#เลือกตั้งสหรัฐฯ


เลือกตั้งสหรัฐฯเขย่าโลก เปิดโผหุ้นแกร่งสู้ผันผวน

เลือกตั้งสหรัฐฯเขย่าโลก เปิดโผหุ้นแกร่งสู้ผันผวน

          หุ้นวิชั่น- ฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) หรือ CGSI ระบุในบทวิเคราะห์ว่า แม้ว่าโพลล์สำรวจการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ล่าสุดชี้ว่านางกมลา แฮร์ริส ยังมีคะแนนนิยมนำนาย โดนัลด์ ทรัมป์ แต่คะแนนต่างกันไม่มาก หรือเพียง 1.2% pts ตามข้อมูลบนเว็บไซต์ FiveThirtyEight           นอกจากนี้ นายทรัมป์ยังมีคะแนนนำในรัฐ “swing state” 4 รัฐจากทั้งหมด 7 รัฐคือ จอร์เจีย, นอร์ทแคโรไลนา, เพนซิลเวเนียและแอริโซนา เท่ากับได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี (electoral votes) รวม 61 คะแนนจาก 92 คะแนน ส่วนนางแฮร์ริส มีคะแนนนำในรัฐ swing state ที่เหลืออีก 3 รัฐคือ มิชิแกน, วิสคอนซินและเนวาดา เท่ากับมีคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 31 คะแนน ดังนั้นจึงเชื่อว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ ยังมีโอกาสชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI ระบุว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ เสนอให้เรียกเก็บภาษีใหม่ในอัตรา 10-20% สำหรับสินค้าส่วนใหญ่ที่นำเข้าจากต่างประเทศและให้เก็บภาษีจากสินค้าจากจีนสูงถึง 60% หากทรัมป์ชนะเลือกตั้ง จึงคาดว่าจะมีเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ไหลออกจากจีนมาไทยมากขึ้น ส่งผลดีต่อกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม หุ้น Top pick คือ AMATA แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 33 บาท           นอกจากนี้ การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (US Treasury Yield) เพิ่มสูงขึ้น น่าจะทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ จะเป็นผลดีกับกลุ่มผู้ส่งออก เช่น ผู้ประกอบการกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มอาหาร หุ้น Top pick คือ HANA แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 44 บาท           ขณะเดียวกัน เชื่อว่ามุมมองของนักลงทุนต่อตลาดเกิดใหม่น่าจะมีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น จึงน่าจะช่วยให้หุ้นในกลุ่มปลอดภัย เช่น กลุ่มการแพทย์ปรับตัวดีขึ้น หุ้น Top pick ได้แก่ BCH แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 19.70 บาท           อย่างไรก็ตามนายทรัมป์น่าจะให้ความสำคัญกับเชื้อเพลิงแบบดั้งเดิมมากกว่าพลังงานหมุนเวียน จึงมองว่าในกรณีที่นายทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง ราคาน้ำมันและก๊าซ รวมถึงกลุ่มโรงกลั่นอาจได้รับผลกระทบ           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI ระบุว่า หากนาง กมลา แฮร์ริส ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยจะตอบสนองเชิงบวกมากกว่ากรณีที่นายทรัมป์เป็นผู้ชนะ ดังนั้น หุ้น Domestic play ที่เน้นธุรกิจในประเทศอย่างกลุ่มสินค้าอุปโภค บริโภค, กลุ่มอสังหาริมทรัพฯ และกลุ่มธนาคารน่าจะ outperform หุ้นปลอดภัย นอกจากนี้ ยังคาดว่าเงินทุนจากต่างชาติจะไหลกลับเข้าตลาดหุ้นไทยด้วยเช่นกัน           สำหรับหุ้น Top pick ของฝ่ายวิเคราะห์ภายใต้สถานการณ์นี้ โดยแนะนำซื้อ ได้แก่ CRC ราคาเป้าหมาย 42 บาท, MOSHI ราคาเป้าหมาย 54.75 บาท, SIRI ราคาเป้าหมาย 2.10 บาท, BBL ราคาเป้าหมาย 195 บาท และ KBANK ราคาเป้าหมาย 188 บาท           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI คาดว่า กำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯไตรมาส 3/67 จะลดลง เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศอ่อนตัวจากความไม่แน่นอนทางการเมือง ขณะที่ Bloomberg consensus คาดว่ากำไรของตลาดหุ้นไทยจะลดลง 23% yoy และ 15% qoq ในไตรมาส 3/67           อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ากองทุนรวมวายุภักษ์จะยังช่วยหนุนตลาด ซึ่งกระทรวงการคลังเผยว่าเพิ่งนำเงินทุน 30% ของ AUM ของกองทุนรวมวายุภักษ์ รวม 1.5 แสนล้านบาทไปลงทุนใน SET และกองทุน Thai ESG ดังนั้นฝ่ายวิเคราะห์จึงคงเป้าดัชนี SET สิ้นปี 68 อยู่ที่ 1,630 จุด เท่ากับ P/E 16 เท่าในปี 68 หรือ -0.75SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปี โดยมีหุ้น Top pick คือ AMATA, BBL, BCH, CBG, CPN, CRC, KBANK, KLINIQ, MOSHI, PTTEP และ SIRI

ส่องเลือกตั้งสหรัฐฯ จัดพอร์ตหุ้นรับมืออย่างไร?

ส่องเลือกตั้งสหรัฐฯ จัดพอร์ตหุ้นรับมืออย่างไร?

          ถ้าทรัมป์ชนะเลือกตั้งตามโพล           หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล.บัวหลวง ระบุว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มักผันผวนก่อนการเลือกตั้ง แต่ปีนี้ S&P 500 ปรับตัวขึ้น 3.6% ในเดือนกันยายน-ตุลาคม ซึ่งแตกต่างจากค่าเฉลี่ย -4.2% ในช่วง 28 ปีที่ผ่านมา แม้จะมีเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง เช่น การลอบสังหารทรัมป์และการถอนตัวของไบเดน โอกาสชนะของทรัมป์เพิ่มขึ้นจากการใช้แคมเปญที่เน้นประเด็นฟื้นฟูเศรษฐกิจ ลดภาษี และสร้างงาน โดยโพลล์ Real Clear Politics ชี้ทรัมป์นำแฮร์ริส หากพรรครีพับลิกันครองทั้งสองสภา (Republican Sweep) จะเพิ่มโอกาสในการผ่านนโยบายสำคัญของทรัมป์ได้ง่ายขึ้น นโยบายการลดภาษี (TCJA) ลงเหลือ 15% นั้น แม้จะสามารถยื่นร่วมกับการอนุมัติงบประมาณในรูปแบบที่เรียกว่า budget reconciliation ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ถูก filibuster ในวุฒิสภา อย่างไรก็ตาม การผ่านกฎหมายดังกล่าวยังต้องการเสียงโหวตเกินกึ่งหนึ่ง จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีวุฒิสมาชิกรีพับลิกันสายกลาง (moderate Republican senators) จะลังเลหรือไม่สนับสนุนการลดภาษี TCJA เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับหนี้สาธารณะที่สูงเกินกว่า 100% ของ GDP รวมทั้งการขาดดุลงบประมาณถึง 6% ของ GDP ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับสมัยแรกของทรัมป์ที่ขาดดุลเพียง 3.4% อันสะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงทางการคลังที่สูงขึ้น ทำให้การผ่านกฎหมายอาจมีความไม่แนนอนในประเด็ตดังกล่าวได้เช่นเดียวกัน ส่วนนโยบาย Trump 2.0 ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เร็วกว่าก็คือ นโยบายเพิ่มภาษีนำเข้า เพราะเป็นอำนาจของประธานาธิบดี (หากไม่ขัดมาตรา 232 และ 301) ดังนั้น หากมีผลบังคับใช้ ก็จะสร้างความผันผวนต่อตลาดคล้ายกับปี 2018 จากการประเมินปัจจัยต่างๆ ทั้งความเสี่ยงจากนโยบายเศรษฐกิจของทรัมป์ การขยายตัวของสงครามในตะวันออกกลาง รวมถึงการตอบสนองของนักลงทุนต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ เป็นที่ชัดเจนว่าปี 2025 อาจไม่ใช่ปีที่ราบรื่นสำหรับตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในอดีต เหตุการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจในช่วงการเปลี่ยนผ่านของนโยบายรัฐบาลมักสร้างความผันผวนให้กับตลาด ตัวอย่างเช่นในปี 2018 ยุค Trump 1.0 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีความผันผวนมากจากปัญหาสงครามทางการค้ากับจีน แม้ว่าในช่วงดังกล่าวนโยบายลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจะมีผลบังคับใช้แล้วก็ตาม ผลกระทบของนโยบายทรัมป์ต่อเศรษฐกิจไทย           สำหรับผลกระทบต่อการค้าไทย เรามองว่าหากมี Trade war ระลอกใหม่เกิดขึ้นจริง ก็น่าจะส่งผลกระทบกับกับสินค้าส่งออกไทย 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มที่ได้ประโยชน์ และกลุ่มที่เสียประโยชน์ ดังต่อไปนี้ กลุ่มที่เสียประโยชน์: แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มสินค้าที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานจีน ได้แก่ สินค้าขั้นต้นและขั้นกลางในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มเกษตร เช่น ส่วนประกอบแผงวงจรพิมพ์ และน้ำยางข้น เป็นต้น อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน สัดส่วนการส่งออกสินค้าขั้นต้นและขั้นกลางในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ไปจีนลดลงเหลือเพียง 7% ขณะที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพิ่มเป็น 36% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าวทั้งหมด เท่ากับว่าลดการพึ่งพิงการส่งออกไปยังจีนค่อนข้างมากแล้ว ทำให้ผลกระทบน่าจะน้อยกว่าการขึ้นภาษีในครั้งก่อน ส่วนการส่งออกยางพารา เรามองว่าไทยอาจจะได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากไทยส่งออกยางพาราไปจีนคิดเป็นสัดส่วนถึง 39% ของมูลค่าการส่งออกยางพาราไทยทั้งหมด กลุ่ม Price-sensitive products เช่น ข้าว รวมถึงผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่มีการแข่งขันสูงในตลาดโลก โดยไทยมีความเสียเปรียบด้านต้นทุน ซึ่งหากสหรัฐฯ เพิ่มภาษีนำเข้ากับทุกสินค้ากับทุกประเทศ ก็น่าจะส่งผลกระทบต่อสินค้าไทยในกลุ่มดังกล่าว กลุ่มที่ได้ประโยชน์: สินค้าไทยที่มีโอกาสเข้าไปทดแทนสินค้าจีนในตลาดสหรัฐฯ ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ถุงมือยาง ยางรถยนต์ ไปจนถึงหลอดและท่อยาง ซึ่งในส่วนนี้ไทยมีความได้เปรียบเชิงแข่งขันเหนือประเทศคู่แข่ง เนื่องจากมีแหล่งวัตถุดิบยางพาราในประเทศ ส่วนอีกกลุ่มที่น่าจะได้ประโยชน์ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขั้นปลาย ซึ่งประกอบด้วยคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ โดยเฉพาะในส่วนของ HDD รวมถึง Semiconductor และ IC ทั้งนี้ แนวโน้มการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ยังมีทิศทางเติบโตที่ดี โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึง 12% ต่อปี (CAGR ในช่วงปี 2023-2033) อันเป็นผลมาจากความต้องการในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามเรายังคงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการที่สหรัฐฯ จะปรับขึ้นภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าทุกประเภทจากทุกประเทศว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ เนื่องจากอาจไม่สอดคล้องกับมาตรา 232 และ 301 ดังนี้ มาตรา 232 – กฎหมายนี้ให้อำนาจประธานาธิบดีในการกำหนดอัตราภาษีสำหรับสินค้าที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ มาตรา 301 – ให้อำนาจประธานาธิบดีในการตอบโต้ประเทศที่มีการกระทำการค้าที่ยุติธรรม เช่น การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา           การใช้มาตรการภายใต้กฎหมายทั้งสองนี้ควรมีเหตุผลสนับสนุน และไม่ควรดำเนินการในลักษณะครอบคลุมแบบหว่านแห ดังนั้น ในทางปฏิบัติ การขึ้นภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าทุกประเภทและทุกประเทศจึงอาจไม่ไปไกลถึงจุดนั้น ส่งผลให้ผลกระทบต่อการค้าไทยจากประเด็นนี้อาจไม่รุนแรงเท่าที่กังวล ผลกระทบต่อตลาดหุ้น           ตลาดหุ้นทั่วโลกมักปรับตัวขึ้นหลังเลือกตั้งสหรัฐฯ แต่รอบนี้อาจต่างออกไป เนื่องจากข้อมูลการเลือกตั้งสหรัฐฯ 4 ครั้งในอดีต ระหว่างปี 2004-2016 ชี้ให้เห็นว่าตลาดหุ้นส่วนใหญ่มักให้ผลตอบแทนเป็นบวกในช่วง 1-3 เดือนหลังจากนั้น (Post-election rally) โดยมีแรงหนุนจากความคาดหวังต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ แต่เมื่อพิจารณาปัจจัยแวดล้อมพบว่าจาก 3 ใน 4 ครั้งที่ตลาดปรับตัวขึ้นนั้น เศรษฐกิจโลกอยู่ในวงจร mid cycle ในขณะที่อีก 1 ครั้ง คือในช่วงปี 2008 ที่เศรษฐกิจถดถอย ตลาดกลับให้ผลตอบแทนติดลบ           ข้อสังเกตดังกล่าวทำให้เห็นว่าวงจรเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาร่วมเพื่อประเมินแนวโน้มผลตอบแทนภายหลังการเลือกตั้ง ด้วยเหตุนี้ การเลือกตั้งปี 2024 จึงอาจให้ผลต่างออกไปจากค่าเฉลี่ยทางสถิติเรื่อง post-election rally เนื่องจากวงจรเศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ใน late cycle และมีแนวโน้มชะลอตัว ประกอบกับความกังวลเรื่องสงครามการค้าที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ทำให้ตลาดหุ้นโลกรอบนี้มีแนวโน้มผันผวนและอาจให้ผลตอบแทนติดลบในช่วง 3 เดือนหลังการเลือกตั้ง           สำหรับตลาดหุ้นไทย ในกรณีที่แฮร์ริสได้รับชัยชนะ แนวนโยบายส่วนใหญ่คงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันมากนัก จึงทำให้ไม่ต้องประเมินผลกระทบต่างไปจากเส้นทางเดิมมากนัก อย่างไรก็ตาม หากทรัมป์เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง หุ้นที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังต่อไปนี้ กลุ่มบวกที่ดำเนินธุรกิจในไทย จากโอกาสของการส่งออกสินค้าทดแทนจีน หรือการย้ายฐานการผลิต ได้แก่ กลุ่มถุงมือยาง: STGT อิเล็กทรอนิกส์: DELTA กลุ่มนิคมฯ: WHA, AMATA กลุ่มโรงไฟฟ้าในนิคมฯ: WHAUP กลุ่มบวกที่ดำเนินธุรกิจในเวียดนาม จะได้ประโยชน์จากการขยายตัวของเศรษฐกิจและการลงทุนในเวียดนาม เนื่องจากเวียดนามมีการส่งออกไปยังสหรัฐฯ สูง และได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิต กลุ่มค้าปลีก: BJC, CRC (การบริโภคในเวียดนามมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาคการส่งออก เพราะได้รับค่าแรงและการจ้างงานมากขึ้น) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง: SCGD กลุ่มนิคมฯ: WHA, AMATA