#โรงไฟฟ้า


นโยบายรัฐหนุนพลังงานฟื้น หุ้นไหนรับอานิสงส์ เช็กด่วน!

นโยบายรัฐหนุนพลังงานฟื้น หุ้นไหนรับอานิสงส์ เช็กด่วน!

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด คาดนโยบายรัฐจะเข้ามาหนุนการฟื้นตัวในปี 2568 แนวโน้มกำไร 4Q67 ของกลุ่มโรงไฟฟ้ายังสามารถเติบโต YoY ได้ต่อเนื่อง เบื้องต้นคาดกำไรปกติ 4Q67 ของกลุ่มโรงไฟฟ้าที่ระดับ 1.2 หมื่นล้านบาท ลดลง 29% QoQ หลังถูกกดดัน จาก 1) ปัจจัยฤดูกาลของโรงไฟฟ้า IPP (ในช่วงปลายปี โรงไฟฟ้า IPP มักได้รับค่าความพร้อมจ่ายครบตาม สัญญากับ กฟผ. ตั้งแต่ช่วงปลายเดือน พ.ย. - กลางเดือน ธ.ค. ท าให้มีรายได้จากส่วนดังกล่าวน้อยกว่าไตรมาสอื่น 2) ต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นเล็กน้อย QoQ ตามปัจจัยฤดูกาลส่งผลให้อัตราการทำกำไรของโรงไฟฟ้า SPP มีโอกาสลดลง QoQ 3) ปัจจัยฤดูกาลของโครงการน้ำในลาว และ 4) การปิดซ่อมโรงไฟฟ้าบางส่วน อย่างไรก็ตามคาดกำไรปกติของกลุ่มฯ สามารถเติบโต 44% YoY จากฐานที่ต่ำในปีก่อน ตามการรับรู้รายได้และส่วนแบ่งกำไรจากโครงการใหม่ที่เข้าลงทุนหรือ COD ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (เช่น โรงไฟฟ้าGPD หน่วยที่ 3 และ 4, โรงไฟฟ้าหินกองหน่วยที่ 1 และโรงไฟฟ้าถ่านหิน Paiton หน่วยที่ 3, 7 และ 8)และต้นทุนพลังงาน (ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ) ที่ลดลง YoY           คาดกำไรปกติปี 2568 ของกลุ่มฯ ที่ 5.7 หมื่นล้านบาท เติบโต 11% YoY จาก 1) กำไรของหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP (GPSC, BGRIM) ที่คาดเติบโต YoY ตามทิศทางต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวลง (ผลจากการ เริ่มส่งออก LNG ที่มากขึ้นและเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัว) 2) การเริ่มรับรู้รายได้และส่วนแบ่งกำไรจากโครงการใหม่ เช่น โรงไฟฟ้าหินกองหน่วยที่ 2 (GULF, RATCH), โครงการลม Monsoon (BCPG), โครงการลมในเกาหลี (BGRIM) และโรงไฟฟ้า Paiton (RATCH, รับรู้แบบเต็มปีเป็นปีแรก) และ 3)อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เริ่มปรับตัวลงส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินโดยรวมลดลง           ความชัดเจนของนโยบายรัฐในปี 2568 จะเข้ามาหนุนการฟื้นตัวแม้ในปัจจุบันการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรอบ 2.2GW (เปิดให้ผู้ที่ไม่ได้รับคัดเลือกในรอบ 5.2GW ยื่นเสนอขายอีกครั้ง) ยังคงมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับกำหนดการประกาศรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือก (รมว. พลังงานมีค าสั่งให้ชะลอการรับซื้อรอบดังกล่าว, ปัจจุบัน กบง. อยู่ระหว่างการปรับปรุงหลักเกณฑ์การคัดเลือกและการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด) แต่คาดในปี 2568 ภาครัฐจะมีการเปิดเผยแผนหรือนโยบายเกี่ยวกับการสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับ           แนวทางในการมุ่งสู่ Net Zero ภายในปี 2608 และการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากบริษัทต่างชาติและ อุตสาหกรรม Data Center และ Cloud ซึ่งมีความต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนสูง โดยเบื้องต้นคาดแผน PDP ฉบับใหม่ (ปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงร่างฯ) และมาตรการสนับสนุนการติดตั้ง Solar Rooftop จะมีความชัดเจนมากขึ้นภายในช่วง 1H68และ 2H68 ตามลำดับ ขณะที่การออกกฎเกณฑ์ สำหรับการซื้อขายพลังงานโดยตรง (Direct PPA) คาดมีความชัดเจนในช่วงปลายปี 2568 เป็นอย่างเร็ว ให้ GPSC และ BGRIM เป็ น Top Picks ส าหรับการลงทุนในกลุ่มโรงไฟฟ้าในปี 2568           ฝ่ายวิเคราะห์ยังคงน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มโรงไฟฟ้าสำหรับปี 2568 ที่ “มากกว่าตลาด” จากการเข้าสู่รอบของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางทั่วโลก และต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่มีแนวโน้มลดลงหลัง ปริมาณการส่งออก LNG ของสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยให้ GPSC ([email protected]) และ BGRIM ([email protected]) เป็น Top Picks จากกำไรที่คาดเติบโต YoY ได้ต่อเนื่องจากต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวลงและการ COD โครงการใหม่ในต่างประเทศ (โครงการแสงอาทิตย์ในอินเดียของ GPSC และ โครงการลมในเกาหลีใต้ของ BGRIM) รวมถึงปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรมที่มีโอกาสเพิ่มขึ้น จากการย้ายฐานการผลิตของผู้ประกอบการต่างชาติและการเติบโตของอุตสากรรม Data Center

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่ง-โตช้าลง ไฟฟ้าภาคธุรกิจในปี 68 โตเพียง 1%

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่ง-โตช้าลง ไฟฟ้าภาคธุรกิจในปี 68 โตเพียง 1%

           หุ้นวิชั่น - ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลปี 2568 เผชิญต้นทุนเชื้อเพลิงสูงขึ้นตามราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลก ขณะที่รายได้ต่อหน่วยทรงตัวจากนโยบายตรึงค่าไฟของรัฐ แม้ดีมานด์ใช้ไฟฟ้าทั้งภาครัฐและเอกชนจะเพิ่มขึ้น แต่การเติบโตชะลอตัวจากปีก่อนหน้า สะท้อนเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป            ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้จัดทำบทวิเคราะห์ ระบุถึง  ต้นทุนเชื้อเพลิงฟอสซิลของโรงไฟฟ้าในปี 2568 คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลก ขณะที่รายได้ต่อหน่วยของธุรกิจคาดว่าจะใกล้เคียงกับปี 2567 เนื่องจากนโยบายภาครัฐที่ต้องการรักษาระดับค่าไฟในประเทศ เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อผู้บริโภคและภาคธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ภาพรวมธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลในปี 2568 ยังคงมีทิศทางเติบโตจากความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศที่เพิ่มขึ้น แต่ในจังหวะที่ชะลอลงจากปีก่อนหน้า            ในปี 2568 รายได้จากการผลิตไฟฟ้าฟอสซิลเพื่อขายให้ภาครัฐมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง แม้ว่าจะเพิ่มขึ้นช้ากว่าปี 2567 ตามความต้องการใช้ไฟฟ้าในโครงข่ายภาครัฐที่ชะลอลงเป็น 1.4% ในปี 2568 จาก 3.5% ในปีก่อนหน้า โดยความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจในปี 2568 คาดว่าจะโตเพียง 1% ตามการใช้ไฟฟ้าภาคผลิตและบริการที่ชะลอลงจากปี 2567 ในขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนคาดว่าจะโตเพียง 2% ในปี 2568 จากการเติบโตของจำนวนที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้านที่ชะลอตัว            รายได้จากการขายไฟฟ้าแก่ผู้ใช้งานในนิคมอุตสาหกรรมในปี 2568 มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง แม้จะชะลอลงตามความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นช้ากว่าปี 2567 ซึ่งคาดว่าจะเติบโต 0.9% ชะลอตัวจาก 2.7% ในปีก่อนหน้า ตามการเติบโตที่ช้าลงของกิจกรรมการผลิต เนื่องจากสินค้าจีนที่ล้นตลาด ความเสี่ยงของธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลในระยะกลางถึงยาว ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567-2580 (ร่าง PDP 2024)มีเป้าหมายในการลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในระบบไฟฟ้า กำลังการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลมีแนวโน้มลดลงจาก 38,108 MW ในปี 2566 สู่ 30,453 MW ในปี 2580 หรือลดลงราว 20% สัดส่วนอุปทานเชื้อเพลิงฟอสซิลคาดว่าจะลดลงจาก 72% ในปี 2566 สู่ 49% ในปี 2580 อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว การผลิตไฟฟ้าโดยเชื้อเพลิงฟอสซิลจะมีทิศทางลดลงได้อีก เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2608 ความจำเป็นในการปรับตัวและการเปลี่ยนผ่านสู่ประเภทเชื้อเพลิงใหม่โดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียนเมื่อหมดสัญญากับคู่ค้า แม้โรงไฟฟ้าฟอสซิลโดยมากจะถือสัญญาการซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวกับคู่ค้า แต่แรงกดดันจากกระแสรักษ์โลกและการพัฒนาของเทคโนโลยี ส่งผลให้ธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัวสู่พลังงานทางเลือกใหม่ ซึ่งต้องใช้เงินในการลงทุนในการพัฒนาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมีแนวโน้มหันมาใช้ไฟฟ้าสะอาดมากขึ้นเนื่องจาก พ.ร.บ. Climate Change และกฎระเบียบการค้าโลกด้านสิ่งแวดล้อมที่เคร่งครัดมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีการส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรป ที่มีการใช้มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM) ทำให้ผู้ผลิตในนิคมอุตสาหกรรมเริ่มหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนมากยิ่งขึ้น เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดส่งออก อุปทานก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในประเทศมีแนวโน้มลดลงส่งผลให้ต้องมีการนำเข้า LNG (ก๊าซธรรมชาติเหลว) ซึ่งจะเพิ่มต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า ร่างแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2567-2580 (ร่าง Gas Plan 2024) ระบุว่าจากอุปทานทั้งหมด การจัดหาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในไทยมีแนวโน้มลดลงเหลือเพียง 36% ในปี 2580 จาก 55% ในปี 2567 สวนทางกับการนำเข้า LNG ที่เพิ่มขึ้น โดยราคา LNG สูงกว่าก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ในประเทศ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าฟอสซิลมีทิศทางเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม สถานการณ์อุปทานก๊าซธรรมชาติในไทยอาจมีการเปลี่ยนแปลง หากมีการเจรจาเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา (OCA) ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ยังไม่ทราบผลแน่ชัด และต้องใช้ระยะเวลา

กลุ่มพลังงานหมุนเวียนเติบโตเด่น ขณะที่โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลถูกผลักดันให้เร่งปรับตัวเพื่อผลิตไฟฟ้าคาร์บอนต่ำ

กลุ่มพลังงานหมุนเวียนเติบโตเด่น ขณะที่โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลถูกผลักดันให้เร่งปรับตัวเพื่อผลิตไฟฟ้าคาร์บอนต่ำ

          ความต้องการใช้ไฟฟ้าในไทยปี 2568-2571 ยังคงเติบโตตามการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยแนวโน้มของการผลิตไฟฟ้านอกระบบทยอยเพิ่มสัดส่วนมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการผลิตไฟฟ้าใช้เอง โดยเฉพาะในกลุ่มพลังงานหมุนเวียน ทั้งนี้คาดว่าการใช้ไฟฟ้าทั้งในและนอกระบบการไฟฟ้าจะขยายตัว 2.5%YOY ในปี 2568 และ 3.0% (CAGR) ในปี 2569-2571 จากการส่งเสริม Direct PPA/IPS ที่มากขึ้น ขณะที่ค่าไฟฟ้าปี 2568 คาดว่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงปี 2567 ที่ 4.1-4.2 บาทต่อหน่วย จากนโยบายลดค่าพลังงานของรัฐบาล ส่วนในปี 2569-2571 คาดว่าค่าไฟฟ้าจะทยอยลดลงและต่ำกว่า 4 บาทต่อหน่วยในปี 2571 จากราคาก๊าซธรรมชาติโลกที่ลดลง ทั้งนี้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิลจะมีแรงกดดันที่มากขึ้นจากการลดสัดส่วนการผลิตในระยะยาวตามร่างแผน PDP 2567 ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตของโรงไฟฟ้าในกลุ่มที่ใช้ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพการผลิตต่ำหรือมีการปล่อย GHG สูง และจะมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่สูงขึ้นจากการนำเชื้อเพลิงสะอาดทดแทนอย่างไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำเข้ามาเป็นเชื้อเพลิง           การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนปี 2568 ในไทยยังมีแนวโน้มเติบโต โดยจะขยายตัวต่อเนื่องที่ 5%YOY และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องโดยเฉลี่ยที่ 7% (CAGR) ในปี 2569-2571 จากทั้งแผน COD จาก RE ที่ทยอยเข้าระบบราว 700-1,000 MW ต่อปี โดยเฉพาะจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ชีวมวล และขยะชุมชน รวมถึงความต้องการไฟฟ้านอกระบบ (IPS/SPP direct) และ Private PPA ที่หนุนให้ไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น โดยแนวโน้มในระยะข้างหน้าจนถึงปี 2573 ยังเติบโตต่อเนื่อง จากการประกาศรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนอีก 3,731 MW โดยส่วนใหญ่จะเป็นไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังมีแรงหนุนจากแผน PDP 2567 ที่เพิ่มสัดส่วน RE มากกว่า 51% ภายในปี 2580 โดยจะมีกำหนด COD ราว 3,700 MW ภายในปี 2573 และมีมากกว่า 31,000 MW ที่จะทยอย COD ตั้งแต่ 2574-2580 ยิ่งไปกว่านั้น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกก็มีแนวโน้มเติบโต โดยเฉพาะทวีปเอเชียและออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตามจากการที่จะมี Adder กว่า 2,000 MW ที่จะทยอยครบกำหนดมากกว่า 50% ในปี 2567-2568 ซึ่งจะกระทบต่อรายได้ของโรงไฟฟ้า RE ในกลุ่ม Solar และ Wind ที่มีรายได้อิงกับ Adder            ความต้องการแผงโซลาร์ยังคงเติบโตได้ดีในปี 2568 แต่ในอัตราที่ชะลอลง และคาดว่าจะชะลอลงต่อเนื่องไปถึงในช่วงปี 2569-2571 เนื่องจากตลาดจีนและตลาดยุโรปที่เป็นสัดส่วนใหญ่ของตลาดมีอัตราเติบโตของความต้องการแผงโซลาร์ที่ชะลอตัวลงจากที่เคยเติบโตสูงในช่วงปี 2562-2566 อย่างไรก็ตาม ความต้องการแผงจะขยายตัวราว 9% ในปี 2568 และกําลังการผลิตที่จะเพิ่มขึ้นยังถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจาก 1. ความต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีมากขึ้นตาม Net zero pathway ของหลายประเทศ และ 2. ราคาของแผงโซลาร์และราคาแบตเตอรี่ที่ทยอยลดลงจะหนุนให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ลดลงอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ความเสี่ยงที่ต้องจับตาในระยะข้างหน้า คือ สถานการณ์ Oversupply ของแผงโซลาร์ตลอดทั้ง Value chain ซึ่งจะส่งผลต่อแนวโน้มราคาในปี 2568 ที่คาดว่าจะลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะจาก 1) อุปทานที่ล้นตลาดของแผงโซลาร์โดยเฉพาะในประเทศจีน 2) การแข่งขันของผู้ผลิต Module ที่รุนแรงมากขึ้น และ 3) เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไวจนผู้ผลิตต้องขายสินค้าที่ค้างสต็อกในราคาส่วนลด และคาดการณ์ว่าภาวะนี้จะยังคงมีอยู่ต่อเนื่องไปในปี 2568 นอกจากนี้ ยังต้องติดตามความเสี่ยงจากนโยบายกีดกันทางการค้าที่มากขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐฯ และความเสี่ยงของผู้ประกอบการจากการแข่งขันในด้านราคาซึ่งส่งผลให้อัตรากำไรมีแนวโน้มลดลง           ESG เป็นประเด็นสำคัญที่เร่งให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าถูกผลักดันให้ปรับตัว จากเป้าหมาย Carbon neutrality และ Net zero emission ทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ ที่กดดันให้โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติในสัดส่วนสูงต้องเร่งศึกษาและนำเทคโนโลยีที่ช่วยลดคาร์บอนมาใช้ เช่น ไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำ, CCS และเร่งเพิ่มพลังงานหมุนเวียนให้มีสัดส่วนมากขึ้นด้วย ขณะเดียวกัน โรงไฟฟ้าบางชนิดก็เริ่มได้รับผลกระทบจาก Climate change ที่ทำให้การผลิตไฟฟ้าลดลง เช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ (Hydro) ที่ลดลงจากสถานการณ์ El Nino เป็นต้น อ่านต่อบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม  https://www.scbeic.com/th/detail/product/Power-SolarPV-200924 ผู้เขียนบทวิเคราะห์ :  จิรวุฒิ อิ่มรัตน์ นักวิเคราะห์อาวุโส ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC)