ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#นายกรัฐมนตรี


นายกฯ มอบรองนายกฯ พิชัย เจรจาสหรัฐ เตรียมมาตรการรับมือ-เยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบ

นายกฯ มอบรองนายกฯ พิชัย เจรจาสหรัฐ เตรียมมาตรการรับมือ-เยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบ

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน นายกรัฐมนตรี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร เปิดเผยผ่านโซเชียลมีเดีย ว่า การวางยุทธศาสตร์รับมือมาตรการ Reciprocal Tariff และ liberation day ต้อง ‘รู้เขา-รู้เรา-เร็ว-แม่นยำ’ ซึ่งการประชุมวันนี้จะเป็นการติดตามสถานการณ์ กำหนดก้าวต่อไปอย่างรอบคอบและแม่นยำ เพื่อประโยชน์สูงสุดของคนไทย           ตามที่ นายทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศมาตรการ Reciprocal Tariff และ liberation day เมื่อวันที่ 2 เมษายน ซึ่งถือเป็นการกำหนดกติกาการค้าโลกใหม่ สร้างผลสะเทือนต่อระบบเศรษฐกิจของโลก รวมทั้งผู้บริโภคของสหรัฐอเมริกาเอง ตามรายงานข่าวที่ทุกท่านได้ติดตามรับทราบโดยทั่วกัน           การณ์นี้ รัฐบาลติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ระบุให้เป็นวาระสำคัญ โดยแต่งตั้งคณะทำงานนโยบายการค้าสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่เมื่อ 6 มกราคมที่ผ่านมา โดยมีท่านปลัดกระทรวงพาณิชย์ฯ เป็นประธาน , อาจารย์พันศักดิ์ วิญญรัตน์ , ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ เป็นที่ปรึกษา เพื่อศึกษารายละเอียด หารือ และกำหนดแนวทางร่วมกับภาครัฐและเอกชนมาโดยตลอด           โดยในที่ประชุม ครม. เมื่อเช้านี้ ได้มีการมอบหมายให้ท่านรองนายกฯ พิชัย เป็นหัวหน้าคณะในการเจรจากับทางอเมริกา พร้อมด้วย รมต. พาณิชย์ เป็นผู้ร่วมคณะเจรจา มีการประสานนัดหมาย เพื่อทำการพูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น USTR และหน่วยงานอื่นๆ ของอเมริกา เพื่อนำเอาข้อเสนอของไทยไปพูดคุย           และการประชุมวันนี้จะเป็นการติดตามสถานการณ์ เพื่อกำหนด ก้าวต่อไป เพื่อประโยชน์สูงสุดของคนไทยอย่างรอบคอบและแม่นยำ           สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การวางยุทธศาสตร์และมาตรการต่างๆ คือต้อง “รู้เขา” และ “รู้เรา” วันนี้เห็นนอกจากรูปแบบการตอบโต้ และรับมือต่อนโยบาย Trump จากประเทศต่างๆ มีอะไรบ้าง และยังได้เห็นปฏิกิริยาการเคลื่อนไหวตอบโต้ของประชาชนภายในสหรัฐอเมริกาที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้อีกด้วย           ยุทธศาสตร์และกระบวนการทำงานของรัฐบาลต้องทั้ง 'เร็ว และ แม่นยำ' เร็ว : ขอย้ำว่ามีการจัดตั้งคณะทำงานมาตั้งแต่เดือนมกราคม ซึ่งตั้งก่อนที่ประธานาธิบดีทรัมป์จะเข้ารับตำแหน่งเป็นทางการเมื่อ 20 มกราคม และได้ประสานงานกับฝั่งทางสหรัฐอเมริกามาตลอด แม่นยำ : มีการเตรียมข้อมูลที่ครบและรอบด้าน มีการติดตามความเคลื่อนไหวจากทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบเพื่อประเมินและหาข้อสรุปในการเจรจาที่จะมีต่อไปจากนี้           ดิฉันขอย้ำว่า การเจรจาไม่ใช่แค่ครั้งเดียวจบ แต่การเจรจาจะต้องใช้เวลา และมีการเจรจาในหลายระดับที่แตกต่างกัน           นอกจากนี้ เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดผลกระทบเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจ จึงต้องการเตรียมมาตรการรับมือและเยียวยาให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว โดยเฉพาะในระยะสั้น ส่วนในระยะยาวจะต้องมองถึงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และการหาตลาดใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เศรษฐกิจไทยไปต่อได้อย่างเข้มแข็ง           ดิฉันขอยืนยันว่า รัฐบาลคำนึงถึงผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนและประเทศเป็นที่ตั้ง จะดำเนินการทุกอย่างโดยรอบคอบ เพื่อรักษาผลประโยชน์ และไม่ให้เสียเปรียบมากที่สุด

แถลงการณ์ นายกรัฐมนตรี  เปิดช่องนำเข้าสินค้าสหรัฐฯเพิ่ม

แถลงการณ์ นายกรัฐมนตรี เปิดช่องนำเข้าสินค้าสหรัฐฯเพิ่ม

           แถลงการณ์ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ท่าทีของประเทศไทยกับนโยบายการค้าของสหรัฐอเมริกา 6 เมษายน พ.ศ.2568            เรียนพี่น้องประชาชน ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศไทยของเราได้เผชิญกับเหตุการณ์หลายอย่างที่ไม่คาดคิด ทั้งเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตทรัพย์สิน และสภาพจิตใจของคนไทย รัฐบาลได้ตระหนักถึงเหตุการณ์ดังกล่าวและได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ในทุกมิติ เพื่อให้การช่วยเหลือและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เราเคยผ่านวิกฤตของประเทศมาแล้วหลายครั้งและด้วยความสามัคคีความช่วยเหลือเกื้อกูลและความเอื้ออารีต่อกันของคนในชาติ ทำให้ดิฉันเชื่อมั่นว่าเราจะสามารถก้าวผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้            วันนี้ประเทศไทย กำลังเผชิญกับมาตรการในการขึ้นภาษีสินค้าของไทยที่ส่งไปขายในสหรัฐอเมริกาในอัตราร้อยละ 36 อีกทั้งหลายประเทศก็ได้ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับประเทศไทยและก็ต่างเตรียมมาตรการรับมือ ซึ่งเราเชื่อว่าทั่วโลกกำลังจะเห็นการตอบโต้กันอย่างหนักหน่วงผ่านเครื่องมือทางภาษี และหลายประเทศก็ตัดสินใจไปเจรจาพูดคุยกับรัฐบาลสหรัฐฯ แต่จนถึงวันนี้ยังไม่มีใครได้ข้อสรุปของการเจรจาแต่อย่างใด ในส่วนของประเทศไทยมาตรการนี้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการส่งออกสินค้าของเราโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อาหารแปรรูป และสินค้าเกษตร            รัฐบาลได้ตั้งคณะทำงานในเรื่องนี้ขึ้นมา ตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 มกราคมปีนี้ และมีการหารือกับภาคเอกชนรวมทั้งตัวแทนของสหรัฐฯถึงข้อเสนออย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ มาโดยตลอด และในสัปดาห์หน้านี้ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะเดินทางไปหารือ กับหลายภาคส่วนในสหรัฐฯ ทั้งภาครัฐ เอกชนและผู้ที่มีส่วนได้เสีย จากการเปลี่ยนแปลงการค้าที่สำคัญ ของรัฐบาลสหรัฐฯในครั้งนี้ สำหรับสิ่งที่เราจะสื่อสารกับรัฐบาลสหรัฐฯก็คือ ประเทศไทยไม่ใช่แค่ผู้ส่งออกเท่านั้น แต่เราคือพันธมิตรและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่สหรัฐฯเชื่อถือได้ในระยะยาว            โดยขณะนี้ รัฐบาลได้สรุปข้อเสนอเชิงนโยบายต่างๆ เช่นการเพิ่มการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ในด้านพลังงาน อากาศยาน และ สินค้าเกษตร โดยประเทศไทยมีแผนที่จะสร้างความร่วมมือกับภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และกลุ่มอื่นๆ ที่มีส่วนได้เสียสำคัญในระบอบประชาธิปไตยของสหรัฐฯ ซึ่งมีรายละเอียดในนโยบายอีกมาก โดยขอให้มั่นใจว่าข้อเสนอเหล่านี้ ล้วนแต่คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศไทยเหนือสิ่งอื่นใด นอกจากนี้ประเทศไทย จะมีการเจรจา เรื่องการส่งเสริมการลงทุนของไทยในสหรัฐฯและลดเงื่อนไขการนำเข้าที่เป็นอุปสรรครวมไปถึงการปราบปราม การสวมสิทธิถิ่นกำเนิดสินค้าที่ใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังสหรัฐฯ            ดิฉันมั่นใจว่า ข้อเสนอข้างต้นนี้ จะทำให้การเจรจากับสหรัฐฯ บรรลุผลเพื่อให้ประเทศไทยและสหรัฐฯ ยังคงเป็นพันธมิตรและคู่ค้าที่เป็นมิตรต่อกัน นอกจากนี้รัฐบาลยังมีอีกหลายมาตรการที่พร้อมจะรับฟังและพูดคุยเพิ่มเติมกับสหรัฐฯ และขอให้ความมั่นใจว่าข้อเสนอที่รัฐบาลเตรียมไว้ ล้วนคำนึงถึงประชาชนและผลประโยชน์ของประเทศไทยเป็นสำคัญและเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจของเราและคนที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจไทยทุกท่าน            ดิฉันขอให้คำมั่นว่า ทุกท่านไม่ได้โดดเดี่ยว ไม่ได้ต่อสู้เพียงลำพัง รัฐบาลจะมีมาตรการเยียวยาเร่งด่วนในระยะสั้น และระยะยาวเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการทั้ง SME และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ได้รับผลกระทบ โดยการเร่งขยายตลาดส่งออกใหม่ๆ อีกทั้งยังจะเป็นการกระจายความเสี่ยงของภาคธุรกิจไทย ที่เรามุ่งมั่นที่จะเจรจาการค้า ในการเปิดตลาดใหม่ๆ ในตะวันออกกลาง ยุโรป และ อินเดีย โดยจะเร่งเจรจาการค้า FTA ให้เร็วยิ่งขึ้น            ท้ายนี้ ดิฉันขอเรียนว่าในวันอังคารที่ 8 เมษายนนี้ หลังจากประชุมสรุปกับคณะกรรมการและทุกหน่วยงานอีกครั้งหนึ่ง จะสรุปแนวทางเพื่อผลประโยชน์ของประเทศไทยเป็นสำคัญ และขอเรียนย้ำอีกครั้ง ว่ารัฐบาลจะทำทุกวิถีทางเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ เพื่อสร้างฐานเศรษฐกิจไทยให้มั่นคง แข็งแรง และเท่าทันโลก และเพื่อให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าอย่างมีศักดิ์ศรีเพื่อประเทศไทยของเรา

นายกฯ ออกแถลงการณ์ ไทยพร้อมเจรจาสหรัฐ เสนอเงื่อนไขจูงใจ

นายกฯ ออกแถลงการณ์ ไทยพร้อมเจรจาสหรัฐ เสนอเงื่อนไขจูงใจ

           นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกแถลงการณ์นายกรัฐมนตรี ระบุว่า รัฐบาลไทยตระหนักและเข้าใจถึงความจำเป็นของสหรัฐฯ ที่จะต้องปรับสมดุลทางการค้ากับประเทศคู่ค้าจำนวนมาก ผ่านนโยบายอัตราภาษีต่างตอบแทน (Reciprocal Trade and Tariffs) ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ที่เป็นคู่ค้าของสหรัฐฯ ในขณะที่กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์ของประธานาธิบดีทรัมป์ มีความเป็นพลวัต (dynamic) และแตกต่างไปจากยุคก่อนอย่างสิ้นเชิง            ​ล่าสุดประธานาธิบดีทรัมป์ได้ประกาศนโยบายในงาน Liberation Day เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2568 เวลา 04.00 น. (เวลาไทย) ได้ประกาศขึ้นภาษีกับการนำเข้าจากทุกประเทศขั้นต่ำร้อยละ 10 ประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ และสหรัฐฯ มองว่าเอาเปรียบสหรัฐฯ ตั้งแต่อัตราภาษีนำเข้า มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-tariff Barriers) รวมถึงค่าธรรมเนียมต่างๆ จะถูกจัดเก็บ โดยแต่ละประเทศจะถูกปรับในอัตราที่แตกต่างกันในอัตราหารครึ่งจากอัตราที่สหรัฐฯ คำนวณว่าสินค้าของสหรัฐฯ ถูกจัดเก็บจากประเทศนั้นๆ สำหรับประเทศไทย สหรัฐฯ กำหนดอัตราภาษีนำเข้าต่างตอบแทนไว้ที่ร้อยละ 36 โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2568 เป็นต้นไป            ​การประกาศปรับขึ้นภาษีนำเข้าของรัฐบาลสหรัฐฯ ย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศคู่ค้าทุกรายอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก โดยเฉพาะต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคสหรัฐฯ ที่อาจไม่สามารถรับกับราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและในระดับสูงได้  ดังนั้น ในระยะยาว ผู้ประกอบการส่งออกไทยควรมองหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดเดียว ซึ่งรัฐบาลไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ และได้วางมาตรการรองรับในการเยียวยาและบรรเทาผลกระทบที่อาจมีต่อผู้ประกอบการส่งออกของไทยที่มีตลาดสหรัฐฯ เป็นตลาดหลัก ​            ​​รัฐบาลขอเรียนว่า ไทยได้ส่งสัญญาณความพร้อมที่จะหารือกับรัฐบาลสหรัฐฯ ในโอกาสแรก เพื่อปรับดุลการค้าให้เกิดความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย โดยส่งผลกระทบต่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด โดยได้มอบหมายให้คณะทำงานนโยบายการค้าสหรัฐอเมริกาที่แต่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2568 ก่อนที่ประธานาธิบดีทรัมป์จะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชนในการติดตามและประเมินสถานการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆ อย่างใกล้ชิดและรอบด้าน ตลอดระยะเวลา 3 เดือน เพื่อจัดเตรียม “ข้อเสนอเพื่อปรับดุลการค้ากับสหรัฐฯ ที่มีสาระสำคัญเพียงพอให้สหรัฐฯ มีแรงจูงใจที่จะเข้าสู่กระบวนการเจรจากับไทย” ที่เหมาะสม และส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ผู้บริโภค และผู้ประกอบการในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องน้อยที่สุด ในขณะเดียวกัน ไทยยังอาจใช้โอกาสนี้ในการปรับโครงสร้างการผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวให้กับบางอุตสาหกรรมได้            ​​ประเทศไทยมีเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ที่จะสร้างเสถียรภาพและสมดุลทางการค้ากับสหรัฐฯ ในระยะยาว มีศักยภาพเพียงพอต่อการเป็นหนึ่งในกลุ่มมิตรประเทศเพื่อการลงทุน (Friend Shoring) ที่ทั้งสองประเทศสามารถพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพเอื้อซึ่งกันและกัน เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในตลาดโลก อาทิ ในภาคเกษตร-อาหาร ที่สหรัฐฯ มีสินค้าเกษตรจำนวนมากที่ไทยสามารถนำเข้าเพื่อนำมาแปรรูปเพื่อส่งออกไปตลาดโลก และในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง การที่ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิต Hard Disk Drive ที่สำคัญของโลก และอุปกรณ์ดังกล่าวก็จำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม Data Center และ AI ของสหรัฐฯ            ​สุดท้ายนี้ รัฐบาลไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์ จะมองถึงเป้าหมายการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจร่วมกันในระยะยาว ประเทศไทยยังคงยืนยันเจตนารมณ์ในการเป็นพันธมิตรและมุ่งมั่นผลักดันความร่วมมือในการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ เพื่อร่วมกันสร้างและพัฒนาภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีแห่งอนาคตเพื่อตลาดโลก ให้เติบโตอย่างมั่นคง เพื่อท้ายที่สุด จะช่วยกันลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภาคธุรกิจและภาคการเกษตรของทั้งสองประเทศ ผ่านการหารืออย่างสร้างสรรค์โดยเร็ว

นายกฯ กำชับ 4 เรื่อง เช็กบิลคดีใหญ่ ฟื้นเชื่อมั่นตลาดทุน

นายกฯ กำชับ 4 เรื่อง เช็กบิลคดีใหญ่ ฟื้นเชื่อมั่นตลาดทุน

          น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความบนโซเชียลมีเดีย ว่า           อีกหนึ่งเรื่องที่รัฐบาลติดตามและให้ความสำคัญมาโดยตลอด คือเรื่องตลาดหุ้นไทย โดยวันนี้ดิฉันได้เชิญคุณพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต. , คุณอัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ และ พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดี DSI เข้ามาพูดคุยติดตามเรื่องสถานการณ์ในตลาดหุ้น และ คดีทางการเงินที่เป็นปัญหา โดยดิฉันได้เน้นย้ำ 4 เรื่องสำคัญค่ะ 1.กำชับและติดตามคดีที่มีผลกระทบต่อผู้คนเป็นจำนวนมากและกระทบทางเศรษฐกิจ โดยเร่งรัดติดตามให้คดีมีความคืบหน้าโดยเร็ว 2.แก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันการกระทำผิดในตลาดหุ้น โดยปรับปรุงกฎเกณฑ์ ยกระดับไม่ให้มีการกระทำแบบนี้เกิดขึ้นอีก เช่น ปรับปรุงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ 3.กำชับถึงข้อกำหนดที่จะจัดการเรื่อง free float ลงโทษบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่ทำผิดหลักเกณฑ์ได้ โดยการให้ออกจากตลาด 4.เน้นย้ำให้มีการใช้กฎหมายครบทุกมิติ เพื่อฟื้นความมั่นใจอย่างเร่งด่วนและเป็นธรรม เรื่องนี้ถือเป็นภารกิจของรัฐบาลในการสร้างความเชื่อถือและเชื่อมั่น (trust and confidence) ในด้านการใช้กฎหมายเพื่อให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจ เชื่อมั่นในตลาดหุ้นไทย ให้ตลาดหุ้นไทยแข่งขันได้ในเวทีสากลค่ะ ที่มา https://www.facebook.com/ingshin21/posts/pfbid0FfcyQRrETzx2J2hp6JrxnWHKiSBY7ZackmgP8DYz3v1CSazY31pCpeR89zquhSsol

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

นิด้าโพล เผยผลสำรวจคนไทยมองการเมือง - เศรษฐกิจ - คุณภาพชีวิต ปี 68 51.22 % นายกอิ๊งค์อยู่ยาว 34.35% เศรษฐกิจแย่เหมือนเดิม

นิด้าโพล เผยผลสำรวจคนไทยมองการเมือง - เศรษฐกิจ - คุณภาพชีวิต ปี 68 51.22 % นายกอิ๊งค์อยู่ยาว 34.35% เศรษฐกิจแย่เหมือนเดิม

          หุ้นวิชั่น -  ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “การเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ในปี 2568” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16-18 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชน ในปี 2568 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล”  สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0           จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงสถานการณ์ทางการเมืองไทยโดยทั่วไป ในปี 2568 เมื่อเทียบกับปี 2567พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 50.61 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายเหมือนเดิม รองลงมา ร้อยละ 39.92 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายมากขึ้น ร้อยละ 7.33 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายน้อยลง และร้อยละ 2.14 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะไม่วุ่นวายเลย           ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับรัฐบาลนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ในปี 2568 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 51.22 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะอยู่ยาวตลอดทั้งปี รองลงมา ร้อยละ 21.60 ระบุว่า รัฐบาลนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะมีการปรับคณะรัฐมนตรี ร้อยละ 15.34 ระบุว่า จะมีการยุบสภา เพื่อเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 15.04 ระบุว่า จะเกิดความแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาล และทำให้รัฐบาลล่ม ร้อยละ 5.88 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะลาออก ร้อยละ 5.73 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะโดนชุมนุมขับไล่ ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 3.05 ระบุว่า รัฐบาลนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะโดนรัฐประหาร ร้อยละ 2.82 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะโดนคดีความทางการเมืองจนต้องหลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 1.76 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะเปิดทางให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นนายกรัฐมนตรีแทน และร้อยละ 1.15 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ           สำหรับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทย ในปี 2568 เมื่อเทียบกับปี 2567 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 34.35 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะแย่เหมือนเดิม รองลงมา ร้อยละ 32.82 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะแย่ลง ร้อยละ 21.99 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะดีขึ้น และร้อยละ 10.84 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะดีเหมือนเดิม           ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงคุณภาพชีวิตโดยทั่วไปในสังคมไทย ในปี 2568 เมื่อเทียบกับปี 2567 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 34.43 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะแย่เหมือนเดิม รองลงมา ร้อยละ 33.20 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะแย่ลง ร้อยละ 20.46 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทยจะดีขึ้น และร้อยละ 11.91 ระบุว่า คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทย จะดีเหมือนเดิม รายละเอียดเพิ่มเติม https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=733

เท้ง - อุ๊งอิ๊ง สุดสูสีนิด้าโพล ประชาชนอยากได้ใครเป็นนายกฯ

เท้ง - อุ๊งอิ๊ง สุดสูสีนิด้าโพล ประชาชนอยากได้ใครเป็นนายกฯ

          หุ้นวิชั่น - ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 4/2567” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 19-24 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคะแนนนิยมทางการเมือง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0           จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 29.85 ระบุว่าเป็น นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ (พรรคประชาชน) เพราะ มีความมุ่งมั่นในการสานต่ออุดมการณ์ของพรรคและมีบทบาทที่เข้ากับคนรุ่นใหม่ อันดับ 2 ร้อยละ 28.80 ระบุว่าเป็น นางสาวแพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง)  ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ มีประสบการณ์ด้านการบริหารธุรกิจ เป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่มีพลังและมุมมองทันสมัยในด้านการเมือง อันดับ 3 ร้อยละ 14.40 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 4 ร้อยละ 10.25 ระบุว่าเป็น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) เพราะ เป็นบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย และมีภาพลักษณ์ของผู้นำที่เข้าถึงง่าย อันดับ 5 ร้อยละ 6.45 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ มีความสามารถในการบริหารงาน และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศ อันดับ 6 ร้อยละ 4.95 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ เป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ทางการเมืองที่ยาวนาน และยืนหยัดในอุดมการณ์ประชาธิปไตย อันดับ 7 ร้อยละ 1.70 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) เพราะ เป็นผู้นำที่มีความมุ่งมั่นและมีประสบการณ์การทำงานยาวนาน อันดับ 8 ร้อยละ 1.05 ระบุว่าเป็น นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะ ชื่นชอบผลงานและแนวคิดของพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 2.55 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายวราวุธ ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง (พรรคประชาชาติ) นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนา) พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ (พรรคกล้าธรรม) ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) นายกัณวีร์ สืบแสง (พรรคเป็นธรรม) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกรณ์ จาติกวณิช           ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 37.30 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชน อันดับ 2 ร้อยละ 27.70 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 10.60 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 8.20 ระบุว่า ยังหาพรรคการเมืองที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 5 ร้อยละ 5.15 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 6 ร้อยละ 3.40 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อับดับ 7 ร้อยละ 3.05 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อับดับ 8 ร้อยละ 2.50 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อับดับ 9 ร้อยละ 1.00 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ และร้อยละ 1.10 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา พรรคกล้าธรรม พรรคไทรวมพลัง พรรคเสรีรวมไทย และพรรคเป็นธรรม

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011