#รถยนต์


เรื่องควรรู้! ก่อนออกรถยนต์มือสอง

เรื่องควรรู้! ก่อนออกรถยนต์มือสอง

          หุ้นวิชั่น - อยากมีรถ แต่งบไม่พอถอยป้ายแดง! รถยนต์มือสองก็ตอบโจทย์ได้ เพราะมีข้อดีอยู่หลายเรื่อง ทั้งราคาเข้าถึงได้ง่าย และมีตัวเลือกหลากหลายให้เลือกได้ตามช่วงราคาที่ผู้ซื้อต้องการ เพียงแต่การซื้อรถมือสองต้องศึกษารายละเอียดข้อมูลให้ถี่ถ้วนเพื่อให้ได้รถยนต์ที่มีคุณภาพในราคาที่คุ้มค่า วันนี้ fintips by ttb (Backlink: https://www.ttbbank.com/link/fintips-pr) จะมาแนะนำเรื่องการเตรียมเอกสารและค่าใช้จ่ายให้พร้อมก่อนการออกรถมือสอง          เอกสารที่ใช้ในการออกรถมือสองมีดังนี้ ·      สำเนาบัตรประชาชนของผู้ซื้อ ·      สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ซื้อ ·      เอกสารยืนยันการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ ·      สำเนาทะเบียนรถยนต์เดิม ·      หนังสือสัญญาซื้อขาย             ขั้นตอนการซื้อรถมือสอง ·      ตรวจสอบทะเบียนรถก่อนซื้อ : เช็กประวัติรถ ภาระผูกพัน และความถูกต้องของเอกสาร เพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต ·    ตรวจสอบสภาพรถอย่างละเอียด : นี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยให้ประเมินสภาพรถได้อย่างแม่นยำ และหลีกเลี่ยงการโดนหลอกขายรถมือสองที่อาจมีปัญหาแอบแฝง ·      ตกลงราคาและรูปแบบการชำระเงิน : เจรจาต่อรองราคาและเลือกวิธีการชำระเงินที่เหมาะสมกับเรา ·      ยื่นขอสินเชื่อ (กรณีผ่อนชำระ) : หากต้องการใช้บริการสินเชื่อ ให้เตรียมเอกสารให้พร้อม และยื่นขอกับสถาบันการเงินที่เลือก ·      ทำสัญญาซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์ : ตรวจสอบเงื่อนไขในสัญญาอย่างละเอียดก่อนลงนาม ·      ชำระเงินและรับรถ : เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย ทำการชำระเงินตามที่ตกลงและรับมอบรถ           ค่าใช้จ่ายออกรถมือสองแบบเงินสด สำหรับคนที่มีเงินพร้อม และต้องการซื้อรถมือสองแบบเงินสด มาดูค่าใช้จ่ายการออกรถมือสองที่ต้องเตรียมกัน ·      ค่าโอนรถยนต์มือสอง (ค่าโอนกรรมสิทธิ์) ค่าโอนรถยนต์มือสองเป็นค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้กรมการขนส่งทางบกเพื่อโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ ซึ่งคิดตามอายุรถและขนาดเครื่องยนต์ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 2-4%ของราคาประเมินรถยนต์ ·      ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% โดยหากเราออกรถมือสองจากเต็นท์รถจะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม7% ของราคารถ แต่หากซื้อจากบุคคลทั่วไป จะไม่ต้องเสียภาษีส่วนนี้ ·      ค่าภาษีรถยนต์, พ.ร.บ. รถยนต์ และประกันรถยนต์ ค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถยนต์และพ.ร.บ. เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอ เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เช่น -              ภาษีรถยนต์ประจำปี ขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องยนต์และอายุรถ -              พ.ร.บ. รถยนต์ ประมาณ 600-1,000 บาทต่อปี -              ประกันภัยรถยนต์ ราคาแตกต่างกันตามประเภทและความคุ้มครอง             ค่าใช้จ่ายออกรถมือสองผ่านไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อ สำหรับคนที่เลือกออกรถมือสองผ่านไฟแนนซ์ จะมีค่าใช้จ่ายในการโอนรถยนต์มือสองเพิ่มเติมดังนี้ ·    ค่าจองรถ (ในระหว่างที่ตรวจสอบเครดิต) การออกรถมือสองจะมีค่าจองรถ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายแรกที่ต้องชำระเมื่อเราตกลงใจซื้อรถยนต์ เพื่อให้เต็นท์รถหรือผู้ขายรักษารถไว้ให้เราในระหว่างที่ทำการตรวจสอบเครดิต โดยมักเป็นจำนวนเงินที่ไม่มาก ประมาณ 5,000-10,000 บาท ·      เงินดาวน์รถ ดาวน์รถยนต์มือสองโดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 10-25% ของราคารถ ซึ่งข้อดีการวางเงินดาวน์ออกรถสูง คือ ยิ่งดาวน์มาก ยอดจัดไฟแนนซ์ก็จะน้อยลง ส่งผลให้ค่างวดต่ำลงด้วย ทำให้มีภาระทางการเงินน้อยลงในระยะยาว ·      ค่าดำเนินการของไฟแนนซ์ ค่าใช้จ่ายในการโอนรถยนต์มือสอง จะมีค่าธรรมเนียมที่อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละสถาบันการเงิน โดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 1-2% ของวงเงินสินเชื่อ ซึ่งค่าดำเนินการนี้จะครอบคลุมถึงค่าตรวจสอบประวัติเครดิต, ค่าประเมินราคารถยนต์, ค่าดำเนินการเอกสารสัญญา และ ค่าบริการจัดทำประกันภัยรถยนต์ (ถ้ามี) บางสถาบันการเงินอาจเรียกเก็บแบบเหมาจ่าย หรือคิดตามอัตราที่กำหนด ดังนั้น ควรสอบถามรายละเอียดค่าธรรมเนียมก่อนตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อ เพื่อเปรียบเทียบและวางแผนค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม ·      ค่าภาษีรถยนต์, พ.ร.บ. รถยนต์ และประกันรถยนต์ เจ้าของรถจะต้องเสียภาษีรถยนต์ รวมถึงต่อทั้งพรบ. หรือประกันภัยรถยนต์ เป็นประจำทุกปี ค่าประกันรถยนต์เป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายในการโอนรถยนต์มือสองที่ไม่ควรมองข้าม เพราะประกันรถยนต์จะคุ้มครองเราจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้น เช่น อุบัติเหตุ การโจรกรรม หรือความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่อาจต้องแบกรับในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น สำหรับการออกรถมือสอง การเลือกประกันรถยนต์ที่เหมาะสมจะต้องคำนึงถึงอายุของรถ สภาพการใช้งาน และความคุ้มครองที่ต้องการ โดยปกติแล้วประกันรถยนต์ชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมที่สุด ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อรถยนต์ของเราหรือรถของคู่กรณี รวมถึงการคุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ หากรถมือสองของเรามีอายุการใช้งานที่มากขึ้น ประกันชั้น 2 หรือชั้น 3 อาจเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับงบประมาณมากกว่า ·      ค่าดอกเบี้ยจากสินเชื่อและภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยอัตราดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละสถาบันการเงิน และปัจจัยอื่น ๆ เช่น อายุรถ ระยะเวลาผ่อน และประวัติเครดิตของผู้กู้ โดยทั่วไป เช่น -                       อัตราดอกเบี้ยสำหรับรถยนต์มือสองมักสูงกว่ารถใหม่เล็กน้อย -                       ระยะเวลาผ่อนที่นานขึ้นอาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น -                       ประวัติเครดิตที่ดีอาจช่วยให้ได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า ปัจจุบันรถมือสองส่วนใหญ่ยังอยู่ในสภาพดี หากรู้แหล่งหรือวิธีเช็กสภาพรถก็สามารถจะได้รถมือสองที่สภาพเหมือนใหม่ หรือมีการใช้งานเพียงเล็กน้อยมาใช้งานต่อได้ด้วย ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดก่อนตัดสินใจซื้อรถมือสองก็คือ การศึกษาข้อมูล เลือกแหล่งซื้อรถมือสองที่ได้มาตรฐาน และตรวจสภาพรถก่อนตัดสินใจซื้ออย่างละเอียด หากใครที่กำลังมองหาสินเชื่อเพื่อซื้อรถมือสอง สินเชื่อรถยนต์ ttb DRIVE มีบริการสินเชื่อรถยนต์ใช้แล้ว ที่มีบริการจัดไฟแนนซ์ให้ถึงที่ รู้ผลอนุมัติเบื้องต้นไวภายใน 30 นาที พร้อมวงเงินที่ครอบคลุมราคารถยนต์ใช้แล้วที่ต้องการสูงสุด 100% จากราคาประเมินของธนาคาร นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกระยะเวลาการผ่อนชำระได้สูงสุดถึง 84 เดือน ผ่อนได้สบายตามใจต้องการ

สถิติยานยนต์ไฟฟ้า เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตรถยนต์ 119,680 คัน ลดลงร้อยละ 20.56

สถิติยานยนต์ไฟฟ้า เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตรถยนต์ 119,680 คัน ลดลงร้อยละ 20.56

เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตรถยนต์ 119,680 คัน ลดลงร้อยละ 20.56 ขาย 45,190 คัน ลดลงร้อยละ 24.98 ส่งออก 86,066 คัน ลดลงร้อยละ 1.70 ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 352 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17,500 ขายรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) 7,302 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.44          หุ้นวิชั่น - นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์  ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนสิงหาคม 2567 ดังต่อไปนี้ การผลิต           จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนสิงหาคม 2567 มีทั้งสิ้น 119,680 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 20.56 เพราะผลิตเพื่อขายในประเทศและผลิตเพื่อส่งออกลดลงร้อยละ 40.49 และ 6.62 ตามลำดับจากการผลิตรถกระบะลดลง และลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2567 ร้อยละ 4.12           จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม - สิงหาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,005,749 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ร้อยละ 17.69 รถยนต์นั่ง เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตได้ 46,765 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 8.84 โดยแบ่งเป็น รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 31,909 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 26 รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 352 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 17,500 รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 452 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 57 รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 14,052 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 18           ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม - สิงหาคม 2567 มีจำนวน 376,034 คัน เท่ากับร้อยละ 37.39 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ร้อยละ 11.09 โดยแบ่งเป็น รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 241,480 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ร้อยละ 90 รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 5,857 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ร้อยละ 3,43 รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 4,013 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ร้อยละ 84 รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 124,684 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ร้อยละ 94           รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนสิงหาคม 2567 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม - สิงหาคม 2567 ผลิตได้ 10 คัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 89.36           รถยนต์บรรทุก เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 72,915 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 26.60 และตั้งแต่เดือนมกราคม - สิงหาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 629,705 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 ร้อยละ 21.17           รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 71,973 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 24.67 และตั้งแต่เดือนมกราคม - สิงหาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 616,549 คัน เท่ากับร้อยละ 61.30 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 ร้อยละ 20.51 โดยแบ่งเป็น รถกระบะบรรทุก 97,885 คัน             ลดลงจากเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ร้อยละ 91 รถกระบะดับเบิลแค็บ 409,451 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ร้อยละ 49 รถกระบะ PPV 109,213 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ร้อยละ 31           รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน - มากกว่า 10 ตัน เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตได้ 942 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 75.26 รวมเดือนมกราคม - สิงหาคม 2567 ผลิตได้ 13,156 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ร้อยละ 43.28 ผลิตเพื่อส่งออก           เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตได้ 82,788 คัน เท่ากับร้อยละ 69.17 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 6.62 ส่วนเดือนมกราคม - สิงหาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 686,509 คัน เท่ากับร้อยละ 68.26 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 2.74           รถยนต์นั่ง เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตเพื่อการส่งออก 23,923 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 13.59 และตั้งแต่เดือนมกราคม - สิงหาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 201,389 คัน เท่ากับร้อยละ 53.56 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ร้อยละ 4.86           รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนสิงหาคม 2567 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 58,865 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 12.92 และตั้งแต่เดือนมกราคม - สิงหาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 485,120 คัน เท่ากับร้อยละ 78.68 ของยอดการผลิตรถกระบะ ลดลงจากเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ร้อยละ 5.58 โดยแบ่งเป็น รถกระบะบรรทุก 39,463 คัน             ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 15 รถกระบะดับเบิลแค็บ 358,686 คัน  ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 42 รถกระบะ PPV 86,971 คัน                เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 29 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ           เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตได้ 36,892 คัน เท่ากับร้อยละ 30.83 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 40.49 และเดือนมกราคม - สิงหาคม 2567 ผลิตได้ 319,240 คัน เท่ากับร้อยละ 31.74 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 ร้อยละ 38.13           รถยนต์นั่ง เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 22,842 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 24.46 แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ผลิตได้ 174,645 คัน เท่ากับร้อยละ 46.44 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ลดลงร้อยละ 24.35           รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนสิงหาคม 2567 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 13,108 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 53.08 และตั้งแต่เดือนมกราคม - สิงหาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 131,429 คัน เท่ากับร้อยละ 21.32 ของยอดการผลิตรถกระบะ และลดลงจากเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ร้อยละ 49.81 ซึ่งแบ่งเป็น รถกระบะบรรทุก 58,422 คัน                     ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 79 รถกระบะดับเบิลแค็บ 50,765 คัน              ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 57 รถกระบะ PPV 22,242 คัน                        ลดลงจากเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ร้อยละ 67           รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนสิงหาคม 2567 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม - สิงหาคม 2567 ผลิตได้ 10 คัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 89.36           รถบรรทุก เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตได้ 942 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 75.26 และตั้งแต่เดือนมกราคม - สิงหาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 13,156 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ร้อยละ 43.28 รถจักรยานยนต์           เดือนสิงหาคม 2567 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 172,064 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 7.95 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 144,244 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 15.78 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 27,820 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 77.65           ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม – สิงหาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,548,433 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 8.29 โดยแยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 1,289,764 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 12.20 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 258,669 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 17.90 ยอดขาย           ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนสิงหาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 45,190 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2567 ร้อยละ 2.60 และลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 24.98 เพราะสถาบันการเงินเข้มงวดในการให้สินเชื่อจากหนี้ครัวเรือนสูงโดยหนี้เสีย (NPL) รถยนต์ ณ ไตรมาสสองของปีนี้ สูงถึง 254,484 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.7 จากไตรมาสสองปีที่แล้วและเศรษฐกิจในประเทศที่เติบโตในอัตราต่ำที่ร้อยละ 2.3 ในไตรมาสสองของปีนี้ คาดว่าไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะดีขึ้นจากรัฐบาลใหม่ที่หัวหน้าพรรคเพื่อไทยเป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งมีนโยบายหลายข้อที่จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น เช่น การแจกเงินหนี่งหมื่นบาทเป็นเงินสดซึ่งจำนวนเงินกว่าหนึ่งแสนล้านบาท การแก้ใขหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ เป็นต้น รวมทั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 ก็ทันใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้ด้วย และดัชนี ตลาดหลักทรัพย์ก็เพิ่มขึ้น ธนาคารกลางสหรัฐลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงถึง 0.50 และอาจจะลดอีกครั้งในปีนี้           รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 27,754 คัน เท่ากับร้อยละ 61.42 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 13.02 รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 11,748 คัน เท่ากับร้อยละ 26 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 31 รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 7,302 คัน เท่ากับร้อยละ 16 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 20.44 รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 93 คัน เท่ากับร้อยละ 21 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 29.01 รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 8,611 คัน เท่ากับร้อยละ06 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 35.46           รถกระบะมีจำนวน 12,303 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 37.10 รถ PPV มีจำนวน 2,667 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 47.30 รถบรรทุก 5 – 10 ตัน มีจำนวน 1,252 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 47.35 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 1,214 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 8.38           ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 131,736 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2566 ร้อยละ 6.94 และลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 17.73           ตั้งแต่เดือนมกราคม - สิงหาคม 2567 รถยนต์มียอดขาย 399,611 คัน ลดลงจากปี 2566 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 23.85 แยกเป็น           รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 239,971 คันเท่ากับร้อยละ 60.05 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 9.12 รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 106,245 คัน เท่ากับร้อยละ59 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 36.91 รถยนต์นั่งแหละรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 47,645 คัน เท่ากับร้อยละ92 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 13.86 รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 1,456 คัน เท่ากับร้อยละ36 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.14 รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 84,625 คัน เท่ากับร้อยละ18 ของยอดขายรถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 62.06           รถกระบะมีจำนวน 115,051 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 39.30 รถ PPV มีจำนวน    24,481 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 43.07 รถบรรทุก 5 – 10 ตัน มีจำนวน 10,909 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 38.71 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 9,199 คัน ลดลงจากเดือนช่วงกันในปีที่แล้ว   11.45           ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 1,163,827 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 ร้อยละ 10.81 แบ่งเป็นรถจักรยานยนต์ ICE จำนวน 1,163,627 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 10.75 รถจักรยานยนต์ BEV จำนวน 200 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 9.09 การส่งออก รถยนต์สำเร็จรูป           เดือนสิงหาคม 2567 ส่งออกได้ 86,066 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 3.04 แต่ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 1.70 จากปัญหาเรื่องพื้นที่ในเดือนในเรือไม่เพียงพอและล่าช้าจากสงครามอิสราเอลกับฮามาสและปัญหาสิ่งสกปรกในท่าเรือที่ติดในรถกระบะที่เตรียมขับขึ้นเรือ จึงผลิตรถกระบะเพื่อส่งออกลดลงร้อยละ 12.92 และส่งออกลดลงในตลาดออสเตรเลีย แอฟริกา ยุโรป แบ่งเป็น รถกระบะ 48,201 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 56 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 07 รถยนต์นั่ง ICE 22,677 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 35 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 16.11 รถยนต์นั่ง HEV 3,516 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 09 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 351.93 รถ PPV 11,672 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 56 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 4.66           มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 60,334.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 0.20 เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 3,467.66 ล้านบาท ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 62 ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 16,765.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 69 อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,333.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 07           รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนสิงหาคม 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 82,901.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 0.71           เดือนมกราคม – สิงหาคม 2567 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 688,633 คัน ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 4.94 แบ่งเป็น รถกระบะ ICE 394,046 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 23 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 8.76 รถยนต์นั่ง ICE 169,126 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 55 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 18.34 รถยนต์นั่ง HEV 34,712 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 04 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 472.71 รถ PPV 90,749 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 18 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 14.37           มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 480,206.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 ร้อยละ 5.08 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 23,447.72 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 ร้อยละ 51 ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 128,985.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 ร้อยละ 07 อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 17,442.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 ร้อยละ 52           รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม – สิงหาคม 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 650,082.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 ร้อยละ 5.21   รถจักรยานยนต์           เดือนสิงหาคม 2567 มีจำนวนส่งออก 58,468 คัน (รวม CBU + CKD) ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2567 ร้อยละ 0.49 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 19.91 โดยมีมูลค่า 4,329.64 ล้านบาท ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 4.65 ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น76 ล้านบาท ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 3.92 อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 27 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 29.53           รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนสิงหาคม 2567 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ 4,809.68 ล้านบาท ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 3.23           เดือนมกราคม – สิงหาคม 2567 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 531,543 คัน (รวม CBU + CKD) ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 1.68 มีมูลค่า 41,684.24 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 9.56 ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,670.47 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 61 อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,272.10 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ61           รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม – สิงหาคม 2567 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 44,626.81 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 ร้อยละ 10.03           เดือนสิงหาคม 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่น ๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 87,711.18 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ0.48           เดือนมกราคม – สิงหาคม 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 694,708.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 4.08 ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท BEV เดือนสิงหาคม 2567           เดือนสิงหาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 8,804 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคมปีที่แล้วร้อยละ 3 โดยแบ่งเป็น รถยนต์นั่งและรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 6,376 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 67 รถยนต์นั่งจำนวน 6,211    คัน รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คนจำนวน  162     คัน รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน      3     คัน รถกระบะ รถแวนมีทั้งสิ้น 233 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 96 รถยนต์สามล้อรับจ้างมีทั้งสิ้น 48 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 100 รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลจำนวน      9     คัน รถยนต์รับจ้างสามล้อจำนวน    39     คัน รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 2,091 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 07 รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 2,090    คัน รถจักรยานยนต์สาธารณะจำนวน       1    คัน รถโดยสารมีทั้งสิ้น 13 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 44 รถบรรทุกมีทั้งสิ้น 43 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคมปีที่แล้วร้อยละ 32           เดือนมกราคม - สิงหาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน      69,047 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - สิงหาคมปีที่แล้วร้อยละ 17.34 โดยแบ่งเป็น รถยนต์นั่งและรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 49,642 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ร้อยละ 52 รถยนต์นั่งจำนวน             48,204  คัน รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คนจำนวน  1,370 คัน รถยนต์บริการธุรกิจจำนวน        8   คัน รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน      57   คัน รถยนต์บริการให้เช่าจำนวน        3 คัน รถกระบะ รถแวนมีทั้งสิ้น 491 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ร้อยละ 56 รถยนต์สามล้อมีทั้งสิ้น 135 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ร้อยละ 80 รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลจำนวน      32   คัน รถยนต์รับจ้างสามล้อจำนวน     103  คัน รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 18,237 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ร้อยละ 35 รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 18,129  คัน รถจักรยานยนต์สาธารณะจำนวน 108 คัน รถโดยสารมีทั้งสิ้น 237 คัน ซึ่งลดลงเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ร้อยละ12 รถบรรทุกมีทั้งสิ้น 305 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 ร้อยละ90 ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท HEV เดือนสิงหาคม 2567           เดือนสิงหาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 11,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคมปีที่แล้วร้อยละ 54.80 โดยแบ่งเป็น รถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 10,932 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 31 รถยนต์นั่งจำนวน          10,917    คัน รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คนจำนวน       6    คัน รถยนต์บริการธุรกิจจำนวน       2    คัน รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน       7    คัน รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 68 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 49 รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน      68   คัน           เดือนมกราคม - สิงหาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน  94,794 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - สิงหาคมปีที่แล้วร้อยละ 60.14 โดยแบ่งเป็น รถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 94,406 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 ร้อยละ 67 รถยนต์นั่งจำนวน 94,317  คัน รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คนจำนวน      23  คัน รถยนต์บริการธุรกิจจำนวน      17  คัน รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน      46   คัน รถยนต์บริการให้เช่าจำนวน       3    คัน รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 388 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 ร้อยละ21 รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน     388  คัน ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท PHEV เดือนสิงหาคม 2567           เดือนสิงหาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 854 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคมปีที่แล้วร้อยละ 32.70 โดยแบ่งเป็น รถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 854 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2566 ร้อยละ 70 รถยนต์นั่งจำนวน      854 คัน           เดือนมกราคม - สิงหาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน  6,576 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - สิงหาคมปีที่แล้วร้อยละ 22.80 โดยแบ่งเป็น รถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 6,576 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 ร้อยละ 80 รถยนต์นั่งจำนวน                        6,569  คัน รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน             7 คัน ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567           ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV มีจำนวนทั้งสิ้น 200,109 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 120.13 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้ รถยนต์นั่งและรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 139,059 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 78 รถยนต์นั่งมีจำนวน 136,574 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 35 รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คนมีจำนวน 1,983 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 57 รถยนต์บริการธุรกิจมีจำนวน 74 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 270 รถยนต์บริการทัศนาจรมีจำนวน 128 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 33 รถยนต์บริการให้เช่ามีจำนวน 3 คัน ซึ่งในช่วงเดียวกันไม่มีการจดทะเบียน รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวน 297 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ35 รถกระบะและรถแวนมีจำนวน 769 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 27 รถยนต์ 3 ล้อมีจำนวนทั้งสิ้น 1,019 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 92 รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลมีจำนวน 114 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 50 รถยนต์รับจ้างสามล้อมีจำนวน 905 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 07 รถจักรยานยนต์มีจำนวนทั้งสิ้น 55,998 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 20 รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลมีจำนวน 55,871 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 54 รถจักรยานยนต์สาธารณะมีจำนวน 127 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 60 อื่นๆ รถโดยสารมีจำนวนทั้งสิ้น 2,654 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 08 รถบรรทุกมีจำนวนทั้งสิ้น 610 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 03 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV มีจำนวนทั้งสิ้น 437,504 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 37.53 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้ รถยนต์นั่งและรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 428,223 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 58 รถยนต์นั่งมีจำนวน 427,271 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 60 รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารฯ มีจำนวน 496 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 55 รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 73 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ81 รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 202 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ76 รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 67 รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวน 176 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 100 รถกระบะและรถแวนมีจำนวน 1 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 รถจักรยานยนต์มีจำนวนทั้งสิ้น 9,278 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 84 รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลมีจำนวน 9,278 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 84 อื่นๆ รถโดยสารมีจำนวนทั้งสิ้น 2 คัน ซึ่งเท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567           ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV มีจำนวนทั้งสิ้น 60,428 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 18.84 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้ รถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 60,428 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 84 รถยนต์นั่งมีจำนวน 60,357 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 85 รถยนต์บริการธุรกิจมีจำนวน 43 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 88 รถยนต์บริการทัศนาจรมีจำนวน 20 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 25 รถยนต์บริการให้เช่ามีจำนวน 3 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 25