#ภาษีคาร์บอน


เก็บภาษีคาร์บอน จำเป็นแค่ไหน? เปลี่ยนฟอสซิลสู่พลังงานสะอาด

เก็บภาษีคาร์บอน จำเป็นแค่ไหน? เปลี่ยนฟอสซิลสู่พลังงานสะอาด

          หุ้นวิชั่น - EBC Financial Group และภาควิชาเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Oxford บรรยายถึงอุปสรรคต่างๆ ของการรับมือกับสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งเน้นไปที่การให้ความสำคัญการใช้ภาษีคาร์บอน การปฏิรูป และบทบาทของการเงิน ในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกอย่างยั่งยืน           (Oxford, United Kingdom, 11 ธันวาคม 2024) ในช่วงที่โลกต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภาวะไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย Oxford ร่วมกับ EBC Financial Group (EBC) จัดซีรีส์สัมมนา "นักเศรษฐศาสตร์จริงๆ แล้วทำอะไร” (What Economists Really Do) เพื่อสำรวจกลยุทธ์ที่เป็นรูปธรรมในการปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและเร่งแก้ไขปัญหาสังคมในปัจจุบัน           โดยหัวข้อสัมมนา "เศรษฐศาสตร์มหภาคและสภาพภูมิอากาศ" ได้รับการบรรยายจากรองศาสตราจารย์ Andrea Chiavari และมีการบรรยายเกี่ยวกับ "การรักษาความยั่งยืน : การสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและความยืดหยุ่นของสภาพภูมิอากาศ" โดยมีรองศาสตราจารย์ Banu Demir Pakel เป็นผู้ดำเนินรายการ นอกจากนี้ยังมีผู้ร่วมบรรยายท่านอื่นๆ ได้แก่ ดร. Nicola Ranger, ผู้อำนวยการสถาบันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากกลุ่มการเงินโลก และยังเป็นนักวิจัยอาวุโสที่มหาวิทยาลัย Oxford และ David Barrett, CEO ของ EBC Financial Group (UK) Ltd. ทั้งสองราย ได้ร่วมกันวิเคราะห์การใช้นโยบายของภาครัฐ การเงิน และผลกระทบต่อประชาชน พร้อมให้ข้อมูลเชิงปฏิบัติและคำแนะนำที่มากกว่าการบรรยายเชิงทฤษฎี จากซ้ายไปขวา : ดร. Nicola Ranger (ผู้อำนวยการสถาบันการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมกลุ่มการเงินโลกและนักวิจัยอาวุโส), รองศาสตราจารย์ Andrea Chiavari (ภาควิชาเศรษฐศาสตร์), David Barrett (CEO ของ EBC Financial Group (UK) Ltd), และรองศาสตราจารย์ Banu Demir Pakel (ภาควิชาเศรษฐศาสตร์)   EBC Financial Group: ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและการลงทุนที่มีความรับผิดชอบ           EBC เป็นพันธมิตรด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอย่างเป็นทางการของ FC Barcelona และร่วมมือกับแคมเปญ "United to Beat Malaria" ขององค์การสหประชาชาติ โดยมุ่งมั่นสร้างอนาคตที่เน้นความยั่งยืน, ความเท่าเทียม และการลงทุนที่มีความรับผิดชอบ           การมีส่วนร่วมของ EBC ในซีรีส์สัมมนา "นักเศรษฐศาสตร์จริงๆ แล้วทำอะไร” แสดงให้เห็นถึง ความเร่งด่วนที่ต้องการเชื่อมโยงตลาดการเงินเข้ากับงานวิจัยทางวิชาการ เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศและเศรษฐกิจ ตัวแทนจาก EBC ได้เข้าร่วมสนทนาเกี่ยวกับ กลยุทธ์ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหาแบบรูปธรรม ในการเปลี่ยนระบบการเงินให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เศรษฐกิจสามารถเติบโตควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้หรือไม่?           หัวข้อหลักในการบรรยาย คือ การตระหนักถึง ความมั่นคงทางการเงินและสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความร่วมมือ โดย ดร. Chiavari ได้เปิดมุมมองใหม่ เกี่ยวกับต้นทุนทางเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เขาพูดถึงการเติบโตของ GDP โลกที่มีการขยายตัวอย่างรวด ตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม พร้อมทั้ง เปรียบเทียบกับผลกระทบจากการใช้พลังงานฟอสซิลและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) นอกจากนี้ ดร. Chiavari ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของ "ต้นทุนคาร์บอนทางสังคม (Social Cost of Carbon) " ในการกำหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพ           หัวใจสำคัญในงานบรรยายของ ดร. Chiavari คือ ต้องการสื่อแนวคิด "ต้นทุนคาร์บอนทางสังคม" ซึ่งคำนวณต้นทุนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสังคม เขากล่าวว่า “การเก็บภาษีคาร์บอน ไม่ใช่แค่ความจำเป็นทางด้านสิ่งแวดล้อม แต่ยังจำเป็นต่อเศรษฐกิจด้วย” ดร. Chiavari อธิบายว่า มาตรการเหล่านี้สามารถสร้างแรงจูงใจทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นให้บริษัทต่าง ๆ มีตัวเลือกการใช้พลังงานความยั่งยืนเพิ่มขึ้น เขากล่าวเสริมว่า “คุณลองคิดดูสิครับ การเปิดเครื่องทำความร้อน คุณก็ยังได้รับความอบอุ่นเหมือนเดิม แต่ตอนนี้ต้นทุนการใช้พลังงานสูงกว่าที่เดิม”           ดร. Chiavari ขยายความเพิ่มเติมในประเด็นนี้ เกี่ยวกับการเก็บภาษีคาร์บอน โดยเน้นไปที่การปล่อยก๊าซคาร์บอน ไม่ใช่การใช้พลังงานโดยตรง “การเก็บภาษีคาร์บอน คือ การเก็บภาษีจากคาร์บอน ไม่ใช่การเก็บภาษีจากพลังงาน” เขากล่าวต่อว่า “ดังนั้น นโยบายนี้สร้างแรงจูงใจขนาดใหญ่สำหรับภาคธุรกิจ ภาคเอกชน และตัวพวกคุณเอง รวมถึงผมด้วย เพื่อหันไปใช้แหล่งพลังงานทางเลือกแทนการใช้พลังงานฟอสซิล นอกจากนี้ มันไม่ใช่แค่การลดการใช้พลังงานหรือการผลิตเท่านั้น แต่ยังสร้างแรงจูงใจให้เปลี่ยนไปใช้พลังงานทางเลือกอีกด้วย” การเชื่อมโยงนโยบายภาครัฐ การเงิน และการดำเนินการผ่านมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญ           ระหว่างการบรรยาย ได้มีการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและปัจจัยทางสภาพภูมิอากาศ ผู้เข้าร่วมแต่ละท่านได้แบ่งปันความความคิดเห็น พร้อมนำเสนอมุมมองใหม่ ๆ เกี่ยวกับวิธีที่โลกจะสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสองความท้าทายนี้           ดร. Chiavari กล่าวถึง ลักษณะทั่วโลกของการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยกล่าวว่า การปล่อยก๊าซคาร์บอนไม่มีพรมแดน และต้องการการแก้ไขปัญหาร่วมกันจากระดับนานาชาติ เขาได้พูดถึงความเสี่ยงของการรั่วไหลของคาร์บอน (carbon leakage) ซึ่งหมายถึง นโยบายการจัดการสภาพภูมิอากาศที่เข้มงวดของประเทศหนึ่ง อาจจะได้รับผลกระทบจากประเทศที่ไม่มีการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่งท้ายที่สุดมันจะส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วโลก เพื่อลดปัญหานี้ ดร. Chiavari ได้เสนอให้มีนโยบายที่สนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศและการสร้างนวัตกรรม เพื่อให้การเปลี่ยนแปลง และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน เท่าเทียม และครอบคลุม           ดร. Ranger เน้นย้ำถึงโอกาสทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจากการแก้ไขปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ โดยเธอกล่าวว่า "มันไม่ใช่แค่เรื่องของต้นทุน แต่เป็นเรื่องของโอกาส" เธอได้อธิบายถึง ศักยภาพในการสร้างงานและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ยังสามารถรับมือกับความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศได้ พร้อมทั้ง ให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนแนวคิด เธอให้คำแนะนำว่า การจัดการกับสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพจะส่งเสริมนวัตกรรมและความก้าวหน้าได้ โดยไม่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก นอกจากนี้ เธอยังสนับสนุนให้ลดการใช้พลังงานฟอสซิลและพลังงานที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม           ด้วยประสบการณ์ในตลาดการเงิน Barrett ให้ความสำคัญของการสร้างแรงจูงใจในตลาดการลงทุนให้สอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืน เขาได้แบ่งปันความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาในการรับมือกับความยั่งยืน โดยกล่าวถึง การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสถาบันการเงินว่า "ตลาดการเงินขับเคลื่อนโดยความต้องการที่จะทำกำไร ไม่ว่าจะเป็นสำหรับผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุน" Barrett ยังเน้นย้ำถึง ความจำเป็นที่รัฐบาลต้องสร้างกรอบระเบียบที่สามารถบังคับใช้ได้ โดยระบุว่า การสร้างแรงจูงใจเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่จะนำอิทธิพลของภาคส่วนนี้ เชื่อมโยงไปสู่การรับมือกับสภาพภูมิอากาศ           Barrett แสดงความกังวลเกี่ยวกับ การทำงานของหน่วยงานสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) โดยกล่าวว่า “โครงการ ESG กลายเป็นแค่การทำอย่างผิวเผิน” เขาเรียกร้องให้มีนโยบายที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบจริง ๆ และมีผลกระทบที่สามารถวัดผลได้           ในการบรรยาย Barrett กล่างถึง ความเสี่ยงจากการไม่เป็นเอกภาพของทั่วโลก เขาเตือนว่า "หากอยากให้โครงการเหล่านี้ ประสบความสำเร็จ ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน มิฉะนั้น การลดการปล่อยก๊าซในบางพื้นที่ อาจถูกชดเชยด้วยการปล่อยก๊าซที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่อื่น ๆ" คำเตือนของเขาชี้ให้เห็นว่า หากไม่มีความร่วมมืออย่างจริงจัง การรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศอาจไม่เกิดผล ขั้นตอนที่เป็นรูปธรรมจากรัฐบาล ภาคธุรกิจ และเอกชน ควรดำเนินการเพื่อสร้างอนาคตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และจำเป็นต้องเป็นสิ่งที่สามารถทำได้และมั่นคงสำหรับทุกคน           หลังจากเสร็จสิ้นการบรรยาย ผู้ดำเนินรายการและผู้ร่วมบรรยายได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติม เพื่อขยายความเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ โดยให้มุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับบทบาทการร่วมมือกันของภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ และเอกชน  ในการรับมือกับความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศ บทบาทของรัฐบาล: นโยบายและการวางแผนเป็นสิ่งสำคัญ           ดร. Banu Demir Pakel ให้ความสำคัญของการศึกษา และการสร้างความตระหนักรู้ ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะบทบาทของรัฐบาลในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง “บทบาทของรัฐบาล คือ จุดเริ่มต้น” เธออธิบาย ถึงความจำเป็นในการให้ความรู้ เกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เธอชี้ให้เห็นถึง ความจำเป็นของนโยบาย ที่ไม่เพียงแค่สนับสนุนในภาคเอกชน แต่ยังต้องให้คำแนะนำกับผู้บริโภคด้วย โดยกล่าวว่า “นโยบายเป็นการดำเนินการที่ค่อนข้างซับซ้อน โดยรัฐบาลจะต้องเป็นแกนกลางขับเคลื่อนหลัก ในการวางแผนและชี้แนะการดำเนินการในทุกภาคส่วน”           เธอได้กล่าวต่อว่า "ภาคเอกชนต้องการแรงสนับสนุน เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ เพราะพวกเขาจะมองแค่ระยะสั้น ดังนั้น การดำเนินการของภาคเอกชนจะต้องได้รับการเปลี่ยนแปลง และรัฐบาลมียังบทบาทที่สำคัญอีกหนึ่งอย่าง คือ การนำเสนอนโยบายที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของภาคเอกชนและผู้บริโภค" ภาษีคาร์บอน : สร้างการขับเคลื่อน           ดร. Chiavari พูดถึงบทบาทสำคัญในการแทรกแซงจากรัฐบาล โดยเฉพาะการเก็บภาษีคาร์บอน จะช่วยขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ เขาอธิบายว่า การนำต้นทุนที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาคำนวณในราคาพลังงาน จะช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคและนักลงทุนตัดสินใจอย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้น จุดเปลี่ยนแปลงเรื่องราว : การเปลี่ยนผ่านที่เป็นบวก           ดร. Ranger แสดงความคิดเห็นต่อ ความท้าทายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เกี่ยวกับการรับมือกับสภาพภูมิอากาศ โดยกล่าวว่า ปัญหาสำคัญมาจากการขาดความตระหนักรู้ “ตอนนี้เราพบปัญหาอย่างมาก และฉันคิดว่า หลายส่วนมาจากปัญหาด้านการรับรู้” เธอกล่าวต่อว่า “รัฐบาลมีบทบาทในการขับเคลื่อน แต่กลับเลือกทำในสิ่งที่ประชาชนต้องการ หากขาดการรับรู้ถึงประโยชน์ของการใช้พลังงานสะอาด ทั้งในเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานและสุขภาพของประชาชน นี่อาจปัญหาหลัก ณ ตอนนี้”           ดร. Ranger วิจารณ์เกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยนำเสนอถึงปัญหาที่บอกว่า นโยบายพลังงานสะอาดต้องใช้งบประมาณมหาศาล เธอกล่าวว่า “ฉันไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน ที่ต้องใช้งบประมาณมหาศาล เพราะมันไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและไม่มีหลักฐานการลงทุนที่ชัดเจน แต่สิ่งที่เรารู้ตอนนี้ คือ วิธีที่เราจะรับมือกับปัญหานี้กำลังทำให้มันยาก โดยเฉพาะความไม่แน่นอนจากนโยบายของภาครัฐ ส่งผลให้การลงทุนชะลอตัวและเพิ่มต้นทุน ทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่า ถ้าเรามีนโยบายที่ถูกต้องและวางแผนที่ชัดเจนให้กับนักลงทุน การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน ไม่เพียงแต่จะมีต้นทุนต่ำ และยังเป็นทางเลือกที่มีประโยชน์อย่างมาก”           เธอได้พูดถึง การลงทุนในพลังงานฟอสซิล และกล่าวว่า หากเปลี่ยนทิศทางการลงทุนเหล่านี้ ก็สามารถช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นได้ “ในทั่วโลกได้ใช้เงินจำนวนมากในการลงทุนพลังงานฟอสซิล—ประมาณ 5 – 7 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี ถ้าเราหยุดการซื้อพลังงานนี้ และนำเงินไปลงทุนในเทคโนโลยีพลังงานสะอาด เราก็มีโอกาสที่จะเปลี่ยนผ่านพลังงานเหล่านี้ได้”           เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ดร. Ranger เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติในสังคม เพื่อหาโอกาสที่เศรษฐกิจจะเติบโตจากการจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ เธอยังกล่าวถึง บทบาทสำคัญของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในการช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติ โดยกล่าวว่า “เราต้องทำให้ผู้คนเห็นว่านี่ คือ การเปลี่ยนแปลงในทางบวก และนโยบายที่ดีจากภาครัฐ จะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน อีกทั้งยัง ช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างงานและนวัตกรรมใหม่ ๆ”           ดร. Ranger กล่าวสรุป โดยเรียกร้องให้รัฐบาลเปลี่ยนมุมมองใหม่ โดยกล่าวว่า “สิ่งที่ฉันอยากเห็น คือ รัฐบาลออกมาสนับสนุน และบอกว่า นี่คือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น และจะเป็นประโยชน์กับประชาชนและนักลงทุนทุกคน” บทบาทของภาคธุรกิจและเอกชน: ความรับผิดชอบและนวัตกรรม           Barrett  มองว่า ภาคธุรกิจและภาคเอกชน มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับปัญหาสภาพภูมิอากาศ โดยเขาชี้ให้เห็นว่า ภาคการเงินมีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นผลกำไรเป็นหลัก และจะไม่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาความยั่งยืนได้ หากไม่มีกรอบระเบียบที่ชัดเจน เขากล่าวว่า "ตลาดการเงินไม่สามารถทำเรื่องนี้ได้ จำเป็นต้องได้รับแรงจูงใจจากภาครัฐ" เขายังเสริมว่า หากภาคการเงินได้รับการชี้นำในทิศทางที่ถูกต้องและเริ่มมีความกระตือรือร้นเกี่ยวกับปัญหานี้ เราเชื่อว่าการผลักดันเรื่องนี้ จะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน แต่ต้องการนโยบายที่ชัดเจน           แบเร็ตต์ ยังได้สะท้อนถึงบทบาทของประชาชน ในฐานะผู้ลงคะแนนเสียงและผู้บริโภค โดยเน้นว่า อำนาจเสียงของพวกเขา มีอิทธิพลอย่างมากต่อการกำหนดนโยบายและพฤติกรรมของบริษัท “นโยบายต้องทำให้ประชาชนเข้าใจ ถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับพวกเขา” เขากล่าวต่อว่า การให้ความสำคัญกับการปฏิบัติที่ยั่งยืนและการเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน จะทำให้ทุกภาคส่วนสามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นได้           แม้ว่า Barrett จะวิจารณ์ลักษณะการทำงานของ ESG แต่เขาก็ยังมองในแง่บวกเกี่ยวกับศักยภาพของการเงิน "การเงินสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างเหลือเชื่อ" เขากล่าว "มันสามารถแก้ปัญหาได้จริงๆ แต่ต้องการแรงสนับสนุนที่ถูกต้องและการอธิบายอย่างตรงไปตรงมา ว่ามีความเสี่ยงอะไรบ้าง?" เขาเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงจากวงจรการเมืองที่มองถึงปัญหาระยะสั้นให้มองไปสู่การพัฒนาระยะยาว และกระตุ้นให้ทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขวิกฤตทางสภาพภูมิอากาศ           รับชมซีรีส์สัมมนาฉบับเต็ม ในหัวข้อ "เศรษฐศาสตร์มหภาคและสภาพภูมิอากาศ" รวมถึงการบรรยายหลักและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ได้ที่ https://youtu.be/MD5vaMjQdkc ที่มา EBC Financial Group (EBC) 

เตรียมเก็บภาษีคาร์บอน เพิ่มรายได้รัฐ-ลดก๊าซเรือนกระจก

เตรียมเก็บภาษีคาร์บอน เพิ่มรายได้รัฐ-ลดก๊าซเรือนกระจก

          นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เผยร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคืบหน้าแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาผลกระทบทุกภาคส่วน คาดบังคับใช้ได้ภายในปี 2569 โดยกฎหมายนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญทั้งในการบังคับและสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก ขณะเดียวกัน เตรียมเก็บภาษีคาร์บอนเป็นรายได้ผ่านกรมสรรพสามิต หวังจูงใจประชาชนให้ลดการใช้พลังงาน            นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของอนุกรรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีการพิจารณาครบทั้ง 14 หมวดแล้ว ซึ่งจะต้องประเมินผลสัมฤทธิ์และผลกระทบของกฎหมายก่อนดำเนินการขั้นต่อไป           หลังการประเมิน ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวจะถูกโพสต์ลงเว็บไซต์เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเป็นเวลา 15 วัน ก่อนที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ หากผ่านความเห็นชอบแล้ว จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) และส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อตรวจร่าง พ.ร.บ. ก่อนส่งเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรเพื่อดำเนินกระบวนการออกเป็นกฎหมายต่อไป โดยคาดว่าจะสามารถบังคับใช้ได้เร็วที่สุดในปี 2569หรือปี 2026           ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการทั้งบังคับและสนับสนุนให้เกิดการปรับตัวทางสิ่งแวดล้อม โดยการใช้เครื่องมือดังกล่าวจะเป็นไปตามความเหมาะสม และคำนึงถึงผลกระทบต่อทุกภาคส่วน เนื่องจากโลกกำลังเข้าสู่ยุคของการลดก๊าซเรือนกระจก (Decarbonization) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทั่วโลก           นายพิรุณเน้นว่าการมีกฎหมายดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากที่ผ่านมา การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยขึ้นอยู่กับความสมัครใจของภาคธุรกิจและประชาชน ขาดกฎหมายบังคับใช้โดยตรง การมีกฎหมายนี้จะช่วยสนับสนุนและผลักดันให้การลดก๊าซเรือนกระจกเกิดขึ้นอย่างจริงจัง           ส่วนการดำเนินการเกี่ยวกับภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) จะดำเนินการเป็น 2 เฟส โดยเฟสแรกดำเนินการผ่านกรมสรรพสามิต ซึ่งเตรียมออกภาษีคาร์บอนเพิ่มเติมในหมวดสิ่งแวดล้อม โดยมีการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่อัตรา 6 บาท ซึ่งอาจมีการปรับลดลงเหลือ 5 บาท พร้อมเพิ่มภาษีคาร์บอนอีก 1 บาท โดยภาษีคาร์บอนนี้จะเก็บจากกลุ่มน้ำมันและปิโตรเลียม ทั้งนี้ หากผู้ใช้ประหยัดการใช้พลังงานก็จะมีภาระจ่ายภาษีน้อยลง จึงไม่ต้องการให้ประชาชนเกิดความกังวลสำหรับเฟสที่ 2 จะมีการดำเนินการหลังจากที่ พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Act) มีผลบังคับใช้           ทังนี้  ร่าง พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีเนื้อหา 13 หมวด (เช่น นโยบาย/แผน การลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัว บทลงโทษ) และเพิ่มอีก 1 หมวด (Thailand CBAM) หมวด 1-3 เป็นหลักพื้นฐาน เช่น สิทธิของประชาชน เป้าหมาย คณะทำงาน หมวด 4 กองทุนสภาพภูมิอากาศ จะเป็นนิติบุคคลที่แยกออกจากกรม โดยจะให้เงินสนับสนุน (Grant) แก่โครงการที่สนับสนุน Net Zero Pathway เช่น การจัดหาข้อมูล การลดและใช้ประโยชน์จากก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ ซึ่งต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย โดยกองทุนนี้จะขอเงินจากภาครัฐถึงปี 2030 และจะเริ่มมีรายได้จาก ETS โดยคาดว่า 2031-2037 จะมีรายได้รวมประมาณ 137,900 ล้านบาท หมวด 5 แผนแม่บทระยะยาว หมวด 6 ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ บัญชีรายประเทศ (T1 Default T2 T3 ใช้เทคโนโลยีวัด) และบัญชีรายอุตสาหกรรม เพื่อเรียกข้อมูลจากอุตสาหกรรม หมวด 7 แผนลดก๊าซเรือนกระจก หมวด 8 ระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยใช้ระบบเดียวกับ EU สอดคล้องกับเป้าหมาย 1.5 องศาเซลเซียส และ EU CBAM รายได้จะนำไปสนับสนุน SME เพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero โดยมีระบบจัดการสิทธิตามแผนดังนี้: จัดสรรสิทธิไม่เกิน 5 ปี ประกาศแผนจัดสรรล่วงหน้า 1 ปี ก่อนเริ่มระยะเวลาจัดสรร ประกาศรายชื่อนิติบุคคล 10 เดือนก่อนเริ่มจัดสรร คืนสิทธิแก่กรมภายใน 6 เดือนหลังสิ้นสุดแต่ละปี ใช้คาร์บอนเครดิตไม่เกิน 15% ของสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ต้องคืน เก็บสิทธิเพื่อคืนในปีถัดไปตามจำนวนที่กำหนดในแผนจัดสรร หมวด 9 ระบบภาษีคาร์บอน เก็บเฉพาะการใช้งาน รายได้จากภาษีจะนำไปใช้เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยจะเก็บจากกลุ่มน้ำมันและปิโตรเลียม และหากผู้ใช้ประหยัดก็จะจ่ายภาษีน้อยลง ส่วนรายได้ 10% จะเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลัง มาตรา 26 โดยมีกรมสรรพสามิตเป็นผู้จัดการ หมวด 10 คาร์บอนเครดิต ซึ่งสามารถนำมาค้าขายได้ในระบบ ETS แต่จำกัดเพียง 15% มีทั้งคาร์บอนเครดิตตามข้อตกลงระหว่างประเทศและคาร์บอนภาคสมัครใจภายในประเทศ หมวด 11 การปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะมีการใช้ตัวชี้วัดระดับโลก (Core Global Indicator) พร้อมการพัฒนาโครงการต้นแบบในพื้นที่และสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้า (early warning system) และ climate risk profile ระดับ 5x5 ตารางกิโลเมตร หมวด 12 Thailand Taxonomy แบ่งกลุ่มธุรกิจเป็นเขียว เหลือง แดง ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ แต่หลัง พ.ร.บ. ออก กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ จะเป็นผู้ดูแล หมวด 13 บทกำหนดโทษ           ใน COP29 จะมีการหารือเรื่อง Global Stocktake (GST) เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าของประเทศต่างๆ ตามข้อตกลงปารีส ครอบคลุมเรื่องเทคโนโลยี การปรับตัว การสูญเสียและความเสียหาย และการเงินเพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนา