศทางเดียวกันกับกลุ่มผู้ผลิตชิป AI ด้วยการนำเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ขั้นสูงมาใช้ ซึ่งสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ผลิตชิปขั้นสูงได้ดีกว่าบรรจุภัณฑ์ทั่วไป ทั้งขนาดที่เล็กลง มีความเร็วในการเชื่อมต่อในระดับสูง รวมไปถึงมีการจัดการความร้อนและป้องกันความเสียหายของผลิตภัณฑ์ได้ดีกว่าบรรจุภัณฑ์ชิปทั่วไป โดยปัจจุบันผู้นำตลาด OSAT อย่างบริษัท ASE (ไต้หวัน) และบริษัท Amkor (สหรัฐฯ) ที่ถือครองสัดส่วนในตลาด 30% และ 6% ตามลำดับ ได้เริ่มมีการลงทุนเพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ขั้นสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เล่นในกลุ่ม 5G, AI และกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า 2) อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่อง จากการที่คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบมีส่วนช่วยในการพัฒนาความสามารถของเทคโนโลยี AI ขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจก็ได้เริ่มนำซอฟต์แวร์ AI มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลเชิงลึกและคาดการณ์ผลลัพธ์จากข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาลมากขึ้น ซึ่งทำให้ภาคธุรกิจสามารถวางแผนเพื่อตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น สะท้อนได้จากข้อมูลของบริษัทวิจัย Gartner ที่ได้คาดการณ์ว่าตลาดซอฟต์แวร์ AI มีแนวโน้มจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องจาก 18% ในปี 2024 มาอยู่ที่ 20% ในปี 2027 โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 19% ในช่วงระหว่างปี 2023-2027 หรือสามารถขยายตัวได้ถึง 9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2027 (รูปที่ 3)            รูปที่ 3 : จากมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์ AI ของโลกที่ขยายตัวต่อเนื่อง การลงทุนซอฟต์แวร์ AI ส่วนใหญ่ยังอยู่ในกลุ่มภาครัฐและการเงิน ขณะที่ภาคธุรกิจมีแนวโน้มที่จะลงทุนในเทคโนโลยี AI มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม Healthcare ประกันภัย และภาคอุตสาหกรรม              โดยจากข้อมูลพบว่า ภาคธุรกิจวางแผนที่จะลงทุนในซอฟต์แวร์ AI และเริ่มนำ AI มาใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น 1) ธุรกิจ Healthcare ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ ได้มีการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลด้านสุขภาพและฝึกฝนโมเดล AI เพื่อใช้ในการวินิจฉัยและรักษาโรค รวมถึงการดูแลผู้ป่วย เป็นต้น โดยคาดว่าจะมีมูลค่าการลงทุนซอฟต์แวร์ AI มากถึง 11,980 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2027 2) ธุรกิจประกันภัย ที่จำเป็นต้องมีการจัดเก็บข้อมูลลูกค้าจำนวนมหาศาล ก็ได้เริ่มมีการนำ AI มาใช้ตั้งแต่การตรวจพิสูจน์เอกสารปลอม การกำหนดราคาและการประเมินความเสี่ยง ไปจนถึงการพัฒนาแบบจำลองเพื่อกำหนดอัตราการให้บริการในอนาคต ทั้งนี้คาดว่าธุรกิจประกันภัยจะมีแนวโน้มที่จะลงทุนซอฟต์แวร์ AI อย่างต่อเนื่อง และอาจมีมูลค่าการลงทุนมากถึง 9,601 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2027 3) อุตสาหกรรมการผลิต เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มที่จะลงทุนซอฟต์แวร์ AI มากขึ้นเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต โดยนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในระบบ ERP[1] เพื่อช่วยให้ผู้ผลิตสามารถวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างแม่นยำ รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นับตั้งแต่การวางแผนภายในกระบวนการผลิต การเก็บข้อมูลแบบเรียลไทม์ การบริหารจัดการสินค้าคงคลังหรือใช้คาดการณ์ความล่าช้าของซัพพลายเออร์ ไปจนถึงการเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า เช่น การนำแชตบอท AI มาใช้ในโปรแกรมการถาม-ตอบลูกค้าแบบอัตโนมัติเพื่อปรับปรุง Customer experience ให้ตรงความต้องการของลูกค้ามากขึ้น 4) อุตสาหกรรมยานยนต์ เทคโนโลยี AI กลายเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ ผู้ผลิตกลุ่มยานยนต์ใช้เทคโนโลยี AI ทั้งในส่วนของห่วงโซ่อุปทานการผลิต สร้างระบบยานยนต์ไร้คนขับ (Autonomous vehicles) และระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (Advanced Driver Assistance Systems หรือ ADAS) ปรับปรุงการให้บริการลูกค้า เช่น การคาดการณ์การบำรุงรักษารถยนต์ โดยเรามองว่าตลาด AI ในอุตสาหกรรมยานยนต์จะเติบโตต่อเนื่อง สอดคล้องกับข้อมูลของ Fortune Business Insights ที่คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาด AI ในอุตสาหกรรมยานยนต์โลกจะเติบโตสูงจาก 32,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2025 มาอยู่ที่ 74,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2030 โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 22.8% ในช่วงปี 2025-2030 3) ธุรกิจ AI applications มีแนวโน้มถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น และมีการแข่งขันกันพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ChatGPT AI chatbot ของบริษัท OpenAI และ Google Gemini ของบริษัท Google ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยอัจฉริยะที่สามารถตอบโต้หรือให้คำแนะนำ และให้ความช่วยเหลือในการสร้างสรรค์ข้อมูลใหม่ โดยคาดว่า ชิป ASIC ที่ถูกนำไปใช้งานในแอปพลิเคชัน AI ต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนได้จากข้อมูลของ P. Morgan ที่ระบุว่า ยอดขายชิป ASIC โลก[2] มีแนวโน้มขยายตัวจาก 1.7 ล้านชิ้นในปี 2023 มาอยู่ที่ 9.9 ล้านชิ้นในปี 2028 โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 42% ในช่วงปี 2023-2028 (รูปที่ 4)           รูปที่ 4 : ในระยะข้างหน้าคาดการณ์ว่า Google ยังคงเป็นผู้ผลิตชิป ASIC รายใหญ่ของโลก ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการที่ Apple หันมาพึ่งพาชิป และ Gen AI ของ Google มากขึ้น           อย่างไรก็ดี เทคโนโลยี AI กำลังเติบโตท่ามกลางความท้าทายจากทั้งความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์และการผูกขาดทางการค้าจากผู้เล่นรายใหญ่ นโยบายการค้าการลงทุนของโดนัลด์ ทรัมป์ ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลต่อแนวโน้มการเติบโตของเทคโนโลยี AI อย่างมีนัยสำคัญ ท่ามกลางสมรภูมิ AI ยังคงมีความท้าทายและข้อกังวลอยู่ไม่น้อย จากสงครามเทคโนโลยีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยการกลับมาของทรัมป์คาดว่าจะส่งผลดีต่อบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ เห็นได้จากผู้บริหารรายใหญ่หลายบริษัทต่างออกมาสนับสนุนทรัมป์อย่างเปิดเผย ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารจาก Tesla และ SpaceX, Amazon Alphabet และ Apple เนื่องจากทรัมป์มีแผนที่จะทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และเทคโนโลยี AI ภายในประเทศ ซึ่งยังคงต้องติดตามแผนการพัฒนาการลงทุน AI ของสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ทรัมป์ยังคงดำเนินนโยบายและเพิ่มมาตรการควบคุมการส่งออกชิปขั้นสูงไปจีน เพื่อกีดกันจีนจากการพัฒนาแอปพลิเคชัน AI ต่อจากโจ ไบเดน โดยล่าสุด ได้มีการออกประกาศกฎใหม่เพื่อเพิ่มมาตรการควบคุมการส่งออกชิปขั้นสูงไปจีนและสั่งห้ามไม่ให้นักลงทุนสัญชาติสหรัฐฯ ลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยีในจีน ฮ่องกง และมาเก๊า ซึ่งรวมไปถึงการลงทุนชิปและเทคโนโลยี AI โดยจะมีผลบังคับใช้ต้นเดือนมกราคม 2025 เป็นต้นไป อย่างไรก็ดี ความพยายามของทรัมป์ที่จะดึงการลงทุนเซมิคอนดักเตอร์และเทคโนโลยี AI กลับมายังสหรัฐฯ มากขึ้น โดยแม้ว่าจะส่งผลดีต่อสหรัฐฯ ในด้านการกระจายความเสี่ยงจาก Supply shortage แต่ในทางกลับกัน อาจส่งผลให้ประเทศในกลุ่มที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีของสหรัฐฯ เข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงได้ยากขึ้นในอนาคต           ยิ่งไปกว่านั้น ปัจจุบันตลาดชิป AI ยังคงถูกผูกขาดด้วยผู้เล่นรายใหญ่สัญชาติสหรัฐฯ อย่าง Nvidia ที่ครองตลาดชิป GPU ขณะที่ Google เอง ก็ได้เป็นเจ้าตลาดใหญ่ในฝั่งชิป ASIC โดย SCB EIC มองว่า แนวโน้มความต้องการเทคโนโลยี AI ที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเอื้อประโยชน์ต่อผู้ผลิตชิปที่สามารถเข้ามาในตลาดได้ก่อนผู้ผลิตชิปรายอื่น (First-mover advantage) เนื่องจากในปัจจุบันตลาดชิป AI ของโลกยังคงถูกผูกขาดด้วยผู้เล่นรายใหญ่ของสหรัฐฯ อย่างเช่น Nvidia ที่ครองตลาดชิป GPU  ทั้งนี้ บริษัท Nvidia ได้หันมาผลิตและลงทุนในอุตสาหกรรมชิป AI นับตั้งแต่ปี 2019 โดยรายได้ของบริษัทมีแนวโน้มที่จะพึ่งพาคำสั่งซื้อจากกลุ่มธุรกิจ Data center มากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุด พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2024 Nvidia มีรายได้อยู่ที่ 30,040 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือโตขึ้น 122% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า โดยราว 78% ของรายได้ทั้งหมดมาจากการผลิตชิป AI เพื่อรองรับความต้องการของกลุ่ม Data center เป็นหลัก รองลงมาคือ กลุ่มคอมพิวเตอร์ และกลุ่มยานยนต์ ในสัดส่วนราว 17% และ 3% ตามลำดับ ขณะเดียวกัน Nvidia ยังคงวางแผนการพัฒนาชิปขั้นสูงอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด (ต.ค. 2024) ได้ร่วมมือกับ MediaTek เพื่อที่จะพัฒนาชิป AI PC ขนาด 3 นาโนเมตร สำหรับใช้ในกลุ่ม AI PC โดยชิปรุ่นดังกล่าวมีแผนวางจำหน่ายในช่วงกลางปี 2025 ซึ่งจะทำให้การแข่งขันในกลุ่มอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นในระยะถัดไป โดยเราคาดการณ์ว่า Nvidia จะยังคงเป็นผู้ผลิตชิป GPU รายสำคัญของโลกต่อไป อย่างไรก็ดี ยังคงต้องจับตาบริษัท Advanced Micro Devices (AMD) ที่เริ่มเข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดมากขึ้นเรื่อย ๆ  โดยนำกลยุทธ์ด้านราคามาใช้ ซึ่งอาจส่งผลให้ในระยะข้างหน้า Nvidia จะไม่ใช่ผู้เล่นเจ้าเดียวที่ผูกขาดในตลาดชิป GPU อีกต่อไป (รูปที่ 5)           ขณะที่ Nvidia ได้ครองตลาดชิป GPU เรายังพบอีกว่า Google ซึ่งเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ได้เป็นเจ้าตลาดในฝั่งของชิป ASIC  (รูปที่ 6) และเป็นบริษัทเทคโนโลยีรายแรกที่เริ่มผลิตชิป ASIC โดย Google ได้เริ่มเปิดตัวชิป TPU ซึ่งเป็นชิปสำหรับใช้ใน AI applications ต่าง ๆ โดยคาดการณ์ว่าภายในปี 2026 Google จะยังเป็นเจ้าตลาดของชิป ASIC ซึ่งล่าสุด Apple ได้ประกาศว่า บริษัทอยู่ระหว่างการทดลองใช้ชิป TPUv4 ซึ่งพัฒนาโดย Google เพื่อเทรนโมเดล AI ของตัวเอง โดยคาดว่า Apple จะสามารถเปิดตัวใช้งานฟีเจอร์ AI ตัวใหม่อย่างเต็มรูปแบบนี้ได้ใน iPhone และ Mac ภายในปี 2025 อย่างไรก็ดี จากการที่ Nvidia ได้ครองตลาดชิป GPU ในฝั่งของชิปประมวลผลไปแล้ว ในส่วนของ Google เองก็ได้เป็นเจ้าตลาดของฝั่งชิป ASIC ซึ่งอาจส่งผลให้ชิป AI มีราคาสูงขึ้นและเกิดปัญหาอุปทานคอขวดจากขาดแคลนชิปในระยะต่อไปได้ SCB EIC ประเมินว่าแนวโน้มความต้องการเทคโนโลยี AI ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการไทย ดังนี้             1)ด้านการส่งออก SCB EIC มองว่าการส่งออกสินค้าของไทยในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทาน AI มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง เช่น กลุ่มชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์และส่วนประกอบที่ไม่รวมชิปต้นน้ำ ซึ่งปัจจุบันไทยอยู่ในกลุ่มผู้ให้บริการแพ็กเกจและทดสอบชิปเป็นหลัก และกลุ่มคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบที่ถือได้ว่าเป็นชิ้นส่วนและอุปกรณ์ไอทีที่สำคัญที่มีส่วนช่วยในการในห่วงโซ่อุปทาน AI ซึ่งเราประเมินว่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มดังกล่าวมีแนวโน้มเติบโตได้ดี โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐฯ เพื่อทดแทนการนำเข้าจากจีน และจากการที่สหรัฐฯ เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี AI และมีการลงทุนด้านนี้อย่างต่อเนื่อง โดยจากข้อมูลเบื้องต้นในปี 2024 พบว่าไทยมีสัดส่วนการส่งออกเซมิคอนดักเตอร์และคอมพิวเตอร์ไปยังตลาดสหรัฐฯ มากถึง 83% และ 40% ของการส่งออกสินค้าในหมวดนี้ทั้งหมด (รูปที่ 7) ซึ่งแน่นอนว่าแนวโน้มการลงทุนด้าน AI ในสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นจะเป็นโอกาสให้ไทยส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน AI ไปยังตลาดสหรัฐฯ ได้มากขึ้นตามไปด้วย สะท้อนได้จากข้อมูลของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่ระบุว่า ในปี 2023 สหรัฐฯ มีมูลค่าการลงทุนในเทคโนโลยี AI สูงเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมมากถึง 72 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ             รูปที่ 7 : การส่งออกชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์และคอมพิวเตอร์ของไทยไปยังสหรัฐฯ ที่เป็นประเทศคู่ค้าหลักมีแนวโน้มเติบโตได้ดี จากการที่สหรัฐฯ ขยายการลงทุนในห่วงโซ่อุปทาน AI และลดการพึ่งพาการนำเข้าอุปกรณ์ไอทีจากจีน           2)ด้านการลงทุน นับตั้งแต่เกิดสงครามเทคโนโลยีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ได้ส่งผลให้เกิดการขยายการลงทุนในกลุ่มอาเซียน โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านไอทีที่เป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ หลายแห่ง ได้ทยอยย้ายฐานการผลิตออกจากจีน รวมถึงจีนเองก็ได้เริ่มเข้ามาลงทุนในกลุ่มอาเซียนซึ่งรวมถึงไทยมากขึ้น สะท้อนได้จากข้อมูลของ BOI ที่พบว่ามีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรม E&E มากถึง 40% ของเงินลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด โดยคาดว่าการเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต้นน้ำ จะส่งผลให้ FDI ขยายตัวสูงขึ้น โดยมีโครงการขนาดใหญ่[1] ที่ได้รับการอนุมัติในช่วง 9 เดือนแรกปี 2024 คือ การผลิตอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง Wafer, การประกอบและทดสอบชิป วงจรรวม มูลค่ารวม 19,856 ล้านบาท และผลิตแผงวงจรพิมพ์ (PCB) มูลค่ารวม 61,302 ล้านบาท (รูปที่ 8) นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มธุรกิจ Data center และ Cloud service ที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI รวมมูลค่าเงินลงทุนมากกว่า 167,989 ล้านบาท จากทั้งนักลงทุนรายใหญ่สัญชาติสหรัฐฯ (AWS และ Google) จีน (Huawei และ Alibaba) และออสเตรเลีย (NextDC) เป็นต้น รวมถึงผู้เล่นสัญชาติไทยเองก็ได้มีการลงทุนในธุรกิจ Data center อาทิ True idc และ GSA ที่เป็นการร่วมทุนระหว่าง Gulf, Singtel และ AIS โดย SCB EIC มองว่าแนวโน้มการลงทุนในกลุ่มธุรกิจ Data center และ Cloud service ของไทยที่เพิ่มสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด จะเป็นแรงขับเคลื่อนและก้าวสำคัญของไทยเพื่อรองรับการเติบโตของกลุ่มเทคโนโลยี AI สอดคล้องกับข้อมูลของ Mckinsey ที่ประเมินว่ามูลค่าตลาด Data center ของโลก มีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นจาก 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2024 มาอยู่ที่ 5.8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2032 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย ในช่วงปี 2024-2032 ที่ 11.6% ต่อปี           รูปที่ 8 : ต่างชาติมีแนวโน้มเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม E&E , กลุ่ม Data center และ Cloud service           อย่างไรก็ดี แม้ไทยจะมีโอกาสในการขยายการส่งออกสินค้าและการลงทุนในห่วงโซ่อุปทานของเทคโนโลยี AI มากขึ้น แต่ความสามารถในการแข่งขันของไทยยังค่อนข้างจำกัดเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง เนื่องจากยังมีอุปสรรคในการพัฒนาสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงเพื่อรองรับเทคโนโลยี AI ซึ่งแม้ว่าการส่งออกชิ้นส่วนชิปของไทยจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการส่งออกไปสหรัฐฯ แต่ยังคงน้อยกว่าคู่เเข่งอย่างมาเลเซียเกือบเท่าตัว โดยพบว่า สหรัฐฯ มีสัดส่วนพึ่งพาการนำเข้าอุปกรณ์ชิปจากไทยเพียง 7% เมื่อเทียบกับสัดส่วนการพึ่งพาการนำเข้าจากมาเลเซียที่มากกว่า 17% ของการนำเข้าชิปทั้งหมดของสหรัฐฯ (รูปที่ 9) ทั้งนี้อุปสรรคสำคัญของไทยที่ส่งผลให้ยังมีส่วนแบ่งตลาดที่น้อยกว่าคู่แข่งเนื่องมาจากการขาดความพร้อมของห่วงโซ่อุปทานการผลิตสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง อย่างเช่นชิปต้นน้ำ โดยนอกจากนี้ ไทยยังขาดการวิจัยและพัฒนาในกลุ่มสินค้านวัตกรรมใหม่ ยิ่งไปกว่านั้น ไทยยังคงเผชิญกับปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะดิจิทัลและเทคโนโลยี โดยจากผลสำรวจความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลของ IMD พบว่า ในปี 2023 ไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้านองค์ความรู้ดิจิทัลและเทคโนโลยีอยู่ในลำดับที่ 41 จากประเทศสมาชิกทั้งหมด 63 ประเทศ และอยู่ในอันดับ 3 เมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนที่เข้าร่วม 5 ประเทศ โดยสิงคโปร์มีความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยีและแรงงานทักษะสูง ขณะที่มาเลเซียมีข้อได้เปรียบจากการเป็นผู้ประกอบและทดสอบชิปที่แข็งแกร่งและมีบริษัทไอทียักษ์ใหญ่อย่าง Intel และ Infineon เข้าไปลงทุน จนมาเลเซียสามารถขยับขึ้นมาเป็นผู้ผลิตชิปต้นน้ำได้ นอกจากนี้ สาเหตุที่นักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนในสิงคโปร์หรือมาเลเซียมากกว่าไทย ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและดิจิทัลที่สามารถรองรับสายพานการผลิตได้ดีกว่า เนื่องจากในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ซึ่งเทคโนโลยีมีความซับซ้อนค่อนข้างสูงกว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป การมีระบบไฟฟ้าที่มีความเสถียรจะมีความสำคัญเนื่องจากเมื่อเกิดปัญหาไฟฟ้าดับ จะส่งผลเสียต่อกระบวนการผลิตอย่างมหาศาล มองกลับมาที่ไทยเราจะต้องมีการเตรียมความพร้อมให้มากขึ้นในการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง โดยเฉพาะในด้านกระบวนการผลิตเพื่อรองรับเทคโนโลยี AI ที่เติบโตอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้มากขึ้น               รูปที่ 9 : สหรัฐฯ มีแนวโน้มพึ่งพาการนำเข้าชิ้นส่วนชิปจากอาเซียนซึ่งรวมถึงไทยมากขึ้น เพื่อทดแทนการนำเข้าจากจีน           ท่ามกลางสมรภูมิเทคโนโลยีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น ไทยจะต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างในภาคการผลิตเพื่อรองรับการผลิตชิปขั้นสูง สินค้าคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับ AI ไปจนถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและหน่วยความจำที่สามารถรองรับเทคโนโลยี AI โดยจะต้องเร่งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ร่วมกับการพัฒนาแรงงานที่มีทักษะสูงทั้งกลุ่มแรงงานที่มีอยู่เดิมและกลุ่มแรงงานใหม่ เช่น วิศวกรเซมิคอนดักเตอร์และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ผู้เชี่ยวชาญ ที่ยังขาดแคลนอยู่ เป็นจำนวนมากและเป็นความเสี่ยงต่อภาคการผลิตในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง ขณะเดียวกัน ภาครัฐต้องเร่งพัฒนาเพื่อสร้างความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและระบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อรองรับการเข้ามาลงทุนของกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำในไทย และสิ่งที่จะขาดไม่ได้คือการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อที่ไทยจะได้ก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีที่สำคัญแห่งอาเซียนและตอบโจทย์ความยั่งยืนในอนาคตไปพร้อม ๆ กัน บทวิเคราะห์โดย... https://www.scbeic.com/th/detail/product/AI-Technology-280125

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

AI บทบาทสำคัญในภาคธุรกิจ

AI บทบาทสำคัญในภาคธุรกิจ

          หุ้นวิชั่น - ท่ามกลางการแข่งขันและสงครามเทคโนโลยีที่กำลังร้อนระอุ เทคโนโลยี AI เข้ามามีบทบาทมากขึ้นและยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดด เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในหลากหลายอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ ซึ่งการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในยุคแรก คือ Machine Learning และต่อมาได้ถูกพัฒนาต่อยอดไปสู่ Deep Learning ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น สำหรับในระยะข้างหน้าเรามองว่าเทรนด์ AI จะมุ่งเน้นไปที่ความสามารถในการตอบโต้กับโลกกายภาพได้มากขึ้น ได้แก่ 1) ยานยนต์ไร้คนขับ ที่เป็นระบบการขับขี่โดยไม่มีมนุษย์ควบคุม 2) เทคโนโลยี Digital Twin ที่สร้างแบบจำลองเสมือนจริงของวัตถุทางกายภาพ และ 3) Avatar AI ที่เป็นการสร้างตัวแทนบุคคลเสมือนจริง ส่งผลให้ตลาดของเทคโนโลยี AI ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยจากข้อมูลของ Statista คาดว่า มูลค่าตลาดของเทคโนโลยี AI มีแนวโน้มเติบโตราว 27.6% ต่อปีในช่วงปี 2025-2030 มาอยู่ที่ 8.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2030 AI หนุนธุรกิจในกลุ่มสินค้าไฮเทคให้เติบโตทั้งกลุ่มชิป คอมพิวเตอร์ฯ และแอปพลิเคชัน           SCB EIC คาดการณ์ว่าแนวโน้มความต้องการเทคโนโลยี AI ในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลให้ผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของเทคโนโลยี AI เติบโตต่อเนื่อง โดยกลุ่มที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน AI ประกอบไปด้วยกลุ่มฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล เช่น Data center และ Cloud service ไปจนถึงกลุ่มผู้ให้บริการที่เป็นผู้พัฒนาโปรแกรมหรือแอปพลิเคชัน SCB EIC คาดการณ์ว่ากลุ่มธุรกิจที่จะได้ประโยชน์ คือ 1) ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ นับตั้งแต่ผู้ผลิตเครื่องจักรสำหรับผลิตชิปขั้นสูงอย่าง ASML ผู้ผลิตและออกแบบชิป (NVIDIA) ผู้รับจ้างผลิต (TSMC) ไปจนถึงกลุ่มให้บริการแพ็กเกจ ประกอบและทดสอบชิป 2) อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ ซึ่งปัจจุบันธุรกิจต่าง ๆ ได้เริ่มนำเอาซอฟต์แวร์ AI มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น เช่น ธุรกิจ Healthcare ที่นำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลด้านสุขภาพ วินิจฉัยและรักษาโรค รวมถึงการดูแลผู้ป่วย เป็นต้น ทั้งนี้ Gartner คาดการณ์ว่าตลาดซอฟต์แวร์ AI มีแนวโน้มจะเติบโตเฉลี่ยราว 19% ต่อปีในช่วงปี 2023-2027 3) ธุรกิจ AI applications ไม่ว่าจะเป็น ChatGPT และ Google Gemini ที่มีการแข่งขันกันในการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยอัจฉริยะที่สามารถให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือในการสร้างสรรค์ข้อมูลใหม่ โดยคาดว่า ชิป ASIC ที่ถูกนำไปใช้งานในแอปพลิเคชัน AI ต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนได้จากข้อมูลของ J.P. Morgan ที่ระบุว่า ยอดขายชิป ASIC โลก มีแนวโน้มเติบโตราว 42% ต่อปีในช่วงปี 2023-2028 มาอยู่ที่ 9.9 ล้านชิ้นในปี 2028 เทคโนโลยี AI ยังเติบโตท่ามกลางความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์และการผูกขาดทางการค้า           เทคโนโลยี AI กำลังเติบโตท่ามกลางความท้าทายจากทั้งความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์และการผูกขาดทางการค้าจากผู้เล่นรายใหญ่ นอกจากนี้ นโยบายการค้าการลงทุนของโดนัลด์ ทรัมป์ ในช่วงที่ผ่านมาส่งผลต่อแนวโน้มการเติบโตของเทคโนโลยี AI อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งแผนที่จะทุ่มงบประมาณเพื่อดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมชิปและเทคโนโลยี AI ในประเทศ และทรัมป์ยังคงดำเนินนโยบายและเพิ่มมาตรการควบคุมการส่งชิปขั้นสูงไปจีนเพื่อกีดกันจีนจากการพัฒนาแอปพลิเคชัน AI ต่อจากโจ ไบเดน ทั้งนี้ในปัจจุบัน ตลาดชิป AI ของโลกยังคงถูกผูกขาดด้วยผู้เล่นรายใหญ่ของสหรัฐฯ ขณะที่ NVIDIA ได้ครองตลาดชิป GPU เรายังพบอีกว่า Google ซึ่งเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ได้เป็นเจ้าตลาดในฝั่งของชิป ASIC ซึ่งอาจส่งผลให้ชิป AI มีราคาสูงขึ้นและเกิดปัญหาอุปทานคอขวดจากขาดแคลนชิปในระยะต่อไปได้ ไทยได้ประโยชน์ทั้งการส่งออกชิปและคอมพิวเตอร์ไปสหรัฐฯ และการขยายการลงทุน           SCB EIC ประเมินว่าจากแนวโน้มความต้องการเทคโนโลยี AI ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะส่งผลดีต่อกลุ่มผู้ผลิตชิปและส่วนประกอบที่ไม่รวมชิปต้นน้ำ โดยผู้ประกอบการไทยจะได้ประโยชน์ใน 2 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการส่งออก เช่น กลุ่มผู้ผลิตชิปและส่วนประกอบที่ไม่รวมชิปต้นน้ำ ซึ่งปัจจุบันไทยอยู่ในกลุ่มผู้ให้บริการแพ็กเกจ ประกอบและทดสอบชิป และกลุ่มคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ที่เราประเมินว่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มดังกล่าวไปยังสหรัฐฯ มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากการที่สหรัฐฯ ทดแทนการนำเข้าสินค้าจากจีน และเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี AI โดยคาดว่าในปี 2024 ไทยจะมีสัดส่วนการส่งออกชิปและคอมพิวเตอร์ไปยังตลาดสหรัฐฯ มากถึง 83% และ 40% ของการส่งออกสินค้าในหมวดนี้ทั้งหมด 2) ด้านการลงทุน นับตั้งแต่เกิดสงครามเทคโนโลยีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ได้ส่งผลให้เกิดการขยายการลงทุนมายังอาเซียนรวมถึงไทย สะท้อนได้จากข้อมูลของ BOI พบว่า ในปี 2023 ต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรม E&E โดยมีโครงการขนาดใหญ่ เช่น การผลิต Wafer การประกอบและทดสอบชิป นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจ Data center และ Cloud service ที่มีมูลค่าเงินลงทุนมากกว่า 167,989 ล้านบาท ซึ่งแนวโน้มการลงทุนในธุรกิจดังกล่าวเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการรองรับการเติบโตของกลุ่มเทคโนโลยี AI ในอนาคต ไทยยังเผชิญอุปสรรคด้านการพัฒนาสินค้าไฮเทคโนโลยี ที่ด้อยกว่าคู่แข่งในตลาด AI           ไทยยังมีอุปสรรคและความท้าทายจากการพัฒนาสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงเพื่อรองรับเทคโนโลยี AI ที่ส่งผลให้ยังเป็นรองจากประเทศคู่แข่ง โดยปัจจุบันสหรัฐฯ มีสัดส่วนพึ่งพาการนำเข้าอุปกรณ์ชิปจากไทยเพียง 7% เมื่อเทียบกับสัดส่วนการพึ่งพาการนำเข้าจากมาเลเซียที่มากกว่า 17% ของการนำเข้าชิปทั้งหมดของสหรัฐฯ ทั้งนี้อุปสรรคสำคัญของไทยที่ส่งผลให้ยังมีส่วนแบ่งตลาดที่น้อยกว่าคู่แข่งเนื่องมาจากการขาดความพร้อมของห่วงโซ่อุปทานการผลิตสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง อย่างเช่นชิปต้นน้ำ โดยนอกจากนี้ ไทยยังขาดการวิจัยและพัฒนาในกลุ่มสินค้านวัตกรรมใหม่ และยิ่งไปกว่านั้นเอง ไทยยังคงเผชิญกับปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะดิจิทัลและเทคโนโลยี ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับไทยในการพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าไฮเทคให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งสำคัญต่าง ๆ ได้ ไทยควรเร่งพัฒนาสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและขยายการลงทุนในกลุ่มสินค้าไฮเทคมากขึ้น           ไทยควรเร่งมือเดินหน้าจัดกระบวนทัพทางเทคโนโลยีใหม่ เริ่มต้นจากการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ส่งเสริมการลงทุนที่ครอบคลุมกลุ่มสินค้าไฮเทคโนโลยีมากขึ้น โดยไทยจะต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างในภาคการผลิตเพื่อรองรับการผลิตชิปขั้นสูง สินค้าคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับ AI ไปจนถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและหน่วยความจำที่สามารถรองรับเทคโนโลยี AI โดยจะต้องเร่งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ร่วมกับการพัฒนาแรงงานที่มีทักษะสูงทั้งกลุ่มแรงงานที่มีอยู่เดิมและกลุ่มแรงงานใหม่ เช่น วิศวกรเซมิคอนดักเตอร์และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ผู้เชี่ยวชาญ ที่ยังขาดแคลนอยู่เป็นจำนวนมากและเป็นความเสี่ยงต่อภาคการผลิตในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง ขณะเดียวกัน ภาครัฐต้องเร่งพัฒนาเพื่อสร้างความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและระบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อรองรับการเข้ามาลงทุนของกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำในไทย และสิ่งที่จะขาดไม่ได้คือการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อที่ไทยจะได้ก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีที่สำคัญแห่งอาเซียนและตอบโจทย์ความยั่งยืนในอนาคตไปพร้อม ๆ กัน ที่มา : SCB EIC

CPALL จัดเวทีแข่งไอเดีย AI

CPALL จัดเวทีแข่งไอเดีย AI "Creative AI Club Hackathon ปีที่ 3"

          หุ้นวิชั่น - ซีพี ออลล์ จัดเวทีประชันไอเดียปัญญาประดิษฐ์ “Creative AI Club Hackathon ปีที่ 3” เปิดทางเยาวชน ม.ปลาย-ปี 1 ร่วมสร้างสรรค์แนวคิดใช้ AI สร้างเซเว่น อีเลฟเว่นในฝันเพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมและความต้องการของลูกค้ายุคใหม่ พบหลากผลงานสุดว้าว เล็งเปิดโอกาสเด็กเก่ง-เจ้าของผลงานเจ๋ง ร่วมโครงการ Future Innovator ต่อยอดไอเดียสู่การปฏิบัติจริง ด้านทีม “เหมียว” คว้ารางวัลชนะเลิศ โชว์ไอเดียกล้องวงจรปิด AI “PathVision” สำรวจพฤติกรรมการชมสินค้าในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น สู่การพัฒนาร้านนำเสนอสินค้าบริการเพื่อลูกค้าทุกกลุ่ม            นายป๋วย ศศิพงศ์ไพโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สำนักปัญญาประดิษฐ์สร้างสรรค์ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่า บริษัทยังคงเดินหน้าให้ความสำคัญกับการ “สร้างคน” เปิดพื้นที่ให้เยาวชนได้แสดงทักษะความสามารถอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ได้จัดงาน Creative AI Club Hackathon ปีที่ 3 เปิดโอกาสให้เยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนถึงระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 เข้าร่วมเวิร์คช็อป 3 วัน 2 คืน พร้อมประชันไอเดียการสร้างสรรค์ผลงานปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ภายใต้ระยะเวลาอันจำกัดเพียง 24 ชั่วโมง โดยมีพี่ๆ เยาวชนจากโครงการค่าย Creative AI Camp รุ่นล่าสุด ก้าวขึ้นมาเป็นทีมผู้จัดงาน (Core Leader) และผู้ให้คำแนะนำรุ่นเยาว์ (Junior Mentor)           สำหรับหัวข้อการประชันไอเดียในปีนี้ คือ “What is the 7-Eleven of your dreams? สร้าง 7-Eleven ในฝันของคุณด้วยพลัง AI” เปิดโอกาสให้เยาวชนได้รับความรู้และสถานการณ์ปัญหา (Pain Point) จากทีมหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ต่างๆ ของเซเว่น อีเลฟเว่น รวมถึงได้รับทราบฟังก์ชัน ฟีเจอร์ด้าน AI ที่เซเว่น อีเลฟเว่นมีอยู่แล้ว เพื่อให้เยาวชนได้แสดงศักยภาพ ระเบิดความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาสิ่งใหม่ พร้อมทั้งสามารถต่อยอดกับสิ่งที่มีอยู่แล้วด้วยนวัตกรรม AI           “เทคโนโลยี AI ในวันนี้กลายเป็นเทคโนโลยีทั่วไป หรือ Common Technology ที่คนใช้กันในชีวิตประจำวัน คนไทยจำนวนมากมีประสบการณ์กับ AI มากขึ้น น้องๆ คนรุ่นใหม่เองก็เช่นกัน เราจึงเปิดโอกาสให้น้องๆ สมัครเข้ามาแสดงศักยภาพ แสดงแนวคิดแปลกใหม่ในการสร้างสรรค์ AI ผ่านการประยุกต์ใช้กับร้านเซเว่น อีเลฟเว่น โดยปีนี้มีน้องๆ ให้ความสนใจสมัครถึงกว่า 400 คน ก่อนเราจะคัดเหลือ 40 คน ทีมที่ผ่านเข้ามาแข่งขันในปีนี้ หลายๆ ทีม ไม่เฉพาะทีมที่ได้รับรางวัล ต่างนำเสนอไอเดียแปลกใหม่และน่าสนใจมาก จนทั้งคณะกรรมการและผู้บริหารต่างชื่นชมถึงไอเดียของเหล่า Tech Talent” นายป๋วย กล่าว           ทั้งนี้ ซีพี ออลล์ ได้ให้ความสำคัญกับผลงานของเยาวชน และเปิดโครงการ Future Innovator เป็นโครงการฝึกงานที่ให้น้องๆ เยาวชนที่ผ่านกิจกรรม Creative AI Club Hackathon หรือ Creative AI Camp ได้เข้ามาร่วมต่อยอดผลงานของตัวเองหรือของเพื่อนที่ชนะในแคมป์ รวมถึงมีโอกาสได้รับพิจารณาเข้าทำงานร่วมกับซีพี ออลล์อย่างเต็มรูปแบบในอนาคต           สำหรับรางวัลชนะเลิศ จาก Creative AI Club Hackathon ครั้งที่ 3 ได้แก่ ทีมเหมียว กับผลงาน “กล้องวงจรปิด PathVision” ใช้กล้องวงจรปิดที่มี AI สำรวจพฤติกรรมการหยุดชมสินค้าของลูกค้าในร้านเซเว่น อีเลฟเว่นแบบไม่ระบุตัวตน เพิ่มประสิทธิภาพการจัดผังร้าน และสร้างประโยชน์ต่อแบรนด์สินค้าและตอบโจทย์พฤติกรรมลูกค้าที่สามารถเข้ามาใช้บริการได้สะดวกมากยิ่งขึ้น (สมาชิกในทีม : สุธีร์ธิดา ปิยะจงวิวัฒน์, วรัญชิต วีระศักดิ์, พุฒิพร เจริญวิมลรักษ์ และคุณชมศมนต์ ชมภูคำ) รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ ทีม 7-Twelve กับผลงาน “7-OTP” นำข้อมูลจากเครื่อง POS ของเซเว่น อีเลฟเว่น มาทำนายอนาคต เพื่อให้สามารถแบ่งหน้าที่คนทำงาน และจัดระบบการทำงานในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (สมาชิกในทีม : กมลพร ถอดมูล, ชิติพัทธ์ สร้อยสังวาลย์, พชรพรรณ จงบรรจบ, และวชิรวี ขำรักษา) รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ทีม Kadjap.CPALL กับผลงาน “Eatit.AI” ไอเดียฟีเจอร์เสริม AI ในแอป 7-Eleven ที่ช่วยแนะนำสินค้าที่สอดคล้องกับความต้องการลูกค้า จัดเซ็ทสินค้า รวมถึงสามารถคำนวณแคลอรี ลดปัญหาลูกค้าเดินเข้ามาแล้วไม่รู้ว่าจะซื้ออะไร (สมาชิกในทีม : ธนภณ ธนาดุลเปรมเดช, ธนโชติ เทศกัณฑ์, ณภัทร ศรวิชัย และทรงพล ซ้ายขวา)           ด้านนายวรัญชิต วีระศักดิ์ (น้องอะตอม) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทย์-คณิต โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี หนึ่งในสมาชิกทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ กล่าวว่า ผลงานของทีมเริ่มจาก Pain Point ว่า กล้องวงจรปิดในยุคแห่งเทคโนโลยี ควรทำได้มากกว่าฟังก์ชันทั่วไป จึงได้มองถึงการนำกล้องวงจรปิดที่มี AI มาช่วยสำรวจและวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าแบบไม่ระบุตัวตน อาทิ การสำรวจตำแหน่งที่ลูกค้าไปหยุดดูมากที่สุด แล้วสร้างเป็น Heat Map การสำรวจพฤติกรรมลูกค้า ณ ตำแหน่งต่างๆ ว่ามองตรง มองบน หรือมองล่าง เพื่อให้สามารถปรับปรุงผังร้านได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงช่วยให้แบรนด์สินค้าต่างๆ ได้ทราบถึงพฤติกรรมภายในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภค           “การเข้ามาร่วม Creative AI Club Hackathon ของซีพี ออลล์ในครั้งนี้ ช่วยให้ได้รู้จักคนใหม่ๆ ได้ฝึกทำงานในเวลาที่จำกัด มีโจทย์ให้ได้พัฒนาตัวเอง โดยกว่าจะเป็นโปรเจกต์กล้อง PathVision ในครั้งนี้ ทีมอ่านเอกสารภาษาอังกฤษ อ่านสมการคณิตศาสตร์เยอะมาก เพื่อให้พัฒนาฟังก์ชันและโซลูชันได้อย่างเหมาะสม หากมีโอกาสก็อยากเข้ามาทำงานและต่อยอดผลงานนี้ให้เกิดขึ้นจริง และเชื่อว่าผลงานนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้ ไม่เฉพาะในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น” นายวรัญชิต กล่าว           นายวรัญชิต กล่าวเพิ่มเติมว่า AI ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากๆ สำหรับมนุษย์ ช่วยให้มนุษย์เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วขึ้นมาก โลกในอนาคต ผู้ที่ใช้ AI เป็น กับผู้ที่ใช้ AI ไม่เป็น จะมีอัตราการประสบความสำเร็จ (Success Rate) แตกต่างกัน การไม่ปรับตัวให้ทัน จะส่งผลต่อความยากลำบากในการใช้ชีวิต ส่วนตัวจึงให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ด้าน AI และอยากประกอบอาชีพเป็น Tech Programmer โดยล่าสุด ได้รับโอกาสเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT) ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้ว           ทั้งนี้ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CP ALL มีนโยบายส่งเสริมการศึกษา พัฒนาเยาวชน มุ่งมั่นจัดกิจกรรมสนับสนุนทักษะเยาวชนด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI อย่างต่อเนื่อง ผ่านหลากหลายเวที ได้แก่ 1.Creative AI Camp (CAI Camp) ค่ายพัฒนาทักษะ AI ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย-อุดมศึกษา ภายใต้ความร่วมมือกับพันธมิตรด้านเทคโนโลยีจากนานาประเทศ  ระยะเวลา 3 เดือน 2.Creative AI Club (CAI Club) ชุมชนคน AI ที่เป็นพื้นที่เรียนรู้ พื้นที่สร้างสรรค์ผลงานด้าน AI มีกิจกรรม Workshop อย่างต่อเนื่อง 3.Creative AI Club Hackathon เวทีประชันไอเดียด้าน AI และพัฒนาผลงานภายใต้เวลาจำกัดเพียง 1-2 คืน สำหรับน้อง ๆ เยาวชนระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย-มหาวิทยาลัย ปี 1 และยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่อาจจัดขึ้นเพิ่มเติมในอนาคต ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดกิจกรรมและเวทีต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่  https://www.facebook.com/caicampและ https://caicamp.cpall.co.th/

จับตา AI เร่งตัวทั่วโลก หุ้นไหนรับโชค เช็ก!

จับตา AI เร่งตัวทั่วโลก หุ้นไหนรับโชค เช็ก!

หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) กระแสข่าว AI Application จากประเทศจีน "Deepseek" ที่ทำงานได้ใกล้เคียงผู้นำตลาด โดยไม่จำเป็นต้องใช้ชิปประมวลผลสูง ทำให้ต้นทุนพัฒนาต่ำกว่า โดยรวมประเมินนำมาสู่โอกาสเห็นภาพ AI Adoption ทั่วโลกเร่งขึ้น แต่สร้างความเสี่ยงหุ้น Semiconductor โลกที่จำหน่ายชิปประมวลผลระดับสูงที่อาจมีผลกระทบต่อยอดขาย จึงน่าจะเป็นจิตวิทยาลบต่อหุ้นในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไทย ให้เกิดภาพชะลอลงทุนระยะสั้น อย่างไรก็ตาม KSS ประเมินผลกระทบ 2 ส่วน 1.)กลุ่มชิ้นส่วนมองผลกระทบต่อผลประกอบการคาดจำกัด เพราะบริษัทชิ้นส่วนไทยไม่ได้มีสินค้าหรือรายได้ชิปประมวลผลสูง อาทิ กรณี DELTA เน้นจำหน่าย Power Supply ส่วนอีกกลุ่มที่อาจจะเห็นการชะลอลงทุน คือ 2.) กลุ่มโรงไฟฟ้า อาจจะมีความกังวลการใช้ไฟฟ้าต่ำลงตามรูปแบบชิปประมวลผลสูงลดลง           อย่างไรก็ตาม ภาพบวกที่ AI Adoption จะเพิ่มขึ้นหนุนความต้องการโรงไฟฟ้าในท้ายที่สุดอยู่ดี กลยุทธ์รอตั้งรับเมื่อหุ้นอ่อนตัวรับความกังวล ขณะที่กลุ่มคาดได้ประโยชน์จากกรณีดังกล่าว คือ กลุ่มที่ผู้ใช้งาน AI ที่มีทางเลือกมากขึ้น ต้นทุนลดลง คาดนำมาสู่ปริมาณการใช้ข้อมูลในโครงข่ายโทรคมนาคมเพิ่มขึ้นก้าวกระโดด ในส่วนกลุ่มสื่อสาร เน้น ADVANC และกลุ่ม Digital Tech Consult ที่ปริมาณงานที่ปรึกษาดิจิตอลจะเพิ่มขึ้นตาม AI Adoption เน้น BE8, BBIK

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

CPAXT เซ็นเทนเซ็นต์ คลาวด์ ยกระดับศักยภาพดิจิทัลสู่ Retail Tech

CPAXT เซ็นเทนเซ็นต์ คลาวด์ ยกระดับศักยภาพดิจิทัลสู่ Retail Tech

          หุ้นวิชั่น - กรุงเทพฯ, 24 มกราคม 2568 – บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) หรือ CPAXT เดินหน้ายกระดับประสบการณ์ลูกค้าและประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยประกาศความร่วมมือกับ เทนเซ็นต์ คลาวด์ เพื่อใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นำระบบคลาวด์ : Infrastructure-as-a-Service (IaaS) และ โซลูชัน AI มาปรับใช้ในทุกระบบปฏิบัติการ อาทิ การจัดประเภทสินค้าที่จัดจำหน่าย การประเมินความต้องการของลูกค้าในตลาด รวมถึงการวิเคราะห์ราคาและโปรโมชัน เสริมด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ระดับโลกของ เทนเซ็นต์ คลาวด์ ที่จะมาผสานพลังในการขับเคลื่อนสู่องค์กรดิจิทัลของ ซีพี แอ็กซ์ตร้า ให้แข็งแกร่งและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน มุ่งสู่เป้าหมายการเป็นองค์กร Retail Tech อันจะมีส่วนพัฒนาด้านดิจิทัลของทั้งอุตสาหกรรมค้าปลีกไทย นอกจากนี้ ซีพี แอ็กซ์ตร้า และ เทนเซ็นต์ คลาวด์ ยังมีแผนความร่วมมือที่จะนำโซลูชัน AI มาช่วยในการประเมินยอดขาย และการบริหารจัดการคลังสินค้าอีกด้วย           ซีพี แอ็กซ์ตร้า องค์กรค้าส่งค้าปลีกชั้นนำ ภายใต้แบรนด์ “แม็คโคร” และ “โลตัส” ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจกว่า 30 ปี และความไว้วางใจจากลูกค้าทั้ง B2B และ B2C พร้อมความเป็นผู้นำด้านสินค้าและบริการที่หลากหลายครบครัน ปัจจุบันดำเนินธุรกิจใน 10 ประเทศของภูมิภาคเอเชีย มีสาขากว่า 2,600 แห่ง พร้อมด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ได้รับความนิยมและมีผู้ใช้บริการอย่างกว้างขวาง ด้วยยอดดาวน์โหลดกว่า 14 ล้าน บน Makro PRO และ Lotus’s SMART App           พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง เทนเซ็นต์ คลาวด์ และ ซีพี แอ็กซ์ตร้า จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยมีนาย Jimmy Chen รองประธานกรรมการของบริษัท เทนเซ็นต์ คลาวด์ อินเตอร์เนชันแนล จำกัด และกรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมลงนามกับ นายธรินทร์ ธนียวัน ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มสายงานอีคอมเมิร์ซ และประธานคณะผู้บริหารกลุ่มสายงานเทคโนโลยีและข้อมูล บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) โดยพิธีดังกล่าว ได้รับเกียรติจากนาย Zhang Yun Ming รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของจีน และนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม ร่วมเป็นสักขีพยาน           นาย Poshu Yeung รองประธานอาวุโส บริษัท เทนเซ็นต์ คลาวด์ อินเตอร์เนชันแนล จำกัด กล่าวว่า “เทนเซ็นต์ คลาวด์ มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ ซีพี แอ็กซ์ตร้า ผู้ดำเนินธุรกิจค้าส่งค้าปลีกชั้นนำของภูมิภาค โดยเทนเซ็นต์ คลาวด์ จะร่วมกับ ซีพี แอ็กซ์ตร้า ในการยกระดับศักยภาพด้านดิจิทัลและการประยุกต์ใช้ AI ผ่านผลิตภัณฑ์ บริการ และโซลูชันคุณภาพสูงของเรา เพื่อช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจค้าปลีกของ ซีพี แอ็กซ์ตร้า”           นายธรินทร์ ธนียวัน ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มสายงานอีคอมเมิร์ซ และประธานคณะผู้บริหารกลุ่มสายงานเทคโนโลยีและข้อมูล บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ซีพี แอ็กซ์ตร้า รู้สึกยินดีที่ได้ร่วมมือกับ เทนเซ็นต์ คลาวด์ ในการนำ IaaS และ โซลูชัน AI ที่ทันสมัยมาใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ ซีพี แอ็กซ์ตร้า ในการนำเทคโนโลยีมาช่วยยกระดับประสบการณ์ลูกค้า เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น ตอกย้ำความเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกในภูมิภาคเอเชีย” [PR News]

ไทย AI โตเด่น BE8-BBIK รับอานิสงส์ Digital Adoption

ไทย AI โตเด่น BE8-BBIK รับอานิสงส์ Digital Adoption

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ผลสำรวจ Telener Asia พบว่า ประเทศไทยเชื่อถือใน AI มากที่สุดในภูมิภาค เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ใช้งานจากตลาดอื่น ๆ ในภูมิภาค โดยยังมีช่องว่างเติบโตอีกมาก จาก 1) แม้ 77% ของผลำรวจใช้งาน AI อยู่แล้ว แต่ใช้เพื่อการทำงานราว 20% ยังต่ำกว่าสิงคโปร์ และมาเลเซีย โดยด้านที่ใช้สูงในไทย คือ ความบันเทิง 2) ผู้คนไทยให้ความสำคัญกับความสะดวกสบายมากกว่าความเป็นส่วนตัว (เชื่อว่าบริการ AI ที่ใช้ปกป้องความเป็นส่วนตัวได้ 38% ของผลสำรวจ เทียบกับเพียง 21% ในประเทศสิงคโปร์, และมีแนวโน้มอนุญาตให้ AI เข้าถึงข้อมูลส่วนตัว vs ราว 15-20% ของคน สิงคโปร์+มาเลเซีย) 3) 6 ใน 10 ของคนไทยยังมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับ AI และสิ่งที่ AI สามารถเสริมการใช้ชีวิตที่รู้ทันโลกและปลอดภัย ผลสำรวจดังกล่าวทำให้มั่นใจอย่างมากต่อการเร่งขึ้นอัตรา AI Adoption ในไทย และโอกาสที่ยังเติบโตอีกมากในอนาคต และจะสร้าง Upside ต่อหุ้นเชื่อมโยงธีมดังกล่าว ความต้องการ Data Center (INSET, GULF, GPSC) การใช้ข้อมูลในโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่เติบโตก้าวกระโดด (ADVANC, TRUE) กลุ่มช่วยเรื่อง AI / Digital Adoption (BE8, BBIK)

โบรกมองบวก วิสัยทัศน์ทักษิณ คาดรัฐ - ก.ล.ต. ยกระดับธรรมาภิบาล

โบรกมองบวก วิสัยทัศน์ทักษิณ คาดรัฐ - ก.ล.ต. ยกระดับธรรมาภิบาล

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.หยวนตา มีมุมมองเป็นบวกต่อการแสดงวิสัยทัศน์ของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร แม้หลายประเด็นอาจไม่ได้ดำเนินการในทันที แต่สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลมีความเข้าใจสภาพตลาดทุนที่ถูกบั่นทอนจากปัจจัยด้านธรรมาภิบาลและความเชื่อมั่น ซึ่งคาดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะออกมาตรการเพื่อควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่เป็นธรรมมากขึ้น ส่วนมาตรการกระตุ้นตลาดทุน มีแนวคิดจะนำ LTF กลับมาใช้เพื่อไม่ให้เงินไหลออกจากตลาดทุน และจะสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนซื้อหุ้นคืนมากขึ้น เนื่องจากมีหลายบริษัทที่ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี ขณะที่มาตรการทางภาษีกำลังศึกษาเพื่อปรับโครงสร้างให้สามารถลดภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา แล้วไปปรับในส่วนอื่นชดเชย เช่น VAT และใช้ Negative Income Tax เพื่อช่วยผู้มีรายได้น้อย           ด้านการสนับสนุนธุรกิจใหม่ จะผลักดัน Data Center, AI, Stem Cell, การผลิตยา, Digital Asset ขณะที่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นไฮไลต์หลักคือการให้เช่าทรัพย์สินระยะยาว 99 ปี และการจัดตั้ง Infrastructure Fund ปัจจัยกดดันกำลังถูกแก้เพื่อฟื้นความเชื่อมั่น           อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ให้มุมมองว่าตลาดหุ้นไทยช่วงที่ผ่านมาเกิดจาก Trust, Confidence, Sentiment ที่ถูกบั่นทอน โดยหลังจากนี้ คาดว่ารัฐบาลและ ก.ล.ต. จะยกระดับธรรมาภิบาลมากขึ้น โดยถ้าจำเป็นต้องปรับกฎหมาย รัฐบาลต้องออก พ.ร.ก. เพื่อให้อำนาจ ก.ล.ต. ในการลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างรวดเร็ว ควบคุม High Frequency Trading ไม่ให้สร้างความผันผวนกับตลาดทุนหรือเอาเปรียบนักลงทุนในประเทศ เชิญชวนธุรกิจใหม่ให้เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยผ่าน BOI เช่น กลุ่มที่เข้ามาลงทุนใน Entertainment Complex เพื่อเพิ่ม Supply หุ้นที่เป็น New S-Curve           นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้บริษัทที่ PBV ต่ำกว่า 1 เท่าซื้อหุ้นคืน (ยังต้องรอมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติมเพื่อจูงใจให้เกิดการซื้อหุ้นคืน) และสนับสนุนตลาด Digital Asset และการซื้อขาย Carbon ส่วนกองทุนลดหย่อนภาษี กระทรวงการคลังกำลังพิจารณานำ LTF กลับมาใช้อีกครั้ง เพื่อให้คงสภาพคล่องในตลาดทุนไม่ให้ลดลง เนื่องจาก TESG ออกมาแล้ว แต่เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้ากองทุนตราสารหนี้ ไม่ได้ไหลเข้าตราสารทุนตามที่ตั้งใจไว้           สนับสนุนธุรกิจใหม่ Data Center, AI, Biotech หลังจากนี้ รัฐบาลจะเดินหน้าสนับสนุน Data Center และ AI อย่างมาก เพื่อให้ประเทศไทยเป็น Hub ด้าน AI โดยมาตรการลดค่าไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งเพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนเอกชนตามที่นักลงทุนกังวลก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ จะส่งเสริมธุรกิจที่เป็น Innovation เช่น Stem Cell เพื่อการดูแลสุขภาพและชะลอวัย รวมถึงสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตยา เพื่อลดภาระให้กับรัฐบาล           ในโครงการเพื่อดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย คุณทักษิณคาดว่า GDP ปี 2025 จะโตเกิน 3% และปี 2026 โตเกิน 4% ก่อนจะไปแตะระดับ 5% ได้ในปี 2027 เราประเมินเป็นปัจจัยบวกต่อ SET INDEX โดยภาพรวม และหุ้นที่เกี่ยวข้องกับมาตรการสนับสนุนของรัฐบาลหลังจากนี้ เช่น Data Center + AI – WHA, AMATA, GULF, INTUCH, LTS, INSET, SYMC, BE8, BBIK Stem Cell + ยา – MEDEZE, TMAN Entertainment Complex – BTS, VGI, MBK รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย – BTS, BEM ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน – CK, STECON ทั้งนี้เราคาดว่าจะเห็นแรง Short Covering ในกลุ่มโรงไฟฟ้าจากแนวทางการปรับลดค่าไฟที่มีความชัดเจนมากขึ้น ปัจจัยกดดันกำลังถูกแก้เพื่อฟื้นความเชื่อมั่น อดีตนายกทักษิณ ชินวัตรให้มุมมองว่าตลาดหุ้นไทยช่วงที่ผ่านมาเกิดจาก Trust, Confidence, Sentiment ที่ถูกบั่นทอน โดยหลังจากนี้ คาดว่ารัฐบาลและ ก.ล.ต. จะยกระดับธรรมาภิบาลมากขึ้น โดยถ้าจำเป็นต้องปรับกฎหมาย รัฐบาลต้องออก พ.ร.ก. เพื่อให้อำนาจ ก.ล.ต. ในการลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างรวดเร็ว, ควบคุม High Frequency Trading ไม่ให้สร้างความผันผวนกับตลาดทุนหรือเอาเปรียบนักลงทุนในประเทศ, เชิญชวนธุรกิจใหม่ให้เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยผ่าน BOI เช่น กลุ่มที่เข้ามาลงทุนใน Entertainment Complex เพื่อเป็นการเพิ่ม Supply หุ้นที่เป็น New S-Curve นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้บริษัทที่ PBV ต่ำกว่า 1 เท่าซื้อหุ้นคืน (ยังต้องรอมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติมเพื่อจูงใจให้เกิดการซื้อหุ้นคืน) และสนับสนุนตลาด Digital Asset และซื้อขาย Carbon ส่วนกองทุนลดหย่อนภาษี กระทรวงการคลังกำลังพิจารณานำ LTF กลับมาใช้อีกครั้ง เพื่อให้คงสภาพคล่องในตลาดทุนไม่ให้ลดลง เนื่องจาก TESG ออกมาแล้ว แต่เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้ากองทุนตราสารหนี้ ไม่ได้ไหลเข้าตราสารทุนตามที่ตั้งใจไว้ สนับสนุนธุรกิจใหม่ Data Center, AI, Biotech หลังจากนี้รัฐบาลจะเดินหน้าสนับสนุน Data Center และ AI อย่างมาก เพื่อให้ประเทศไทยเป็น Hub ด้าน AI โดยมาตรการลดค่าไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งเพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุน ซึ่งจะดำเนินการไม่ให้กระทบโรงไฟฟ้าเอกชนตามที่นักลงทุนกังวลก่อนหน้านี้ แต่เป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ปิดโรงไฟฟ้าที่ต้นทุนสูง, การลดสวัสดิการค่าไฟฟ้าจากหน่วยงานราชการ, และการลดค่าผ่านท่อก๊าซ นอกจากนี้ จะส่งเสริมธุรกิจที่เป็น Innovation เช่น Stem Cell เพื่อการดูแลสุขภาพและชะลอวัย รวมถึงสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตยา เพื่อลดภาระให้กับรัฐบาลในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ส่วนมาตรการสนับสนุน Digital Asset รัฐบาลเตรียมเปิด Sandbox เพื่อทดลองรับ Bitcoin ที่ภูเก็ต ขณะที่ฐานการผลิต EV Car จะทำให้สมดุลกับ Ecosystem ของประเทศมากขึ้น และกระตุ้นให้ธนาคารกลับมาปล่อยสินเชื่ออีกครั้ง ขยายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น รัฐบาลจะใช้กฎหมายทรัพย์อิงสิทธิ เพื่อเปิดให้เช่าทรัพย์สินรัฐระยะยาว 99 ปี เพื่อกระตุ้นการลงทุน เช่น การสร้างบ้านบนที่ดินของการรถไฟฯ, โครงการถมทะเลเพื่อป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพ, การขุดลอกคลองเพื่อระบายน้ำได้เร็วขึ้น และให้เอกชนหรือประชาชนสามารถนำดินไปใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้ยังเดินหน้าขยายสนามบินและถนนในพื้นที่ท่องเที่ยว รวมถึงเปิดให้ลงทุน Entertainment Complex คาดมีเม็ดเงินลงทุนรวมกว่า 5 แสนล้านบาท และจะจัดตั้ง Infrastructure Fund เพื่อดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายในเดือน ต.ค. 2025 โครงสร้างภาษีจะต้องปรับเพื่อกระตุ้นการลงทุน ภาษี Global Minimum Tax ให้เก็บ 15% ตามข้อตกลงกับ OECD ไปก่อน แล้วให้ BOI หามาตรการไปช่วย เพื่อให้การลงทุนในไทยเกิดประโยชน์สุทธิมากกว่าประเทศอื่น ภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดากำลังศึกษาเพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุน โดยถ้าลดภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา จะต้องไปเพิ่ม VAT โดยจะช่วยกลุ่มผู้มีรายได้น้อยผ่านการใช้ Negative Income Tax

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

[Vision Exclusive] ไทยเร่งเครื่องสู่ 'AI Hub' AMATA พร้อมดึงต่างชาติ

[Vision Exclusive] ไทยเร่งเครื่องสู่ 'AI Hub' AMATA พร้อมดึงต่างชาติ

          หุ้นวิชั่น - รัฐบาลเดินหน้าเต็มสูบ วางแผนลงทุนใน AI, EV และชิ้นส่วนอุปกรณ์รถ EV เสริมด้วย แผนผลิตบุคลากร AI กว่า 280,000 คนใน 5 ปี เพื่อรองรับความต้องการในตลาดอนาคต ด้าน AMATA เร่งขยายโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งโรงไฟฟ้าและระบบน้ำ เตรียมพร้อมนิคมอุตสาหกรรมรองรับนักลงทุนต่างชาติ โบรกมอง หุ้นรับอานิสงส์ WHA, AMATA, BGRIM, GULF, INSET, BE8 เตรียมรับโอกาสครั้งใหญ่จากเม็ดเงินลงทุนมหาศาล           นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงผลงานรัฐบาลแพทองธารครบรอบ 90 วัน พูดถึงประเด็นในเรื่อง Future Investment หรือการลงทุนในธุรกิจแห่งอนาคต ประเทศไทยต้องเป็น AI ฮับของภูมิภาค ที่มีการดึงดูดบริษัทการลงทุนใหญ่เข้ามา อย่างที่ผ่านมา google Microsoft และอื่นๆ อีกมากมาย ที่เข้ามาลงทุน ทำให้ต่างชาติทั่วโลกมองเห็นแล้วว่า ประเทศไทยพร้อมที่จะเตรียมตัวสำหรับธุรกิจแห่งอนาคต แต่ยังมีข้อจำกัดที่ต้องมีการดูและและพัฒนาขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดของคน อาจจะยังขาดความรู้หรือความเชี่ยวชาญ (Know-how) ในการทำธุรกิจนี้  โดย AI ใน Future หรืออนาคตอันใกล้ มีบทบาทสำคัญต่อทุกคน ยิ่ง AI มีข้อมูลมากก็ยิ่งฉลาดมากขึ้น ยังช่วยในเรื่องของกำแพงภาษาสามารถสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น และยังสามารถช่วยคิดวิเคราะห์ต่างๆ จะเป็นโอกาสใหม่ๆ ให้แก่พี่น้องประชาชน ๆ สร้างงานให้กับเด็กนักเรียน นักศึกษาที่จบใหม่ (first jober)  ถ้ารู้จักใช้ AI ให้เป็น           ดังนั้นรัฐบาลก็มีแผนลงทุนเพิ่มในธุรกิจอนาคต ไม่ว่าจะเป็น AI หรือ EA รวมไปถึงการทำชิ้นส่วนอุปกรณ์รถอีวี รวมไปถึงเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งประเทศไทยอาจจะค่อยๆ เริ่มแม้จะช้า แต่มองว่าไม่สายเกินไป และจะสร้างคนให้ไปเรียนทางด้านนี้ให้ไปเรียนระดับมหาวิทยาลัย 280,000 คน ภายใน 5 ปี เพื่อประเทศไทยให้พร้อมสำหรับธุรกิจในอนาคต โดยต้องมีการทำเรื่องของการประหยัดพลังงานด้วยเพื่อให้ราคาสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก           ข้อมูลจาก บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน)หรือ AMATA เผย ประเทศไทยมีศักยภาพก้าวเป็นศูนย์กลาง AI ของภูมิภาค ด้วยความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infra Tech) ที่แข็งแกร่ง ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด NVIDIA บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีระดับโลก เดินทางเยือนไทยเพื่อผลักดันเทคโนโลยี AI ในประเทศ           ปัจจุบันมีนักลงทุน โดยเฉพาะ กลุ่มนักลงทุนจีน เจรจาซื้อที่ดินในนิคมอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ AMATA เดินหน้าขยายโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งโรงไฟฟ้าและระบบน้ำ เพื่อรองรับความต้องการของนักลงทุน พร้อมตอกย้ำความเชื่อมั่นในการลงทุนในไทย และขับเคลื่อนประเทศสู่ "AI Hub" ของภูมิภาค อย่างเต็มรูปแบบ           นอกจากนี้ AMATA ยังยึดมั่นในแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาอุตสาหกรรมและชุมชนรอบข้าง มุ่งเน้นพัฒนา "เมืองอัจฉริยะ" (Smart City) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมวางเป้าหมาย "เมืองเป็นกลางทางคาร์บอน" ภายในปี 2583 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยพื้นที่ที่พัฒนาแล้วลง 30% ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2562  และการเดินหน้าสู่ "AI Hub" ควบคู่กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีโลก และตอกย้ำสถานะของไทยในฐานะ ศูนย์กลางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่แข็งแกร่ง ในภูมิภาคนี้           นายมงคล พ่วงเภตรา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท หลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) ระบุว่าการที่ ประเทศไทยจะเดินหน้าในเรื่อง AI เป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะจะเกิดการผลักดันในเรื่องของ Infra Tech ด้วยทีจะมารองรับการใช้งานของบริษัทเทคในอนาคตที่เข้ามาลงทุนในไทย และในอนาคตหากมีการเติบโตต่อเนื่อง ก็เชื่อว่าจะสามารถช่วยทดแทนอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยที่ เห็นการเติบโตลดลง โดยหุ้นกลุ่มแรกๆ ที่จะได้รับประโยชน์จากการลงทุน หรือดึงนักลงทุนเข้ามาลงทุนในไทย คือ กลุ่มนิคมอุตสาหรรมที่จะสามารถขายที่ดินได้เพิ่มขึ้น และนำ WHA AMATA รวมไปถึง ส่วนกลุ่มโรงไฟฟ้าที่จะมีความต้องการจากการใช้ไฟฟ้าสะอาดทั้ง BGRIM GULF เป็นต้น รวมไปถึงกลุ่มที่เป็นซัพพลายหรือวางระบบ เช่น INSET BE8 เป็นต้น รายงาน ณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการข่าว สำนักข่าว HoonVision

AI อนาคตไทย ชู BBIK , BE8 , SECURE รับอานิสงส์

AI อนาคตไทย ชู BBIK , BE8 , SECURE รับอานิสงส์

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุ AI อนาคตของไทย และ มนุษยชาติ คุณ Jensen Huang ได้ขึ้นแสดงวิสัยทัศน์ในงาน AI Vision for Thailand โดยได้ให้ความเห็นว่า AI จะเข้ามาเป็นปัจจัยหลักของทุกคนในอีก 3 ปี โดยมีเพียง 20 ประเทศในโลกที่เริ่มสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับโดยสิ่งที่สำคัญที่สุด           สำหรับการพัฒนา AI คือ ข้อมูล จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะสร้างปัญญาประดิษแบบพึ่งพาตนเอง (SovereignAI) ขึ้นในไทยเพื่อเป็นทรัพยากรอันล้าค่าของไทยเท่านั้นโดยจะผลักดันให้AI ถูกบรรจุในทุกมหาวิทยาลัย และ เตรียมสร้างนวัตกรรมใหม่ คือ ThaiAI และ ThaiGPT โดยใช้องค์ความรู้ของ NVIDIA เพื่อให้ไทยเป็นหนึ่งในผู้ำด้านเทคโนโลยีของโลกพร้อมเดินหน้าสนับสนุนบริษัท Start Up AI ในไทยกว่า 60 แห่ง มองเป็นบวกกับหุ้นในห่วงโซ่อุปทาน AI เช่น กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กฯกลุ่ม ICT กลุ่มนิคมฯ กลุ่มโรงไฟฟ้า และ กลุ่มเทคโนโลยี เช่น BBIK , BE8 และ SECURE สำหรับกลยุทธ์การลงทุน 1.) Datacenter และ AI a)โทรคมนาคม:ADVANC, INTUCH, TRUE b)นิคมฯและโรงไฟฟ้า:AMATA,BGRIM,GPSC,GULF,WHA, ROJNA c)อื่นๆ: BBIK, BE8, SECURE, INSET,ITEL 2)Bit Coin : BROOK, TTA, JTS, XPG 3)มาตรการรัฐ+หวังมาตรการแก้หนี้: BBL,CPALL,CRC,KBANK,KTB,MTC,SCB, TTB4)ท่องเที่ยว :CENTEL,ERW,LH,MINT, SPA

เปิดโผ หุ้น AI โอกาสโต! DELTA-GULF-TRUE-INSET น่าจับตา

เปิดโผ หุ้น AI โอกาสโต! DELTA-GULF-TRUE-INSET น่าจับตา

           หุ้นวิชั่น - บริษัท หลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุถึงในบทวิเคราห์ ถึงประเด็นที่ “เจนเซ่น หวง” (Jensen Huang) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เอ็นวิเดีย” (NVIDIA) ยักษ์ผู้ผลิตชิป AI ที่มีมูลค่าบริษัทกว่า 3.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เตรียมเยือนประเทศไทย ในงาน “AI Vision for Thailand” ภายใต้ธีม “The First Step for Thailand Sovereign AI” วันที่ 4 ธ.ค. 2567 ณ Embassy Room, Park Hyatt Bangkok พร้อมประกาศแผนลงทุน ดันไทยขึ้นฮับ AI ภูมิภาค ในงาน AI Vision for Thailand ทั้งนี้ธุรกิจของบริษัทในตลาดหุ้นไทยที่อิงกับ NVIDIA ได้แก่ อีเล็คทรอนิคส์ คอมพิวเตอร์ , AI, Cloud และ Data Center เราคัด 3 หุ้นได้ประโยชน์ จากการนี้ ประกอบด้วย DELTA, GULF และ TRUE            ขณะที่ บริษัท หลักทรัพย์ บัว หลวง จำกัด (มหาชน) ระบุถึง เมื่อการเยือนของ Jensen Huang ในเดือนธันวาคมนี้ใกล้เข้ามาแล้ว (คาดว่าสัปดาห์หน้า) ถึงเวลาแล้วที่จะมองไปที่เฟส 1 ของการเปลี่ยนแปลง Gen AI ในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการสนับสนุนจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของความต้องการ GPU เมื่อข้อจำกัดในอุปทานทำให้ GPU ขาดแคลน ผู้ที่เริ่มต้นก่อนอย่าง JTS และ LTS จะสามารถเก็บเกี่ยวผลกำไรได้อย่างมากในระยะนี้            JTS กำลังสร้าง GPU Farm และโมเดล AI Training โดยใช้ความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับ KT เพื่อจัดหาผลิตภัณฑ์ NVIDIA GPUs นอกจากการใช้งานของตนเองแล้ว แพลตฟอร์ม Gen AI ของ JTS จะทำหน้าที่เป็นสตูดิโอสำหรับการฝึกฝนและปรับใช้งานสำหรับลูกค้า ช่วยให้ธุรกิจสามารถใช้งาน AI ได้โดยไม่ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของตนเอง            LTS: SIAM AI เป็นพันธมิตร Nvidia Cloud รายแรก (และรายเดียว) ของประเทศไทย ผ่านความร่วมมือกับ SIAM AI ทำให้ LTS ได้ประโยชน์จากการเป็นพันธมิตร ซึ่งช่วยให้เข้าถึง GPU ได้ก่อนใคร แตกต่างจากโมเดลการจัดจำหน่ายแบบดั้งเดิม โมเดลปัจจุบันของ NVIDIA คือ "By Invitation Only" ซึ่งให้ข้อได้เปรียบแก่พันธมิตรในการได้รับ GPU ที่จัดสรรในตลาดที่มีข้อจำกัดนี้            INSET วางเป้าหมายปี 2025 เติบโตจากธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับ Cloud และ AI โดยมุ่งเน้นการลงทุนใน Data Center ในประเทศไทย จากความพร้อมด้านประสบการณ์ในการก่อสร้างส่วนงานอาคารหลายโครงการ และการเข้าร่วมประมูลงานจากผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนในไทย โดยคาดว่าจะมีการประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลตั้งแต่ปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า นอกจากนี้ INSET ยังมีโอกาสลุ้นงานในกลุ่ม ICT ที่เกี่ยวข้องกับโครงข่ายต่างๆ เพิ่มเติม            PROEN การเข้ามาของกลุ่ม DAMAC ผู้ให้บริการ Data Center ระดับโลกจากดูไบที่มีลูกค้าทั่วโลก ได้ประกาศลงทุนร่วมกับ PROEN ภายใต้แบรนด์ EDGNEX ด้วยเป้าหมายเริ่มต้น 20MW ในปี 2025-2026 (พร้อมที่ดินรองรับแล้ว) และขยายเพิ่มเป็นหลัก 100MW ในระยะยาว โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา PROEN ได้โอน OTT DC ขนาด 5MW ซึ่งเป็นโครงการแรกให้กลุ่ม DAMAC และรับรู้รายได้-กำไรในช่วง 4Q24 ซึ่งเพิ่มโอกาสให้ PROEN เห็นการ Turnaround ตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป โครงการดังกล่าวจะเปิดให้บริการลูกค้าเฟสแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 และเฟส 2-3 จะเปิดครบในกลางปี 2025 โดยจะมีรายได้จากบริการหลังการขายและระบบประมวลผลเพิ่มเติม

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

5 ข้อ ของผู้นำ AI  สู่องกร Digital Transformation

5 ข้อ ของผู้นำ AI สู่องกร Digital Transformation

          หุ้นวิชั่น - บริษัท อินไซท์เอรา จำกัด ผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้บริการด้าน Marketing Technology & Services ที่ครบวงจรแบบ End-to-End ตอบโจทย์การวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดครบทุกมิติ ได้ร่วมแชร์ข้อมูลที่น่าสนใจในหัวข้อ “การใช้ AI และ Application อัจฉริยะเพื่อการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล (Digital Transformation)” ในงาน DigiTech ASEAN Thailand & AI Connect 2024           นางสาวนารีรัตน์ แซ่เตียว ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท อินไซท์เอรา จำกัด ได้เผยว่า “ทุกวันนี้ธุรกิจองค์กรทุกขนาดกำลังเผชิญกับการปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  AI และ Application อัจฉริยะ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสร้างสรรค์ประสบการณ์ให้แก่ผู้ใช้งานและการทำงานภายในองค์กร โดยเฉพาะ Generative AI ที่สามารถพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์และปรับเปลี่ยนเนื้อหาดิจิทัลที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น รวดเร็ว และแม่นยำ อีกทั้งยังช่วยสร้างทางเลือกในการออกแบบ ปรับแต่ง และพัฒนาผลงานตามข้อกำหนดของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ผู้นำทุกธุรกิจองค์กรจึงควรเตรียมองค์กรให้พร้อมสำหรับการใช้เทคโนโลยี AI และ Application อัจฉริยะเพื่อรองรับการใช้งานเทคโนโลยี AI สำหรับธุรกิจองค์กรในอนาคต โดยควรมุ่งเน้นไปที่ 3 เรื่องหลัก ดังนี้ 1. การตั้งเป้าหมายเชิงกลยุทธ์และระบุกรณีการใช้งาน AI ที่ชัดเจน เพื่อสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจได้อย่างแท้จริง 2. การจัดสรรทรัพยากรและโครงสร้างที่เหมาะสมสำหรับการรองรับ AI ทั้งในด้านบุคลากร เทคโนโลยี และข้อมูล 3. การติดตามและวัดผลลัพธ์ของการใช้งาน AI อย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์และกระบวนการที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม” โดยควรเลือกใช้ Generative AI ที่เหมาะสมกับธุรกิจองค์กรนั้นๆ เพื่อให้ AI สามารถตอบสนองเป้าหมายทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า โดยสามารถเลือกใช้ AI ให้เหมาะกับแต่ละธุรกิจองค์กรได้ เช่น ·       การใช้แอปพลิเคชันที่มี AI ฝังในตัว (Consume) ·       การนำ API ของ AI มาฝังในแอปพลิเคชันที่ใช้อยู่ (Embed) ·       การปรับแต่งโมเดล AI โดยใช้ข้อมูลเฉพาะขององค์กร (Extend) ·       การพัฒนาโมเดล AI เฉพาะที่ตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรเอง (Build) ซึ่งหากจะนำ AI และ Application อัจฉริยะมาใช้เพื่อการตลาด เครื่องมือเทคโนโลยีเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์มากมายในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการตลาดได้เป็นอย่างดี ด้วยมิติความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และการเลือกสร้างแคมเปญที่ตรงโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งการปรับแต่งการโฆษณา (Ad Optimization) การสร้างเนื้อหา (Content Creation) การทดสอบแคมเปญแบบ A/B ในวงกว้าง การวิเคราะห์อารมณ์และความรู้สึกของลูกค้า (Sentiment Analysis) รวมถึงการใช้ Chatbot อัจฉริยะเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างทันท่วงที ซึ่งการผสานเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ากับแคมเปญการตลาดจะช่วยสร้างผลลัพธ์ที่ดีขึ้นและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ           อีกทั้งการที่ผู้นำธุรกิจองค์กรจะเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วย AI ให้ประสบความสำเร็จ จะต้องอาศัย 5 องค์ประกอบ สำคัญ ดังนี้ 1. ต้องกำหนดวัตถุประสงค์และกรณีการใช้งาน AI ให้ชัดเจน 2. ต้องมีข้อมูลและระบบข้อมูลที่สามารถรองรับและประมวลผล AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. เลือกใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่สอดคล้องกับการใช้งาน AI 4. บูรณาการ AI เข้ากับกระบวนการทำงานขององค์กรเพื่อสร้างความต่อเนื่อง 5. บุคลากรในองค์กรต้องมีวัฒนธรรมที่พร้อมยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงและเปิดโอกาสการเรียนรู้และพัฒนา” “หากธุรกิจองค์กรใดสามารถนำทั้ง 5 องค์ประกอบนี้มาใช้อย่างครบถ้วน ธุรกิจองค์กรนั้นก็จะสามารถบรรลุความสำเร็จในการนำ AI มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดได้อย่างยั่งยืน เพราะนับจากนี้ศักยภาพในการดำเนินงานของธุรกิจองค์กรจะสามารถวัดให้เห็นได้ ตั้งแต่การดำเนินงานตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่น ถูกต้อง และรวดเร็วกว่าคู่แข่ง ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างแต้มต่อและสร้างการเติบโตให้แก่ธุรกิจองค์กรได้อย่างยั่งยืน” คุณนารีรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย

จีเอเบิล เขย่าโลก AI  เสริมศักยภาพองค์กรธุรกิจ

จีเอเบิล เขย่าโลก AI เสริมศักยภาพองค์กรธุรกิจ

          หุ้นวิชั่น – จีเอเบิล ยังคงมุ่งพัฒนาศักยภาพดิจิทัลโซลูชันควบคู่กับการสร้างความพร้อมในการรับมือทุกความท้าทายให้แก่ภาคธุรกิจองค์กร ก้าวสู่เป้าหมายอนาคตด้วย AI Ready Organization จึงได้รวมพลเหล่ากูรูด้านเทคสายต่างๆ ของจีเอเบิลทั้ง Cloud, MarTech, Gen-AI Solution, ERP, CRM และ Cybersecurity มาร่วมเผยทุกศักยภาพด้านเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อกับ AI เพื่อนำพาทุกธุรกิจองค์กรให้พร้อมสู่ Digital Transformation อย่างยั่งยืน มาโชว์ในงาน DigiTech ASEAN Thailand & AI Connect 2024           ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในฐานะที่ จีเอเบิล เป็นผู้นำด้าน Tech Enabler ในประเทศไทย มองว่าความท้าทายของธุรกิจองค์กรที่จะต้องเจอต่อจากนี้ ไม่ใช่แค่การทำ Digital Transformation ในรูปแบบที่แค่การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในองค์กรเพียงอย่างเดียว เพราะจะไม่เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ แต่จะต้องสร้างความพร้อมในการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ในอนาคตอันใกล้ให้พร้อมเสียก่อน ดังนั้นทุกธุรกิจองค์กรจึงควรให้ความสนใจและใส่ใจในเรื่องของ AI Readiness อย่างจริงจังก่อน จึงจะสามารถสร้างความพร้อมสู่การนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจองค์กรได้อย่างยั่งยืน เพราะสิ่งสำคัญที่เป็นหัวใจในการขับเคลื่อนสู่การเชื่อมต่อเทคโนโลยี AI ในอนาคตที่ธุรกิจองค์กรส่วนใหญ่มักจะมองข้าม คือ ข้อมูล (Data), เทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย ระบบ Cybersecurity รวมถึง Business Application ที่กำลังเป็นที่ต้องการของธุรกิจองค์กรต่างๆ ทั่วโลก ฯลฯ ซึ่งในงาน DigiTech ASEAN Thailand & AI Connect 2024 ในครั้งนี้ จีเอเบิล ได้คัดสรรเหล่ากูรูผู้เชี่ยวชาญตัวท็อปในแต่ละสายงานเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การนำพาธุรกิจองค์กรสู่ยุค AI มาร่วมแชร์หัวข้อที่น่าสนใจ บนเวที อาทิ ·      เทคโนโลยี Cloud ในหัวข้อ Building a Sustainable Cloud Foundation: The Journey to Cloud and Cost Efficiency โดย คุณธีระพงษ์ จันทร Vice President และคุณศรุต อัศวกุล Vice President - Cloud Business Development บริษัท จีเอเบิล จำกัด มหาชน ·      เทคโนโลยี MarTech ในหัวข้อ Leveraging AI & Intelligent Apps for Digital Transformation) โดย คุณนารีรัตน์ แซ่เตียว ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท อินไซท์เอรา จำกัด ·      เทคโนโลยี Cybersecurity ในหัวข้อ Securing the AI Frontier: Strategies for Safe and Secure Digital Innovation โดยคุณอัตพล พยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี บริษัท ไซเบอร์จีนิคส์ จำกัด ·      เทคโนโลยี Gen AI ในหัวข้อ Gen-AI Solutions from First Logic โดยคุณรณกร มาเมือง Senior Data Processing & Analytics Solution Manager บริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด ·      เทคโนโลยี ERP ในหัวข้อ GROW without Limits with SAP โดยคุณวิเชียร ลัญฉนะวณิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ราวด์ ทู โซลูชั่นส์ จำกัด ·      เทคโนโลยี CRM ในหัวข้อ Salesforce - Make AI works for your business โดยคุณรบส สุวรรณ-มาศ Salesforce Solution Engineering Manager บริษัท ราวด์ ทู โซลูชั่นส์ จำกัด “ด้วยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในการเป็นผู้สร้างระบบเทคโนโลยีที่สำคัญและอยู่เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กรขนาดใหญ่ในหลายภาคอุตสาหกรรมมาตลอด 35 ปีของจีเอเบิล เรามั่นใจในศักยภาพด้านการให้บริการด้านเทคโนโลยีที่ครบวงจรแบบ One Stop Service มาโดยตลอด ซึ่งนับจากนี้ไปการให้บริการ ของจีเอเบิลจะยิ่งครอบคลุมทุกความต้องการของภาคธุรกิจองค์กรยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะต่อยอดและขยายบริการที่ตอบโจทย์การใช้เทคโนโลยีอย่าง Business Application ในการเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจองค์กรในทุกภาคอุตสาหกรรมให้พร้อมรับกับยุค AI” ดร.ชัยยุทธ กล่าว

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011