#ลดดอกเบี้ย


SCB EIC มองเศรษฐกิจมีความท้าทาย กนง. ปีหน้ามีโอกาสลดดอกเบี้ย

SCB EIC มองเศรษฐกิจมีความท้าทาย กนง. ปีหน้ามีโอกาสลดดอกเบี้ย

           หุ้นวิชั่น - กนง. มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.25% ตามที่ SCB EIC มองไว้ โดย กนง. เห็นว่าแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อยังเป็นไปตามที่ประเมินไว้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ขยายตัวใกล้เคียงระดับศักยภาพ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มกลับเข้าสู่ขอบล่างของกรอบเป้าหมาย การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงเป็นการรักษา Policy space เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่สูงขึ้น โดยเฉพาะจากนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก            สำหรับมุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กนง. คงประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยไว้ที่ 2.7%YOY และ 2.9%YOY ในปี 2024 และ 2025 ตามลำดับ แต่มองว่าความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะเพิ่มขึ้นจากปัจจัยภายนอก ทั้งการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นและความไม่แน่นอนของแนวนโยบายประเทศเศรษฐกิจหลัก ขณะที่ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ โดยประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ 0.4% และ 1.1% ในปี 2024 และ 2025 ตามลำดับ ลดลงเล็กน้อยจากประมาณการเดิม ณ เดือนตุลาคมที่ 0.5% และ 1.2%            SCB EIC มองว่าการสื่อสารของ กนง. ครั้งนี้ Hawkish ขึ้นพอสมควรเทียบกับการประชุมครั้งก่อน โดย กนง. ไม่ได้สื่อสารถึงความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวม และประเมินว่าปัญหาของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันไม่ได้มาจากปัจจัยเชิงวัฏจักร แต่มาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่กระทบบางภาคส่วนของเศรษฐกิจ เช่น SMEs และภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่มที่เผชิญการแข่งขันรุนแรงขึ้น อาทิ กลุ่มยานยนต์            นอกจากนี้ กนง. ไม่ได้แสดงความกังวลมากนักต่อภาวะสินเชื่อที่ชะลอลงในช่วงที่ผ่านมา โดยประเมินว่าสาเหตุหลักของการชะลอตัวมาจาก (1) การชำระคืนสินเชื่อจากธุรกิจที่ฟื้นตัวได้ดี เช่น ธุรกิจในภาคการท่องเที่ยว ภาคบริการ และภาคการค้า (ธุรกิจขนาดใหญ่) และ (2) ความต้องการสินเชื่อธุรกิจชะลอลงจากกลุ่มธุรกิจที่ฟื้นตัวช้าหรือฟื้นตัวไม่เต็มที่ เช่น SMEs ในภาคการค้า ธุรกิจอสังหาฯ ธุรกิจก่อสร้าง และธุรกิจยานยนต์ อีกทั้ง กนง. ยังประเมินว่าเศรษฐกิจในภาพรวมมีแนวโน้ม จะขยายตัวได้ แม้สินเชื่อธุรกิจชะลอลง ทั้งนี้ SCB EIC ตั้งข้อสังเกตว่า ในการประชุมครั้งนี้ กนง. ไม่ได้สื่อสารถึงกระบวนการ Debt deleveraging และความเปราะบางในภาคครัวเรือนมากนัก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ ธปท. ได้สื่อสารแนวทางแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนในการแถลงข่าวโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ไปแล้วในช่วงก่อนหน้า IMPLICATIONS            SCB EIC มองความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าจะเป็นปัจจัยหลักในการพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยในช่วงต้นปีหน้า โดยสถานการณ์ในปัจจุบันอาจยังไม่ได้มีปัจจัยกดดันชัดเจนที่ทำให้ กนง. จำเป็นต้องเร่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากนัก แต่ในระยะข้างหน้า เศรษฐกิจไทยจะเผชิญความท้าทายที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก ทั้งจากความเปราะบางภายในประเทศเอง และความท้าทายจากปัจจัยภายนอก กล่าวคือ ความเปราะบางจากภายในประเทศ สถานการณ์สินเชื่อชะลอลงเกิดขึ้นในทุกภาคส่วนทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือน โดยในไตรมาส 3/2024 ยอดคงค้างสินเชื่อธนาคารพาณิชย์หดตัวทุกหมวด (รูปที่ 1) แม้ กนง. จะประเมินว่าสินเชื่อที่ชะลอลงนี้ยังไม่ได้ฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ แต่หากมองในทางกลับกัน ภาวะสินเชื่อชะลอลงเช่นนี้ กำลังสะท้อน “อาการ” ความเปราะบางของเศรษฐกิจไทย โดยในด้านสินเชื่อครัวเรือนที่หดตัวลง ส่วนหนึ่งมาจากมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อใหม่ที่เข้มงวด (รูปที่ 2) จากความเปราะบางภาคครัวเรือนและรายได้ที่ยังฟื้นตัวช้า ซึ่งจะกดดันการบริโภคภาคเอกชนในระยะข้างหน้า ในด้านสินเชื่อธุรกิจ อาจต้องติดตามว่าความต้องการสินเชื่อที่ลดลงสะท้อนความต้องการลงทุนใหม่ของภาคธุรกิจที่ลดลงเพียงใด โดย SCB EIC มองว่าอาการความเปราะบางของอุปสงค์ในประเทศที่เริ่มเห็นนี้จะทวีความรุนแรงขึ้น จนทำให้น้ำหนักในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อประคับประคองอุปสงค์ในประเทศของ กนง. เริ่มมีมากขึ้น ความท้าทายจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะนโยบายการค้าของว่าที่ประธานาธิบดี Donald Trump จะทำให้การแข่งขันในภาคการผลิตทั่วโลกรุนแรงขึ้น ยิ่งซ้ำเติมภาคการผลิตของไทยที่มีปัญหาความสามารถในการแข่งขันอยู่แล้ว และอาจกดดันให้รายได้ครัวเรือนฟื้นตัวช้าไปอีก            การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงอาจช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไทยได้บ้างภายใต้ความท้าทายที่เพิ่มขึ้น โดยในช่วงต้นปี 2025 เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีพัฒนาการสำคัญ 2 ประการ คือ 1) การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมของธนาคารกลางสหรัฐฯ และ 2) นโยบายเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ที่ชัดเจนขึ้นหลังจาก Donald Trump สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ (รูปที่ 3) ซึ่งจะทำให้ กนง. ประเมินความเสี่ยงด้านลบต่อเศรษฐกิจไทยได้ดีขึ้น พัฒนาการเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งถัดไป            SCB EIC จึงประเมินว่าจะเห็น กนง. ปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้งในปีหน้าไปอยู่ที่ 2% ในช่วงต้นปีหน้า เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจไทยที่จะต้องเผชิญกับความเปราะบางจากภายในและความท้าทายจากภายนอกมากขึ้น รูปที่ 1 : สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์หดตัวลงทุกหมวด รูปที่ 2 : มาตรฐานการให้สินเชื่อครัวเรือนปรับเข้มงวดขึ้นต่อเนื่อง รูปที่ 3 : นโยบายเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ จะชัดเจนขึ้นในช่วงต้นปีหน้า บทวิเคราะห์โดย นนท์ พฤกษ์ศิริ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส https://www.scbeic.com/th/detail/product/policy-rate-181224

Fed ลดดอกเบี้ย 0.25% ครั้งที่ 2 ของปี จากดอลลาร์กลับมาอ่อนค่า และ Bond Yield สหรัฐฯ ชะลอตัว

Fed ลดดอกเบี้ย 0.25% ครั้งที่ 2 ของปี จากดอลลาร์กลับมาอ่อนค่า และ Bond Yield สหรัฐฯ ชะลอตัว

          หุ้นวิชั่น - ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve) ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลง 0.25% เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องเป็นครั้งที่สอง แต่ครั้งนี้เป็นการลดในอัตราที่ช้าลงเมื่อเทียบกับครั้งก่อนหน้า โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับนโยบายการเงินให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน           หลังจากการปรับลดครั้งใหญ่ 0.50% เมื่อเดือนกันยายน คณะกรรมการตลาดเสรีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Open Market Committee) ได้ลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานสำหรับการกู้ยืมระยะสั้นลงอีก 0.25% หรือ 25 จุดพื้นฐาน มาอยู่ในช่วงเป้าหมาย 4.50% ถึง 4.75% ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดการกู้ยืมข้ามคืนระหว่างธนาคาร แต่ยังมีผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยที่ผู้บริโภคต้องจ่าย เช่น ดอกเบี้ยจำนอง บัตรเครดิต และสินเชื่อรถยนต์           ทั้งนี้ บล. อินโนเวสท์ เอกซ์ ชี้การที่เฟดลดดอกเบี้ยตามคาด 25 จุดพื้นฐาน แม้ส่งผลให้ Sentiment ผ่อนคลาย เนื่องจากดอลลาร์กลับมาอ่อนค่า และ Bond Yield สหรัฐฯ ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ยังให้ระมัดระวัง โดยมองว่าตลาดยังกังวลนโยบายของทรัมป์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ โดยมีแนวต้านที่ระดับ 1,478-1,487 จุด และยังมี Downside โดยมีแนวรับที่ 1,450-1,460 จุด           ในเอกสารชี้แจงจาก FED ได้ระบุว่า ตัวชี้วัดสำคัญชี้ให้เห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงขยายตัวในอัตราที่มั่นคง ตั้งแต่ต้นปี สภาวะตลาดแรงงานโดยทั่วไปผ่อนคลายลง และอัตราการว่างงานขยับขึ้นแต่ยังคงต่ำ อัตราเงินเฟ้อมีความคืบหน้าไปสู่เป้าหมาย 2% ของคณะกรรมการ แต่ยังคงค่อนข้างสูง           คณะกรรมการพยายามที่จะบรรลุการจ้างงานสูงสุดและอัตราเงินเฟ้อในอัตรา 2% ในระยะยาว คณะกรรมการตัดสินว่าความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมายการจ้างงานและอัตราเงินเฟ้อนั้นค่อนข้างสมดุลกัน แนวโน้มเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอน และคณะกรรมการก็ให้ความสำคัญกับความเสี่ยงของทั้งสองฝ่ายภายใต้อำนาจหน้าที่ทั้งสองประการ           เพื่อสนับสนุนเป้าหมาย คณะกรรมการจึงตัดสินใจลดช่วงเป้าหมายสำหรับอัตราเงินกองทุนของรัฐบาลกลางลง 0.25% หรือเหลืออยู่ที่ 4.5-4.75% ในการพิจารณาการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมในช่วงเป้าหมายสำหรับอัตราเงินกองทุนของรัฐบาลกลาง คณะกรรมการจะประเมินข้อมูลที่เข้ามา แนวโน้มการพัฒนา และความสมดุลของความเสี่ยงอย่างรอบคอบ คณะกรรมการจะยังคงลดการถือครองหลักทรัพย์ธนารักษ์และหนี้ที่ค้ำประกันโดยหน่วยงานต่อไป คณะกรรมการมีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนการจ้างงานสูงสุดและคืนอัตราเงินเฟ้อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ 2%           ในการประเมินจุดยืนที่เหมาะสมของนโยบายการเงิน คณะกรรมการจะติดตามผลกระทบของข้อมูลที่เข้ามาต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ คณะกรรมการจะเตรียมปรับจุดยืนของนโยบายการเงินตามความเหมาะสม หากเกิดความเสี่ยงที่อาจขัดขวางการบรรลุเป้าหมายของคณะกรรมการ การประเมินของคณะกรรมการจะพิจารณาข้อมูลที่หลากหลาย รวมถึงสภาวะตลาดแรงงาน แรงกดดันด้านเงินเฟ้อและการคาดการณ์เงินเฟ้อ และการพัฒนาทางการเงินและระหว่างประเทศ [อ้างอิง](https://www.federalreserve.gov/newsevents/pressreleases/monetary20241107a.htm)

“โกลเบล็ก” คัด 9 หุ้นเด่นรับ กนง. ลดดอกเบี้ย

“โกลเบล็ก” คัด 9 หุ้นเด่นรับ กนง. ลดดอกเบี้ย

          บล. โกลเบล็ก (GBS) ประเมินหุ้นไทย Sideway ออกข้าง หลังไม่สามารถผ่าน 1,500 จุดไปได้ แม้ภาพรวมเศรษฐกิจช่วงโค้งสุดท้ายมีแนวโน้มฟื้นตัวจากเงินเฟ้อชะลอตัวและอัตราดอกเบี้ยขาลง แต่ปัจจัยความไม่สงบในตะวันออกกลางและสงครามยังกดดันการลงทุน จึงให้กรอบดัชนี 1,450-1,500 จุด และกลยุทธ์ลงทุนหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการลดดอกเบี้ยของกนง. ได้แก่ MTC-SAWAD-TIDLOR-GULF-GPSC-BGRIM-SIRI-SC-SPALI            นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด หรือ GBS ประเมินทิศทางดัชนีตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้มีโอกาสแกว่งตัวในลักษณะ Sideway ออกข้าง โดยดัชนียังเผชิญแรงขายทำกำไรบริเวณแนวต้านสำคัญที่ 1,500 จุด แม้ว่าภาพเศรษฐกิจไทยช่วงโค้งสุดท้ายปีนี้มีโอกาสฟื้นตัวจากเงินเฟ้อชะลอตัวและอัตราดอกเบี้ยขาลง รวมทั้งการเข้าสู่ไฮซีซั่นในช่วงปลายปี           แต่จากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบ WTI กดดันหุ้นกลุ่มพลังงาน และศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์จัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลในชวงไตรมาส 3 ปี 2567 พบว่า ความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 45.1 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากไตรมาส 2 ซึ่งอยู่ที่ 45.2 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูง  ทำให้ยอดขายอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดลง จึงมองกรอบดัชนีที่ระดับ 1,450-1,500 จุด           ส่วนภาวะเศรษฐกิจจีนในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2567 ขยายตัว 4.8% ต่ำกว่าเป้าหมายเศรษฐกิจของปีนี้ที่ตั้งไว้ประมาณ 5% และที่สำคัญรัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศคว่ำบาตรบริษัทจีนที่พัฒนาและผลิตอาวุธให้กับรัสเซียโดยตรงเพื่อใช้ทำสงครามกับยูเครน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกสำหรับการคว่ำบาตรบริษัทจีน ขณะที่ กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอนประกาศว่า การทำสงครามกับอิสราเอลกำลังเข้าสู่ช่วงใหม่ที่ทวีความรุนแรงยิ่งกว่าเดิมหลังการสังหารผู้นำกลุ่มฮามาส           ด้านปัจจัยในประเทศที่ยังคงต้องจับตาต่อ สัปดาห์ที่ 4 ส.อ.ท. แถลงยอดผลิตและส่งออกรถยนต์, กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย, สัปดาห์ที่ 5 สศค. รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค, ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค, สศอ. แถลงดัชนีอุตสาหกรรม, 30 ต.ค. รายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ฉบับย่อ, 31 ต.ค. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย           ส่วนสถานการณ์ต่างประเทศที่น่าจับตาวันนี้ 22 ต.ค. สหรัฐ รายงานดัชนีการผลิตเดือนต.ค., วันที่ 23 ต.ค. สำนักข่าว CNN จัดโต้วาทีครั้งที่ 2 สำหรับผู้เข้าชิงตำแหน่งปธน.สหรัฐ, สหรัฐ รายงานยอดขายบ้านมือสองเดือนก.ย. และสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์เช้าวันที่ 24 ต.ค., เฟด รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book) 24 ต.ค., ญี่ปุ่น รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและบริการขั้นต้นเดือนต.ค., สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนีกิจกรรมเศรษฐกิจทั่วประเทศเดือนก.ย. และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและบริการขั้นต้นเดือนต.ค.           ดังนั้น แนะนำกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากมติคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 5/2567 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567 ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที ได้แก่ MTC, SAWAD, TIDLOR, GULF, GPSC, BGRIM, SIRI, SC และ SPALI           ส่วนทิศทางการลงทุนในทองคำ นายณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล. โกลเบล็ก ประเมินแนวโน้มราคาทองคำในสัปดาห์นี้ ราคาทองคำได้รับแรงหนุนจากนักลงทุนคาดการณ์ว่า FED จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนพ.ย. และ ธ.ค. ครั้งละ 0.25% รวมเป็น 0.50% ภายในปี 2567 ประกอบกับความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น หลังอิสราเอลยืนยันการเสียชีวิตของผู้บัญชาการฮิซบอลเลาะห์ และผู้นำกลุ่มฮามาส หนุนทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย มองกรอบทองคำสัปดาห์นี้ 2,680 – 2,750 $/Oz จึงแนะนำเก็งกำไรในกรอบราคาดังกล่าว

ถอดรหัสลดดอกเบี้ย หุ้นแบงก์กระทบแค่ไหน

ถอดรหัสลดดอกเบี้ย หุ้นแบงก์กระทบแค่ไหน

          หุ้นวิชั่น -บล.ดาโอ ระบุ กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ทำให้ธนาคารใหญ่มี downside           กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.25% กนง. มีมติ 5:2 ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.25% ต่อปี ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ (ที่มา: ธปท.)           บล. ดาโอ มองเป็นลบต่อกลุ่มธนาคาร เรามองเป็นลบต่อกลุ่มธนาคาร เพราะรายได้ดอกเบี้ยจะมีโอกาสลดลงทันที โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ขณะที่เราประเมินว่า กนง. จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 1 ครั้ง ในปี 2025E (Fig 6) ทั้งนี้ ธปท. ยังคงคาดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ 0.5% และ 1.2% ในปี 2024E-2025E แต่มีการปรับเป้า GDP ปี 2024E เป็น 2.7% จากเดิมที่ 2.6% และปี 2025E เป็น 2.9% จากเดิมที่ 3.0% โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ ธปท. มุ่งเป้าไปที่การลดหนี้ครัวเรือน ซึ่ง ธปท. คาดหวังว่าจะช่วยลดภาระหนี้ให้กับประชาชนได้บ้าง ผลกระทบต่อกำไรสุทธิปี 2024E ของแต่ละธนาคารอยู่ที่ราว -0.47-0.65% โดยกลุ่มธนาคารจะมี downside ต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2024E ราว -0.5% (Fig 7) ขณะที่หุ้นที่ได้รับผลกระทบต่อกำไรสุทธิเรียงจากมากไปน้อยคือ BBL (-0.65%), KTB (-0.64%), KBANK (-0.52%) และ SCB (-0.50%) ขณะที่หุ้นที่ได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงคือ KKP (+0.58%) และ TISCO (+0.38%) จากการคำนวณที่คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลง -0.25% เป็นระยะเวลา 2.5 เดือน ยังคงน้ำหนักเป็น “มากกว่าตลาด” เลือก KBANK, KTB เป็น Top pick           เพราะนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ รวมถึงแนวโน้มการเติบโตของกำไรปี 2024E-2025E จะยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่องอีก 5-6% YoY ขณะที่ valuation ยังถูก เทรดที่ระดับเพียง 0.70x PBV (-1.00SD below 10-yr average PBV) ทั้งนี้ เราได้รวมผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในปี 2025E แล้ว โดยเรายังเลือก KBANK และ KTB เป็น Top pick KBANK (ซื้อ/เป้า 176.00 บาท) อิง 2025E PBV ที่ 0.70x (-1.00SD below 10-yr average PBV) เพราะคุณภาพของสินทรัพย์ที่ดีขึ้น และจะดีขึ้นไปอีกหลังจากทำ JV AMC กับ BAM ได้สำเร็จ และคาดกำไร 3Q24E จะเพิ่ม YoY จากสำรองฯที่ลดลง รวมถึงมี valuation ถูก โดยซื้อขายเพียง 0.65x PBV ถูกกว่ากลุ่มที่ 0.70x PBV และถูกกว่า SCB ที่ 0.80x PBV KTB (ซื้อ/เป้า 23.00 บาท) อิง PBV 2025E ที่ 0.85x (-0.75SD below 10-yr average PBV) เพราะกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มสูงสุดในกลุ่มที่ +15% YoY จากสำรองฯที่ลดลง และจะเน้นการปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ ขณะที่ราคาหุ้นยังไม่สะท้อนกำไรรายไตรมาสที่ทำจุดสูงสุดใหม่

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

ลดดอกเบี้ยท่องเที่ยวเฮ! หุ้นอะไร? รับประโยชน์

ลดดอกเบี้ยท่องเที่ยวเฮ! หุ้นอะไร? รับประโยชน์

           หุ้นวิชั่น - บล.ดาโอชี้ ดอกเบี้ยที่ลดลงส่งผลบวกต่อดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงและกระตุ้นนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น            กนง. ลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ส่งผลบวกต่อกลุ่มท่องเที่ยว วานนี้ กนง. มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.25% ซึ่งจะช่วยให้ค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าลง และจะช่วยจูงใจให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาได้มากขึ้น            บล. ดาโอมองเป็นบวกต่อกลุ่มท่องเที่ยวจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงเพราะจะช่วยลดภาระดอกเบี้ยจ่ายลงได้ รวมถึงจะช่วยจูงใจให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเพิ่มขึ้นได้ โดยเราประเมินหุ้นที่จะได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยลงทุกๆ 0.25% อิงจากยอดเงินกู้ในงวด 2Q24 จะเป็น upside ต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2025E โดยเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ ERW จะมี upside ต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2025E ที่ +2.4% เพราะมีสัดส่วนเงินกู้ในไทยสูงที่สุดถึง 88% และเป็น Float rate ที่ 100% (Fig 1) SHR จะมี upside ต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2025E ที่ +1.7% เพราะฐานกำไรที่ไม่สูงมาก โดยมีสัดส่วนเงินกู้ในไทยที่ 41% และเป็น Float rate ที่ 47% (Fig 2) CENTEL จะมี upside ต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2025E ที่ +0.5% เพราะมีสัดส่วนเงินกู้ในไทยราว 90% และเป็น Float rate ที่ 40% (Fig 3) MINT จะมี upside ต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2025E ที่ +0.3% โดย MINT ได้ประโยชน์น้อยสุดเพราะมีสัดส่วนเงินกู้ในไทยเพียง 30% แต่หากรวมเงินกู้สกุลเงินยูโรทีมีสัดส่วนถึง 60% จะทำให้มี Upside เพิ่มอีก 0.6%            ขณะที่กลุ่มสายการบินจะได้รับผลกระทบจำกัดเช่นกัน ได้แก่ AAV จะมี upside ต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2025 ที่ +0.6% ส่วน AOT จะไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ            เราให้น้ำหนักการลงทุนเป็น “เท่ากับตลาด” โดย Top pick ของกลุ่มท่องเที่ยวเรายังชอบ MINT            MINT (ซื้อ/เป้า 34.00 บาท) จาก valuation ยังถูกกว่ากลุ่มฯซื้อขาย 2024E EV/EBITDA ที่ 10x (-2.00SD below 10-yr average EV/EBITDA) ถูกกว่า ERW และ CENTEL ที่ average EV/EBITDA ขณะที่เราคาดว่า 3Q24E จะโต YoY ได้ต่อเพราะยังเป็น High season ที่ยุโรป โดย RevPAR ที่ยุโรปยังเพิ่มขึ้นได้ดีที่ +15% YoY และมี ADR เพิ่มขึ้นได้ +12% YoY ส่วนไทย RevPAR เพิ่มขึ้นได้ที่ +16% YoY ส่วน 4Q24E จะมี High season จากไทยและมัลดีฟส์ช่วยหนุน