ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#นิด้าโพล


นิด้าโพลชี้ คนไทย 60.92% เชื่อ! ตัดท่อน้ำเลี้ยงแก้ปัญหาแก๊งคอลเซนเตอร์

นิด้าโพลชี้ คนไทย 60.92% เชื่อ! ตัดท่อน้ำเลี้ยงแก้ปัญหาแก๊งคอลเซนเตอร์

         หุ้นวิชั่น - ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “War on Scam Gang” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับมาตรการของรัฐบาลในการจัดการกับปัญหาแก๊งคอลเซนเตอร์ที่มีฐานในเมียนมา การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0          จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อมาตรการของรัฐบาลในการตัดไฟ ตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ต และระงับการส่งออกน้ำมัน เพื่อจัดการปัญหาแก๊งคอลเซนเตอร์ในเมียนมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 70.54 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 21.07 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 5.34 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 3.05 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย          ด้านมาตรการของรัฐบาลในการตัดไฟ ตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ต และระงับการส่งออกน้ำมันกับการช่วยแก้ไขปัญหาแก๊งคอลเซนเตอร์ในเมียนมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 60.92 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้ในระดับหนึ่ง รองลงมา ร้อยละ 17.71 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้มาก ร้อยละ 15.95 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้น้อยมาก และร้อยละ 5.42 ระบุว่า ไม่ช่วยแก้ไขปัญหาอะไรเลย          สำหรับการมีส่วนเกี่ยวข้องหรือการสนับสนุนแก๊งคอลเซนเตอร์ในเมียนมาจากเจ้าหน้าที่รัฐของไทยบางคนพบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 69.85 ระบุว่า มีแน่นอน รองลงมา ร้อยละ 26.87 ระบุว่า ไม่แน่ใจ และร้อยละ 3.28 ระบุว่า ไม่มี          ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผู้ที่ทำงานในแก๊งคอลเซนเตอร์ในเมียนมาถูกหลอก หรือสมัครใจมากกว่ากัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 49.77 ระบุว่า น่าจะมีจำนวนพอ ๆ กันทั้งคนที่ถูกหลอกและเต็มใจไปทำงาน รองลงมา ร้อยละ 25.80 ระบุว่า ส่วนใหญ่ไปทำงานด้วยความเต็มใจ ร้อยละ 20.38 ระบุว่า ส่วนใหญ่ถูกหลอกไปทำงาน และร้อยละ 4.05 ระบุว่า ไม่แน่ใจ รายละเอียดเพิ่ม คลิก https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=740

นิด้าโพล เผยผู้สูงอายุรับเงินหมื่น กว่า 86% จ่ายค่าน้ำ-ค่าไฟ

นิด้าโพล เผยผู้สูงอายุรับเงินหมื่น กว่า 86% จ่ายค่าน้ำ-ค่าไฟ

           หุ้นวิชั่น - ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ผู้สูงอายุรับเงินสด 10,000 บาท แล้วจะสนับสนุนรัฐบาลไหม” ทำการสำรวจระหว่างวันที่3-5 กุมภาพันธ์ 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ทั้งตนเอง และ/หรือคนในครอบครัว ที่ได้รับเงิน 10,000 บาท จากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ            รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการได้รับเงินสด 10,000 บาท จากรัฐบาล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล”สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0            จากการสำรวจเมื่อถามถึงการนำเงินไปใช้จ่ายของผู้ที่ได้รับเงิน 10,000 บาท ไม่ว่าจะเป็นตนเอง และ/หรือ คนในครอบครัวที่ได้รับเงินจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ พบว่า            ตัวอย่าง ร้อยละ 86.18 ระบุว่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (รวมค่าน้ำ ค่าไฟ น้ำมันเชื้อเพลิง) รองลงมา ร้อยละ 26.26 ระบุว่า ใช้จ่ายเพื่อสุขภาพ (เช่น ซื้อยารักษาโรค หาหมอ) ร้อยละ 13.66 ระบุว่า ใช้หนี้ ร้อยละ 11.98 ระบุว่า เก็บออมไว้สำหรับอนาคต ร้อยละ 9.24 ระบุว่า ใช้ลงทุนการค้า ร้อยละ 8.70 ระบุว่า ใช้จ่ายเพื่อการศึกษา ร้อยละ 4.35 ระบุว่า ใช้ซื้อหวย สลากกินแบ่งรัฐบาลร้อยละ 1.76 ระบุว่า ใช้ซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 0.53 ระบุว่า ใช้ซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มือถือและเครื่องมือสื่อสาร ร้อยละ 0.46 ระบุว่า ใช้จ่ายเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ใช้จ่ายเพื่อการบันเทิง (เช่น เลี้ยงสังสรรค์ ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ เป็นต้น)            ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการสนับสนุนรัฐบาลของผู้ที่ได้รับเงิน 10,000 บาท ไม่ว่าจะเป็นตนเอง และ/หรือ คนในครอบครัวที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 44.89 ระบุว่ามีส่วนทำให้สนับสนุนรัฐบาล รองลงมา ร้อยละ 30.69 ระบุว่า จะมีหรือไม่มีโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็สนับสนุนรัฐบาลอยู่แล้ว ร้อยละ 14.35 ระบุว่า ไม่ว่าอย่างไรก็ไม่สนับสนุนรัฐบาล และร้อยละ 10.07 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ ว่าจะตัดสินใจอย่างไร

“นิด้าโพล” เผยผลสำรวจ 37.11% ทักษิณปราศัยไม่ส่งผลตัดสินใจ

“นิด้าโพล” เผยผลสำรวจ 37.11% ทักษิณปราศัยไม่ส่งผลตัดสินใจ

           หุ้นวิชั่น - ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ทักษิณปราศรัยเชียงใหม่ เชียงราย …แล้วเราควรตัดสินใจอย่างไร” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7-10 มกราคม 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,803 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการตัดสินใจเพื่อสนับสนุนผู้สมัครนายก อบจ. เชียงใหม่และนายก อบจ. เชียงรายของพรรคเพื่อไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0            จากการสำรวจเมื่อถามถึงการตัดสินใจของประชาชนที่มีต่อการปราศรัยหาเสียงของคุณทักษิณ ชินวัตร เพื่อสนับสนุนผู้สมัครนายก อบจ. เชียงใหม่ ของพรรคเพื่อไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 37.11 ระบุว่า ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เพราะจะไม่เลือกพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว รองลงมา ร้อยละ 23.24 ระบุว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจ เลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 17.06 ระบุว่า ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เพราะจะเลือกพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว ร้อยละ 13.59 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจใด ๆ และร้อยละ 9.00 ระบุว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจ ไม่เลือกพรรคเพื่อไทย            ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการเลือกตั้งนายก อบจ. ในครั้งนี้ อาจส่งผลต่อการเลือกตั้ง สส. จังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งถัดไป พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.37 ระบุว่า ไม่ส่งผลเลย รองลงมา ร้อยละ 28.87 ระบุว่า ส่งผลมาก ร้อยละ 24.74 ระบุว่า ค่อนข้างส่งผล ร้อยละ 14.43 ระบุว่า ไม่ค่อยส่งผล และร้อยละ 1.59 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ            สำหรับการตัดสินใจของประชาชนที่มีต่อการปราศรัยหาเสียงของคุณทักษิณ ชินวัตร เพื่อสนับสนุนผู้สมัครนายก อบจ. เชียงราย ของพรรคเพื่อไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 33.01 ระบุว่า ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เพราะจะไม่เลือกพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว รองลงมา ร้อยละ 26.09 ระบุว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจ เลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 17.12 ระบุว่า ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เพราะจะเลือกพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว ร้อยละ 14.54 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจใด ๆ และร้อยละ 9.24 ระบุว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจ ไม่เลือกพรรคเพื่อไทย            ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการเลือกตั้งนายก อบจ. ในครั้งนี้ อาจส่งผลต่อการเลือกตั้ง สส. จังหวัดเชียงราย ในครั้งถัดไป พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.96 ระบุว่า ไม่ส่งผลเลย รองลงมา ร้อยละ 25.95 ระบุว่า ส่งผลมาก ร้อยละ 20.24 ระบุว่า ค่อนข้างส่งผล ร้อยละ 16.44 ระบุว่า ไม่ค่อยส่งผล และร้อยละ 0.41 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

นิด้าโพล เผยผลสำรวจคนไทยมองการเมือง - เศรษฐกิจ - คุณภาพชีวิต ปี 68 51.22 % นายกอิ๊งค์อยู่ยาว 34.35% เศรษฐกิจแย่เหมือนเดิม

นิด้าโพล เผยผลสำรวจคนไทยมองการเมือง - เศรษฐกิจ - คุณภาพชีวิต ปี 68 51.22 % นายกอิ๊งค์อยู่ยาว 34.35% เศรษฐกิจแย่เหมือนเดิม

          หุ้นวิชั่น -  ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “การเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ในปี 2568” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16-18 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชน ในปี 2568 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล”  สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0           จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงสถานการณ์ทางการเมืองไทยโดยทั่วไป ในปี 2568 เมื่อเทียบกับปี 2567พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 50.61 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายเหมือนเดิม รองลงมา ร้อยละ 39.92 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายมากขึ้น ร้อยละ 7.33 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายน้อยลง และร้อยละ 2.14 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะไม่วุ่นวายเลย           ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับรัฐบาลนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ในปี 2568 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 51.22 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะอยู่ยาวตลอดทั้งปี รองลงมา ร้อยละ 21.60 ระบุว่า รัฐบาลนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะมีการปรับคณะรัฐมนตรี ร้อยละ 15.34 ระบุว่า จะมีการยุบสภา เพื่อเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 15.04 ระบุว่า จะเกิดความแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาล และทำให้รัฐบาลล่ม ร้อยละ 5.88 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะลาออก ร้อยละ 5.73 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะโดนชุมนุมขับไล่ ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 3.05 ระบุว่า รัฐบาลนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะโดนรัฐประหาร ร้อยละ 2.82 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะโดนคดีความทางการเมืองจนต้องหลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 1.76 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะเปิดทางให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นนายกรัฐมนตรีแทน และร้อยละ 1.15 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ           สำหรับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทย ในปี 2568 เมื่อเทียบกับปี 2567 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 34.35 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะแย่เหมือนเดิม รองลงมา ร้อยละ 32.82 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะแย่ลง ร้อยละ 21.99 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะดีขึ้น และร้อยละ 10.84 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะดีเหมือนเดิม           ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงคุณภาพชีวิตโดยทั่วไปในสังคมไทย ในปี 2568 เมื่อเทียบกับปี 2567 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 34.43 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะแย่เหมือนเดิม รองลงมา ร้อยละ 33.20 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะแย่ลง ร้อยละ 20.46 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทยจะดีขึ้น และร้อยละ 11.91 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะดีเหมือนเดิม รายละเอียดเพิ่มเติม https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=733

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

เท้ง - อุ๊งอิ๊ง สุดสูสีนิด้าโพล ประชาชนอยากได้ใครเป็นนายกฯ

เท้ง - อุ๊งอิ๊ง สุดสูสีนิด้าโพล ประชาชนอยากได้ใครเป็นนายกฯ

          หุ้นวิชั่น - ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 4/2567” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 19-24 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคะแนนนิยมทางการเมือง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0           จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 29.85 ระบุว่าเป็น นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ (พรรคประชาชน) เพราะ มีความมุ่งมั่นในการสานต่ออุดมการณ์ของพรรคและมีบทบาทที่เข้ากับคนรุ่นใหม่ อันดับ 2 ร้อยละ 28.80 ระบุว่าเป็น นางสาวแพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง)  ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ มีประสบการณ์ด้านการบริหารธุรกิจ เป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่มีพลังและมุมมองทันสมัยในด้านการเมือง อันดับ 3 ร้อยละ 14.40 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 4 ร้อยละ 10.25 ระบุว่าเป็น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) เพราะ เป็นบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย และมีภาพลักษณ์ของผู้นำที่เข้าถึงง่าย อันดับ 5 ร้อยละ 6.45 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ มีความสามารถในการบริหารงาน และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศ อันดับ 6 ร้อยละ 4.95 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ เป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ยาวนาน และยืนหยัดในอุดมการณ์ประชาธิปไตย อันดับ 7 ร้อยละ 1.70 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) เพราะ เป็นผู้นำที่มีความมุ่งมั่นและมีประสบการณ์การทำงานยาวนาน อันดับ 8 ร้อยละ 1.05 ระบุว่าเป็น นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะ ชื่นชอบผลงานและแนวคิดของพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 2.55 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายวราวุธ ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง (พรรคประชาชาติ) นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนา) พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ (พรรคกล้าธรรม) ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) นายกัณวีร์ สืบแสง (พรรคเป็นธรรม) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกรณ์ จาติกวณิช           ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 37.30 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชน อันดับ 2 ร้อยละ 27.70 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 10.60 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 8.20 ระบุว่า ยังหาพรรคการเมืองที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 5 ร้อยละ 5.15 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 6 ร้อยละ 3.40 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อับดับ 7 ร้อยละ 3.05 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อับดับ 8 ร้อยละ 2.50 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อับดับ 9 ร้อยละ 1.00 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ และร้อยละ 1.10 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา พรรคกล้าธรรม พรรคไทรวมพลัง พรรคเสรีรวมไทย และพรรคเป็นธรรม

นิด้าโพลชี้! ประชาชนไม่ไว้วางใจรัฐบาลปกป้องผลประโยชน์ชาติ เจรจา MOU 44-เกาะกูด

นิด้าโพลชี้! ประชาชนไม่ไว้วางใจรัฐบาลปกป้องผลประโยชน์ชาติ เจรจา MOU 44-เกาะกูด

          ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็น เรื่อง “มีใครเข้าใจประเด็นโต้แย้งเรื่อง MOU 44 และเกาะกูด บ้าง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความเข้าใจของประชาชนในประเด็นการโต้แย้ง MOU 44 และสถานการณ์ของเกาะกูด การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0           จากการสำรวจเมื่อถามความเข้าใจของประชาชนในประเด็นการโต้แย้งเกี่ยวกับ MOU 44 และสถานการณ์ ของเกาะกูด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 58.86 ระบุว่า ไม่เข้าใจเลย รองลงมา ร้อยละ 19.31 ระบุว่า ไม่ค่อยเข้าใจ ร้อยละ 15.65 ระบุว่า ค่อนข้างเข้าใจ และร้อยละ 6.18 ระบุว่า เข้าใจมาก           เมื่อสอบถามผู้ที่ระบุว่ามีความเข้าใจมากและค่อนข้างเข้าใจในประเด็นการโต้แย้งเกี่ยวกับ MOU 44 และสถานการณ์ของเกาะกูด (จำนวน 288 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับความไว้วางใจต่อรัฐบาลว่าจะสามารถปกป้องผลประโยชน์ของชาติได้หากมีการเจรจา MOU 44 กับรัฐบาลกัมพูชา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 33.68 ระบุว่า ไม่ไว้วางใจเลย รองลงมา ร้อยละ 29.17 ระบุว่า ไม่ค่อยไว้วางใจ ร้อยละ 24.65 ระบุว่า ค่อนข้างไว้วางใจ และร้อยละ 12.50 ระบุว่า ไว้วางใจมาก           สำหรับความต้องการที่จะเข้าใจข้อโต้แย้ง MOU 44 และสถานการณ์ของเกาะกูดให้ชัดเจนมากขึ้น พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.22 ระบุว่า ไม่ต้องการเลย รองลงมา ร้อยละ 26.72 ระบุว่า ต้องการมาก ร้อยละ 16.64 ระบุว่า ค่อนข้างต้องการ และร้อยละ 15.42 ระบุว่า ไม่ค่อยต้องการ           ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการมีแนวคิดความเป็น “ชาตินิยม” ของประชาชน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.15 ระบุว่า มีความเป็น “ชาตินิยม” มาก รองลงมา ร้อยละ 28.24 ระบุว่า ความเป็น “ชาตินิยม” ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ร้อยละ 15.04 ระบุว่า ค่อนข้างมีความเป็น “ชาตินิยม” ร้อยละ 7.33 ระบุว่า ไม่มีความเป็น “ชาตินิยม” เลย ร้อยละ 6.26 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความเป็น “ชาตินิยม” และร้อยละ 2.98 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011