ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#บัญชีม้า


ก.ล.ต.จัดทำมาตรการ-ออกมาตรฐานกวาดล้างบัญชีม้าฯ บังคับใช้ปลายมี.ค.นี้

ก.ล.ต.จัดทำมาตรการ-ออกมาตรฐานกวาดล้างบัญชีม้าฯ บังคับใช้ปลายมี.ค.นี้

          สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมกับสมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทย (TDO) และผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล จัดทำมาตรการและออกมาตรฐานการกวาดล้างบัญชีม้าสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อยกระดับการป้องกันการหลอกลวงลงทุน และปราบปรามการฟอกเงินและอาชญากรรมทางเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมทั้งนำมาตรการบังคับใช้อย่างเข้มข้นในเดือนมีนาคมนี้           ตามที่ ก.ล.ต. มีการประสานงานและประชุมหารือสมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทย (TDO) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และสมาคมธนาคารไทย เกี่ยวกับป้องกันการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นช่องทางในการฟอกเงินของกลุ่มมิจฉาชีพอย่างต่อเนื่อง           ก.ล.ต. เปิดเผยถึงความคืบหน้าถึงการร่วมกับ TDO ในการจัดทำมาตรการและมาตรฐานการดำเนินการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (Industry Standard) เพื่อกำจัดและสกัดกั้นบัญชีม้าสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งครอบคลุมถึงการสกัดกั้นบัญชีม้าที่เปิดใหม่ การตรวจจับพฤติกรรมผิดปกติของลูกค้า รวมทั้งการตรวจสอบและดำเนินการกับบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่เข้าข่ายเป็นบัญชีม้า รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีม้าจากภาคธนาคารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง           นายเอนก อยู่ยืน รองเลขาธิการ และโฆษก ก.ล.ต. กล่าวว่า “ก.ล.ต. ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการกระทำผิดที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมาก โดยได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการและแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่ผ่านมาในหลายมิติอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการจัดทำมาตรการและออกมาตรฐาน Industry Standard ซึ่งจะช่วยป้องกันการถ่ายเทเงินของผู้เสียหายแปลงเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านบัญชีม้าสินทรัพย์ โดยผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหลายรายได้นำมาตรการดังกล่าวไปใช้สกัดกั้นบัญชีม้าบ้างแล้ว ทั้งนี้ ในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2568 จะนำมาตรการไปบังคับใช้อย่างเข้มข้นเพื่อให้เป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลของไทย อย่างไรก็ดี ก.ล.ต. จะร่วมกับ TDO ในการติดตามและประเมินผลการดำเนินมาตรการอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง เพื่อให้มาตรการต่าง ๆ มีประสิทธิภาพสูงสุด”

ก.ล.ต. ผนึกกำลังผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยกระดับมาตรการสกัดกั้นบัญชีม้า

ก.ล.ต. ผนึกกำลังผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยกระดับมาตรการสกัดกั้นบัญชีม้า

          หุ้นวิชั่น - วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 | ฉบับที่ 31 / 2568 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทย (TDO) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันกำหนดมาตรการจัดการปัญหาบัญชีม้า เพื่อยกระดับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายในการสร้างมาตรฐานการประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลและร่วมมือในการสกัดกั้นบัญชีม้า           ก.ล.ต. เปิดเผยถึงการจัดการเกี่ยวกับบัญชีม้าว่า ได้ประสานการทำงานร่วมกับ TDO และผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างใกล้ชิด และได้ร่วมกันกำหนดมาตรการจัดการบัญชีม้าเพิ่มเติมเพื่อยกระดับมาตรการคัดกรองและตรวจสอบบัญชีม้าให้เข้มข้น เท่าทัน และครอบคลุมลักษณะหรือพฤติกรรมเสี่ยงของบัญชีม้ายิ่งขึ้น โดยผู้ที่เป็นบัญชีม้าจะถูกจำกัดการทำธุรกรรมบางลักษณะที่เสี่ยงต่อการฟอกเงิน ผ่านสินทรัพย์ดิจิทัล           นอกจากนี้ ก.ล.ต. ได้บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช. สอท.) และ ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น เพื่อให้การแก้ไขปัญหาจัดการบัญชีม้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลของไทย ตลอดจนสนับสนุนให้กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน รวมทั้งกำหนดมาตรฐานการประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อสกัดกั้นการใช้บัญชีม้าสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นช่องทางการฟอกเงิน โดยผ่านกลไกการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ในกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล           สำหรับการดำเนินการที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้ประสานการทำงานกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาบัญชีม้าและอาชญากรรมทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มมิจฉาชีพใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นช่องทางการฟอกเงิน รวมทั้งร่วมเสนอแนะแนวทาง ให้ข้อคิดเห็น และดำเนินการตามมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีการออกหนังสือเวียนให้ผู้ประกอบธุรกิจยกระดับการคัดกรองลูกค้าและธุรกรรมต้องสงสัยตามแนวทางที่จัดทำร่วมกับ TDO และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าตรวจสอบและติดตามผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนร่วมเสนอและให้ข้อคิดเห็นในการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ธปท. เข้มจัดการบัญชีม้า ดันแนวทางการร่วมรับผิดชอบ

ธปท. เข้มจัดการบัญชีม้า ดันแนวทางการร่วมรับผิดชอบ

          หุ้นวิชั่น - นางรุ่ง มัลลิกะมาส รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยทุจริตทางการเงินมาอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมา มีการดำเนินการสำคัญ อาทิ การกำกับดูแลให้สถาบันการเงินมีมาตรฐานการให้บริการ mobile banking ที่ปลอดภัยมากขึ้น การยกระดับการจัดการบัญชีม้าจากระดับบัญชีเป็นระดับบุคคล ซึ่งช่วยให้บัญชีม้าถูกระงับเป็นจำนวนมากและเปิดใหม่ได้ยากขึ้น อย่างไรก็ดี รูปแบบและพฤติกรรมของมิจฉาชีพที่เปลี่ยนไปต่อเนื่อง ทำให้ความเสียหายจากภัยทุจริตทางการเงินไม่ได้ลดลง ในครั้งนี้ ธปท. จึงยกระดับมาตรการเชิงป้องกัน โดยเพิ่มความเข้มข้นและขยายผลการจัดการบัญชีต้องสงสัย เพื่อให้ธนาคารสามารถดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันความเสี่ยงและแก้ปัญหาภัยทุจริตทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น           นางสาวดารณี แซ่จู ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ชี้แจงว่ามาตรการยกระดับการจัดการบัญชีม้าเพิ่มเติม ประกอบด้วย 1) การกวาดล้างบัญชีม้าให้ได้มากขึ้น โดยปรับเงื่อนไขการเข้าข่ายเป็นบัญชีม้าให้เข้มขึ้น โดยคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น พฤติกรรมการโอนของบัญชีม้า มูลค่าของธุรกรรม เพื่อให้ครอบคลุมพฤติกรรมของมิจฉาชีพที่เปลี่ยนไป รวมทั้งสามารถดำเนินการกับบัญชีม้าได้แม้ยังไม่ได้รับแจ้งจากผู้เสียหาย เพื่อยกระดับการจัดการบัญชีม้าแต่ละระดับให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 2) การจัดการบัญชีม้าระดับบุคคลที่เข้มข้นขึ้น โดยธนาคารต้องขยายให้การระงับการโอนเงินออกจากบัญชีม้าและการปฏิเสธการเปิดบัญชีใหม่ ครอบคลุมไปถึงกรณีของบัญชีที่มีความเสี่ยงสูงว่าจะเป็นบัญชีม้า (แต่ยังไม่ถูกแจ้งว่าทำให้เกิดความเสียหาย) เพิ่มเติมด้วย รวมทั้งต้องกันเงินไม่ให้เข้าไปยังบัญชีของม้าทุกประเภทที่ระบุได้ชัดเจนว่ามีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ ธนาคารต้องแจ้งเตือนให้ผู้โอนรู้ตัวว่าอาจกำลังโอนเงินไปยังบัญชีม้า เพื่อป้องกันความเสียหายตั้งแต่ต้น และผู้ถูกหลอกไม่ต้องเสียเวลาในการดำเนินการทางกฎหมายเพื่อรับเงินคืน 3) การขยายการจัดการในวงที่กว้างขึ้น โดยกำหนดให้ธนาคารต้องแลกเปลี่ยนรายชื่อบุคคลที่ธนาคารตรวจสอบว่ามีพฤติกรรมต้องสงสัยระหว่างกันเพิ่มเติมแม้ยังไม่ได้รับแจ้งจากผู้เสียหาย จากเดิมที่แลกเปลี่ยนกันเฉพาะรายชื่อบุคคลที่เข้าข่ายการกระทำความผิดตามฐานข้อมูลสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และรายชื่อบุคคลที่ถูกแจ้งความหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในเส้นทางการเงินทุจริตเท่านั้น เพื่อให้ธนาคารดำเนินการป้องกันภัยทุจริตได้ครอบคลุม รวดเร็ว เป็นมาตรฐานเดียวกันมากขึ้น           นอกจากนี้ ธปท. ยังกำหนดให้ธนาคารต้องพัฒนาการจัดการบัญชีม้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงจากรูปแบบการหลอกลวงและพฤติกรรมของมิจฉาชีพในอนาคต เช่น การปรับปรุงเงื่อนไขการตรวจจับบัญชีม้าให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ การพัฒนาระบบการตรวจจับบัญชีม้าและพฤติกรรมผิดปกติของลูกค้า เพื่อให้ธนาคารสามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสมกับพฤติกรรมรายบุคคลอย่างรวดเร็ว ตลอดจนร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้กำกับดูแลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ในการปิดช่องโหว่เส้นทางเงินที่สำคัญของมิจฉาชีพ           ทั้งนี้ ธปท. เห็นว่าการแก้ไขปัญหาภัยทุจริตทางการเงินให้ได้อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งภาคธนาคาร ผู้ให้บริการโทรคมนาคม (Telco) หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชนผู้ใช้บริการ ในการรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองตามขอบเขตมาตรฐานที่ผู้กำกับดูแลกำหนดไว้อย่างชัดเจน หากฝ่ายไหนละเลยการปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด ควรที่จะต้องแสดงความรับผิดชอบและชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น (Shared responsibility) โดย ธปท. จะประกาศกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่ธนาคารพึงปฏิบัติให้ชัดเจน เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาความรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ร่วมกับผู้กำกับดูแลด้านอื่น ๆ ต่อไป

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011