#เศรษฐกิจไทย


จับตา! 5 เรื่องใหญ่ห้ามพลาดปี 2568 

จับตา! 5 เรื่องใหญ่ห้ามพลาดปี 2568 

จับตา! 5 เรื่องใหญ่ห้ามพลาดปี 2568 มีอะไรบ้าง เช็กเลย! 1.โดนัล ทรัมป์ขึ้นรับตำแหน่ง กำหนดการวันขึ้นรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คือวันที่ 20 มกราคม หลังการเลือกตั้ง โดยสถิติแล้ว ตลาดอาจมีการปรับตัวในช่วงก่อน-หลังวันรับตำแหน่ง และต้องระวังผลกระทบจากนโยบายของทรัมป์ที่ส่งผลในวงกว้าง โดยเฉพาะในเรื่องของนโยบายกำแพงภาษี 2.สงครามจะจบลงเมื่อไหร่ สงครามตะวันออกกลางยังคงสร้างความกังวล และยังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยสถานการณ์ปัจจุบัน แม้จะมีการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงชั่วคราวแล้ว แต่ก็ยังคงมีการโจมตีเป็นระยะ ๆ ถึงแม้ตลาดจะรับรู้ถึงผลกระทบของสงครามไปแล้ว แต่หุ้นกลุ่ม Commodity หรือที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) จะฟื้นตัวช้ากว่ากลุ่มอื่น ๆ 3.ดอกเบี้ย Fed จะลดได้แค่ไหน จาก Dot Plot คาดว่าในปี 2025 Fed อาจลดดอกเบี้ย นโยบายลงสู่ระดับ 3.0-3.5% และกรรมการ Fed หลายท่านมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะสามารถลดลงสู่ ระดับเป้าหมายที่ 2% ได้ ทั้งนี้ยังคงต้องเฝ้าดูปัจจัย ส าคัญทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่อไป อาทิ ตัวเลขการ จ้างงาน นโยบายทรัมป์ซึ่งกระทบต่อเงินเฟ้อ 4.นโยบายเศรษฐกิจไทย ประเทศไทยยังเฝ้ารอนโยบายที่เป็นรูปธรรมจากรัฐบาล โดยคาด ว่าในช่วงไตรมาส 1 ปี 2025 รัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจใหม่ๆ ออกมานอกจากมาตรการแจกเงิน 10,000บาท ซึ่งเป็นผลดีต่อกลุ่มหุ้นค้าปลีก ท่องเที่ยว มองเป็นบวกกับตลาด หุ้นไทย โดยคาดการณ์ GDPปี 2025 โตถึง 3%อานิสงค์จาก การบริโภคภาคเอกชน การส่งออก และการท่องเที่ยว 5.จีนจะฟื้นตัวได้จริงหรือไม่ จากการประชุม Central Economic Work Conference ช่วงสิ้นปี 2024 จีนเตรียมออกมาตรการเชิงรุกในปี 2025 โดยเพิ่มงบขาดดุล กู้เพิ่ม และลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจริงจัง โดยคาดเป้าหมาย GDP ปี 2025 ไม่ต่ำกว่า 4.5% และคาดว่าจะทราบเม็ดเงินที่จะใส่เข้าระบบในช่วงต้นปี 2025 ที่มา : บล.ดาโอ

ส่องเครื่องยนต์

ส่องเครื่องยนต์ "เศรษฐกิจไทย" วันที่ไร้แรงกระตุ้น

       หุ้นวิชั่น - บล.เอเชียพลัส ส่องภาพเครื่องยนต์เศรษฐกิจไทยที่ยังขับเคลื่อนได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งยังต้องการแรงกระตุ้นทั้งในส่วนของนโยบายการคลังที่เข้มข้น และนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งล่าสุดทางคุณกิตติรัตน์เสนอให้ กนง. ควรลดดอกเบี้ยให้เร็วกว่านี้ เพื่อหลีกหนีจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะที่ทางฝั่งกระทรวงการคลังยังเห็นมาตรการกระตุ้นเรื่อยๆ ผ่านการรวบรวมข้อมูลของฝ่ายวิจัยฯ ที่ว่ารัฐบาลเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้-รายจ่าย/ GDP พบว่าในปี 2567 สัดส่วนรายได้สุทธิหลังหักกา จัดสรร/GDP อยู่ที่ 15.1% ส่วนสัดส่วนงบประมาณรายจ่าย/GDP อยู่ที่ 18.9% ซึ่งปีหน้าตัวเลขยังสูงขึ้นอยู่ที่ระดับ 19.8% ตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้ ประเทศไทยขาดดุลงบประมาณมากขึ้นเรื่อยๆ โดยปี 2568 มีการขาดดุลงบประมาณสูงถึง 8.7 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าอาจเป็นการหาแหล่งเงินทุนเดินหน้าโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท รวมถึงมาตรการอื่นๆที่เตรียมไว้กระตุ้นเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งล่าสุด กระทรวงการคลังเตรียมนำมาตรการ EASY E-RECEIPT เข้าที่ประชุม ครม.สัปดาห์หน้า โดยมีรายละเอียด คือ โครงการให้บุคคลธรรมดา สามารถหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าและบริการ ไม่เกิน 5 หมื่นบาท(ตั้งแต่ 1 ม.ค.68 เป็นต้นไป) โดยต้องมีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหากอ้างอิงจากข้อมูลปี 2567 คาดว่าจะเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบ 70,000 ล้านบาท หรือกระตุ้น GDP ให้เพิ่มขึ้นอีกราว 0.18%         อย่างไรก็ตาม ในมุมความเสี่ยงภาระผูกพันของประเทศ ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเนื่องจากเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจ กำลังถูกแลกมาด้วยการก่อหนี้สิน โดยหนี้สาธารณะ/GDP ของไทยเดือน ต.ค. 67 ล่าสุดอยู่ที่ 63.99% ซึ่งภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลัง70% รัฐบาลยังก่อหนี้ได้อีกแค่ 1.1 ล้านล้านบาท เท่านั้น อีกทั้งยอดหนี้สาธารณะของบ้านเรายังเติบโตเร็วกว่า GDP GROWTH มาเป็นเวลานาน หากเศรษฐกิจไทยขยายตัวช้า อาจมีความเสี่ยงที่หนี้สาธารณะ/GDP จะเกินกรอบเป้าหมายได้ โดยสรุป เศรษฐกิจไทยถ้าจะฟื้นแรง ต้องการแรงผลักจากนโยบายการคลังเพิ่มเติม แต่ติดที่หนี้สาธารณะ/GDP ของไทยสูง ใกล้ชนเพดาน จึงทำให้อาจมีความเสี่ยงที่จะเกินกรอบทางวินัยได้

สำรวจ CEO 249 บริษัท เกิน70% กังวลสงครามการค้า และขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

สำรวจ CEO 249 บริษัท เกิน70% กังวลสงครามการค้า และขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

ฝ่ายวิจัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สำรวจความคิดเห็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจ การดำเนินธุรกิจ และประเด็นที่น่าสนใจในปี 2567-2568 รวบรวมข้อมูลในช่วงวันที่ 1 สิงหาคม - 27 กันยายน 2567 มีบริษัทจดทะเบียนร่วมแสดงความคิดเห็นทั้งสิ้น 249 บริษัท พบว่า 63% ของ CEO คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2567 และปี 2568 จะเติบโตได้ที่ระดับ 2-3% โดยปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2567 และต่อเนื่องถึงปี 2568 คือ การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ ในขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่อาจกดดันเศรษฐกิจคือหนี้ครัวเรือน กำลังซื้อภายในประเทศ และเสถียรภาพทางการเมือง อย่างไรก็ตาม มองว่าในปี 2568 เสถียรภาพการเมืองโลกและต้นทุนค่าจ้างแรงงานอาจมีส่วนกดดันเศรษฐกิจมากขึ้น CEO เกินกว่า 70% คาดการณ์รายได้ของบริษัทยังคงเติบโตต่อเนื่องในปี 2567 และอัตราการเติบโตจะเร่งขึ้นอีกในปี 2568 โดย CEO ส่วนใหญ่มีความกังวลเกี่ยวกับ หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง อาจเป็นความเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจมากที่สุด ตามด้วยปัจจัยด้านต้นทุน เช่น ต้นทุนด้านพลังงาน CEO 3 ใน 4 มีความสนใจที่จะลงทุนหรือขยายกิจการเพิ่มเติมในช่วง 12 เดือนข้างหน้า โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน (69%) ประเทศจีน (12%) และประเทศอินเดีย (10%) อย่างไรก็ตาม CEO จำนวนมากยังมีความกังวลในด้านสภาพคล่องที่เกี่ยวกับยอดขาย ที่ชะลอตัวลง (64%) และการชำระเงินของลูกหนี้การค้า (55%) CEO จำนวนประมาณ 70% มองเทรนด์โลกอย่างเทคโนโลยี Generative AI และการปรับตัวด้านความยั่งยืน เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจ แต่กังวลสงครามการค้าระหว่างประเทศและการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอาจส่งผลกระทบในทางลบ ฝ่ายวิจัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สำรวจความคิดเห็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนในปี 2567 - 2568 (CEO Survey: Economic Outlook 2024 - 2025) เกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจ การดำเนินธุรกิจ และประเด็นที่น่าสนใจ โดยรวบรวมข้อมูลในช่วงวันที่ 1 สิงหาคม - 27 กันยายน 2567 มีบริษัทจดทะเบียนจาก SET และ mai ร่วมแสดงความคิดเห็นทั้งสิ้น 249 บริษัท จาก 26 หมวดธุรกิจ รวม 53.9% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ณ 31 กรกฎาคม 2567 ด้านเศรษฐกิจ CEO คาดว่าเศรษฐกิจไทยยังเติบโตได้ 2-3% ในปี 2567 และ 2568 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ คือ การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ มองเสถียรภาพทางการเมืองไทย ปัญหาหนี้ครัวเรือนและกำลังซื้อภายในประเทศเป็นปัจจัยเสี่ยงกดดันเศรษฐกิจ คาดเงินเฟ้อ 2567 เป็นไปตามกรอบเป้าหมาย อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ CEO ส่วนใหญ่คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย (GDP growth) ในปี 2567 และ 2568 จะอยู่ที่ราว 2-3% ทั้งในปีนี้และปีหน้า ปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจ สำหรับปี 2567 ต่อเนื่องถึงปี 2568 CEO มองว่า ปัจจัยที่จะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจมากที่สุดอันดับแรก คือ การท่องเที่ยว ตามด้วยนโยบายการคลังและการใช้จ่ายภาครัฐ โดยในปี 2568 CEO มองว่า นโยบายการคลังและการใช้จ่ายภาครัฐ และการส่งออกจะเข้ามามีบทบาทต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้น ในด้านปัจจัยที่ส่งผลทางลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุดสำหรับปี 2567 CEO มองว่า 3 อันดับแรก ได้แก่ เสถียรภาพการเมืองไทย หนี้ครัวเรือน และกำลังซื้อภายในประเทศ ตามลำดับ และสำหรับปี 2568 ก็ยังคงเป็น 3 ปัจจัยเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ในปี 2568 CEO มองว่าเสถียรภาพการเมืองไทยและปัญหากำลังซื้อภายในประเทศจะเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจน้อยลง แต่เสถียรภาพการเมืองโลกและต้นทุนค่าจ้างแรงงานจะเข้ามามีบทบาทกดดันเศรษฐกิจมากขึ้น รวมทั้งบางท่านมีความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างการผลิตของประเทศไทยที่ยังเป็นอุตสาหกรรมรูปแบบเก่าซึ่งต้องมีการปรับตัว และการเข้ามาทำตลาดของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 CEO ส่วนใหญ่ราว 60% เชื่อว่าน่าจะอยู่ภายในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ (1%-3%) และ 27% มองว่าอาจจะต่ำกว่ากรอบเงินเฟ้อ ด้านการดำเนินธุรกิจ CEO คาดว่ารายได้จากการประกอบธุรกิจยังเติบโตได้ในปี 2567 และอัตราการเติบโตจะเร่งขึ้นในปี 2568 ยังเชื่อมั่นลงทุนขยายธุรกิจเพิ่มเติมโดยเฉพาะในไทยและภูมิภาคอาเซียน ด้านสภาพคล่องของธุรกิจยังเป็นปกติแม้อาจมีความเสี่ยงจากกำลังซื้อภายในประเทศที่ลดลงและต้นทุนการผลิตที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น โดยมีการปรับกลยุทธ์ในหลายๆ ด้าน เพื่อรับมือกับความท้าทาย รายได้ของธุรกิจ สำหรับปี 2567 CEO ที่คาดการณ์ว่ารายได้ของธุรกิจจะเติบโตเล็กน้อยถึงปานกลาง (0.1-10%) มีจำนวนรวม 55% สอดคล้องกับแนวโน้มการเติบโตของรายได้ของบริษัทจดทะเบียน ในครึ่งปีแรก 2567 ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6.3% และ 7.7% สำหรับบริษัทจดทะเบียนใน SET และ mai ตามลำดับ[1] สำหรับปี 2568 CEO คาดว่ารายได้ของธุรกิจจะเติบโตเพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ในทุกระดับการเติบโต สะท้อนว่าในภาพรวม CEO คาดว่าอัตราการเติบโตของรายได้น่าจะเร่งตัวขึ้นในปีหน้า [1] ที่มา: https://www.set.or.th/th/about/mediacenter/news-release/article/572-setq2 การลงทุน CEO 3 ใน 4 มองว่าช่วงเวลา 12 เดือนข้างหน้า มีความน่าสนใจลงทุนหรือขยายกิจการเพิ่มเติม โดยจากกลุ่มดังกล่าว จำนวนประมาณ 2 ใน 3 มีความสนใจในภูมิภาคอาเซียนนำโดยประเทศไทยและตามมาด้วยเวียดนาม และให้ความสนใจรองๆ ลงมาในประเทศจีนและประเทศอินเดีย ตามลำดับ ซึ่งเป็นภูมิภาคหรือประเทศที่มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ และเศรษฐกิจกำลังพัฒนารวดเร็ว ปัจจัยการดำเนินธุรกิจที่ต้องติดตาม ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า CEO ส่วนใหญ่ห่วงปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง อาจเป็นความเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจมากที่สุด ตามด้วยปัจจัยต้นทุนการผลิตทั้งด้านวัตถุดิบ พลังงาน และต้นทุนทางการเงิน และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ รวมทั้งบางท่านมีความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้ามาทำตลาดของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยใหม่ที่ถูกระบุเพิ่มเข้ามาในการสำรวจรอบนี้ การบริหารด้านสภาพคล่อง จากผลการสำรวจความกังวลของ CEO เกี่ยวกับสภาพคล่องของกิจการในช่วง 12 เดือนข้างหน้า แสดงให้เห็นว่า CEO ส่วนมากยังมีความกังวลในด้านสภาพคล่องที่เกี่ยวกับยอดขายที่ชะลอตัวลงและการชำระเงินของลูกหนี้การค้า และส่วนหนึ่งมีความกังวลเกี่ยวกับการขอสินเชื่อธนาคารและวงเงินสินเชื่อ การปรับตัวทางธุรกิจรับมือความท้าทาย บริษัทจดทะเบียนดำเนินการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อรับมือกับความท้าทาย โดยมีการปรับโครงสร้างธุรกิจ กำหนด กลยุทธ์และเป้าหมายการลงทุน ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดและปรับปรุงสินค้าหรือบริการให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริการเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ในด้านโครงสร้างธุรกิจและการลงทุน CEO ส่วนใหญ่ เลือกที่จะปรับโครงสร้างภายในบริษัทเองมากกว่าที่จะปรับโครงสร้างผ่านการควบรวมกิจการหรือเปิดให้มีผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่เข้ามาเพิ่มเติม และ 70% เน้นการขยายการลงทุนภายในประเทศ  โดยมีบริษัท 40% ที่พิจารณาขยายการลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งใกล้เคียงกับสัดส่วนบริษัทจดทะเบียนราว 35% ที่มีการรายงานรายได้จากต่างประเทศในปีล่าสุด[1] และมีบริษัทราว 20% และ 30% ที่มีการพิจารณาทางเลือกแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมจากการเสนอขายตราสารทุนและหุ้นกู้ ตามลำดับ [1] ที่มา: https://storage.googleapis.com/sg-prd-set-mis-cms/common/research/1374.pdf ในด้านการดำเนินงานและการตลาด CEO จำนวนมาก ระบุว่าได้ดำเนินการหรือมีแผนในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านแรงงานและสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าหรือบริการ ควบคู่ไปกับการทำวิจัยและพัฒนา ปรับปรุงผลิตภัณฑ์และราคาให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของสินค้าหรือบริการ รวมทั้งมีการปรับช่องทางการโฆษณาสินค้าและวิธีการสื่อสารเฉพาะกลุ่มให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายแทนกลยุทธ์ทางการตลาดแบบเดิม ประเด็นเพิ่มเติม CEO มองเทรนด์โลกอย่างเทคโนโลยี Generative AI และการปรับตัวด้านความยั่งยืน เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจ ในขณะที่เห็นว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและสงครามการค้าระหว่างประเทศอาจส่งผลเชิงลบต่อเศรษฐกิจ CEO ส่วนใหญ่มองว่า ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า เทคโนโลยี Generative AI และเทรนด์การปรับตัวด้านความยั่งยืน (sustainability) จะส่งผลเชิงบวกทั้งต่อเศรษฐกิจไทยและการดำเนินธุรกิจมากที่สุด อาจนำมาทั้งโอกาสในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในทางกลับกัน CEO ส่วนใหญ่มองว่าการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจะส่งผลเชิงลบทั้งต่อเศรษฐกิจไทยและการดำเนินธุรกิจ โดยการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำอาจกระทบต่อต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น อีกหนึ่งปัจจัยที่ CEO ส่วนใหญ่มองว่าอาจกระทบต่อเศรษฐกิจไทยและส่วนหนึ่งมองว่าอาจกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ คือ สงครามการค้า

KKP ชี้แจกเงินฟื้นชั่วคราว ชำแหละปัจจัยเสี่ยงที่ควรรู้

KKP ชี้แจกเงินฟื้นชั่วคราว ชำแหละปัจจัยเสี่ยงที่ควรรู้

           หุ้นวิชั่น- แม้ว่าเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญความท้าทายจากปัญหาเชิงโครงสร้างในระยะยาว KKP Research ปรับประมาณการเศรษฐกิจสำหรับปี 2567 ขึ้นจาก 2.6% เป็น 2.8% และปี 2568 ขึ้นจาก 2.8% เป็น 3.0% เพื่อสะท้อนแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะสั้น จากสองปัจจัยบวกที่สำคัญ คือ 1) การแจกเงินให้กลุ่มเปราะบางของภาครัฐในช่วงไตรมาส 4 ปี 2567 และงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมที่ตั้งรอไว้สำหรับปี 2568 2) การปรับตัวดีขึ้นของการส่งออกบางกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นการฟื้นตัวตามวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลก ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชน ภาคการผลิตบางกลุ่ม และการบริโภคสินค้าคงทนยังคงเป็นปัจจัยฉุดเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังเป็นการปรับตัวดีขึ้นในระยะสั้นเท่านั้นจากแรงกดดันเชิงโครงสร้างในระยะยาวต่อเศรษฐกิจไทยที่ยังคงมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมสูงอายุ ปัญหาความสามารถในการแข่งขันระยะยาวในภาคการผลิต และหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยประเมินว่าการเติบโตระยะยาวของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มโตได้ต่ำกว่า 2.5% หากไม่มีการปฏิรูปเศรษฐกิจที่ชัดเจน การส่งออกปรับตัวดีกว่าคาด แต่ผลต่อเศรษฐกิจอาจไม่มาก            KKP Research ปรับประมาณการการส่งออก (ที่แท้จริง) ในปี 2567 ขึ้นจาก 1.3% เป็น 2.3% จากการส่งออกในช่วงที่ผ่านมาขยายตัวได้ดีกว่าที่ประเมินไว้ โดยการขยายตัวของการส่งออกปรับตัวดีขึ้นในหลายกลุ่ม อย่างไรก็ตามข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ ผลทางบวกต่อเศรษฐกิจจากการปรับตัวดีขึ้นของการส่งออกอาจมีไม่มากเท่ากับในอดีต จากหลายสาเหตุ คือ 1) การส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นในบางสินค้ามีแนวโน้มเกิดจากการ “Rerouting” หรือเป็นการเปลี่ยนเส้นทางการค้าจากจีนไปสหรัฐฯ โดยตรงเป็นการส่งสินค้าจากจีนผ่านไทยไปยังสหรัฐฯ เพื่อหลีกเลี่ยงการกีดกันทางภาษี ซึ่งอาจจะมีมูลค่าเพิ่มภายในประเทศค่อนข้างน้อย 2) การส่งออกที่เป็นตัวเงินปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่การส่งออกที่แท้จริงอาจปรับตัวสูงขึ้นน้อยกว่า 3) การผลิตสินค้าบางกลุ่มยังไม่ปรับตัวดีขึ้นตามการส่งออก เนื่องจากสินค้าคงคลังที่ยังอยู่ในระดับสูง เช่น กลุ่ม ICs และ Electronics เป็นต้น จากมูลค่าเพิ่มในประเทศที่มีแนวโน้มลดลง KKP Research ประเมินว่าการเพิ่มขึ้นของการส่งออก 1% จะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจลดลงจากประมาณ 0.3ppt เหลือประมาณ 0.1ppt ถึง 0.2ppt เท่านั้น ความหวังจากนโยบายภาครัฐใหม่            เศรษฐกิจไทยน่าจะได้รับผลบวกระยะสั้นจากนโยบายแจกเงินของรัฐบาลในไตรมาส 4 ปีนี้ โดยมีการแจกเงินจำนวน 142,000 ล้านบาทให้กับกลุ่มเปราะบางหรือคิดเป็นประมาณ 0.7% ของ GDP KKP Research ประเมินว่าผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมจะมีค่า Multiplier ที่ประมาณ 0.3 โดยประเมินว่าการแจกเงินในรอบแรกส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจประมาณ 0.2-0.3 ppt และมีแนวโน้มส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปีนี้เติบโตได้เกิน 4% อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ 2567/6825 ยังมีการอนุมัติงบประมาณอีก 150,000 – 180,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 0.8% - 0.9% ของ GDP ซึ่ง KKP Research ประเมินว่าการแจกเงินก้อนที่สองจะมีการใช้งานได้ในช่วงไตรมาส 2 ถึง ไตรมาส 3 ปี 2568 และน่าจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยโตขึ้นได้ประมาณ 3% ในปี 2568            นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลมีการประกาศนโยบายเศรษฐกิจใหม่และแนวโน้มสถานการณ์การเมืองไทยที่มั่นคงขึ้นในระยะสั้น KKP Research ประเมินว่านโยบายที่สำคัญ คือ 1) การปรับโครงสร้างหนี้ 2) การส่งเสริมและปกป้องผู้ประกอบการรายเล็กถึงกลางจากการแข่งขันจากต่างประเทศ 3) การให้ความช่วยเหลือด้านราคาพลังงานและสาธารณูปโภค 4) การดึงเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่เศรษฐกิจในระบบ และ 5) นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม KKP Research ยังมีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการดำเนินนโยบายของภาครัฐ จากหลายนโยบายที่ยังไม่มีแผนการดำเนินการที่ชัดเจน และข้อจำกัดด้านหนี้สาธารณะของภาครัฐ โดยในสถานการณ์ปัจจุบันหนี้สาธารณะต่อ GDP ของภาครัฐกำลังปรับตัวเพิ่มขึ้นเข้าสู่ระดับ 70% ของ GDP ในขณะที่ รายได้ภาษีต่อ GDP มีแนวโน้มลดลง 4 ปัญหาเชิงโครงสร้างยังคงฉุดให้เศรษฐกิจไทยโตต่ำ            KKP Research ยังคงมุมมองระยะยาวต่อเศรษฐกิจไทยโดยประเมินว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มโตได้ต่ำกว่า 2.5% หากไทยยังขาดนโยบายปฏิรูปเชิงโครงสร้างที่ชัดเจนโดยประเมินว่าในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจยังคงเผชิญกับสี่แรงกดดันเชิงโครงสร้างที่สำคัญ คือ            โครงสร้างประชากร โครงสร้างประชากรไทยในปัจจุบันกำลังเป็นปัจจัยลบต่อศักยภาพเศรษฐกิจไทยในระยะยาว จากจำนวนคนวัยทำงานที่ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในปี 2558            ความสามารถในการแข่งขัน ภาคการผลิตไทยเผชิญกับปัญหาควาสามารถในการแข่งขันในหลายอุตสาหกรรมทั้งยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี โดยการผลิตมีทิศทางที่หดตัวลงต่อเนื่องจากทั้งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจากสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ            ภาคการผลิตและการลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนไทยหดตัวลงรุนแรงถึง 5.7% ในไตรมาส 2 ของปีสูงกว่าที่คาดไว้ โดยการหดตัวเกิดขึ้นหลังจากภาคการผลิตไทยหดตัวต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในขณะที่การลงทุนในกลุ่มการก่อสร้างหดตัวลงเช่นกันตามตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่อ่อนแอ            สถานะทางการเงินของครัวเรือนที่อ่อนแอ โดยหนี้ครัวเรือนในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า 80% ซึ่งเป็นระดับที่เริ่มฉุดศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว ประกอบกับหนี้เสียในภาคธนาคารเริ่มปรับตัวสูงขึ้นชัดเจนในช่วงที่ผ่านมาสอดคล้องกับยอดปล่อยสินเชื่อใหม่ของธนาคารพาณิชย์ที่ยังมีแนวโน้มหดตัวลง ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงอ่อนแอ            ในช่วงที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วและเป็นหนึ่งในสกุลเงินที่แข็งขึ้นเร็วมากที่สุดในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม KKP Research ประเมินว่าการแข็งค่าของเงินบาทยังมีแนวโน้มเกิดจากปัจจัยระยะสั้นซึ่งเกิดจากการอ่อนค่าลงเร็วของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จากการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ และบรรยากาศการลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้นจากสถานการณ์การเมืองที่มีทิศทางชัดเจนขึ้น และการปรับตัวสูงขึ้นของราคาทองคำ            อย่างไรก็ตามในระยะต่อไป KKP Research ประเมินว่าว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในระยะยาวไม่สอดคล้องกับเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในระยะสั้น และยังคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยยังมีแนวโน้มต่ำกว่าในช่วงที่ผ่านมา แม้จำนวนนักท่องเที่ยวจะกลับไปใกล้เคียงกับระดับก่อนโควิดแล้วก็ตาม โดยการเกินดุลในระยะต่อไปจะอยู่ในระดับประมาณ 1% - 3% ของ GDP เมื่อเทียบกับสถานการณ์ก่อนโควิดที่ระดับ 7% - 8% ของ GDP ซึ่งเป็นผลมาจากหลายองค์ประกอบ จากทั้งดุลการค้าที่เกินดุลน้อยลงตามราคาน้ำมันและความสามารถในการแข่งขัน รายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลง และค่าขนส่งที่ยังสูงกว่าช่วงก่อนโควิด ดอกเบี้ยเข้าสู่ขาลง            แม้ว่า KKP Research จะปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจในปี 2567 และ 2568 ขึ้นแต่ยังคงประเมินว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1 ครั้งในปีนี้ และจะลดดอกเบี้ยต่อเนื่องอีก 2 ครั้งในไตรมาส 1 และ 2 ปีหน้าสู่ระดับ 1.75% จากระดับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับค่อนข้างสูงแล้วเมื่อเทียบกับเงินเฟ้อ การเติบโตทางเศรษฐกิจ ระดับอัตราดอกเบี้ยในอดีต และระดับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของประเทศพัฒนาแล้ว ในขณะที่หนี้ครัวเรือนที่อยูในระดับสูงเริ่มมีสัญญาณปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมา

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน