#หุ้นแบงก์


ช่วยลูกหนี้ “คุณสู้ เราช่วย” หุ้นแบงก์ใดได้โชค เช็กเลย!

ช่วยลูกหนี้ “คุณสู้ เราช่วย” หุ้นแบงก์ใดได้โชค เช็กเลย!

          หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล. ดาโอ ระบุว่า ธปท. ออกมาตรการแก้หนี้ช่วยเหลือลูกหนี้ในโครงการคุณสู้ เราช่วย โดยมี 2 มาตรการคือ มาตรการจ่ายตรง คงทรัพย์ และมาตรการ จ่าย ปิด จบ โดยลูกหนี้ที่จะเข้าร่วมได้ต้องทำสัญญาสินเชื่อก่อน 1 ม.ค. 24 และมีสถานะเป็นลูกหนี้ค้างชำระ 31-365 วัน ขณะที่ลูกหนี้ที่จะเข้าร่วมต้องเข้าไปลงทะเบียนผ่าน ธปท. ตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค. 24-28 ก.พ. 25 โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) มาตรการจ่ายตรง คงทรัพย์ มียอดหนี้ที่ 8.9 แสนล้านบาท (น้อยกว่าข่าวก่อนหน้านี้ที่ 1.3 ล้านล้านบาท) โดยธนาคารจะจ่าย FIDF ที่เท่าเดิมที่ 0.46% ขณะที่ภาครัฐจะตั้งกองกลางโดยนำเงินจาก FIDF fee ที่ 0.23% มาใส่ที่ราว 3.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งหากธนาคารไหนแก้หนี้ให้ลูกหนี้ได้เท่าไรก็สามารถมาเบิกดอกเบี้ยได้ 50% โดยมาตรการนี้จะครอบคลุมลูกหนี้ 5 กลุ่มคือ สินเชื่อบ้าน/Home for cash ไม่เกิน 5 ล้านบาท, สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์/Car for cash ไม่เกิน 8 แสนบาท, สินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์/Car for cash ไม่เกิน 5 หมื่นบาท, SME ไม่เกิน 5 ล้านบาท และบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลที่รวมหนี้บ้านและหนี้รถ โดยปีแรกชำระ 50% ของค่างวด, ปีที่สองชำระ 70% และปีที่สามชำระ 90% ขณะที่ลูกหนี้ไม่สามารถขอสินเชื่อใหม่ได้ในช่วง 12 เดือนแรก และต้องติด Flag ใน NCB 2) มาตรการ จ่าย ปิด จบ มียอดหนี้ที่ 1 พันล้านบาท โดยให้กับลูกหนี้ NPL บุคคลธรรมดาในทุกประเภทสินเชื่อ โดยมีภาระหนี้คงค้างไม่เกิน 5,000 บาท ซึ่งลูกหนี้ต้องชำระบางส่วนเพื่อเป็นการปิดบัญชี          เป็นกลางต่อกลุ่มธนาคาร เพราะรายละเอียดคล้ายกับข่าวก่อนหน้า โดย 1) มาตรการจ่ายตรง คงทรัพย์ มีเพียงวงเงินที่ลดลงเหลือ 8.9 แสนล้านบาท และเพิ่มวงเงินสินเชื่อบ้านและ SME เป็น 5 ล้านบาท จากเดิมที่ 3 ล้านบาท ขณะที่ผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนทั้งปี 2025E คาดว่าจะไม่กระทบแบบมีนัยสำคัญ เพราะ 1H25E จะโดนผลกระทบต่อ Loan yield ที่จะลดลง จาก EIR ที่ลดลงเพราะไม่มีการรับรู้ดอกเบี้ย 3 ปี แต่ช่วง 2H25E จะเห็นการลดลงของสำรองฯหลังจากที่ลูกหนี้กลับมาจ่ายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด อย่างไรก็ดี รอความชัดเจนในการลงบัญชีเพราะตอนนี้ยังไม่ทราบว่าจะมีการบันทึกเป็นดอกเบี้ยค้างรับหรือไม่ ซึ่งต้องรอรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ธปท. อีกที ส่วน 2) มาตรการ จ่าย ปิด จบ เรามองเป็นบวกเพราะสินเชื่อส่วนบุคคล-บัตรเครดิต โดยปกติทุกธนาคารจะมีการ write-off ค่อนข้างเร็วประมาณ 6-12 เดือน โดยสินเชื่อที่เข้ามาตรการนี้จะเป็นหนี้เสียค้างเกิน 1 ปี ทำให้กลุ่มธนาคารมีโอกาสได้เงินคืนจากลูกหนี้กลุ่มนี้เข้ามาเพิ่มเติมได้บ้างเล็กน้อย ทั้งนี้ธนาคารขนาดใหญ่ที่มีสัดส่วนสินเชื่อรายย่อยเรียงจากมาก-น้อยคือ TTB (62%), KTB (46%), SCB (40%), KBANK (28%) ยังคงน้ำหนักเป็น “มากกว่าตลาด”           เลือก KTB, KBANK เป็น Top pick เราให้น้ำหนักการลงทุนของกลุ่มธนาคารเป็น “มากกว่าตลาด” เพราะแนวโน้มการเติบโตของกำไรปี 2024E-2025E จะยังเติบโตได้ต่อเนื่องอีก 5-6% YoY ขณะที่ valuation ยังถูก โดยเทรดที่ระดับเพียง 0.67x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) ขณะที่เรายังคงเลือก KBANK, KTB เป็น Top pick - KTB ราคาเป้าหมายที่ 24.50 บาท อิง PBV 2025E ที่ 0.85x (-0.75SD below 10-yr average PBV) เพราะกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในกลุ่มธนาคารที่ +18% YoY ขณะที่เราคาดว่าแนวโน้มกำไรสุทธิ 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY แต่จะลดลง QoQ จาก OPEX ที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล และ KTB เน้นปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำและรองรับกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้ - KBANK ราคาเป้าหมายที่ 176.00 บาท บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.70x (-1.00SD below 10-yr average PBV) เพราะคุณภาพของสินทรัพย์ที่ดีขึ้น และเราคาดหวัง JV AMC กับ BAM จะช่วยลด NPL ได้ในระยะยาว และคาดกำไร 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY จากสำรองฯที่ลดลง โดยปัจจุบันซื้อขายเพียง 0.66x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) ถูกกว่า SCB ที่ 0.81x PBV

หุ้นแบงก์ทำไมจะโตช้า ปรับพอร์ตยังไง ควรเช็ก!

หุ้นแบงก์ทำไมจะโตช้า ปรับพอร์ตยังไง ควรเช็ก!

          หุ้นวิชั่น- ฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) หรือ CGSI ระบุในบทวิเคราะห์ ว่า เมื่อวันที่ 29 พ.ย.67 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะสินเชื่อไตรมาส 3/67 พบว่า สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค รวมถึงสินเชื่อธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกมีคุณภาพลดลงอีก ทั้งนี้สินเชื่อรายย่อยทุกกลุ่มมีอัตราส่วน NPL เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมี NPL เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ทรงตัว qoq ที่ 89.6% ในไตรมาส 2/67 นอกจากนี้ ยอดตัดหนี้สูญโดยรวมเพิ่มขึ้น 27% yoy แต่ลดลง 10% qoq ส่วนหนี้ปรับโครงสร้างเพิ่มขึ้น 15% yoy และ 18% qoq สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการเคลียร์งบดุลของธนาคาร           กลุ่มสินเชื่อรายย่อยมีสัดส่วนสินเชื่อ stage 2 หรือสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (underperforming) เพิ่มสูงขึ้นจึงทำให้มาตรฐานการให้สินเชื่อของธนาคารเข้มงวดขึ้นตามรายงานในแบบสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อของธปท.           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI เชื่อว่า ความต้องการสินเชื่อรายย่อยในไตรมาส 4/67 จะมาจากกลุ่มสินเชื่อรถ เนื่องจากมีการจัดงาน Motor Show ในเดือนธ.ค.67 และสินเชื่อบัตรเครดิตเพราะเป็นไฮ-ซีซั่นของการใช้จ่ายในประเทศ ขณะเดียวกัน ผลสำรวจชี้ว่าความต้องการสินเชื่อธุรกิจจะยังมาจากสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน จึงเชื่อว่ายอดสินเชื่อรวมในไตรมาส 4/67 จะเติบโตเล็กน้อย qoq แต่สินเชื่อทั้งปี 67 น่าจะยังติดลบ หลังยอดสินเชื่อรวมงวด 9 เดือนของปีนี้ลดลง           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI คาดว่า ยอดสินเชื่อรวมของกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะเติบโต 2.6-3.0% ในปี 68-69 เพราะธนาคารมีเกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวดและ GDP ไทยยังขยายตัวต่ำ (ฝ่ายวิเคราะห์ฯคาดโต 3% ในปี 68) นอกจากนี้ ประมาณการว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) จะลดลงจาก 3.51% ในปี 67 เป็น 3.45% และ 3.41% ในปี 68-69 ตามลำดับ ภายใต้สมมติฐานที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในช่วงครึ่งปีแรก 68 อีกทั้งเชื่อว่ารายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยน่าจะยังเติบโตอ่อนตัวในอัตรา 3.9% ในปี 68-69 จะส่งผลให้กำไรก่อนตั้งสำรอง (PPOP) ในช่วงเดียวกันเติบโตเพียง 1.15-1.83%           อย่างไรก็ตาม คาดว่าอัตราการสำรองหนี้สูญจะลดลงเหลือ 144bp ในปี 68 และ 134bp ในปี 69 เทียบจาก 152bp ในปี 67 ดังนั้นจึงทำประมาณการ ROE ของกลุ่มธนาคารในปี 68-69 อยู่ที่ 8.9-9.0% เทียบจาก 10.1-12.3% ในปี 58-61           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI มองว่า ธนาคารพาณิชย์ไทยยังขาดปัจจัยหนุนที่แข็งแกร่ง จึงยังแนะนำให้คงน้ำหนักการลงทุน (Neutral) กลุ่มนี้ เนื่องจากอัตราการเติบโตของ PPOP และ ROE ในปี 68-69 มีแนวโน้มชะลอตัว ฝ่ายวิเคราะห์ฯถอด KBANK ออกจากหุ้น Top pick หลังราคาหุ้น outperform ดัชนี SET และ SETBANK ถึง 10.3% YTD และ 8.5% YTD (1 ม.ค.-22 พ.ย.67) ตามลำดับ           ขณะที่เพิ่ม SCB เข้ามาเป็นหุ้น Top pick เพราะคาดว่าธนาคารจะมี EPS เติบโต 7% และมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงที่ 9.6-10.3% ในปี 68-69 โดยกลุ่มธนาคารจะมี downside risk หาก NPL เพิ่มขึ้นและมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่วน upside risk จะมาจากการที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาไทยมากขึ้น, ความตึงเครียดทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ลดลงและรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

โบรกฯจับตา “กลุ่มแบงก์” แก้หนี้ครัวเรือน พารอด หรือ ร่วง ?

โบรกฯจับตา “กลุ่มแบงก์” แก้หนี้ครัวเรือน พารอด หรือ ร่วง ?

          หุ้นวิชั่น – บล.เอเชียพลัส ส่องกลุ่มแบงก์ วิเคราะห์จากการรวบรวมข่าวตามสื่อในประเทศ เกี่ยวกับการแก้หนี้ครัวเรือน โดยเบื้องต้นสมาคมธนาคารไทยเตรียมจะออกมาตรการเร็วๆ นี้ ซึ่งการช่วยเหลือจะเน้นไปที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี, สินเชื่อรถ (ยอดสินเชื่อลูกหนี้ต่อรายประมาณ 8 – 9 แสนบาท), สินเชื่อบ้าน (ยอดสินเชื่อลูกหนี้ต่อรายไม่เกิน 3 ล้านบาท) ที่มีปัญหาชำระหนี้ มียอดค้างชำระไม่เกิน 360 วัน หรือ 1 ปี (Stage 2 + NPL) และเป็นผู้ที่มีปัญหาการชำระหนี้มาแล้วก่อนที่มาตรการนี้จะออกมา (ลด Moral hazard) โดยแนวทางการช่วยเหลือจะทำผ่านการพักชำระดอกเบี้ย (ระยะเวลา 3 ปี) หากสามารถทำได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ก็จะได้รับการยกเว้นดอกเบี้ยในส่วนที่พักไว้           แต่หากไม่สามารถชำระได้ตลอดเงื่อนไข ดอกเบี้ยที่พักไว้จะยังคงอยู่เช่นเดิม ส่วนเงินต้นจะมีการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อลดค่างวด ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการจะต้องหยุดก่อหนี้ระยะหนึ่ง หากไม่สามารถทำได้ก็จะยุติการพักดอกเบี้ย           กล่าวโดยสรุปด้วยระยะเวลาพักดอกเบี้ยที่ค่อนข้างนาน และมีเงื่อนไขในการยกเว้น ดอกเบี้ยให้ แต่ด้วยความช่วยเหลือ อาจขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละ ธ.พ. (ช่วง COVID-19 ณ สิ้นงวด Q3/63 พบว่า TISCO มีสัดส่วนมูลหนี้ภายใต้การช่วยเหลือ ต่ำกว่ากลุ่มฯ) และความสมัครใจของลูกหนี้ จึงให้มุมมองลบเล็กน้อย คำแนะนำการลงทุน โดย ธ.พ. ที่ให้ Div yield สูง           ฝ่ายวิจัยชอบ TISCO, SCB มากกว่า TTB และ KKP ในทางตรงข้าม ธ.พ. ที่จะได้รับผลกระทบจากการลดดอกเบี้ยนโยบาย มากกว่ากลุ่ม ชอบ KTB, BBL มากกว่า KBANK จาก Coverage ratio สูงกว่า และสัดส่วนสินเชื่อที่เข้าเงื่อนไขการช่วยเหลือลูกหนี้ต่ำกว่ากลุ่มฯ