#ส่งออก


ส่งออกทูน่าปี 68 ฟื้นตัวแรง! คาดมูลค่าส่งออกโต6.2%

ส่งออกทูน่าปี 68 ฟื้นตัวแรง! คาดมูลค่าส่งออกโต6.2%

           แนวโน้มอุตสาหกรรมทูน่าปี 2025 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากปี 2024 โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องจะขยายตัวที่ 6.2% YOY สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก            ภาพรวมอุตสาหกรรมทูน่าไทยในปี 2024 ถือว่าเติบโตได้ค่อนข้างดี ในช่วง 10 เดือนแรกที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของกลุ่มขยายตัว 24.6%YOY เป็นผลจากปริมาณการส่งออกที่เติบโตสูงถึง 35.2%YOY ทั้งนี้คาดว่ามูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องในปีนี้จะสามารถฟื้นกลับไปอยู่สูงกว่าช่วง Pre-COVID ได้อีกครั้ง สอดคล้องกับภาพรวมการบริโภคในตลาดโลกและประเทศคู่ค้าหลักของไทยที่ทยอยฟื้นตัวดีขึ้น อนึ่ง ปริมาณการส่งออกทูน่ากระป๋องที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวได้รับอานิสงส์จากอุปทานปลาทูน่าจับได้ (Tuna catch) ที่เพิ่มขึ้นมากจากผลพวงของภาวะโลกร้อนที่ส่งผลให้อุณหภูมิในมหาสมุทรอุ่นขึ้น (Ocean warming) ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวนอกจากจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและทำให้มหาสมุทรสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว ยังมีผลให้ฝูงปลา ทูน่าย้ายถิ่นฐาน (Tuna migration) หนีคลื่นน้ำอุ่นไปรวมตัวกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่งของมหาสมุทรเยอะมากเป็นพิเศษ จึงส่งผลดีต่อการทำประมงในบริเวณนั้น            สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมทูน่าในปี 2025 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากปีนี้ โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องจะขยายตัวที่ 6.2%YOY สอดคล้องกับภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ทยอยฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ การส่งออกที่ดีขึ้นยังเป็นผลจากการเติบโตของความต้องการบริโภคอาหารฮาลาล สะท้อนได้จากมูลค่าการนำเข้าทูน่ากระป๋องจากประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง (Middle East) ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมทั้งอานิสงส์จากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical risks) ที่ยังคงยืดเยื้อและมีแนวโน้มขยายวงกว้างขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวมีส่วนทำให้หลาย ๆ ประเทศต้องการสต็อกสินค้าอาหารที่สามารถเก็บไว้บริโภคได้นานโดยเฉพาะอาหารกระป๋องเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย            ในระยะข้างหน้า ความท้าทายหลักที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมทูน่าต้องให้ความสำคัญและเตรียมพร้อมรับมือ คือมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) ที่มีแนวโน้มเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานทาสและแรงงานผิดกฎหมายในอุตสาหกรรมประมง ซึ่งเป็นประเด็นที่ทางการไทยต้องเร่งแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำที่รัฐบาลสหรัฐฯ กำหนด รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับมาตรการกำกับดูแลการทำประมงอย่างยั่งยืน (Sustainable fishing) พร้อม ๆ ไปกับการปรับโมเดลธุรกิจและกลยุทธ์การเติบโตให้สอดรับกับเมกะเทรนด์สำคัญของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทรนด์เรื่องอาหารปลอดภัย และ Healthier choice เพื่อตอบโจทย์เทรนด์ใส่ใจสุขภาพของผู้บริโภคยุคใหม่ รวมทั้งการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนเพื่อตอบโจทย์เทรนด์ ESG โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “Carbon-neutral tuna products” ซึ่งเป็นสิ่งที่กำลังถูกพูดถึงมากขึ้นในปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายเพื่อลด Carbon footprint ในห่วงโซ่การผลิตทูน่าอย่างครบวงจร เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon neutrality ภายในปี 2050 นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ทันสมัยมาปรับใช้ให้มากขึ้น เพื่อให้สอดรับกับเทรนด์ Digitization และตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการทั้งความทันสมัยและความสะดวกสบาย พร้อม ๆ ไปกับลดการพึ่งพาแรงงานคน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก ที่มา : SCB EIC

เจาะหุ้นส่งออกไทย เช็กด่วน! ตัวไหนรับโชค

เจาะหุ้นส่งออกไทย เช็กด่วน! ตัวไหนรับโชค

หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล.ดาโอ ระบุว่า ส่งออกโดยรวม ต.ค. 2024 ขยายตัว MoM ยกเว้นอาหารสัตว์เลี้ยง กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยตัวเลขส่งออกสำคัญดังนี้ 1) ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงเดือน ต.ค. 2024 อยู่ที่ 260 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+18% YoY, -1% MoM) และตัวเลข 10M24 อยู่ที่ 2,520 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+25% YoY) 2) ส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปเดือน ต.ค. 2024 อยู่ที่ 366 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+27% YoY, +5% MoM) และตัวเลข 10M24 อยู่ที่ 3,186 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+11% YoY) 3) ส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปเดือน ต.ค. 2024 อยู่ที่ 407 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+12% YoY, +12% MoM) และตัวเลข 10M24 อยู่ที่ 3,593 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+5% YoY) 4) ส่งออกยางพาราเดือน ต.ค. 2024 อยู่ที่ 456 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+33% YoY, +5% MoM) และตัวเลข 10M24 อยู่ที่ 4,124 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+38% YoY) (ที่มา: กระทรวงพาณิชย์) มีมุมมองเป็นบวกจากส่งออกส่วนใหญ่ขยายตัวดี MoM โดยส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปคาดได้อานิสงส์จากราคาทูน่าที่อยู่ในระดับเหมาะสมและการเร่งทำการตลาดต่อเนื่อง ส่งออกไก่ยังได้ผลบวกต่อเนื่องจาก high season ในไตรมาส 3 ก่อนที่จะทยอยชะลอตัวในช่วงที่เหลือของปี และส่งออกยางได้ปัจจัยหนุนจากผลผลิตยางที่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงชะลอเล็กน้อย -1% MoM เชื่อว่าเป็นผลจากลูกค้าบางส่วนที่ยังมีปัญหาจองพื้นที่เรือ • สำหรับทิศทาง 4Q24E 1) กลุ่ม Pet Food เบื้องต้นประเมินกำไรปกติจะขยายตัวต่อเนื่อง YoY จากฐานต่ำใน 4Q23 ที่ยังมีผลกระทบจาก inventory destocking ของลูกค้า แต่มีโอกาสทรงตัว QoQ จากผลกระทบการจองพื้นที่เรือของลูกค้าในช่วงต้นไตรมาส, 2) TU เราคาดการณ์กำไรปกติจะโต YoY, QoQ หนุนโดยธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปยังดีต่อเนื่อง, 3) NER เบื้องต้นประเมินกำไรปกติจะอ่อนตัว YoY จากปริมาณขายลดลงจากฐานสูง แต่จะกลับมาดีขึ้น QoQ ตามปัจจัยฤดูกาลจากปริมาณยางที่ทยอยเข้าสู่ตลาดมากขึ้น, และ 4) GFPT ประเมินกำไรปกติปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง YoY จากต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ลดลง แต่จะกลับมาอ่อนตัว QoQ เป็นผลจากปัจจัยฤดูกาลหลังผ่านช่วง high season • ทั้งนี้กลุ่ม Pet Food คงน้ำหนัก “Neutral” และ Top pick คือ ITC (ซื้อ/เป้า 30.00 บาท) จากแนวโน้มกำไรปกติปี 2025E ขยายตัวสูงกว่าที่ +6% YoY เทียบกับ AAI ที่ +2% ขณะที่ลูกค้าใหม่รายใหญ่ของ AAI ยังมีโอกาสล่าช้า สำหรับหุ้นตัวอื่นๆ ในกลุ่มนี้ แนะนำ - TU (ซื้อ/เป้า 18.50 บาท) มี catalyst จากโรงงานใหม่ทยอย ramp up และราคาทูน่าที่กลับมาอยู่ใน comfort level ของบริษัทมากขึ้น ทำให้ลดแรงกดดันในการปรับราคาขายลง - NER (ถือ/เป้า 5.50 บาท) หลังราคายางทยอยกลับสู่ระดับปกติ โดยปรับตัวลง -16% QTD นอกจากนี้การขยายกำลังการผลิตของโรงงานใหม่ในโกตดิวัวร์และไทย จะเริ่มได้เร็วสุดในปี 2026E - GFPT (ซื้อ/เป้า 16.00 บาท) จากราคาไก่ในประเทศมีโอกาสกลับมาฟื้นตัวหลังผ่านช่วงฤดูฝน ขณะที่ valuation ปัจจุบันยังน่าสนใจ เทรดที่ 2025E PER เพียง 6x

ส่งออกไทย ต.ค. เกินคาด  มั่นใจสิ้นปีโต 4% กว่า 3แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

ส่งออกไทย ต.ค. เกินคาด มั่นใจสิ้นปีโต 4% กว่า 3แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

          หุ้นวิชั่น - พาณิชย์รายงานตัวเลข ส่งออกไทย ต.ค. ทะยานสูงสุดในรอบ 19 เดือน โต 14.6% หนุนโดยสินค้าเทคโนโลยี-อาหาร มูลค่ารวมกว่า 27,222 ล้านดอลลาร์ แนวโน้มส่งออกไตรมาส 4 แกร่ง คาดทั้งปีแตะเป้า 300,000 ล้านดอลลาร์ เติบโต 4% ท่ามกลางปัจจัยหนุนและความท้าทายรอบด้าน แต่คาดปีหน้า 2568 โตต่อเนื่อง   นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) แถลงข่าวภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนตุลาคม และ 10 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออกของไทยในเดือนตุลาคม 2567 มีมูลค่า 27,222.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (896,735 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 14.6 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวที่ร้อยละ 10.7 ทำมูลค่าสูงสุด ในรอบ 19 เดือน โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญจากการส่งออกสินค้ากลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ที่เติบโตในระดับสูง สอดรับกับกระแสการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่เติบโตอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ หลายประเทศยังมีการเร่งนำเข้าเครื่องจักรสำหรับการผลิต และวัตถุดิบที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งนอกจากจะรองรับการฟื้นตัวของภาคการผลิตแล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมเชิงกลยุทธ์เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านการค้าระหว่างประเทศที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ขณะเดียวกันยังมีปัจจัยบวกจากการขยายตัวของ ความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดโลก และสถานการณ์เงินเฟ้อในตลาดส่งออกหลักที่เริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้ กำลังซื้อในตลาดเหล่านั้นปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ การส่งออกไทย 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 4.9 และ เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 4.8           มูลค่าการค้ารวม มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนตุลาคม 2567 การส่งออก มีมูลค่า 27,222.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 14.6 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 28,016.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15.9 ดุลการค้า ขาดดุล 794.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม 10 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออก มีมูลค่า 250,398.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 4.9 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 257,149.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.6 ดุลการค้า 10 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 6,751.2 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนตุลาคม 2567 การส่งออก มีมูลค่า 896,735 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.8 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 934,700 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.1 ดุลการค้า ขาดดุล 37,965 ล้านบาท ภาพรวม 10 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออก มีมูลค่า 8,854,630 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.3 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 9,199,289 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.9 ดุลการค้า 10 เดือนแรก ของปี 2567 ขาดดุล 344,659 ล้านบาท           การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 7.2 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน โดยสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 6.8 และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 7.6 โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าว ขยายตัวร้อยละ 10.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดแอฟริกาใต้  สหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ อิรัก และแคเมอรูน) ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 32.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ มาเลเซีย เกาหลีใต้ และอินเดีย) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 12.4 กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร มาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ และสิงคโปร์) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 26.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา และอียิปต์) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 18.2 ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย อิตาลี ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน ) และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 28.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน (ขยายตัวในสหรัฐฯ จีน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และแคนาดา) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง หดตัวร้อยละ 3.3 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ ฮ่องกง สิงคโปร์ และอินเดีย แต่ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม เกาหลีใต้ และเมียนมา) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 30.6 หดตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (หดตัวในตลาดจีน ไต้หวัน มาเลเซีย อินเดีย และแคนาดา แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย) น้ำตาลทราย หดตัว ร้อยละ 12.8 หดตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (หดตัวในตลาดไต้หวัน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ เมียนมา และจีน แต่ขยายตัว ในตลาดกัมพูชา ฟิลิปปินส์ ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย) และไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ หดตัวร้อยละ 46.2 กลับมาหดตัวในรอบ 6 เดือน (หดตัวในตลาดอินเดีย เมียนมา มาเลเซีย เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์ แต่ขยายตัวในตลาดเวียดนาม จีน กัมพูชา ญี่ปุ่น และลาว) ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 5.6           การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 18.7 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 77.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และสิงคโปร์) ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ 27.2 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และมาเลเซีย) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 43.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น อินเดีย และจีน) เคมีภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 18.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน อินเดีย อินโดนีเซีย สหรัฐฯ และมาเลเซีย) เม็ดพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 4.8 กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินเดีย ญี่ปุ่น เวียดนาม มาเลเซีย และสหรัฐฯ) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 2.2 กลับมาขยายตัวในรอบ 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินเดีย จีน ออสเตรเลีย เวียดนาม และกัมพูชา) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 44.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 23.1 กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เม็กซิโก ไต้หวัน สาธารณรัฐเช็ก และมาเลเซีย) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 16.8 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ซาอุดีอาระเบีย และมาเลเซีย แต่ขยายตัวในตลาดเวียดนาม สหรัฐฯ อาร์เจนตินา บราซิล และอิรัก) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด หดตัวร้อยละ 34.7 หดตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ไต้หวัน เวียดนาม และมาเก๊า แต่ขยายตัวในตลาดฮ่องกง อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์) ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 5.2           ตลาดส่งออกสำคัญ             การส่งออกไปตลาดสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัวได้ดี สอดคล้องกับสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะตลาดจีน และญี่ปุ่นที่กลับมาขยายตัว เช่นเดียวกับตลาดสหรัฐฯ CLMV สหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร ที่ขยายตัวสูงต่อเนื่อง ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 16.3 โดยขยายตัวต่อเนื่องในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 25.3 สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 22.1 และ CLMV ร้อยละ 27.9 กลับมาขยายตัวในตลาดจีน ร้อยละ 8.5 ญี่ปุ่น ร้อยละ 7.0 และอาเซียน (5) ร้อยละ 6.8 (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 2.4 โดยขยายตัว ในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 12.8 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 1.9 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 31.5 สหราชอาณาจักร ร้อยละ 58.1 และรัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 3.0 ในตลาดขณะที่ตลาดทวีปออสเตรเลีย และแอฟริกา หดตัวร้อยละ 14.0 และร้อยละ 3.1 ตามลำดับ (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 118.9             ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 25.3 (ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 13.8 ตลาดจีน กลับมาขยายตัวร้อยละ 8.5 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง เม็ดพลาสติก และผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 0.8 ตลาดญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 7.0 (กลับมาขยายตัวในรอบ 9 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ไก่แปรรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 หดตัวร้อยละ 5.9 ตลาดสหภาพยุโรป (27) ขยายตัวร้อยละ 22.1 (ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น สินค้าสำคัญ ที่หดตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 9.3 ตลาดอาเซียน (5) กลับมาขยายตัวร้อยละ 6.8 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 0.4 ตลาด CLMV ขยายตัวร้อยละ 27.9 (ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น น้ำมันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก และผ้าผืน เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 11.0 ตลาดเอเชียใต้ กลับมาขยายตัวร้อยละ 12.8 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 9.5 ตลาดทวีปออสเตรเลีย กลับมาหดตัวร้อยละ 14.0 สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ และตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 4.1 ตลาดตะวันออกกลาง ขยายตัวร้อยละ 1.9 (ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ อัญมณีและเครื่องประดับ และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 3.2 ตลาดแอฟริกา หดตัวร้อยละ 3.1 (กลับมาหดตัวในรอบ 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ข้าว เครื่องยนต์สันดาปภายใน และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 หดตัวร้อยละ 1.5 ตลาดลาตินอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 31.5 (ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 13.8 ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS กลับมาขยายตัวร้อยละ 3.0 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ อากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 5.8 ตลาดสหราชอาณาจักร ขยายตัวร้อยละ 58.1 (ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ไก่แปรรูป และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 หดตัวร้อยละ 0.7 แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป แนวโน้มการส่งออกในปี 2567 กระทรวงพาณิชย์คาดว่า การส่งออกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 จะเติบโต อย่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของการส่งออกทั้งปี 2567 บรรลุเกินกว่าเป้าหมายในการทำงาน (working target) ตามที่ได้ตั้งไว้ โดยประมาณการว่าส่งออกทั้งปี 2567 จะเติบโต 4% หรือมีมูลค่ากว่า 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญจากการฟื้นตัวภาคอุตสาหกรรมของคู่ค้า การใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น การเติบโตของการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไทย โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลและฤดูกาลท่องเที่ยวปลายปี ประกอบกับต้นทุนโลจิสติกส์ที่เอื้ออำนวยจากการปรับลดลงของค่าระวางเรือ อย่างไรก็ดี การส่งออกของไทยยังเผชิญกับความท้าทายหลายประการ เช่น ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าสหรัฐฯ ในอนาคต ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน สถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงดำเนินอยู่ รวมถึงผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนนโยบายการส่งออกข้าวของอินเดียที่อาจส่งผลต่อการส่งออกข้าวไทย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จำเป็นต้องเฝ้าติดตามและวิเคราะห์ปัจจัยเหล่านี้อย่างใกล้ชิด เพื่อหาแนวทางรับมือที่เหมาะสมต่อสถานการณ์ต่อไป บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ทางฝ่ายมีมุมมองเชิงบวกต่อตัวเลขการส่งออก ตามการส่งออกที่ขยายตัวเร่งตัวขึ้น ซึ่งจะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจไทยใน ไตรมาส 4/2567 โดยมองเป็น Sentiment ทางบวกต่อ SET Index โดยเฉพาะหุ้นที่อยู่ในกลุ่มสินค้าที่ขยายตัวได้ดี ดังนี้ 1) สินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ยางพารา (+12 เดือนต่อเนื่อง) ข้าว (+5 เดือนต่อเนื่อง) ไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป (กลับมาขยายตัวหลักจากหดตัวเมื่อเดือนก่อนหน้า) 2) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (+13เดือนต่อเนื่อง) อาหารสัตว์เลี้ยง (+13 เดือนต่อเนื่อง) และอาหารทะแลกระป๋องและแปรรูป (+4 เดือนต่อเนื่อง) 3) สินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+7 เดือนต่อเนื่อง) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (+4 เดือนต่อเนื่อง) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (+8 เดือนต่อเนื่อง) ผลิตภัณฑ์ยาง (+4 เดือนต่อเนื่อง) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ (กลับมาขยายตัวหลักจากหดตัวเมื่อเดือนก่อนหน้า) เคมีภัณฑ์ (+4 เดือนต่อเนื่อง) เม็ดพลาสติก (กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน) และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน) โดยมองหุ้นที่น่าสนใจ ได้แก่ CCET, CPF, DELTA, HANA, HTECH, ITC, IVL, PTTGC, STA, STGT, TFG ในทางกลับกัน ทางฝ่ายมอง SET Index มีแนวโน้มตอบรับปัจจัยบวกจากการขยายตัวของการส่งออกอย่างจำกัด ท่ามกลางการนำเข้าเดือนต.ค.67 ที่ขยายตัวอย่างเร่งตัวขึ้น และเป็นการขยายตัวอย่างเร่งตัวขึ้นในเกือบทุกหมวดสินค้า ซึ่งอาจเป็นสัญญาญบ่งชี้ถึงสินค้าจีนที่ยังเข้าหลั่งไหลเข้าสู่ไทย สะท้อนจากข้อมูลใน 9M67 ที่บ่งชี้ว่าไทยนำเข้าจากจีนขยายตัว 11.06% y-y และเป็นการขยายตัวเกือบทุกหมวดสินค้า (ยกเว้น สินค้าเชื้อเพลิง และยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง) ซึ่งจะเป็นแรงกดดันต่อผู้ประกอบการ (โดยเฉพาะ MSME ซึ่งมีความสามารถในการแข่งขันต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่) ที่ต้องแข่งขันกับสินค้าราคานำเข้าจากจีน ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ต้น-ปลายน้ำ รวมถึงคาดเป็นแรงกดดันทางอ้อมต่อการบริโภคภาคเอกชน

[PR News] ไทยยกระดับสู่มาตรฐาน EUDR พร้อมปักธงการค้าสู่สหภาพยุโรปอย่างยั่งยืน

[PR News] ไทยยกระดับสู่มาตรฐาน EUDR พร้อมปักธงการค้าสู่สหภาพยุโรปอย่างยั่งยืน

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ได้ติดตามสถานการณ์การส่งออกสินค้าภายใต้มาตรการ EUDR จากไทยไปสหภาพยุโรป (อียู) อย่างต่อเนื่อง พบว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 มูลค่าการส่งออกมีการขยายตัวดี และยังสามารถขยายตัวได้สูงกว่าการส่งออกไปโลก           กฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า หรือ EUDR (EU Deforestation Regulation) ครอบคลุม 7 กลุ่มสินค้า คือ โกโก้ กาแฟ ถั่วเหลือง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน โค และ ไม้ รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปของสินค้าเหล่านี้ โดยในช่วงครึ่งแรก (ม.ค. - มิ.ย.) ของปี 2567 ไทยส่งออกสินค้าที่อยู่ภายใต้มาตรการ EUDR ไปอียู รวมมูลค่า 379.47 ล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าของสินค้าโดยใช้พิกัดศุลกากรตามที่ระบุใน Regulation (EU) 2023/1115) ขยายตัวร้อยละ 49.94 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า เรียงลำดับตามมูลค่าการส่งออกสูงสุด ดังนี้ ยางพารา 314.82 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 567 ไม้ 49.06 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 24.71 ปาล์มน้ำมัน 11.85 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 488.80 โกโก้ 3.56 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 10.15 กาแฟ 18 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 6.54 ถั่วเหลือง 001 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 44.37 ส่วนโคเป็นสินค้าที่ไทยไม่มีการส่งออกไปอียู           สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงสุด 3 อันดับแรก รวมกันคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 99.01 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าภายใต้มาตรการ EUDR จากไทยไปอียู (ยางพารา ไม้ และปาล์มน้ำมัน มีสัดส่วนร้อยละ 82.96 12.92 และ 3.12 ตามลำดับ) ซึ่งมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้ง 3 กลุ่มไปอียู มีการขยายตัวดีกว่ามูลค่าการส่งออกไปโลก ดังนี้ (1) การส่งออกยางพาราไปอียู ขยายตัวถึงร้อยละ 51.67 ขณะที่การส่งออกยางพาราไปโลก ขยายตัวร้อยละ 30.86 (2) การส่งออกไม้ไปอียู ขยายตัวร้อยละ 24.71 ขณะที่การส่งออกไม้ไปโลก ขยายตัวร้อยละ 5.48 และ (3) การส่งออกปาล์มน้ำมันไปอียู ขยายตัวร้อยละ 488.80 ขณะที่การส่งออกปาล์มน้ำมันไปโลก หดตัวร้อยละ 20.15           แม้ว่าปัจจุบัน การส่งออกกลุ่มสินค้าที่อยู่ภายใต้กฎหมาย EUDR จากไทยไปอียู ยังมีสัดส่วนไม่มาก เมื่อเทียบกับการส่งออกจากไทยไปโลก (มีสัดส่วนร้อยละ 7.65 ของมูลค่าการส่งออกไปโลก) แต่การขยายตัวที่ดีแสดงให้เห็นถึงโอกาสและศักยภาพของไทย ที่จะสามารถปรับตัวและส่งออกสินค้าภายใต้ EUDR ไปยังอียูได้มากขึ้น           ในอนาคต ทั้งนี้ มาตรการ EUDR จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 30 ธันวาคม 2567 ซึ่งผู้ประกอบการไทยอาจต้องเผชิญกับต้นทุนในการตรวจสอบย้อนกลับห่วงโซ่การผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต จึงจำเป็นต้องวางแผนปรับตัวและเตรียมการให้พร้อม เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ราบรื่นภายใต้กฎระเบียบการค้าใหม่ของอียู           การเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่เพียงแต่เป็นความท้าทาย แต่เป็นโอกาสที่สำคัญสำหรับไทยที่จะพัฒนาคุณภาพสินค้าและสร้างความยั่งยืนในการทำธุรกิจด้วย สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า 20 กันยายน 2567

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน