ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#อุตสาหกรรมยานยนต์


ยอดผลิตรถยนต์ ก.พ. 68 วูบ 13% แต่ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) พิ่มขึ้น 60.09%

ยอดผลิตรถยนต์ ก.พ. 68 วูบ 13% แต่ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) พิ่มขึ้น 60.09%

          นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์  ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ดังต่อไปนี้ การผลิต จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีทั้งสิ้น 115,487 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 13.62 เพราะผลิตขายในประเทศลดลงร้อยละ 21.26 โดยเฉพาะรถกระบะที่ยังคงลดลงร้อยละ 42.10 ตามยอดขายรถกระบะที่ลดลง และผลิตส่งออกลดลงร้อยละ 9.48 โดยเฉพาะรถยนต์นั่งลดลงถึงร้อยละ 47.01 ตามยอดส่งออกที่ลดลง จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 มีจำนวนทั้งสิ้น 222,590 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 19.29 รถยนต์นั่ง เดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลิตได้ 38,563 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 23.55 โดยแบ่งเป็น รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 16,379 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 64 รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 2,242 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 69 รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 2,227 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 65 รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 17,715 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ37 ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 มีจำนวน 74,277 คัน เท่ากับร้อยละ 33.37 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 27.85 โดยแบ่งเป็น รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 32,349 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 02 รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 3,907 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ95 รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 4,392 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 24 รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 33,629 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 31 รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 ไม่มีการผลิต รถยนต์บรรทุก เดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลิตได้ทั้งหมด 76,924 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 7.60 และตั้งแต่เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 ผลิตได้ทั้งสิ้น 148,313 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 14.19 รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลิตได้ทั้งหมด 76,017 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 5.28 และตั้งแต่เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 ผลิตได้ทั้งสิ้น 146,621 คัน เท่ากับร้อยละ 65.87 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 12.22 โดยแบ่งเป็น รถกระบะบรรทุก 29,780 คัน         ลดลงจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 43 รถกระบะดับเบิลแค็บ 86,478 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 77 รถกระบะ PPV 30,363 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 02 รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน - มากกว่า 10 ตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลิตได้  907 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 69.74 รวมเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 ผลิตได้ 1,692 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 70.79 ผลิตเพื่อส่งออก เดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลิตได้ 78,535 คัน เท่ากับร้อยละ 68 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 9.48 ส่วนเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 153,579 คัน เท่ากับร้อยละ 69 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 15.56 รถยนต์นั่ง เดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลิตเพื่อการส่งออก 13,511 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 47.01 และตั้งแต่เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 27,465 คัน เท่ากับร้อยละ 36.98 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ลดลงจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 48.26 รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2568 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 65,024 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 6.14 และตั้งแต่เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 126,114 คัน เท่ากับร้อยละ 83.92 ของยอดการผลิตรถกระบะ ลดลงจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 2.07 โดยแบ่งเป็น รถกระบะบรรทุก 20,321 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 39 รถกระบะดับเบิลแค็บ 79,868 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 79 รถกระบะ PPV 25,925 คัน    เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 54 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลิตได้ 36,952 คัน เท่ากับร้อยละ 32 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 21.26 และเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 ผลิตได้ 69,011 คัน เท่ากับร้อยละ 31 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 26.52 รถยนต์นั่ง เดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 25,052 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 0.43 แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ผลิตได้ 46,812 คัน เท่ากับร้อยละ 63.02 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ลดลงร้อยละ 6.12 รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนกุมภาพันธ์ 2568 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 10,993 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 42.10 และตั้งแต่เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 ผลิตได้ทั้งสิ้น 20,507 คัน เท่ากับร้อยละ 13.99 ของยอดการผลิตรถกระบะ และลดลงจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 46.39 ซึ่งแบ่งเป็น รถกระบะบรรทุก 9,459 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 13 รถกระบะดับเบิลแค็บ 6,610 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 59 รถกระบะ PPV 4,438 คัน  ลดลงจากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ06 รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 ไม่มีการผลิต รถบรรทุก เดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลิตได้ 907 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 69.74 และตั้งแต่เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 ผลิตได้ทั้งสิ้น 1,692 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 70.79 รถจักรยานยนต์ เดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 216,632 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 0.40 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 169,671 คัน ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 3.47 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 46,961 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ร้อยละ 17.43 ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2568 มีจำนวนทั้งสิ้น 430,703 คัน ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 2.19 โดยแยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 345,527 คัน ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 2.28 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 85,176 คัน ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 1.82 ยอดขาย ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีจำนวนทั้งสิ้น 49,313 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2568 ร้อยละ 1.20 และลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 6.68  จากการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินกับผู้ซื้อรถกระบะที่ยังคงลดลงร้อยละ 14.9 คงต้องรอยอดจองรถยนต์ในงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์ โชว์ ที่เริ่มวันที่ 26 มีนาคม ถึงวันที่ 6 เมษายน 2568 ที่สถาบันการเงินอาจปล่อยสินเชื่อรถกระบะมากขึ้น แต่เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้แถลงมาตรการช่วยเหลือรถกระบะในโครงการ "รถกระบะพี่ มีคลังค้ำ" โดยให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย)ค้ำประกันสินเชื่อซื้อรถกระบะซึ่งเป็นรถประกอบธุรกิจของประชาชนและเกษตรกรซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย มีวงเงินห้าพันล้านบาทโดยเริ่มรับคำขอตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 ซึ่งอยู่ในช่วงงานบางกอกอินเตอร์เนชั่นแนลมอเคอร์โชว์ ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2568 เพื่อกระตุ้นยอดขายรถยนต์และส่งเสริมให้ SME ซื้อรถกระบะไปประกอบอาชีพและสร้างรายได้ ขอบคุณรัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงการคลังที่เห็นถึงความเดือนร้อนของผู้ประกอบอาชีพทุกภาคส่วน และเพื่อให้ยอดขายรถยนต์กระบะเพิ่มขึ้น จึงขอให้เร่งแก้กฎหมายให้ครอบคลุมถึงสถาบันสินเชื่อที่ไม่ใช่ธนาคาร และสถาบันสินเชื่อของบริษัทรถยนต์ได้เข้าร่วม “โครงการรถกระบะพี่ มีคลังค้ำ” รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 30,788 คัน เท่ากับร้อยละ 62.43 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 2.37 รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 11,782 คัน เท่ากับร้อยละ89 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 11.81 รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 7,539 คัน เท่ากับร้อยละ 29 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 59.35 รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 788 คัน เท่ากับร้อยละ 53 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 209.02 รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 10,679 คัน เท่ากับร้อยละ66 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 19.04 รถกระบะมีจำนวน 13,184 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 15.13 รถกระบะไฟฟ้า (BEV) มีจำนวน 35 ในปีที่แล้วไม่มียอดจำหน่าย รถ PPV มีจำนวน  2,925 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ  11.47 รถบรรทุก 5 – 10 ตัน มีจำนวน 1,135 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 22.84 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 1,246 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 24.97 ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 147,563 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2567 ร้อยละ 5.62 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 2.71 ตั้งแต่เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 รถยนต์มียอดขาย 97,395 คัน ลดลงจากปี 2567 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 9.53 แยกเป็น รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 61,388 คันเท่ากับร้อยละ 63 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 6.85 รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 23,787 คัน เท่ากับร้อยละ42 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 14.03 รถยนต์นั่งแหละรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 14,558 คัน เท่ากับร้อยละ95 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 0.12 รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 1,753 คัน เท่ากับร้อยละ80 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 478.55 รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 21,292 คัน เท่ากับร้อยละ86 ของยอดขายรถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.83 รถกระบะมีจำนวน 25,441 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 16.31 รถกระบะไฟฟ้า (BEV) มีจำนวน 39 คัน ปีที่แล้วไม่มียอดจำหน่าย รถ PPV มีจำนวน 6,027 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 5.50 รถบรรทุก 5 – 10 ตัน มีจำนวน 2,117 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 29.78 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 2,383 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนช่วงกันในปีที่แล้ว 21.27 ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 303,913 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 2.10 การส่งออก รถยนต์สำเร็จรูป เดือนกุมภาพันธ์ 2568 ส่งออกได้ 81,323 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 30.49 แต่ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 8.34 เพราะจะมีการเปลี่ยนรุ่นรถของรถยนต์นั่งบางรุ่น จึงชะลอการผลิต ทำให้ส่งออกลดลงในตลาดเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ยังคงต้องติดตามการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้ารถยนต์ของสหรัฐอเมริกาในวันที่ 2  เมษายน 2568 ว่าจะมีประเทศไหนบ้าง และบางประเทศคู่ค้าลดคำสั่งซื้อเพื่อรอความชัดเจนในนโยบายการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกา บางประเทศคู่ค้ามีรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกเข้ามามีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้น บางประเทศคู่ค้ามีกฎหมายควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากประเทศขึ้น ประเภทรถยนต์ส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ 2568 แบ่งเป็น ดังนี้ รถกระบะ 52,947 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 11 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ร้อยละ 7.34 รถยนต์นั่ง ICE 10,297 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 66 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 47.64 รถยนต์นั่ง HEV 4,942 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 08 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 30.16 รถ PPV 13,137 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 15 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 3.83 มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 57,326.37 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 5.50 เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,741.25 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 58 ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 10,737.89 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 69 อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,257.92 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 84 รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนกุมภาพันธ์ 2568 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 73,063.43 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 10.91 เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2568 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 143,644 คัน ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 18.12 แบ่งเป็น รถกระบะ ICE 91,438 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 66 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 9.40 รถยนต์นั่ง ICE 23,448 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 32 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 40.69 รถยนต์นั่ง HEV 7,419 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 16 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 38.32 รถ PPV 21,339 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 86 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 7.04 มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 98,771.67 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 18.52 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 5,655.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 76 ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 25,736.39 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 90 อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 4,441.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 29 รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2568 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 134,605.39 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 16.73 รถจักรยานยนต์ เดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีจำนวนส่งออก 77,252 คัน (รวม CBU + CKD) เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2568 ร้อยละ 5.98 แต่ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 8.72 โดยมีมูลค่า 4,646.27 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 31.11 ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น16 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 36.56 อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 33.39 รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนกุมภาพันธ์ 2568 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ 5,032.19 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 29.69 เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2568 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 150,145 คัน (รวม CBU + CKD) ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 10.36 มีมูลค่า 10,793.77 ล้านบาท ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 13.66 ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 72 ล้านบาท ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 28.29 อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 91 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ร้อยละ 35.13 รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2568 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 11,559.40 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 12.97 เดือนกุมภาพันธ์ 2568 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่น ๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 78,095.61 ล้านบาท ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 12.42 เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2568 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 146,164.79 ล้านบาท ลดลงจากปี 2567 ร้อยละ 16.44 ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท BEV เดือนกุมภาพันธ์ 2568 เดือนกุมภาพันธ์ 2568 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 7,375 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้วร้อยละ 16.42 โดยแบ่งเป็น รถยนต์นั่งและรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 5,161 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 22 รถยนต์นั่งจำนวน 5,091  คัน รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คนจำนวน    66   คัน รถยนต์บริการธุรกิจจำนวน      4   คัน รถกระบะ รถแวนมีทั้งสิ้น 32 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 95 รถยนต์สามล้อรับจ้างมีทั้งสิ้น 2 คัน เท่ากับเดือนกุมภาพันธ์ 2567 รถยนต์รับจ้างสามล้อจำนวน      2   คัน รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 2,140 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 28 รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 2,140  คัน รถโดยสารมีทั้งสิ้น 8 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้วร้อยละ 56 รถบรรทุกมีทั้งสิ้น 32 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้วร้อยละ 83 เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน      22,086 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ปีที่แล้วร้อยละ 0.86 โดยแบ่งเป็น รถยนต์นั่งและรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 17,558 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 06 รถยนต์นั่งจำนวน           17,426 คัน รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คนจำนวน     119 คัน รถยนต์บริการธุรกิจจำนวน        6 คัน รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน        7 คัน รถกระบะ รถแวนมีทั้งสิ้น 64 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 61 รถยนต์สามล้อมีทั้งสิ้น 2 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 50 รถยนต์รับจ้างสามล้อจำนวน        2 คัน รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 4,403 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 03 รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน   4,402 คัน รถจักรยานยนต์สาธารณะจำนวน        1 คัน รถโดยสารมีทั้งสิ้น 10 คัน ซึ่งลดลงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ36 รถบรรทุกมีทั้งสิ้น 49 คัน ซึ่งลดลงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ62 ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท HEV เดือนกุมภาพันธ์ 2568 เดือนกุมภาพันธ์ 2568 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 12,050 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้วร้อยละ 0.49 โดยแบ่งเป็น รถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 11,997 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 26 รถยนต์นั่งจำนวน          11,978  คัน รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คนจำนวน       4  คัน รถยนต์บริการธุรกิจจำนวน       8   คัน รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน       7  คัน รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 53 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 112 รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน      53 คัน เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน  25,595 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ปีที่แล้วร้อยละ 2.06 โดยแบ่งเป็น รถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 25,464 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 38 รถยนต์นั่งจำนวน           25,431 คัน รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คนจำนวน      5  คัน รถยนต์บริการธุรกิจจำนวน      11  คัน รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน      17 คัน รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 131 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ35 รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน     131 คัน ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท PHEV เดือนกุมภาพันธ์ 2568 เดือนกุมภาพันธ์ 2568 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 1,020 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้วร้อยละ 14.09 โดยแบ่งเป็น รถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 1,020 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้วร้อยละ 09 รถยนต์นั่งจำนวน      1,020 คัน เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน  2,094 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ปีที่แล้วร้อยละ 14.18 โดยแบ่งเป็น รถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 2,094 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยละ 18 รถยนต์นั่งจำนวน                 2,091 คัน รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน             3 คัน ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV มีจำนวนทั้งสิ้น 249,335 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 61.88 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้ รถยนต์นั่งและรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 176,747 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 33 รถยนต์นั่งมีจำนวน 173,292 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 02 รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คนมีจำนวน 2,614 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 31 รถยนต์บริการธุรกิจมีจำนวน 89 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 93 รถยนต์บริการทัศนาจรมีจำนวน 171 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 09 รถยนต์บริการให้เช่ามีจำนวน 3 คัน ซึ่งในช่วงเดียวกันไม่มีการจดทะเบียน รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวน 578 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ36 รถกระบะและรถแวนมีจำนวน 933 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 128.68 รถยนต์ 3 ล้อมีจำนวนทั้งสิ้น 1,020 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 46 รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลมีจำนวน 114 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 71 รถยนต์รับจ้างสามล้อมีจำนวน 906 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 17 รถจักรยานยนต์มีจำนวนทั้งสิ้น 66,890 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 63 รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลมีจำนวน 66,773 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 84 รถจักรยานยนต์สาธารณะมีจำนวน 117 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 03 อื่นๆ รถโดยสารมีจำนวนทั้งสิ้น 2,799 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 87 รถบรรทุกมีจำนวนทั้งสิ้น 946 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 37 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV มีจำนวนทั้งสิ้น 494,816 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 33.90 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้ รถยนต์นั่งและรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 485,399 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 68 รถยนต์นั่งมีจำนวน 484,228 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 67 รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารฯ มีจำนวน 501 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 16 รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 84 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ37 รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 233 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ91 รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 150 รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวน 348 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 56 รถกระบะและรถแวนมีจำนวน 1 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 รถจักรยานยนต์มีจำนวนทั้งสิ้น 9,414 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 36 รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลมีจำนวน 9,414 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 36 อื่นๆ รถโดยสารมีจำนวนทั้งสิ้น 2 คัน ซึ่งเท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV มีจำนวนทั้งสิ้น 65,252 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 16.98 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้ รถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 65,252 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 98 รถยนต์นั่งมีจำนวน 65,177 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 99 รถยนต์บริการธุรกิจมีจำนวน 43 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 88 รถยนต์บริการทัศนาจรมีจำนวน 21 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 รถยนต์บริการให้เช่ามีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 67 รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวน 6 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2567 ร้อยละ 50

อุตสาหกรรมยานยนต์สั่นคลอน! ลดเป้าผลิตปี 2567 ลงอีก 2 แสนคัน

อุตสาหกรรมยานยนต์สั่นคลอน! ลดเป้าผลิตปี 2567 ลงอีก 2 แสนคัน

         หุ้นวิชั่น - ส.อ.ท.  เผยปรับเป้าผลิตรถยนต์ปี 2567 จาก 1,700,000 คันเป็น 1,500,000 คัน ลดลง 200,000 คัน โดยปรับการผลิตขายในประเทศลดลงจาก 550,000 คันเป็น 450,000 คัน และการผลิตเพื่อส่งออกลดลงจาก 1,150,000 คัน เป็น 1,050,000 คัน เดือนตุลาคม 2567 ขาย 37,691 คัน ลดลง 36.06% ส่งออก 84,334 คัน ลดลง 20.23% ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 688 คัน เพิ่มขึ้น 34,300% ส่วนการขายรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) 3,717 คัน ลดลง 49.73% นักวิเคราห์มอง ติดตามการผลิตไตรมาส 4 และยอดจองในงาน Motor Expo อย่างใกล้ชิด อาจพลิกเกมระยะสั้น           นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์  ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าตัวเลขประมาณการการผลิตรถยนต์ของสมาชิกกลุ่มฯ ในปี พ.ศ. 2567 (ใหม่) ปรับเป้าผลิตรถยนต์ปี 2567 จาก 1,700,000 คันเป็น 1,500,000 คัน ลดลง 200,000 คัน โดยปรับการผลิตขายในประเทศลดลงจาก 550,000 คันเป็น 450,000 คัน และการผลิตเพื่อส่งออกลดลงจาก 1,150,000 คัน เป็น 1,050,000 คัน โดยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนตุลาคม 2567 ดังต่อไปนี้ในส่วนการผลิตจำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนตุลาคม 2567 มีทั้งสิ้น 118,842 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 25.13 และลดลงจากเดือนกันยายน 2567 ร้อยละ 2.81 เพราะผลิตเพื่อส่งออกลดลงร้อยละ 7.00 และผลิตเพื่อขายในประเทศลดลงร้อยละ 51.70 จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม - ตุลาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,246,868 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - ตุลาคม 2566 ร้อยละ 19.28           ผลิตเพื่อส่งออก  เดือนตุลาคม 2567 ผลิตได้ 87,741 คัน เท่ากับร้อยละ 73.83 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 7.00 ส่วนเดือนมกราคม - ตุลาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 861,916 คัน เท่ากับร้อยละ 69.13 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 4.69 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ  เดือนตุลาคม 2567 ผลิตได้ 31,101 คัน เท่ากับร้อยละ 26.17 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 51.70 และเดือนมกราคม - ตุลาคม 2567 ผลิตได้ 384,952 คัน เท่ากับร้อยละ 30.87 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม – ตุลาคม 2566 ร้อยละ 39.89           ยอดขาย ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนตุลาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 37,691 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน 2567 ร้อยละ 36.08 ต่ำสุดในรอบ 54 เดือนนับตั้งแต่ยกเลิกล๊อคดาวน์จากการระบาดโรคหวัด 19 เดือนพฤษภาคม 2563 จากการเข้มงวดในการให้กู้ซื้อรถยนต์ของสถาบันการเงินเป็นหลัก ส่งผลให้จำนวนบัญชีผู้กู้ซื้อรถยนต์ในไตรมาสสามมี 6,365,571 บัญชีลดลงจากไตรมาสสอง 75,377 บัญชีเท่ากับร้อยละ 1.2 และลดลงจากไตรมาสสามปี 2566 จำนวน 199,655 บัญชีหรือร้อยละ 3.0 จำนวนเงินหนี้รถยนต์ไตรมาสสาม 2,465,204 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสสองร้อยละ 2.8 และลดลงร้อยละ 5.8 จากไตรมาสสามปี 2566 รถบรรทุกลดลงจากเศรษฐกิจของประเทศที่ยังอ่อนแอเติบโตในอัตราต่ำและหนี้ครัวเรือนสูง ดัชนีภาคอุตสาหกรรมขยายตัวต่ำที่ร้อยละ 0.1 ในไตรมาสสาม  โดยรถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 3,717 คัน เท่ากับร้อยละ 9.86 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 49.73           การส่งออก รถยนต์สำเร็จรูป เดือนตุลาคม 2567 ส่งออกได้ 84,334 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 5.08 แต่ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 20.23 ส่งออกลดลงเพราะฐานสูงในเดือนเดียวกันของปี 2566 ที่ส่งออกถึง 105,726 คัน ส่งผลให้ส่งออกลดลงทุกตลาด ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษคือตลาดออสเตรเลีย ตะวันออกกลางและยุโรปที่สงครามอิสราเอลกับฮามาสขยายมากขึ้น อาจจะส่งผลกระทบการส่งออกไปยังตลาดดังกล่าวน้อยลง อีกความขัดแย้งที่ต้องติดตามแบบไม่กระพริบตาที่จะกระทบเศรษฐกิจโลกคือสงครามยูเครนกับรัสเซียที่อาจขยายไปประเทศอื่นซึ่งกระทบการส่งออกรถยนต์และสินค้าอื่นๆ           ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท BEV เดือนตุลาคม 2567 เดือนตุลาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 6,651 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคมปีที่แล้วร้อยละ 32.19  โดยเดือนมกราคม - ตุลาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน      82,304 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - ตุลาคมปีที่แล้วร้อยละ 6.12           ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท HEV เดือนตุลาคม 2567  เดือนตุลาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 8,622 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคมปีที่แล้วร้อยละ 30.36           ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV มีจำนวนทั้งสิ้น 213,173 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 94.70           ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV มีจำนวนทั้งสิ้น 455,364 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 37.67 บริษัท หลักทรัพย์พาย จำกัด (มหาชน) ระบุถึง ยานยนต์ว่า ส.อ.ท.รายงานตัวเลขยานยนต์ ประจำเดือนตุลาคม 567 ยังคงไม่เห็นสัญญาณการปรับตัวเพิ่มแต่อย่างใด โดยเทียบกับปีก่อน ลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะยอดขายในประเทศ ที่ได้รับแรงกดดันจากปัญหาน้ำท่วมภาคเหนือในช่วงต้นปี และการชะลอตัวของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า ส่วนเทียบกับเดือนกันยายน มีเพียงการส่งออกที่เพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย  ขณะที่ยอดขายในประเทศและการผลิตรวมลดลงเล็กน้อย ส่วนปริมาณการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) มีจำนวน 668 คัน ลดลง 54%MoM คิดเป็นสัดส่วน 1.4% ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง รวมแล้วในช่วง 10M24 มีการผลิตรถยนต์ 1,246,686 คัน (-19%YoY) คิดเป็นสัดส่วน 73% ของเป้าการผลิตรถยนต์ทั้งปีที่สภาอุตสาหกรรมตั้งไว้ที่ 1.7 ล้านคัน ทำให้ทางสภาอุตสาหกรรมมีการปรับเป้าการผลิตลงอีกครั้งเหลือเพียง 1.5 ล้านคัน ใกล้เคียงกับที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ ทั้งนี้จาก ตัวเลขที่ออกมาดูไม่ดีขณะที่ปัจจัยบวกยังไม่ชัดเจน ดังนั้นระยะสั้นเราจึงคงน้ำหนักการลงทุนลงที่ "น้อยกว่าตลาด" เท่าเดิม สำหรับการผลิตรถยนต์ EV กลับมาลดลงอีกครั้งแสดงให้เห็นถึงการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น คำแนะนำการลงทุนหากการผลิตเป็นไปตามเป้าที่สภาอุตสาหกรรมคาดไว้ จะทำให้ตัวเลขในช่วงไตรมาส 4/2567 อยู่ที่ระดับ 371,000 คัน สูงกว่า ไตรมาส 3/2567  จึงมีโอกาสที่ผลประกอบการของกลุ่มยานยนต์จะเพิ่มขึ้นได้ (ส่วนเทียบกับปีก่อนคาดว่าจะลดลงมาก) ทั้งนี้ยังมีความเสี่ยงจากเป้าการผลิตที่สภาอุตาหกรรมคาดไว้ เพราะเดือนธันวาคมมีวันหยุดค่อนข้างมาก ดังนั้น ระยะสั้นจึงคงน้ำหนักการลงทุนที่ "น้อยกว่าตลาด" เหมือนเดิมจนกว่าจะเห็นสัญญาณฟื้นตัวของอุตสาหกรรม ทั้งนี้ในช่วงต้นเดือน ธ.ค.จะมีการจัดงาน Motor Expo อาจจะเป็นแรงหนุนราคาหุ้นในระยะสั้นๆได้ ถ้ายอดจองออกมาดี (ปี 23 มียอดจองกว่า 53,000 คัน)

ยานยนต์ไทยเผชิญแรงกดดัน รถ EV ครองตลาด คาดตลาดฟื้นครึ่งหลัง 68

ยานยนต์ไทยเผชิญแรงกดดัน รถ EV ครองตลาด คาดตลาดฟื้นครึ่งหลัง 68

           SCB EIC ชี้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยต้องเผชิญความท้าทายรอบด้านจากกำลังซื้อในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์ทรงตัวต่ำ คาดฟื้นตัวครึ่งหลังปี 2568 ส่วนรถยนต์เชิงพาณิชย์ได้รับแรงหนุนจากการค้าชายแดนและการท่องเที่ยว ขณะที่รถจักรยานยนต์ยังซบเซาต่อเนื่อง ด้านรถยนต์ไฟฟ้า (Hybrid และ BEV) เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ คาดครองตลาดราว 30% ในปี 2568 ท่ามกลางความท้าทายจากปัจจัยเชิงโครงสร้างในตลาด EV ที่ยังต้องจับตาต่อเนื่อง SCB EIC รายงานอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยกำลังเผชิญความท้าทายที่ถาโถมจากรอบด้าน             อุตสาหกรรมยานยนต์กำลังเผชิญแรงกดดันจากความต้องการในประเทศที่ยังไม่มั่นคง ทำให้ตลาดรถยนต์และจักรยานยนต์มีแนวโน้มฟื้นตัวช้า ส่วนกลุ่มยานยนต์เชิงพาณิชย์ คาดว่าจะกลับมาคึกคักขึ้นได้ เพราะอานิสงส์จากการค้าชายแดนและข้ามพรมแดน รวมถึงภาคการท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคักอย่างต่อเนื่อง ยอดขายรถยนต์ในประเทศคาดว่าจะทยอยฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2568 เป็นต้นไป             ยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2568 คาดว่าจะทรงตัวในระดับต่ำที่ 5.5 แสนคัน ขณะที่ในระยะปานกลาง มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้าและยังไม่สามารถกลับสู่ช่วง Pre-Covid ได้ในภายในปี 2571 เนื่องจากเผชิญกับผลพวงจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งประกอบด้วย 1. สถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ 2. กำลังซื้อในภาพรวมค่อนข้างเปราะบาง 3. พฤติกรรมการใช้รถของคนไทยยาวนานขึ้น 4. การแข่งขันด้านราคาที่ทวีความรุนแรง ส่งผลให้ผู้บริโภคบางส่วนชะลอการตัดสินใจซื้อรถออกไป            นอกจากนี้ เรายังคงต้องติดตาม Vicious cycle ในตลาดยานยนต์ไทย อันเกิดจากการที่สถาบันการเงินมีแนวโน้มตรึงความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ เนื่องจากมีความกังวลต่อทิศทางราคารถยนต์มือ 2 ที่คาดว่าจะปรับลดลงอีก เพราะปัญหาอุปทานส่วนเกินจากกลุ่มรถยึด ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวจะกดดันยอดขายรถยนต์ใหม่ให้ซบเซาต่อเนื่อง และทำให้เหล่าตัวแทนจำหน่ายต้องหันมาเน้นแข่งขันกันด้วยราคา ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมมูลค่าของหลักประกันหมวดยานยนต์ให้มีอัตราการเสื่อมค่าที่เร่งขึ้น ผันผวน และประเมินได้ยาก อุตสาหกรรมยานยนต์เชิงพาณิชย์มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวได้ เพราะกิจกรรมขนส่งทางบกกำลังทยอยกลับมาคึกคัก            อุตสาหกรรมยานยนต์เชิงพาณิชย์ปี 2568 มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวได้ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศและภาคส่งออกฟื้นตัวดีขึ้น โดยตลาดรถบรรทุกได้รับแรงหนุนจากกิจกรรมขนส่งตามแนวชายแดนและการค้าผ่านแดนเติบโตได้ต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดรถโดยสารได้รับอานิสงส์จากภาคท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคัก และมีส่วนช่วยให้ปัญหา Overcapacity ในกลุ่มรถบัสนำเที่ยวบรรเทาลง ทั้งนี้ในระยะปานกลาง จำเป็นต้องจับตาทิศทางการนำเข้ายานยนต์เชิงพาณิชย์ที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะจากกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน ซึ่งแม้จะตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อม แต่ก็นำมาซึ่งความเสี่ยงต่อผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนภายในประเทศให้สูญเสียความสามารถทางการแข่งขัน   ยอดขายรถจักรยานยนต์ยังคงมีแนวโน้มซบเซา เพราะกำลังซื้อในกลุ่มฐานรากค่อนข้างเปราะบาง ตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศปี 2568 มีแนวโน้มซบเซาต่อเนื่อง ขณะที่ในระยะปานกลางจะทยอยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากอุปสงค์ยังคงเผชิญแรงกดดันจากกำลังซื้อกลุ่มฐานรากที่เปราะบาง ทั้งจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง รายได้ภาคเกษตรผันผวน รวมถึงความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ดี ต้องติดตามความคืบหน้าของมาตรการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มกำลังซื้อและหนุนให้ความต้องการซื้อรถจักรยานยนต์จากกลุ่มแรงงานนอกภาคเกษตรฟื้นตัวได้เข้มแข็งมากขึ้น ทั้งนี้สำหรับภาคการส่งออกรถจักรยานยนต์ในปี 2568 คาดว่าจะสามารถกลับมาขยายตัวได้ เพราะอุปสงค์จากคู่ค้าสำคัญทยอยปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งในญี่ปุ่น ยุโรป และจีน ยอดขายรถ Hybrid และ BEV มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง และคาดว่าจะครองส่วนแบ่งตลาดราว 30% ในปี 2568 ตลาดรถยนต์นั่งไฟฟ้า (Hybrid และ BEV) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปี 2568 ยอดขายรถกลุ่มนี้จะอยู่ที่ราว 2.1 แสนคัน หรือคิดเป็น 30% ของยอดขายรถยนต์ในประเทศทั้งหมด โดยตลาดรถไฮบริดนับเป็นแรงส่งสำคัญเพราะผู้บริโภคมีการเปิดรับรถกลุ่มนี้มากขึ้น ทั้งในรถระดับกลาง (ราคา 5 แสน – 1 ล้านบาท) รวมถึงตลาดรถหรู ขณะที่ยอดขายรถ BEV มีแนวโน้มขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และคาดว่าส่วนแบ่งตลาดในระยะปานกลางจะทรงตัวอยู่ที่ 10% ของยอดขายรถยนต์ในประเทศ ทั้งนี้หากพิจารณาปัจจัยฉุดรั้งการเปิดรับรถ BEV จากฝั่งผู้บริโภค พบว่าเกิดขึ้นจากความกังวลใน 4 ประเด็นสำคัญ คือ 1. ความไม่เพียงพอของสถานีชาร์จสาธารณะ 2. ปัญหาอุปทานอะไหล่ยนต์ในประเทศและตัวเลือกอู่ซ่อมบำรุงรายย่อยยังมีค่อนข้างจำกัด 3. ผลพวงจากสงครามราคารถ BEV ที่ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทยอยปรับลดลง 4. ต้นทุนการถือครองบางส่วนยังอยู่ในระดับสูง อาทิ เบี้ยประกันและอัตราการเสื่อมมูลค่า สำหรับพัฒนาการห่วงโซ่อุปทาน EV ในประเทศไทยพบว่า กำลังการผลิตรถยนต์ BEV ภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยภายในปี 2568 - 2571 จะขยายตัวสู่ระดับ 6 แสนคัน/ปี นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก็เติบโตควบคู่ไปกับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน โดยเฉพาะการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า สถานีอัดประจุ/สลับแบตเตอรี่ และธุรกิจผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ EV ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากภาคธุรกิจสัญชาติไทย

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011